- คำนำ
- ๑. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสวยราชย์
- ๒. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๔. ทรงตั้งพระราชาคณะ
- ๕. ทรงสถาปนาสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์
- ๖. ทรงตั้งข้าราชการ
- ๗. เจ้าพระยาพระคลังประดิษฐ์แคร่กัญญา
- ๘. วอประเวศวัง
- ๙. โปรดให้ยกทัพไปช่วยอังกฤษ
- ๑๐. เกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๑๑. สร้างและซ่อมพระราชวัง
- ๑๒. ราชสาสนพะม่า
- ๑๓. ราชสาสน์และราชบรรณาการญวน
- ๑๔. จัดการพระบรมศพ
- ๑๕. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๖. เจ้าอนุเวียงจันท์ลงมาช่วยการพระบรมศพ
- ๑๗. อังกฤษได้เขตต์แดนพะม่า
- ๑๘. พิธีจองเปรียง
- ๑๙. เตรียมรับราชทูต
- ๒๐. สมเด็จพระอมรินทรามาตย์สวรรคต
- ๒๑. เจ้าเมืองบังกลาให้ทำหนังสือสัญญาค้าขายกับพะม่า
- ๒๒. เจ้าอนุเวียงจันท์เป็นกบฏ
- ๒๓. เจ้าอุปราชเกลี้ยกล่อมหัวเมืองขึ้นกรุงเทพฯ
- ๒๔. เจ้าอนุยกทัพออกจากเวียงจันท์
- ๒๕. อนุให้กวาดครอบครัวเมืองนครราชสีมา
- ๒๖. พระยาปลัดเข้าหาอนุ
- ๒๗. ท่านผู้หญิงโม้ต่อสู้กองทัพอนุ
- ๒๘. อนุถอยทัพ
- ๒๙. อนุตั้งค่ายใหญ่บนเขาสาร
- ๓๐. ราชทูตกลับจากเมืองจีน
- ๓๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลยกทัพออกจากกรุง
- ๓๒. ใบบอกเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
- ๓๓. พระยาราชสุภาวดีตีทัพเจ้าโถงแตก
- ๓๔. พระยาราชสุภาวดีตีค่ายเวียงคุกเมืองยโสธรแตก
- ๓๕. อนุทิ้งที่สำคัญหนีไปเวียงจันท์
- ๓๖. กองทัพไทยถูกล้อม
- ๓๗. ได้เมืองเวียงจันท์
- ๓๘. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีจดหมายรับสั่งให้กราบบังคมทูลฯเรื่องเมืองเวียงจันท์
- ๓๙. ตีทัพพระยาเชียงสา
- ๔๐. เลื่อนพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยา
- ๔๑. งานพระบรมศพสมเด็จพระอมรินทรามาตย์
- ๔๒. เจ้าเวียดนามให้ญวนพาอนุและราชวงศ์มาส่งเมืองเวียงจันท์
- ๔๓. อนุและราชวงศ์ยกคนเข้าล้อมกองทัพไทย
- ๔๔. พระเจ้ากรุงเวียดนามมีพระราชสาสน์ให้ทูตเข้ามาขอโทษเจ้าอนุ
- ๔๕. ทูตญวนกลับ
- ๔๖. ทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีสู้รบกับทัพเจ้าราชวงศ์
- ๔๗. ทัพราชวงศ์แตกหนี
- ๔๘. อนุหนีจากเมืองเวียงจันท์
- ๔๙. แม่ทัพไทยลวงฆ่าพวกญวน
- ๕๐. จับเจ้าอนุได้
- ๕๑. ส่งอนุกับครอบครัวลงมากรุงเทพ ฯ
- ๕๒. สร้างป้อมและขุดคลอง
- ๕๓. เกณฑ์ให้ต่อเรือรบ ๓๐ ลำ
- ๕๔. ทูตญวนเข้ามาและทูตไทยไปเมืองญวน
- ๕๕. แห่สระสนานครั้งใหญ่
- ๕๖. นักองค์จันท์ส่งเครื่องบรรณาการ
- ๕๗. ตั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมุหนายก
- ๕๘. ราชทูตไทยกลับจากเมืองญวน เจ้าเวียดนามตอบราชสาสน์
- ๕๙. พระราชสาสน์ถึงพระเจ้าเวียดนาม
- ๖๐. กรมหมื่นสุรินทรรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๖๑. เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม
- ๖๒. ราชทูตไทยกลับจากเมืองญวน
- ๖๓. ใบบอกพระยาสงขลาเรื่องเมืองไทร
- ๖๔. โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง
- ๖๕. เพลิงไหม้ในกำแพงพระนคร
- ๖๖. งานพระศพเจ้านาย
- ๖๗. น้ำท่วม
- ๖๘. การปฏิสังขรณ์และฉลองพระอารามต่างๆ
- ๖๙. ทรงกระทำสัตสดกมหาทาน
- ๗๐. เจ้าพระยานครศรีธรรมราชตีเมืองไทรได้
- ๗๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงประชวรสวรรคต
- ๗๒. เจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยานครศรีธรรมราชยกกองทัพไปปราบแขกในหัวเมืองฝ่ายใต้
- ๗๓. ไพร่หลวงเกณฑ์บุญ
- ๗๔. สร้างป้อมพิฆาตข้าศึก
- ๗๕. ทูตอเมริกันเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๗๖. พระยาลีงาทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ
- ๗๗. การจลาจลในเมืองญวน
- ๗๘. โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาและเจ้าพระยาพระคลังไปรบญวน
- ๗๙. กองทัพไทยกับกองทัพญวนเข้าสู้รบกัน
- ๘๐. ญวนถอยทัพจากเมืองโจฎก
- ๘๑. เขมรเป็นกบฏ
- ๘๒. กองทัพไทยเข้าตั้งในเมืองบัตบอง
- ๘๓. เจ้าเมืองพวนยอมสวามิภักดิ์
- ๘๔. เจ้าเมืองพวนรับรองกองทัพไทย
- ๘๕. พระยาอภัยภูเบศรถึงอสัญญกรรม
- ๘๖. กรมหลวงเสนีบริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๘๗. แต่งคนขึ้นไปเกลี้ยกล่อมพวกหัวพันห้าทั้งหก
- ๘๘. เกณฑ์ต่อเรือป้อมอย่างญวน
- ๘๙. เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองสร้างเมืองจันทบุรีและวัดโยธานิมิตร
- ๙๐. สร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราและป้อมคงกระพัน
- ๙๑. องเตียนกุนจับองภอเบโคยกับพรรคพวกได้
- ๙๒. องค์จันทร์ถึงพิราลัย
- ๙๓. พระยาพระเขมรขอเข้ามาพึ่งพระบรมเดชานุภาพ
- ๙๔. ขุนตระเวนนาเวศกับพวกถูกญวนจับได้
- ๙๕. เจ้าพระยาพระคลังให้ล่ามแปลหนังสือขององตุมผู
- ๙๖. ได้พระยามงคลนาคินทร์ช้างพลายเมืองนครราชสีมา
- ๙๗. ซ่อมพระอุโบสถและสร้างพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพน
- ๙๘. พระยาราชนิกูลยกทัพไปรักษาเมืองอุบล เมืองจำปาศักดิ์
- ๙๙. พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์
- ๑๐๐. ปรึกษาเรื่องจัดหัวเมืองพันห้าทั้งหก
- ๑๐๑. องเตียนกุนเตรียมฝึกซ้อมทหารญวนทหารเขมร
- ๑๐๒. งานพระศพพระองค์เจ้าลักขณา
- ๑๐๓. ได้พระบรมไกรสรช้างพลายกระ
- ๑๐๔. ทูตอเมริกันเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญา
- ๑๐๕. ทูตอเมริกันพักที่ตึกหน้าบ้านพระยาราชสุภาวดี
- ๑๐๖. ทูตอเมริกันกลับ
- ๑๐๗. สมเด็จพระพันวัสสาสวรรคต
- ๑๐๘. ฉลองวัดประยูรวงศ์
- ๑๐๙. ข้าหลวงออกไปทำบัญชีเขมรป่าดง ๓๑ เมือง
- ๑๑๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชาเกณฑ์สร้างป้อมกำแพงเมืองบัตบอง
- ๑๑๑. งานพระบรมศพสมเด็จพระพันวัสสา
- ๑๑๒. เสด็จก่อพระฤกษ์พระโตวัดกัลยาณมิตร
- ๑๑๓. สมเด็จพระศรีสุลาลัยสวรรคต
- ๑๑๔. องค์ด้วงเที่ยวเกลี้ยกล่อมชาวเมือง
- ๑๑๕. องค์ด้วงถูกคุมตัวลงมากรุงเทพ ฯ
- ๑๑๖. การฉลองวัดหนัง
- ๑๑๗. ขุดคลองบางขนากและแก้คลองพระโขนง
- ๑๑๘. ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องสร้างเมืองบัตบอง
- ๑๑๙. งานพระบรมศพกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย และฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๑๒๐. งานพระศพกรมหลวงเทพพลภักดิ์
- ๑๒๑. สร้างป้อมกำแพงเมืองนครเสียมราฐ
- ๑๒๒. เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีสิ้นพระชนม์
- ๑๒๓. แขกสลัดยกเข้าตีเมืองตรังเมืองไทรบุรี
- ๑๒๔. มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนอังกฤษนำอักษรสาสน์เข้ามา
- ๑๒๕. จัดที่พักให้มิสเตอร์ฤทธิ์สชอน
- ๑๒๖. โปรดให้มิสเตอร์ฤทธิ์สชอนเฝ้า และถวายบรรณาการ
- ๑๒๗. พระยาสุเรนทรราชเสนาเชิญศุภอักษรไปเชียงใหม่
- ๑๒๘. แผ่นดินไหว
- ๑๒๙. บอกพระยาราชสุภาวดีเรื่องสร้างนครเสียมราฐ
- ๑๓๐. งานพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๑. พระยากลันตันกับพระยาบาโงยวิวาทกัน
- ๑๓๒. พระยาศรีพิพัฒน์มีตราให้หาเจ้าเมืองแขกซึ่งวิวาทกัน
- ๑๓๓. พระยาศรีพิพัฒน์บังคับให้เลิกรบทั้ง ๒ ฝ่าย
- ๑๓๔. เจ้าพระยานครถึงอนิจจกรรม
- ๑๓๕. ตั้งตนกูอาหนุ่มเป็นผู้ว่าราชการเมืองไทร
- ๑๓๖. พระยาศรีพิพัฒน์สร้างพระเจดีย์บนยอดเขา
- ๑๓๗. พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๓๘. นักองค์อิ่มจับกรมการเมืองบัตบองและกวาดครอบครัวหนีไปพนมเป็ญ
- ๑๓๙. ใบบอกกรมการเมืองบัตบอง
- ๑๔๐. ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระเชตุพน
- ๑๔๑. เจ้าพระยาบดินทรเดชาออกไปจัดการเมืองบัตบอง
- ๑๔๒. พระสงฆ์ลังกาเข้ามากรุงเทพมหานคร
- ๑๔๓. เจ้าเมืองโปริสาทพาครอบครัวมาหาเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๔๔. บอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องจัดการทัพไว้ต่อสู้ญวน
- ๑๔๕. ทัพไทยตีค่ายกะพงทมและค่ายญวนเมืองชีแครง
- ๑๔๖. พระยาพระเขมรมีหนังสือมาขอองค์ด้วง
- ๑๔๗. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้ระดมตีทัพญวน
- ๑๔๘. เจ้าพระยาบดินทรเดชาปรึกษาเรื่องการทัพญวน
- ๑๔๙. ญวนยอมทำพระราชไมตรีตามเดิม
- ๑๕๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือถึงเสนาบดีเมืองเว้
- ๑๕๑. เจ้าพระยาบดินทรเดชาจัดการส่งขุนนางญวน
- ๑๕๒. องเตียนกุนโกรธองเดดก
- ๑๕๓. ญวนให้พระสงฆ์ถือหนังสือไปหาพระยาพระเขมร
- ๑๕๔. พระสงฆ์ลังกาเข้ามาถึงกรุงเทพฯ
- ๑๕๕. พระยากลันตันกับพระยาบาโงยเกิดวิวาทกันอีก
- ๑๕๖. พระองค์ด้วงครองเมืองบัตบอง
- ๑๕๗. เจ้าพระยาบดินทรเดชาขอเจ้าพระยายมราชออกไปช่วยราชการ
- ๑๕๘. เจ้าเวียดนามมินมางทิวงคต
- ๑๕๙. เตืองคำสือมืนคงได้เป็นเจ้าเวียดนาม
- ๑๖๐. เจ้าพระยาบดินทรเดชาส่งญวนมากรุงเทพ ฯ
- ๑๖๑. หนังสือขององเกรินตาเตืองกุนถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๖๒. คำอธิบายชื่อในหนังสือองเกรินตาเตืองกุน
- ๑๖๓. ใบบอกพระยาเสนาภูเบศรเรื่องรบกับทัพญวน
- ๑๖๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชาสร้างเมืองให้พระองค์ด้วง
- ๑๖๕. พระมหาสงครามไปกวาดครอบครัวเมืองเวียงจันท์
- ๑๖๖. ตนกูอับดุลลาเป็นพระยาไทรบุรี
- ๑๖๗. พระองค์ด้วงพาไพร่พลไปตั้งอยู่ที่เมืองอุดงฦๅชัย
- ๑๖๘. พระองค์ด้วงตั้งแต่งขุนนางแล้วส่งไปรักษาเขตต์แดน
- ๑๖๙. ทัพเขมรรบกับทัพญวน
- ๑๗๐. คำให้การของมองสวยตองเรื่องการเมืองพะม่า
- ๑๗๑โปรดเกล้าฯ ให้มองสวยตองไปอยู่คอกกระบือ ภายหลังถูกจำคุก
- ๑๗๒. องค์อิ่มทำหนังสือไปเกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร
- ๑๗๓. กองทัพญวนขัดสนสะเบียงอาหาร
- ๑๗๔. องเตียนกุนกินยาตาย
- ๑๗๕. ท้องตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๗๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้กราบทูลถึงเรื่องถมคลองขุด
- ๑๗๗. เจ้าอุปราชเกณฑ์ทัพหัวเมืองตีเมืองฟากโขง
- ๑๗๘. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพเรือ
- ๑๗๙. เจ้าพระยายมราชคุมกองทัพไปตั้งค่ายที่เขาเชิงกะชุม
- ๑๘๐. กองทัพเรือไทยเผาค่ายญวน
- ๑๘๑. จมื่นไวยวรนารถให้ยกทัพเรือทัพบกเข้าประชิดค่ายญวน
- ๑๘๒. หนังสือบอกจมื่นไวยวรนารถถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชาเรื่องถอยทัพเรือ
- ๑๘๓. กองทัพไทยแตกที่เมืองโจฎก
- ๑๘๔. ลำเลียงข้าวเกลือส่งเมืองกำปอด
- ๑๘๕. เกิดจีนตั้วเหี่ยขึ้นที่เมืองนครชัยศรีและสาครบุรี
- ๑๘๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้เจ้าพระยายมราชคุมคนไปสร้างเมืองที่อุดงฦๅไชย
- ๑๘๗. ทรงกริ้วเจ้าพระยายมราชและนายทัพนายกอง
- ๑๘๘. เจ้าเวียดนามให้เกลี้ยกล่อมพระยาพระเขมร
- ๑๘๙. ดาวหางขึ้น
- ๑๙๐. บอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๙๑. มีพระราชปฏิสันถารกับพระสงฆ์ลังกา
- ๑๙๒. เจ้าเมืองสิงคโปร์ตอบหนังสือเจ้าพระยาพระคลัง
- ๑๙๓. พระสงฆ์ไทยออกไปเมืองลังกา
- ๑๙๔. ชำระพระสงฆ์ประพฤติอนาจาร
- ๑๙๕. พระสงฆ์ไทยออกไปส่งพระลังกากลับถึงกรุงเทพ ฯ
- ๑๙๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชาขอเข้ามาแจ้งราชการณกรุงเทพฯ
- ๑๙๗. ท้องตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๑๙๘. เพลิงไหม้พระมหามนเทียร
- ๑๙๙. ได้ช้างสำคัญ ๓ ช้าง
- ๒๐๐. ข้าวแพง
- ๒๐๑. พระสงฆ์ไทยไปลังกา
- ๒๐๒. เจ้าพระยาบดินทรเดชาบอกเรื่องการทัพญวน
- ๒๐๓. จับจีนขายฝิ่นที่ปากน้ำบางปะกง
- ๒๐๔. พระราชทานที่ให้พวกครัวที่กวาตต้อนมาอยู่ตามใจสมัคร
- ๒๐๕. พระสงฆ์ไทยกลับจากลังกา
- ๒๐๖. เกิดเหตุกับฮันเตอร์ (พ่อค้า)
- ๒๐๗. เตรียมการป้องกันอังกฤษ
- ๒๐๘. หัวเมืองตะวันตกเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๐๙. จับจีนตั้วเหี่ยได้
- ๒๑๐. จับขุนนางเขมรที่เป็นกบฏได้ ๑๑ คน
- ๒๑๑. ญวนยกทัพเรือมารบเขมร
- ๒๑๒. เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพไปเมืองอุดงฦๅไชย
- ๒๑๓. ญวนตีค่ายเมืองพนมเป็ญแตก
- ๒๑๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชาตีทัพญวนแตกถอยไป
- ๒๑๕. พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอับษรสุดาเทพสิ้นพระชนม์
- ๒๑๖. ความอัศจรรย์ของพระยามหาเทพ
- ๒๑๗. บอกพระยาเชียงใหม่
- ๒๑๘. ญวนพูดกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นทางไมตรี
- ๒๑๙. ญวนรื้อค่ายไปตั้งอยู่เมืองพนมเป็ญ
- ๒๒๐. งานพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอัปษรสุดาเทพ
- ๒๒๑. โสกันต์พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๒๒. ญวนให้มีราชสาสน์ไปทูลขอเจ้าหญิงต่อเจ้าเวียดนาม
- ๒๒๓. ชักพระพุทธรูปไปวัดราชนัดดาราม
- ๒๒๔. ญวนมาเตือนพระองค์ด้วงให้ส่งญวน ๔๔ คน
- ๒๒๕. ท้องตราตอบหนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๒๖. เจ้าพระยาบดินทรเดชามีหนังสือถึงองญวน
- ๒๒๗. พระองค์ด้วงแต่งทูตให้เชิญศุภอักษรไปเมืองเว้
- ๒๒๘. เจ้าพระยาบดินทรเดชากราบบังคมทูลเรื่องทัพญวน
- ๒๒๙. งานพระศพกรมขุนกัลยาสุนทร
- ๒๓๐. พระกระแสรับสั่งตอบเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๓๑. ราชทูตที่ไปเมืองเว้เฝ้าเจ้าเวียดนาม
- ๒๓๒. เจ้าเวียดนามให้พระองค์ด้วงเป็นเกามันกวัดเวือง
- ๒๓๓. เจ้าเวียดนามเทียวตรีสิ้นพระชนม์ เจ้ายอมราชบุตรเป็นเจ้าเวียดนามตือดึก
- ๒๓๔. พระองค์ด้วงเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๒๓๕. เมืองสาครบุรีเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๓๖. เมืองฉะเชิงเทราเกิดจีนตั้วเหี่ย
- ๒๓๗. เจ้าพระยาพระคลังกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาปราบจีนตั้วเหี่ยเมืองฉะเชิงเทรา
- ๒๓๘. งานฉลองวัดพระเชตุพน
- ๒๓๙. ได้พระยามงคลคชพงศ์ช้างพลาย
- ๒๔๐. ลงพระราชอาชญาสำเร็จโทษกรมหลวงรักษรณเรศ และประหารชีวิตบ่าว ๓ คน
- ๒๔๑. เจ้าพระยาพระคลังออกไปสักเลกหัวเมืองตะวันตก
- ๒๔๒. ซ่อมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและทำป้อมบางจะเกร็ง
- ๒๔๓. โปรดให้หาฤกษ์บรรจุพระบรมธาตุในพระพุทธรูป
- ๒๔๔. บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและฉลองพระเจดีย์
- ๒๔๕. จลาจลในเมืองเชียงรุ้ง
- ๒๔๖. เจ้าแสนหวีฟ้ามีอักขรกถาถึงเจ้าเมืองหลวงพระบาง
- ๒๔๗. ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในคราวเกิดไข้ปวง
- ๒๔๘. เกณฑ์ทัพเมืองเหนือไปตีเมืองเชียงตุง
- ๒๔๙. ทูตอเมริกันเชิญราชสาสน์เข้ามา
- ๒๕๐. ทูตอเมริกันฟ้องพระยาศรีพิพัฒน
- ๒๕๑. งานศพเจ้าพระยาบดินทรเดชา
- ๒๕๒. เจ้าเชียงใหม่กล่าวโทษเจ้าอุปราชเข้ามากรุงเทพฯ
- ๒๕๓. ทูตอังกฤษเข้ามาขอแก้หนังสือสัญญา
- ๒๕๔. ทูตอังกฤษกลับ
- ๒๕๕. ใจความในพระราชสาสน์ของพระเจ้าฮำฮอง
- ๒๕๖. สร้างป้อมเสือซ่อนเล็บและขุดคลองเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๒๕๗. การปฏิสังขรณ์และสร้างพระอาราม
- ๒๕๘. โปรดให้ต่อกำปั่นและเรือพระที่นั่ง
- ๒๕๙. ยกบ้านขึ้นเป็นเมือง
- ๒๖๐. เจ้าพระยาพระคลังถวายกลองวินิจฉัยเภรี
- ๒๖๑. พระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำ
- ๒๖๒. ภาษีอากรที่เกิดมีขึ้นใหม่
- ๒๖๓. ทรงพระประชวร
- ๒๖๔. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๖๕. พระสงฆ์อธิษฐานให้พระโรคหาย
- ๒๖๖. เกณฑ์ข้าราชการเข้าประจำซองรักษาพระราชนิเวศน์
- ๒๖๗. เจ้าพระยาพระคลังให้จมื่นราชามาตย์ไปทูลเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชเสด็จครองราชสมบัติ
- ๒๖๘. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
๑๙. เตรียมรับราชทูต
ฝ่ายเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ได้ทราบในท้องตราแล้ว จึ่งให้จัดเรือ ๒ เสาครึ่งนำกัปตันหันตรีบารนี เข้ามาถึงปากน้ำเจ้าพระยาในวันอังคารเดือน ๑๒ แรม ๘ ค่ำ ณวันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๙ ค่ำ[๑] ได้จัดเรือลงไปรับอักษรสาสน์ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ เรือทองขวานฟ้าบ้าบิ่นรับอักษรสาสน์ลำ ๑ เรือพิฆาตมีปี่พาทย์ ๔ ลำ เรือกัญญาตาม ๖ ลำ แห่ขึ้นมาแปรที่หอพระมนเทียรธรรม ครั้นณวันศุกรเดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค่ำ[๒] กำปั่นขึ้นมาถึงกรุงเทพมหานคร กัปตันหันตรีบารนีแจ้งว่า เจ้าเมืองเบงคอลให้เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี และการที่โปรดให้กองทัพไปช่วยอังกฤษ ๆ คิดขอบพระเดชพระคุณ จึ่งให้กัปตันหันตรีบารนีเป็นราชทูตมักฝักกัวเป็นอุปทูต เข้ามาขอเจริญทางพระราชไมตรีทำหนังสือสัญญาด้วย ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่โปรดที่จะให้รับทำหนังสือสัญญา จะโปรดแต่เป็นทางไมตรี เหมือนอย่างเมืองญวน จึ่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ เจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ทั้ง ๔ คิดอ่านกราบทูลวิงวอนว่า อังกฤษมาขอทำสัญญาถึง ๒ ครั้งแล้ว ถ้าไม่รับทำหนังสือสัญญาด้วยแล้ว ก็เห็นจะไม่ได้เป็นไมตรีกัน ทูตกลับไปแล้วก็คงจะหาเหตุพาลพาโลต่าง ๆ ด้วยเขตต์แดนอังกฤษติดต่อใกล้เคียงเข้ามาทั้งทางทะเลและทางบก แล้วจะระวังยาก จึ่งทรงพระราชดำริเห็นด้วย ยอมให้ทำหนังสือสัญญา เจ้าพนักงานจึ่งได้เชิญกัปตันหันตรีบารนีขึ้นอยู่เรือนพัก
ครั้นถึงณวัน ฯ[๓] ค่ำ จึ่งโปรดให้กัปตันหันตรีบารนีเข้าเฝ้า เสด็จออกรับแขกเมืองครั้งนั้นเป็นการใหญ่ เจ้าพนักงานตกแต่งในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ปูพรมเต็มทั่วข้างใน และแต่งที่พระที่นั่งบุษบกมาลาตั้งเครื่องสูง ผ้ายก ๗ ชั้นทั้ง ๒ ข้าง และที่เสด็จออกพระที่นั่งเศวตฉัตรทอดพระแสงง้าว และโต๊ะตั้งพานพระภูษา ข้างขวาตั้งโต๊ะพานพระขันหมาก ข้างซ้ายตั้งโต๊ะพระครอบ ข้างหน้าตั้งเตียงลา ๒ ชั้น ตามแนวพระวิสูตรตั้งชุมสายหักทองขวางข้างละ ๒ ตามแถวเสาตั้งเครื่องสูงผ้ายก ๕ ชั้น ขวา ๕ ซ้าย ๕ ตามริมผนัง กำนัลพระแสงหอกดาบ เชิญพระแสงทวนขวา ๑๕ ซ้าย ๑๕ รวม ๓๐ ถัดออกมากำนัลพระแสงปืนคาบศิลาขวา ๑๕ ซ้าย ๑๕ รวม ๓๐ นุ่งสมปักลายสวมเสื้อครุยขาว และแต่งที่มีเบาะนั่งตั้งพานพระศรีพระเต้าบ้วนพระโอฐ สำหรับพระราชวงศานุวงศ์ตางกรมเฝ้าฝ่ายขวาฝ่ายซ้าย ถัดมาถึงเจ้าพระยาสมุหนายกสมุหพระกลาโหม และเจ้าพระยาจตุสดมภ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย มีเครื่องยศ เจียด กระบี่ ถาดหมาก คนโท ตั้งตามตำแหน่งขวาซ้าย โดยลำดับฐานานุศักดิ์ฝ่ายทหาร พลเรือน นุ่งสมปักลายสวมเสื้อเข้มขาบอัตลัดชั้นใน เสื้อสมรดทองสมรดขาวชั้นนอก ฝ่ายทหารอยู่ข้างขวา พลเรือนอยู่ข้างซ้าย เจ้ากรม ปลัดกรม พระตำรวจ สะพายดาบตามยศ ชาวต่างภาษา ขุนนางจีนแต่งตัวอย่างจีน ขุนนางแขกเทศมะลายู ฝรั่งโปตุเกศเดิม และมอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษาที่ท้องพระโรงหลังขวาง ตัวกรมวัง ๒ นายนุ่งสมปัก คาดเกี้ยวรัดประคต ขุนหมื่นกรมพระราชยานนุ่งกางเกงคาดผ้าลาย อยู่ประจำพระเสลี่ยงถม และพนักงานแตรงอน ๑๐ แตรฝรั่ง ๑๐ สังข์ ๒ นุ่งกางเกงปักเชิงสวมเสื้อปัศตูแดง หมวกปัศตูแดง เตรียมประโคมเมื่อเวลาเสด็จออก ที่ชานชาลาข้างท้องพระโรงด้านตะวันออก กำนัลกรมเกณฑ์หัดแสงปืนเชิญพระแสงปืนปลายหอกรางแดง แต่งเครื่องแดง ๔๐ คน กรมรักษาพระองค์สวมเสื้อแดงถือปืนทองปลาย ๑๐๐ คน ด้านตะวันตกก็เท่ากัน ที่ประตูหน้าท้องพระโรง ขุนหมื่นกรมพระตำรวจนุ่งสมปักตามธรรมเนียมคาดเกี้ยวคาดประคตถือหอกยืนรักษาประจำ ๔ คน ที่ชั้นนอกตรงหน้าหอพระปริตร กรมเกณฑ์หัดแสงปืนนุ่งกางเกงแดงคาดผ้าลาย สวมเสื้อเสนากุฎต่างสีหมวกหนังแดง ถือปืนคาบศิลานั่งกลาบาต ๑๐๐ คน ที่หน้าดุสิดาภิรมย์ชั้นนอก แต่งตัวอย่างเดียวกัน ถือปืนคาบสีลา นั่งกลาบาต ๑๐๐ คน ทั้ง ๒ กองนั้นมีขุนหมื่นสารวัตรนุ่งสมปักลายสวมเสื้อเสนากุฎต่างสีคาดผ้าลาย หมวกหนังเขียนลายรดน้ำพื้นแดง สะพายกระบี่ฝักหนัง ที่ประตูพระทวารเทเวศ กรมพระตำรวจในซ้ายขวานุ่งกางเกงไหมแดง สวมเสื้อเสนากุฎต่างสี หมวกหนังแดงคาดเกี้ยวลาย ถือปืนยืนรักษาอยู่ ๒๐ คน และนั่งกลาบาต ๑๔๖ คน ที่ริมประตูนอกท้องพระโรง กรมพระตำรวจสนมทหารซ้ายขวานุ่งกางเกงปัศตูแดง สวมเสื้อเสนากุฎต่างสี หมวกหนังแดงคาดเกี้ยวลาย ถือปืนยืนรักษา ๔๐ คน และนั่งกลาบาตที่หน้าศาลายามค่ำ ๑๐๐ คน นุ่งกางเกงสีดินแดง สวมเสื้อเสนากุฎต่างสี หมวกหนังสีดินแดง ที่ข้างหน้ากรมกลองชะนะ นุ่งกางเกงปักเชิง สวมเสื้อปัศตูแดงเกี้ยวลาย หมวกขลิบลำดวน ๘๐ คู่ จ่าปี่ ๒ จ่ากลอง ๒ นุ่งกางเกงยก สวมเสื้อมัศรู หมวกตุ้มปี่ เครื่องประโคมเมื่อเวลาแขกเมืองเข้าไป ที่เกยข้างนอกกำแพงยืนช้างพระที่นั่งแต่งเครื่องกุดั่น ผูกพนาศระบาย ๓ ชั้น ผ้าปักหลังกันชีพ นายควาญนุ่งกางเกงสนับเพลา สมปักลายคาดเกี้ยวคาดประคต สวมเสื้อทรงประพาศ หมวกทรงประพาศ ถือขอช้าง เชิญพระแสงของ้าว คนถือกรรชิงกลดหน้า ๒ หลัง ๒ คน ถือตะบองกลึงข้างละ ๒ ถือแส้ไม้หวายข้างละ ๒ ถือแส้หางม้าข้างละ ๑ และมีคนถือเครื่องยศสำหรับพระยาช้าง หม้อน้ำเงิน ๑ โต๊ะเงินกล้วย ๒ หญ้า ๒ ที่ท้องสนามตรงประตูพิมานไชยศรีเข้าไปตั้งปะรำดาดผ้าขาว ยืนพระยาช้างต้นพลาย ๒ พัง ๒ และช้างพังเชือกพังนำ แต่งเครื่องถมปัทม์ หมอนุ่งสมปักลายคาดเกี้ยวคาดประคต ควานนุ่งกางเกงยกลายเกี้ยว สวมเสื้ออัตลัดหมวกตุ้มปี่ ๖ ช้าง และกรมม้าจัดม้าพระที่นั่ง ๔ ม้า ผูกเครื่องดาวทองลงยา ๑ กุดั่น ๒ จำหลัก ๑ ยืนที่ปะรำดาดผ้าขาว ที่หน้าทิมตำรวจหลัง ที่หน้าศาลาย่ำค่ำ กรมพระตำรวจสนมทหารซ้ายขวา นุ่งกางเกงเขียว สวมเสื้อเสนากุฎแดงหมวกหนังแดงคาดเกี้ยวลาย ถือปืนนั่งกลาบาต ๑๐๐ คน และที่ลานชาลาข้างศาลาลูกขุน ยืนช้างดั้งพลาย ๔ พังแซก ๕ แต่งเครื่องลูกพลู ช้างพลายหมอขึ้นประจำคอ นุ่งกางเกงยกคาดเกี้ยวลาย สวมเสื้ออัตลัด หมวกตุ้มปี่ ขุนหมื่นกรมทวนทอง นุ่งกางเกงยกคาดเกี้ยวเจียรบาดปักดำ สวมเสื้อเตชา หมวกเตชา ถือทวนผูกภู่ ๕ ชั้นนั่งกลางช้าง ควานนุ่งกางเกงยกคาดเกี้ยวลาย สมเสื้อเสนากุฎ หมวกตุ้มปี่ พวกฝรั่งโปตุเกศเดิมแต่งตัวอย่างฝรั่ง ถือหวายเทศยืนรักษาประตูพิมานไชยศรีชั้นนอก ๑๐ คน ชั้นใน ๑๐ คน รักษาโรงปืน ๘ โรง ๆ ละ ๑๐ คน ยืนรักษาปืนล้อที่ประตูวิเศษไชยศรี ๑๐ คน ประตูรัตนพิศาล ๑๐ คน ในหว่างประตู ๒ ชั้น ไพร่หลวงกรมวังนอก นุ่งกางเกงเชียวเกี้ยวลายสวมเสื้อเสนากุฎเขียว หมวกหนังเขียว ถือตะบองทองยืนประจำ ๒ แถว ๆ ละ ๑๐ คน ขุนหมื่นสารวัตร ๒ คน นุ่งสมปักลายเกี้ยวลาย สวมเสื้อเสนากุฎต่างสี หมวกหนังเขียนลายรดน้ำพื้นแดง สะพายกระบี่ฝักหนัง ยืนเป็นหัวหน้า ที่ ๒ ข้างแน่นตั้งแต่ประตูวิเศษไชยศรี ไปถึงประตูพิมานไชยศรี ตั้งแต่ประตูรัตนพิศาล มาตามหน้าศาลาลูกขุน
แต่กัปตันหันตรีบารนีไม่มีสิ่งไรจะขึ้นนั่งเข้ามาเฝ้า ก็เอาเก้าอี้มาทำคานขนาบข้างเอาสักลาดหุ้มเก้าอี้ ให้ลูกจ้างบ่าวแบกเข้าไป มีทหารฝีพายแห่ไปข้างหน้า ๔๐ คน ครั้นเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสร็จแล้ว รุ่งขึ้นก็ขอไปเฝ้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว ขอเฝ้าพระราชวงษานุวงศ์ผู้ใหญ่ แลท่านเสนาบดีที่ควรจะรับได้ก็ให้ไปหาทุกแห่ง ครั้งนั้นกัปตันหันตรีบารนี จัดของถวายแลของกำนัลไปถวายเป็นอันมาก จึ่งโปรดเกล้าให้กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ เจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ปรึกษากันทำหนังสือสัญญาด้วย กัปตันหันตรีบารนีตกลงกันเป็นสัญญาทางไมตรี ๑๔ ข้อ การค้าขาย ๖ ข้อ รวมสัญญา ๒๐ ข้อ ครั้นทำสัญญาเสร็จแล้ว กัปตันหันตรีบารนี ขอครัวพะม่า ครัวรามัญ ครัวทะวาย ที่เจ้าพระยามหาโยธาแลพระยาชุมพรกวาดต้อนมาเมื่ออังกฤษกับพะม่ารบกัน ก็โปรดพระราชทานให้ เป็นคนสามโนครัว ๕๘๕ คน กัปตันหันตรีบารนี ให้มีสเตอมาเลมคุมออกไปทางบก แลที่พระยาชุมพรกวาดมาตกค้างอยู่ที่เมืองชุมพรได้มีท้องตรา โปรดให้พระยาไกรโกษาออกไปชำระให้อังกฤษณเมืองมะริด ครั้นวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง ได้เชิญพระศพกรมหมื่นนราเทเวศร์ไปเข้าเมรุผ้าขาวที่วัดระฆัง ณวันศุกร เดือนอ้าย ขึ้น ๓ ค่ำ ได้พระราชทานเพลิง ครั้นมาถึงณเดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ อังกฤษกับพะม่าได้ทำหนังสือสัญญากันที่บ้านยันกาโบ ขุนนางฝ่ายอังกฤษอาดชะปันละกำแบนแม่ทัพอังกฤษฝ่ายบกหนึ่ง แฮนรี กูซีสัต แม่ทัพฝ่ายทะเลหนึ่ง ต่อมาทำแบลโรปัถซัก ผู้ว่าราชการฝ่ายพลเรือนหนึ่ง รวม ๓ นาย ขุนนางฝ่ายพะม่าชื่อ แมงยิมหามังคลาเกียนแชนอุนยี คือ พระยายักไข่หนึ่ง แมงยิมมหามังคลาชูฮาซูอักแกวนวุน ว่าที่กรมวังกรมท่าหนึ่ง รวม ๒ นาย ปรึกษาพร้อมกันทั้งสองฝ่ายทำหนังสือสัญญาไมตรี ๑๑ ข้อ ข้อหนึ่งว่า พะม่ากับอังกฤษจะเป็นไมตรีกันไปยืนยาวไม่รู้สิ้นไม่รู้สุด ข้อ ๒ ว่า เจ้าอังวะจะละเมืองวะสำ เมืองกะซา เมืองซินเทียเสีย ไม่ไปรบกวนเหมือนแต่ก่อน กับเมืองมณีบุระ เจ้าเมืองกาเบียสิงหะ จะกลับมาเป็นเจ้าเมืองดังเก่า เจ้าอังวะก็ยอม ข้อ ๓ ว่าอังกฤษกับพะม่าจัดแจงแบ่งเขตต์แดนกัน มิให้เกี่ยวข้องไปข้างหน้า อังกฤษเอาเมืองยักไข่ เมืองรำเร เมืองเจกุบา เมืองสันกเว ๔ เมือง อยู่ใกล้ทะเลเป็นของอังกฤษ พะม่าก็ยอมให้กำหนดแบ่งกันที่ภูเขาโยมะตอง เป็นเขตต์แดน ถ้าสืบไปข้างหน้าจะเกี่ยวข้องกันที่ต่อเขตต์ต่อแดนให้จัดขุนนางยศศักดิเสมอกันทั้งสองฝ่าย ไปดูแลมิให้วิวาทเกี่ยวข้องกันต่อไป ข้อ ๔ เจ้าอังวะยกเมืองเย เมืองทะวาย เมืองตะนาว เมืองมะริด แลบ้านเล็กน้อยที่ขึ้นแก่เมือง สี่เมืองให้เป็นของอังกฤษ กำหนดเอาแม่น้ำสาละวันเป็นเขตต์แดน ถ้าสืบไปข้างหน้าจะเกี่ยวข้องกันด้วยเขตต์แดนอย่างไร ให้ตัดสินเหมือนข้อความในหนังสือสัญญาข้อสามที่จัดแจงไว้ ข้อ ๕ ว่าซึ่งทำหนังสือสัญญากันดังนี้ เป็นความสัตยสุจริตแล้ว พะม่าจะยอมให้เงินเป็นค่าใช้สอยในการศึกอังกฤษร้อยแสนรูเปีย ข้อ ๖ ว่าเมื่อขณะอังกฤษกับพะม่าทำศึกกันอยู่ คนพะม่ารับใช้สอยอยู่ในการอังกฤษ คนพวกอังกฤษก็มารับใช้สอยอยู่กับพะม่า คนเหล่านี้อยู่ในโทษ เดี๋ยวนี้การสู้รบก็เลิกกันแล้วให้ยกโทษคนเหล่านั้นเสียทั้งสองฝ่าย ข้อ ๗ ว่าการทำไมตรีสุจริตกันทั้งสองฝ่ายแล้วพะม่ายอมให้อังกฤษตั้งขุนนางเป็นเรสิเดนมาอยู่ในเมืองอังวะ ขุนนางคนหนึ่งอังกฤษห้าสิบคน พะม่าจะตั้งขุนนางเป็นเรสิเดนไปอยู่เมืองมังคลา ขุนนางคนหนึ่งพะม่าห้าสิบคนเหมือนกัน จะซื้อที่ทำตึกทำเรือนให้แน่นหนาพอควรจะอยู่ให้ทำตามใจ แล้วเรสิเดนจะทำหนังสือสัญญาการค้าขาย ให้เป็นประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ข้อ ๘ ว่าคนพะม่าแลอังกฤษ เงินจะเกี่ยวค้างกันมาแต่ก่อนก็ให้ทวงถามกันเป็นปรกติ อย่าให้เอาเหตุที่บ้านเมืองเป็นศึกรบพุ่งกันมาขัดขวาง ถ้าคนฝ่ายอังกฤษ ฝ่ายพะม่า จะไปตายที่บ้านเมืองข้างไหน ไม่มีผู้ใดจะรับของมรดก ให้เอาของนั้นมอบแก่เรสิเดนผู้ไปอยู่เมืองนั้น ตามแต่เรสิเดนจะจัดแจง ข้อ ๙ ว่าสลุปกำปั่นเรือลูกค้าฝ่ายอังกฤษพะม่า จะไปค้าขายในเมืองพะม่าไม่ต้องเอาปืนขึ้น ไม่ต้องชักหางเสือ ให้ลูกค้าได้ความลำบากเหมือนแต่ก่อน ข้อ ๑๐ ว่าเมืองไทยเป็นไมตรีกับอังกฤษ ถ้าคนไทยที่ได้ช่วยการรบพุ่งกับอังกฤษก็อย่าให้มีโทษแก่คนไทย การสิ่งใดที่อังกฤษได้สัญญาไว้แก่พะม่า เมืองไทยก็ได้ให้เหมือนกัน ข้อ ๑๑ หนังสือสัญญาที่ทำกันไว้ดังนี้ ขุนนางพะม่าจะเอาขึ้นทูลเจ้าอังวะ แล้วจะปิดตราเป็นสำคัญตามธรรมเนียมแล้ว จะเอาคนอังกฤษอเมริกันซึ่งพะม่าจับไปจำใส่คุกไว้นั้น จะเอามาส่งให้พร้อมกับหนังสือสัญญา แล้วอังกฤษจะเอาหนังสือสัญญาไปประทับตราเจ้าเมืองมังคลาในสี่เดือนจะกลับมาให้ถึง พวกพะม่าที่อังกฤษจับไปได้ อังกฤษจะเอามาส่งให้เหมือนกัน หนังสือสัญญานี้ พะม่าประทับตราลวงงินฆองวุ่นกีดวงหนึ่ง ช่วยแกวนวุ่นอาคะวุนดวงหนึ่ง ขุนนางผู้ใหญ่ที่มาทำสัญญาแทนเจ้าอังวะสองดวงเป็นสำคัญ ครบสี่เดือนได้มาเปลี่ยนสัญญากันตามกำหนด