- คำนำ
- ๑. อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จจากวัดบวรนิเวศ
- ๒. กราบทูลอัญเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นเสวยราชย์
- ๓. ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชการเข้าเฝ้าให้สรวมเสื้อ
- ๔. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๕. ข้าราชการฝ่ายในถวายตัว
- ๖. เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค
- ๗. เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค
- ๘. พระราชพิธีบวรราชาภิเศก
- ๙. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนคร
- ๑๐. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๑. ตั้งพระราชาคณะ
- ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๓. เจ้าประเทศราชเข้ามาเฝ้า
- ๑๔. ตำนานเมืองน่าน
- ๑๕. ตำนานเมืองแพร่
- ๑๖. ทรงแก้สร้อยพระนาม องค์สมเด็จหริรักษรามา เจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๗. ทรงแต่งตั้งขุนนาง
- ๑๘. ขุดคลองคูพระนครชั้นนอก
- ๑๙. การเทศนากระจาดใหญ่
- ๒๐. ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวรที่สวรรคตแล้ว
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๒๓. ขุดคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างป้อม
- ๒๔. สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์
- ๒๕. เริ่มการศึกเชียงตุง
- ๒๖. บรรจุดวงพระชาตาพระนคร
- ๒๗. สมณทูตไทยไปลังกาทวีป
- ๒๘. งานพระศพสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๙. สมณทูตกลับจากลังกาทวีป
- ๓๐. ได้พระวิมลรัตนกริณี ช้างพังเผือกตรี
- ๓๑. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ประสูติเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๓๒. การทัพศึกเมืองเชียงตุง
- ๓๓. เรื่องเรือกะทงลอยพระประทีป
- ๓๔. สร้างพระเจดีย์และถวายพระนามพระประธานในวัดพระเชตุพน
- ๓๕. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสและกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์สิ้นพระชนม์
- ๓๖. สร้างสระปทุมวันและวัดปทุมวนาราม
- ๓๗. การทัพศึกเมืองเชียงตุง (ต่อ)
- ๓๘. เตรียมการต้อนรับเซอร์ยอนโบวริง
- ๓๙. การฉลองคลองคูพระนครชั้นนอก (คลองผดุงกรุงเกษม)
- ๔๐. สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์
- ๔๑. ได้พระวิสุทธรัตนกริณี ช้างพังเผือกโท
- ๔๒. เซอร์ยอนโบวริงเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๓. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย
- ๔๔. มิสเตอร์ฮาริปักเข้ามาแก้หนังสือสัญญา
- ๔๕. ทูตอเมริกันเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๖. การถวายสลากภัตรในวัดพระเชตุพน
- ๔๗. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาทำสัญญา ๓๒ ข้อ
- ๔๘. พม่าถือหนังสือเสนาบดีผู้ใหญ่เมืองพม่าเข้ามาถวายพระสังฆราช
- ๔๙. หนังสือเดินทางของพม่า
- ๕๐. ลิขิตสมณศาสน์ตอบหนังสือเสนาบดีพม่า
- ๕๑. ทูตฝรั่งเศสไปเมืองเขมรและเมืองญวน
- ๕๒. หนังสือองค์พระหริรักษ์ถึงพระเจ้านโปเลียนที่ ๓
- ๕๓. ราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ
- ๕๔. สร้างสวนอนันตอุทยาน
- ๕๕. ขุดคลองมหาสวัสดิ์
- ๕๖. เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันออก
- ๕๗. พระราชทานที่ให้ชาวต่างประเทศตั้งห้างและขุดคลองถนนตรง
- ๕๘. พระราชทานทรัพย์สร้างศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๕๙. หนังสือองญวนข้าหลวงเมืองไซ่ง่อนถึงเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม
- ๖๐. หนังสือตอบองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน
- ๖๑. หนังสือองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน ตอบเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๖๒. ทูตเดนมาร์กเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๖๓. ราชทูตไทยกลับจากลอนดอน
- ๖๔. ทูตเดนมาร์กกลับ
- ๖๕. โปรดฯ ตั้งองค์พระนโรดมและองค์หริราชดะไนไปช่วยราชการเมืองเขมร
- ๖๖. ฝรั่งเศสรบกับญวน
- ๖๗. ดาวหางขึ้น
- ๖๘. พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย
- ๖๙. ทูตโปรตุเกศเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๗๐. งานเฉลิมพระมหามนเทียรพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ๗๑. สร้างประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก
- ๗๒. เรื่องรักใคร่ระหว่างขุนสุวรรณกับเจ้าจอมช้อย
- ๗๓. พระราชทานเงินคนชราพิการ
- ๗๔. เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก
- ๗๕. กรมสมเด็จพระเดชาดิศรสิ้นพระชนม์
- ๗๖. เสด็จประพาสตลาดสำมุข
- ๗๗. โปรดฯ ให้รื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๗๘. ฝรั่งเศสรบกับญวน (ต่อ)
- ๗๙. งานพระศพกรมสมเด็จพระเดชาดิศร
- ๘๐. เกิดความไข้ที่กรุงเทพฯ
- ๘๑. ได้พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพลายเผือกโท
- ๘๒. โปรดเกล้าฯ ให้งดการรื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๘๓. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาศหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๘๔. ทูตฮอลันดาเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๘๕. คนสนิทของสุลต่านมะหมุดเข้ามาขอกำลังรบเมืองปาหัง
- ๘๖. องค์พระหริรักษ์ เจ้ากรุงกัมพูชา สุรคต
- ๘๗. สมโภชพระสมุทรเจดีย์
- ๘๘. ราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศ
- ๘๙. ใบบอกพระยาสระบุรีเรื่องคล้องได้ช้างพังเผือกโท
- ๙๐. เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
- ๙๑. ราชทูตกราบถวายบังคมลา
- ๙๒. สมโภชพระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย
- ๙๓. กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาและกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศรสิ้นพระชนม์
- ๙๔. สุลต่านมะหมุดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๙๕. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์สิ้นพระชนม์
- ๙๖. เรื่องเมืองเขมร
- ๙๗. ทูตปรุศเซียเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๙๘. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๙๙. เรื่องเมืองเขมร (ต่อ)
- ๑๐๐. งานพระศพ กรมหลวงมหิศวรินทร์ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ และพระองค์เจ้านิลวรรณ
- ๑๐๑. ส่งองค์พระนโรดมไปครองเมืองเขมร
- ๑๐๒. ทูตปรุศเซียกราบถวายบังคมลา
- ๑๐๓. ทำเงินตราใช้แทนเบี้ยและหอย
- ๑๐๔. ตัดถนน ๓ สายและขุดคลอง
- ๑๐๕. สร้างสะพานข้ามคลอง
- ๑๐๖. งานพระศพกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์และพระองค์เจ้าสว่าง
- ๑๐๗. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์
- ๑๐๘. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๐๙. เจ้าเมืองเบตาเวียเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญาฮอลันดา
- ๑๑๐. งานพระศพสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์
- ๑๑๑. ราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๑๒. พระราชศาสน์ถึงเจ้ากรุงจีน
- ๑๑๓. ญวนทำสัญญาใช้เบี้ยปรับให้ฝรั่งเศส
- ๑๑๔. เรื่องสุลต่านมะหมุด
- ๑๑๕. สร้างถนนเจริญกรุงตอนใน
- ๑๑๖. กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธรสิ้นพระชนม์
- ๑๑๗. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๑๘. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์
- ๑๑๙. การรับและสมโภชพระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพังสีประหลาด
- ๑๒๐. กรมพระพิทักษเทเวศรสิ้นพระชนม์
- ๑๒๑. งานโสกันต์
- ๑๒๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายเครื่องราชอิศริยยศ
- ๑๒๓. งานพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร
- ๑๒๔. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ สิ้นพระชนม์
- ๑๒๕. งานพระศพกรมพระพิทักษเทเวศร และพระองค์เจ้าใย
- ๑๒๖. เตรียมการสมโภชพระบรมอัฏฐิ
- ๑๒๗. เรื่องราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๒๘. เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ (ลองเรืออรรคราชวรเดช)
- ๑๒๙. องค์พระนโรดมบอกเรื่องทำหนังสือสัญญาระหว่างเขมรกับฝรั่งเศส
- ๑๓๐. สุลต่านมะหมุดหนีกลับ
- ๑๓๑. สร้างถนนบำรุงเมือง
- ๑๓๒. สร้างถนนเฟื่องนคร
- ๑๓๓. ฝรั่งเศสถวายรูปราชสีห์
- ๑๓๔. สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา เสด็จไปเที่ยวค้นดูช้างในแขวงเมืองนครนายก
- ๑๓๕. พระราชทานสุพรรณบัฏเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๑๓๖. ญวนแต่งทูตไปกรุงปารีส
- ๑๓๗. สร้างพระบรมบรรพต
- ๑๓๘. สมโภชพระบรมอัฏฐิและพระอัฏฐิ
- ๑๓๙. งานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๔๐. งานพระศพพระองค์เจ้าขนิษฐน้อยนารี
- ๑๔๑. พระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยานิกรบดินทร์
- ๑๔๒. ตั้งผู้แทนทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนอังกฤษกับไทย
- ๑๔๓. ราชาภิเศกองค์พระนโรดมขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินกรุงกัมพูชา
- ๑๔๔. งานฉลองสพานและถนน
- ๑๔๕. คล้องได้ช้างเผือกเอก
- ๑๔๖. เปรสิเดนต์ส่งกระบี่เครื่องทองคำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๑๔๗. สุลต่านมะหมุดถึงแก่กรรม
- ๑๔๘. ช้างเผือกและช้างสำคัญในรัชชกาลที่ ๔
- ๑๔๙. น้ำไหลมาแต่เหนือมีสีแดง
- ๑๕๐. เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐
- ๑๕๑. การแบ่งเขตต์แดนประเทศสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๕๒. การฉลองศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๑๕๓. เรื่องค่านาคู่โค
- ๑๕๔. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และพระองค์เจ้ามัณยาภาธร
- ๑๕๕. เสด็จประพาสเมืองราชบุรีและกาญจนบุรี
- ๑๕๖. ตั้งผู้ปรึกษาทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนเมืองเขมร
- ๑๕๗. โปรดฯ ให้ชำระเจ้าพนักงานฉ้อพระราชทรัพย์
- ๑๕๘. นายพลเรือโท ยอช กิง เข้ามากรุงเทพฯ
- ๑๕๙. พระยามนตรีสุริยวงศ์ออกไปเมืองนครฯ
- ๑๖๐. ทรงเปลี่ยนนามเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
- ๑๖๑. โสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๖๒. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
- ๑๖๓. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๓ พระองค์
- ๑๖๔. การปักเขตต์แดนสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๖๕. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระผนวชสามเณร
- ๑๖๖. เรื่องหนังสือสัญญาการเมืองเขมร
- ๑๖๗. พระราชทานเพลิงศพพระยามนตรีสุริยวงศ์และพระยาอภัยสงคราม
- ๑๖๘. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ถวายเทศนามหาชาติ
- ๑๖๙. เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระพุทธชินราชที่เมืองพิศณุโลก
- ๑๗๐. เรื่องปันเขตต์แดนทางประเทศพม่า
- ๑๗๒. ทำแผนที่อาณาเขตต์ทางหัวเมืองลำแม่น้ำโขง
- ๑๗๓. งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ๑๗๔. งานพระศพเจ้านาย
- ๑๗๕. ขุดคลองภาษีเจริญ
- ๑๗๖. ทำกะโจมไฟที่หลังสันดอน
- ๑๗๗. สร้างพระราชวังสราญรมย์
- ๑๗๘. มีละครทำขวัญพระบรมมหาราชวัง
- ๑๗๙. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๕ องค์
- ๑๘๐. โปรดเกล้าฯ ให้จำลองปราสาทที่นครวัด
- ๑๘๑. ฝรั่งเศสได้เมืองญวน ๓ เมือง
- ๑๘๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายพระแสง
- ๑๘๓. กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสสิ้นพระชนม์
- ๑๘๔. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๑๘๕. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาประทับตราหนังสือสัญญา
- ๑๘๖. ทูตโปรตุเกศเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๑๘๗. โสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ ๓ องค์
- ๑๘๘. ราชทูตโปรตุเกศกราบถวายบังคมลากลับ
- ๑๘๙. เปลี่ยนหนังสือสัญญากับฝรั่งเศส
- ๑๙๐. ฉลองวัดปทุมวนาราม
- ๑๙๑. เรื่องปักเขตต์แดนทางเมืองเขมร
- ๑๙๒. อักษรศาสน์ไว้ส์รอยอินเดีย
- ๑๙๓. งานพระศพกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๑๙๔. การฉลองวัดหงษ์และโรงธรรมวัดกัลยาณมิตร
- ๑๙๕. ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นกรมขุนพินิตประชานา
- ๑๙๖. อสุนีบาตตกหลายแห่ง
- ๑๙๗. เปิดคลองดำเนินสดวก
- ๑๙๘. ขุดคลองบางลี่และแก้คลองลัดยี่สานเมืองสมุทรสงคราม
- ๑๙๙. ขุดคลองที่ลัดขุนเมืองสมุทรสาคร
- ๒๐๐. ไวซ์รอยอินเดียทำแผนที่เขตต์แดนส่งมาประทับตรา
- ๒๐๑. สถานที่ซึ่งทรงก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงในรัชชกาลที่ ๔
- ๒๐๒. การพระราชกุศล
- ๒๐๓. การภาษีอากร
- ๒๐๔. ขุดได้พระพุทธรูปนิรันตราย
- ๒๐๕. สั่งปืนเข้ามาใช้ในราชการ
- ๒๐๖. ต่อเรือพระที่นั่งและเรือกลไฟ
- ๒๐๗. เมืองที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๔
- ๒๐๘. ทรงแปลงและตั้งนามขุนนาง
- ๒๐๙. ทรงตั้งนามราชทูตและกงสุล
- ๒๑๐. ทรงตั้งและแปลงนามบรรดาศักดิ์ขุนนาง
- ๒๑๑. ทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการ
- ๒๑๒. ทรงตั้งและแปลงนามพระราชาคณะฐานานุกรม
- ๒๑๓. ทรงตั้งและแปลงนามวัดต่างๆ
- ๒๑๔. เสนาบดีเข้าชื่อกันทำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวาย เรื่องราษฎรกล่าวว่า พระบาง พระพุทธรูปทำให้ฝนแล้ง
- ๒๑๕. พระราชทานพระบางคืนไปเมืองหลวงพระบาง
- ๒๑๖. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามในกรุง
- ๒๑๗. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามหัวเมือง
- ๒๑๘. สร้างพระนครคีรี ที่เมืองเพ็ชรบุรี
- ๒๑๙. กระแสพระราชดำริก่อนปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๐. ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๑. กล่าวด้วยปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๒. สร้างพระราชวังที่นครปฐม
- ๒๒๓. ขุดคลองเจดีย์บูชา
- ๒๒๔. ทรงปฏิสังขรณ์วัดเฉลิมพระเกียรติ
- ๒๒๕. ปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามและสร้างตำหนักที่บางปะอิน
- ๒๒๖. ทรงบุรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทและวังท้ายพิกุล
- ๒๒๗. ทรงสร้างพระนารายน์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๒๒๘. กงสุลฝรั่งเศสเข้ามาเปลี่ยนตัว
- ๒๒๙. เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ๒๓๐. ลงพระราชอาชญาพวกมหาดเล็กเล่นไพ่
- ๒๓๑. ทำทัณฑกรรมโหรและท้าวสมศักดิ์ท้าวโสภา
- ๒๓๒. สมโภชพระปฏิมากรแก้วมรกต
- ๒๓๓. ทรงพระประชวร
- ๒๓๔. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา
- ๒๓๕. ตั้งกองล้อมวง
- ๒๓๖. ประชุมหมอหลวงถวายพระโอสถ
- ๒๓๗. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๓๘. แปลคำที่ทรงคาถาขอขมาพระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์
- ๒๓๙. ทรงขอขมาพระบรมวงศานุวงศ์และท่านเสนาบดี
- ๒๔๐. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
- ๒๔๑. สรงน้ำพระบรมศพ
๒๐๑. สถานที่ซึ่งทรงก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงในรัชชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ทำการพระนคร การวัด ตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติจนสิ้นแผ่นดิน ที่แล้วบ้างก็มี ที่ยังบ้างก็มี
ดำรัสว่าพระบรมมหาราชวังกว้างนัก ให้ทำเขื่อนเพ็ชร์มีพื้น ๒ ชั้นสูงกว่าเขื่อนเพ็ชร์เก่า ทำเป็นเล่าเต๊งตั้งแต่ท้ายสนมตัดตรงขึ้นไปจดเอาเขื่อนเก่า ด้านตะวันออกในระหว่างเขื่อนเพ็ชร์ใหม่กับเขื่อนเพ็ชร์เดิมนั้น โปรดให้ทำเป็นที่อัฏฐิสถาน ก่อผนังหลังคาเป็นจตุรมุข สำหรับไว้พระอัฏฐิพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน มีศาลาเป็นบริวารอีก ๔ หลังสำหรับเป็นที่สดับปกรณ์ มีฉางเข้าไว้ด้วยหลัง ๑ เป็นธรรมเนียมสำหรับพระราชวังฝ่ายใน หน้าเขื่อนเพ็ชรทำใหม่นั้น โปรดให้ทำตึกพระราชทานพระราชธิดาและเจ้าจอม พระสนมเอกขึ้นอีกหลายหมู่ ฝ่ายนอกพระราชวังข้างพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัยฝ่ายบูรพทิศโปรดให้สร้างพระที่นั่งอย่างฝรั่งขึ้นอีกองค์ ๑ ติดกับฉนวนให้ชื่อพระที่นั่งราชฤดี เป็นที่ประทับว่าราชการเมื่อเวลาว่างออกขุนนาง และให้รื้อเก๋งบอกพระไตรปิฎก ซึ่งอยู่ที่ริมหอพระปริตรไปปลูกไว้หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้พระสงฆ์ไปเรียนหนังสือที่นั้น ให้ทำเก๋งขึ้นที่ริมพระที่นั่งราชฤดีอีก ๒ หลัง หน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยขยายกำแพงแก้วออกไปอีกชั้น ๑ ย่อเข้าประจวบกำแพงแก้วเดิม มีประตูใหญ่ชื่อว่าเทวาภิบาล ข้างด้านหอกลองด้านเหนือพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ เดิมเป็นเกยช้างก็ให้รื้อเสียทำเป็นเกยพระราชยานขึ้น ย้ายเกยช้างมาไว้ข้างด้านตะวันตกฝ่ายในกำแพงแก้วใหม่ ให้รื้อกำแพงแก้วเดิมเสีย ชักกำแพงสะกัดมีมุขพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เข้าประจบกำแพงแก้วใหม่เป็นสะกัด ทำประตูยอดพรหมพักตร์ไว้ทั้ง ๒ ข้าง ที่มุมกำแพงก็ทำซุ้มตะเกียงไว้ทั้งซ้ายขวา ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเดิมพระแกลพระทวารเป็นผนังเปล่าไม่มีซุ้ม โปรดให้ทำซุ้มจระนำขึ้นทั้งสิ้น
ที่กำแพงพระราชวังชั้นในริมประตูสนามราชกิจ โปรดให้ทำเก๋งพระที่นั่งขึ้นองค์ ๑ ชื่อสีตลาภิรมย์เป็นพระที่นั่งเย็นขึ้นอีกแห่ง ๑ ที่ชาลาหน้าโรงช้างหว่างกะถางไม้ดัดเป็นที่อ่างแก้วปลูกบัวแต่ก่อน โปรดให้ทำกรงใหญ่ใส่นกสัตว์ต่างๆ ให้ชื่อกรงสกุณวัน แล้วให้ทำเก๋งขึ้นริมกรง ๔ ทิศ ๆ บูรพาเป็นพระที่นั่งราชานุราชอาสน์ ด้านทักษิณชื่อเก๋งวรนาฎนารีเสพย์ ด้านประจิมชื่อเก๋งเทพรัตนสถาน[๑] ด้านอุดรชื่อเก๋งสำราญมุขมาตยา ที่ริมฉนวนทางออกวัดพระแก้ว ให้สร้างเก๋งขึ้นอีกหลัง ๑ สำหรับพระสงฆ์เข้ามาพักอาศัย ชื่อสังฆาสนศาลา
ฝ่ายพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทก็โปรดให้ทำปราสาทน้อยองค์ ๑ ที่หลังกำแพงแก้ว ชื่ออาภรณพิโมขปราสาท กำแพงแก้วล้อมปราสาทเดิมเป็นประตูหูช้าง ก็โปรดให้ทำประตูยอดขึ้นทุกประตู ในกำแพงแก้วด้านประจิมทิศโปรดให้ก่อเขาขึ้นไว้สำหรับสรงน้ำเจ้านายโสกันต์ นอกกำแพงแก้วนั้นเป็นที่หัดละครมาแต่เดิม ก็โปรดให้สร้างตึกขึ้นไว้ ๒ หลังสำหรับไว้พระศพเจ้าฝ่ายในหลัง ๑ ชื่อหอธรรมสังเวช หลัง ๑ สำหรับกวนเข้าทิพย์ในพิธีสารท หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทนอกกำแพงแก้วฝ่ายทิศอุดรมุมข้างด้านตะวันตกนั้น ทำเป็นตึกมีพื้นชื่อว่าหอพระราชพิธี ไว้พระไสยศาสตร์ สำหรับพระครูพราหมณ์ทำพิธีต่างๆ มุมข้างด้านตะวันออกโปรดให้ทำตึกใหญ่ชื่อตึกกระสาปนสิทธิการ สำหรับทำเงินเหรียญอัฐโสฬส ที่หน้าโรงนาฬิกาก็ก่อเรือนนาฬิกาสูง ๑๐ วา ไว้นาฬิกาใหญ่
และโรงช้างต้นโปรดให้ยกพื้นขึ้นให้พ้นดินทุกโรง โรงม้าต้นนั้นโปรดให้รื้อทำใหม่สูงกว่าเก่า ชั้นนอกศาลาลูกขุนในริมกำแพงก็ให้รื้อทิมเก่าเสียทำเป็นโรงทหารขึ้นหลัง ๑ หว่างศาลาลูกขุนโปรดให้ทำโรงปืนใหญ่หลัง ๑ ที่สระน้ำหน้าศาลาลูกขุนก็ทำเป็นเก๋งลงเขื่อนซ่อมแซมขึ้นใหม่
วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น โปรดให้รื้อมณฑปเก่าซึ่งไว้พระธรรมเปลี่ยนเครื่องบนใหม่ ทำแล้วให้รื้อแผ่นเงินออกเสียสานเป็นเสื่อเงินปูไว้ ด้านตะวันออกโปรดให้สร้างพระพุทธปรางคปราสาทขึ้นองค์ ๑ สูง ๑ เส้น เท่ากันกับมณฑป ทรงพระราชดำริว่าจะเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ในนั้น ด้านตะวันตกมณฑปให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นองค์ ๑ ชื่อพระศรีรัตนเจดีย์ สูง ๑ เส้นเท่ากันกับมณฑปเก่า มีกำแพงแก้วรั้วเหล็กเสาและกรอบทำด้วยศิลาล้อมทั้งพระพุทธปรางปราสาท เป็นบริเวณเดียวกัน ได้บริกรรมการอื่นเพิ่มอีกเป็นหลายสิ่ง หลังพระอุโบสถนั้น โปรดฯ ให้สร้างพระพิหารน้อย ๒ หลัง หลังเหนือไว้รูปพระพุทธเจ้า ๓๔ ปาง จารึกอุททิศถวายกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาเดิมทั้ง ๓๔ พระองค์ แล้วให้เขียนเรื่องพระราชพงศาวดารกรุงเก่าไว้ที่ผนังด้วย หลังใต้ไว้พระพุทธรูป ๓ ปาง จารึกอุททิศถวายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๓ พระองค์ที่ล่วงไปแล้ว ให้เขียนเรื่องสร้างกรุงอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธยาไว้ที่ผนังด้วย ในพื้นพระอุโบสถเดิม แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ชักลวดทองเหลืองเป็นเส้นแบบสานเป็นเสื่อปูพื้นไว้ ครั้นมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ให้ช่างหล่อทองเหลืองเป็นแผ่นอิฐหนากึ่งนิ้วปูพื้นเสียใหม่จะได้ขัดสีง่าย โปรดให้ชักพระระเบียงย่อออกไปข้างตะวันออกตรงพระพุทธปรางปราสาท โอบพระปรางค์ไว้ ๒ พระองค์ ด้านตะวันตก โปรดให้ชักพระระเบียงตรงพระศรีรัตนเจดีย์ย่อออกไปเหมือนด้านตะวันออก ภายหลังเมื่อปีเถาะ นพศก โปรดให้รื้อหลังคาพระอุโบสถเปลี่ยนตัวไม้เป็นตัวๆ เป็นแห่งๆ
ภายในพระบรมมหาราชวัง พระราชมนเทียรที่ในสวน ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็โปรดให้ซ่อมแซมทำเสียใหม่ แต่ผนังเดิมนั้นปิดทองร่อนชาดก็โปรดให้ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำเรื่องพระพุทธเจ้า มีในพระสูตรต่างๆ ทั้ง ๓ พระองค์ แล้วสร้างพระเจดีย์ทองเหลืองกาไหล่ทองคำองค์ ๑ ฐาน ๓ ศอก สูง ๗ ศอก ตั้งเครื่องสักการบูชาเป็นอเนกอนันต์ แต่พระมหามนเทียรนั้นก็พระราชทานชื่อว่าพระพุทธมนเทียรทั้ง ๓ องค์
ตรงหน้าพุทธมนเทียร ด้านตะวันออก โปรดให้สร้างพระวิหารองค์ ๑ เสาและฝาผนังพนักแล้วไปด้วยศิลา เช็ดหน้าบานประตูหน้าต่างประดับมุกด์ ภายในปูเสื่อสานด้วยเงิน ทั้งชุกชีทำด้วยงาช้าง มีพานแว่นฟ้าหุ้มทองคำจำหลักหลายชั้น ๑ มีพระมณฑปสูง ๘ ศอกหุ้มทองคำจำหลักลายกุดั่นประดับพลอยเนาวรัตน์ ภายในมณฑปไว้พระพุทธบุษยรัตนจักพรรดิพิมลมณีมัย ผนังและเพดานดาดด้วยกะจกเงามีเครื่องสักการบูชาเป็นอันมาก พระพิหารนั้น พระราชทานชื่อว่าพระพุทธรัตนสถาน ข้างด้านตะวันออกมีหอระฆังทำเป็นมณฑปล้วนด้วยศิลาทั้งสิ้น ด้านข้างพิหารนั้นมีอ่างแก้วซ้ายขวา ข้างทิศใต้เป็นทะเล ข้างทิศเหนือเป็นป่าและเขา ทำนองแผนที่ในพระราชอาณาจักรทั้งปักษ์ใต้ปักษ์เหนือ ภายในพระพิหารมีเสาศิลาปักไว้ ๔ ต้น หล่อทองเหลืองเป็นรูปพระราชลัญจกรทั้ง ๔ แผ่นดินตั้งอยู่ปลายเสา แล้วสร้างพระปรัศว์ซ้ายขวาไว้ ๒ หลังแล้วไปด้วยศิลาทั้งสิ้น ด้านตะวันตกหลังพระพุทธมนเทียรโปรดให้สร้างปราสาทขึ้นองค์ ๑ ชื่อมหิศรปราสาท ภายในประดิษฐานพระปฎิมากรรูปต่างๆ และพระไตรปิฎก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสถาปนาไว้ ชักกำแพงแก้วล้อมรอบ ภายในกำแพงแก้วที่พื้นมีเครื่องตั้งวิจิตรแล้วไปด้วยศิลาต่างๆ รวมในบริเวณนั้นเรียกว่าพุทธนิเวศน์ อุททิศถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทั้งสิ้น
นอกกำแพงแก้วตรงพุทธนิเวศน์ด้านตะวันออกนั้น ทำเป็นสวนปลูกพรรณดอกไม้ได้มาแต่เมืองประเทศต่างๆ ในสวนนั้นโปรดให้ทำปราสาทน้อยๆ ขึ้นไว้เทวรูปทำด้วยแก้วผลึกสูง ๑๕ นิ้ว เป็นหลักสำหรับรักษาพระบรมมหาราชวังฝ่ายใน ฝ่ายทิศทักษิณแห่งพระพุทธมนเทียรเป็นเก๋งโรงละครเดิม ก็โปรดให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ให้ชื่อว่าพระธรรมสภาศาลา สำหรับกรมฝ่ายในทำบุญมีเทศนาที่นั้น การทั้งนี้กรมขุนราชสีหวิกรมเป็นนายช่าง
และการในพระนครก็ให้เจ้าพนักงาน มีนายด้านซ่อมแซมกระทำขึ้นใหม่เป็นอันมาก ที่หน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ก็ให้ปักเสานางเรียงเรียกว่าท้องสนามไชย ที่ทุ่งพระเมรุก็ให้ชื่อท้องสนามหลวง ด้านข้างใต้ริมพระราชวังโปรดฯ ให้สร้างเป็นพระวิหารน้อยไว้พระคันธารราฐสำหรับพระราชพิธีพรุณศาสตร์ แล้วสร้างหอพระไสยศาสตร์ไว้พระพิฆเนศวร สำหรับทำพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล และสร้างพลับพลาโรงละครขึ้นไว้ในการพิธีนั้นด้วย แล้วสร้างพลับพลาสำหรับทอดพระเนตรทำนาอีกหลัง ๑ สร้างฉางเข้าไว้เข้าซึ่งได้ในนานั้นด้วย แล้วก่อกำแพงล้อมรอบเป็นบริเวณ
และที่ศาลเจ้าหลักเมือง ศาลเจ้าพระกาฬ และศาลพระเสื้อเมือง (พระ) ทรงเมืองนั้น เดิมเป็นแต่หลังคาตัวไม้มุงกระเบื้อง ทรงพระกรุณาโปรดให้ช่างก่อรอบมียอดปรางค์เหมือนอย่างศาลเจ้าพระกาฬที่กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาเก่าทั้ง ๔ ศาล และที่หอกลองนั้นเดิมชั้น ๒ ชั้น ๓ ขัดแตะถือปูนทำเป็นยอดเกี้ยวโปรดให้ทำใหม่ ก่อผนังถือปูนแปลงเป็นยอดมณฑป
และท้องสนามข้างถนนหน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์นั้นโปรดให้ทำเป็นตึกแถวขึ้นหลัง ๑ ยาว ๔๐ ห้อง ให้ครูสอนหนังสือและครูหัดทหารอย่างยุโรปอยู่บ้าง ให้ลูกค้าแขกฝรั่งเศสเช่าค้าขายอยู่บ้าง และทำตึกต่อมาอีก ๕ หลัง สำหรับพวกทหารที่หัดอย่างยุโรปอยู่บ้าง
ฝ่ายด้านน้ำนอกกำแพงพระนคร พระตำหนักน้ำเดิมทำเป็นตำหนักปักเสาลงในน้ำ ทอดคาน
ทำเหมือนพระตำหนักแพเดิม หลังคามุงกระเบื้อง จึงโปรดให้รื้อทำเสียใหม่ ให้ก่ออิฐถมที่ขึ้นเสมอพื้นดินปลูกเป็นที่พระที่นั่งฝ่ายหน้าฝ่ายใน และองค์กลางที่ประทับหลัง ๑ พลับพลาข้างหน้าชื่อชลังคพิมาน องค์กลางชื่อทิพยสถานเทพยสถิต องค์เหนือชื่อราชกิจวินิจฉัย องค์ใต้ชื่ออนงค์ในสราญรมย์ ทำป้อมขึ้น ๒ ป้อม เหนือน้ำชื่อป้อมพรหมอำนวยศิลป์ ใต้น้ำป้อม ๑ ชื่ออินทรอำนวยศร ที่พระตำหนักน้ำนั้น ก่อเป็นกำแพงล้อม สำหรับเป็นที่ส่งพระเจ้าลูกยาเธอหัดว่ายน้ำในที่นั้น ที่ท่าหน้าพระตำหนักให้ชื่อว่าท่าราชวรดิฐ ท่าขุนนางขึ้นพระราชทานชื่อว่าท่านิเวศน์วรดิฐ แล้วโปรดให้ทำเพิงที่ริมฉนวนอีกหลัง ๑ สำหรับให้ขุนนางเฝ้าเมื่อเวลาเสด็จกลับจากลอยพระประทีป