- คำนำ
- ๑. อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จจากวัดบวรนิเวศ
- ๒. กราบทูลอัญเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นเสวยราชย์
- ๓. ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชการเข้าเฝ้าให้สรวมเสื้อ
- ๔. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๕. ข้าราชการฝ่ายในถวายตัว
- ๖. เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค
- ๗. เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค
- ๘. พระราชพิธีบวรราชาภิเศก
- ๙. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนคร
- ๑๐. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๑. ตั้งพระราชาคณะ
- ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๓. เจ้าประเทศราชเข้ามาเฝ้า
- ๑๔. ตำนานเมืองน่าน
- ๑๕. ตำนานเมืองแพร่
- ๑๖. ทรงแก้สร้อยพระนาม องค์สมเด็จหริรักษรามา เจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๗. ทรงแต่งตั้งขุนนาง
- ๑๘. ขุดคลองคูพระนครชั้นนอก
- ๑๙. การเทศนากระจาดใหญ่
- ๒๐. ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวรที่สวรรคตแล้ว
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๒๓. ขุดคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างป้อม
- ๒๔. สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์
- ๒๕. เริ่มการศึกเชียงตุง
- ๒๖. บรรจุดวงพระชาตาพระนคร
- ๒๗. สมณทูตไทยไปลังกาทวีป
- ๒๘. งานพระศพสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๙. สมณทูตกลับจากลังกาทวีป
- ๓๐. ได้พระวิมลรัตนกริณี ช้างพังเผือกตรี
- ๓๑. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ประสูติเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๓๒. การทัพศึกเมืองเชียงตุง
- ๓๓. เรื่องเรือกะทงลอยพระประทีป
- ๓๔. สร้างพระเจดีย์และถวายพระนามพระประธานในวัดพระเชตุพน
- ๓๕. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสและกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์สิ้นพระชนม์
- ๓๖. สร้างสระปทุมวันและวัดปทุมวนาราม
- ๓๗. การทัพศึกเมืองเชียงตุง (ต่อ)
- ๓๘. เตรียมการต้อนรับเซอร์ยอนโบวริง
- ๓๙. การฉลองคลองคูพระนครชั้นนอก (คลองผดุงกรุงเกษม)
- ๔๐. สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์
- ๔๑. ได้พระวิสุทธรัตนกริณี ช้างพังเผือกโท
- ๔๒. เซอร์ยอนโบวริงเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๓. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย
- ๔๔. มิสเตอร์ฮาริปักเข้ามาแก้หนังสือสัญญา
- ๔๕. ทูตอเมริกันเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๖. การถวายสลากภัตรในวัดพระเชตุพน
- ๔๗. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาทำสัญญา ๓๒ ข้อ
- ๔๘. พม่าถือหนังสือเสนาบดีผู้ใหญ่เมืองพม่าเข้ามาถวายพระสังฆราช
- ๔๙. หนังสือเดินทางของพม่า
- ๕๐. ลิขิตสมณศาสน์ตอบหนังสือเสนาบดีพม่า
- ๕๑. ทูตฝรั่งเศสไปเมืองเขมรและเมืองญวน
- ๕๒. หนังสือองค์พระหริรักษ์ถึงพระเจ้านโปเลียนที่ ๓
- ๕๓. ราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ
- ๕๔. สร้างสวนอนันตอุทยาน
- ๕๕. ขุดคลองมหาสวัสดิ์
- ๕๖. เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันออก
- ๕๗. พระราชทานที่ให้ชาวต่างประเทศตั้งห้างและขุดคลองถนนตรง
- ๕๘. พระราชทานทรัพย์สร้างศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๕๙. หนังสือองญวนข้าหลวงเมืองไซ่ง่อนถึงเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม
- ๖๐. หนังสือตอบองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน
- ๖๑. หนังสือองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน ตอบเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๖๒. ทูตเดนมาร์กเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๖๓. ราชทูตไทยกลับจากลอนดอน
- ๖๔. ทูตเดนมาร์กกลับ
- ๖๕. โปรดฯ ตั้งองค์พระนโรดมและองค์หริราชดะไนไปช่วยราชการเมืองเขมร
- ๖๖. ฝรั่งเศสรบกับญวน
- ๖๗. ดาวหางขึ้น
- ๖๘. พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย
- ๖๙. ทูตโปรตุเกศเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๗๐. งานเฉลิมพระมหามนเทียรพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ๗๑. สร้างประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก
- ๗๒. เรื่องรักใคร่ระหว่างขุนสุวรรณกับเจ้าจอมช้อย
- ๗๓. พระราชทานเงินคนชราพิการ
- ๗๔. เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก
- ๗๕. กรมสมเด็จพระเดชาดิศรสิ้นพระชนม์
- ๗๖. เสด็จประพาสตลาดสำมุข
- ๗๗. โปรดฯ ให้รื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๗๘. ฝรั่งเศสรบกับญวน (ต่อ)
- ๗๙. งานพระศพกรมสมเด็จพระเดชาดิศร
- ๘๐. เกิดความไข้ที่กรุงเทพฯ
- ๘๑. ได้พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพลายเผือกโท
- ๘๒. โปรดเกล้าฯ ให้งดการรื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๘๓. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาศหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๘๔. ทูตฮอลันดาเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๘๕. คนสนิทของสุลต่านมะหมุดเข้ามาขอกำลังรบเมืองปาหัง
- ๘๖. องค์พระหริรักษ์ เจ้ากรุงกัมพูชา สุรคต
- ๘๗. สมโภชพระสมุทรเจดีย์
- ๘๘. ราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศ
- ๘๙. ใบบอกพระยาสระบุรีเรื่องคล้องได้ช้างพังเผือกโท
- ๙๐. เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
- ๙๑. ราชทูตกราบถวายบังคมลา
- ๙๒. สมโภชพระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย
- ๙๓. กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาและกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศรสิ้นพระชนม์
- ๙๔. สุลต่านมะหมุดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๙๕. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์สิ้นพระชนม์
- ๙๖. เรื่องเมืองเขมร
- ๙๗. ทูตปรุศเซียเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๙๘. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๙๙. เรื่องเมืองเขมร (ต่อ)
- ๑๐๐. งานพระศพ กรมหลวงมหิศวรินทร์ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ และพระองค์เจ้านิลวรรณ
- ๑๐๑. ส่งองค์พระนโรดมไปครองเมืองเขมร
- ๑๐๒. ทูตปรุศเซียกราบถวายบังคมลา
- ๑๐๓. ทำเงินตราใช้แทนเบี้ยและหอย
- ๑๐๔. ตัดถนน ๓ สายและขุดคลอง
- ๑๐๕. สร้างสะพานข้ามคลอง
- ๑๐๖. งานพระศพกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์และพระองค์เจ้าสว่าง
- ๑๐๗. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์
- ๑๐๘. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๐๙. เจ้าเมืองเบตาเวียเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญาฮอลันดา
- ๑๑๐. งานพระศพสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์
- ๑๑๑. ราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๑๒. พระราชศาสน์ถึงเจ้ากรุงจีน
- ๑๑๓. ญวนทำสัญญาใช้เบี้ยปรับให้ฝรั่งเศส
- ๑๑๔. เรื่องสุลต่านมะหมุด
- ๑๑๕. สร้างถนนเจริญกรุงตอนใน
- ๑๑๖. กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธรสิ้นพระชนม์
- ๑๑๗. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๑๘. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์
- ๑๑๙. การรับและสมโภชพระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพังสีประหลาด
- ๑๒๐. กรมพระพิทักษเทเวศรสิ้นพระชนม์
- ๑๒๑. งานโสกันต์
- ๑๒๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายเครื่องราชอิศริยยศ
- ๑๒๓. งานพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร
- ๑๒๔. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ สิ้นพระชนม์
- ๑๒๕. งานพระศพกรมพระพิทักษเทเวศร และพระองค์เจ้าใย
- ๑๒๖. เตรียมการสมโภชพระบรมอัฏฐิ
- ๑๒๗. เรื่องราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๒๘. เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ (ลองเรืออรรคราชวรเดช)
- ๑๒๙. องค์พระนโรดมบอกเรื่องทำหนังสือสัญญาระหว่างเขมรกับฝรั่งเศส
- ๑๓๐. สุลต่านมะหมุดหนีกลับ
- ๑๓๑. สร้างถนนบำรุงเมือง
- ๑๓๒. สร้างถนนเฟื่องนคร
- ๑๓๓. ฝรั่งเศสถวายรูปราชสีห์
- ๑๓๔. สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา เสด็จไปเที่ยวค้นดูช้างในแขวงเมืองนครนายก
- ๑๓๕. พระราชทานสุพรรณบัฏเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๑๓๖. ญวนแต่งทูตไปกรุงปารีส
- ๑๓๗. สร้างพระบรมบรรพต
- ๑๓๘. สมโภชพระบรมอัฏฐิและพระอัฏฐิ
- ๑๓๙. งานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๔๐. งานพระศพพระองค์เจ้าขนิษฐน้อยนารี
- ๑๔๑. พระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยานิกรบดินทร์
- ๑๔๒. ตั้งผู้แทนทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนอังกฤษกับไทย
- ๑๔๓. ราชาภิเศกองค์พระนโรดมขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินกรุงกัมพูชา
- ๑๔๔. งานฉลองสพานและถนน
- ๑๔๕. คล้องได้ช้างเผือกเอก
- ๑๔๖. เปรสิเดนต์ส่งกระบี่เครื่องทองคำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๑๔๗. สุลต่านมะหมุดถึงแก่กรรม
- ๑๔๘. ช้างเผือกและช้างสำคัญในรัชชกาลที่ ๔
- ๑๔๙. น้ำไหลมาแต่เหนือมีสีแดง
- ๑๕๐. เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐
- ๑๕๑. การแบ่งเขตต์แดนประเทศสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๕๒. การฉลองศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๑๕๓. เรื่องค่านาคู่โค
- ๑๕๔. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และพระองค์เจ้ามัณยาภาธร
- ๑๕๕. เสด็จประพาสเมืองราชบุรีและกาญจนบุรี
- ๑๕๖. ตั้งผู้ปรึกษาทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนเมืองเขมร
- ๑๕๗. โปรดฯ ให้ชำระเจ้าพนักงานฉ้อพระราชทรัพย์
- ๑๕๘. นายพลเรือโท ยอช กิง เข้ามากรุงเทพฯ
- ๑๕๙. พระยามนตรีสุริยวงศ์ออกไปเมืองนครฯ
- ๑๖๐. ทรงเปลี่ยนนามเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
- ๑๖๑. โสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๖๒. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
- ๑๖๓. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๓ พระองค์
- ๑๖๔. การปักเขตต์แดนสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๖๕. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระผนวชสามเณร
- ๑๖๖. เรื่องหนังสือสัญญาการเมืองเขมร
- ๑๖๗. พระราชทานเพลิงศพพระยามนตรีสุริยวงศ์และพระยาอภัยสงคราม
- ๑๖๘. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ถวายเทศนามหาชาติ
- ๑๖๙. เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระพุทธชินราชที่เมืองพิศณุโลก
- ๑๗๐. เรื่องปันเขตต์แดนทางประเทศพม่า
- ๑๗๒. ทำแผนที่อาณาเขตต์ทางหัวเมืองลำแม่น้ำโขง
- ๑๗๓. งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ๑๗๔. งานพระศพเจ้านาย
- ๑๗๕. ขุดคลองภาษีเจริญ
- ๑๗๖. ทำกะโจมไฟที่หลังสันดอน
- ๑๗๗. สร้างพระราชวังสราญรมย์
- ๑๗๘. มีละครทำขวัญพระบรมมหาราชวัง
- ๑๗๙. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๕ องค์
- ๑๘๐. โปรดเกล้าฯ ให้จำลองปราสาทที่นครวัด
- ๑๘๑. ฝรั่งเศสได้เมืองญวน ๓ เมือง
- ๑๘๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายพระแสง
- ๑๘๓. กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสสิ้นพระชนม์
- ๑๘๔. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๑๘๕. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาประทับตราหนังสือสัญญา
- ๑๘๖. ทูตโปรตุเกศเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๑๘๗. โสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ ๓ องค์
- ๑๘๘. ราชทูตโปรตุเกศกราบถวายบังคมลากลับ
- ๑๘๙. เปลี่ยนหนังสือสัญญากับฝรั่งเศส
- ๑๙๐. ฉลองวัดปทุมวนาราม
- ๑๙๑. เรื่องปักเขตต์แดนทางเมืองเขมร
- ๑๙๒. อักษรศาสน์ไว้ส์รอยอินเดีย
- ๑๙๓. งานพระศพกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๑๙๔. การฉลองวัดหงษ์และโรงธรรมวัดกัลยาณมิตร
- ๑๙๕. ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นกรมขุนพินิตประชานา
- ๑๙๖. อสุนีบาตตกหลายแห่ง
- ๑๙๗. เปิดคลองดำเนินสดวก
- ๑๙๘. ขุดคลองบางลี่และแก้คลองลัดยี่สานเมืองสมุทรสงคราม
- ๑๙๙. ขุดคลองที่ลัดขุนเมืองสมุทรสาคร
- ๒๐๐. ไวซ์รอยอินเดียทำแผนที่เขตต์แดนส่งมาประทับตรา
- ๒๐๑. สถานที่ซึ่งทรงก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงในรัชชกาลที่ ๔
- ๒๐๒. การพระราชกุศล
- ๒๐๓. การภาษีอากร
- ๒๐๔. ขุดได้พระพุทธรูปนิรันตราย
- ๒๐๕. สั่งปืนเข้ามาใช้ในราชการ
- ๒๐๖. ต่อเรือพระที่นั่งและเรือกลไฟ
- ๒๐๗. เมืองที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๔
- ๒๐๘. ทรงแปลงและตั้งนามขุนนาง
- ๒๐๙. ทรงตั้งนามราชทูตและกงสุล
- ๒๑๐. ทรงตั้งและแปลงนามบรรดาศักดิ์ขุนนาง
- ๒๑๑. ทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการ
- ๒๑๒. ทรงตั้งและแปลงนามพระราชาคณะฐานานุกรม
- ๒๑๓. ทรงตั้งและแปลงนามวัดต่างๆ
- ๒๑๔. เสนาบดีเข้าชื่อกันทำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวาย เรื่องราษฎรกล่าวว่า พระบาง พระพุทธรูปทำให้ฝนแล้ง
- ๒๑๕. พระราชทานพระบางคืนไปเมืองหลวงพระบาง
- ๒๑๖. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามในกรุง
- ๒๑๗. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามหัวเมือง
- ๒๑๘. สร้างพระนครคีรี ที่เมืองเพ็ชรบุรี
- ๒๑๙. กระแสพระราชดำริก่อนปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๐. ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๑. กล่าวด้วยปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๒. สร้างพระราชวังที่นครปฐม
- ๒๒๓. ขุดคลองเจดีย์บูชา
- ๒๒๔. ทรงปฏิสังขรณ์วัดเฉลิมพระเกียรติ
- ๒๒๕. ปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามและสร้างตำหนักที่บางปะอิน
- ๒๒๖. ทรงบุรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทและวังท้ายพิกุล
- ๒๒๗. ทรงสร้างพระนารายน์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๒๒๘. กงสุลฝรั่งเศสเข้ามาเปลี่ยนตัว
- ๒๒๙. เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ๒๓๐. ลงพระราชอาชญาพวกมหาดเล็กเล่นไพ่
- ๒๓๑. ทำทัณฑกรรมโหรและท้าวสมศักดิ์ท้าวโสภา
- ๒๓๒. สมโภชพระปฏิมากรแก้วมรกต
- ๒๓๓. ทรงพระประชวร
- ๒๓๔. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา
- ๒๓๕. ตั้งกองล้อมวง
- ๒๓๖. ประชุมหมอหลวงถวายพระโอสถ
- ๒๓๗. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๓๘. แปลคำที่ทรงคาถาขอขมาพระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์
- ๒๓๙. ทรงขอขมาพระบรมวงศานุวงศ์และท่านเสนาบดี
- ๒๔๐. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
- ๒๔๑. สรงน้ำพระบรมศพ
๒๗. สมณทูตไทยไปลังกาทวีป
ครั้นมาถึงเดือน ๒ ทรงพระราชดำริว่าในแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้แต่งพระสงฆ์ออกไปลังกาครั้ง ๑ ครั้นมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้แต่งพระสงฆ์ออกไปอีก ๒ ครั้ง และหนังสือบาลีเก่าที่ยืมเข้ามาแต่ก่อนก็ยังมิได้ส่ง กับชาวลังกาได้ฝากของพระสงฆ์ไทยเข้ามาถวายหลายสิ่ง นานแล้วยังหาได้พระราชทานตอบแทนออกไปไม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เจ้าพนักงานแต่งกำปั่นสยามพิภพลำ ๑ หมื่นแกล้วสาครเป็นกัปตัน นายทรัพย์มหาดเล็กข้าหลวงเดิม[๑] เป็นนายเรือ ขุนอาจอรรคนิกร[๒] ปลัดกรมรักษาพระองค์ ปืนปลายหอกขวานาย ๑ นายพุ่มมหาดเล็ก[๓] ข้าหลวงเดิมเป็นข้าหลวงจัดซื้อพลอยนาย ๑ นายนุชอาจารย์ ๑ นายเปี่ยม[๔] อาจารย์ ๑ เป็นข้าหลวงคุมดอกไม้ทองเงินธูปเทียนขึ้นไปบูชาพระทันตธาตุ ณเมืองสิงขัณฑ์และของที่จะพระราชทานชาวลังกาด้วย ฝ่ายข้างพระสงฆ์โปรดฯ ให้พระอโนมมุนี[๕] ราชาคณะวัดประทุมคงคา ๑ พระมหาชื่น เปรียญ วัดพิไชยญาติ ๑ พระมหาหรุ่น เปรียญ วัดบวรนิเวศ ๑ พระอันดับ ๗ รูป รวมสงฆ์ ๑๐ รูป คุมหนังสือพระคัมภีร์ที่พระสมุทรมุนียืมมาแต่ครั้งก่อนไปส่งด้วย
ครั้นณวันพุธ เดือน๑ แรม ๑๑ ค่ำ[๖] มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สังฆการีนิมนต์พระสงฆ์ที่จะไปราชการที่เมืองลังกานั้นเข้ามาฉันณพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ทรงถวายไตรแพรบริกขารพร้อมแก่พระสงฆ์ทั้ง ๑๐ รูป แล้วพระราชทานเงินตรามอบให้กัปปิยการกสำหรับพระสงฆ์ใช้สอยองค์ละ ๑ ชั่งบ้าง ๑๐ ตำลึงบ้าง ไวยาวัจจกรพระสงฆ์ที่จะไปด้วยนั้น ก็ให้พระราชทานเสื้อแพรมังกรเสื้อ ๑ เงินตราคนละ ๕ ตำลึง ครั้นพระสงฆ์รับไทยทานของหลวงเสร็จแล้ว พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณี ได้ถวายผ้าไตรพระสงฆ์อีกองค์ละ ๑ ไตรและประทานเงินตรามอบให้กัปปิยการกสำหรับพระสงฆ์ใช้สอยอีกองค์ละ ๕ ตำลึง ต่อหน้าพระที่นั่งเป็นส่วนของพระองค์เจ้ากัลยาณี ครั้นพระสงฆ์ถวายพระพรลาแล้ว เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ฝ่ายข้าราชการ ขุนอาจอรรคนิกร นายทรัพย์มหาดเล็ก นายพุ่มมหาดเล็ก นายนุชอาจารย์ นายเปี่ยมอาจารย์ กราบถวายบังคมลา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พระราชทานเงินตราคนละ ๑ ชั่งบ้าง ๑๐ ตำลึงบ้าง และผ้าปูมเขมร ๑ เสื้อเข้มขาบ ๑ กาถมตะทอง ๑ โต๊ะถมตะทอง ๑ เป็นเครื่องยศทุกนาย แต่มหาดเล็กที่จะให้ไปหัดเป็นทหารเรือ ๒๐ คนนั้น ให้พระราชทานเงินตราคนละ ๓ ตำลึง ผ้าม่วงจีน ๑ เสื้อแพรมังกร ๑ ทุกคน
ครั้นณวันศุกร เดือน ๒ แรม ๑๓ ค่ำ[๗] พระอโนมมุนีและพระสงฆ์ทั้งปวง เข้าไปถวายพระพรลาในพระบวรราชวัง พระบาทสมเด็จฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายผ้าไตรบริกขารพร้อมทั้ง ๑๐ รูป
ครั้นณวันเสาร์ เดือน ๒ แรม ๑๔ ค่ำ เจ้าพนักงานจัดเรือแจว ๒ ลำ มารับพระสงฆ์ ๑๐ รูปลำ ๑ รับข้าราชการซึ่งคุมของหลวงนั้นลำ ๑ ลงไปส่งถึงกำปั่นสยามพิภพซึ่งทอดอยู่นอกสันดอนเมืองสมุทรปราการ
ครั้นณวันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำ[๘] ก็ใช้ใบไปจากสันดอนไปถึงเมืองสิงคโปร นายพุ่มมหาดเล็กได้เชิญพระราชหัตถเลขาไปพระราชทานมิสชาติเจ้าเมืองที่ ๒ ฉะบับ ๑ พระราชทานจีนนายห้างชื่อตันกิมจิ๋งฉะบับ ๑ ครั้นณวันอังคาร เดือน ๓ แรมค่ำหนึ่ง ๑ มิสชาติเจ้าเมืองที่ ๒ ตันกิมจิ๋งลงมาคำนับพระสงฆ์ที่กำปั่นสยามพิภพ เชื้อเชิญพระสงฆ์และข้าราชการให้ขึ้นไปพักอยู่บนตึกตันกิมจิ๋ง ณวันพุธ เดือน ๓ แรม ๒ ค่ำ พระสงฆ์และข้าราชการได้ขึ้นไปพักอยู่บนเมืองสิงคโปร์ประมาณ ๑๑-๑๒ วัน หมื่นแกล้วสาครกัปตัน นายทรัพย์นายเรือจัดสะเบียงอาหารเสร็จแล้ว พระสงฆ์และข้าราชการได้ไปลามิศชาติ ตันกิมจิ๋ง แล้วลงไปอยู่กำปั่น ครั้นณวันอาทิตย์ เดือน ๓ แรม ๑๓ ค่ำ[๙] กำปั่นสยามพิภพได้ใช้ใบออกจากเมืองสิงคโปร์ ณวันศุกร เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ[๑๐] ไปถึงเกาะลังกาที่หน้าเมืองคาลุ[๑๑] ขุนอาจอรรคนิกร หมื่นแกล้วสาครให้ทหารยิงสลุตในเรือ ๑๙ นัด ทหารบนเมืองคาลุก็ยิงสลุตรับ ๑๙ นัดเหมือนกัน แล้วขุนอาจอรรคนิกรได้เชิญพระราชหัตถเลขาไปพระราชทานเจ้าเมืองคาลุฉะบับ ๑ พระราชทานโรตมละก๊อกเจ้าเมืองที่ ๒ ฉะบับ ๑ นายนุชอาจารย์ นายเปี่ยมอาจารย์ได้เชิญสมณศาส์น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ และราชาคณะกรุงเทพมหานครถึงมหาสังฆนายกวัดวาลุคารามฉะบับ ๑ ถึงพระสิริสุมน (ติสส) วัดปรมานันทวิหารฉะบับ ๑
ครั้นณวันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ พระสิริสุมนพระกรุณารัตนกับขุนนางฝ่ายลังกาที่มีชื่ออีกหลายนาย จัดเรือเป็นกระบวนแห่ตามประเทศชาวลังกา ลงมาที่กำปั่นสยามพิภพคอยรับพระสงฆ์ หมื่นแกล้วสาครกัปตันจัดเรือกรรเชียง ๓ ลำ ให้พระอโนมมุนีและพระสงฆ์ทั้งปวง ขุนอาจอรรคนิกรจัดทหารมหาดเล็ก ๒๐ คน แต่งตัวอย่างยุโรป ๔๐ คน รวมทหาร ๖๐ คน แต่งตัวสวมเสื้อหมวกสพายดาบแบกปืนเป็นกระบวนไปด้วยเรือแห่ พวกลังกาก็แวดล้อมไปจนถึงท่าเมืองคาลุ แล้วมีพระสงฆ์และขุนนางลังกามาคอยรับอยู่ที่ท่าเป็นอันมาก เมื่อพระอโนมมุนีและพระสงฆ์ทั้งปวงจะเดินขึ้นไปนั้น มีพวกลังกาแต่งตัวเป็นละครเต้นรำไปหน้าพระสงฆ์พวก ๑ มีทหารลังกาบ้างทหารในกำปั่นสยามพิภพบ้างแห่หน้าหลัง พวกลังกาถือเพดานผ้าขาวบังร่มไปด้วย ถนนที่จะเดินนั้นปูเสื่อลวดชั้น ๑ ปูผ้าขาวชั้น ๑ ราษฎรชาวบ้านตั้งเครื่องโต๊ะบูชา ๒ ฟากถนนและมายืนคอยดูร้องสาธุการ โปรยเข้าตอกดอกไม้จนถึงวัดปรมานันทวิหาร หนทางที่จะไปวัดปรมานันทวิหารนั้น ไกลท่าประมาณสัก ๑๐๐ เส้น พระอโนมมุนีและพระสงฆ์ทั้งปวงถึงวัดปรมานันทวิหารเวลาบ่าย ๔ โมงเศษ โรตมละก้อกเจ้าเมืองที่ ๒ ก็มาเยี่ยมพระอโนมมุนีในเวลานั้น พูดอยู่สักครู่หนึ่งแล้วโรตมละก้อกก็ลากลับไป
ครั้นณวันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ[๑๒] นายนุชอาจารย์ นายเปี่ยมอาจารย์ได้ขนของขึ้นจากกำปั่นสยามพิภพ มีหนังสือคัมภีร์และดอกไม้ทองเงินเครื่องบูชาพระทันตธาตุบ้าง และของพระราชทานชาวลังกาบ้าง ขึ้นไปพักอยู่วัดปรมานันทวิหาร และได้จดหมายรายชื่อตามบัญชี ส่งให้พระสิริสุมนบอกกล่าวเป่าร้องพระสงฆ์พวกรามัญวงศ์บ้าง พวกอุบาลีวงศ์บ้าง และคฤหัสถ์ที่ได้ถวายของแต่ครั้งก่อนบ้าง ให้มารับไทยทานและรับพระราชทานของตอบแทนพร้อมกันณวัดปรมานันทวิหาร และพระอโนมมุนีให้กรุณารัตนขุนนางชาวลังกาจัดรถเทียมด้วยม้ารถ ๑ ให้นายนุชอาจารย์ คุมดอกไม้ทองเงินของหลวงขึ้นไปบูชาพระทันตธาตุเมืองสิงขัณฑ์ นายนุชอาจารย์ได้ออกจากวัดปรมานันทวิหารเมืองคาลุ ณวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ[๑๓] ครั้นณวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ[๑๔] เป็นวันมาฆบูชา พระอโนมมุนีได้ให้พระสิริสุมนชักชวนพระสงฆ์ลังกา และสัปบุรุษมาประชุมพร้อมกันที่วัดปรมานันทวิหาร พระอโนมมุนีได้เทศนาเป็นภาษามคธ พระสิริสุมนได้แปลออกเป็นภาษาลังกาสั่งสอนพระสงฆ์ และสัปบุรุษเป็นอันมาก ตลอดวันยังค่ำคืนยังรุ่งเวลาวันนั้น
ครั้นณวันพุธ เดือน ๔ แรม ๑ ค่ำ สิ้นการมาฆบูชาแล้ว พระสงฆ์คฤหัสถ์ชาวลังกาที่มีชื่อในบัญชีนั้น ก็มาถึงวัดปรมานันทวิหาร พระอโนมมุนีได้จำหน่ายของหลวงถวายพระสงฆ์ชาวลังกา ลางองค์ได้ไตรแพร บาตร ย่ามบ้าง ลางองค์ได้แต่ไตรแพรเปล่าบ้าง รวมพระสงฆ์ลังกาที่ได้รับไทยทานของครั้งนั้นประมาณ ๓๐ รูป คฤหัสถ์มีชื่อในบัญชีได้รับพระราชทานผ้าปูมเขมร ๑ แพรหงอนไก่เพลาะ ๑ บ้าง ได้แต่ผ้าม่วงจีน แพรหงอนไก่แถบ ๑ บ้าง รวมคฤหัสถ์ลังกาได้รับพระราชทานของหลวงครั้งนั้นประมาณสัก ๒๐ คน พระอโนมมุนีจำหน่ายของหลวงตั้งแต่วันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ จนถึงณวันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำจึงเสร็จ แล้วพระอโนมมุนีจึงจัดให้มหาชื่น ๑ มหาหรุ่น ๑ คุมหนังสือคัมภีร์ต่างๆ และให้พระสิริสุมนช่วยพาไปส่งเจ้าของตามบัญชีเดิม ซึ่งพระสมุทรมุนียืมมาแต่ครั้งก่อน
ครั้นการส่งหนังสือ และจำหน่ายของหลวงที่เมืองคาลุเสร็จแล้ว ณวันอังคาร เดือน ๔ แรม ๗ ค่ำ[๑๕] พระอโนมมุนีและพระสงฆ์ทั้งปวง ชวนพระสิริสุมนไปหาโรตมละก้อกเจ้าเมืองที่ ๒ คำนับกันตามมเนียมแล้ว พระอโนมมุนีพูดกับโรตมละก้อก ว่าราชการที่เมืองคาลุก็สำเร็จแล้ว แต่พระสงฆ์ทั้งปวงนี้อยากจะขึ้นไปนมัสการพระทันตธาตุ ณเมืองสิงขัณฑ์ ถ้าเจ้าเมืองกลำบู[๑๖] และเจ้าเมืองสิงขัณฑ์รับรองแข็งแรงไม่ให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินสยามแล้วจึงจะขึ้นไป ถ้าไม่รับรองแล้วก็จะไม่ไป ต้องลาท่านกลับเข้ากรุงเทพมหานคร โรตมละก้อกตอบว่าจะต้องมีหนังสือถึงเจ้าเมืองกลำบู และเจ้าเมืองสิงขัณฑ์ก่อน ได้ความประการใดแล้วจึงจะให้ทราบต่อภายหลัง ขอให้พระอโนมมุนีรอท่าอยู่สัก ๓-๔ เวลา พูดกันเท่านั้นแล้ว พระอโนมมุนี พระสิริสุมนและพระสงฆ์ทั้งปวงก็ลาโรตมละก้อกกลับมาอยู่ที่วัดปรมานันทวิหาร แต่รอฟังข่าวอยู่ประมาณ ๓-๔ เวลาแล้วไม่เห็นโรตมละก้อกมาแจ้งความประการใดไม่ พระอโนมมุนีและพระสงฆ์ทั้งปวงปรึกษาพร้อมกันเห็นว่า ราชการที่เมืองกลำบูนั้น หนังสือคัมภีร์จะต้องส่งที่วัดอัมพรุทธรามแห่ง ๑ ควรจะต้องแบ่งกันไปเมืองกลำบูบ้าง และจะได้นมัสการพระกัลยาณีเจดีย์ด้วย ปรึกษาเห็นพร้อมกันแล้ว จึงให้พระมหาชื่น ๑ พระอันดับ ๒ รูปไปเมืองกลำบู พระกรุณารัตนขุนนางลังกาได้จัดรถมีคนลากให้พระมหาชื่นและพระสงฆ์รถ ๑ พระมหาชื่นและพระสงฆ์ได้ออกจากวัดปรมานันทวิหาร แต่ณวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๓ ค่ำ[๑๗] ไปด้วยรถมีคนลากโดยถนนหลังเมืองคาลุ ณ วันอังคาร เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ พระมหาชื่นและพระสงฆ์ทั้งปวงถึงวัดอัมพรุทธาราม ได้ส่งหนังสือและจำหน่ายของหลวงถวายพระสงฆ์ที่วัดอัมพรุทธารามเสร็จแล้ว ณวันพุธ เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ ออกจากวัดอัมพรุทธาราม เดินทางไปเมืองกลำบู ถึงวัดกัลยาณเจดีย์ ณวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ[๑๘] ปีฉลู ยังเป็นจัตวาศก นายนุชอาจารย์ซึ่งนำของหลวงไปบูชาพระทันตธาตุณเมืองสิงขัณฑ์นั้น กลับมาถึงวัดกัลยาณีเจดีย์พร้อมกันในเวลานั้นด้วย พระสงฆ์และนายนุชอาจารย์ได้นมัสการพระกัลยาณีเจดีย์ ณวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีฉลู ยังเป็นจัตวาศก กลับจากวัดกัลยาณีเจดีย์แขวงเมืองกลำบู ถึงวัดปรมานันทวิหารเมืองคาลุ ณวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ[๑๙]ปีฉลู ยังเป็นจัตวาศก
พระอโนมมุนี และพระสงฆ์ทั้งปวงปรึกษาพร้อมกันว่าราชการหลวงก็สำเร็จแล้ว ครั้นจะรอฟังข่าวเจ้าเมืองกลำบูและเจ้าเมืองสิงขัณฑ์ต่อไปจะป่วยการนัก ควรจะต้องรีบกลับเข้ากรุงเทพมหานคร จึงได้ไปลาพระสงฆนายกพระธีรานันท พระสิริสุมนเสร็จแล้ว พระสงฆ์และข้าราชการก็กลับไปลงกำปั่นสยามพิภพณวันศุกร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู ยังเป็นจัตวาศก เวลาเช้า ๓ โมง ครั้นพระอโนมมุนีพระสงฆ์ทั้งปวงถึงกำปั่นสยามพิภพแล้วประมาณสักครู่ ๑ พระสิริสุมนและพระกรุณารัตนตามลงมาถึงกำปั่นสยามพิภพ แจ้งความว่าเจ้าเมืองกลำบูและเจ้าเมืองสิงขัณฑ์ มีหนังสือมาถึงโรตมละก้อกแล้ว ถ้าพระอโนมมุนีและพระสงฆ์ทั้งปวงจะขึ้นไปนมัสการพระทันตธาตุ ณเมืองสิงขัณฑ์ จะรับรองแข็งแรง ไม่ให้เสียพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินสยามได้ พระอโนมมุนีพูดกับพระสิริสุมนและกรุณารัตนว่าราชการที่ออกมาก็สำเร็จแล้ว ซึ่งว่าจะขึ้นไปเมืองสิงขัณฑ์นั้นเป็นแต่พระสงฆ์ที่มาคิดกันเอง อยากจะไปดูพระทันตธาตุ ท่านมาแจ้งความว่าเจ้าเมืองกลำบูและเจ้าเมืองสิงขัณฑ์ จะรับรองให้แข็งแรง ขอบใจอยู่แล้ว แต่หนทางตั้งแต่ท่าเมืองคาลุจะไปถึงเมืองสิงขัณฑ์นั้นหลายวันนัก เวลานี้ก็จวนเทศกาลมรสุมอยู่แล้ว เรือพัดเข้าฝั่งจัด เรือกำปั่นสยามพิภพจะทอดอยู่ไม่ได้ ต้องลาท่านรีบกลับเข้าไปกรุงเทพมหานคร พูดเท่านั้นแล้วพระสิริสุมน พระกรุณารัตนก็ลากลับมา
[๑] ภายหลังเป็นนายบำรุงราชบทมาลย์ ฯ
[๒] ชื่อ ดิศ ภายหลังเป็นพระศักดาภิเดชวรฤทธิ ฯ
[๓] ภายหลังได้เป็นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ในรัชกาลที่ ๕ ฯ
[๔] ภายหลังได้เป็นพระยาปริยัติธรรมธาดา
[๕] ภายหลังได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สี) ฯ
[๖] อังคารที่ ๗ ธันวาคม ฯ
[๗] วันที่ ๗ มกราคม ฯ
[๘] วันที่ ๑๑ มกราคม ฯ
[๙] วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ฯ
[๑๐] วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ฯ
[๑๑] ที่เรียกว่าเมืองคาลุนี้ คือที่อังกฤษเรียกว่าคอลยัง เป็นเมืองท่าแห่งหนึ่งทุกวันนี้ พระมหาศีลรัตนะบอกว่าที่จริงไม่ใช่ภาษาลังกา เดิมที่นี้เป็นแต่ตำบลบ้านน้อยแห่งหนึ่ง อยู่ในภาคมาลัยประเทศ เมื่อโปรตุเกสแล่นเรือมาเมืองลังกาถึงที่ตำบลนั้นเวลาเช้ามืดขึ้นไปได้ยินเสียงไก่ขัน จึงเรียกว่าบ้านไก่ตามภาษาโปรตุเกสว่า Callo คัลโลเป็นเดิมมา-จากเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป ๓๕๐
[๑๒] วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ฯ
[๑๓] วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ฯ
[๑๔] วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ฯ
[๑๕] วันที่ ๑ มีนาคม ฯ
[๑๖] โกลัมโบ.
[๑๗] วันที่ ๗ มีนาคม ฯ
[๑๘] วันที่ ๑๒ มีนาคม ฯ
[๑๙] วันที่ ๑๗ มีนาคม ฯ