- คำนำ
- ๑. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสวยราชย์
- ๒. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๔. ทรงตั้งพระราชาคณะ
- ๕. ทรงสถาปนาสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์
- ๖. ทรงตั้งข้าราชการ
- ๗. เจ้าพระยาพระคลังประดิษฐ์แคร่กัญญา
- ๘. วอประเวศวัง
- ๙. โปรดให้ยกทัพไปช่วยอังกฤษ
- ๑๐. เกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๑๑. สร้างและซ่อมพระราชวัง
- ๑๒. ราชสาสนพะม่า
- ๑๓. ราชสาสน์และราชบรรณาการญวน
- ๑๔. จัดการพระบรมศพ
- ๑๕. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๖. เจ้าอนุเวียงจันท์ลงมาช่วยการพระบรมศพ
- ๑๗. อังกฤษได้เขตต์แดนพะม่า
- ๑๘. พิธีจองเปรียง
- ๑๙. เตรียมรับราชทูต
- ๒๐. สมเด็จพระอมรินทรามาตย์สวรรคต
- ๒๑. เจ้าเมืองบังกลาให้ทำหนังสือสัญญาค้าขายกับพะม่า
- ๒๒. เจ้าอนุเวียงจันท์เป็นกบฏ
- ๒๓. เจ้าอุปราชเกลี้ยกล่อมหัวเมืองขึ้นกรุงเทพฯ
- ๒๔. เจ้าอนุยกทัพออกจากเวียงจันท์
- ๒๕. อนุให้กวาดครอบครัวเมืองนครราชสีมา
- ๒๖. พระยาปลัดเข้าหาอนุ
- ๒๗. ท่านผู้หญิงโม้ต่อสู้กองทัพอนุ
- ๒๘. อนุถอยทัพ
- ๒๙. อนุตั้งค่ายใหญ่บนเขาสาร
- ๓๐. ราชทูตกลับจากเมืองจีน
- ๓๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลยกทัพออกจากกรุง
- ๓๒. ใบบอกเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
- ๓๓. พระยาราชสุภาวดีตีทัพเจ้าโถงแตก
- ๓๔. พระยาราชสุภาวดีตีค่ายเวียงคุกเมืองยโสธรแตก
- ๓๕. อนุทิ้งที่สำคัญหนีไปเวียงจันท์
- ๓๖. กองทัพไทยถูกล้อม
- ๓๗. ได้เมืองเวียงจันท์
- ๓๘. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีจดหมายรับสั่งให้กราบบังคมทูลฯเรื่องเมืองเวียงจันท์
- ๓๙. ตีทัพพระยาเชียงสา
- ๔๐. เลื่อนพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยา
- ๔๑. งานพระบรมศพสมเด็จพระอมรินทรามาตย์
- ๔๒. เจ้าเวียดนามให้ญวนพาอนุและราชวงศ์มาส่งเมืองเวียงจันท์
- ๔๓. อนุและราชวงศ์ยกคนเข้าล้อมกองทัพไทย
- ๔๔. พระเจ้ากรุงเวียดนามมีพระราชสาสน์ให้ทูตเข้ามาขอโทษเจ้าอนุ
- ๔๕. ทูตญวนกลับ
- ๔๖. ทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีสู้รบกับทัพเจ้าราชวงศ์
- ๔๗. ทัพราชวงศ์แตกหนี
- ๔๘. อนุหนีจากเมืองเวียงจันท์
- ๔๙. แม่ทัพไทยลวงฆ่าพวกญวน
- ๕๐. จับเจ้าอนุได้
- ๕๑. ส่งอนุกับครอบครัวลงมากรุงเทพ ฯ
- ๕๒. สร้างป้อมและขุดคลอง
- ๕๓. เกณฑ์ให้ต่อเรือรบ ๓๐ ลำ
- ๕๔. ทูตญวนเข้ามาและทูตไทยไปเมืองญวน
- ๕๕. แห่สระสนานครั้งใหญ่
- ๕๖. นักองค์จันท์ส่งเครื่องบรรณาการ
- ๕๗. ตั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมุหนายก
- ๕๘. ราชทูตไทยกลับจากเมืองญวน เจ้าเวียดนามตอบราชสาสน์
- ๕๙. พระราชสาสน์ถึงพระเจ้าเวียดนาม
- ๖๐. กรมหมื่นสุรินทรรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๖๑. เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม
- ๖๒. ราชทูตไทยกลับจากเมืองญวน
- ๖๓. ใบบอกพระยาสงขลาเรื่องเมืองไทร
- ๖๔. โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง
- ๖๕. เพลิงไหม้ในกำแพงพระนคร
- ๖๖. งานพระศพเจ้านาย
- ๖๗. น้ำท่วม
- ๖๘. การปฏิสังขรณ์และฉลองพระอารามต่างๆ
- ๖๙. ทรงกระทำสัตสดกมหาทาน
- ๗๐. เจ้าพระยานครศรีธรรมราชตีเมืองไทรได้
- ๗๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงประชวรสวรรคต
- ๗๒. เจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยานครศรีธรรมราชยกกองทัพไปปราบแขกในหัวเมืองฝ่ายใต้
- ๗๓. ไพร่หลวงเกณฑ์บุญ
- ๗๔. สร้างป้อมพิฆาตข้าศึก
- ๗๕. ทูตอเมริกันเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๗๖. พระยาลีงาทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ
- ๗๗. การจลาจลในเมืองญวน
- ๗๘. โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาและเจ้าพระยาพระคลังไปรบญวน
- ๗๙. กองทัพไทยกับกองทัพญวนเข้าสู้รบกัน
- ๘๐. ญวนถอยทัพจากเมืองโจฎก
- ๘๑. เขมรเป็นกบฏ
- ๘๒. กองทัพไทยเข้าตั้งในเมืองบัตบอง
- ๘๓. เจ้าเมืองพวนยอมสวามิภักดิ์
- ๘๔. เจ้าเมืองพวนรับรองกองทัพไทย
- ๘๕. พระยาอภัยภูเบศรถึงอสัญญกรรม
- ๘๖. กรมหลวงเสนีบริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๘๗. แต่งคนขึ้นไปเกลี้ยกล่อมพวกหัวพันห้าทั้งหก
- ๘๘. เกณฑ์ต่อเรือป้อมอย่างญวน
- ๘๙. เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองสร้างเมืองจันทบุรีและวัดโยธานิมิตร
- ๙๐. สร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราและป้อมคงกระพัน
- ๙๑. องเตียนกุนจับองภอเบโคยกับพรรคพวกได้
- ๙๒. องค์จันทร์ถึงพิราลัย
- ๙๓. พระยาพระเขมรขอเข้ามาพึ่งพระบรมเดชานุภาพ
- ๙๔. ขุนตระเวนนาเวศกับพวกถูกญวนจับได้
- ๙๕. เจ้าพระยาพระคลังให้ล่ามแปลหนังสือขององตุมผู
- ๙๖. ได้พระยามงคลนาคินทร์ช้างพลายเมืองนครราชสีมา
- ๙๗. ซ่อมพระอุโบสถและสร้างพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพน
- ๙๘. พระยาราชนิกูลยกทัพไปรักษาเมืองอุบล เมืองจำปาศักดิ์
- ๙๙. พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์
- ๑๐๐. ปรึกษาเรื่องจัดหัวเมืองพันห้าทั้งหก
- ๑๐๑. องเตียนกุนเตรียมฝึกซ้อมทหารญวนทหารเขมร
- ๑๐๒. งานพระศพพระองค์เจ้าลักขณา
- ๑๐๓. ได้พระบรมไกรสรช้างพลายกระ
- ๑๐๔. ทูตอเมริกันเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญา
- ๑๐๕. ทูตอเมริกันพักที่ตึกหน้าบ้านพระยาราชสุภาวดี
- ๑๐๖. ทูตอเมริกันกลับ
- ๑๐๗. สมเด็จพระพันวัสสาสวรรคต
- ๑๐๘. ฉลองวัดประยูรวงศ์
- ๑๐๙. ข้าหลวงออกไปทำบัญชีเขมรป่าดง ๓๑ เมือง
- ๑๑๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชาเกณฑ์สร้างป้อมกำแพงเมืองบัตบอง
- ๑๑๑. งานพระบรมศพสมเด็จพระพันวัสสา
- ๑๑๒. เสด็จก่อพระฤกษ์พระโตวัดกัลยาณมิตร
- ๑๑๓. สมเด็จพระศรีสุลาลัยสวรรคต
- ๑๑๔. องค์ด้วงเที่ยวเกลี้ยกล่อมชาวเมือง
- ๑๑๕. องค์ด้วงถูกคุมตัวลงมากรุงเทพ ฯ
- ๑๑๖. การฉลองวัดหนัง
- ๑๑๗. ขุดคลองบางขนากและแก้คลองพระโขนง
- ๑๑๘. ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องสร้างเมืองบัตบอง
- ๑๑๙. งานพระบรมศพกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย และฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๑๒๐. งานพระศพกรมหลวงเทพพลภักดิ์
- ๑๒๑. สร้างป้อมกำแพงเมืองนครเสียมราฐ
- ๑๒๒. เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีสิ้นพระชนม์
- ๑๒๓. แขกสลัดยกเข้าตีเมืองตรังเมืองไทรบุรี
- ๑๒๔. มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนอังกฤษนำอักษรสาสน์เข้ามา
- ๑๒๕. จัดที่พักให้มิสเตอร์ฤทธิ์สชอน
- ๑๒๖. โปรดให้มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนเฝ้า และถวายบรรณาการ
- ๑๒๗. พระยาสุเรนทรราชเสนาเชิญศุภอักษรไปเชียงใหม่
- ๑๒๘. แผ่นดินไหว
- ๑๒๙. บอกพระยาราชสุภาวดีเรื่องสร้างนครเสียมราฐ
- ๑๓๐. งานพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๑. พระยากลันตันกับพระยาบาโงยวิวาทกัน
- ๑๓๒. พระยาศรีพิพัฒน์มีตราให้หาเจ้าเมืองแขกซึ่งวิวาทกัน
- ๑๓๓. พระยาศรีพิพัฒน์บังคับให้เลิกรบทั้ง ๒ ฝ่าย
- ๑๓๔. เจ้าพระยานครถึงอนิจจกรรม
- ๑๓๕. ตั้งตนกูอาหนุ่มเป็นผู้ว่าราชการเมืองไทร
- ๑๓๖. พระยาศรีพิพัฒน์สร้างพระเจดีย์บนยอดเขา
- ๑๓๗. พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๓๘. นักองค์อิ่มจับกรมการเมืองบัตบองและกวาดครอบครัวหนีไปพนมเป็ญ
- ๑๓๙. ใบบอกกรมการเมืองบัตบอง
- ๑๔๐. ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระเชตุพน
- ๑๔๑. เจ้าพระยาบดินทรเดชาออกไปจัดการเมืองบัตบอง
- ๑๔๒. พระสงฆ์ลังกาเข้ามากรุงเทพมหานคร
- ๑๔๓. เจ้าเมืองโปริสาทพาครอบครัวมาหาเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๔๔. บอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องจัดการทัพไว้ต่อสู้ญวน
- ๑๔๕. ทัพไทยตีค่ายกะพงทมและค่ายญวนเมืองชีแครง
- ๑๔๖. พระยาพระเขมรมีหนังสือมาขอองค์ด้วง
- ๑๔๗. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้ระดมตีทัพญวน
- ๑๔๘. เจ้าพระยาบดินทรเดชาปรึกษาเรื่องการทัพญวน
- ๑๔๙. ญวนยอมทำพระราชไมตรีตามเดิม
- ๑๕๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือถึงเสนาบดีเมืองเว้
- ๑๕๑. เจ้าพระยาบดินทรเดชาจัดการส่งขุนนางญวน
- ๑๕๒. องเตียนกุนโกรธองเดดก
- ๑๕๓. ญวนให้พระสงฆ์ถือหนังสือไปหาพระยาพระเขมร
- ๑๕๔. พระสงฆ์ลังกาเข้ามาถึงกรุงเทพฯ
- ๑๕๕. พระยากลันตันกับพระยาบาโงยเกิดวิวาทกันอีก
- ๑๕๖. พระองค์ด้วงครองเมืองบัตบอง
- ๑๕๗. เจ้าพระยาบดินทรเดชาขอเจ้าพระยายมราชออกไปช่วยราชการ
- ๑๕๘. เจ้าเวียดนามมินมางทิวงคต
- ๑๕๙. เตืองคำสือมืนคงได้เป็นเจ้าเวียดนาม
- ๑๖๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชาส่งญวนมากรุงเทพ ฯ
- ๑๖๑. หนังสือขององเกรินตาเตืองกุนถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๖๒. คำอธิบายชื่อในหนังสือองเกรินตาเตืองกุน
- ๑๖๓. ใบบอกพระยาเสนาภูเบศรเรื่องรบกับทัพญวน
- ๑๖๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชาสร้างเมืองให้พระองค์ด้วง
- ๑๖๕. พระมหาสงครามไปกวาดครอบครัวเมืองเวียงจันท์
- ๑๖๖. ตนกูอับดุลลาเป็นพระยาไทรบุรี
- ๑๖๗. พระองค์ด้วงพาไพร่พลไปตั้งอยู่ที่เมืองอุดงฦๅชัย
- ๑๖๘. พระองค์ด้วงตั้งแต่งขุนนางแล้วส่งไปรักษาเขตต์แดน
- ๑๖๙. ทัพเขมรรบกับทัพญวน
- ๑๗๐. คำให้การของมองสวยตองเรื่องการเมืองพะม่า
- ๑๗๑โปรดเกล้าฯ ให้มองสวยตองไปอยู่คอกกระบือ ภายหลังถูกจำคุก
- ๑๗๒. องค์อิ่มทำหนังสือไปเกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร
- ๑๗๓. กองทัพญวนขัดสนสะเบียงอาหาร
- ๑๗๔. องเตียนกุนกินยาตาย
- ๑๗๕. ท้องตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๗๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้กราบทูลถึงเรื่องถมคลองขุด
- ๑๗๗. เจ้าอุปราชเกณฑ์ทัพหัวเมืองตีเมืองฟากโขง
- ๑๗๘. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพเรือ
- ๑๗๙. เจ้าพระยายมราชคุมกองทัพไปตั้งค่ายที่เขาเชิงกะชุม
- ๑๘๐. กองทัพเรือไทยเผาค่ายญวน
- ๑๘๑. จมื่นไวยวรนารถให้ยกทัพเรือทัพบกเข้าประชิดค่ายญวน
- ๑๘๒. หนังสือบอกจมื่นไวยวรนารถถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องถอยทัพเรือ
- ๑๘๓. กองทัพไทยแตกที่เมืองโจฎก
- ๑๘๔. ลำเลียงข้าวเกลือส่งเมืองกำปอด
- ๑๘๕. เกิดจีนตั้วเหี่ยขึ้นที่เมืองนครชัยศรีและสาครบุรี
- ๑๘๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้เจ้าพระยายมราชคุมคนไปสร้างเมืองที่อุดงฦๅไชย
- ๑๘๗. ทรงกริ้วเจ้าพระยายมราชและนายทัพนายกอง
- ๑๘๘. เจ้าเวียดนามให้เกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร
- ๑๘๙. ดาวหางขึ้น
- ๑๙๐. บอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๙๑. มีพระราชปฏิสันถารกับพระสงฆ์ลังกา
- ๑๙๒. เจ้าเมืองสิงคโปร์ตอบหนังสือเจ้าพระยาพระคลัง
- ๑๙๓. พระสงฆ์ไทยออกไปเมืองลังกา
- ๑๙๔. ชำระพระสงฆ์ประพฤติอนาจาร
- ๑๙๕. พระสงฆ์ไทยออกไปส่งพระลังกากลับถึงกรุงเทพ ฯ
- ๑๙๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาขอเข้ามาแจ้งราชการณกรุงเทพฯ
- ๑๙๗. ท้องตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๙๘. เพลิงไหม้พระมหามนเทียร
- ๑๙๙. ได้ช้างสำคัญ ๓ ช้าง
- ๒๐๐. ข้าวแพง
- ๒๐๑. พระสงฆ์ไทยไปลังกา
- ๒๐๒. เจ้าพระยาบดินทรเดชาบอกเรื่องการทัพญวน
- ๒๐๓. จับจีนขายฝิ่นที่ปากน้ำบางปะกง
- ๒๐๔. พระราชทานที่ให้พวกครัวที่กวาตต้อนมาอยู่ตามใจสมัคร
- ๒๐๕. พระสงฆ์ไทยกลับจากลังกา
- ๒๐๖. เกิดเหตุกับฮันเตอร์ (พ่อค้า)
- ๒๐๗. เตรียมการป้องกันอังกฤษ
- ๒๐๘. หัวเมืองตะวันตกเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๐๙. จับจีนตั้วเหี่ยได้
- ๒๑๐. จับขุนนางเขมรที่เป็นกบฏได้ ๑๑ คน
- ๒๑๑. ญวนยกทัพเรือมารบเขมร
- ๒๑๒. เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพไปเมืองอุดงฦๅไชย
- ๒๑๓. ญวนตีค่ายเมืองพนมเป็ญแตก
- ๒๑๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชาตีทัพญวนแตกถอยไป
- ๒๑๕. พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอับษรสุดาเทพสิ้นพระชนม์
- ๒๑๖. ความอัศจรรย์ของพระยามหาเทพ
- ๒๑๗. บอกพระยาเชียงใหม่
- ๒๑๘. ญวนพูดกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นทางไมตรี
- ๒๑๙. ญวนรื้อค่ายไปตั้งอยู่เมืองพนมเป็ญ
- ๒๒๐. งานพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอัปษรสุดาเทพ
- ๒๒๑. โสกันต์พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๒๒. ญวนให้มีราชสาสน์ไปทูลขอเจ้าหญิงต่อเจ้าเวียดนาม
- ๒๒๓. ชักพระพุทธรูปไปวัดราชนัดดาราม
- ๒๒๔. ญวนมาเตือนพระองค์ด้วงให้ส่งญวน ๔๔ คน
- ๒๒๕. ท้องตราตอบหนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๒๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือถึงองญวน
- ๒๒๗. พระองค์ด้วงแต่งทูตให้เชิญศุภอักษรไปเมืองเว้
- ๒๒๘. เจ้าพระยาบดินทรเดชากราบบังคมทูลเรื่องทัพญวน
- ๒๒๙. งานพระศพกรมขุนกัลยาสุนทร
- ๒๓๐. พระกระแสรับสั่งตอบเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๓๑. ราชทูตที่ไปเมืองเว้เฝ้าเจ้าเวียดนาม
- ๒๓๒. เจ้าเวียดนามให้พระองค์ด้วงเป็นเกามันกวัดเวือง
- ๒๓๓. เจ้าเวียดนามเทียวตรีสิ้นพระชนม์ เจ้ายอมราชบุตรเป็นเจ้าเวียดนามตือดึก
- ๒๓๔. พระองค์ด้วงเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๒๓๕. เมืองสาครบุรีเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๓๖. เมืองฉะเชิงเทราเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๓๗. เจ้าพระยาพระคลังกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาปราบจีนตั้วเหี่ยเมืองฉะเชิงเทรา
- ๒๓๘. งานฉลองวัดพระเชตุพน
- ๒๓๙. ได้พระยามงคลคชพงศ์ช้างพลาย
- ๒๔๐. ลงพระราชอาชญาสำเร็จโทษกรมหลวงรักษรณเรศ และประหารชีวิตบ่าว ๓ คน
- ๒๔๑. เจ้าพระยาพระคลังออกไปสักเลกหัวเมืองตะวันตก
- ๒๔๒. ซ่อมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและทำป้อมบางจะเกร็ง
- ๒๔๓. โปรดให้หาฤกษ์บรรจุพระบรมธาตุในพระพุทธรูป
- ๒๔๔. บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและฉลองพระเจดีย์
- ๒๔๕. จลาจลในเมืองเชียงรุ้ง
- ๒๔๖. เจ้าแสนหวีฟ้ามีอักขรกถาถึงเจ้าเมืองหลวงพระบาง
- ๒๔๗. ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในคราวเกิดไข้ปวง
- ๒๔๘. เกณฑ์ทัพเมืองเหนือไปตีเมืองเชียงตุง
- ๒๔๙. ทูตอเมริกันเชิญราชสาสน์เข้ามา
- ๒๕๐. ทูตอเมริกันฟ้องพระยาศรีพิพัฒน
- ๒๕๑. งานศพเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๕๒. เจ้าเชียงใหม่กล่าวโทษเจ้าอุปราชเข้ามากรุงเทพฯ
- ๒๕๓. ทูตอังกฤษเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญา
- ๒๕๔. ทูตอังกฤษกลับ
- ๒๕๕. ใจความในพระราชสาสน์ของพระเจ้าฮำฮอง
- ๒๕๖. สร้างป้อมเสือซ่อนเล็บและขุดคลองเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๒๕๗. การปฏิสังขรณ์และสร้างพระอาราม
- ๒๕๘. โปรดให้ต่อกำปั่นและเรือพระที่นั่ง
- ๒๕๙. ยกบ้านขึ้นเป็นเมือง
- ๒๖๐. เจ้าพระยาพระคลังถวายกลองวินิจฉัยเภรี
- ๒๖๑. พระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำ
- ๒๖๒. ภาษีอากรที่เกิดมีขึ้นใหม่
- ๒๖๓. ทรงพระประชวร
- ๒๖๔. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๖๕. พระสงฆ์อธิษฐานให้พระโรคหาย
- ๒๖๖. เกณฑ์ข้าราชการเข้าประจำซองรักษาพระราชนิเวศน์
- ๒๖๗. เจ้าพระยาพระคลังให้จมื่นราชามาตย์ไปทูลเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชเสด็จครองราชสมบัติ
- ๒๖๘. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
๓๘. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีจดหมายรับสั่งให้กราบบังคมทูลฯเรื่องเมืองเวียงจันท์
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีจดหมายรับสั่งมาถึงกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ กรมหมื่นรักษรณเรศร ให้กราบทูลพระกรุณาให้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ราชการซึ่งขึ้นมาตีเมืองเวียงจันท์ครั้งนี้ ครั้นมาถึงได้เมืองเวียงจันท์แล้ว พิเคราะห์ดูการที่เป็นที่ทางซึ่งมันจะรับรองกำลังไพร่พล และจัดแจงบ้านเมืองไว้เสียเปรียบมันมากนัก ได้เปรียบมันอยู่ ๒ อย่าง แต่คนซึ่งจะทำให้ได้เหมือนใจมันน้อยตัวอย่าง ๑ กับมันไม่เผาสะเบียงรายทางเสียอย่าง ๑ เมื่อนายทัพนายกองทะแกล้วทหารไพร่พลฝ่ายเราเล่า ก็ได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่แล้ว แต่ว่าหาได้ด้วยฝีมือทะแกล้วทหารไม่ ได้ด้วยพระบารมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าราชการละไว้ทำต่อปีหน้าแล้ว จะลำบากยากยิ่งนัก ฝ่ายทัพพุงดำ ๕ หัวเมืองและหัวเมืองหลวงพระบางนั้น ถ้าทัพหลวงไม่ได้เมืองเวียงจันท์ ก็หามีผู้ใดมาถึงเมืองเวียงจันท์ไม่ แต่จะคอยเก็บครอบครัวช้างม้าอยู่ริมเขตต์แดนคอยทีไหวพริบเป็น ๒ เงื่อน แต่บัดนี้ใช้สอยได้เป็นปกติ ต้องขู่บ้าง ปลอบบ้าง แต่ยังดูน้ำใจทั้ง ๖ หัวเมือง ๆ หลวงพระบางอ่อนนัก เมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน ๒ เมืองนี้ ก็สุดแต่เมืองละคร เมืองแพร่นั้นตามธรรมเนียม แต่เมืองน่านนั้นการเดิมไหวอยู่ พระยาลครคนนี้มีอัธยาศัยมาก สมควรที่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมชุบเลี้ยง เห็นเป็นราชการได้ยืนยาว และจดหมายข้อราชการดำริซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาพิไชยวารีขึ้นมาณค่ายม่องสองก่อนนั้น จะได้อย่างพระราชดำริบ้าง จะมิได้บ้าง การซึ่งจะจัดบ้านเมืองครั้งนี้ เปี่ยมปัญญาเต็มทีเป็นที่ยาก เป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อมอยู่แล้ว จะตีเมืองเวียงจันท์ถวายสัก ๒ เมือง ๓ เมืองเห็นจะง่ายกว่าจัดนี้ จะต้องผ่อนปรนไปตามการ ตีบ้านเมืองครอบครัวได้สักเท่าใด ๆ ก็ไม่มีกำไร ทำกับบ้านเมืองไพร่พลของเราเองทั้งนั้น แต่จะคิดถ่ายเอาคนลงไปถ่วงไว้ ณหัวเมืองใกล้กรุงและกรุงเทพมหานครให้จงมาก ฝ่ายหัวเมืองลาวเมืองเขมรป่าดงเล่า เจ้าเมืองและบุตรหลานท้าวเพี้ยผู้ใหญ่ทั้งปวงล้มตาย ขาดเชื้อสายเสียเป็นอันมาก ไพร่พลเมืองจะได้ครึ่งหนึ่งบ้าง กว่าครึ่งหนึ่งบ้าง ไม่ถึงครึ่งบ้าง จะใช้ไปมาถึงกันระยะทางไกล กว่าจะได้รู้ราชการช้านัก เทศกาลก็เป็นฤดูฝนจะเดินไปมาหากันจะหาใคร่ได้ไม่ แล้วได้มีตราจดหมายบังคับทอดธุระลงไป ให้พระยาราชสุภาวดีประจำอยู่แรมปี จัดแจงเมืองจำปาศักดิ์และเมืองลาวเมืองเขมรป่าดง ทางเมืองหล่มศักดิ์เมืองหล่มเลยเล่า จะให้พระยาเพ็ชรพิไชย พระยาสมบัติธิบาลเป็นผู้ไปจัด จะให้กลับไปในฤดูฝนความไข้ มาก แต่เห็นจะหาเป็นไรไม่ ต่อลงแล้งจึงค่อยจัดก็พอจะได้ และราชการณเมืองเวียงจันท์ เมืออ้ายอนุหนีออกจากเมืองเวียงจันท์วันเดียวกันกับกองหน้าตีค่ายบ้านส้มป่อยแตก กว่ากองทัพจะขึ้นไปถึงเมืองเวียงจันท์ระยะทางถึง ๕ วันหนีห่างได้ถนัด ได้เมืองเวียงจันท์แต่เปลือกเมือง ครอบครัวก็อพยพหนีไปจนสิ้น บัดนี้ครอบครัวก็ยังปะปนกันอยู่กับครัวเมืองนครราชสืมา เมืองสระบุรี เมืองหล่มศักดิ์ เมืองลาว เมืองเขมรฝ่ายตะวันออก การซึ่งจะทำให้แล้วโดยเร็วหาได้ไม่ ถ้ากองทัพกรุงไปตามครอบครัวน้อยตัว ก็ต่อสู้ ถ้าไปมากหนีเสียบ้างได้มาบ้าง ครัวซึ่งนายทัพนายกองได้มา ๒๐๐-๓๐๐ คน จะเลือกเอาฉกรรจ์แต่สัก ๙ คน ๑๐ คนก็ไม่ใคร่จะได้ ถ้าพุงดำไปเกลี้ยกล่อมถึงไปน้อย ได้ครอบครัวมามาก ด้วยเป็นลาวเหมือนกัน ครัวหาสู้รบไม่ ได้ฉกรรจ์ก็มาก ครั้นจะคิดให้ตั้งเมืองเวียงจันท์ไว้เกลี้ยกล่อมก่อน ก็หามีผู้ใดอยู่รักษาไม่ จะให้แต่กำลังเมืองหลวงพระบางอยู่รักษาและเกลี้ยกล่อมครัวก็ยังไม่ได้ตัว อ้ายอนุ อ้ายปาศักดิ์ อ้ายราชวงศ์ อ้ายสุทธิสาร อ้ายโถง เห็นเมืองหลวงพระบางจะทำเมืองเดียวหาได้ไม่ จึ่งให้ทำลายเมืองเวียงจันท์เสียให้สิ้นอาลัย ครอบครัวเมืองเวียงจันท์ก็หลบหนีไปทางเมืองลคร เมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองหลวงพระบางเป็นอันมาก ไปถึงบ้านเมืองแล้วก็มีบ้าง ครั้นจะชำระเอาครอบครัวคืนก็จะต้องกดขี่กันถึงหนักจึ่งจะได้ ฝ่ายหัวเมืองเราก็จะช้ำชอกเสียใจ แต่คิดเห็นว่า ประมาณคนเมืองเวียงจันท์ และเมืองขึ้นกับเมืองเวียงจันท์ ฉกรรจ์ประมาณ ๒๐,๐๐๐ เศษ ถ้าบ้านเมืองเป็นปกติจะเกณฑ์ทัพลงไปกรุงจะได้แต่เพียง ๘,๐๐๐-๙,๐๐๐ เศษ กำลังกองทัพไทยจะทำเอาครัวและฉกรรจ์ให้ได้ ๑๐,๐๐๐ จนเดือน ๕ ก็ไม่สำเร็จ ถึงว่าจะทำได้ในระหว่างนี้ เมืองนครราชสีมาก็ยับมากและขัดด้วยสะเบียงอาหาร ทั้งมิได้ทำไร่ทำนา จะเดินครัวลงไปให้สิ้นในฤดูฝนก็ไม่ได้ จะอยู่แรมปีจนฤดูแล้ง ข้าวรายทางก็จะหมด แต่กองทัพจะรับพระราชทานลงไปก็ไม่พอ ทั้งหัวเมืองก็จะเห็นกำลังทัพกรุงเสียสิ้น กองทัพไทยเราเห็นใจกันครั้งนี้ รักใคร่ข้างเราหนักหนา ทัพกรุงและหัวเมืองก็ป่วยเจ็บอดอยากมาตามทาง แต่จะคิดฉลองพระเดชพระคุณ เอาฉกรรจ์เมืองเวียงจันท์ลงไปไว้กรุงเทพมหานครให้ได้สัก ๑๐,๐๐๐ ติดไปข้างเมืองป่าดง และทางเมืองหล่มศักดิ์เหมือนหนึ่งฝากไว้ จะคิดเอาต่างหากนอกจาก ๑๐,๐๐๐ จึ่งต้องคิดกดหัวเมือง ๖ เมืองว่า มาไม่ทันทัพหลวงตีเมืองเวียงจันท์ตามกำหนด อยู่ในระหว่างทัพมีโทษ พระยานครลำปาง พระยาอุปราชเชียงใหม่ อุปราชลำพูน พระยาน่าน หัวหน้าเมืองแพร่ อุปราชเมืองหลวงพระบาง จึ่งทำเรื่องราวสารภาพถวายขอพระราชทานทำการฉลองพระเดชพระคุณแก้ตัว จะติดตามตัวอ้ายอนุ อ้ายปาศักดิ์ อ้ายราชวงศ์ อ้ายสุทธิสาร อ้ายโถง กับบุตรภรรยาญาติพี่น้องทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถึงมาตรว่าจะมิได้ตัวก็ไม่ได้กลับมาตั้งเป็นเสี้ยนหนามในแผ่นดินขึ้นได้ แล้วจะกวาดครอบครัวทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายให้ได้ฉกรรจ์ ๑๐,๐๐๐ ทั้งครอบครัวเป็นคน ๕๐,๐๐๐ ขอแต่กองทัพข้าราชการกรุงไว้สัก ๑,๐๐๐ หรือ ๕๐๐ คน นายอยู่ด้วยสัก ๒ นาย พอจะได้ตัดสินว่ากล่าวอย่าให้หัวเมืองวิวาทกัน แต่ทัพพระยานครลำปาง พระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่ พระยาอุปราชเมืองลำพูน พระยาน่าน หัวหน้าเมืองแพร่ อุปราชเมืองหลวงพระบาง นายไพร่ ๑๔,๐๑๑ คน จะอยู่แรมปีจัดครอบครัวเมืองเวียงจันท์กว่าจะสำเร็จ ขอให้ทัพหลวงเสด็จกลับลงไปกรุงเทพมหานคร จะส่งครอบครัวให้ทันทัพหลวงสักส่วน ๑ จะค้างไว้ส่งต่อฤดูแล้ง ๒ ส่วน และซึ่งเสด็จยกทัพหลวงขึ้นมาทั้งพระญาติวงศานุวงศ์กับนายทัพนายกองทั้งปวง ตั้งใจทำราชการฉลองพระเดชพระคุณครั้งนี้จะคิดค้างปี มิได้คิดแก่เหนื่อยยาก แต่ครัวที่นายทัพนายกองได้แล้วและครัว ๖ หัวเมืองจะส่งจะเดินลงไปส่งสะเบียงตามรายทาง ก็พานจะหวุดหวิด ขอพระราชทานให้มีข้าหลวงขึ้นมาช่วยเจ้าพระยาพลเทพถ่ายสะเบียงขึ้นมา รับครอบครัวเพียงเมืองบัวชุมไชยบาดาล ถ้าราชการตีอ้ายพระยาเชียงสา และตีเมืองสกลนครเป็นประการใดไว้ใจได้ ควรทัพหลวงจะกลับได้ ก็จะเสด็จจากเมืองเวียงจันท์ลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณเดือน ๘ กลางเดือน เสด็จแรมอยู่ณเมืองเวียงจันท์เป็นการไกล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษรณเรศร อยู่ณกรุงเป็นการใกล้ ให้กราบทูลพระกรุณาให้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท อาการซึ่งทำครั้งนี้คงจะไม่ให้เสียราชการ เมื่อลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท จึ่งจะกราบทูลพระกรุณาข้อราชการให้ทราบทุกประการ และรายครอบครัวกับสิ่งของซึ่งได้ในเมืองเวียงจันท์ ใบบอกและหางว่าวมีลงมาครั้งนี้จะเอาเป็นแน่ยังมิได้ เป็นการประมาณ ยังให้ชำระสืบสาวเก็บรวบรวมต่อไปอีกอยู่ ถ้าจะได้ครอบครัวและสิ่งของมากน้อยเท่าใด ก็จะส่งลงมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายให้สิ้นเชิง ไม่แบ่งไว้เป็นของในพระราชวังหลวง พระราชวังบวรสถานมงคล ถ้าเสด็จลงมาถึงกรุงเทพมหานคร จึ่งจะกราบทูลพระกรุณา ขอรับพระราชทานบ้าง แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม อนึ่งช้างซึ่งบรรทุกดินดำให้นายศักดิ์มหาดเล็กกับจมื่นทิพเสนาคุมลงมา ๑๑๐ ช้างนั้นเป็นช้างไม่สู้งาม ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายลงมาทั้งคนทั้งช้างก่อน ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษรณเรศรรับเอาช้างและคนปรนปรือไว้ ครั้งนี้จะหาช้างลงมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใช้ราชการสำหรับแผ่นดินให้ได้ ๒,๐๐๐ ช้าง แต่ม้านั้นยังได้น้อยนัก จะหาดีหางามลงมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายยังไม่ได้ ยังจะหาต่อไปอีกอยู่ จะบอกกำหนดมากและน้อยยังมิได้ ปืนใหญ่เมืองเวียงจันท์นั้นจะบรรทุกช้างลงไปก็มิได้ จะชักลากก็เป็นฤดูฝน รูปร่างจะหางามก็ไม่ได้คล้ายกันกับเทียนพรรษา ขอพระราชทานย่อยเอาทองลงไป จะหล่อใช้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายณกรุงเทพมหานครใหม่ กำหนดจะเดินครัวตั้งแต่นายศักดิ์นายเวรมหาดเล็กเดินลงมาแล้ว จะจัดให้เดินเนื่องๆ กันลงมา และนายทัพนายกองของเราครั้งนี้ ที่ดีก็มีบ้างอยู่แต่น้อย แม้นจะเอาโทษตามอาชญาศึกก็จะเปลืองนัก และจดหมายราชการเล่มนี้ ให้พระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายที่ลับ ให้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ควรมิควรขอพระราชทานโทษ อนึ่งพระพุทธรูปสำหรับเมืองเวียงจันท์ พระบางหายไป ว่าข้าพระพาเอาไปฝังเสีย สืบยังหาได้ไม่ ได้แต่พระเสริม พระไส พระศุก พระแซ่คำ พระแก่นจันทน์ พระสรงน้ำ พระเงินหล่อ พระเงินบุ รวม ๙ พระองค์ แต่จะเอาลงไปกรุงเทพมหานครได้แต่พระแซ่คำองค์ ๑ ได้พระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระแซ่คำ ๑๐๐ พระองค์ กับได้พระเจ้าฉันผลสมอหน้าตัก ๒๐ นิ้วพระองค์ ๑ พระนาคสวาดหน้าตัก ๑๐ นิ้วพระองค์ ๑ หนัก ๑๗ ชั่ง พระนาคสวาดหน้าตัก ๘ นิ้วพระองค์ ๑ หนัก ๓ ชั่ง ๑๐ ตำลึง พระนาคปรกศิลาดีกระบือหน้าตัก ๕ นิ้วพระองค์ ๑ แต่พระนาคสวาด ๒ องค์นั้นเห็นจะแก้เอาดีได้ จะต้องแก้มากอยู่ และพระพุทธรูปจัดส่งไปกรุงเทพมหานครมิได้นั้น ได้ให้ก่อพระเจดีย์ณค่ายหลวงเมืองพันพร้าวเหนือวัด ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกศทรงสร้างไว้ เมื่อเสด็จขึ้นมาตีเมืองเวียงจันท์ครั้งก่อน ฐานกว้าง ๕ วา สูง ๘ วา ๒ ศอก จะบรรจุพระพุทธรูปไว้เป็นที่สักการบูชา อิฐซึ่งจะก่อพระเจดีย์นั้น เกณฑ์อิฐไพร่พลในกองทัพเสมอคนละ ๒ แผ่น แล้วจะจารึกพระนามว่า พระเจดีย์ปราบเวียง และความชั่วอ้ายอนุไว้ในแผ่นศิลาให้ปรากฏอยู่ชั่วฟ้าและดิน อย่าให้หัวเมืองทั้งปวงดูเยี่ยงอย่างกันต่อไป
ครั้นจดหมายลงมาแล้วก็โปรดให้ทำพระเจดีย์ แล้วจึงเชิญพระเสริมซึ่งอยู่วัดยอดเขาแก้วมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ปราบเวียง