- คำนำ
- ๑. อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จจากวัดบวรนิเวศ
- ๒. กราบทูลอัญเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นเสวยราชย์
- ๓. ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชการเข้าเฝ้าให้สรวมเสื้อ
- ๔. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๕. ข้าราชการฝ่ายในถวายตัว
- ๖. เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค
- ๗. เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค
- ๘. พระราชพิธีบวรราชาภิเศก
- ๙. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนคร
- ๑๐. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๑. ตั้งพระราชาคณะ
- ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๓. เจ้าประเทศราชเข้ามาเฝ้า
- ๑๔. ตำนานเมืองน่าน
- ๑๕. ตำนานเมืองแพร่
- ๑๖. ทรงแก้สร้อยพระนาม องค์สมเด็จหริรักษรามา เจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๗. ทรงแต่งตั้งขุนนาง
- ๑๘. ขุดคลองคูพระนครชั้นนอก
- ๑๙. การเทศนากระจาดใหญ่
- ๒๐. ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวรที่สวรรคตแล้ว
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๒๓. ขุดคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างป้อม
- ๒๔. สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์
- ๒๕. เริ่มการศึกเชียงตุง
- ๒๖. บรรจุดวงพระชาตาพระนคร
- ๒๗. สมณทูตไทยไปลังกาทวีป
- ๒๘. งานพระศพสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๙. สมณทูตกลับจากลังกาทวีป
- ๓๐. ได้พระวิมลรัตนกริณี ช้างพังเผือกตรี
- ๓๑. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ประสูติเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๓๒. การทัพศึกเมืองเชียงตุง
- ๓๓. เรื่องเรือกะทงลอยพระประทีป
- ๓๔. สร้างพระเจดีย์และถวายพระนามพระประธานในวัดพระเชตุพน
- ๓๕. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสและกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์สิ้นพระชนม์
- ๓๖. สร้างสระปทุมวันและวัดปทุมวนาราม
- ๓๗. การทัพศึกเมืองเชียงตุง (ต่อ)
- ๓๘. เตรียมการต้อนรับเซอร์ยอนโบวริง
- ๓๙. การฉลองคลองคูพระนครชั้นนอก (คลองผดุงกรุงเกษม)
- ๔๐. สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์
- ๔๑. ได้พระวิสุทธรัตนกริณี ช้างพังเผือกโท
- ๔๒. เซอร์ยอนโบวริงเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๓. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย
- ๔๔. มิสเตอร์ฮาริปักเข้ามาแก้หนังสือสัญญา
- ๔๕. ทูตอเมริกันเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๖. การถวายสลากภัตรในวัดพระเชตุพน
- ๔๗. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาทำสัญญา ๓๒ ข้อ
- ๔๘. พม่าถือหนังสือเสนาบดีผู้ใหญ่เมืองพม่าเข้ามาถวายพระสังฆราช
- ๔๙. หนังสือเดินทางของพม่า
- ๕๐. ลิขิตสมณศาสน์ตอบหนังสือเสนาบดีพม่า
- ๕๑. ทูตฝรั่งเศสไปเมืองเขมรและเมืองญวน
- ๕๒. หนังสือองค์พระหริรักษ์ถึงพระเจ้านโปเลียนที่ ๓
- ๕๓. ราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ
- ๕๔. สร้างสวนอนันตอุทยาน
- ๕๕. ขุดคลองมหาสวัสดิ์
- ๕๖. เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันออก
- ๕๗. พระราชทานที่ให้ชาวต่างประเทศตั้งห้างและขุดคลองถนนตรง
- ๕๘. พระราชทานทรัพย์สร้างศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๕๙. หนังสือองญวนข้าหลวงเมืองไซ่ง่อนถึงเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม
- ๖๐. หนังสือตอบองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน
- ๖๑. หนังสือองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน ตอบเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๖๒. ทูตเดนมาร์กเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๖๓. ราชทูตไทยกลับจากลอนดอน
- ๖๔. ทูตเดนมาร์กกลับ
- ๖๕. โปรดฯ ตั้งองค์พระนโรดมและองค์หริราชดะไนไปช่วยราชการเมืองเขมร
- ๖๖. ฝรั่งเศสรบกับญวน
- ๖๗. ดาวหางขึ้น
- ๖๘. พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย
- ๖๙. ทูตโปรตุเกศเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๗๐. งานเฉลิมพระมหามนเทียรพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ๗๑. สร้างประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก
- ๗๒. เรื่องรักใคร่ระหว่างขุนสุวรรณกับเจ้าจอมช้อย
- ๗๓. พระราชทานเงินคนชราพิการ
- ๗๔. เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก
- ๗๕. กรมสมเด็จพระเดชาดิศรสิ้นพระชนม์
- ๗๖. เสด็จประพาสตลาดสำมุข
- ๗๗. โปรดฯ ให้รื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๗๘. ฝรั่งเศสรบกับญวน (ต่อ)
- ๗๙. งานพระศพกรมสมเด็จพระเดชาดิศร
- ๘๐. เกิดความไข้ที่กรุงเทพฯ
- ๘๑. ได้พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพลายเผือกโท
- ๘๒. โปรดเกล้าฯ ให้งดการรื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๘๓. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาศหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๘๔. ทูตฮอลันดาเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๘๕. คนสนิทของสุลต่านมะหมุดเข้ามาขอกำลังรบเมืองปาหัง
- ๘๖. องค์พระหริรักษ์ เจ้ากรุงกัมพูชา สุรคต
- ๘๗. สมโภชพระสมุทรเจดีย์
- ๘๘. ราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศ
- ๘๙. ใบบอกพระยาสระบุรีเรื่องคล้องได้ช้างพังเผือกโท
- ๙๐. เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
- ๙๑. ราชทูตกราบถวายบังคมลา
- ๙๒. สมโภชพระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย
- ๙๓. กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาและกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศรสิ้นพระชนม์
- ๙๔. สุลต่านมะหมุดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๙๕. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์สิ้นพระชนม์
- ๙๖. เรื่องเมืองเขมร
- ๙๗. ทูตปรุศเซียเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๙๘. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๙๙. เรื่องเมืองเขมร (ต่อ)
- ๑๐๐. งานพระศพ กรมหลวงมหิศวรินทร์ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ และพระองค์เจ้านิลวรรณ
- ๑๐๑. ส่งองค์พระนโรดมไปครองเมืองเขมร
- ๑๐๒. ทูตปรุศเซียกราบถวายบังคมลา
- ๑๐๓. ทำเงินตราใช้แทนเบี้ยและหอย
- ๑๐๔. ตัดถนน ๓ สายและขุดคลอง
- ๑๐๕. สร้างสะพานข้ามคลอง
- ๑๐๖. งานพระศพกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์และพระองค์เจ้าสว่าง
- ๑๐๗. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์
- ๑๐๘. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๐๙. เจ้าเมืองเบตาเวียเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญาฮอลันดา
- ๑๑๐. งานพระศพสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์
- ๑๑๑. ราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๑๒. พระราชศาสน์ถึงเจ้ากรุงจีน
- ๑๑๓. ญวนทำสัญญาใช้เบี้ยปรับให้ฝรั่งเศส
- ๑๑๔. เรื่องสุลต่านมะหมุด
- ๑๑๕. สร้างถนนเจริญกรุงตอนใน
- ๑๑๖. กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธรสิ้นพระชนม์
- ๑๑๗. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๑๘. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์
- ๑๑๙. การรับและสมโภชพระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพังสีประหลาด
- ๑๒๐. กรมพระพิทักษเทเวศรสิ้นพระชนม์
- ๑๒๑. งานโสกันต์
- ๑๒๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายเครื่องราชอิศริยยศ
- ๑๒๓. งานพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร
- ๑๒๔. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ สิ้นพระชนม์
- ๑๒๕. งานพระศพกรมพระพิทักษเทเวศร และพระองค์เจ้าใย
- ๑๒๖. เตรียมการสมโภชพระบรมอัฏฐิ
- ๑๒๗. เรื่องราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๒๘. เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ (ลองเรืออรรคราชวรเดช)
- ๑๒๙. องค์พระนโรดมบอกเรื่องทำหนังสือสัญญาระหว่างเขมรกับฝรั่งเศส
- ๑๓๐. สุลต่านมะหมุดหนีกลับ
- ๑๓๑. สร้างถนนบำรุงเมือง
- ๑๓๒. สร้างถนนเฟื่องนคร
- ๑๓๓. ฝรั่งเศสถวายรูปราชสีห์
- ๑๓๔. สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา เสด็จไปเที่ยวค้นดูช้างในแขวงเมืองนครนายก
- ๑๓๕. พระราชทานสุพรรณบัฏเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๑๓๖. ญวนแต่งทูตไปกรุงปารีส
- ๑๓๗. สร้างพระบรมบรรพต
- ๑๓๘. สมโภชพระบรมอัฏฐิและพระอัฏฐิ
- ๑๓๙. งานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๔๐. งานพระศพพระองค์เจ้าขนิษฐน้อยนารี
- ๑๔๑. พระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยานิกรบดินทร์
- ๑๔๒. ตั้งผู้แทนทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนอังกฤษกับไทย
- ๑๔๓. ราชาภิเศกองค์พระนโรดมขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินกรุงกัมพูชา
- ๑๔๔. งานฉลองสพานและถนน
- ๑๔๕. คล้องได้ช้างเผือกเอก
- ๑๔๖. เปรสิเดนต์ส่งกระบี่เครื่องทองคำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๑๔๗. สุลต่านมะหมุดถึงแก่กรรม
- ๑๔๘. ช้างเผือกและช้างสำคัญในรัชชกาลที่ ๔
- ๑๔๙. น้ำไหลมาแต่เหนือมีสีแดง
- ๑๕๐. เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐
- ๑๕๑. การแบ่งเขตต์แดนประเทศสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๕๒. การฉลองศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๑๕๓. เรื่องค่านาคู่โค
- ๑๕๔. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และพระองค์เจ้ามัณยาภาธร
- ๑๕๕. เสด็จประพาสเมืองราชบุรีและกาญจนบุรี
- ๑๕๖. ตั้งผู้ปรึกษาทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนเมืองเขมร
- ๑๕๗. โปรดฯ ให้ชำระเจ้าพนักงานฉ้อพระราชทรัพย์
- ๑๕๘. นายพลเรือโท ยอช กิง เข้ามากรุงเทพฯ
- ๑๕๙. พระยามนตรีสุริยวงศ์ออกไปเมืองนครฯ
- ๑๖๐. ทรงเปลี่ยนนามเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
- ๑๖๑. โสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๖๒. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
- ๑๖๓. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๓ พระองค์
- ๑๖๔. การปักเขตต์แดนสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๖๕. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระผนวชสามเณร
- ๑๖๖. เรื่องหนังสือสัญญาการเมืองเขมร
- ๑๖๗. พระราชทานเพลิงศพพระยามนตรีสุริยวงศ์และพระยาอภัยสงคราม
- ๑๖๘. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ถวายเทศนามหาชาติ
- ๑๖๙. เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระพุทธชินราชที่เมืองพิศณุโลก
- ๑๗๐. เรื่องปันเขตต์แดนทางประเทศพม่า
- ๑๗๒. ทำแผนที่อาณาเขตต์ทางหัวเมืองลำแม่น้ำโขง
- ๑๗๓. งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ๑๗๔. งานพระศพเจ้านาย
- ๑๗๕. ขุดคลองภาษีเจริญ
- ๑๗๖. ทำกะโจมไฟที่หลังสันดอน
- ๑๗๗. สร้างพระราชวังสราญรมย์
- ๑๗๘. มีละครทำขวัญพระบรมมหาราชวัง
- ๑๗๙. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๕ องค์
- ๑๘๐. โปรดเกล้าฯ ให้จำลองปราสาทที่นครวัด
- ๑๘๑. ฝรั่งเศสได้เมืองญวน ๓ เมือง
- ๑๘๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายพระแสง
- ๑๘๓. กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสสิ้นพระชนม์
- ๑๘๔. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๑๘๕. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาประทับตราหนังสือสัญญา
- ๑๘๖. ทูตโปรตุเกศเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๑๘๗. โสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ ๓ องค์
- ๑๘๘. ราชทูตโปรตุเกศกราบถวายบังคมลากลับ
- ๑๘๙. เปลี่ยนหนังสือสัญญากับฝรั่งเศส
- ๑๙๐. ฉลองวัดปทุมวนาราม
- ๑๙๑. เรื่องปักเขตต์แดนทางเมืองเขมร
- ๑๙๒. อักษรศาสน์ไว้ส์รอยอินเดีย
- ๑๙๓. งานพระศพกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๑๙๔. การฉลองวัดหงษ์และโรงธรรมวัดกัลยาณมิตร
- ๑๙๕. ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นกรมขุนพินิตประชานา
- ๑๙๖. อสุนีบาตตกหลายแห่ง
- ๑๙๗. เปิดคลองดำเนินสดวก
- ๑๙๘. ขุดคลองบางลี่และแก้คลองลัดยี่สานเมืองสมุทรสงคราม
- ๑๙๙. ขุดคลองที่ลัดขุนเมืองสมุทรสาคร
- ๒๐๐. ไวซ์รอยอินเดียทำแผนที่เขตต์แดนส่งมาประทับตรา
- ๒๐๑. สถานที่ซึ่งทรงก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงในรัชชกาลที่ ๔
- ๒๐๒. การพระราชกุศล
- ๒๐๓. การภาษีอากร
- ๒๐๔. ขุดได้พระพุทธรูปนิรันตราย
- ๒๐๕. สั่งปืนเข้ามาใช้ในราชการ
- ๒๐๖. ต่อเรือพระที่นั่งและเรือกลไฟ
- ๒๐๗. เมืองที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๔
- ๒๐๘. ทรงแปลงและตั้งนามขุนนาง
- ๒๐๙. ทรงตั้งนามราชทูตและกงสุล
- ๒๑๐. ทรงตั้งและแปลงนามบรรดาศักดิ์ขุนนาง
- ๒๑๑. ทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการ
- ๒๑๒. ทรงตั้งและแปลงนามพระราชาคณะฐานานุกรม
- ๒๑๓. ทรงตั้งและแปลงนามวัดต่างๆ
- ๒๑๔. เสนาบดีเข้าชื่อกันทำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวาย เรื่องราษฎรกล่าวว่า พระบาง พระพุทธรูปทำให้ฝนแล้ง
- ๒๑๕. พระราชทานพระบางคืนไปเมืองหลวงพระบาง
- ๒๑๖. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามในกรุง
- ๒๑๗. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามหัวเมือง
- ๒๑๘. สร้างพระนครคีรี ที่เมืองเพ็ชรบุรี
- ๒๑๙. กระแสพระราชดำริก่อนปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๐. ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๑. กล่าวด้วยปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๒. สร้างพระราชวังที่นครปฐม
- ๒๒๓. ขุดคลองเจดีย์บูชา
- ๒๒๔. ทรงปฏิสังขรณ์วัดเฉลิมพระเกียรติ
- ๒๒๕. ปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามและสร้างตำหนักที่บางปะอิน
- ๒๒๖. ทรงบุรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทและวังท้ายพิกุล
- ๒๒๗. ทรงสร้างพระนารายน์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๒๒๘. กงสุลฝรั่งเศสเข้ามาเปลี่ยนตัว
- ๒๒๙. เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ๒๓๐. ลงพระราชอาชญาพวกมหาดเล็กเล่นไพ่
- ๒๓๑. ทำทัณฑกรรมโหรและท้าวสมศักดิ์ท้าวโสภา
- ๒๓๒. สมโภชพระปฏิมากรแก้วมรกต
- ๒๓๓. ทรงพระประชวร
- ๒๓๔. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา
- ๒๓๕. ตั้งกองล้อมวง
- ๒๓๖. ประชุมหมอหลวงถวายพระโอสถ
- ๒๓๗. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๓๘. แปลคำที่ทรงคาถาขอขมาพระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์
- ๒๓๙. ทรงขอขมาพระบรมวงศานุวงศ์และท่านเสนาบดี
- ๒๔๐. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
- ๒๔๑. สรงน้ำพระบรมศพ
๕๐. ลิขิตสมณศาสน์ตอบหนังสือเสนาบดีพม่า
[๑]ครั้นพม่าจะลากลับไป โปรดฯ ให้มีลิขิตตอบไปมีความว่า
ลิขิตพระพรหมมุนีคัมภีร์ญาณนายก ตรีปิฎกคุณาลังกรณ์มหาคณฤศบวรสังฆารามคามวาสี สถิตณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง เป็นอัพภันตรารามภายในกำแพงพระนคร ตั้งอยู่ณทิศทักษิณแห่งพระบรมมหาราชวัง ณกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยาบรมราชธานี อันประดิษฐานตั้งอยู่ในบางกอกประเทศ ขอแสดงความมายังท่านที่มีชื่อในหนังสือ ซึ่งผู้ถือหนังสือเข้ามาอ้างให้เราได้ยินว่ามหาเมลซีซู เสนาบดีผู้ใหญ่ซึ่งได้ครองเมืองบ้านหมอ และคนอื่นๆ ที่ควรจะอ่านและรู้ความในหนังสือทั้งปวงให้ทราบ
ด้วยเมื่อณเดือนภัทรบทมาส ปีมะโรงนักษัตรอัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ ปี[๒] มีพวกพม่า ๔ คนเข้ามาทางเมืองนครเชียงใหม่ ลงมากับด้วยเจ้านายและขุนนางเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง ซึ่งลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินกรุงสยามครั้งนี้ ถึงกรุงเทพพระมหานคร ขึ้นพักอยู่ที่วัดราชาธิวาศเป็นพระอารามน้อย ขึ้นกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง จึงขึ้นไปหาพระสงฆ์ในอารามนั้นเล่าความให้ฟังว่า มาเพื่อจะพบพระสงฆ์ที่เป็นใหญ่ในพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ในพระอารามนั้นจึงพาตัวมายังสำนักเราณวัดพระเชตุพน พม่า ๔ คนจึงแจ้งว่า
คน ๑ ชื่องะซอยซี คน ๑ ชื่องะซอยมอง คน ๑ ชื่องะคลา คน ๑ ชื่องะทวย และว่าเจ้าแผ่นดินกรุงอังวะให้เข้ามานมัสการสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในพระพุทธศาสนาณกรุงสยาม และได้ยื่นหนังสือให้แก่เราเป็นอักษรพม่าฉะบับ ๑ และได้ถวายไทยธรรม คือ ประคำกาเยนยางไม้ใหญ่ ๒๙ เล็ก ๑๐ รวม ๓๙ สาย หีบกำมะลอ ๑ กล่องอย่างเงี้ยวใหญ่ ๒ เล็ก ๒ รวม ๔ โอลายอย่างเงี้ยว ๒ แหนบ ๒ กะจก ๑ เป็นของ ๘ สิ่งให้แก่เรา กับไทยธรรมอื่นอีก คือกล่องอย่างเงี้ยว ๔๔ โอลายอย่างเงี้ยว ๔๔ แหนบ ๔๔ กระจก ๔๔ ได้ถวายพระเถรานุเถระอื่นอีก ๔๔ รูปแล้ว เราทั้งหลายพร้อมกันได้กระทำอนุโมทนาให้ต่อหน้าพม่า ๔ คน ในวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำนั้นแล้ว
เราจึงได้หาล่ามพม่ามาให้อ่านแปลหนังสือนั้นออกเป็นภาษาไทย ก็ได้ความไพเราะวิจิตรด้วยกิตติคุณการสรรเสริญเจ้าแผ่นดินกรุงอังวะมหาราชธานีในแดนพม่า ฟังก็น่าเพลิดเพลิน เราจึงคิดว่า ถ้าคนเหล่านี้เป็นคนซึ่งผู้มีอิศริยยศบรรดาศักดิ์ในเมืองใหญ่ใช้เข้ามาจริง เราก็มีความประสงค์เพื่อจะให้ท่านผู้ที่ใช้เข้ามานั้น ได้เชื่อด้วยสลักสำคัญเป็นแน่นอนว่าผู้ที่รับใช้เข้ามานั้นได้มาถึงเราแล้วจริง หนังสือกับสิ่งของไทยธรรมได้มอบให้แก่เรา และถวายแก่พระเถรานุเถระอื่นๆ ตามจำนวนของนั้นตามบังคับมาแล้วจริง เราจึงรจนาการลิขิตนี้มาให้เป็นสำคัญ ถ้าท่านผู้ใช้มามีตัวจริงแล้ว เราขออวยพรอนุโมทนาทานด้วยปรารถนาความเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ และสวัสดิมงคลผล อย่างอื่นๆ และความประสงค์สิ่งไรของท่านซึ่งเป็นกุศลไม่มีโทษ จงสำเร็จทุกประการเทอญ
เพราะเราได้รับธรรมบรรณาการความรำพันพรรณนาถึงเจ้ากรุงอังวะเป็นมหาราชกษัตริย์ และสรรเสริญสมบัติทั้งพระเกียรติยศธรรมคุณต่างๆ ยืดยาวนักหนา เราก็ควรจะต้องกล่าวความในกรุงสยามประเทศนี้ แสดงออกไปเป็นปฏิบรรณาการตอบแทนให้ท่านฟังบ้าง แต่ปกติไทยชาวกรุงสยามประเทศนี้ย่อมรู้ประมาณในทางกถา ความใดๆ ถึงจะจริงแท้ แต่ถ้าเป็นความไกลตาเห็นว่าเป็นคนไกลๆ จะเชื่อยาก ก็ไม่อยากกล่าวยืดยาวไป ด้วยเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ และคำยกยอว่ากษัตริย์มหาสมมติราชวงศ์อสัมภินขัตติยพงศบริสุทธิมาเนืองๆ ในพระบาลีและอรรถกถาฎีกาต่างๆ นั้น คนทั้งปวงชาวประเทศต่างๆ ได้ทราบทั่วกันว่า เป็นคำยกย่องของคนโบราณใช้ในมัธยมประเทศที่ได้รู้อยู่บัดนี้ว่าฮินดูสถาน เพราะบาลีเป็นของสังคายนาในมัธยมประเทศนั้น และอรรถกถาฎีกาก็เป็นคำกล่าวแก้บาลี แต่การในมัธยมประเทศไม่ได้ว่าด้วยการประเทศอื่นๆ และคนบางพวกในประเทศนั้นได้ชื่อว่ากษัตริย์ เพราะเนื่องด้วยขัตติยชาติตามเชื้อชาติสืบตระกูลเป็นลำดับมาดังนี้ ชาติอื่นคือพราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล เนสาทปกุสเป็นต้น ซึ่งถือกันต่างๆ ในประเทศนั้น และคนที่ใช่กษัตริย์เดิมจะชื่อว่ากษัตริย์ด้วยเป็นเจ้าแผ่นดินก็หาไม่ และเจ้าแผ่นดินในประเทศนั้น คนทั้งหลายย่อมนับถือให้ได้ราชาภิเศกฉะเพาะแต่ขัตติยชาติเป็นธรรมเนียมมา ชาติอื่นแม้มีอำนาจว่าการแผ่นดินก็ไม่ได้ราชาภิเศก แต่ถ้าจะว่าโดยธรรมราชวงศ์แล้ว แม้นถึงในประเทศอื่น ผู้ได้ครอบครองราชสมบัติเป็นเจ้าแผ่นดินในประเทศนั้นๆ เมื่อประพฤติถูกต้องตามมูลนีติขัตติยธรรมเหมือนกษัตริย์ในมัธยมประเทศ ซึ่งเป็นต้นแบบแผนอย่างกฎหมายบ้านเมืองต่างๆ สืบมา ก็จะพึงกล่าวได้บ้างโดยที่ตั้งอยู่ในธรรมราชวงศ์ของกษัตริย์ แต่ก็หาสู้ต้องการนักไม่ ด้วยชื่อว่ากษัตริย์ขัตติยนี้ เมื่อความดีมีอยู่แล้ว ก็เป็นความดี และข้อซึ่งว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นๆ มีชาติบริสุทธิไม่บริสุทธิเจือปนไม่เจือปนมาแต่ต้นเดิมนั้น ถึงจะว่าจริงก็เป็นการไกลห่างล่วงมาแล้วนาน ก็เชื่อยากจะเอาเป็นประมาณไม่ได้ ด้วยว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนยักย้ายไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นคำเกินๆ เช่นนี้ เราจะขอยกเสียไม่เลียนตามว่าตาม ซึ่งไม่ว่านั้นเพราะจะเห็นว่าพระเจ้ากรุงสยามของเราต่ำตระกูลกว่าเจ้านายในกรุงอังวะบัดนี้นั้นก็หามิได้ ด้วยว่าต้นเชื้อวงศ์ในประเทศพม่าและไทยซึ่งใกล้เคียงกันก็มีสืบมาในพระราชพงศาวดาร และคำให้การคนไปมาเนืองๆ ความจริงอย่างไรก็ย่อมแจ้งแก่คนทั้ง ๒ ประเทศที่พอใจฟังโดยจริงอยู่ด้วยกัน จะขอว่าแต่การที่ควร อันนี้เป็นธรรมเนียมคนทั้งปวงทุกประเทศย่อมนับถือเจ้านายที่มีชาติภาษา และตระกูลจารีตถือธรรมลัทธิเสมอกันมากกว่าชาติอื่นภาษาอื่น เพราะฉะนั้นฝ่ายข้างกรุงสยามนี้ถึงเมื่อบ้านเมืองได้เป็นระส่ำระสายยักย้ายไป ต้องอยู่ในอำนาจชาติอื่นภาษาอื่น และความลำบากยากเข็ญซึ่งเป็นมาแล้วแต่หลัง ดังครั้งจุลศักราช ๑๑๒๙ ปี[๓] นั้นก็ดี ก็ยังได้รวบรวมประดิษฐานราชตระกูล มีเจ้านายที่สมณพราหมณาจารย์ประชาราษฎรทั้งปวงนับถือวงศ์ตระกูลและคุณธรรมแต่เดิมมานั้น ขึ้นดำรงรักษาพระราชอาณาจักรเป็นพระเจ้าแผ่นดินเอกราชไม่ต้องพึ่งเมืองอื่นครอบครองแผ่นดินสืบมา และพระราชวงศ์นี้มิใช่โจรราชอาณาจักรคือใครกล้าแขงกว่าผู้อื่นแล้วก็ขึ้นใหญ่โดยกำลังพลานุภาพเท่านั้น อันพระราชวงศ์นี้เป็นพระบรมวงศ์มหาราชอาณาจักร ดำรงราชตระกูลมาด้วยความยินดียอมพร้อมเพรียงแห่งคนทั้งปวง ซึ่งได้รับพระเดชพระคุณและนับถือสืบมาในราชตระกูล และอมัจจตระกูลสืบมาได้ ๔ ลำดับพระเจ้าแผ่นดิน นับกาลก็เกือบได้ ๑๐๐ ปีมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามพระองค์นี้ เป็นบรมนัดดาธิราชของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม พระองค์เป็นปฐมพระบรมราชวงศ์นี้ และเป็นพระบรมราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามซึ่งได้เถลิงถวัลยราชสมบัติสืบพระบรมราชวงศ์มาเป็นที่ ๒ และเป็นบรมกนิษฐาธิราชของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่งได้เถลิงถวัลยราชสมบัติสืบพระบรมราชวงศ์มาเป็นที่ ๓ และพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามพระองค์นี้ ได้เถลิงถวัลยราชเป็นที่ ๔ ในพระบรมราชวงศ์นี้ ไม่มีคนตระกูลอื่นขัดคั่นแซกแซงให้เสื่อมทราม เสวยราชสมบัติมาได้ ๗ ปีทั้งปีนี้ เมื่อก่อนยังไม่ได้เสวยราชสมบัตินั้น พระองค์ก็ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนในพระคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นอันมาก บัดนี้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็ได้ดำรงรักษาสยามราชอาณาจักรทั้งประเทศราชทั่วทุกทิศ ให้มีความสุขสำราญโดยราชวิธานกิจนั้นๆ และได้ทรงอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง ให้มีอิศริยยศบริวารยศโดยฐานานุศักดิ์ และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองดำรงอยู่เป็นปกติ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์สามเณรทั้งปวงโดยสมควรแก่ศีลคุณสุตคุณ พระนครนี้ก็เจริญรุ่งเรืองเป็นสุขสำราญนิราศอุปัทวอันตราย
อนึ่งเพราะคำซึ่งมีมาในหนังสือว่า พม่าซึ่งมาครั้งนี้มานมัสการพระสังฆราชซึ่งเป็นพระมหาเถระเจ้า เป็นประธานในพระพุทธศาสนาในสยามประเทศนี้ และพม่าพวกซึ่งมาครั้งนี้ หาได้พบพระมหาเถระที่เรียกชื่อดังนั้นไม่ ก็ด้วยเหตุนั้นท่านผู้ใช้มาจะเข้าใจว่าในกรุงสยามบัดนี้ การพระพุทธศาสนาจะไม่มีผู้ใหญ่บังคับบัญชา เพราะฉะนั้นจะขออธิบายชี้แจงมาให้ทราบ ด้วยตำแหน่งพระสังฆราชนั้น เดิมแต่ก่อนอย่างธรรมเนียมในสยามประเทศนี้และเมืองอื่นๆ ใกล้เคียงกัน บรรดาเป็นเมืองมีพระสงฆ์อยู่เป็นที่นับถือโดยปกติ คนในพื้นบ้านเมืองนั้นย่อมมีจารีตมา คือพระมหาเถระเจ้าองค์ใด ซึ่งพระเถรานุเถระผู้น้อยผู้ใหญ่ เจ้าหมู่ เจ้าคณะในพระพุทธศาสนาเป็นอันมากพร้อมใจกันนับถือบูชา เป็นผู้ประกอบด้วยศีลและปัญญาศรัทธาธิคุณ ควรจะเป็นประธานที่พึ่งแก่พระสงฆ์ทั้งปวงและราชตระกูลทั้งราษฎรในการสั่งสอนแนะนำให้ปฏิบัติการกุศล ในพระพุทธศาสนาได้ด้วยดีแล้ว ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพร้อมกับความคิดท่านเสนาบดี ก็ย่อมแต่งตั้งพระมหาเถระเจ้าองค์นั้น ให้มีอิศริยยศบรรดาศักดิ์อย่างใหญ่อย่างสูงกว่าพระสงฆ์ทั้งปวง เรียกนามว่าพระสังฆราชเยี่ยงอย่างนี้มานาน ครั้นเมื่อถึงรัชกาลแผ่นดินปัจจุบันนี้ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม ได้ทรงสังเกตการเก่าที่มีมาในพระบาลีอรรถกถาโดยละเอียดแล้ว ทรงปรึกษาด้วยพระสงฆ์เถรานุเถระผู้รู้ปริยัติธรรม และนักปราชญ์ราชบัณฑิตเป็นอันมาก เห็นพร้อมกันว่า คำว่า ราชา นี้ไม่ควรจะใช้เป็นชื่ออันควรจะเรียกจะให้แก่บรรพชิตอื่น นอกจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เพราะในบาลีและคัมภีร์อรรถกถาฎีกา ใช้แต่พระนามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว เรียกบางแห่งว่าธรรมราชา ถึงฤๅษีมุนีนอกจากพระศาสนาจะชื่อราชิสี ก็มีแต่พระเจ้าทัฬหเนมี พระเวสสันดรเป็นต้น ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินมาแต่ก่อน แล้วออกทรงผนวชจึงได้พระนามเดิมมาเรียกบ้าง อย่างในจักกวัตติสูตรและชาดกว่าราชฤๅษี แต่ในพระพุทธศาสนาแล้ว ถึงท่านที่เป็นพระเจ้าแผ่นดินมาแต่เดิม อย่างพระเจ้ามหากบินราช พระเจ้าภัททิยราช พระเจ้าปุกกุสาติราชเป็นต้น เมื่อได้ออกทรงบรรพชาแล้ว มีแต่นามว่าพระมหากบินเถระ พระภัททิยเถระ พระปุกกุสาติภิกษุ ไม่ได้ปรากฏนามว่าราชาเลย ตั้งแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมาแล้ว ถึงพระมหากัสสปพระสัพพกามีเถระและพระโมคัลลีบุตรดิสเถระ ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการปฐม ทุติย ตติ ยสังคายนาก็ดี พระมหินทเถระซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ออกไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปก็ดี ก็ไม่ได้เรียกว่าสังฆราชเลย เพราะฉนั้นจึงพร้อมกันให้ยกตั้งนามว่าสังฆราชนั้นเสีย ไม่ได้ตั้งท่านองค์ใดเป็นที่พระสังฆราชเลย และในการแรกตั้งแผ่นดินปัจจุบันนี้ พระบรมวงศ์เธอพระองค์หนึ่ง เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม พระองค์เป็นปฐมในพระบรมราชวงศ์นี้ เป็นกนิษฐาธิบดีของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม ซึ่งได้เถลิงถวัลยราชสมบัติสืบพระบรมราชวงศ์มาเป็นที่ ๒ ได้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาแต่ทรงพระเยาว์มาจนทรงพระเจริญพระชนม์ได้ ๖๐ พรรษา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามพระองค์นี้ เมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น ได้ทรงศึกษาอักขรวิธีและพุทธวจนะและวิชาการคดีโลกอื่นๆ ในสำนักแห่งพระบรมวงศ์เธอพระองค์นั้นมา ครั้นเมื่อได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงทรงปรึกษาด้วยพระบรมราชวงศานุวงศ์และเสนาบดีผู้ใหญ่ และพร้อมด้วยอนุมัตยาภิชฌาศรัยแห่งพระเถรานุเถระเจ้าหมู่เจ้าคณะทั้งปวงด้วยกันแล้ว ได้สถาปนาพระบรมวงศ์เธอพระองค์นั้น ให้มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า กรมสมเด็จพระประมานุชิตชิโนรส เป็นพระสมณุตมมหาสังฆปรินายกอันใหญ่ยิ่งกว่าสงฆบริษัททั่วทั้งสกลอาณาจักร กรมสมเด็จพระประมานุชิตชิโนรสเจ้านั้น จึงได้ทรงจัดแจงมอบคณะฝ่ายเหนือให้ขึ้นแก่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สถิตณวัดสุทัศนเทพวราราม คณะฝ่ายใต้ให้ขึ้นแก่สมเด็จพระวันรัต สถิตณวัดอรุณราชวราราม คณะกลางคือพระสงฆ์ในเขตต์แดนพระมหานครนี้ แบ่งกันบังคับว่ากล่าวเป็น ๓ คณะ คือขึ้นณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามโดยมาก ขึ้นในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ สถิตณวัดบวรนิเวศบวรวิหารบ้าง ขึ้นแก่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สถิตณวัดมหาธาตุบ้างตามที่คุ้นเคย กรมสมเด็จพระประมานุชิตชิโนรส ได้เสด็จดำรงอยู่ได้ ๓ พรรษา ก็ทรงพระประชวรสิ้นพระชนม์ล่วงไป ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม จึงโปรดฯ ให้จัดแจงถวายพระเพลิกรมสมเด็จพระประมานุชิตชิโนรสเสร็จแล้ว ก็ยังทรงพระอาลัยถึงยิ่งนัก จึงได้โปรดฯ ให้ประดิษฐานพระอัฏฐิธาตุไว้ ณตำหนักซึ่งกรมสมเด็จพระประมานุชิตชิโนรสได้เสด็จอยู่เหมือนยังมีพระชนม์ มิได้ทรงตั้งแต่งท่านผู้ใดเป็นที่สังฆราชต่อไปอีกเลย มีแต่ท่านที่เป็นมหาเถระผู้ใหญ่เป็นเจ้าคณะทั้ง ๕ ว่ากล่าวตามคณะจนบัดนี้ ฝ่ายเราเป็นเชฏฐันเตวาสิกในกรมสมเด็จพระประมานุชิตชิโนรส จึงได้มาปฏิบัติเฝ้าพระอัฏฐิและรักษาหมู่คณะอยู่ณพระอารามนี้ ตามอย่างเมื่อกรมสมเด็จพระประมานุชิตชิโนรสยังทรงพระชนม์อยู่ เพราะฉะนั้นเมื่อพม่า ๔ คน มาถึงวัดราชาธิวาสไต่ถามพระสงฆ์ว่าจะมาหาพระสังฆราช พระสงฆ์ในพระอารามนั้นจึงได้พาพวกพม่ามายังสำนักเราณวัดพระเชตุพน ซึ่งเคยเป็นที่สถิตแห่งกรมสมเด็จพระประมานุชิตชิโนรสนั้นดังนี้ และการพระพุทธศาสนาในกรุงสยามนี้ ถึงจะไม่มีสมเด็จพระสังฆราชตามอย่างเดิม เจ้าหมู่เจ้าคณะทั้ง ๕ ก็มีสมัครสโมสรพร้อมกันปรึกษาว่ากล่าวการทั้งปวง ให้เรียบร้อยเป็นปกติ การปฏิบัติเล่าเรียนก็บริบูรณ์อยู่ทุกประการ
ลัแต่ก่อนมาจนบัดนี้ คนชาวกรุงสยามประเทศนี้ได้รู้ทั่วกันมานานว่าพม่าเป็นข้าศึกกับไทย เมื่อก่อนแต่นี้ไปภายหน้าใน ๒๐๐ ปีลงมาพม่าได้กล่าวโทษไทยว่าเป็นอย่างไรกับพม่านั้น การที่จริงที่แท้อย่างไรในคำนั้นก็ดี พม่าได้ทำกับเมืองไทยอย่างไรก็ดี การทั้งปวงนี้ก็แจ้งอยู่กับใจของไทย และบุตรหลานของไทยที่ตกอยู่ณเมืองพม่า หรือแต่ตัวพม่าที่เป็นคนซื่อสัตย์มักสืบสาวการโบราณรู้เรื่องราชพงศาวดารแต่ก่อนอันจริงนั้นทุกประการแล้ว อย่าให้เราผู้เป็นสมณะต้องกล่าวถึงความบ้านเมืองแต่หลังนั้นเลย ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงสยามก่อนๆ ครั้งนี้ขึ้นไปนั้น มีพวกพม่าได้เข้ามาถึงกรุงเทพพระมหานครหลายครั้งแล้ว มาอวดอ้างว่าเป็นขุนนางทูตพระเจ้าแผ่นดินและเสนาบดีพม่าใช้มาบ้าง ว่าตัวเป็นคนมีชาติมีตระกูลเป็นเชื้อเจ้านายบ้าง เข้ามาขอเจริญทางพระราชไมตรี ผูกพัน ๒ พระนครให้เป็นทองแผ่นเดียวกันบ้าง หรือว่าจะหนีภัยข้างเมืองโน้นมา หรือขอให้ช่วยตัวด้วยกำลังอื่นๆ บ้าง และการที่คนเหล่านั้นให้การไว้อย่างไร ครั้นสืบฟังไปการก็เป็นอย่างอื่นเป็นเท็จแท้ไม่เป็นจริงดังนั้น ภายหลังมามีพม่าบางพวกบางคนเข้ามาอีก มาพูดการต่างๆ เช่นนั้นอีก ก็ไม่มีใครเชื่อฟัง ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์ย่อมมีความสงสัยว่าเป็นคนสอดแนม เที่ยวสืบข่าวการบ้านเมือง หรือหลอกลวงจะเอาลาภผลรางวัลด้วยเล่ห์กล ท่านจึงจับตัวกักขังไว้บ้าง จองจำทำโทษเสียบ้าง มิได้ปล่อยให้ไปตามสบาย ครั้นข่าวนี้ทราบออกไปในเมืองพม่า คนในเมืองพม่าแม้ถึงเป็นคนดีมีศรัทธาซื่อตรงประสงค์จะเข้ามาเที่ยวนมัสการพระเจดีย์และทำบุญให้ทานด้วยเห็นแก่พระพุทธศาสนาฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวข้องด้วยราชการบ้านเมืองก็ดี ก็มีความสะดุ้งเกรงกลัวจะต้องกักขังตัวไว้ จึงหาได้ไปมาถึงกันไม่นานแล้ว แต่บัดนี้พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามพระองค์นี้ ทรงพระกรุณาเมตตาแก่คนชาติมนุษย์ทุกประเทศที่ถือพระพุทธศาสนาตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมา ก็มาทรงพระราชดำริว่าเมืองต่างๆ ที่เป็นข้าศึกมาแต่ก่อนก็สงบเงียบมาช้านานแล้ว คนชาติอื่นภาษาอื่นที่ถือพระพุทธศาสนาถูกต้องกัน คือพระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์ จะเที่ยวชนบทจาริกแสวงหาข้อปฏิบัติและนมัสการพระเจดีย์ โดยความประสงค์ประโยชน์ชาติหน้าก็ดี หรือลูกค้าวาณิชเที่ยวค้าขายหมายผลประโยชน์ชาตินี้ก็ดี เมื่อไม่มีข้อเหตุต่างๆ ขัดขวางต่อการแผ่นดิน มาตามตรงไปตามตรงแล้ว ก็ทรงพระมหากรุณาโปรดให้สำเร็จความประสงค์ของคนพวกนั้น จะมาก็ให้มา จะไปก็ให้ไปตามสบาย ไม่ได้ห้ามหวงยุดหน่วงเอาตัวไว้ และครั้งนี้เราได้เห็นพม่าพวกนี้เป็นคนถือพุทธศาสนาเหมือนกัน เราได้ให้ล่ามไถ่ถามพูดจาฟังดู ก็เห็นว่าไม่มีความเกี่ยวข้องขัดขวางการแผ่นดินแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เราจึงได้รับรองโดยปกติตามวิสัยสมณะ และได้รับไทยธรรมของท่านโดยหารังเกียจมิได้ดังว่าแล้วแต่หลัง
อนึ่งเราขอแจ้งความมาให้ท่านเชื่อว่าในกรุงเทพมหานครบัดนี้ พระพุทธศาสนาก็รุ่งเรืองดำรงอยู่ พระเถรานุเถระผู้ทรงคุณธรรมครอบครองหมู่คณะสั่งสอนพระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์ให้เล่าเรียนพระคัมภีร์ใหญ่น้อยและได้ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติบำเพ็ญกุศลต่างๆ ก็มีอยู่มากทั้งภายในภายนอกพระนคร และคัมภีร์พระพุทธวจนะ คือบาลีอรรถกถาฎีกาทั้งปวงก็มีบริบูรณ์ในกรุงเทพมหานครนี้ เราทั้งหลายคือพระภิกษุสงฆ์ขออนุโมทนาเจริญเมตตาอวยพรมาถึงท่าน ขอท่านจงมีความสุขสวัสดิ์เจริญ และประกอบด้วยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยให้มั่น จงบำเพ็ญการกุศลทานศีลภาวนาสัมมาปฏิบัติเพื่อเป็นอุปนิสสัยแก่ทางสุคติสวรรค์นฤพาน ให้บริบูรณ์ทุกประการเทอญ
ลิขิตมาณวันฯ ปีมะเสงนักษัตรนพศก
พม่ามาครั้งนั้นก็ไม่ได้พระราชทานเบี้ยเลี้ยงสะเบียงอาหาร อยู่นานมาอดอยากเข้า ก็เที่ยวขอเงินที่พระราชาคณะวัดใหญ่เลี้ยงชีวิต ครั้นได้หนังสือตอบแล้วก็โดยสารเรือพวกลูกค้าเมืองเชียงใหม่กลับไป
[๑] ลิขิตนี้เข้าใจกันว่า เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
[๒] พ.ศ. ๒๓๙๙ ฯ
[๓] พ.ศ. ๒๓๑๐ ฯ