- คำนำ (พ.ศ. ๒๕๔๔)
- คำนำ (พ.ศ. ๒๕๒๙)
- คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งแรก
- ประวัติสุนทรภู่
- บันทึกเรื่องผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง
- อธิบาย ว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่
- ปกิรณะกะประวัติของสุนทรภู่
- ตอนที่ ๑ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา
- ตอนที่ ๒ นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๓ ศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๔ ศรีสุวรรณพบนางเกษรา
- ตอนที่ ๕ ศรีสุวรรณเกี้ยวนางเกษรา
- ตอนที่ ๖ ศรีสุวรรณรบท้าวอุเทน
- ตอนที่ ๗ ศรีสุวรรณพยาบาลนางเกษรา
- ตอนที่ ๘ อภิเษกศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๙ พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
- ตอนที่ ๑๐ พระอภัยได้นางเงือก
- ตอนที่ ๑๑ นางสุวรรณมาลีไปเที่ยวทะเล
- ตอนที่ ๑๒ พระอภัยมณีพบนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๑๓ พระอภัยมณีโดยสารเรือนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๑๔ พระอภัยมณีเรือแตก
- ตอนที่ ๑๕ สินสมุทรโดยสารเรือโจรสุหรั่ง
- ตอนที่ ๑๖ สินสมุทรพบศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๑๗ ศรีสุวรรณกับสินสมุทรตามพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๑๘ พระอภัยมณีโดยสารเรืออุศเรน
- ตอนที่ ๑๙ พระอภัยมณีพบศรีสุวรรณกับสินสมุทร
- ตอนที่ ๒๐ สินสมุทรรบกับอุศเรน
- ตอนที่ ๒๑ พระอภัยมณีเกี้ยวนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๒๒ พระอภัยมณีครองเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๓ พระอภัยมณีอภิเษกกับนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๒๔ กำเนิดสุดสาคร
- ตอนที่ ๒๕ สุดสาครเข้าเมืองการะเวก
- ตอนที่ ๒๖ อุศเรนตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๗ เจ้าละมานตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๘ สุดสาครตามพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๒๙ ศึกเก้าทัพตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๓๐ พระอภัยมณีตีเมืองใหม่
- ตอนที่ ๓๑ พระอภัยมณีพบนางละเวง
- ตอนที่ ๓๒ ศรีสุวรรณอาสาตีด่านดงตาล
- ตอนที่ ๓๓ ย่องตอดสะกดทัพ
- ตอนที่ ๓๔ นางละเวงคิดหย่าทัพ
- ตอนที่ ๓๕ พระอภัยติดท้ายรถ
- ตอนที่ ๓๖ พระอภัยมณีทำผูกคอตายได้นางละเวง
- ตอนที่ ๓๗ ศรีสุวรรณกับสินสมุทรถูกเสน่ห์
- ตอนที่ ๓๘ นางสุวรรณมาลีข้ามไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๓๙ นางสุวรรณมาลีมีสารตัดพ้อ
- ตอนที่ ๔๐ สุดสาครถูกเสน่ห์
- ตอนที่ ๔๑ นางสุวรรณมาลีหึงหน้าป้อม
- ตอนที่ ๔๒ หัสไชยแก้เสน่ห์
- ตอนที่ ๔๓ นางเสาวคนธ์ยิงแก้ม
- ตอนที่ ๔๔ กษัตริย์สามัคคี
- ตอนที่ ๔๕ นางเสาวคนธ์ขุดโคตรเพชร
- ตอนที่ ๔๖ พระอภัยมณีกลับเมือง
- ตอนที่ ๔๗ อภิเษกสินสมุทร
- ตอนที่ ๔๘ นางเสาวคนธ์หนี
- ตอนที่ ๔๙ นางเสาวคนธ์แปลงเป็นฤๅษี
- ตอนที่ ๕๐ นางเสาวคนธ์ได้เมืองวาหุโลม
- ตอนที่ ๕๑ สุดสาครตามนางเสาวคนธ์
- ตอนที่ ๕๒ พระอภัยมณีทำศพท้าวสุทัศน์
- ตอนที่ ๕๓ มังคลาครองเมืองลังกา
- ตอนที่ ๕๔ มังคลาชิงโคตรเพชร
- ตอนที่ ๕๕ มังคลาจับนางสุวรรณมาลีและท้าวทศวงศ์
- ตอนที่ ๕๖ หัสไชยตีด่านเมืองลังกา
- ตอนที่ ๕๗ สุดสาครรบมังคลา
- ตอนที่ ๕๘ นางละเวงวัณฬาช่วยนางสุวรรณมาลีแลท้าวทศวงศ์
- ตอนที่ ๕๙ พระอภัยมณีศรีสุวรรณไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๐ พระอภัยมณีรบกับมังคลา
- ตอนที่ ๖๑ สังฆราชบาทหลวงเผาเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๒ พระอภัยเข้าเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๓ อภิเษกหัสไชย
- ตอนที่ ๖๔ พระอภัยมณีออกบวช
- ตอนที่ ๖๕ พระบาทหลวงพาพระมังคลาหนีทัพไปเมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๖๖ วลายุดาครองเมืองสินชัย
- ตอนที่ ๖๗ วายุพัฒน์เป็นอุปราชเมืองเซ็น
- ตอนที่ ๖๘ หัสกันครองเมืองสุลาลัย
- ตอนที่ ๖๙ พระอภัยมณีเยี่ยมศพนางมณฑา
- ตอนที่ ๗๐ พระมังคลายกทัพเรือมาตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๗๑ นางรำภา นางยุพาผกาและนางสุลาลีวันออกรบ
- ตอนที่ ๗๒ สุดสาคร สินสมุทรรบกับพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๓ วลายุดา วายุพัฒน์และหัสกันเข้าเฝ้าศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๗๔ ทัพพันธมิตรเมืองกำพลเพชรยกมาช่วยพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๕ พระมังคลาล่าทัพไปถึงเกาะกาหวี
- ตอนที่ ๗๖ ทหารเมืองกำพลเพชรตามนางกฤษณาพบพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๗ พระมังคลาได้นางดวงแขลูกสาวเจ้าเมืองสำปันหนา
- ตอนที่ ๗๘ อภิเษกพระกฤษณากับนางเทพินไปครองเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๗๙ วลายุดา วายุพัฒน์และหัสกันลามารดากลับไปเมือง
- ตอนที่ ๘๐ พระมังคลายกทัพเมืองสำปันหนาไปตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๘๑ ศรีสุวรรณออกรับศึกพระมังคลา
- ตอนที่ ๘๒ โจรสลัดคุมกำปั่นปล้นเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๘๓ ศรีสุวรรณมาช่วยเมืองรมจักรรบโจรสลัด แล้วอภิเษกตรีพลำกับอัมพวันและเทวัญกับนิลกัณฐี
- ตอนที่ ๘๔ พระมังคลากับพระบาทหลวงแตกทัพไปเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆ
- ตอนที่ ๘๕ พระมังคลาไปถึงเมืองโรมพัฒน์ได้นางบุษบง
- ตอนที่ ๘๖ พระบาทหลวงกับพระมังคลายกทัพเรือเมืองโรมพัฒน์ไปตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๘๗ สุดสาครทราบข่าวศึก
- ตอนที่ ๘๘ พระมังคลากับพระบาทหลวงตีได้เมืองด่านลังกา
- ตอนที่ ๘๙ ทัพสุดสาครตีทัพพระมังคลาพ่าย จนเทวสินธุ์ตามไปถึงเมืองสำปันหนา
- ตอนที่ ๙๐ ท้าวรายากับพระเทวสินธุ์ไปถึงเมืองกำพลเพชร แล้วยกทัพไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๙๑ หกกษัตริย์ยกทัพมาช่วยเมืองลังกาทำศึก
- ตอนที่ ๙๒ พระบาทหลวงรบศึกหกกษัตริย์จนลมแดงซัดเรือรบพลัดกัน
- ตอนที่ ๙๓ สุดสาครตีเมืองด่านแตก
- ตอนที่ ๙๔ พระเทวสินธุ์พบพระมังคลาจนเจ็ดกษัตริย์เตรียมรบ
- ตอนที่ ๙๕ พระมังคลากับพระบาทหลวงยกทัพเข้าตีเมืองปากน้ำ
- ตอนที่ ๙๖ ทัพเจ็ดกษัตริย์ตีทัพพระบาทหลวงแตก
- ตอนที่ ๙๗ พระบาทหลวงเตรียมตีเมืองปากน้ำคืน
- ตอนที่ ๙๘ พระบาทหลวงขับท้าวรายากับนางบุษบงไปจากกองทัพ จนพระมังคลาหนี
- ตอนที่ ๙๙ พระบาทหลวงยกเข้าตีเมืองปากน้ำ
- ตอนที่ ๑๐๐ สินสมุทรตีทัพพระบาทหลวงจนถูกยาเบื่อ
- ตอนที่ ๑๐๑ พระอภัยมณีเยือนลังกา
- ตอนที่ ๑๐๒ พระบาทหลวงปล่อยโคมไฟไปตกเมืองลังกา จนถึงพระอภัยมณีห้ามทัพ
- ตอนที่ ๑๐๓ หกกษัตริย์ตีโต้ทัพพระบาทหลวงล่าไปเมืองปตาหวี
- ตอนที่ ๑๐๔ พระอภัยมณีกลับไปเขาสิงคุตร
- ตอนที่ ๑๐๕ อภิเษกหัสกันกับนางวันชายา
- ตอนที่ ๑๐๖ พระอภัยมณีไปเยี่ยมนางเงือกที่เกาะแก้วพิสดาร
- ตอนที่ ๑๐๗ พระบาทหลวงเข้าเมืองปตาหวีแล้วตามไปพบพระมังคลาที่เมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๑๐๘ พระมังคลาและนางบุษบงออกมารับพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๐๙ ท้าวโกสัยบอกพระมังคลาให้รู้อุบายพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๐ พระบาทหลวงตีด่านเมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๑๑๑ พระมังคลามีสารง้อศรีสุวรรณสุดสาครและสินสมุทร ให้มาช่วยรบพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๒ ทัพพระมังคลารบกับทัพพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๓ ทัพศรีสุวรรณกับสี่กษัตริย์ตีกระหนาบทัพพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๔ ทัพเรือพระบาทหลวงเข้าเมืองกาศึก
- ตอนที่ ๑๑๕ ศรีสุวรรณกับพวกพาพระมังคลากลับเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๑๖ ท้าวกุลามาลีได้นางดวงประไพลูกสาวท้าวสินชัยเจ้าเมืองกาศึก
- ตอนที่ ๑๑๗ พระมังคลาไปงานโสกันต์ระเด่นกินเรศ
- ตอนที่ ๑๑๘ เจ้าเมืองปตาหวีพานางดวงประไพกลับเมือง
- ตอนที่ ๑๑๙ สุดสาครไปเยี่ยมนางเงือกและพระฤๅษีที่เกาะแก้วพิสดาร
- ตอนที่ ๑๒๐ สุดสาครกลับเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๒๑ ศรีสุวรรณให้นรินทร์รัตน์ไปครองเมืองรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๒ อภิเษกนรินทร์รัตน์ครองเมืองรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๓ เจ็ดกษัตริย์ยกทัพมาตีเมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๔ นรินทร์รัตน์ขอราเมศมาเป็นอุปราชกรุงรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๕ นรินทร์รัตน์กับราเมศมาช่วยเมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๖ เจ็ดกษัตริย์ตายสี่หนีสาม
- ตอนที่ ๑๒๗ นรินทร์รัตน์หลงนางเกศพัฒน์เมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๘ อภิเษกพระราเมศกับนางดวงประภา
- ตอนที่ ๑๒๙ ภัทวงศ์ไปไหว้เทวรูปจนพบนางเกสรสุมาลัย
- ตอนที่ ๑๓๐ เจ้าเมืองวายุภักษ์ขอนางเกสรสุมาลัยให้ภัทวงศ์
- ตอนที่ ๑๓๑ พระสังฆราชบาทหลวงยกทัพมาตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๓๒ ตัดหางสุพรรณมัจฉาแล้วสถาปนาเป็นจันทวดีพันปีหลวง
ตอนที่ ๙๖ ทัพเจ็ดกษัตริย์ตีทัพพระบาทหลวงแตก
๏ จะกล่าวฝ่ายเจ็ดองค์พงศ์กษัตริย์ | ให้ยกตัดทางมาไม่ฝ่าฝืน |
แล้วรีบรัดลัดทางมากลางคืน | เสียงครึกครื้นโยธาพลากร |
บาทหลวงให้ยกสกัดเข้าตัดหลัง | พร้อมสะพรั่งกองทัพสลับสลอน |
เข้ารบรับจับกุมตะลุมบอน | บ้างฟันฟอนด้วยอาวุธยุทธนา |
ยิงปืนตับคาบหินหม้อดินรบ | เข้าสมทบโลดแล่นดูแน่นหนา |
พวกทัพไทยทำเป็นหนีทีระอา | บาทหลวงว่าได้ทีตีประดัง |
ทุกหมู่หมวดตรวจไพร่ใส่กระหนาบ | แกชักดาบชุลมุนคอยหนุนหลัง |
ไล่ตลบทบมาดาประตัง | จนกระทั่งทัพกษัตริย์ขัตติยา ฯ |
๏ ฝ่ายพวกไทยได้ทีให้ตีฆ้อง | แล้วโห่ร้องเรียกในไพรพฤกษา |
ที่ซุ่มคอยฟังกันเหมือนสัญญา | รีบออกมาจากสุมทุมที่ซุ่มพล |
ทั้งสองข้างทางสกัดเข้าตัดหลัง | ปืนประดังยิงมาดั่งห่าฝน |
พวกทัพหน้ากล้าหาญการประจญ | พลางไล่พลวกหลังประดังตี |
เข้าโอบอ้อมพร้อมพรั่งประดังหนุน | ชุลมุนล้อมไว้มิให้หนี |
บาทหลวงเห็นทัพอ้อมออกล้อมตี | จะหลีกหนีช่องไหนไม่ได้การ |
ฟังเสียงปืนครื้นครั่นควันตลบ | พลรบเรี่ยวแรงกำแหงหาญ |
จะคอยทัพกลับไปไม่ได้การ | จะแหกด่านไปข้างเรือก็เหลือทน |
ดูกองทัพนับแสนแน่นอเนก | ราวกับเมฆมืดฟ้าเวหาหน |
โอ้ครั้งนี้เห็นจะยับถึงอับจน | จะผ่อนปรนคิดอ่านสถานใด |
แกเรียกพระมังคลาสานุศิษย์ | เองจะคิดตรองการสถานไหน |
ทั้งสองท้าวพ่อตาเร่งว่าไป | แต่พอให้พ้นตายวายชีวา |
ท้าวโกสัยรายานั่งหน้าจ๋อย | ลงง่วงหงอยแทบจะดิ้นสิ้นสังขาร์ |
จึ่งว่าสุดแต่เจ้าคุณมีบุญญา | จะบัญชาอย่างไรใจเจ้าคุณ |
สุดแต่พ้นอาญาประจามิตร | เอาชีวิตพวกบุตรช่วยอุดหนุน |
ขอปัญญาฝ่าท้าวเจ้าประคุณ | เดชะบุญจะได้รอดตลอดไป |
บาทหลวงพูดปากสั่นอยู่งันงก | กูจะยกฝ่าเท้าก้าวไม่ไหว |
เหวยอีตาเจ้ากรรมทำกระไร | จึ่งจะไปพ้นหมู่ศัตรูปอง |
ฟังสำเนียงเสียงพหลพลรบ | ทั้งไต้คบแจจันผันผยอง |
จะคิดหลบหลีกไปดั่งใจปอง | เที่ยวหาช่องแห่งไรก็ไม่มี ฯ |
๏ ฝ่ายพระองค์ผู้ดำรงรมจักร | สั่งให้หักหาญศึกอย่านึกหนี |
จงเร่งเข้าหักโหมกระโจมตี | จับไพรีเอาให้ได้ดังใจจง |
ทหารหอกกลอกกลับเข้ารับรบ | ตีตลบแตกกระจุยเป็นผุยผง |
พวกกองซุ่มมรรคาชายป่าพง | ออกตีวงพร้อมกันประจัญบาน |
ตะโกนก้องร้องแซ่จับแม่ทัพ | ตามบังคับเร่งร้นพลทหาร |
อาวุธสั้นฟันฝ่าเป็นหน้ากระดาน | อลหม่านวุ่นวิ่งเป็นสิงคลี |
ฝรั่งรับทัพไทยไล่พิฆาต | ระดะดาดเต็มประดาต้องล่าหนี |
พวกทัพไทยไล่โหมกระโจมตี | แล้วร้องชี้บอกกันสนั่นดัง |
ว่านั่นแน่แม่ทัพมันขับรถ | จับให้หมดแต่บรรดาทั้งหน้าหลัง |
ใส่เสื้อสีตากุ้งดูรุงรัง | บาทหลวงนั่งตกใจไม่ได้การ |
ลงจากรถเล็ดลอดพลางถอดเสื้อ | วิ่งจนเหงื่อแตกด้นปนทหาร |
แล้วถอดหมวกทิ้งพลันมิทันนาน | พวกทหารเก็บได้ไล่กระพือ |
ท้าวโกสัยมังคลารายาแขก | พลางวิ่งแหกริมตลิ่งแล้ววิ่งตื๋อ |
กับบาทหลวงวิ่งพลางร้องครางฮือ | แตกกระพือพลัดพรายกระจายไป |
ที่เหลือตายหลายหลากมากนักหนา | จะพรรณานาก็มิอาจจะหวาดไหว |
ที่หนีลอดรอดตายที่หายไป | ที่พวกไทยจับมัดไปอัดแอ |
บ้างเก็บได้รถาทั้งผ้าเสื้อ | ก็ล้นเหลือทิ้งรายชายกระแส |
เครื่องอาวุธธงเทียวไม่เหลียวแล | เที่ยววิ่งแซ่ชอกซอนสัญจรไป |
ทั้งสองเท้าเจ้าพาราชวาฉวี | กับเสนีไพร่พลทนไม่ไหว |
หนีกระจัดพลัดพรายรายกันไป | เข้าพงไพรซอกซอนตามดอนดง |
บาทหลวงกับมังคลาพากันวิ่ง | เข้าแอบอิงเขาไม้ไพรระหง |
พอพบกับเสนาในป่าดง | พากันหลงไม่รู้แห่งตำแหน่งทาง |
ครั้นพบปะเจ้านายค่อยคลายร้อน | พากันจรเดินมุ่งพอรุ่งสาง |
บาทหลวงแกเคยอยู่รู้หนทาง | พาไปข้างเขาเขินเนินคิรี |
แล้วลัดแลงแฝงเงาเข้าไปได้ | ถึงที่ในแถวทางกลางวิถี |
พอถึงเขาเจ้าประจันเข้าทันที | เข้าไปที่ตึกใหญ่ทั้งไพร่นาย ฯ |
๏ ฝ่ายพระหน่อเทวสินธุ์นรินทร์รัตน์ | สามกษัตริย์จรจรัลรีบผันผาย |
มาถึงพร้อมแต่บรรดาเสนานาย | พลนิกายย่อยยับอัปรา |
ข้าวโกสัยไพร่พลก็ป่นปี้ | ไม่เป็นที่ยับยั้งเป็นฝั่งฝา |
เหลียวไปดูพวกท้าวเจ้าชวา | ก็อัปราเหมือนกันเป็นพรรค์เดียว |
แลดูหน้าสังฆราชก็ฝาดเฝื่อน | ละม้ายเหมือนลิงป่าทั้งหน้าเขียว |
ไม่พูดจาแต่สักสิ่งจริงจริงเจียว | ลงนั่งเคี้ยวขี้ฟันสั่นระรัว |
แกเสียใจหลายอย่างครางกระหึม | ให้เศร้าซึมป่วนปั่นทั้งคันหัว |
เหลือความคิดอิดออดลงทอดตัว | เปรียบเหมือนวัวเสือทับอัปรา |
แต่คิดการมาแต่หลังไม่อย่างนี้ | มาป่นปี้แทบชีวังจะสังขาร์ |
ไม่รอดชั่วตัวก็กลับอัปรา | คิดก็น่าตีหัวของตัวเอง |
พระเยซูผู้เป็นเจ้าของเราเอ๋ย | ช่างเฉยเมยให้มันรุมกันคุมเหง |
นี่ศาสนาของตัวมากลัวเกรง | มันข่มเหงแทบจะตายวายชีวง |
ข้าพเจ้าเล่าอุตส่าห์มาเหนื่อยยาก | แสนลำบากแทบชีวามาผุยผง |
หมายจะเอาเมืองคืนให้ยืนยง | จะได้ทรงศาสนาให้ถาวร |
แกนั่งบ่นพึมพำทำหนังสือ | แล้วเขียนชื่อแขวนคำนำอักษร |
เป็นคำบนสนธยายดั่งให้พร | ทั้งอ้อนวอนพระวิญญาณเป็นการดี ฯ |
๏ จะกล่าวฝ่ายนายทัพกลับเข้าด่าน | พร้อมทหารเข้าไปเฝ้าเจ้ากรุงศรี |
ถวายเครื่องเก็บมาบรรดามี | หอกกระบี่รถฝรั่งโล่ดั้งปืน |
ทั้งเสื้อผ้าสังฆราชชาติอังกฤษ | ผ้าตะบิดแขกชวาสี่ห้าผืน |
พระตรัสปรึกษาไปจะให้คืน | ทั้งหอกปืนขนไปให้กับมัน |
แต่บรรดาลูกทัพที่จับได้ | คืนไปให้มันเสียก่อนคิดผ่อนผัน |
ดูปัญญามันจะขึงคิคดึงดัน | หรือจะหันเหกลับมารับรอง |
แล้วตรัสสั่งขุนเสมียนให้เขียนสาร | กับทหารผู้คนให้ขนของ |
จัดขุนนางหมื่นขุนทูลละออง | ให้คุมของไปที่เขาเจ้าประจัน |
เองเอาไปให้พระมังคลาราช | กับตาบาทหลวงไปรีบผายผัน |
พระสั่งเสร็จแล้วเสด็จจรจรัล | มาพร้อมกันทั้งพระวงศ์พงศ์ประยูร |
อีกเสนาข้าทูลละอองบาท | ปรึกษาราชการในมไหสูรย์ |
อันสิงหลธานีบรีบูรณ์ | เป็นเค้ามูลของฝรั่งตั้งมานาน |
เพราะอีตาสังฆราชพระบาทหลวง | มันจาบจ้วงเฉโกด้วยโวหาร |
คิดถ่ายเทเล่ห์กลอ้ายคนพาล | จนลูกหลานตกยากลำบากกาย |
เราคิดว่าถ้าหย่อนมาอ่อนน้อม | ก็จะยอมให้ปันเหมือนมั่นหมาย |
อยู่ด้วยกันพี่น้องสองสามชาย | อย่าวุ่นวายกันไปทำไมมี |
มันก็เกิดมาในเครือเป็นเชื้อไข | ไปตกไร้อัปลักษณ์เสียศักดิ์ศรี |
ถึงมันยกกันมาตั้งราวี | ก็ป่นปี้มาแต่หลังทุกครั้งครา |
ถึงจับได้จะประหารผลาญชีวิต | ก็ยังคิดพูนเทวษถึงเชษฐา |
ทั้งโฉมยงองค์ฤๅษีพี่วัณฬา | จะเข่นฆ่ามันไม่ได้ดั่งใจปอง ฯ |
๏ ฝ่ายพระศรีสุวรรณวงศ์ทรงดำริ | เธอตรองตริตราไปพระทัยหมอง |
พวกเสนาแต่บรรดาทูลละออง | ก็ปรองดองทั้งพระวงศ์พงศ์ประยูร ฯ |
๏ ป่างพระองค์ทรงภพจบจังหวัด | จะคิดตัดศึกใหญ่ในไอศูรย์ |
บรรดาพวกพงศ์เผ่าเหล่าประยูร | ก็กราบทูลแล้วแต่องค์พระทรงธรรม์ ฯ |
๏ ฝ่ายพระสุดสาครบวรนาถ | ทูลพระบาทจอมวังนรังสรรค์ |
มิใช่อยากได้นิเวศน์ขอบเขตคัน | สิงหลนั้นใช่จะปองไม่ต้องการ |
พระชนนีให้บำรุงกรุงประเทศ | มอบนิเวศน์ธานินทร์ทั้งถิ่นฐาน |
ใช่จะอยากครอบครองไม่ต้องการ | อันถิ่นฐานไม่นิยมมีถมไป |
แม้นมังคลามาดีศรีสวัสดิ์ | หลานไม่ขัดดอกพระองค์อย่าสงสัย |
ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ประการใด | คงจะให้ขอบเขตนิเวศน์วัง |
เป็นความสัตย์วัจนังอย่างฉลอง | แม้นปรองดองแล้วคงสมอารมณ์หวัง |
ไม่เกียดกันฉันทาดั่งวาจัง | จะได้ตั้งถิ่นฐานเป็นว่านเครือ ฯ |
๏ ป่างพระศรีสุวรรณวงศ์พงศ์กษัตริย์ | โองการตรัสหลานนี้อารีเหลือ |
อันธานินทร์ถิ่นฐานล้วนว่านเครือ | ไว้ใยเยื่อดีแล้วหลานการนินทา |
อย่าให้มีที่เราเหล่าผู้ใหญ่ | ให้เห็นใจสุจริตไม่อิจฉา |
พ่อก็คิดเหมือนนิสัยน้ำใจอา | กันนินทาเสียให้สิ้นมลทินตัว |
ถึงสิงหลเดิมทีใช่ตีได้ | เพราะผู้ใหญ่ไกล่เกลี่ยเป็นเมียผัว |
ทำสงครามความชอบได้ครอบครัว | ก็รู้ทั่วอยู่ด้วยกันเช่นนั้นเอง ฯ |
๏ สินสมุทรจึ่งประมูลทูลฉลอง | ว่าพี่น้องใครเขารุมกันคุมเหง |
เมื่อคบพาลการชั่วใส่ตัวเอง | เที่ยวครื้นเครงไปทุกเมืองจนเลื่องลือ |
เพราะตาเฒ่าสังฆราชท่านบาทหลวง | มันล่อลวงพาไปมิใช่หรือ |
ไปเกลี้ยกล่อมกองทัพมารับมือ | จะไว้ชื่อให้ชั่วทั่วนคร ฯ |
๏ จะกล่าวฝ่ายคนถือหนังสือสาร | ออกจากด่านรีบไปในสิงขร |
พอถึงเขาเจ้าประจันตะวันรอน | พักนิกรหน้าเขาลำเนาไพร |
เห็นฝรั่งนั่งอยู่ประตูเขา | จึงบอกเล่าชี้แจงแถลงไข |
ว่าพระองค์ผู้ดำรงภพไกร | รับสั่งใช้ให้เราถือหนังสือมา |
ถวายพระมังคลานราราช | ตามพระราชประสงค์ในวงศา |
กับสิ่งของอาวุธยุทธนา | แต่บรรดาเก็บได้ให้มาคืน ฯ |
๏ ฝ่ายฝรั่งฟังว่าเรียกม้าใช้ | ให้รีบไปแจ้งกิจจาอย่าฝ่าฝืน |
พวกม้าใช้ไปตามทางเป็นกลางคืน | ไม่ดึกดื่นพอไปถึงซึ่งศาลา |
แจ้งเนื้อความตามเรื่องชาวเมืองบอก | ขุนนางออกมาฟังไม่กังขา |
เอาข้อคำนำทูลพระมังคลา | ตามกิจจาผู้มาบอกออกเนื้อความ ฯ |
๏ บาทหลวงนั่งซบเซาบนเก้าอี้ | แว่วคดีลุกขึ้นมองแล้วร้องถาม |
เร่งไปรับมาดูให้รู้ความ | แกสั่งล่ามไวไวจงไปพลัน |
ขุนนางรับกลับออกมาศาลาใหญ่ | ร้องเรียกไพร่เร็วรี่ขมีขมัน |
รีบออกมาจากเขาเจ้าประจัน | รับพวกบรรดาขุนนางไปข้างใน |
กับสิ่งของปืนผาทั้งผ้าเสื้อ | ที่ล้นเหลือหมวกรถอันสดใส |
กับหนังสือว่าขานการเวียงชัย | บาทหลวงได้เห็นแค้นแน่นอุรา |
น้อยหรือมันแกล้งจำเพาะมาเยาะเย้ย | นิจจาเอ๋ยแค้นใจกระไรหนา |
แกจึ่งรับหนังสือที่ถือมา | แล้วฉีกตราอ่านไปตามใจความ ฯ |
๏ ในเรื่องราวของพระองค์ดำรงภพ | ขจรจบทั่วประเทศเขตสยาม |
ถือพระศรีสุวรรณวงศ์ทรงพระนาม | มาปราบปรามลังกาในสามัญ |
มิใช่จะอยากได้ให้พวกพ้อง | มาครอบครองกรุงไกรไอศวรรย์ |
แต่ดาบสพี่น้องเธอรางวัล | ยกให้ปันกับนัดดาสุดสาคร |
เดี๋ยวนี้อามาอยู่เป็นผู้ใหญ่ | จะคิดไปกับพระหลานชาญสมร |
อย่ารบสู้หมู่อาณาประชากร | จะม้วยมรณ์เสียเปล่าเปล่าไม่เข้าการ |
อันสิงหลนคราของตาเจ้า | อาก็เข้าใจสิ้นทุกถิ่นฐาน |
มาไปเฝ้าบิตุรงค์พร้อมวงศ์วาน | อันศฤงคารในลังกาทั้งสากล |
จะยกให้หลานยาราชาภิเษก | มอบเศวกฉัตรชัยในสิงหล |
ไม่ล่อหลอกดอกอย่าแหนงระแวงวน | เหมือนนิพนธ์มาในสารใช่มายา |
จะเคี่ยวเข็ญรบสู้ในหมู่ญาติ | ให้เสียชาติเสียวงศ์เผ่าพงศา |
เจ้าก็เป็นเชื้อกษัตริย์ขัตติยา | จงตรึกตราตรองความตามแต่ใจ ฯ |
๏ พอจบสารแกยิ่งแสนจะแค้นจิต | ทั่งกรดกริชแทงซ้ำในคำไข |
มันแกล้งว่าเย้ายวนกวนน้ำใจ | ทั้งไยไพหยาบหยามพูดลามลวน |
ถึงเสียทัพยับย่นเพราะพลน้อย | มันจึ่งพลอยร่ำไรมาไต่สวน |
พูดเหมือนอย่างปรานีตีสำนวน | ทั้งลามลวนแนมเหน็บให้เจ็บใจ |
จึ่งว่ากับมังคลาสานุศิษย์ | เองจะคิดการงานสถานไหน |
ส่งหนังสือให้พลันด้วยทันใด | เขาจะให้ถิ่นเขตนิเวศน์วัง |
ทำมารยาข้าศึกมันฮึกฮัก | หมายจะดักบ่วงวงเข้ากรงขัง |
มิฉะนั้นมันจะปิดให้ติดตัง | เองคอยฟังเถิดหนาไม่ช้านาน |
แล้วแกเรียกสองท้าวมาเล่าเรื่อง | ที่บทเบื้องหารือหนังสือสาร |
ฟังเล่ห์ลิ้นทรชนเหล่าคนพาล | ช่างว่าขานเองจะเห็นเป็นอย่างไร |
ธรรมดาข้าศึกเหมือนงูพิษ | คงแผลงฤทธิ์มั่นคงอย่างสงสัย |
กูรู้แน่ตระหนักประจักษ์ใจ | มันมิได้ด้วยร้อนคิดผ่อนปรน |
เอาน้ำเย็นลูบไล้พอให้เชื่อง | ครั้นสิ้นเรื่องกูก็เห็นไม่เป็นผล |
เองจงช่วยตรึกตรองทั้งสองคน | จะแก้กลคิดกำจัดพวกศัตรู |
จำจะต้องตอบความไปตามเรื่อง | ที่บทเบื้องของมันมาระอาหู |
ทั้งมันทำกลไกหลายประตู | ที่ตรงกูนั้นไม่หลงอย่าสงกา |
แล้วจึ่งเรียกเสมียนมาเขียนสาร | เป็นข้อขานหยาบคายร้ายนักหนา |
แล้วให้ห่อเสร็จสรรพประทับตรา | เอาหีบงาใส่สารมีพานรอง |
ส่งให้พวกเสนาที่มาอยู่ | แล้วแกดูม้ามิ่งกับสิ่งของ |
ให้ฉุนแค้นแสนอายหลายทำนอง | แล้วก็ร้องด่าพลางทางสำนวน |
กูขอบใจนักหนาไม่ช้าดอก | อย่ามาหลอกขายมะพร้าวกับชาวสวน |
กูรู้สิ้นเสียทุกอย่างทางสำนวน | อย่าก่อกวนไปเลยเองไม่เกรงมือ |
รีบไปบอกท่านผู้อยู่สิงหล | กูก็คนใช่วิฬาร์เอาปลาถือ |
จะให้โดดโลดข้ามไปตามมือ | กูไม่ถือบุญญาบารมี |
มึงเร่งไปบอกกันอย่ามั่นหมาย | เห็นจะตายเปล่าดอกไม่หลอกผี |
ที่ตรงกูรู้แจ้งแห่งคดี | พวกอ้ายผีล้วงตับจนคับโครง |
ไปเถิดไปใครไม่เชิญมึงมาดอก | พวกอ้ายหอกจัญไรมักตายโหง |
ไม่คบค้าพวกพลอ้ายคนโกง | จะมาโยงให้ไปตกนรกตาย ฯ |
๏ ฝ่ายเสนาลากลับรับเอาสาร | ออกจากด่านชวนกันรีบผันผาย |
พร้อมสะพรั่งทั้งพหลพลนิกาย | ทั้งไพร่นายเร่งมาไม่ช้าที |
ครั้นถึงเข้าเฝ้าองค์พระทรงศักดิ์ | มาพร้อมพรักทั้งเสนาบดีศรี |
แล้วถวายสาราไม่ช้าที | องค์พระศรีสุวรรณวงศ์ดำรงวัง |
แล้วทูลความตามเรื่องบาทหลวงโกรธ | แกคาดโทษด่าสำทับจนกลับหลัง |
ว่าแกล้งมาเยาะหยันดันทุรัง | ไม่ขอฟังพูดจาด่าประจาน ฯ |
๏ พอทูลเสร็จพระให้อ่านสารอักษร | ในสุนทรเรื่องราวที่ร้าวฉาน |
หนังสือพระมังคลาปรีชาชาญ | ว่าด้วยการรบพุ่งกรุงลังกา |
เป็นข้อความตามใจของไทยกล่าว | ในเรื่องราวแจ้งจิตว่าอิจฉา |
รู้หรือไม่ในประเทศเขตลังกา | ของเจ้าตาเจ้าลุงทั้งกรุงไกร |
เพราะเสียทีที่ประมาทจึงพลาดพลั้ง | ก็เพราะหวังว่าเป็นเชื้อในเนื้อไข |
จึ่งได้ตั้งคุมเหงไม่เกรงใจ | ทั้งขับไล่รบราจะฆ่าฟัน |
ไม่ขอรับนับเนื้อในเครือญาติ | อย่าหมายมาดแม้นชีวาเราอาสัญ |
นั่นแหละสิ้นรบราสิ้นฆ่าฟัน | อย่าหลอกกันเลยไม่หลงถึงงงงวย |
ช่างพูดเพราะเหมาะเหมงข่มเหงเล่น | มิใช่เช่นหญิงตะกลามมาตามสวย |
แต่ฝีปากถากถางทางสำรวย | เราไม่งวยงงดอกบอกจริงจริง |
ธรรมดาศัตรูเหมือนงูงอด | ไม่กลัวตอดกลัวขบเหมือนคบหญิง |
อันสาราเอามาให้เห็นไม่จริง | ท่านจงนิ่งเถิดอย่ากล่าวให้ยาวความ ฯ |
๏ พอจบสารพร้อมพระวงศ์พงศ์กษัตริย์ | ได้ฟังอรรถไม่สุภาพทั้งหยาบหยาม |
เขาก็คิดการณรงค์จะสงคราม | เราได้ห้ามเขาก็พ้อว่าล่อลวง |
วายุพัฒน์นัดดาจึ่งว่าขาน | นี้อาจารย์สังฆราชตาบาทหลวง |
ใช้ปัญญาผิดกับชนคนทั้งปวง | แกมันล่วงรู้เหลือเบื่อระอา |
ครั้งไปตีเมืองเซ็นก็เช่นนี้ | ครั้นเสียทีแช่งชักเอานักหนา |
แล้วก็ให้ตัดขาดญาติกา | แกพูดจาเอาแต่ดื้อถือว่าดี ฯ |
๏ ป่างพระจอมนคเรศเกศกษัตริย์ | โองการตรัสกับเสนาบดีศรี |
เมื่อเขาไม่รักญาติขาดไมตรี | ก็ตามทีเขาจะนึกจะตรึกตรอง |
จงตั้งมั่นด่านทางอย่าวางจิต | อ้ายต้นคิดครูเฒ่าเป็นเจ้าของ |
ที่ไหนมันจะให้ศิษย์คิดปรองดอง | คงจะต้องรบพุ่งกันยุ่งไป ฯ |