- คำนำ
- ๑. อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จจากวัดบวรนิเวศ
- ๒. กราบทูลอัญเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นเสวยราชย์
- ๓. ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชการเข้าเฝ้าให้สรวมเสื้อ
- ๔. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๕. ข้าราชการฝ่ายในถวายตัว
- ๖. เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค
- ๗. เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค
- ๘. พระราชพิธีบวรราชาภิเศก
- ๙. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนคร
- ๑๐. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๑๑. ตั้งพระราชาคณะ
- ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๓. เจ้าประเทศราชเข้ามาเฝ้า
- ๑๔. ตำนานเมืองน่าน
- ๑๕. ตำนานเมืองแพร่
- ๑๖. ทรงแก้สร้อยพระนาม องค์สมเด็จหริรักษรามา เจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๗. ทรงแต่งตั้งขุนนาง
- ๑๘. ขุดคลองคูพระนครชั้นนอก
- ๑๙. การเทศนากระจาดใหญ่
- ๒๐. ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวรที่สวรรคตแล้ว
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. ราชทูตไทยไปเมืองจีน
- ๒๓. ขุดคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างป้อม
- ๒๔. สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์
- ๒๕. เริ่มการศึกเชียงตุง
- ๒๖. บรรจุดวงพระชาตาพระนคร
- ๒๗. สมณทูตไทยไปลังกาทวีป
- ๒๘. งานพระศพสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี
- ๒๙. สมณทูตกลับจากลังกาทวีป
- ๓๐. ได้พระวิมลรัตนกริณี ช้างพังเผือกตรี
- ๓๑. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ประสูติเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๓๒. การทัพศึกเมืองเชียงตุง
- ๓๓. เรื่องเรือกะทงลอยพระประทีป
- ๓๔. สร้างพระเจดีย์และถวายพระนามพระประธานในวัดพระเชตุพน
- ๓๕. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสและกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์สิ้นพระชนม์
- ๓๖. สร้างสระปทุมวันและวัดปทุมวนาราม
- ๓๗. การทัพศึกเมืองเชียงตุง (ต่อ)
- ๓๘. เตรียมการต้อนรับเซอร์ยอนโบวริง
- ๓๙. การฉลองคลองคูพระนครชั้นนอก (คลองผดุงกรุงเกษม)
- ๔๐. สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์
- ๔๑. ได้พระวิสุทธรัตนกริณี ช้างพังเผือกโท
- ๔๒. เซอร์ยอนโบวริงเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๓. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย
- ๔๔. มิสเตอร์ฮาริปักเข้ามาแก้หนังสือสัญญา
- ๔๕. ทูตอเมริกันเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๔๖. การถวายสลากภัตรในวัดพระเชตุพน
- ๔๗. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาทำสัญญา ๓๒ ข้อ
- ๔๘. พม่าถือหนังสือเสนาบดีผู้ใหญ่เมืองพม่าเข้ามาถวายพระสังฆราช
- ๔๙. หนังสือเดินทางของพม่า
- ๕๐. ลิขิตสมณศาสน์ตอบหนังสือเสนาบดีพม่า
- ๕๑. ทูตฝรั่งเศสไปเมืองเขมรและเมืองญวน
- ๕๒. หนังสือองค์พระหริรักษ์ถึงพระเจ้านโปเลียนที่ ๓
- ๕๓. ราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ
- ๕๔. สร้างสวนอนันตอุทยาน
- ๕๕. ขุดคลองมหาสวัสดิ์
- ๕๖. เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันออก
- ๕๗. พระราชทานที่ให้ชาวต่างประเทศตั้งห้างและขุดคลองถนนตรง
- ๕๘. พระราชทานทรัพย์สร้างศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๕๙. หนังสือองญวนข้าหลวงเมืองไซ่ง่อนถึงเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม
- ๖๐. หนังสือตอบองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน
- ๖๑. หนังสือองญวนข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองไซ่ง่อน ตอบเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๖๒. ทูตเดนมาร์กเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๖๓. ราชทูตไทยกลับจากลอนดอน
- ๖๔. ทูตเดนมาร์กกลับ
- ๖๕. โปรดฯ ตั้งองค์พระนโรดมและองค์หริราชดะไนไปช่วยราชการเมืองเขมร
- ๖๖. ฝรั่งเศสรบกับญวน
- ๖๗. ดาวหางขึ้น
- ๖๘. พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย
- ๖๙. ทูตโปรตุเกศเข้ามาทำหนังสือสัญญา
- ๗๐. งานเฉลิมพระมหามนเทียรพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ๗๑. สร้างประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก
- ๗๒. เรื่องรักใคร่ระหว่างขุนสุวรรณกับเจ้าจอมช้อย
- ๗๓. พระราชทานเงินคนชราพิการ
- ๗๔. เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก
- ๗๕. กรมสมเด็จพระเดชาดิศรสิ้นพระชนม์
- ๗๖. เสด็จประพาสตลาดสำมุข
- ๗๗. โปรดฯ ให้รื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๗๘. ฝรั่งเศสรบกับญวน (ต่อ)
- ๗๙. งานพระศพกรมสมเด็จพระเดชาดิศร
- ๘๐. เกิดความไข้ที่กรุงเทพฯ
- ๘๑. ได้พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพลายเผือกโท
- ๘๒. โปรดเกล้าฯ ให้งดการรื้อปราสาทผไทตาพรหม
- ๘๓. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาศหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๘๔. ทูตฮอลันดาเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๘๕. คนสนิทของสุลต่านมะหมุดเข้ามาขอกำลังรบเมืองปาหัง
- ๘๖. องค์พระหริรักษ์ เจ้ากรุงกัมพูชา สุรคต
- ๘๗. สมโภชพระสมุทรเจดีย์
- ๘๘. ราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศ
- ๘๙. ใบบอกพระยาสระบุรีเรื่องคล้องได้ช้างพังเผือกโท
- ๙๐. เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
- ๙๑. ราชทูตกราบถวายบังคมลา
- ๙๒. สมโภชพระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย
- ๙๓. กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาและกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศรสิ้นพระชนม์
- ๙๔. สุลต่านมะหมุดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๙๕. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์สิ้นพระชนม์
- ๙๖. เรื่องเมืองเขมร
- ๙๗. ทูตปรุศเซียเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
- ๙๘. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๙๙. เรื่องเมืองเขมร (ต่อ)
- ๑๐๐. งานพระศพ กรมหลวงมหิศวรินทร์ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ และพระองค์เจ้านิลวรรณ
- ๑๐๑. ส่งองค์พระนโรดมไปครองเมืองเขมร
- ๑๐๒. ทูตปรุศเซียกราบถวายบังคมลา
- ๑๐๓. ทำเงินตราใช้แทนเบี้ยและหอย
- ๑๐๔. ตัดถนน ๓ สายและขุดคลอง
- ๑๐๕. สร้างสะพานข้ามคลอง
- ๑๐๖. งานพระศพกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์และพระองค์เจ้าสว่าง
- ๑๐๗. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์
- ๑๐๘. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๐๙. เจ้าเมืองเบตาเวียเข้ามาเปลี่ยนหนังสือสัญญาฮอลันดา
- ๑๑๐. งานพระศพสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์
- ๑๑๑. ราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๑๒. พระราชศาสน์ถึงเจ้ากรุงจีน
- ๑๑๓. ญวนทำสัญญาใช้เบี้ยปรับให้ฝรั่งเศส
- ๑๑๔. เรื่องสุลต่านมะหมุด
- ๑๑๕. สร้างถนนเจริญกรุงตอนใน
- ๑๑๖. กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธรสิ้นพระชนม์
- ๑๑๗. พระราชพิธีรับพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๑๘. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์
- ๑๑๙. การรับและสมโภชพระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพังสีประหลาด
- ๑๒๐. กรมพระพิทักษเทเวศรสิ้นพระชนม์
- ๑๒๑. งานโสกันต์
- ๑๒๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายเครื่องราชอิศริยยศ
- ๑๒๓. งานพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร
- ๑๒๔. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ สิ้นพระชนม์
- ๑๒๕. งานพระศพกรมพระพิทักษเทเวศร และพระองค์เจ้าใย
- ๑๒๖. เตรียมการสมโภชพระบรมอัฏฐิ
- ๑๒๗. เรื่องราชศาสน์เจ้ากรุงจีน
- ๑๒๘. เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ (ลองเรืออรรคราชวรเดช)
- ๑๒๙. องค์พระนโรดมบอกเรื่องทำหนังสือสัญญาระหว่างเขมรกับฝรั่งเศส
- ๑๓๐. สุลต่านมะหมุดหนีกลับ
- ๑๓๑. สร้างถนนบำรุงเมือง
- ๑๓๒. สร้างถนนเฟื่องนคร
- ๑๓๓. ฝรั่งเศสถวายรูปราชสีห์
- ๑๓๔. สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา เสด็จไปเที่ยวค้นดูช้างในแขวงเมืองนครนายก
- ๑๓๕. พระราชทานสุพรรณบัฏเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ๑๓๖. ญวนแต่งทูตไปกรุงปารีส
- ๑๓๗. สร้างพระบรมบรรพต
- ๑๓๘. สมโภชพระบรมอัฏฐิและพระอัฏฐิ
- ๑๓๙. งานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล
- ๑๔๐. งานพระศพพระองค์เจ้าขนิษฐน้อยนารี
- ๑๔๑. พระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยานิกรบดินทร์
- ๑๔๒. ตั้งผู้แทนทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนอังกฤษกับไทย
- ๑๔๓. ราชาภิเศกองค์พระนโรดมขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินกรุงกัมพูชา
- ๑๔๔. งานฉลองสพานและถนน
- ๑๔๕. คล้องได้ช้างเผือกเอก
- ๑๔๖. เปรสิเดนต์ส่งกระบี่เครื่องทองคำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๑๔๗. สุลต่านมะหมุดถึงแก่กรรม
- ๑๔๘. ช้างเผือกและช้างสำคัญในรัชชกาลที่ ๔
- ๑๔๙. น้ำไหลมาแต่เหนือมีสีแดง
- ๑๕๐. เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐
- ๑๕๑. การแบ่งเขตต์แดนประเทศสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๕๒. การฉลองศาลาที่เมืองร่างกุ้ง
- ๑๕๓. เรื่องค่านาคู่โค
- ๑๕๔. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และพระองค์เจ้ามัณยาภาธร
- ๑๕๕. เสด็จประพาสเมืองราชบุรีและกาญจนบุรี
- ๑๕๖. ตั้งผู้ปรึกษาทำหนังสือสัญญาเขตต์แดนเมืองเขมร
- ๑๕๗. โปรดฯ ให้ชำระเจ้าพนักงานฉ้อพระราชทรัพย์
- ๑๕๘. นายพลเรือโท ยอช กิง เข้ามากรุงเทพฯ
- ๑๕๙. พระยามนตรีสุริยวงศ์ออกไปเมืองนครฯ
- ๑๖๐. ทรงเปลี่ยนนามเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
- ๑๖๑. โสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๑๖๒. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
- ๑๖๓. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๓ พระองค์
- ๑๖๔. การปักเขตต์แดนสยามกับพม่าของอังกฤษ
- ๑๖๕. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระผนวชสามเณร
- ๑๖๖. เรื่องหนังสือสัญญาการเมืองเขมร
- ๑๖๗. พระราชทานเพลิงศพพระยามนตรีสุริยวงศ์และพระยาอภัยสงคราม
- ๑๖๘. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ถวายเทศนามหาชาติ
- ๑๖๙. เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระพุทธชินราชที่เมืองพิศณุโลก
- ๑๗๐. เรื่องปันเขตต์แดนทางประเทศพม่า
- ๑๗๒. ทำแผนที่อาณาเขตต์ทางหัวเมืองลำแม่น้ำโขง
- ๑๗๓. งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ๑๗๔. งานพระศพเจ้านาย
- ๑๗๕. ขุดคลองภาษีเจริญ
- ๑๗๖. ทำกะโจมไฟที่หลังสันดอน
- ๑๗๗. สร้างพระราชวังสราญรมย์
- ๑๗๘. มีละครทำขวัญพระบรมมหาราชวัง
- ๑๗๙. โสกันต์พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าหลานเธอ ๕ องค์
- ๑๘๐. โปรดเกล้าฯ ให้จำลองปราสาทที่นครวัด
- ๑๘๑. ฝรั่งเศสได้เมืองญวน ๓ เมือง
- ๑๘๒. พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถวายพระแสง
- ๑๘๓. กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสสิ้นพระชนม์
- ๑๘๔. ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศ
- ๑๘๕. ทูตฝรั่งเศสเข้ามาประทับตราหนังสือสัญญา
- ๑๘๖. ทูตโปรตุเกศเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๑๘๗. โสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ ๓ องค์
- ๑๘๘. ราชทูตโปรตุเกศกราบถวายบังคมลากลับ
- ๑๘๙. เปลี่ยนหนังสือสัญญากับฝรั่งเศส
- ๑๙๐. ฉลองวัดปทุมวนาราม
- ๑๙๑. เรื่องปักเขตต์แดนทางเมืองเขมร
- ๑๙๒. อักษรศาสน์ไว้ส์รอยอินเดีย
- ๑๙๓. งานพระศพกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๑๙๔. การฉลองวัดหงษ์และโรงธรรมวัดกัลยาณมิตร
- ๑๙๕. ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นกรมขุนพินิตประชานา
- ๑๙๖. อสุนีบาตตกหลายแห่ง
- ๑๙๗. เปิดคลองดำเนินสดวก
- ๑๙๘. ขุดคลองบางลี่และแก้คลองลัดยี่สานเมืองสมุทรสงคราม
- ๑๙๙. ขุดคลองที่ลัดขุนเมืองสมุทรสาคร
- ๒๐๐. ไวซ์รอยอินเดียทำแผนที่เขตต์แดนส่งมาประทับตรา
- ๒๐๑. สถานที่ซึ่งทรงก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงในรัชชกาลที่ ๔
- ๒๐๒. การพระราชกุศล
- ๒๐๓. การภาษีอากร
- ๒๐๔. ขุดได้พระพุทธรูปนิรันตราย
- ๒๐๕. สั่งปืนเข้ามาใช้ในราชการ
- ๒๐๖. ต่อเรือพระที่นั่งและเรือกลไฟ
- ๒๐๗. เมืองที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๔
- ๒๐๘. ทรงแปลงและตั้งนามขุนนาง
- ๒๐๙. ทรงตั้งนามราชทูตและกงสุล
- ๒๑๐. ทรงตั้งและแปลงนามบรรดาศักดิ์ขุนนาง
- ๒๑๑. ทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการ
- ๒๑๒. ทรงตั้งและแปลงนามพระราชาคณะฐานานุกรม
- ๒๑๓. ทรงตั้งและแปลงนามวัดต่างๆ
- ๒๑๔. เสนาบดีเข้าชื่อกันทำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวาย เรื่องราษฎรกล่าวว่า พระบาง พระพุทธรูปทำให้ฝนแล้ง
- ๒๑๕. พระราชทานพระบางคืนไปเมืองหลวงพระบาง
- ๒๑๖. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามในกรุง
- ๒๑๗. สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามหัวเมือง
- ๒๑๘. สร้างพระนครคีรี ที่เมืองเพ็ชรบุรี
- ๒๑๙. กระแสพระราชดำริก่อนปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๐. ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๑. กล่าวด้วยปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์
- ๒๒๒. สร้างพระราชวังที่นครปฐม
- ๒๒๓. ขุดคลองเจดีย์บูชา
- ๒๒๔. ทรงปฏิสังขรณ์วัดเฉลิมพระเกียรติ
- ๒๒๕. ปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามและสร้างตำหนักที่บางปะอิน
- ๒๒๖. ทรงบุรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทและวังท้ายพิกุล
- ๒๒๗. ทรงสร้างพระนารายน์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี
- ๒๒๘. กงสุลฝรั่งเศสเข้ามาเปลี่ยนตัว
- ๒๒๙. เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ๒๓๐. ลงพระราชอาชญาพวกมหาดเล็กเล่นไพ่
- ๒๓๑. ทำทัณฑกรรมโหรและท้าวสมศักดิ์ท้าวโสภา
- ๒๓๒. สมโภชพระปฏิมากรแก้วมรกต
- ๒๓๓. ทรงพระประชวร
- ๒๓๔. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา
- ๒๓๕. ตั้งกองล้อมวง
- ๒๓๖. ประชุมหมอหลวงถวายพระโอสถ
- ๒๓๗. กระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ
- ๒๓๘. แปลคำที่ทรงคาถาขอขมาพระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์
- ๒๓๙. ทรงขอขมาพระบรมวงศานุวงศ์และท่านเสนาบดี
- ๒๔๐. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
- ๒๔๑. สรงน้ำพระบรมศพ
๓๔. สร้างพระเจดีย์และถวายพระนามพระประธานในวัดพระเชตุพน
ครั้นมาถึงเดือน ๑๒ แรม ๑๓ ค่ำ[๑] แรม ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑ ขึ้น ๑ ค่ำ จะได้ตั้งพิธีสวดพระพุทธมนต์ก่อพระฤกษ์เจดีย์ในวัดพระเชตุพน ทรงพระราชดำริไว้แต่เดิมว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาพระเจดีย์ขึ้นไว้องค์ ๑ สูง ๑ เส้น ๒ ศอก ครั้นมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้สร้างอุททิศถวายสมเด็จพระบรมชนกาธิราชเจ้าขึ้นข้างเหนือองค์ ๑ สร้างเป็นส่วนของพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวองค์ ๑ อยู่ข้างใต้ พระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์นี้สูงเท่ากัน ก็ในแผ่นดินปัจจุบันนี้ ทรงพระราชศรัทธาจะสร้างขึ้นอีกพระองค์ ๑ แต่โปรดอย่างพระเจดีย์วัดสวนหลวงกรุงเก่า จึงให้ช่างขึ้นไปถ่ายอย่างนั้นมา จึงได้จับการทำรากพระเจดีย์ ก่อต่อองค์กลางออกมาข้างตะวันตก แล้วให้รื้อพระระเบียงเก่าเสีย ทำพระระเบียงล้อมเข้าไว้ใหม่ เมื่อจะก่อพระฤกษ์ให้แผ่พระราชกุศลพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ให้พร้อมใจกันทำทานแก่คนชราพิการยาจกวณิพพกทั้งหลายซึ่งอยู่ในกรุงและนอกกรุง มีจำนวนคน ๓,๕๖๒ คน บริจาคเงินพระคลังเดิม ๒๕ ชั่ง เงินในกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ๒๔ ชั่ง ๑ ตำลึง พระคลังข้างใน ๔๐ ชั่ง รวมเงิน ๘๙ ชั่ง ๑ ตำลึง พระราชทานคนละ๑ ตำลึง แต่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการที่ต้องบอกบุญรับไปเลี้ยงคนละ ๒๐ บ้าง ๓๐ บ้าง ๔๐ บ้างตามกำลังมากและน้อย มีของไทยทานต่างๆ ประกวดกัน คิดดูคนหนึ่งจะได้ไปทั้งเงินหลวง และสิ่งของประมาณ ๓ บาทบ้าง ๔ บาทบ้าง
ครั้นให้ทานเสร็จแล้วก็เสด็จไปก่อพระฤกษ์เป็นปฐม เมื่อตั้งสวด พระสงฆ์ ๓๐๐ รูป สวดตั้งแต่เดือน ๑๒ แรม ๑๔ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑ ขึ้น ๑ ค่ำ[๒] ฝนตกหนักทั้ง ๓ วัน น้ำในวัดพระเชตุพนลึกเพียงเข่า ครั้นขึ้น ๒ ค่ำได้ก่อพระฤกษ์ฝนก็หยุด และพระเจดีย์องค์ใหม่นี้ ทรงพระราชดำริว่า พระเจดีย์องค์เหนือประดับด้วยกระเบื้องขาว องค์กลางประดับด้วยกระเบื้องเขียว องค์ข้างใต้ประดับด้วยกระเบื้องเหลือง องค์ในแผ่นดินนี้จะประดับด้วยกระเบื้องสีขาบ
ครั้นการก่อพระฤกษ์แล้ว ก็ถวายพระนามพระพุทธรูปพิหารทิศทั้ง ๔ เดิมยังไม่มีพระนาม กับพระประธานเก่าซึ่งเชิญเข้ามาประดิษฐานไว้ในการเปรียญ ถวายพระนามว่า พระพุทธศาสดามหากรุณาธิคุณ สุนทรธรรมทาน บุราณสุคตบพิตร พระพิหารทิศตะวันออกข้างในถวายพระนามว่า พระพุทธโลกนารถ ราชมหาสมมติวงศ์ องค์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร ห้องนอกถวายพระนามว่า พระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ์ อัครพฤกษโพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร พิหารพระปาลิไลยถวายพระนามว่า พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุตติญาณบพิตร พิหารพระนาคปรกถวายพระนามว่า พระพุทธชินสีหมุนีนาถ อุรคอาสนบัลลังก์ อุทธังคทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร พิหารเทศนาธรรมจักรถวายพระนามว่า พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร และพระพุทธไสยาสน์ใหญ่ในพระวิหาร แต่ก่อนพระรัศมีลอยตัวอยู่ ครั้นกาลนานมาพระรัศมีถ่วงหนักลง ขัดเอาอิฐปูนที่พระจุฬาธาตุหักทำลายลงมา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปฎิสังขรณ์เสียใหม่ ต่อพระรัศมีให้ยาวออกไปจนถึงผนัง พระรัศมีได้อาศัยผนังอยู่ได้ก็มั่นคงดีอยู่ แต่พระนามนั้นทรงไว้แล้วยังมิได้ถวายค้างอยู่
อนึ่ง พระเจดีย์ใหญ่สี่พระองค์เป็นของสำหรับสี่แผ่นดินและในแผ่นดินต่อๆ ไป ภายหน้าจะต้องสร้างต่อไปนั้นหามิได้ ไม่เป็นธรรมเนียม เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ แผ่นดินนั้น ท่านได้ทรงเห็นพระ ๔ พระองค์ในเวลาพระชนม์ของท่าน ก็กาลต่อไปภายหน้า พระเจ้าอยู่หัวซึ่งได้ทรงเห็นทั้ง ๔ พระองค์อย่างมีแล้ว จึงไม่เป็นธรรมเนียม