- คำนำ
- ๑. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสวยราชย์
- ๒. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๔. ทรงตั้งพระราชาคณะ
- ๕. ทรงสถาปนาสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์
- ๖. ทรงตั้งข้าราชการ
- ๗. เจ้าพระยาพระคลังประดิษฐ์แคร่กัญญา
- ๘. วอประเวศวัง
- ๙. โปรดให้ยกทัพไปช่วยอังกฤษ
- ๑๐. เกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๑๑. สร้างและซ่อมพระราชวัง
- ๑๒. ราชสาสนพะม่า
- ๑๓. ราชสาสน์และราชบรรณาการญวน
- ๑๔. จัดการพระบรมศพ
- ๑๕. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๖. เจ้าอนุเวียงจันท์ลงมาช่วยการพระบรมศพ
- ๑๗. อังกฤษได้เขตต์แดนพะม่า
- ๑๘. พิธีจองเปรียง
- ๑๙. เตรียมรับราชทูต
- ๒๐. สมเด็จพระอมรินทรามาตย์สวรรคต
- ๒๑. เจ้าเมืองบังกลาให้ทำหนังสือสัญญาค้าขายกับพะม่า
- ๒๒. เจ้าอนุเวียงจันท์เป็นกบฏ
- ๒๓. เจ้าอุปราชเกลี้ยกล่อมหัวเมืองขึ้นกรุงเทพฯ
- ๒๔. เจ้าอนุยกทัพออกจากเวียงจันท์
- ๒๕. อนุให้กวาดครอบครัวเมืองนครราชสีมา
- ๒๖. พระยาปลัดเข้าหาอนุ
- ๒๗. ท่านผู้หญิงโม้ต่อสู้กองทัพอนุ
- ๒๘. อนุถอยทัพ
- ๒๙. อนุตั้งค่ายใหญ่บนเขาสาร
- ๓๐. ราชทูตกลับจากเมืองจีน
- ๓๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลยกทัพออกจากกรุง
- ๓๒. ใบบอกเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
- ๓๓. พระยาราชสุภาวดีตีทัพเจ้าโถงแตก
- ๓๔. พระยาราชสุภาวดีตีค่ายเวียงคุกเมืองยโสธรแตก
- ๓๕. อนุทิ้งที่สำคัญหนีไปเวียงจันท์
- ๓๖. กองทัพไทยถูกล้อม
- ๓๗. ได้เมืองเวียงจันท์
- ๓๘. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีจดหมายรับสั่งให้กราบบังคมทูลฯเรื่องเมืองเวียงจันท์
- ๓๙. ตีทัพพระยาเชียงสา
- ๔๐. เลื่อนพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยา
- ๔๑. งานพระบรมศพสมเด็จพระอมรินทรามาตย์
- ๔๒. เจ้าเวียดนามให้ญวนพาอนุและราชวงศ์มาส่งเมืองเวียงจันท์
- ๔๓. อนุและราชวงศ์ยกคนเข้าล้อมกองทัพไทย
- ๔๔. พระเจ้ากรุงเวียดนามมีพระราชสาสน์ให้ทูตเข้ามาขอโทษเจ้าอนุ
- ๔๕. ทูตญวนกลับ
- ๔๖. ทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีสู้รบกับทัพเจ้าราชวงศ์
- ๔๗. ทัพราชวงศ์แตกหนี
- ๔๘. อนุหนีจากเมืองเวียงจันท์
- ๔๙. แม่ทัพไทยลวงฆ่าพวกญวน
- ๕๐. จับเจ้าอนุได้
- ๕๑. ส่งอนุกับครอบครัวลงมากรุงเทพ ฯ
- ๕๒. สร้างป้อมและขุดคลอง
- ๕๓. เกณฑ์ให้ต่อเรือรบ ๓๐ ลำ
- ๕๔. ทูตญวนเข้ามาและทูตไทยไปเมืองญวน
- ๕๕. แห่สระสนานครั้งใหญ่
- ๕๖. นักองค์จันท์ส่งเครื่องบรรณาการ
- ๕๗. ตั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมุหนายก
- ๕๘. ราชทูตไทยกลับจากเมืองญวน เจ้าเวียดนามตอบราชสาสน์
- ๕๙. พระราชสาสน์ถึงพระเจ้าเวียดนาม
- ๖๐. กรมหมื่นสุรินทรรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๖๑. เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม
- ๖๒. ราชทูตไทยกลับจากเมืองญวน
- ๖๓. ใบบอกพระยาสงขลาเรื่องเมืองไทร
- ๖๔. โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง
- ๖๕. เพลิงไหม้ในกำแพงพระนคร
- ๖๖. งานพระศพเจ้านาย
- ๖๗. น้ำท่วม
- ๖๘. การปฏิสังขรณ์และฉลองพระอารามต่างๆ
- ๖๙. ทรงกระทำสัตสดกมหาทาน
- ๗๐. เจ้าพระยานครศรีธรรมราชตีเมืองไทรได้
- ๗๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงประชวรสวรรคต
- ๗๒. เจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยานครศรีธรรมราชยกกองทัพไปปราบแขกในหัวเมืองฝ่ายใต้
- ๗๓. ไพร่หลวงเกณฑ์บุญ
- ๗๔. สร้างป้อมพิฆาตข้าศึก
- ๗๕. ทูตอเมริกันเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๗๖. พระยาลีงาทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ
- ๗๗. การจลาจลในเมืองญวน
- ๗๘. โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาและเจ้าพระยาพระคลังไปรบญวน
- ๗๙. กองทัพไทยกับกองทัพญวนเข้าสู้รบกัน
- ๘๐. ญวนถอยทัพจากเมืองโจฎก
- ๘๑. เขมรเป็นกบฏ
- ๘๒. กองทัพไทยเข้าตั้งในเมืองบัตบอง
- ๘๓. เจ้าเมืองพวนยอมสวามิภักดิ์
- ๘๔. เจ้าเมืองพวนรับรองกองทัพไทย
- ๘๕. พระยาอภัยภูเบศรถึงอสัญญกรรม
- ๘๖. กรมหลวงเสนีบริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๘๗. แต่งคนขึ้นไปเกลี้ยกล่อมพวกหัวพันห้าทั้งหก
- ๘๘. เกณฑ์ต่อเรือป้อมอย่างญวน
- ๘๙. เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองสร้างเมืองจันทบุรีและวัดโยธานิมิตร
- ๙๐. สร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราและป้อมคงกระพัน
- ๙๑. องเตียนกุนจับองภอเบโคยกับพรรคพวกได้
- ๙๒. องค์จันทร์ถึงพิราลัย
- ๙๓. พระยาพระเขมรขอเข้ามาพึ่งพระบรมเดชานุภาพ
- ๙๔. ขุนตระเวนนาเวศกับพวกถูกญวนจับได้
- ๙๕. เจ้าพระยาพระคลังให้ล่ามแปลหนังสือขององตุมผู
- ๙๖. ได้พระยามงคลนาคินทร์ช้างพลายเมืองนครราชสีมา
- ๙๗. ซ่อมพระอุโบสถและสร้างพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพน
- ๙๘. พระยาราชนิกูลยกทัพไปรักษาเมืองอุบล เมืองจำปาศักดิ์
- ๙๙. พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์
- ๑๐๐. ปรึกษาเรื่องจัดหัวเมืองพันห้าทั้งหก
- ๑๐๑. องเตียนกุนเตรียมฝึกซ้อมทหารญวนทหารเขมร
- ๑๐๒. งานพระศพพระองค์เจ้าลักขณา
- ๑๐๓. ได้พระบรมไกรสรช้างพลายกระ
- ๑๐๔. ทูตอเมริกันเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญา
- ๑๐๕. ทูตอเมริกันพักที่ตึกหน้าบ้านพระยาราชสุภาวดี
- ๑๐๖. ทูตอเมริกันกลับ
- ๑๐๗. สมเด็จพระพันวัสสาสวรรคต
- ๑๐๘. ฉลองวัดประยูรวงศ์
- ๑๐๙. ข้าหลวงออกไปทำบัญชีเขมรป่าดง ๓๑ เมือง
- ๑๑๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชาเกณฑ์สร้างป้อมกำแพงเมืองบัตบอง
- ๑๑๑. งานพระบรมศพสมเด็จพระพันวัสสา
- ๑๑๒. เสด็จก่อพระฤกษ์พระโตวัดกัลยาณมิตร
- ๑๑๓. สมเด็จพระศรีสุลาลัยสวรรคต
- ๑๑๔. องค์ด้วงเที่ยวเกลี้ยกล่อมชาวเมือง
- ๑๑๕. องค์ด้วงถูกคุมตัวลงมากรุงเทพ ฯ
- ๑๑๖. การฉลองวัดหนัง
- ๑๑๗. ขุดคลองบางขนากและแก้คลองพระโขนง
- ๑๑๘. ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องสร้างเมืองบัตบอง
- ๑๑๙. งานพระบรมศพกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย และฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๑๒๐. งานพระศพกรมหลวงเทพพลภักดิ์
- ๑๒๑. สร้างป้อมกำแพงเมืองนครเสียมราฐ
- ๑๒๒. เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีสิ้นพระชนม์
- ๑๒๓. แขกสลัดยกเข้าตีเมืองตรังเมืองไทรบุรี
- ๑๒๔. มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนอังกฤษนำอักษรสาสน์เข้ามา
- ๑๒๕. จัดที่พักให้มิสเตอร์ฤทธิ์สชอน
- ๑๒๖. โปรดให้มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนเฝ้า และถวายบรรณาการ
- ๑๒๗. พระยาสุเรนทรราชเสนาเชิญศุภอักษรไปเชียงใหม่
- ๑๒๘. แผ่นดินไหว
- ๑๒๙. บอกพระยาราชสุภาวดีเรื่องสร้างนครเสียมราฐ
- ๑๓๐. งานพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๑. พระยากลันตันกับพระยาบาโงยวิวาทกัน
- ๑๓๒. พระยาศรีพิพัฒน์มีตราให้หาเจ้าเมืองแขกซึ่งวิวาทกัน
- ๑๓๓. พระยาศรีพิพัฒน์บังคับให้เลิกรบทั้ง ๒ ฝ่าย
- ๑๓๔. เจ้าพระยานครถึงอนิจจกรรม
- ๑๓๕. ตั้งตนกูอาหนุ่มเป็นผู้ว่าราชการเมืองไทร
- ๑๓๖. พระยาศรีพิพัฒน์สร้างพระเจดีย์บนยอดเขา
- ๑๓๗. พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๓๘. นักองค์อิ่มจับกรมการเมืองบัตบองและกวาดครอบครัวหนีไปพนมเป็ญ
- ๑๓๙. ใบบอกกรมการเมืองบัตบอง
- ๑๔๐. ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระเชตุพน
- ๑๔๑. เจ้าพระยาบดินทรเดชาออกไปจัดการเมืองบัตบอง
- ๑๔๒. พระสงฆ์ลังกาเข้ามากรุงเทพมหานคร
- ๑๔๓. เจ้าเมืองโปริสาทพาครอบครัวมาหาเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๔๔. บอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องจัดการทัพไว้ต่อสู้ญวน
- ๑๔๕. ทัพไทยตีค่ายกะพงทมและค่ายญวนเมืองชีแครง
- ๑๔๖. พระยาพระเขมรมีหนังสือมาขอองค์ด้วง
- ๑๔๗. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้ระดมตีทัพญวน
- ๑๔๘. เจ้าพระยาบดินทรเดชาปรึกษาเรื่องการทัพญวน
- ๑๔๙. ญวนยอมทำพระราชไมตรีตามเดิม
- ๑๕๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือถึงเสนาบดีเมืองเว้
- ๑๕๑. เจ้าพระยาบดินทรเดชาจัดการส่งขุนนางญวน
- ๑๕๒. องเตียนกุนโกรธองเดดก
- ๑๕๓. ญวนให้พระสงฆ์ถือหนังสือไปหาพระยาพระเขมร
- ๑๕๔. พระสงฆ์ลังกาเข้ามาถึงกรุงเทพฯ
- ๑๕๕. พระยากลันตันกับพระยาบาโงยเกิดวิวาทกันอีก
- ๑๕๖. พระองค์ด้วงครองเมืองบัตบอง
- ๑๕๗. เจ้าพระยาบดินทรเดชาขอเจ้าพระยายมราชออกไปช่วยราชการ
- ๑๕๘. เจ้าเวียดนามมินมางทิวงคต
- ๑๕๙. เตืองคำสือมืนคงได้เป็นเจ้าเวียดนาม
- ๑๖๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชาส่งญวนมากรุงเทพ ฯ
- ๑๖๑. หนังสือขององเกรินตาเตืองกุนถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๖๒. คำอธิบายชื่อในหนังสือองเกรินตาเตืองกุน
- ๑๖๓. ใบบอกพระยาเสนาภูเบศรเรื่องรบกับทัพญวน
- ๑๖๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชาสร้างเมืองให้พระองค์ด้วง
- ๑๖๕. พระมหาสงครามไปกวาดครอบครัวเมืองเวียงจันท์
- ๑๖๖. ตนกูอับดุลลาเป็นพระยาไทรบุรี
- ๑๖๗. พระองค์ด้วงพาไพร่พลไปตั้งอยู่ที่เมืองอุดงฦๅชัย
- ๑๖๘. พระองค์ด้วงตั้งแต่งขุนนางแล้วส่งไปรักษาเขตต์แดน
- ๑๖๙. ทัพเขมรรบกับทัพญวน
- ๑๗๐. คำให้การของมองสวยตองเรื่องการเมืองพะม่า
- ๑๗๑โปรดเกล้าฯ ให้มองสวยตองไปอยู่คอกกระบือ ภายหลังถูกจำคุก
- ๑๗๒. องค์อิ่มทำหนังสือไปเกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร
- ๑๗๓. กองทัพญวนขัดสนสะเบียงอาหาร
- ๑๗๔. องเตียนกุนกินยาตาย
- ๑๗๕. ท้องตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๗๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้กราบทูลถึงเรื่องถมคลองขุด
- ๑๗๗. เจ้าอุปราชเกณฑ์ทัพหัวเมืองตีเมืองฟากโขง
- ๑๗๘. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพเรือ
- ๑๗๙. เจ้าพระยายมราชคุมกองทัพไปตั้งค่ายที่เขาเชิงกะชุม
- ๑๘๐. กองทัพเรือไทยเผาค่ายญวน
- ๑๘๑. จมื่นไวยวรนารถให้ยกทัพเรือทัพบกเข้าประชิดค่ายญวน
- ๑๘๒. หนังสือบอกจมื่นไวยวรนารถถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องถอยทัพเรือ
- ๑๘๓. กองทัพไทยแตกที่เมืองโจฎก
- ๑๘๔. ลำเลียงข้าวเกลือส่งเมืองกำปอด
- ๑๘๕. เกิดจีนตั้วเหี่ยขึ้นที่เมืองนครชัยศรีและสาครบุรี
- ๑๘๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้เจ้าพระยายมราชคุมคนไปสร้างเมืองที่อุดงฦๅไชย
- ๑๘๗. ทรงกริ้วเจ้าพระยายมราชและนายทัพนายกอง
- ๑๘๘. เจ้าเวียดนามให้เกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร
- ๑๘๙. ดาวหางขึ้น
- ๑๙๐. บอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๙๑. มีพระราชปฏิสันถารกับพระสงฆ์ลังกา
- ๑๙๒. เจ้าเมืองสิงคโปร์ตอบหนังสือเจ้าพระยาพระคลัง
- ๑๙๓. พระสงฆ์ไทยออกไปเมืองลังกา
- ๑๙๔. ชำระพระสงฆ์ประพฤติอนาจาร
- ๑๙๕. พระสงฆ์ไทยออกไปส่งพระลังกากลับถึงกรุงเทพ ฯ
- ๑๙๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาขอเข้ามาแจ้งราชการณกรุงเทพฯ
- ๑๙๗. ท้องตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๙๘. เพลิงไหม้พระมหามนเทียร
- ๑๙๙. ได้ช้างสำคัญ ๓ ช้าง
- ๒๐๐. ข้าวแพง
- ๒๐๑. พระสงฆ์ไทยไปลังกา
- ๒๐๒. เจ้าพระยาบดินทรเดชาบอกเรื่องการทัพญวน
- ๒๐๓. จับจีนขายฝิ่นที่ปากน้ำบางปะกง
- ๒๐๔. พระราชทานที่ให้พวกครัวที่กวาตต้อนมาอยู่ตามใจสมัคร
- ๒๐๕. พระสงฆ์ไทยกลับจากลังกา
- ๒๐๖. เกิดเหตุกับฮันเตอร์ (พ่อค้า)
- ๒๐๗. เตรียมการป้องกันอังกฤษ
- ๒๐๘. หัวเมืองตะวันตกเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๐๙. จับจีนตั้วเหี่ยได้
- ๒๑๐. จับขุนนางเขมรที่เป็นกบฏได้ ๑๑ คน
- ๒๑๑. ญวนยกทัพเรือมารบเขมร
- ๒๑๒. เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพไปเมืองอุดงฦๅไชย
- ๒๑๓. ญวนตีค่ายเมืองพนมเป็ญแตก
- ๒๑๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชาตีทัพญวนแตกถอยไป
- ๒๑๕. พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอับษรสุดาเทพสิ้นพระชนม์
- ๒๑๖. ความอัศจรรย์ของพระยามหาเทพ
- ๒๑๗. บอกพระยาเชียงใหม่
- ๒๑๘. ญวนพูดกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นทางไมตรี
- ๒๑๙. ญวนรื้อค่ายไปตั้งอยู่เมืองพนมเป็ญ
- ๒๒๐. งานพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอัปษรสุดาเทพ
- ๒๒๑. โสกันต์พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๒๒. ญวนให้มีราชสาสน์ไปทูลขอเจ้าหญิงต่อเจ้าเวียดนาม
- ๒๒๓. ชักพระพุทธรูปไปวัดราชนัดดาราม
- ๒๒๔. ญวนมาเตือนพระองค์ด้วงให้ส่งญวน ๔๔ คน
- ๒๒๕. ท้องตราตอบหนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๒๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือถึงองญวน
- ๒๒๗. พระองค์ด้วงแต่งทูตให้เชิญศุภอักษรไปเมืองเว้
- ๒๒๘. เจ้าพระยาบดินทรเดชากราบบังคมทูลเรื่องทัพญวน
- ๒๒๙. งานพระศพกรมขุนกัลยาสุนทร
- ๒๓๐. พระกระแสรับสั่งตอบเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๓๑. ราชทูตที่ไปเมืองเว้เฝ้าเจ้าเวียดนาม
- ๒๓๒. เจ้าเวียดนามให้พระองค์ด้วงเป็นเกามันกวัดเวือง
- ๒๓๓. เจ้าเวียดนามเทียวตรีสิ้นพระชนม์ เจ้ายอมราชบุตรเป็นเจ้าเวียดนามตือดึก
- ๒๓๔. พระองค์ด้วงเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๒๓๕. เมืองสาครบุรีเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๓๖. เมืองฉะเชิงเทราเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๓๗. เจ้าพระยาพระคลังกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาปราบจีนตั้วเหี่ยเมืองฉะเชิงเทรา
- ๒๓๘. งานฉลองวัดพระเชตุพน
- ๒๓๙. ได้พระยามงคลคชพงศ์ช้างพลาย
- ๒๔๐. ลงพระราชอาชญาสำเร็จโทษกรมหลวงรักษรณเรศ และประหารชีวิตบ่าว ๓ คน
- ๒๔๑. เจ้าพระยาพระคลังออกไปสักเลกหัวเมืองตะวันตก
- ๒๔๒. ซ่อมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและทำป้อมบางจะเกร็ง
- ๒๔๓. โปรดให้หาฤกษ์บรรจุพระบรมธาตุในพระพุทธรูป
- ๒๔๔. บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและฉลองพระเจดีย์
- ๒๔๕. จลาจลในเมืองเชียงรุ้ง
- ๒๔๖. เจ้าแสนหวีฟ้ามีอักขรกถาถึงเจ้าเมืองหลวงพระบาง
- ๒๔๗. ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในคราวเกิดไข้ปวง
- ๒๔๘. เกณฑ์ทัพเมืองเหนือไปตีเมืองเชียงตุง
- ๒๔๙. ทูตอเมริกันเชิญราชสาสน์เข้ามา
- ๒๕๐. ทูตอเมริกันฟ้องพระยาศรีพิพัฒน
- ๒๕๑. งานศพเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๕๒. เจ้าเชียงใหม่กล่าวโทษเจ้าอุปราชเข้ามากรุงเทพฯ
- ๒๕๓. ทูตอังกฤษเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญา
- ๒๕๔. ทูตอังกฤษกลับ
- ๒๕๕. ใจความในพระราชสาสน์ของพระเจ้าฮำฮอง
- ๒๕๖. สร้างป้อมเสือซ่อนเล็บและขุดคลองเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๒๕๗. การปฏิสังขรณ์และสร้างพระอาราม
- ๒๕๘. โปรดให้ต่อกำปั่นและเรือพระที่นั่ง
- ๒๕๙. ยกบ้านขึ้นเป็นเมือง
- ๒๖๐. เจ้าพระยาพระคลังถวายกลองวินิจฉัยเภรี
- ๒๖๑. พระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำ
- ๒๖๒. ภาษีอากรที่เกิดมีขึ้นใหม่
- ๒๖๓. ทรงพระประชวร
- ๒๖๔. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๖๕. พระสงฆ์อธิษฐานให้พระโรคหาย
- ๒๖๖. เกณฑ์ข้าราชการเข้าประจำซองรักษาพระราชนิเวศน์
- ๒๖๗. เจ้าพระยาพระคลังให้จมื่นราชามาตย์ไปทูลเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชเสด็จครองราชสมบัติ
- ๒๖๘. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
๑๔๔. บอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องจัดการทัพไว้ต่อสู้ญวน
เจ้าพระยาบดินทรเดชาก็บอกเข้ามามีใจความว่า พระยาพระเขมรแต่งคนมาแจ้งว่า จะขอนักองค์ด้วงออกไปเป็นเจ้านาย แล้วว่าองเตียนกุนจะยกมาตีเมืองบัตบอง เมืองนครเสียมราฐในเดือน ๑๒ ฤดูน้ำ เจ้าพระยาบดินทรเดชาไม่ไว้ใจแก่ราชการจึ่งเกณฑ์กองทัพเมืองสุรินทร์นายไพร่ ๒,๙๐๐ เมืองสังขะนายไพร่ ๕๐๐ ให้ยกลงมารักษาเมืองนครเสียมราฐ เมืองสุวรรณภูมินายไพร่ ๒,๖๐๐ เมืองยโสธรนายไพร่ ๑,๕๐๐ เมืองร้อยเอ็ดนายไพร่ ๒,๐๐๐ เมืองขอนแก่นนายไพร่ ๔๐๐ เมืองนครราชสีมา ๒,๐๐๐ ให้ไปรักษาเมืองบัตบอง ปากน้ำตึกโชเมืองมงคลบุรี แต่เขมรป่าดงเมืองขุขันธ์ ๔,๐๐๐ คน เมืองศีร์ษะเกษ ๓,๓๐๐ เมืองป่าสัก ๒,๕๐๐ เมืองศรีทันดร ๑,๐๐๐ เมืองแสนปาง ๘๐๐ เมืองเชียงแตง ๖๐๐ เมืองเดชอุดม ๑,๕๐๐ เมืองไทรบุรี ๓๐๐ รวม ๑๔,๐๐๐ คน ให้เตรียมไว้ กับพวกลาวเมืองอุบล ๔,๓๐๐ เมืองเขมราฐ ๑,๗๐๐ เมืองมุกดาหาร ๑,๑๐๐ เมืองนครพนม ๑,๐๐๐ เมืองขึ้นเมืองนครพนม ๕๐๐ เมืองสกลนคร ๑,๓๐๐ เมืองกาฬสินธุ์ ๙๐๐ เมืองหนองหาร ๖๐๐ เมืองหนองคาย ๑,๕๐๐ รวม ๑๒,๕๐๐ ให้เตรียมไว้อีกพวก ๑ มีราชการเมื่อไร จะได้เอาตัวไปโดยเร็ว
ความเรื่องนี้กล่าวไว้เพื่อจะให้ท่านทั้งหลาย รู้ประมาณผู้คนบ้านเมืองฝ่ายเรา เมืองใดจะเป็นเมืองใหญ่เมืองน้อย กำลังผู้คนมีเท่าไร
แต่กองทัพกรุงขอจมื่นสรรเพธรภักดี กองรามัญ ๓,๐๐๐ คน กับนายทัพนายกองหัวเมืองที่เคยใช้สอย ที่กรุงเก่า เมืองอ่างทอง เมืองพรหม เมืองอินทร์ เมืองชัยนาท เมืองนครสวรรค์ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองอุทัยธานี เมืองสุพรรณบุรี เมืองนครชัยศรี เมืองสระบุรี เมืองลพบุรี เมืองวิเชียร เมืองเพ็ชรบูรณ์ เมืองฉะเชิงเทรา ลาวท่าสาน เมืองนครนายก กับข้าราชการที่เคยออกไปครั้งก่อนกลับเข้ามา ขอให้ออกไปในเดือน ๑๑ ข้างขึ้น กับขอปืนจ่ารง ๒๐ กะบอก นอกจากเตรียมไว้ที่เมืองปราจีน ปืนคาบศิลา ๑๐,๐๐๐ กะบอก ปืนหามแล่น ๒๐๐ กะบอก กระสุนดินดำศิลาปากนกสำหรับปืนด้วย ราชการเป็นทีจะได้ทำแก่ญวนทางเมืองโปริสาททาง ๑ เมืองสะโทงทาง ๑ พระยาภักดีเดโช เขมรทางเมืองกะพงสวายทาง ๑
กับว่าเมื่อเดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน ๑๑ นั้น เขมรกำเริบขึ้นฆ่าญวนทุกบ้านทุกเมือง แล้วเจ้าเมืองตะบงขมุม เมืองศรีสุนทร เมืองไพรแวง เมืองลำดวน เมืองสวายพาบ กับพวกแขกบ้านดงดำริพร้อมกันยกไปรบฆ่าญวนดงดำริตายสิ้น แล้วฆ่าญวนที่เกาะระตลอดไปถึงบ้านเปี่ยมจอแล้ว พระยาวังตุม พระยาราชาเดช ยาราชไมตรี อ้ายนก อ้ายอินทรวิชัย คุมทัพญวนทัพแขกทัพเขมร ๑,๐๐๐ คน มารบกับเจ้าเมืองสำโรงทอง ๆ ก็ได้ตีกองทัพญวนเขมรแตกหนีไป ฆ่าญวนตายเป็นอันมาก แล้วอ้ายเหียบตัง องเวียนไว้ คุมไพร่ญวนแขก ๑,๐๐๐ คน เรือรบ ๒๐ ลำมารบกับพระยาทิพบ้านฉนวน ได้สู้รบกับญวนแตกหนีไป พระยาทิพบ้านฉนวนไล่ติดตามไปถึงบ้านแขกชวาคลองหลวง เผาบ้านเรือนแขกเสีย พระยาราชเดชกวาดครอบครัวเมืองพนมเป็ญตะวันตกตะวันออก เลือกเอาแต่ชายฉกรรจ์ได้ ๓,๐๐๐ ไปตั้งอยู่ข้างทางเจียนสวาย แล้วยกไปตีค่ายญวนโรงดำริ ฆ่าญวนตายได้เรือแงโอ ๗ ลำ ปืนใหญ่ ๕๐ กะบอก ปืนคาบศิลา ๗๐ กะบอก พระยาทิพตีญวนที่เมืองป่าสักแตก ได้เรือแงโอ ๗ ลำ ปืนใหญ่น้อยเป็นอันมาก พระยาโยธาเสนาแม่กองเมืองกำปอด พระยาภิมุขวงศากับพระยาพระเขมรยกไปรบญวนที่ตำหนักจังเวอ ฆ่าญวนตายเป็นอันมาก ครั้นณเดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ[๑] พระยาโยธาเสนาซ้ายคุมไพร่ ๑๐๐ คนตั้งอยู่คลองลำภู ได้ยกมารบญวน ฆ่าญวนตาย ๕๐ คน เก็บได้ปืน ๑๓ กะบอก เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ[๒] พระยามโนราชาสงคราม (สุด) คุมกองทัพไปตีค่ายญวนที่วันลงกบฏฆ่าญวนตาย ๔๘ คน แล้วณวันเดือน ๑๐ แรม ๑๐ ค่ำ[๓] พระยามโนราชาสงคราม (สุด) พระมนตรีเสน่หา พระยามโนราชากลาภาษ (เภา) พร้อมกันยกไปตีค่ายพระสุริวงศ์ (เมียด) พระยาพิษณุโลกและค่ายญวนตั้งอยู่ที่เมืองตรังแตก แล้วไล่ติดตามไปถึงกะพงปรงใหญ่ จับได้ตัวพระยาพิษณุโลก ฆ่าญวนตายครึ่ง ๑ หนีไปได้ครึ่ง ๑ แล้วเอาตัวพระยาพิษณุโลกมาไว้ไกรเชิง แล้วยกไปตีค่ายกะพงเกษ ฆ่าญวนตาย ๒ คน แล้วยกไปตีค่ายกะพงบาย ฆ่าญวนตาย ๑๕ คน พระยาโยธาเสนา (เตียง) ยกไปรบกับญวนที่ตำหนักจังเวอ ฆ่าญวนตาย ๕๐ คน พระยาเชตคุมไพร่ ๖๐๐ คน ยกมาล้อมจับเจ้าเมืองกะพงเสียมกับญวนที่รักษาเมือง ฆ่าเสีย ๓๐ คน พระยาบันสันเจ้าเมืองเชิงป่า ฆ่าญวนซึ่งรักษาเมืองเชิงป่าตาย ๕๐ คน เขมรพร้อมใจกันจับญวนฆ่าเสียทุกบ้านทุกเมือง จนชั้นแต่ไพร่พลเมืองมันก็คุมกันเข้าหมวดละ ๒๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง เห็นญวนเข้าที่ใดน้อยตัวกว่าก็ฆ่าเสีย ญวนก็คับแคบเข้าต้องรักษาตัวอยู่ในค่าย องเดดกองอันผู้เมืองโปริสาทก็ถอนเอาญวนที่รักษาอยู่ตามค่ายตะมองชุดค่ายตะพานจัน ค่ายตะโล เป็นคน ๑,๗๐๐ คน มารวมอยู่ในเมืองโปริสาทถึง ๒,๐๐๐ คนเศษ และครัวที่องค์อิ่มกวาดไปก็หนีกลับมาเมืองบัตบองได้หมด
ความเรื่องนี้กล่าวไว้ เพื่อให้ท่านทั้งหลายเห็นความว่าเขมรมันกำเริบขึ้นเช่นนี้ เหลือที่นายทัพนายกองจะปราบปราม อย่าว่าแต่ญวนเลย ถึงกองทัพไทยเมื่อยกไปปีมะเส็งเบ็ญจศก ก็ถูกเขมรซ้ำเติมฆ่าฟันกองทัพไทยเหมือนกันเช่นนี้