- คำนำ
- ๑. อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จจากวัดบวรนิเวศ
- ๒. กราบทูลอัญเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นเสวยราชย์
- ๓. ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชการเข้าเฝ้าให้สรวมเสื้อ
- ๔. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๕. ข้าราชการฝ่ายในถวายตัว
- ๖. เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค
- ๗. เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค
- ๘. พระราชพิธีบวรราชาภิเศก
- ๙. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนคร
- ๑๐. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๑. ตั้งพระราชาคณะ
- ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๓. เจ้าประเทศราชเข้ามาเฝ้า
- ๑๔. ตำนานเมืองน่าน
- ๑๕. ตำนานเมืองแพร่
- ๑๖. ทรงแก้สร้อยพระนาม องค์สมเด็จหริรักษรามา เจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๗. ทรงแต่งตั้งขุนนาง
- ๑๘. ขุดคลองคูพระนครชั้นนอก
- ๑๙. การเทศนากระจาดใหญ่
- ๒๐. ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวรที่สวรรคตแล้ว
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๒๓. ขุดคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างป้อม
- ๒๔. สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์
- ๒๕. เริ่มการศึกเชียงตุง
- ๒๖. บรรจุดวงพระชาตาพระนคร
- ๒๗. สมณทูตไทยไปลังกาทวีป
- ๒๘. งานพระศพสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๙. สมณทูตกลับจากลังกาทวีป
- ๓๐. ได้พระวิมลรัตนกริณี ช้างพังเผือกตรี
- ๓๑. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ประสูติเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๓๒. การทัพศึกเมืองเชียงตุง
- ๓๓. เรื่องเรือกะทงลอยพระประทีป
- ๓๔. สร้างพระเจดีย์และถวายพระนามพระประธานในวัดพระเชตุพน
- ๓๕. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสและกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์สิ้นพระชนม์
- ๓๖. สร้างสระปทุมวันและวัดปทุมวนาราม
- ๓๗. การทัพศึกเมืองเชียงตุง (ต่อ)
- ๓๘. เตรียมการต้อนรับเซอร์ยอนโบวริง
- ๓๙. การฉลองคลองคูพระนครชั้นนอก (คลองผดุงกรุงเกษม)
- ๔๐. สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์
- ๔๑. ได้พระวิสุทธรัตนกริณี ช้างพังเผือกโท
- ๔๒. เซอร์ยอนโบวริงเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๓. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย
- ๔๔. มิสเตอร์ฮาริปักเข้ามาแก้หนังสือสัญญา
- ๔๕. ทูตอเมริกันเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๖. การถวายสลากภัตรในวัดพระเชตุพน
- ๔๗. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาทำสัญญา ๓๒ ข้อ
- ๔๘. พม่าถือหนังสือเสนาบดีผู้ใหญ่เมืองพม่าเข้ามาถวายพระสังฆราช
- ๔๙. หนังสือเดินทางของพม่า
- ๕๐. ลิขิตสมณศาสน์ตอบหนังสือเสนาบดีพม่า
- ๕๑. ทูตฝรั่งเศสไปเมืองเขมรและเมืองญวน
- ๕๒. หนังสือองค์พระหริรักษ์ถึงพระเจ้านโปเลียนที่ ๓
- ๕๓. ราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ
- ๕๔. สร้างสวนอนันตอุทยาน
- ๕๕. ขุดคลองมหาสวัสดิ์
- ๕๖. เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันออก
- ๕๗. พระราชทานที่ให้ชาวต่างประเทศตั้งห้างและขุดคลองถนนตรง
- ๕๘. พระราชทานทรัพย์สร้างศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๕๙. หนังสือองญวนข้าหลวงเมืองไซ่ง่อนถึงเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม
- ๖๐. หนังสือตอบองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน
- ๖๑. หนังสือองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน ตอบเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๖๒. ทูตเดนมาร์กเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๖๓. ราชทูตไทยกลับจากลอนดอน
- ๖๔. ทูตเดนมาร์กกลับ
- ๖๕. โปรดฯ ตั้งองค์พระนโรดมและองค์หริราชดะไนไปช่วยราชการเมืองเขมร
- ๖๖. ฝรั่งเศสรบกับญวน
- ๖๗. ดาวหางขึ้น
- ๖๘. พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย
- ๖๙. ทูตโปรตุเกศเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๗๐. งานเฉลิมพระมหามนเทียรพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ๗๑. สร้างประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก
- ๗๒. เรื่องรักใคร่ระหว่างขุนสุวรรณกับเจ้าจอมช้อย
- ๗๓. พระราชทานเงินคนชราพิการ
- ๗๔. เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก
- ๗๕. กรมสมเด็จพระเดชาดิศรสิ้นพระชนม์
- ๗๖. เสด็จประพาสตลาดสำมุข
- ๗๗. โปรดฯ ให้รื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๗๘. ฝรั่งเศสรบกับญวน (ต่อ)
- ๗๙. งานพระศพกรมสมเด็จพระเดชาดิศร
- ๘๐. เกิดความไข้ที่กรุงเทพฯ
- ๘๑. ได้พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพลายเผือกโท
- ๘๒. โปรดเกล้าฯ ให้งดการรื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๘๓. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาศหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๘๔. ทูตฮอลันดาเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๘๕. คนสนิทของสุลต่านมะหมุดเข้ามาขอกำลังรบเมืองปาหัง
- ๘๖. องค์พระหริรักษ์ เจ้ากรุงกัมพูชา สุรคต
- ๘๗. สมโภชพระสมุทรเจดีย์
- ๘๘. ราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศ
- ๘๙. ใบบอกพระยาสระบุรีเรื่องคล้องได้ช้างพังเผือกโท
- ๙๐. เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
- ๙๑. ราชทูตกราบถวายบังคมลา
- ๙๒. สมโภชพระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย
- ๙๓. กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาและกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศรสิ้นพระชนม์
- ๙๔. สุลต่านมะหมุดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๙๕. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์สิ้นพระชนม์
- ๙๖. เรื่องเมืองเขมร
- ๙๗. ทูตปรุศเซียเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๙๘. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๙๙. เรื่องเมืองเขมร (ต่อ)
- ๑๐๐. งานพระศพ กรมหลวงมหิศวรินทร์ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ และพระองค์เจ้านิลวรรณ
- ๑๐๑. ส่งองค์พระนโรดมไปครองเมืองเขมร
- ๑๐๒. ทูตปรุศเซียกราบถวายบังคมลา
- ๑๐๓. ทำเงินตราใช้แทนเบี้ยและหอย
- ๑๐๔. ตัดถนน ๓ สายและขุดคลอง
- ๑๐๕. สร้างสะพานข้ามคลอง
- ๑๐๖. งานพระศพกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์และพระองค์เจ้าสว่าง
- ๑๐๗. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์
- ๑๐๘. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๐๙. เจ้าเมืองเบตาเวียเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญาฮอลันดา
- ๑๑๐. งานพระศพสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์
- ๑๑๑. ราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๑๒. พระราชศาสน์ถึงเจ้ากรุงจีน
- ๑๑๓. ญวนทำสัญญาใช้เบี้ยปรับให้ฝรั่งเศส
- ๑๑๔. เรื่องสุลต่านมะหมุด
- ๑๑๕. สร้างถนนเจริญกรุงตอนใน
- ๑๑๖. กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธรสิ้นพระชนม์
- ๑๑๗. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๑๘. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์
- ๑๑๙. การรับและสมโภชพระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพังสีประหลาด
- ๑๒๐. กรมพระพิทักษเทเวศรสิ้นพระชนม์
- ๑๒๑. งานโสกันต์
- ๑๒๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายเครื่องราชอิศริยยศ
- ๑๒๓. งานพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร
- ๑๒๔. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ สิ้นพระชนม์
- ๑๒๕. งานพระศพกรมพระพิทักษเทเวศร และพระองค์เจ้าใย
- ๑๒๖. เตรียมการสมโภชพระบรมอัฏฐิ
- ๑๒๗. เรื่องราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๒๘. เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ (ลองเรืออรรคราชวรเดช)
- ๑๒๙. องค์พระนโรดมบอกเรื่องทำหนังสือสัญญาระหว่างเขมรกับฝรั่งเศส
- ๑๓๐. สุลต่านมะหมุดหนีกลับ
- ๑๓๑. สร้างถนนบำรุงเมือง
- ๑๓๒. สร้างถนนเฟื่องนคร
- ๑๓๓. ฝรั่งเศสถวายรูปราชสีห์
- ๑๓๔. สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา เสด็จไปเที่ยวค้นดูช้างในแขวงเมืองนครนายก
- ๑๓๕. พระราชทานสุพรรณบัฏเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๑๓๖. ญวนแต่งทูตไปกรุงปารีส
- ๑๓๗. สร้างพระบรมบรรพต
- ๑๓๘. สมโภชพระบรมอัฏฐิและพระอัฏฐิ
- ๑๓๙. งานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๔๐. งานพระศพพระองค์เจ้าขนิษฐน้อยนารี
- ๑๔๑. พระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยานิกรบดินทร์
- ๑๔๒. ตั้งผู้แทนทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนอังกฤษกับไทย
- ๑๔๓. ราชาภิเศกองค์พระนโรดมขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินกรุงกัมพูชา
- ๑๔๔. งานฉลองสพานและถนน
- ๑๔๕. คล้องได้ช้างเผือกเอก
- ๑๔๖. เปรสิเดนต์ส่งกระบี่เครื่องทองคำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๑๔๗. สุลต่านมะหมุดถึงแก่กรรม
- ๑๔๘. ช้างเผือกและช้างสำคัญในรัชชกาลที่ ๔
- ๑๔๙. น้ำไหลมาแต่เหนือมีสีแดง
- ๑๕๐. เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐
- ๑๕๑. การแบ่งเขตต์แดนประเทศสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๕๒. การฉลองศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๑๕๓. เรื่องค่านาคู่โค
- ๑๕๔. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และพระองค์เจ้ามัณยาภาธร
- ๑๕๕. เสด็จประพาสเมืองราชบุรีและกาญจนบุรี
- ๑๕๖. ตั้งผู้ปรึกษาทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนเมืองเขมร
- ๑๕๗. โปรดฯ ให้ชำระเจ้าพนักงานฉ้อพระราชทรัพย์
- ๑๕๘. นายพลเรือโท ยอช กิง เข้ามากรุงเทพฯ
- ๑๕๙. พระยามนตรีสุริยวงศ์ออกไปเมืองนครฯ
- ๑๖๐. ทรงเปลี่ยนนามเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
- ๑๖๑. โสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๖๒. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
- ๑๖๓. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๓ พระองค์
- ๑๖๔. การปักเขตต์แดนสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๖๕. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระผนวชสามเณร
- ๑๖๖. เรื่องหนังสือสัญญาการเมืองเขมร
- ๑๖๗. พระราชทานเพลิงศพพระยามนตรีสุริยวงศ์และพระยาอภัยสงคราม
- ๑๖๘. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ถวายเทศนามหาชาติ
- ๑๖๙. เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระพุทธชินราชที่เมืองพิศณุโลก
- ๑๗๐. เรื่องปันเขตต์แดนทางประเทศพม่า
- ๑๗๒. ทำแผนที่อาณาเขตต์ทางหัวเมืองลำแม่น้ำโขง
- ๑๗๓. งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ๑๗๔. งานพระศพเจ้านาย
- ๑๗๕. ขุดคลองภาษีเจริญ
- ๑๗๖. ทำกะโจมไฟที่หลังสันดอน
- ๑๗๗. สร้างพระราชวังสราญรมย์
- ๑๗๘. มีละครทำขวัญพระบรมมหาราชวัง
- ๑๗๙. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๕ องค์
- ๑๘๐. โปรดเกล้าฯ ให้จำลองปราสาทที่นครวัด
- ๑๘๑. ฝรั่งเศสได้เมืองญวน ๓ เมือง
- ๑๘๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายพระแสง
- ๑๘๓. กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสสิ้นพระชนม์
- ๑๘๔. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๑๘๕. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาประทับตราหนังสือสัญญา
- ๑๘๖. ทูตโปรตุเกศเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๑๘๗. โสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ ๓ องค์
- ๑๘๘. ราชทูตโปรตุเกศกราบถวายบังคมลากลับ
- ๑๘๙. เปลี่ยนหนังสือสัญญากับฝรั่งเศส
- ๑๙๐. ฉลองวัดปทุมวนาราม
- ๑๙๑. เรื่องปักเขตต์แดนทางเมืองเขมร
- ๑๙๒. อักษรศาสน์ไว้ส์รอยอินเดีย
- ๑๙๓. งานพระศพกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๑๙๔. การฉลองวัดหงษ์และโรงธรรมวัดกัลยาณมิตร
- ๑๙๕. ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นกรมขุนพินิตประชานา
- ๑๙๖. อสุนีบาตตกหลายแห่ง
- ๑๙๗. เปิดคลองดำเนินสดวก
- ๑๙๘. ขุดคลองบางลี่และแก้คลองลัดยี่สานเมืองสมุทรสงคราม
- ๑๙๙. ขุดคลองที่ลัดขุนเมืองสมุทรสาคร
- ๒๐๐. ไวซ์รอยอินเดียทำแผนที่เขตต์แดนส่งมาประทับตรา
- ๒๐๑. สถานที่ซึ่งทรงก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงในรัชชกาลที่ ๔
- ๒๐๒. การพระราชกุศล
- ๒๐๓. การภาษีอากร
- ๒๐๔. ขุดได้พระพุทธรูปนิรันตราย
- ๒๐๕. สั่งปืนเข้ามาใช้ในราชการ
- ๒๐๖. ต่อเรือพระที่นั่งและเรือกลไฟ
- ๒๐๗. เมืองที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๔
- ๒๐๘. ทรงแปลงและตั้งนามขุนนาง
- ๒๐๙. ทรงตั้งนามราชทูตและกงสุล
- ๒๑๐. ทรงตั้งและแปลงนามบรรดาศักดิ์ขุนนาง
- ๒๑๑. ทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการ
- ๒๑๒. ทรงตั้งและแปลงนามพระราชาคณะฐานานุกรม
- ๒๑๓. ทรงตั้งและแปลงนามวัดต่างๆ
- ๒๑๔. เสนาบดีเข้าชื่อกันทำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวาย เรื่องราษฎรกล่าวว่า พระบาง พระพุทธรูปทำให้ฝนแล้ง
- ๒๑๕. พระราชทานพระบางคืนไปเมืองหลวงพระบาง
- ๒๑๖. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามในกรุง
- ๒๑๗. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามหัวเมือง
- ๒๑๘. สร้างพระนครคีรี ที่เมืองเพ็ชรบุรี
- ๒๑๙. กระแสพระราชดำริก่อนปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๐. ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๑. กล่าวด้วยปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๒. สร้างพระราชวังที่นครปฐม
- ๒๒๓. ขุดคลองเจดีย์บูชา
- ๒๒๔. ทรงปฏิสังขรณ์วัดเฉลิมพระเกียรติ
- ๒๒๕. ปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามและสร้างตำหนักที่บางปะอิน
- ๒๒๖. ทรงบุรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทและวังท้ายพิกุล
- ๒๒๗. ทรงสร้างพระนารายน์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๒๒๘. กงสุลฝรั่งเศสเข้ามาเปลี่ยนตัว
- ๒๒๙. เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ๒๓๐. ลงพระราชอาชญาพวกมหาดเล็กเล่นไพ่
- ๒๓๑. ทำทัณฑกรรมโหรและท้าวสมศักดิ์ท้าวโสภา
- ๒๓๒. สมโภชพระปฏิมากรแก้วมรกต
- ๒๓๓. ทรงพระประชวร
- ๒๓๔. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา
- ๒๓๕. ตั้งกองล้อมวง
- ๒๓๖. ประชุมหมอหลวงถวายพระโอสถ
- ๒๓๗. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๓๘. แปลคำที่ทรงคาถาขอขมาพระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์
- ๒๓๙. ทรงขอขมาพระบรมวงศานุวงศ์และท่านเสนาบดี
- ๒๔๐. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
- ๒๔๑. สรงน้ำพระบรมศพ
๗. เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค
รุ่งขึ้นณวันพุธ เดือน ๖ แรม ๖ ค่ำ[๑] เสด็จออกเลียบพระนครทางชลมารค พวกข้าทูลละอองผู้ใหญ่ผู้น้อย ราษฎรไพร่บ้านพลเมืองไทยจีน ที่อยู่แพอยู่เรือนริมน้ำชวนกันตั้งโต๊ะเครื่องบูชาอย่างไทยจีน จุดประทีปธูปเทียนกระทำสักการบูชารับเสด็จรอบพระนคร มีความชื่นชมโสมนัสยินดียิ่งนัก กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระบวนเรือเตรียมแห่รับเสด็จมีเรือแง่ทรายนำเสด็จไปหน้า ๖ ลำ ยาว ๑๐ วา มีธงหน้าธงท้าย มีปืนเปรียมนำเรือลำละบอก เจ้ากรมทหารปืนปากน้ำเป็นนายลำแต่งตัวนุ่งปูม สวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง พลแจวแต่งตัวสวมเสื้อแดง กางเกงขาว หมวกฝาชีลำละ ๖๐ คน มีเรือประตูแห่กระบวนหน้า เรือกัญญาพระเทพผลูนายลำซ้าย พระราชรองเมืองนายลำขวา แต่งตัวนุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง ฝีพายสวมเสื้อแดงหมวกแดงลำละ ๒๕ คน เรือเหราลายกำมะลอมีกูบจตุรมุขมีปืนใหญ่หน้าเรือบอก ๑ ฝรั่งแม่นปืนลำละ ๔ คน หลวงเสน่ห์สรชิตเป็นนายลำนุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง ฝีพายสวมเสื้อแดงหมวกแดงลำละ ๔๑ คน เรือแซคชรำบาญขวา เรือแซคชสารสินธุ์ซ้าย พระยารัตนจักร พระยาภักดีสงครามเป็นนายลำ เรือแซตลุมละเวงขวา เรือแซตะเลงละวลซ้าย พระยาสีหราชา พระยาฤทธิคำรณภพเป็นนายลำ เรือแซวรวารีขวา เรือแซศรีปัทมสมุทรซ้าย พระยากำแหงหาญณรงค์ขวา พระยาจงใจหาญซ้ายเป็นนายลำ เรือแซจรเข้คำรามร้องขวา เรือแซจระเข้คะนองซ้าย พระยาจัตุรงฤทธิ พระยาอัครศิริเป็นนายลำ เรือแซชิงไชเยศขวา เรือแซเพ็ชรปูมคามซ้าย พระยาแผลงศัตรู พระยาปราบปัจจามิตร เป็นนายลำ มีธงท้ายผูกปืนหน้าเรือ ฝรั่งแม่นปืนลำละ ๒ คน นายลำแต่งตัวเป็นรามัญ คนตีกรรเชียงแต่งตัวโพกผ้าเป็นรามัญ สวมเสื้อสีคราม เรือ ๑๐ ลำๆ ละ ๕๒ คนหมู่ ๑
ที่ ๒ เรือพาลีรั้งทวีปมีปืนหน้าเรือ ธงหักทองขวางหน้าเรือท้ายเรือเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม ซึ่งโปรดฯ ให้เรียกว่าเจ้าพระยาอัครอุดมบรมเสนาบดีเป็นนายลำ แต่งตัวสวมมาลาสวมเสื้อตาดอย่างน้อย มีทนายแต่งตัวสวมเสื้ออัตลัดโพกแพรสีหมอบหน้าฝีพายสวมกางเกงมัศลู่ ๖๐ คน เรือกัญญา พระยาเทพอรชุนเป็นนายลำขวา พระยาราชนิกูลเป็นนายลำซ้าย นุ่มปูมสวมเสื้อทรงประพาสหมวกตุ้มปี่ ฝีพายลำละ ๔๐ คน มีเรือสารวัตรตรวจ ๒ ลำ ขุนนางเป็นนายลำฝีพายลำละ ๒๓ คน เรือเอกไชยพื้นดำ มีธงหน้าธงท้าย กลางทรงพระไชยมีฉัตร ๕ ชั้น ปักเคียงมณฑป ตำรวจใหญ่ซ้ายเป็นนายลำ ฝีพาย ๕๘ คน เรือกัญญากลองนำเสด็จ พระยาวิชิตรณรงค์ก็เป็นนายลำ แต่งตัวสวมเสื้อทรงประพาสหมวกตุ้มปี่ ตีกลองไปหว่างกลาง ฝีพาย ๒๕ คน เรือกิ่งชลพิมานไชยขวา ไกรศรมารถซ้าย มีธงปักหน้าปักท้าย มีมณฑปกลางตั้งพระมหากฐิน วางผ้าทรงพระพุทธรูปมีฉัตร ๕ ชั้นปักซ้ายขวาข้างมณฑป เจ้าพนักงานเป็นนายลำ ฝีพายลำละ ๕๒ คนหมู่ ๑
ที่ ๓ เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ขวา เรือกระบี่ปราบเมืองมารซ้าย มีธงหน้าเรือ มีคนกระทุ้งเส้า พระอนุรักษโยธา พระมหาสงครามเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๕ คน เรือเสือทยานชลขวา เรือเสือคำรณสินธุ์ซ้าย มีคนกระทุ้งเส้า หลวงเดชสำแดง หลวงแสงสรสิทธิ์ เจ้ากรมทหารปืนปากน้ำเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๘ คน เรือโตขมังคลื่นขวา เรือโตฝืนสมุทรซ้าย มีคนกระทุ้งเส้า หลวงวิจารณโกษา หลวงโยธาภักดิร เจ้ากรมไพร่หลวงกรมสินค้าเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๐ คน เรือสางกำแหงหาญขวา เรือสางชาญชลสินธุ์ซ้าย มีคนกระทุ้งเส้า หลวงพิทักษโยธา หลวงนราเรืองเดช เจ้ากรมไพร่หลวงอาสาใหม่ กรมท่าเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๐ คน เรือเหราล่องลอยสินธุ์ขวา เรือเหราลีลาสมุทรซ้าย มีคนกระทุ้งเส้า หลวงวิเชียรไพชยนต์ หลวงสกลพิมาน เจ้ากรมไพร่หลวงกรมวังเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๐ คน เรือกิเลนประลองเชิงขวา เรือกิเลนละเลิงชลซ้าย คนกระทุ้งเส้า หลวงเทพเดช หลวงสุรินเดช เจ้ากรมทำลุเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๐ คน เรือมังกรจำแลงอาสาขวา เรือมังกรแผลงฤทธิอาสาซ้าย มีธงหน้าเรือ มีคนกระทุ้งเส้า หลวงรามเดช หลวงเพ็ชรกำแหงเจ้ากรมอาสา ๖ เหล่าซ้ายขวาเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๐ คนหมู่ ๑
ที่ ๔ เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี หลวงศรสำแดงฤทธิ หลวงจงพยุห ปลัดเขนทองซ้ายขวาเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๔๐ คน เรือครุฑเหินระเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร หลวงไชยเดชะ หลวงจัตุรงควิไชย ปลัดกรมเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๔๐ คน เรือสุวรรณเหราเรือเหราข้ามสมุทร นักสารดถือธงหักทองขวางหน้าเรือท้ายเรือมีกลองชนะทำด้วยเงิน ลำละ ๕ คน เจ้าพนักงานเป็นนายกำกับลำนุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำ ๔๘ คน มีเรือกลองนำไปหว่างกลาง พระยาพิไชยรณฤทธิเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อทรงประพาส สวมหมวกตุ้มปี่ ฝีพายลำละ ๒๕ คน เรือมงคลสุบรรณ เรือศรีสุพรรณหงศ์ นักสารดถือธงหักทองขวางหน้าเรือท้ายเรือ มีกลองชนะทำด้วยเงินลำละ ๕ คน เจ้าพนักงานเป็นนายกำกับลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายรวมลำละ ๖๕ คน เรือกิ่งศรีสมรรถไชย เรือกิ่งไกรแก้วจักรรัตน์ มีนักสารดถือธงหน้าธงท้าย มีมณฑปตั้งพระเจดีย์เงิน พระสุพรรณบัฏ มีสังข์แตรงอนแตรฝรั่งลำละ ๑๗ คน เจ้าพนักงานเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๖๕ คน เรือกิ่งศรีสุนทรไชย เรือกิ่งไกรสรจักร มีนักสารดถือธงหน้าธงท้าย มีคชาธารปักฉัตร ๗ ชั้น หมื่นสิทธิโสรม หมื่นภักดีศวร ตำรวจในเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๕๖ คน เรือกระโห้อาสาจามซ้ายขวา หลวงลักษมนา หลวงสุรินทรภักดีเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๕ คน เรือกระโห้อาสาจามซ้ายขวา หลวงศรเสนี ขุนวิชิตสงครามเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๕ คนหมู่ ๑
ที่ ๕ เรือดั้งซ้ายเรือกันขวา เรือดั้งกองกลางซ้ายขวา เรือดั้งตำรวจสนมซ้ายขวา เรือดั้งตำรวจนอกซ้ายขวา เรือดั้งตำรวจใหญ่ซ้ายขวา เรือดั้งตำรวจซ้ายขวา เรือดั้งล้อมวังซ้ายขวา เรือดั้งเกนหัดซ้ายขวา เรือดั้งอาสาวิเศษซ้ายขวา เรือดั้งนำหน้าฉานซ้ายขวา เรือดั้งผลาญสมุทรซ้ายขวา เรือดั้งทองขวานฟ้าซ้าย เรือดั้งบ้าบิ่นขวา เรือ ๒๒ ลำมีนายกำกับลำถือปืนคาบศิลาลำละ ๔ คน นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง มีคนกระทุ้งเส้าลำละ ๒ คน ฝีพายลำละ ๔๕ คน มีเรือกัญญาสารวัตรไปกลางแถวลำ ๑ จมื่นสมุหพิมานเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพาย ๓๕ คน
ที่ ๖ เรือเอกไชยเหิรหาวซ้าย เรือเอกไชยหลาวทองขวา นักสารดถือธงหักทองขวางหน้าเรือท้ายเรือ มีกลองมะโหระทึกประโคมไปลำละ ๕ คน เจ้าพนักงานกำกับลำ นุ่งปูมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๔๕ คน มีเรือกลองนำเสด็จ พระยาพิไชยสงครามเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อทรงประพาสหมวกตุ้มปี่ ฝีพาย ๒๕ คน เรือในกระบวนหน้า ฝีพายสวมเสื้อแดง หมวกแดง กางเกงแดงทั้งสิ้น เรือกิ่งศรีประภัศรไชยลำพระที่นั่งทรง เรือกิ่งไกรสรมุขพระที่นั่งรอง มีนักสารดถือธงหักทองขวางหน้าท้าย มีมณฑปยอดเป็นพระที่นั่งประดับพลอยสีต่างๆ มีเศวตฉัตรขาวลายทอง ๗ ชั้น ปักเคียงพระมณฑปซ้ายขวาเครื่องสูงอภิรุมชุมสายตั้งรายไปตามเรือ ฝีพายสวมเสื้อสวมหมวกสวมกางเกงสักหลาดขลิบโหมด ๑๐๐ คน เรือกราบมีกัญญาผ้าหน้าโขนหักทองขวาง จางวางเจ้ากรม ปลัด ตำรวจหน้า ตำรวจหลัง ทหารในรักษาพระองค์กรมวังแสงต้น มหาดเล็กเป็นนายลำตามเสด็จ นุ่งปูมสวมเสื้อทรงประพาส หมวกตุ้มปี่ สวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง พายไป ๔ แถวๆ ละ ๖ ลำ เรือ ๒๔ ลำ เรือตาร้ายเกณฑ์หัดแสงปืนประทุนแดง ๔ ลำ พระอัคเนศร พระศรสำแดง จมื่นกงศิลป จมื่นก่งศร เป็นนายลำ แต่งตัวนุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง บรรทุกปืนเครื่องอาวุธเตรียมไป ฝีพายสวมเสื้อแดงหมวกแดงกางเกงแดงลำละ ๒๕ คน ถัดเรือตาร้ายลงมาอีกหมู่ ๑ เรือศรีประกอบเขียนลายทอง เรือสวัสดิ์ชิงไชย เรือวิไลเลขา เรือรังษีทิพยรัตน์ เรือจักรพรรดิภิรมย์ เรือทินกรส่องศรี เรือมณีจักรพรรดิม่านทองแย่ง เป็นเรือพระประเทียบ ๖ ลำ กรมฝ่ายในตามเสด็จ ฝีพายสวมเสื้อแดง หมวกแดง กางเกงแดง ลำละ ๕๐ คน
อีกหมู่ ๑ เรือแซหมูชลจร เรือแซสุกรกำเลาะ เรือแซวิภัชนชล เรือแซอนนตสมุทร ๔ ลำมีธง มีทวนปักท้าย พระยาเกียรติ์ พระยาพระราม พระยาปราบปัจจามิตร พระยาแผลงศัตรูเป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อทรงประพาส หมวกตุ้มปี่ พลกรรเชียงแต่งตัวโพกศีร์ษะสวมเสื้อเป็นรามัญลำละ ๓๕ คน เรือกราบมีกัญญาประตูหลัง พระนรินทรเสนี พระราชเสนา (แทนพระศรีสหเทพ) เป็นนายลำ นุ่งปูมสวมเสื้อเข้มขาบโพกขลิบทอง ฝีพายลำละ ๓๕ คน หมู่ ๑
เรือกัญญาผูกผ้าหน้าโขนหักทองขวาง ผูกพู่ ผูกดาว ล้วนเรือพระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอ พระเจ้าราชวรวงศเธอ แต่งพระองค์ทรงเครื่องฉลองพระองค์จีบเอว สวมพระมหามาลาเส้าสูงปักขนนกตามเสด็จ ๒๓ ลำ ฝีพายลำละ ๕๐ คน ถัดลงมาถึงเรือสุครีพครองเมือง ท่านพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา ซึ่งโปรดฯ ให้เรียกว่าเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ เสนาบดีผู้ใหญ่เป็นนายลำ แต่งตัวสวมมาลาเสื้อตาดอย่างน้อย มีธงหักทองขวางปักหน้าปักท้ายเรือ ทนายแต่งตัวสวมเสื้ออัตลัดโพกแพรสีหมอบหน้า ฝีพายสวมกางเกงมัศลู่ ๖๐ คน เรือกราบมีกัญญาหมู่มุขมาตยาผู้ใหญ่ผู้น้อย ที่มิได้เข้ากระบวนเป็นนายลำ มีผ้าหน้าโขนตาดเข้มขาบ ผูกดาว แต่งตัวนุ่งปูมสวมเสื้อทรงประพาส หมวกตุ้มปี่ ๓๖ ลำ ฝีพายสวมกางเกงต่างๆ ลำละ ๔๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง หมู่ ๑ เรือเก๋งพั้ง ขุนนางจีนเจ้าภาษี แต่งตัวอย่างขุนนางเมืองจีนตามเสด็จไปเบื้องหลัง ๒๐ ลำ ฝีพายสวมกางเกง เสื้อกั๊ก หมวกจีโบ ขุนนางน้อยๆ ซึ่งมิได้เข้ากระบวนแห่ ขี่เรือสำปั้นยาว ๖ วา ๗ วา ๘ วา ฝีพายลำละ ๑๔ คน ๑๕ คน ๒๐ คนบ้าง คอยตามเสด็จไปเบื้องหลังเป็นอันมาก เจ้าพนักงานจัดเรือกระบวนใหญ่น้อยพร้อมแล้วเป็นพลพาย ๑๐,๐๐๐ เศษ เป็นเรือกระบวน ๒๖๙ ลำ เรือนอกกระบวนประมาณ ๕๐ ลำเศษ จึงเลื่อนเรือพระที่นั่งมาประทับคอยรับเสด็จที่พระตำหนักท่าราชวรดิตถ์ เรือกระบวนหน้าหลังก็ออกเป็นคู่ๆ ลำดับกันไป
ครั้นได้มหาพิไชยฤกษ์เสด็จสรงสนานทรงเครื่องต้นสำหรับพระมหากษัตราธิราชเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินลงมาเรือพระที่นั่งกระบวนหน้าฝรั่งนายทหารแม่นปืนยิงสลุตลำละ ๓ นัด ทหารปืนในเรือกำปั่นหลวง ชื่อพุทธอำนาจก็ยิงปืนรับ ๒๑ นัด กำปั่นขุนนาง เรือจีนลูกค้าก็ยิงปืนคำนับลำละ ๓ นัดทุกลำ แล้วเคลื่อนพยุหยาตราโดยทักษิณรอบพระนคร ถึงพระอารามวัดบวรนิเวศน์วรวิหาร เสด็จจากเรือพระที่นั่งขึ้นทรงพระราชยานเสด็จทางสถลมารคเข้าไปในพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนบูชานมัสการพระพุทธชินสีห์ ถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ราชาคณะอันดับเสร็จแล้วเสด็จกลับ ให้เคลื่อนพยุหกระบวนแห่ยาตราเรือพระที่นั่งไปถึงวัดอรุณราชวรารามหยุดประทับเรือพระที่นั่ง เสด็จเข้าไปในพระอุโบสถทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นมัสการถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ราชาคณะอันดับเสร็จแล้ว เสด็จกลับมาประทับเรือพระที่นั่งอยู่ที่พระตำหนักท่าราชวรดิตถ์ พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ข้างหน้าข้างในซึ่งมิได้ตามเสด็จ พร้อมกันมาคอยรับเสด็จเข้าในพระราชวัง แลเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางชลมารคนั้น โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานกลึงไม้เป็นรูปผลกัลปพฤกษ์ทาแดงทาเขียว มีเงินอยู่ข้างในไว้มากกว่าหมื่น ทรงโปรยตามกระแสชลพระราชทานให้ไพร่ฟ้าประชากร ซึ่งมาคอยสรรเสริญถวายพรเชยชมพระบรมโพธิสมภารรอบพระนคร สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก
เสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเศกและการเลียบพระนคร ในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว และธรรมเนียมในการอุปราชาภิเศกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรแต่ก่อนๆ มา มีธรรมเนียมลดหย่อนน้อยกว่าพระราชวังหลวงหลายอย่าง มิได้มีแห่เลียบพระนครและสรงพระกระยาสนานน้ำมุรธาภิเศก แต่ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ทรงพระราชดำริเห็นว่า สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าก็ทรงพระปรีชารอบรู้การในพระนครและการต่างประเทศ และขนบธรรมเนียมต่างๆ และศิลปศาสตร์ในการณรงคสงครามเป็นอันมาก พระบรมราชวงศานุวงศ์และเสนาบดีข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อยก็นิยมยินดีนับถือมาก เมื่อกระทำสัตย์สาบานถวายก็ได้ออกพระนามทั้ง ๒ พระองค์ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระทัยสนิทเสน่หายิ่งนัก มีการณรงคสงครามคับขันมาประการใด จะได้ให้เสด็จไปเป็นจอมพยุหโยธาทหารทั้งปวง ปราบปรามปัจจามิตรข้าศึกศัตรู มีพระเดชานุภาพจะได้เหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเหมือนกัน เพราะดังนั้น จึงหาได้จัดการพระราชพิธีอุปราชาภิเศกอย่างกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่ก่อนๆ ไม่ จึงโปรดฯ พระราชทานให้มียศใหญ่กว่าแต่ก่อน ก็ได้จารึกพระนามประดิษฐานไว้ในแผ่นพระสุพรรณบัฏ มีพระนามอันวิเศษคล้ายกับพระนามพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์เสนาบดีข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ก็ได้ออกพระนามว่า พระบาทสมเด็จฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รับพระราชโองการทั้ง ๒ พระองค์ ก็ผิดกันแต่คำนำหน้าที่ว่ารับพระบรมราชโองการและรับพระบวรราชโองการเท่านั้น และซึ่งจะกระทำการพระราชพิธีบวรราชาภิเศกนั้น ก็แม้นๆ กันกับการพระราชพิธีบรมราชาภิเศก