- คำนำ
- ๑. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสวยราชย์
- ๒. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๔. ทรงตั้งพระราชาคณะ
- ๕. ทรงสถาปนาสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์
- ๖. ทรงตั้งข้าราชการ
- ๗. เจ้าพระยาพระคลังประดิษฐ์แคร่กัญญา
- ๘. วอประเวศวัง
- ๙. โปรดให้ยกทัพไปช่วยอังกฤษ
- ๑๐. เกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๑๑. สร้างและซ่อมพระราชวัง
- ๑๒. ราชสาสนพะม่า
- ๑๓. ราชสาสน์และราชบรรณาการญวน
- ๑๔. จัดการพระบรมศพ
- ๑๕. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๖. เจ้าอนุเวียงจันท์ลงมาช่วยการพระบรมศพ
- ๑๗. อังกฤษได้เขตต์แดนพะม่า
- ๑๘. พิธีจองเปรียง
- ๑๙. เตรียมรับราชทูต
- ๒๐. สมเด็จพระอมรินทรามาตย์สวรรคต
- ๒๑. เจ้าเมืองบังกลาให้ทำหนังสือสัญญาค้าขายกับพะม่า
- ๒๒. เจ้าอนุเวียงจันท์เป็นกบฏ
- ๒๓. เจ้าอุปราชเกลี้ยกล่อมหัวเมืองขึ้นกรุงเทพฯ
- ๒๔. เจ้าอนุยกทัพออกจากเวียงจันท์
- ๒๕. อนุให้กวาดครอบครัวเมืองนครราชสีมา
- ๒๖. พระยาปลัดเข้าหาอนุ
- ๒๗. ท่านผู้หญิงโม้ต่อสู้กองทัพอนุ
- ๒๘. อนุถอยทัพ
- ๒๙. อนุตั้งค่ายใหญ่บนเขาสาร
- ๓๐. ราชทูตกลับจากเมืองจีน
- ๓๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลยกทัพออกจากกรุง
- ๓๒. ใบบอกเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
- ๓๓. พระยาราชสุภาวดีตีทัพเจ้าโถงแตก
- ๓๔. พระยาราชสุภาวดีตีค่ายเวียงคุกเมืองยโสธรแตก
- ๓๕. อนุทิ้งที่สำคัญหนีไปเวียงจันท์
- ๓๖. กองทัพไทยถูกล้อม
- ๓๗. ได้เมืองเวียงจันท์
- ๓๘. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีจดหมายรับสั่งให้กราบบังคมทูลฯเรื่องเมืองเวียงจันท์
- ๓๙. ตีทัพพระยาเชียงสา
- ๔๐. เลื่อนพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยา
- ๔๑. งานพระบรมศพสมเด็จพระอมรินทรามาตย์
- ๔๒. เจ้าเวียดนามให้ญวนพาอนุและราชวงศ์มาส่งเมืองเวียงจันท์
- ๔๓. อนุและราชวงศ์ยกคนเข้าล้อมกองทัพไทย
- ๔๔. พระเจ้ากรุงเวียดนามมีพระราชสาสน์ให้ทูตเข้ามาขอโทษเจ้าอนุ
- ๔๕. ทูตญวนกลับ
- ๔๖. ทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีสู้รบกับทัพเจ้าราชวงศ์
- ๔๗. ทัพราชวงศ์แตกหนี
- ๔๘. อนุหนีจากเมืองเวียงจันท์
- ๔๙. แม่ทัพไทยลวงฆ่าพวกญวน
- ๕๐. จับเจ้าอนุได้
- ๕๑. ส่งอนุกับครอบครัวลงมากรุงเทพ ฯ
- ๕๒. สร้างป้อมและขุดคลอง
- ๕๓. เกณฑ์ให้ต่อเรือรบ ๓๐ ลำ
- ๕๔. ทูตญวนเข้ามาและทูตไทยไปเมืองญวน
- ๕๕. แห่สระสนานครั้งใหญ่
- ๕๖. นักองค์จันท์ส่งเครื่องบรรณาการ
- ๕๗. ตั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมุหนายก
- ๕๘. ราชทูตไทยกลับจากเมืองญวน เจ้าเวียดนามตอบราชสาสน์
- ๕๙. พระราชสาสน์ถึงพระเจ้าเวียดนาม
- ๖๐. กรมหมื่นสุรินทรรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๖๑. เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม
- ๖๒. ราชทูตไทยกลับจากเมืองญวน
- ๖๓. ใบบอกพระยาสงขลาเรื่องเมืองไทร
- ๖๔. โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง
- ๖๕. เพลิงไหม้ในกำแพงพระนคร
- ๖๖. งานพระศพเจ้านาย
- ๖๗. น้ำท่วม
- ๖๘. การปฏิสังขรณ์และฉลองพระอารามต่างๆ
- ๖๙. ทรงกระทำสัตสดกมหาทาน
- ๗๐. เจ้าพระยานครศรีธรรมราชตีเมืองไทรได้
- ๗๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงประชวรสวรรคต
- ๗๒. เจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยานครศรีธรรมราชยกกองทัพไปปราบแขกในหัวเมืองฝ่ายใต้
- ๗๓. ไพร่หลวงเกณฑ์บุญ
- ๗๔. สร้างป้อมพิฆาตข้าศึก
- ๗๕. ทูตอเมริกันเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๗๖. พระยาลีงาทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ
- ๗๗. การจลาจลในเมืองญวน
- ๗๘. โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาและเจ้าพระยาพระคลังไปรบญวน
- ๗๙. กองทัพไทยกับกองทัพญวนเข้าสู้รบกัน
- ๘๐. ญวนถอยทัพจากเมืองโจฎก
- ๘๑. เขมรเป็นกบฏ
- ๘๒. กองทัพไทยเข้าตั้งในเมืองบัตบอง
- ๘๓. เจ้าเมืองพวนยอมสวามิภักดิ์
- ๘๔. เจ้าเมืองพวนรับรองกองทัพไทย
- ๘๕. พระยาอภัยภูเบศรถึงอสัญญกรรม
- ๘๖. กรมหลวงเสนีบริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๘๗. แต่งคนขึ้นไปเกลี้ยกล่อมพวกหัวพันห้าทั้งหก
- ๘๘. เกณฑ์ต่อเรือป้อมอย่างญวน
- ๘๙. เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองสร้างเมืองจันทบุรีและวัดโยธานิมิตร
- ๙๐. สร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราและป้อมคงกระพัน
- ๙๑. องเตียนกุนจับองภอเบโคยกับพรรคพวกได้
- ๙๒. องค์จันทร์ถึงพิราลัย
- ๙๓. พระยาพระเขมรขอเข้ามาพึ่งพระบรมเดชานุภาพ
- ๙๔. ขุนตระเวนนาเวศกับพวกถูกญวนจับได้
- ๙๕. เจ้าพระยาพระคลังให้ล่ามแปลหนังสือขององตุมผู
- ๙๖. ได้พระยามงคลนาคินทร์ช้างพลายเมืองนครราชสีมา
- ๙๗. ซ่อมพระอุโบสถและสร้างพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพน
- ๙๘. พระยาราชนิกูลยกทัพไปรักษาเมืองอุบล เมืองจำปาศักดิ์
- ๙๙. พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์
- ๑๐๐. ปรึกษาเรื่องจัดหัวเมืองพันห้าทั้งหก
- ๑๐๑. องเตียนกุนเตรียมฝึกซ้อมทหารญวนทหารเขมร
- ๑๐๒. งานพระศพพระองค์เจ้าลักขณา
- ๑๐๓. ได้พระบรมไกรสรช้างพลายกระ
- ๑๐๔. ทูตอเมริกันเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญา
- ๑๐๕. ทูตอเมริกันพักที่ตึกหน้าบ้านพระยาราชสุภาวดี
- ๑๐๖. ทูตอเมริกันกลับ
- ๑๐๗. สมเด็จพระพันวัสสาสวรรคต
- ๑๐๘. ฉลองวัดประยูรวงศ์
- ๑๐๙. ข้าหลวงออกไปทำบัญชีเขมรป่าดง ๓๑ เมือง
- ๑๑๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชาเกณฑ์สร้างป้อมกำแพงเมืองบัตบอง
- ๑๑๑. งานพระบรมศพสมเด็จพระพันวัสสา
- ๑๑๒. เสด็จก่อพระฤกษ์พระโตวัดกัลยาณมิตร
- ๑๑๓. สมเด็จพระศรีสุลาลัยสวรรคต
- ๑๑๔. องค์ด้วงเที่ยวเกลี้ยกล่อมชาวเมือง
- ๑๑๕. องค์ด้วงถูกคุมตัวลงมากรุงเทพ ฯ
- ๑๑๖. การฉลองวัดหนัง
- ๑๑๗. ขุดคลองบางขนากและแก้คลองพระโขนง
- ๑๑๘. ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องสร้างเมืองบัตบอง
- ๑๑๙. งานพระบรมศพกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย และฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๑๒๐. งานพระศพกรมหลวงเทพพลภักดิ์
- ๑๒๑. สร้างป้อมกำแพงเมืองนครเสียมราฐ
- ๑๒๒. เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีสิ้นพระชนม์
- ๑๒๓. แขกสลัดยกเข้าตีเมืองตรังเมืองไทรบุรี
- ๑๒๔. มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนอังกฤษนำอักษรสาสน์เข้ามา
- ๑๒๕. จัดที่พักให้มิสเตอร์ฤทธิ์สชอน
- ๑๒๖. โปรดให้มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนเฝ้า และถวายบรรณาการ
- ๑๒๗. พระยาสุเรนทรราชเสนาเชิญศุภอักษรไปเชียงใหม่
- ๑๒๘. แผ่นดินไหว
- ๑๒๙. บอกพระยาราชสุภาวดีเรื่องสร้างนครเสียมราฐ
- ๑๓๐. งานพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๑. พระยากลันตันกับพระยาบาโงยวิวาทกัน
- ๑๓๒. พระยาศรีพิพัฒน์มีตราให้หาเจ้าเมืองแขกซึ่งวิวาทกัน
- ๑๓๓. พระยาศรีพิพัฒน์บังคับให้เลิกรบทั้ง ๒ ฝ่าย
- ๑๓๔. เจ้าพระยานครถึงอนิจจกรรม
- ๑๓๕. ตั้งตนกูอาหนุ่มเป็นผู้ว่าราชการเมืองไทร
- ๑๓๖. พระยาศรีพิพัฒน์สร้างพระเจดีย์บนยอดเขา
- ๑๓๗. พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๓๘. นักองค์อิ่มจับกรมการเมืองบัตบองและกวาดครอบครัวหนีไปพนมเป็ญ
- ๑๓๙. ใบบอกกรมการเมืองบัตบอง
- ๑๔๐. ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระเชตุพน
- ๑๔๑. เจ้าพระยาบดินทรเดชาออกไปจัดการเมืองบัตบอง
- ๑๔๒. พระสงฆ์ลังกาเข้ามากรุงเทพมหานคร
- ๑๔๓. เจ้าเมืองโปริสาทพาครอบครัวมาหาเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๔๔. บอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องจัดการทัพไว้ต่อสู้ญวน
- ๑๔๕. ทัพไทยตีค่ายกะพงทมและค่ายญวนเมืองชีแครง
- ๑๔๖. พระยาพระเขมรมีหนังสือมาขอองค์ด้วง
- ๑๔๗. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้ระดมตีทัพญวน
- ๑๔๘. เจ้าพระยาบดินทรเดชาปรึกษาเรื่องการทัพญวน
- ๑๔๙. ญวนยอมทำพระราชไมตรีตามเดิม
- ๑๕๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือถึงเสนาบดีเมืองเว้
- ๑๕๑. เจ้าพระยาบดินทรเดชาจัดการส่งขุนนางญวน
- ๑๕๒. องเตียนกุนโกรธองเดดก
- ๑๕๓. ญวนให้พระสงฆ์ถือหนังสือไปหาพระยาพระเขมร
- ๑๕๔. พระสงฆ์ลังกาเข้ามาถึงกรุงเทพฯ
- ๑๕๕. พระยากลันตันกับพระยาบาโงยเกิดวิวาทกันอีก
- ๑๕๖. พระองค์ด้วงครองเมืองบัตบอง
- ๑๕๗. เจ้าพระยาบดินทรเดชาขอเจ้าพระยายมราชออกไปช่วยราชการ
- ๑๕๘. เจ้าเวียดนามมินมางทิวงคต
- ๑๕๙. เตืองคำสือมืนคงได้เป็นเจ้าเวียดนาม
- ๑๖๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชาส่งญวนมากรุงเทพ ฯ
- ๑๖๑. หนังสือขององเกรินตาเตืองกุนถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๖๒. คำอธิบายชื่อในหนังสือองเกรินตาเตืองกุน
- ๑๖๓. ใบบอกพระยาเสนาภูเบศรเรื่องรบกับทัพญวน
- ๑๖๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชาสร้างเมืองให้พระองค์ด้วง
- ๑๖๕. พระมหาสงครามไปกวาดครอบครัวเมืองเวียงจันท์
- ๑๖๖. ตนกูอับดุลลาเป็นพระยาไทรบุรี
- ๑๖๗. พระองค์ด้วงพาไพร่พลไปตั้งอยู่ที่เมืองอุดงฦๅชัย
- ๑๖๘. พระองค์ด้วงตั้งแต่งขุนนางแล้วส่งไปรักษาเขตต์แดน
- ๑๖๙. ทัพเขมรรบกับทัพญวน
- ๑๗๐. คำให้การของมองสวยตองเรื่องการเมืองพะม่า
- ๑๗๑โปรดเกล้าฯ ให้มองสวยตองไปอยู่คอกกระบือ ภายหลังถูกจำคุก
- ๑๗๒. องค์อิ่มทำหนังสือไปเกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร
- ๑๗๓. กองทัพญวนขัดสนสะเบียงอาหาร
- ๑๗๔. องเตียนกุนกินยาตาย
- ๑๗๕. ท้องตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๗๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้กราบทูลถึงเรื่องถมคลองขุด
- ๑๗๗. เจ้าอุปราชเกณฑ์ทัพหัวเมืองตีเมืองฟากโขง
- ๑๗๘. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพเรือ
- ๑๗๙. เจ้าพระยายมราชคุมกองทัพไปตั้งค่ายที่เขาเชิงกะชุม
- ๑๘๐. กองทัพเรือไทยเผาค่ายญวน
- ๑๘๑. จมื่นไวยวรนารถให้ยกทัพเรือทัพบกเข้าประชิดค่ายญวน
- ๑๘๒. หนังสือบอกจมื่นไวยวรนารถถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องถอยทัพเรือ
- ๑๘๓. กองทัพไทยแตกที่เมืองโจฎก
- ๑๘๔. ลำเลียงข้าวเกลือส่งเมืองกำปอด
- ๑๘๕. เกิดจีนตั้วเหี่ยขึ้นที่เมืองนครชัยศรีและสาครบุรี
- ๑๘๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้เจ้าพระยายมราชคุมคนไปสร้างเมืองที่อุดงฦๅไชย
- ๑๘๗. ทรงกริ้วเจ้าพระยายมราชและนายทัพนายกอง
- ๑๘๘. เจ้าเวียดนามให้เกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร
- ๑๘๙. ดาวหางขึ้น
- ๑๙๐. บอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๙๑. มีพระราชปฏิสันถารกับพระสงฆ์ลังกา
- ๑๙๒. เจ้าเมืองสิงคโปร์ตอบหนังสือเจ้าพระยาพระคลัง
- ๑๙๓. พระสงฆ์ไทยออกไปเมืองลังกา
- ๑๙๔. ชำระพระสงฆ์ประพฤติอนาจาร
- ๑๙๕. พระสงฆ์ไทยออกไปส่งพระลังกากลับถึงกรุงเทพ ฯ
- ๑๙๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาขอเข้ามาแจ้งราชการณกรุงเทพฯ
- ๑๙๗. ท้องตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๙๘. เพลิงไหม้พระมหามนเทียร
- ๑๙๙. ได้ช้างสำคัญ ๓ ช้าง
- ๒๐๐. ข้าวแพง
- ๒๐๑. พระสงฆ์ไทยไปลังกา
- ๒๐๒. เจ้าพระยาบดินทรเดชาบอกเรื่องการทัพญวน
- ๒๐๓. จับจีนขายฝิ่นที่ปากน้ำบางปะกง
- ๒๐๔. พระราชทานที่ให้พวกครัวที่กวาตต้อนมาอยู่ตามใจสมัคร
- ๒๐๕. พระสงฆ์ไทยกลับจากลังกา
- ๒๐๖. เกิดเหตุกับฮันเตอร์ (พ่อค้า)
- ๒๐๗. เตรียมการป้องกันอังกฤษ
- ๒๐๘. หัวเมืองตะวันตกเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๐๙. จับจีนตั้วเหี่ยได้
- ๒๑๐. จับขุนนางเขมรที่เป็นกบฏได้ ๑๑ คน
- ๒๑๑. ญวนยกทัพเรือมารบเขมร
- ๒๑๒. เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพไปเมืองอุดงฦๅไชย
- ๒๑๓. ญวนตีค่ายเมืองพนมเป็ญแตก
- ๒๑๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชาตีทัพญวนแตกถอยไป
- ๒๑๕. พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอับษรสุดาเทพสิ้นพระชนม์
- ๒๑๖. ความอัศจรรย์ของพระยามหาเทพ
- ๒๑๗. บอกพระยาเชียงใหม่
- ๒๑๘. ญวนพูดกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นทางไมตรี
- ๒๑๙. ญวนรื้อค่ายไปตั้งอยู่เมืองพนมเป็ญ
- ๒๒๐. งานพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอัปษรสุดาเทพ
- ๒๒๑. โสกันต์พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๒๒. ญวนให้มีราชสาสน์ไปทูลขอเจ้าหญิงต่อเจ้าเวียดนาม
- ๒๒๓. ชักพระพุทธรูปไปวัดราชนัดดาราม
- ๒๒๔. ญวนมาเตือนพระองค์ด้วงให้ส่งญวน ๔๔ คน
- ๒๒๕. ท้องตราตอบหนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๒๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือถึงองญวน
- ๒๒๗. พระองค์ด้วงแต่งทูตให้เชิญศุภอักษรไปเมืองเว้
- ๒๒๘. เจ้าพระยาบดินทรเดชากราบบังคมทูลเรื่องทัพญวน
- ๒๒๙. งานพระศพกรมขุนกัลยาสุนทร
- ๒๓๐. พระกระแสรับสั่งตอบเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๓๑. ราชทูตที่ไปเมืองเว้เฝ้าเจ้าเวียดนาม
- ๒๓๒. เจ้าเวียดนามให้พระองค์ด้วงเป็นเกามันกวัดเวือง
- ๒๓๓. เจ้าเวียดนามเทียวตรีสิ้นพระชนม์ เจ้ายอมราชบุตรเป็นเจ้าเวียดนามตือดึก
- ๒๓๔. พระองค์ด้วงเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๒๓๕. เมืองสาครบุรีเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๓๖. เมืองฉะเชิงเทราเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๓๗. เจ้าพระยาพระคลังกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาปราบจีนตั้วเหี่ยเมืองฉะเชิงเทรา
- ๒๓๘. งานฉลองวัดพระเชตุพน
- ๒๓๙. ได้พระยามงคลคชพงศ์ช้างพลาย
- ๒๔๐. ลงพระราชอาชญาสำเร็จโทษกรมหลวงรักษรณเรศ และประหารชีวิตบ่าว ๓ คน
- ๒๔๑. เจ้าพระยาพระคลังออกไปสักเลกหัวเมืองตะวันตก
- ๒๔๒. ซ่อมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและทำป้อมบางจะเกร็ง
- ๒๔๓. โปรดให้หาฤกษ์บรรจุพระบรมธาตุในพระพุทธรูป
- ๒๔๔. บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและฉลองพระเจดีย์
- ๒๔๕. จลาจลในเมืองเชียงรุ้ง
- ๒๔๖. เจ้าแสนหวีฟ้ามีอักขรกถาถึงเจ้าเมืองหลวงพระบาง
- ๒๔๗. ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในคราวเกิดไข้ปวง
- ๒๔๘. เกณฑ์ทัพเมืองเหนือไปตีเมืองเชียงตุง
- ๒๔๙. ทูตอเมริกันเชิญราชสาสน์เข้ามา
- ๒๕๐. ทูตอเมริกันฟ้องพระยาศรีพิพัฒน
- ๒๕๑. งานศพเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๕๒. เจ้าเชียงใหม่กล่าวโทษเจ้าอุปราชเข้ามากรุงเทพฯ
- ๒๕๓. ทูตอังกฤษเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญา
- ๒๕๔. ทูตอังกฤษกลับ
- ๒๕๕. ใจความในพระราชสาสน์ของพระเจ้าฮำฮอง
- ๒๕๖. สร้างป้อมเสือซ่อนเล็บและขุดคลองเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๒๕๗. การปฏิสังขรณ์และสร้างพระอาราม
- ๒๕๘. โปรดให้ต่อกำปั่นและเรือพระที่นั่ง
- ๒๕๙. ยกบ้านขึ้นเป็นเมือง
- ๒๖๐. เจ้าพระยาพระคลังถวายกลองวินิจฉัยเภรี
- ๒๖๑. พระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำ
- ๒๖๒. ภาษีอากรที่เกิดมีขึ้นใหม่
- ๒๖๓. ทรงพระประชวร
- ๒๖๔. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๖๕. พระสงฆ์อธิษฐานให้พระโรคหาย
- ๒๖๖. เกณฑ์ข้าราชการเข้าประจำซองรักษาพระราชนิเวศน์
- ๒๖๗. เจ้าพระยาพระคลังให้จมื่นราชามาตย์ไปทูลเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชเสด็จครองราชสมบัติ
- ๒๖๘. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
๗๙. กองทัพไทยกับกองทัพญวนเข้าสู้รบกัน
เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึ่งแต่งให้พระยาราชนิกูล (เสือ) พระยานครราชสีมา (ทองอิน) คุมกองทัพหัวเมืองเหนือและเมืองนครราชสีมา รวมเป็นคน ๗,๐๐๐ เศษ ยกข้ามไปทางบาพนม เดินตรงไปช่วยเมืองไซ่ง่อน เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้เรือชะเลยเมืองเขมร กับเจ้าพระยาพระคลังรวมทัพกันไปทางเรือ ให้เจ้าพระยาพลเทพเป็นทัพหน้าล่วงไปก่อน ไปตามลำน้ำโจฎกเลี้ยวคลองวามะนาว พอพบทัพองทำตาน องจันเบียมาตั้งรับอยู่ค่ายด่านปากคลองข้างใต้ เมื่อณเดือน ๓ ขึ้น ๑๒ ค่ำ[๑] ได้สู้รบกันอยู่วัน ๑ ทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา ทัพเจ้าพระยาพระคลังลงไปทันก็เข้าระดมยิงทัพญวน ญวนก็สู้รบอยู่ เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้พวกทัพบกซึ่งขี่เรือเล็กขึ้นตั้งค่ายบกประชิดค่ายญวนทั้ง ๒ ฟาก ญวนก็เข้าตีแตกไป แล้วทัพเรือฝ่ายไทยก็เข้ารุกไลยิง ทัพเรือญวนน้อยตัวกว่าก็ล่าถอยไปตั้งรับอยู่ปากคลองข้างเหนือทางจะลงไปเมืองสะแดก ที่นั้นเป็นค่ายเก่า ญวนมาตั้งรับทัพพระเจ้าหลานเธอ กรมหลวงเทพหริรักษ์ แต่ก่อน ญวนซ่อมแซมไว้เป็นค่ายด่านไม่รื้อถอนเสีย การครั้งนี้ญวนได้อาศัยค่ายนั้นมั่นอยู่
เจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาพระคลัง เห็นทัพญวนล่าถอยไป แล้วก็จัดให้พระยาณรงคฤทธิโกษา พระยาวิเศษสงครามไปปิดปากคลององเจืองไว้ จะมิให้ญวนเอาเรือรบลัดตัดหลังมาได้ แล้วให้บาทหลวงเป๋ที่ไปด้วยพระยาวิเศษสงคราม เกลี้ยกล่อมญวนเข้ารีต ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในคลององเจือง ประมาณ ๓๐๐ เศษ ยอมสมัครเข้าเกลี้ยกล่อมด้วยสิ้นทั้งบ้าน แล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชา สั่งให้เอาตัวปลัดยกกระบัตรเมืองสระบุรีซึ่งทิ้งค่ายแตกหนีญวนไปกับหัวหมื่นตำรวจกรมนอกซ้ายนาย ๑ เป็นเชื้อสายของท่านอยู่ด้วย เมื่อเวลารบกับญวนอยู่นั้น ลงเรือช่วงไปแอบหางเสืออยู่ท้ายเรือรบ ท่านไปเห็นเข้า สั่งให้จับเอาตัวมาให้เอาไปประหารชีวิตเสียทั้งปลัดยกกระบัตรเมืองสระบุรีทั้ง ๓ คนด้วยกัน แล้วก็ยกตามญวนลงไปถึงปากคลองวามะนาว ตั้งประชิดกันอยู่ ให้กองทัพออกจับญวนมาได้คน ๑ ถามให้การว่า องเตียนกุนให้องทำตานดายท่านกับองจันเบียคุมคน ๓,๐๐๐ เป็นแม่ทัพมาแทนตัว ๆ นั้นล้อมเมืองไซ่ง่อนอยู่ ครั้นเวลาค่ำญวนก็ปล่อยแพไฟลงมาเป็นอันมาก ปรารถนาจะเผาทัพเรือ ก็ไม่ได้ไหม้แต่สักลำ ๑ เพราะญวนทำการไม่ถูก ปล่อยแพลงมาเหมือนอย่างลอยกะทงเล่น ก็ลอยเป็นทิวไปตามสายน้ำ ไม่ได้ถูกเรือแต่สักลำ ๑
ครั้นณเดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ[๒] เจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาพระคลังปรึกษากันว่า ญวนตั้งค่ายบก เอาเรือทอดกั้นขวางแม่น้ำไว้ จะต้องตีหักลงไปให้พร้อมกันทั้งทัพบกทัพเรือ ญวนจึ่งจะไม่ช่วยกันได้ ครั้นปรึกษากันแล้ว จึ่งสั่งให้นายทัพนายกองเตรียมการไว้ให้เสร็จ ครั้นณเดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ[๓] เวลา ๓ ยาม เจ้าพระยาบดินทรเดชาก็คุมทัพบกเข้าปล้นค่ายญวน เจ้าพระยาบดินทรเดชาต้อนคนลุยขวากหนามเข้าไปจนถึงเสาค่ายญวน ๆ ก็จุดพลุขึ้นรอบค่ายสว่างเห็นตัวกันถนัด ญวนก็วางปืนใหญ่ปืนคาบศิลาระดมมาต้องทัพไทยล้มตายเป็นอันมาก จะปีนค่ายเข้าไปมิได้
ฝ่ายทัพเรือ เจ้าพระยาพระคลังก็เข้าตีทัพเรือญวนพร้อมกัน ญวนก็ยิงปืนสู้รบเป็นสามารถ นายทัพนายกองฝ่ายไทยก็ถอนสมอลงไป เรือพระยาอภัยโนฤทธิ (บุนนาค) ลำ ๑ เรือพระอนุรักษโยธาลำ ๑ แต่เรือพระยาท้ายน้ำลำ ๑ นั้น ถอนสมอขึ้นแล้วเข้าไปแอบตลิ่งอยู่ เรือพระยาอภัยโนฤทธิ์ เรือพระอนุรักษโยธานั้นแจวลงไป ไม่เห็นเรือข้างหลังตามไปก็ถอยหลังมาเสีย เจ้าพระยาพระคลังก็ลงเรือแง่ทรายพลแจว ๒๐ เที่ยวไล่เรือรบให้ถอนสมอลงไปโดยเร็ว คนในลำเรือถอนสมอขึ้นแล้ว ก็ไปไล่ลำอื่นต่อไป ครั้นท่านห่างไปแล้วก็ปล่อยสมอลงไปเสียดังเก่า เรือเจ้าพระยาพลเทพ พระยาราชวังสัน พระยาเพ็ชรบุรี ว่าแต่ที่เป็นผู้ใหญ่ พระยาพระหลวงเป็นนายลำอื่นอีกก็มีเป็นอันมาก แต่เห็นผู้ใหญ่ไม่ลงไป ก็ถอนสมอไม่ขึ้นเสียทั้งนั้น ถอนขึ้นมาที ๑ ก็ปล่อยลงไปเสียที ๑ ถ้าเห็นเรือไปเร่งรัด ก็ทำเป็นถอนสมอแต่สมอนั้นไม่ขึ้น ญวนเห็นว่าทัพเรือไม่ลงไปแล้ว ก็เอาเรือมาระดมกันขึ้นไปช่วยค่ายบก
เจ้าพระยาบดินทรเดชาซึ่งเข้าตีค่ายญวนเหลือกำลัง ผู้คนก็ล้มตายลงมาก ก็สั่งให้ล่าถอยออกมา เจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาพระคลังปรึกษากันว่า นายทัพนายกองไม่กลัวแม่ทัพใหญ่ดังนี้ จะทำการศึกสงครามไปที่ไหนได้ ให้เอาตัวผู้ที่ขลาดมาฆ่าเสียให้สิ้น เอาผู้น้อยที่กล้าแข็งแรงตั้งขึ้น เอาเครื่องยศให้แก่มัน ยกเข้าตีอีกครั้ง ๑ เจ้าพระยาพระคลังจึ่งว่า ซึ่งโปรดดังนี้ก็ชอบอยู่ แต่ท่านเหล่านี้เป็นผู้ใหญ่ ๆ ที่กินพานทองก็หลายนาย จะฆ่าเสียเห็นจะไม่ได้ จะเกิดภัยขึ้นข้างหน้า เดี๋ยวนี้สะเบียงอาหารกระสุนดินดำก็น้อยลง แล้วก็เป็นเทศกาลฤดูเดือน ๔ น้ำน้อย การทำไปไม่ตลอดโทษก็มี จะกลับก็ยากถ้าจะรับสั่งเอาโทษตามอัยยการศึกเหมือนอย่างทำแก่ท่านเหล่านี้ก็ตายเปล่า เจ้าพระยาบดินทรเดชาว่า ถ้าอย่างนั้นก็ได้แต่ล่าถอยอย่างเดียว ปรึกษาตกลงแล้ว ครั้นณเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ[๔] ก็ถอนคนค่ายบกลงเรือแง่ทรายชะเลยมาก่อน แล้วเรือรบมีชื่อก็ล่าตามมาต่อภายหลัง ถอนสมอขึ้นได้โดยเร็ว ญวนเข้ารีดอยู่ในคลององเจืองก็ลงเรือแง่บันล่องอพยพตามกองทัพมาสิ้น ทัพบกขึ้นรักษาอยู่เมืองโจฎก ทัพเรือก็ผ่อนกันเข้าคลองขุดมาเมืองบันทายมาศก่อน
เจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาพระคลังยังอยู่ที่เมืองโจฎก ครั้นรุ่งขึ้นณเดือน ๓ แรม ๑๐ ค่ำ[๕] เห็นทัพเรือญวนยกตามมาทอดอยู่ใต้เมืองโจฎก เรือค่าย ๑๕ ลำ เรือแง่โอเรือแง่ทราย ๓๐ ทอดห่างเมืองอยู่ประมาณ ๒๐ เส้น ครั้นรุ่งขึ้นแรม ๑๑ ค่ำเวลาเช้าโมง ๑ ญวนก็ยกเข้าตีเมืองโจฎก คนประจำหน้าที่ก็วางปืนป้อมและกำแพงเชิงเทินระดมยิงไป ญวนก็มิได้ท้อถอย แจวผ่านหน้าเมืองขึ้นมาเหมือนไม่มีปืนยิง ด้วยกลองแม่ทัพยังตีเร่งอยู่ถอยไม่ได้ ขึ้นมาเหนือเมืองจึ่งเอาเรือจอดเข้าที่ตลิ่ง หมายจะขึ้นบนยกเข้าหักเอาเมือง พวกกองทัพก็เอปืนตับคาบศิลาไปนั่งยิงที่ตลิ่งถูกญวนตายเป็นอันมาก เรือแม่ทัพเห็นดังนั้นก็ตีกลองให้ล่าถอย พวกญวนจึ่งได้เอาขอนลูกกลิ้งๆ ไปตามแคมนอก ให้เรือเอียงตะแคงขึ้นรับลูกปืน ลอยเรือลงไปถึงเรือแม่ทัพญวนแล้ว
ฝ่ายพวกทัพเรือเข้าคลองมาถึงกลางย่าน น้ำน้อยพอครือท้องเรือชิงแย่งกันจะไปก่อน เรือก็อัดกันเข้าไปไม่ได้ เจ้าพระยาพระคลังทราบแล้ว จึ่งสั่งให้กองช้างไปชักลากเรือจนตกลึกหมดแล้ว ก็ให้ช้างเดินบกมาทางเมืองกำปอด
อ้ายเขมรกำเริบขึ้นก็เข้าฆ่าพวกกองช้างเสีย ตีชิงเอาช้างไปได้สิ้น
[๑] อังคารที่ ๒๑ มกราคม
[๒] อังคารที่ ๒๘ มกราคม
[๓] พุธที่ ๒๙ มกราคม
[๔] ศุกรที่ ๓๑ มกราคม
[๕] จันทร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์