- คำนำ
- ๑. อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จจากวัดบวรนิเวศ
- ๒. กราบทูลอัญเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นเสวยราชย์
- ๓. ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชการเข้าเฝ้าให้สรวมเสื้อ
- ๔. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๕. ข้าราชการฝ่ายในถวายตัว
- ๖. เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค
- ๗. เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค
- ๘. พระราชพิธีบวรราชาภิเศก
- ๙. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนคร
- ๑๐. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๑. ตั้งพระราชาคณะ
- ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๓. เจ้าประเทศราชเข้ามาเฝ้า
- ๑๔. ตำนานเมืองน่าน
- ๑๕. ตำนานเมืองแพร่
- ๑๖. ทรงแก้สร้อยพระนาม องค์สมเด็จหริรักษรามา เจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๗. ทรงแต่งตั้งขุนนาง
- ๑๘. ขุดคลองคูพระนครชั้นนอก
- ๑๙. การเทศนากระจาดใหญ่
- ๒๐. ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวรที่สวรรคตแล้ว
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๒๓. ขุดคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างป้อม
- ๒๔. สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์
- ๒๕. เริ่มการศึกเชียงตุง
- ๒๖. บรรจุดวงพระชาตาพระนคร
- ๒๗. สมณทูตไทยไปลังกาทวีป
- ๒๘. งานพระศพสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๙. สมณทูตกลับจากลังกาทวีป
- ๓๐. ได้พระวิมลรัตนกริณี ช้างพังเผือกตรี
- ๓๑. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ประสูติเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๓๒. การทัพศึกเมืองเชียงตุง
- ๓๓. เรื่องเรือกะทงลอยพระประทีป
- ๓๔. สร้างพระเจดีย์และถวายพระนามพระประธานในวัดพระเชตุพน
- ๓๕. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสและกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์สิ้นพระชนม์
- ๓๖. สร้างสระปทุมวันและวัดปทุมวนาราม
- ๓๗. การทัพศึกเมืองเชียงตุง (ต่อ)
- ๓๘. เตรียมการต้อนรับเซอร์ยอนโบวริง
- ๓๙. การฉลองคลองคูพระนครชั้นนอก (คลองผดุงกรุงเกษม)
- ๔๐. สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์
- ๔๑. ได้พระวิสุทธรัตนกริณี ช้างพังเผือกโท
- ๔๒. เซอร์ยอนโบวริงเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๓. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย
- ๔๔. มิสเตอร์ฮาริปักเข้ามาแก้หนังสือสัญญา
- ๔๕. ทูตอเมริกันเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๖. การถวายสลากภัตรในวัดพระเชตุพน
- ๔๗. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาทำสัญญา ๓๒ ข้อ
- ๔๘. พม่าถือหนังสือเสนาบดีผู้ใหญ่เมืองพม่าเข้ามาถวายพระสังฆราช
- ๔๙. หนังสือเดินทางของพม่า
- ๕๐. ลิขิตสมณศาสน์ตอบหนังสือเสนาบดีพม่า
- ๕๑. ทูตฝรั่งเศสไปเมืองเขมรและเมืองญวน
- ๕๒. หนังสือองค์พระหริรักษ์ถึงพระเจ้านโปเลียนที่ ๓
- ๕๓. ราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ
- ๕๔. สร้างสวนอนันตอุทยาน
- ๕๕. ขุดคลองมหาสวัสดิ์
- ๕๖. เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันออก
- ๕๗. พระราชทานที่ให้ชาวต่างประเทศตั้งห้างและขุดคลองถนนตรง
- ๕๘. พระราชทานทรัพย์สร้างศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๕๙. หนังสือองญวนข้าหลวงเมืองไซ่ง่อนถึงเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม
- ๖๐. หนังสือตอบองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน
- ๖๑. หนังสือองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน ตอบเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๖๒. ทูตเดนมาร์กเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๖๓. ราชทูตไทยกลับจากลอนดอน
- ๖๔. ทูตเดนมาร์กกลับ
- ๖๕. โปรดฯ ตั้งองค์พระนโรดมและองค์หริราชดะไนไปช่วยราชการเมืองเขมร
- ๖๖. ฝรั่งเศสรบกับญวน
- ๖๗. ดาวหางขึ้น
- ๖๘. พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย
- ๖๙. ทูตโปรตุเกศเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๗๐. งานเฉลิมพระมหามนเทียรพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ๗๑. สร้างประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก
- ๗๒. เรื่องรักใคร่ระหว่างขุนสุวรรณกับเจ้าจอมช้อย
- ๗๓. พระราชทานเงินคนชราพิการ
- ๗๔. เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก
- ๗๕. กรมสมเด็จพระเดชาดิศรสิ้นพระชนม์
- ๗๖. เสด็จประพาสตลาดสำมุข
- ๗๗. โปรดฯ ให้รื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๗๘. ฝรั่งเศสรบกับญวน (ต่อ)
- ๗๙. งานพระศพกรมสมเด็จพระเดชาดิศร
- ๘๐. เกิดความไข้ที่กรุงเทพฯ
- ๘๑. ได้พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพลายเผือกโท
- ๘๒. โปรดเกล้าฯ ให้งดการรื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๘๓. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาศหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๘๔. ทูตฮอลันดาเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๘๕. คนสนิทของสุลต่านมะหมุดเข้ามาขอกำลังรบเมืองปาหัง
- ๘๖. องค์พระหริรักษ์ เจ้ากรุงกัมพูชา สุรคต
- ๘๗. สมโภชพระสมุทรเจดีย์
- ๘๘. ราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศ
- ๘๙. ใบบอกพระยาสระบุรีเรื่องคล้องได้ช้างพังเผือกโท
- ๙๐. เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
- ๙๑. ราชทูตกราบถวายบังคมลา
- ๙๒. สมโภชพระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย
- ๙๓. กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาและกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศรสิ้นพระชนม์
- ๙๔. สุลต่านมะหมุดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๙๕. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์สิ้นพระชนม์
- ๙๖. เรื่องเมืองเขมร
- ๙๗. ทูตปรุศเซียเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๙๘. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๙๙. เรื่องเมืองเขมร (ต่อ)
- ๑๐๐. งานพระศพ กรมหลวงมหิศวรินทร์ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ และพระองค์เจ้านิลวรรณ
- ๑๐๑. ส่งองค์พระนโรดมไปครองเมืองเขมร
- ๑๐๒. ทูตปรุศเซียกราบถวายบังคมลา
- ๑๐๓. ทำเงินตราใช้แทนเบี้ยและหอย
- ๑๐๔. ตัดถนน ๓ สายและขุดคลอง
- ๑๐๕. สร้างสะพานข้ามคลอง
- ๑๐๖. งานพระศพกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์และพระองค์เจ้าสว่าง
- ๑๐๗. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์
- ๑๐๘. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๐๙. เจ้าเมืองเบตาเวียเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญาฮอลันดา
- ๑๑๐. งานพระศพสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์
- ๑๑๑. ราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๑๒. พระราชศาสน์ถึงเจ้ากรุงจีน
- ๑๑๓. ญวนทำสัญญาใช้เบี้ยปรับให้ฝรั่งเศส
- ๑๑๔. เรื่องสุลต่านมะหมุด
- ๑๑๕. สร้างถนนเจริญกรุงตอนใน
- ๑๑๖. กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธรสิ้นพระชนม์
- ๑๑๗. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๑๘. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์
- ๑๑๙. การรับและสมโภชพระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพังสีประหลาด
- ๑๒๐. กรมพระพิทักษเทเวศรสิ้นพระชนม์
- ๑๒๑. งานโสกันต์
- ๑๒๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายเครื่องราชอิศริยยศ
- ๑๒๓. งานพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร
- ๑๒๔. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ สิ้นพระชนม์
- ๑๒๕. งานพระศพกรมพระพิทักษเทเวศร และพระองค์เจ้าใย
- ๑๒๖. เตรียมการสมโภชพระบรมอัฏฐิ
- ๑๒๗. เรื่องราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๒๘. เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ (ลองเรืออรรคราชวรเดช)
- ๑๒๙. องค์พระนโรดมบอกเรื่องทำหนังสือสัญญาระหว่างเขมรกับฝรั่งเศส
- ๑๓๐. สุลต่านมะหมุดหนีกลับ
- ๑๓๑. สร้างถนนบำรุงเมือง
- ๑๓๒. สร้างถนนเฟื่องนคร
- ๑๓๓. ฝรั่งเศสถวายรูปราชสีห์
- ๑๓๔. สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา เสด็จไปเที่ยวค้นดูช้างในแขวงเมืองนครนายก
- ๑๓๕. พระราชทานสุพรรณบัฏเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๑๓๖. ญวนแต่งทูตไปกรุงปารีส
- ๑๓๗. สร้างพระบรมบรรพต
- ๑๓๘. สมโภชพระบรมอัฏฐิและพระอัฏฐิ
- ๑๓๙. งานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๔๐. งานพระศพพระองค์เจ้าขนิษฐน้อยนารี
- ๑๔๑. พระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยานิกรบดินทร์
- ๑๔๒. ตั้งผู้แทนทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนอังกฤษกับไทย
- ๑๔๓. ราชาภิเศกองค์พระนโรดมขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินกรุงกัมพูชา
- ๑๔๔. งานฉลองสพานและถนน
- ๑๔๕. คล้องได้ช้างเผือกเอก
- ๑๔๖. เปรสิเดนต์ส่งกระบี่เครื่องทองคำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๑๔๗. สุลต่านมะหมุดถึงแก่กรรม
- ๑๔๘. ช้างเผือกและช้างสำคัญในรัชชกาลที่ ๔
- ๑๔๙. น้ำไหลมาแต่เหนือมีสีแดง
- ๑๕๐. เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐
- ๑๕๑. การแบ่งเขตต์แดนประเทศสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๕๒. การฉลองศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๑๕๓. เรื่องค่านาคู่โค
- ๑๕๔. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และพระองค์เจ้ามัณยาภาธร
- ๑๕๕. เสด็จประพาสเมืองราชบุรีและกาญจนบุรี
- ๑๕๖. ตั้งผู้ปรึกษาทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนเมืองเขมร
- ๑๕๗. โปรดฯ ให้ชำระเจ้าพนักงานฉ้อพระราชทรัพย์
- ๑๕๘. นายพลเรือโท ยอช กิง เข้ามากรุงเทพฯ
- ๑๕๙. พระยามนตรีสุริยวงศ์ออกไปเมืองนครฯ
- ๑๖๐. ทรงเปลี่ยนนามเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
- ๑๖๑. โสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๖๒. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
- ๑๖๓. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๓ พระองค์
- ๑๖๔. การปักเขตต์แดนสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๖๕. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระผนวชสามเณร
- ๑๖๖. เรื่องหนังสือสัญญาการเมืองเขมร
- ๑๖๗. พระราชทานเพลิงศพพระยามนตรีสุริยวงศ์และพระยาอภัยสงคราม
- ๑๖๘. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ถวายเทศนามหาชาติ
- ๑๖๙. เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระพุทธชินราชที่เมืองพิศณุโลก
- ๑๗๐. เรื่องปันเขตต์แดนทางประเทศพม่า
- ๑๗๒. ทำแผนที่อาณาเขตต์ทางหัวเมืองลำแม่น้ำโขง
- ๑๗๓. งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ๑๗๔. งานพระศพเจ้านาย
- ๑๗๕. ขุดคลองภาษีเจริญ
- ๑๗๖. ทำกะโจมไฟที่หลังสันดอน
- ๑๗๗. สร้างพระราชวังสราญรมย์
- ๑๗๘. มีละครทำขวัญพระบรมมหาราชวัง
- ๑๗๙. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๕ องค์
- ๑๘๐. โปรดเกล้าฯ ให้จำลองปราสาทที่นครวัด
- ๑๘๑. ฝรั่งเศสได้เมืองญวน ๓ เมือง
- ๑๘๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายพระแสง
- ๑๘๓. กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสสิ้นพระชนม์
- ๑๘๔. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๑๘๕. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาประทับตราหนังสือสัญญา
- ๑๘๖. ทูตโปรตุเกศเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๑๘๗. โสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ ๓ องค์
- ๑๘๘. ราชทูตโปรตุเกศกราบถวายบังคมลากลับ
- ๑๘๙. เปลี่ยนหนังสือสัญญากับฝรั่งเศส
- ๑๙๐. ฉลองวัดปทุมวนาราม
- ๑๙๑. เรื่องปักเขตต์แดนทางเมืองเขมร
- ๑๙๒. อักษรศาสน์ไว้ส์รอยอินเดีย
- ๑๙๓. งานพระศพกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๑๙๔. การฉลองวัดหงษ์และโรงธรรมวัดกัลยาณมิตร
- ๑๙๕. ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นกรมขุนพินิตประชานา
- ๑๙๖. อสุนีบาตตกหลายแห่ง
- ๑๙๗. เปิดคลองดำเนินสดวก
- ๑๙๘. ขุดคลองบางลี่และแก้คลองลัดยี่สานเมืองสมุทรสงคราม
- ๑๙๙. ขุดคลองที่ลัดขุนเมืองสมุทรสาคร
- ๒๐๐. ไวซ์รอยอินเดียทำแผนที่เขตต์แดนส่งมาประทับตรา
- ๒๐๑. สถานที่ซึ่งทรงก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงในรัชชกาลที่ ๔
- ๒๐๒. การพระราชกุศล
- ๒๐๓. การภาษีอากร
- ๒๐๔. ขุดได้พระพุทธรูปนิรันตราย
- ๒๐๕. สั่งปืนเข้ามาใช้ในราชการ
- ๒๐๖. ต่อเรือพระที่นั่งและเรือกลไฟ
- ๒๐๗. เมืองที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๔
- ๒๐๘. ทรงแปลงและตั้งนามขุนนาง
- ๒๐๙. ทรงตั้งนามราชทูตและกงสุล
- ๒๑๐. ทรงตั้งและแปลงนามบรรดาศักดิ์ขุนนาง
- ๒๑๑. ทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการ
- ๒๑๒. ทรงตั้งและแปลงนามพระราชาคณะฐานานุกรม
- ๒๑๓. ทรงตั้งและแปลงนามวัดต่างๆ
- ๒๑๔. เสนาบดีเข้าชื่อกันทำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวาย เรื่องราษฎรกล่าวว่า พระบาง พระพุทธรูปทำให้ฝนแล้ง
- ๒๑๕. พระราชทานพระบางคืนไปเมืองหลวงพระบาง
- ๒๑๖. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามในกรุง
- ๒๑๗. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามหัวเมือง
- ๒๑๘. สร้างพระนครคีรี ที่เมืองเพ็ชรบุรี
- ๒๑๙. กระแสพระราชดำริก่อนปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๐. ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๑. กล่าวด้วยปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๒. สร้างพระราชวังที่นครปฐม
- ๒๒๓. ขุดคลองเจดีย์บูชา
- ๒๒๔. ทรงปฏิสังขรณ์วัดเฉลิมพระเกียรติ
- ๒๒๕. ปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามและสร้างตำหนักที่บางปะอิน
- ๒๒๖. ทรงบุรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทและวังท้ายพิกุล
- ๒๒๗. ทรงสร้างพระนารายน์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๒๒๘. กงสุลฝรั่งเศสเข้ามาเปลี่ยนตัว
- ๒๒๙. เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ๒๓๐. ลงพระราชอาชญาพวกมหาดเล็กเล่นไพ่
- ๒๓๑. ทำทัณฑกรรมโหรและท้าวสมศักดิ์ท้าวโสภา
- ๒๓๒. สมโภชพระปฏิมากรแก้วมรกต
- ๒๓๓. ทรงพระประชวร
- ๒๓๔. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา
- ๒๓๕. ตั้งกองล้อมวง
- ๒๓๖. ประชุมหมอหลวงถวายพระโอสถ
- ๒๓๗. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๓๘. แปลคำที่ทรงคาถาขอขมาพระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์
- ๒๓๙. ทรงขอขมาพระบรมวงศานุวงศ์และท่านเสนาบดี
- ๒๔๐. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
- ๒๔๑. สรงน้ำพระบรมศพ
๔๘. พม่าถือหนังสือเสนาบดีผู้ใหญ่เมืองพม่าเข้ามาถวายพระสังฆราช
ครั้นวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำ[๑] มีพม่า ๔ คนมากับลาวพวกเมืองเชียงใหม่ ขึ้นพักอยู่วัดราชาธิวาศ แจ้งความแก่พระสงฆ์ในวัดนั้นว่า เป็นผู้ถือหนังสือเสนาบดีผู้ใหญ่เมืองพม่ามาถวายพระสังฆราชฉะบับ ๑ เป็นหนังสือสำหรับตัวผู้ถือหนังสือฉะบับ ๑ พระสงฆ์ที่วัดราชาธิวาศจึงมาแจ้งแก่พระพรหมมุนีตามวัดขึ้น พระพรหมมุนีถวายพระพรได้ทรงทราบแล้ว โปรดฯ ให้พระพรหมมุนีเป็นผู้รับรอง ได้ให้ล่ามแปลหนังสือพม่า ๒ ฉะบับออก มีความว่า
ข้าพเจ้ามหาเมลซีซู ซึ่งเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ ได้กินเมืองบ้านหมอ เป็นข้าหลวงเดิมฝ่ายในแห่งพระเจ้าช้างเผือกอันประเสริฐ ซึ่งได้เป็นใหญ่บังคับบัญชากษัตริย์ทั้งหลายทั้งปวง อันมีเศวตฉัตรครอบครองเมืองใหญ่ มีต้นว่าสุนาปรันตประเทศ ตามพทีปประเทศ ซึ่งมีบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว บ่อกาเยนทั้งหลายต่างๆ และมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ และเป็นเจ้าน้ำเจ้าดินอันมีจักราวุธอันประเสริฐ ละอองฝ่าพระบาททั้ง ๒ เหมือนหนึ่งเกสรปทุมชาติ เหตุการณ์บ้านเมืองซึ่งมีเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้กราบทูลอยู่เป็นนิตย์ ข้าพเจ้ากราบทูลสมเด็จพระสังฆราชให้ทราบความว่า แต่ต้นวิวัฏฎฐายีภัททกัลป จำเดิมแต่บรมโพธิสัตว์ลงมาเกิดเป็นพระเจ้ามหาสมมติราช เสวยสมบัติอยู่ในชมพูทวีปสืบต่อมา เป็นกษัตริย์ได้ ๒๕๒,๕๕๖ พระองค์ ภายหลังในมัชฌิมประเทศกบิลพัสดุ์ เทวทหะ โกลิยะ ได้ตั้งบ้านเมืองใหญ่ในมัชฌิมประเทศ คือเมืองกบิลพัสดุ์ เมืองเทวทหะ เมืองโกลิยะ ๓ เมือง พระยาโอกากมุขอันมีเปลวเพลิงพลุ่งออกจากปาก บุตรแห่งพระยาโอกากมุขชื่อว่า พระยาจันทิมะ บุตรแห่งพระยาจันทิมะชื่อว่าจันทมุข บุตรแห่งพระยาจันทมุขชื่อว่าพระยาสญชัย บุตรแห่งพระยาสญชัยชื่อว่าพระยาเวสสันดร อันเป็นเจ้าของแห่งพระยามหาปัจจัยนาค บุตรพระยาเวสสันดรบรมกษัตริย์ชื่อว่าพระยาชาลี บุตรพระยาชาลีชื่อว่าพระยาสีหวา บุตรพระยาสีหวาชื่อว่าพระยาสีหัสร
จำเดิมแต่พระยาสีหัสรมาเป็นกษัตริย์ ๘๒,๐๑๐ สืบกษัตริย์ต่อมาเป็นที่สุด เมื่อนางกัจจานีผู้เป็นพระราชธิดาแห่งพระเจ้าเทวทหะอภิเศกด้วยพระเจ้าสีหหนุราช อันเป็นบุตรแห่งพระยาชัยเสนแล้ว จึงได้พระราชบุตรทรงพระนามชื่อว่า เจ้ากรุงศิริสุทโธทน์ เมื่อพระศิริมหามายาผู้เป็นพระราชธิดาแห่งพระยาอัญชนราช ราชาภิเศกด้วยพระเจ้ากรุงศิริสุธโธทน์แล้ว จึงได้พระโอรสทรงพระนามว่า พระสิทธารถราชกุมารพระบรมโพธิสัตว์ ครั้นพระชนมายุได้ ๑๖ พระพรรษา แวดล้อมเพลิดเพลินไปด้วยนางทั้งหลายทั้งปวง ๔๐,๐๐๐ มีนางยโสธราราชเทวีเป็นต้น เสวยราชสมบัติอยู่ในประเทศทั้ง ๓ ชื่อรามปราสาท ๑ ชื่อสุภปราสาท ๑ ชื่อสุรามปราสาท ๑ ในเมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ ปี ได้เห็นซึ่งนิมิตรอันใหญ่ ๔ ประการ คือเห็นคนแก่ประการ ๑ คนเจ็บประการ ๑ คนตายประการ ๑ รูปสมณะประการ ๑ แล้วได้ธรรมสังเวชสละเสียซึ่งราชสมบัติและปราสาททองอันใหญ่ เสด็จออกไปทรงผนวชแล้วประพฤติซึ่งทุกกรกิริยาถึง ๖ ปี ทรงชนะซึ่งมารทั้ง ๕ ประการในควงไม้พระมหาโพธิมณฑล ครั้นเมื่อได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าไม่มีใครเสมอในภูมิทั้ง ๓ ทรงตรัสเทศนาซึ่งอมฤตรสธรรม โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายอันล่มจมในสงสารสาคร เมื่อได้ ๔๕ พระพรรษา พระชนมายุภายในเต็ม ๘๐ (ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน)
ภายหลังเมื่อ(พระพุทธองค์)เสด็จเข้าสู่พระนิพพาน ศาสนาก็รุ่งเรืองในมัชฌิม (ประเทศแล) สิงหฬประเทศ สมเด็จพระพุทธเจ้าเห็นว่าพระพุทธศาสนารุ่งเรืองจะยืดยาวในประเทศพม่าทั้ง ๒ คือประเทศสุนาปรันต ประเทศตามพทีป เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่นั้น เสด็จไปสู่พระวิหารอันมหาบุญ จุลบุญ พี่น้อง ๒ คนกระทำด้วยไม้แก่นจันทร์แดงเนืองๆ จำเดิมแต่ได้เทศนาอมฤตรสธรรมโปรดซึ่งสัตว์อันควรจะพ้นทุกข์เป็นลำดับไม่ขาดแถว จนกระทั่งถึงความรุ่งเรือง ประเทศพม่า เมืองสุเรเขตรา เมืองปูกาม เมืองเมงจัน เมืองจะกัน เมืองปัณยะ เมืองรัตนบุระ เมืองรัตนสิงขร จนกระทั่งถึงเมืองอมรบุระ กษัตริย์พม่าตั้งแต่พระเจ้าปู่ทวดและสมเด็จพระเจ้าปู่เป็นสุริยวงศอสัมภินขัตติย ได้ตั้งบ้านตั้งเมืองเศวตฉัตรปราสาททองครอบครองสืบกันมา ชวนกันได้รับความเจริญในพระพุทธศาสนา และได้ความเจริญแก่อาณาประชาราษฎรทั้งสิ้น พระยาทรงธรรมอันเป็นเจ้าพิภพและเป็นเจ้าแห่งพระยาช้างฉัททันต์ ก็ได้ครอบครองซึ่งบ้านเมืองแว่นแคว้นกับด้วยปราสาททองเศวตฉัตร กับด้วยเมืองอมรรัตนบุระอังวะสืบต่อกันมา สมเด็จพระเจ้าปู่ทวดและสมเด็จพระเจ้าปู่ก็ได้ทรงขอพรอันประเสริฐ ถึงว่าได้ครอบครองบ้านเมืองอันใหญ่ก็ไม่หลงลืมในการกุศล ได้รักษาศีลเป็นนิตย์เหมือนกับพระศีลวะ พระยาสุทัศนจักร พระเนมี พระยาเวสสันดรโพธิสัตว์ มีความอดใจจำแนกแจกทานรักษาศีล เมตตากรุณาแก่อาณาประชาราษฎร และบังคับตัดสินขัดข้อง ราษฎรผู้ใดผิดก็ทำตามผิด ผู้ใดชอบก็ทำตามชอบ มิได้เห็นแก่หน้าบุคคล ผู้ใดมีความอุตสาหะในความเจริญโลกีย์และโลกุดร มีสติ ๓ ประการ คือชุมนุมปรึกษาด้วยอำมาตย์ผู้มีปัญญาวันละ ๓ ครั้ง สัสสเมธ ส่วย ๑๐ ส่วนเอาแต่ส่วน ๑ ปุริสเมธ ให้สะเบียงอาหารแก่ข้าราชการ ๖ เดือนครั้ง ๑ สัมมาปาส ให้ทุนรอนแก่ราษฎรชาวบ้านชาวเมืองถึง ๓ ปีแล้วจึงเรียกเอาคืน ๑ วาจาเปยย กล่าวซึ่งถ้อยคำอันไพเราะอันเป็นที่รัก ๑ เป็นสังคหธรรม ๔ ประการ บริบูรณ์ไปด้วยกำลังกายและกำลังมือ พาหุพล บริบูรณ์ไปด้วยรัตนทั้งปวง มีเงินและทองเป็นต้น เป็นโภคพล ๑ มากไปด้วยหมู่อำมาตย์พลทหาร เป็นอมัจจพล ๑ เป็นอสัมภินสากยวงศ์ไม่ขาดแถว จำเดิมแต่พระยามหาสันทปฐมกัลป มีพระญาติวงศ์เป็นอันมาก เป็นอภิชัจจพล ๑ มีพระปัญญาอันคมว่องไว เป็นปัญญาพล ๑ มีกำลัง ๕ ประการ ขมา มีความอดไว้ ๑ ชาคริย ตื่นอยู่ในความเพียร ๑ อุฏฐาน มีความหมั่นลุกขึ้น ๑ สํวิภาค อาจในที่จำแนกแจกทาน ๑ ทยา มีความเอ็นดู ๑ อิกขนา พิจารณาดูในการทั้งปวง ๑ นี้เป็นนายกคุณ ๖ ประการ สันนิปาต เสด็จออกปรึกษาด้วยการบ้านเมืองวันละ ๓ ครั้ง ๑ สมัคค พร้อมไปด้วยราชวงศ์ราชบุตรและเสนาอำมาตย์ ๑ ปฏิปัชชน ไม่ละเสียซึ่งข้อบัญญัติโบราณไม่แต่งจัดเสียใหม่ ๑ นิวาตวุตติ กระทำเคารพแก่คนผู้มีอายุอันสูงมีคุณอันใหญ่ ๑ อัปปเสยห ไม่ข่มขี่เอาบุตรชายหญิงชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลาย ๑ พลีกร ทำการบวงสรวงบูชาตามบุราณ ๑ คุตติ สร้างกุฎีให้สมณะทั้งหลายอันมาถึงแล้วให้เพลิดเพลิน ระวังรักษาสมณะทั้งหลายซึ่งยังมิได้มา ๑ นี้เป็นอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ปริจจาค จำแนกแจกทานเพื่อจะให้เป็นภูมิแก่อิธโลกปรโลก ๑ ทาน กิริยาที่จำแนกแจกทาน ๑ ศีล กิริยาที่รักษาศีล ๕ ประการ ๑ อาชชว ซื่อตรงประดุจเขาพระสุเมรุราช ๑ มัททว กายและน้ำจิตรอ่อนโยน ๑ ตป รักษาอุโบสถศีล ๑ อักโกธ ไม่โกรธมีเมตตาจิตต์เป็นเบื้องหน้า ๑ อวิหึสา ไม่เบียดเบียฬ ให้กรุณาจิตต์บังเกิด ๑ ขันติ อดใจเหมือนดังแผ่นพระธรณี ๑ อวิโรธน ไม่รบกวนราษฎรกระทำตามสมควร ๑ เป็นราชธรรม ๑๐ ประการ และประพฤติธรรมในบิดามารดา ๑ และบุตรภรรยาญาติทั้งหลาย ๑ ประพฤติธรรมในข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยอันเป็นมิตร ๑ ในหมู่พลโยธาหาญ ๑ สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรทั้งปวง ๑ และสัตว์จัตุบาททวิบาททั้งปวงบรรดาอาศัยอยู่ในน้ำบนบก ๑ และสัตว์ที่บินได้ในอากาศเป็นชาติเดรัจฉานทั้งสิ้น ๑ ประพฤติธรรมให้คุ้นเคยชำนิชำนาญไม่ให้หลงลืมในราชธรรม ๑๐ ประการ และอุปถัมภ์ค้ำชูพลโยธาหาญและบำรุงรักษาราชตระกูลมิให้เสื่อมถอย และอุปถัมภ์ข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในทั้งปวง และอุปถัมภ์สมณะชีพราหมณ์ และเนื้อนกสัตว์เดรัจฉานชาติทั้งหลาย และอุปถัมภ์ค้ำชูซึ่งชนชาวนิคมชนบทใหญ่น้อยทั้งหลาย และห้ามปรามชนทั้งหลายในแว่นแคว้นอาณาเขตต์มิให้กระทำความชั่วและความผิด เกื้อหนุนให้ทุนรอนแก่ราษฎรที่ยากจน ให้ประกอบการหากินเลี้ยงบุตรภรรยาโดยผาสุก และหมั่นพูดจาธรรมสากัจฉาในสำนักสมณพราหมณาจารย์ ในเหตุอันไม่ควรจะผูกใจอยากได้ ก็ไม่ผูกใจอยากได้ ไม่อยากได้ทรัพย์สิ่งของๆ คนอื่นอันไม่ควรจะพึงได้ อันนี้เป็นข้อปฏิบัติของมหาจักรพรรดิ ๑๒ ประการ ประพฤติในราชธรรมทั้งหลายดังที่กล่าวมาแล้วนั้นทั้งกลางวันและกลางคืน
ทรงอภิบาลรักษาดูแลซึ่งราษฎรทั้งหลายทั้งปวง ดังหนึ่งว่าบุตรอันเกิดในอุทร เหมือนดังพระยาอชาตศัตรูอันได้ครอบครองเมืองราชคฤห์ในมัชฌิมประเทศ เหมือนหนึ่งพระยากาลาโศกอันได้ครอบครองเมืองเวสาลีอันใหญ่ เหมือนพระยาศรีธรรมาโศกได้ครองเมืองปาฏลีบุตรอันใหญ่ เหมือนหนึ่งพระยาเทวานัมปิยะดิสอันได้ครอบครองเมืองลังกาสีหฬ เหมือนอย่างพระยาทุฏฐคามินีและกษัตริย์อื่นๆ อันได้บำรุงพระศาสนาให้รุ่งเรืองมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยทั้ง ๓ มีความอุตสาหะจัดแจงพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุแห่งพระพุทธเจ้าไว้เป็นที่ไหว้สักการบูชา และจัดแจงซ่อมแปลงกุฎีวิหารที่หักพังให้คืนดีดังเก่าให้พระสมณะที่มีศีลวิสุทธิบริบูรณ์ไปด้วยสมาธิคุณต่างๆ และรู้พระไตรปิฎกควรนับถือบูชาตั้งไว้ให้เป็นสังฆราชเพื่อจะให้พระศาสนารุ่งเรือง องศ์แห่งอลัชชี ๓ ประการ ควรอันภิกษุสงฆ์จะละเว้น มีต้นว่ากุหก ๙๓ ประการ กุลโทสก ๘ ประการ อะเนสน ๒๑ ประการซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ไม่ให้ประพฤติ สมเด็จพระพุทธเจ้ามีประสงค์บัญญัติไว้ซึ่งจตุปาริสุทธศีลสิกขาบท ๒๒๗ ประการ คือคันถธุระ วิปัสสนาธุระ ให้ประพฤติสิกขาบทตามวินัยบัญญัติของพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ พระพุทธศาสนาก็รุ่งเรืองวิเศษยิ่งๆ ขึ้นไป ที่เมืองอมรบุระมีพระอารามชื่อมหาสีวการามซึ่งพระสังฆราชอยู่ กับอารามนอกนั้นมีอยู่ ๗๐ อารามเศษ มีพระภิกษุสามเณรประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูปเศษนั้น ได้ถวายจตุปัจจัยทั้ง ๔ และนิตยภัตรมิได้ขาด แล้วได้ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์สามเณรซึ่งอยู่ในพระอารามนอกพระนคร บรรดาอยู่ในเขตต์เมืองอมรบุระทั้งสิ้น และได้เกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองกรมการ และราษฎรชาวบ้านได้ถวายจตุปัจจัยด้วย กับได้ประกาศป่าวร้องให้ราษฎรชาวบ้านชาวเมืองรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ทุกวันอุโบสถ เพื่อจะให้เป็นหนทางสวรรค์ทางนิพพาน ด้วยอำนาจผลทาน ศีล ภาวนา บ้านเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุข ฝนก็ตกตามฤดู ราคาเข้าก็ถูก ภัยอันตรายก็ไม่มีกับบ้านเมือง พระสงฆ์ก็ได้ปฏิบัติเล่าเรียนสัทธรรมทั้ง ๓ อย่าง คือปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรม พระศาสนาก็รุ่งเรืองดังหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ ได้ทำการพระศาสนาถึงเพียงนี้แล้วก็ยังไม่สมดังพระทัยปรารถนาอีก
พระศาสนาในลังกาทวีป เมืองอมรบุระ และในกรุงศรีอยุธยาก็รุ่งเรืองบริบูรณ์ทั้ง ๓ แห่ง พระสงฆ์ก็ประกอบไปด้วยศีลาจารวัตรสมาธิคุณ เนื้อความก็แผ่ซ่านเลื่องลือไปถึงว่าในกรุงพระนครศรีอยุธยา พระสงฆ์ก็ตั้งอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนพระสังฆราช ทั้งพระสงฆ์ก็ประพฤติตามคำสั่งสอนพระสังฆราช ที่ให้ถือหนังสือเข้ามาทั้งนี้ เพื่อจะรู้ว่าพระสงฆ์ในกรุงศรีอยุธยาจะมีสักเท่าใด หนังสือพระไตรปิฎกมีอยู่เท่าใด จะต้องการหนังสือพระไตรปิฎกเท่าใด ให้จัดไทยทานเข้าไปถวาย แล้วให้ทูลถามพระสังฆราชดู ขุนนางฝ่ายในชื่อเมลซอสันหะริง ได้ทูลพระเจ้าทรงธรรมอันเป็นเจ้าพิภพว่า จะให้งะซอยซี ๑ งะซอยมอง ๑ งะคลา ๑ งะทวย ๑ รวม ๔ นาย ถือหนังสือและคุมสิ่งของมาสู่สำนักพระสังฆราช ไทยทานที่ถวายเข้ามานั้น ประคำยางไม้กาเยน ๔๐ สายให้มอบถวายพระสังฆราช
พระยาธรรมราชพระเจ้าช้างเผือกนั้น เป็นพระยามหาธรรมราชศาสนทายก แต่พอได้ฟังสารคดีเหตุกิตติศัพท์กิตติคุณแห่งพระสังฆราช ก็มีความยินดีศรัทธาเลื่อมใสนัก พระสงฆ์ที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกมีมากน้อยสักเท่าใด จะต้องการหนังสือพระไตรปิฎกสักเท่าใด ให้พระสังฆราชแจ้งความมากับคน ๔ คน ถือหนังสือนี้เถิด ตัวข้าพเจ้าขอเป็นศิษย์อันสนิทในกุฏิเหมือนอย่างศิษย์ตั้งแต่เล็กๆ มา ไม่ว่าปัจจัยอันใดเป็นต้นว่าพระไตรปิฎกบรรดาที่ต้องการนั้น ก็จะให้คนที่เดินใช้ไปนั้นเอากลับมาถวายข้าแต่พระสังฆราช ดังข้าพเจ้ากราบทูลมา ฉะบับ ๑