- คำนำ (พ.ศ. ๒๕๔๔)
- คำนำ (พ.ศ. ๒๕๒๙)
- คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งแรก
- ประวัติสุนทรภู่
- บันทึกเรื่องผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง
- อธิบาย ว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่
- ปกิรณะกะประวัติของสุนทรภู่
- ตอนที่ ๑ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา
- ตอนที่ ๒ นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๓ ศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๔ ศรีสุวรรณพบนางเกษรา
- ตอนที่ ๕ ศรีสุวรรณเกี้ยวนางเกษรา
- ตอนที่ ๖ ศรีสุวรรณรบท้าวอุเทน
- ตอนที่ ๗ ศรีสุวรรณพยาบาลนางเกษรา
- ตอนที่ ๘ อภิเษกศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๙ พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
- ตอนที่ ๑๐ พระอภัยได้นางเงือก
- ตอนที่ ๑๑ นางสุวรรณมาลีไปเที่ยวทะเล
- ตอนที่ ๑๒ พระอภัยมณีพบนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๑๓ พระอภัยมณีโดยสารเรือนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๑๔ พระอภัยมณีเรือแตก
- ตอนที่ ๑๕ สินสมุทรโดยสารเรือโจรสุหรั่ง
- ตอนที่ ๑๖ สินสมุทรพบศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๑๗ ศรีสุวรรณกับสินสมุทรตามพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๑๘ พระอภัยมณีโดยสารเรืออุศเรน
- ตอนที่ ๑๙ พระอภัยมณีพบศรีสุวรรณกับสินสมุทร
- ตอนที่ ๒๐ สินสมุทรรบกับอุศเรน
- ตอนที่ ๒๑ พระอภัยมณีเกี้ยวนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๒๒ พระอภัยมณีครองเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๓ พระอภัยมณีอภิเษกกับนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๒๔ กำเนิดสุดสาคร
- ตอนที่ ๒๕ สุดสาครเข้าเมืองการะเวก
- ตอนที่ ๒๖ อุศเรนตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๗ เจ้าละมานตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๘ สุดสาครตามพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๒๙ ศึกเก้าทัพตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๓๐ พระอภัยมณีตีเมืองใหม่
- ตอนที่ ๓๑ พระอภัยมณีพบนางละเวง
- ตอนที่ ๓๒ ศรีสุวรรณอาสาตีด่านดงตาล
- ตอนที่ ๓๓ ย่องตอดสะกดทัพ
- ตอนที่ ๓๔ นางละเวงคิดหย่าทัพ
- ตอนที่ ๓๕ พระอภัยติดท้ายรถ
- ตอนที่ ๓๖ พระอภัยมณีทำผูกคอตายได้นางละเวง
- ตอนที่ ๓๗ ศรีสุวรรณกับสินสมุทรถูกเสน่ห์
- ตอนที่ ๓๘ นางสุวรรณมาลีข้ามไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๓๙ นางสุวรรณมาลีมีสารตัดพ้อ
- ตอนที่ ๔๐ สุดสาครถูกเสน่ห์
- ตอนที่ ๔๑ นางสุวรรณมาลีหึงหน้าป้อม
- ตอนที่ ๔๒ หัสไชยแก้เสน่ห์
- ตอนที่ ๔๓ นางเสาวคนธ์ยิงแก้ม
- ตอนที่ ๔๔ กษัตริย์สามัคคี
- ตอนที่ ๔๕ นางเสาวคนธ์ขุดโคตรเพชร
- ตอนที่ ๔๖ พระอภัยมณีกลับเมือง
- ตอนที่ ๔๗ อภิเษกสินสมุทร
- ตอนที่ ๔๘ นางเสาวคนธ์หนี
- ตอนที่ ๔๙ นางเสาวคนธ์แปลงเป็นฤๅษี
- ตอนที่ ๕๐ นางเสาวคนธ์ได้เมืองวาหุโลม
- ตอนที่ ๕๑ สุดสาครตามนางเสาวคนธ์
- ตอนที่ ๕๒ พระอภัยมณีทำศพท้าวสุทัศน์
- ตอนที่ ๕๓ มังคลาครองเมืองลังกา
- ตอนที่ ๕๔ มังคลาชิงโคตรเพชร
- ตอนที่ ๕๕ มังคลาจับนางสุวรรณมาลีและท้าวทศวงศ์
- ตอนที่ ๕๖ หัสไชยตีด่านเมืองลังกา
- ตอนที่ ๕๗ สุดสาครรบมังคลา
- ตอนที่ ๕๘ นางละเวงวัณฬาช่วยนางสุวรรณมาลีแลท้าวทศวงศ์
- ตอนที่ ๕๙ พระอภัยมณีศรีสุวรรณไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๐ พระอภัยมณีรบกับมังคลา
- ตอนที่ ๖๑ สังฆราชบาทหลวงเผาเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๒ พระอภัยเข้าเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๓ อภิเษกหัสไชย
- ตอนที่ ๖๔ พระอภัยมณีออกบวช
- ตอนที่ ๖๕ พระบาทหลวงพาพระมังคลาหนีทัพไปเมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๖๖ วลายุดาครองเมืองสินชัย
- ตอนที่ ๖๗ วายุพัฒน์เป็นอุปราชเมืองเซ็น
- ตอนที่ ๖๘ หัสกันครองเมืองสุลาลัย
- ตอนที่ ๖๙ พระอภัยมณีเยี่ยมศพนางมณฑา
- ตอนที่ ๗๐ พระมังคลายกทัพเรือมาตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๗๑ นางรำภา นางยุพาผกาและนางสุลาลีวันออกรบ
- ตอนที่ ๗๒ สุดสาคร สินสมุทรรบกับพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๓ วลายุดา วายุพัฒน์และหัสกันเข้าเฝ้าศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๗๔ ทัพพันธมิตรเมืองกำพลเพชรยกมาช่วยพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๕ พระมังคลาล่าทัพไปถึงเกาะกาหวี
- ตอนที่ ๗๖ ทหารเมืองกำพลเพชรตามนางกฤษณาพบพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๗ พระมังคลาได้นางดวงแขลูกสาวเจ้าเมืองสำปันหนา
- ตอนที่ ๗๘ อภิเษกพระกฤษณากับนางเทพินไปครองเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๗๙ วลายุดา วายุพัฒน์และหัสกันลามารดากลับไปเมือง
- ตอนที่ ๘๐ พระมังคลายกทัพเมืองสำปันหนาไปตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๘๑ ศรีสุวรรณออกรับศึกพระมังคลา
- ตอนที่ ๘๒ โจรสลัดคุมกำปั่นปล้นเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๘๓ ศรีสุวรรณมาช่วยเมืองรมจักรรบโจรสลัด แล้วอภิเษกตรีพลำกับอัมพวันและเทวัญกับนิลกัณฐี
- ตอนที่ ๘๔ พระมังคลากับพระบาทหลวงแตกทัพไปเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆ
- ตอนที่ ๘๕ พระมังคลาไปถึงเมืองโรมพัฒน์ได้นางบุษบง
- ตอนที่ ๘๖ พระบาทหลวงกับพระมังคลายกทัพเรือเมืองโรมพัฒน์ไปตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๘๗ สุดสาครทราบข่าวศึก
- ตอนที่ ๘๘ พระมังคลากับพระบาทหลวงตีได้เมืองด่านลังกา
- ตอนที่ ๘๙ ทัพสุดสาครตีทัพพระมังคลาพ่าย จนเทวสินธุ์ตามไปถึงเมืองสำปันหนา
- ตอนที่ ๙๐ ท้าวรายากับพระเทวสินธุ์ไปถึงเมืองกำพลเพชร แล้วยกทัพไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๙๑ หกกษัตริย์ยกทัพมาช่วยเมืองลังกาทำศึก
- ตอนที่ ๙๒ พระบาทหลวงรบศึกหกกษัตริย์จนลมแดงซัดเรือรบพลัดกัน
- ตอนที่ ๙๓ สุดสาครตีเมืองด่านแตก
- ตอนที่ ๙๔ พระเทวสินธุ์พบพระมังคลาจนเจ็ดกษัตริย์เตรียมรบ
- ตอนที่ ๙๕ พระมังคลากับพระบาทหลวงยกทัพเข้าตีเมืองปากน้ำ
- ตอนที่ ๙๖ ทัพเจ็ดกษัตริย์ตีทัพพระบาทหลวงแตก
- ตอนที่ ๙๗ พระบาทหลวงเตรียมตีเมืองปากน้ำคืน
- ตอนที่ ๙๘ พระบาทหลวงขับท้าวรายากับนางบุษบงไปจากกองทัพ จนพระมังคลาหนี
- ตอนที่ ๙๙ พระบาทหลวงยกเข้าตีเมืองปากน้ำ
- ตอนที่ ๑๐๐ สินสมุทรตีทัพพระบาทหลวงจนถูกยาเบื่อ
- ตอนที่ ๑๐๑ พระอภัยมณีเยือนลังกา
- ตอนที่ ๑๐๒ พระบาทหลวงปล่อยโคมไฟไปตกเมืองลังกา จนถึงพระอภัยมณีห้ามทัพ
- ตอนที่ ๑๐๓ หกกษัตริย์ตีโต้ทัพพระบาทหลวงล่าไปเมืองปตาหวี
- ตอนที่ ๑๐๔ พระอภัยมณีกลับไปเขาสิงคุตร
- ตอนที่ ๑๐๕ อภิเษกหัสกันกับนางวันชายา
- ตอนที่ ๑๐๖ พระอภัยมณีไปเยี่ยมนางเงือกที่เกาะแก้วพิสดาร
- ตอนที่ ๑๐๗ พระบาทหลวงเข้าเมืองปตาหวีแล้วตามไปพบพระมังคลาที่เมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๑๐๘ พระมังคลาและนางบุษบงออกมารับพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๐๙ ท้าวโกสัยบอกพระมังคลาให้รู้อุบายพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๐ พระบาทหลวงตีด่านเมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๑๑๑ พระมังคลามีสารง้อศรีสุวรรณสุดสาครและสินสมุทร ให้มาช่วยรบพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๒ ทัพพระมังคลารบกับทัพพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๓ ทัพศรีสุวรรณกับสี่กษัตริย์ตีกระหนาบทัพพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๔ ทัพเรือพระบาทหลวงเข้าเมืองกาศึก
- ตอนที่ ๑๑๕ ศรีสุวรรณกับพวกพาพระมังคลากลับเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๑๖ ท้าวกุลามาลีได้นางดวงประไพลูกสาวท้าวสินชัยเจ้าเมืองกาศึก
- ตอนที่ ๑๑๗ พระมังคลาไปงานโสกันต์ระเด่นกินเรศ
- ตอนที่ ๑๑๘ เจ้าเมืองปตาหวีพานางดวงประไพกลับเมือง
- ตอนที่ ๑๑๙ สุดสาครไปเยี่ยมนางเงือกและพระฤๅษีที่เกาะแก้วพิสดาร
- ตอนที่ ๑๒๐ สุดสาครกลับเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๒๑ ศรีสุวรรณให้นรินทร์รัตน์ไปครองเมืองรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๒ อภิเษกนรินทร์รัตน์ครองเมืองรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๓ เจ็ดกษัตริย์ยกทัพมาตีเมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๔ นรินทร์รัตน์ขอราเมศมาเป็นอุปราชกรุงรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๕ นรินทร์รัตน์กับราเมศมาช่วยเมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๖ เจ็ดกษัตริย์ตายสี่หนีสาม
- ตอนที่ ๑๒๗ นรินทร์รัตน์หลงนางเกศพัฒน์เมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๘ อภิเษกพระราเมศกับนางดวงประภา
- ตอนที่ ๑๒๙ ภัทวงศ์ไปไหว้เทวรูปจนพบนางเกสรสุมาลัย
- ตอนที่ ๑๓๐ เจ้าเมืองวายุภักษ์ขอนางเกสรสุมาลัยให้ภัทวงศ์
- ตอนที่ ๑๓๑ พระสังฆราชบาทหลวงยกทัพมาตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๓๒ ตัดหางสุพรรณมัจฉาแล้วสถาปนาเป็นจันทวดีพันปีหลวง
ตอนที่ ๙๑ หกกษัตริย์ยกทัพมาช่วยเมืองลังกาทำศึก
๏ จะกล่าวถึงหกกษัตริย์รีบรัดแล่น | มาเนืองแน่นตัดทุ่งเข้ากรุงศรี |
ถึงปากอ่าวลังกาในราตรี | ให้เสนีรีบไปบอกออกพระนาม |
ว่าพระองค์ผู้ดำรงรมจักร | กษัตริย์ศักดิ์ครองพาราภาษาสยาม |
องค์พระศรีสุวรรณวงศ์ทรงพระนาม | เสด็จข้ามฝั่งมาถึงธานี |
พร้อมพระวงศ์พงศาคณาญาติ | อยู่ในราชอาณาจักรเป็นศักดิ์ศรี |
พระเจ้าอาเชษฐาทุกธานี | มาถึงที่ฟากฝั่งเกาะลังกา |
พร้อมพหลพลรบสมทบทัพ | มาตั้งยับยั้งพหลพลอาสา |
เห็นกำปั่นทอดรายชายคงคา | ที่จอดท่าอ่าวแน่นบ้างแล่นราย ฯ |
๏ ป่างพระองค์ผู้ดำรงรมจักร | ให้หยุดพักพวกพหลพลทั้งหลาย |
ทอดสมอรอเคียงกันเรียงราย | เสนานายตรวจตราพลากร |
ห้ากษัตริย์มาประนมบังคมบาท | พระจอมราษฎร์รุ่งพระฤทธิ์มหิศร |
พร้อมกันในพระที่นั่งลำมังกร | พระภูธรรมจักรนครา ฯ |
๏ ป่างพระปิ่นภูวไนยปราศรัยทัก | ทั้งหลานรักพร้อมหมดตามยศถา |
แล้วคิดอ่านการจะไปในลังกา | เห็นเรือมาคอยปากอ่าวราวสักพัน |
สินสมุทรวุฒิไกรทูลไทท้าว | เราตีอ่าวเข้าไปในไอศวรรย์ |
เพราะเห็นว่าศึกประชิดเข้าติดพัน | มันป้องกันปากน้ำทุกค่ำคืน |
ที่ร่องเข้ามันก็เอากำปั่นใหญ่ | มาจุกไว้สารพัดจะขัดขืน |
ทั้งสองฝั่งตั้งค่ายมันรายปืน | ไว้นับหมื่นป้อมเชิงเทินเนินกำแพง ฯ |
๏ ป่างพระศรีสุวรรณวงศ์ทรงสดับ | สั่งกองทัพตั้งมั่นให้ขันแข็ง |
ครั้นจะเข้าตีตัดฉวยพลัดแพลง | จะต่อแย้งไม่ถนัดเห็นขัดเชิง |
เพราะช่องแคบทางจะเข้าเล่าก็ยาก | จะลำบากฉวยว่าเปิดเตลิดเหลิง |
ด้วยเรือเราปลกเปลี้ยจะเสียเชิง | ฉวยละเลิงหลวมตัวสิชั่วจริง |
จำจะต้องรบกันแต่ชั้นนอก | ล่อให้ออกกินเหยื่อเสือสมิง |
เห็นจะไม่เสียทีดีจริงจริง | จะแอบอิงอะไรได้ในทะเล |
แต่ให้พวกเรือใช้ไปไต่ถาม | แจ้งเนื้อความอ้ายจัญไรจะไพล่เผล |
แม้นได้ช่องล่องลมสมคะเน | ตีให้เซสาดออกนอกสันดอน |
ห้ากษัตริย์ทราบความตามรับสั่ง | ถวายบังคมบพิตรอดิศร |
พร้อมทั้งพวกเสนาพลากร | นรินทรกรุงกษัตริย์ให้จัดพล |
แล้วให้ไปไต่ถามตามฝรั่ง | ว่ามาตั้งอยู่ทำไมในสิงหล |
พวกคนใช้ไปถามตามยุบล | กับขุนพลที่สำหรับกำกับเรือ |
พวกในลำกำปั่นครั้นได้แจ้ง | เห็นพูดแข็งขันจริงยิ่งกว่าเสือ |
ฝ่ายขุนนางที่เป็นใหญ่อยู่ในเรือ | ฟังเห็นเหลือดุดันไม่พรั่นพรึง |
จึ่งว่าท่านคอยอยู่สักครู่ใหญ่ | เราจะไปทูลว่าท่านมาถึง |
คอยรับสั่งหนังสืออย่าอื้ออึง | แล้วสั่งซึ่งพวกเสมียนให้เขียนคำ |
ผู้ที่มาอ่าวใหญ่เขียนใบบอก | เสมียนลอกลงสาราเลขขำ |
แล้วสั่งให้เสนีที่ประจำ | เร่งให้นำกราบทูลซึ่งมูลความ ฯ |
๏ ฝ่ายโฉมยงองค์พระมังคลาราช | กับครูบาทหลวงออกไปแล้วไต่ถาม |
ว่าเอ็งมาว่ากระไรในใจความ | เจ้าพวกล่ามส่งสารแก้อ่านพลัน ฯ |
๏ ในหนังสือเสนาข้าพระบาท | ที่คอยลาดตระเวนแต่งไว้แข็งขัน |
มีเรือใบเรือรบสมทบกัน | ล้วนกำปั่นมากมายหลายตำบล |
แล้วมีผู้มาถามเอาความถ้อย | ว่ามาคอยแย่งชิงเอาสิงหล |
มันคุกคามถามไต่พวกไพร่พล | ก็เป็นจนใจตัวกลัวจะเกิน |
ครั้นจะบอกดีชั่วกลัวจะผิด | ไม่แจ้งจิตยังวิตกระหกระเหิน |
ขอทราบความตามสาราข้าขอเชิญ | เสร็จดำเนินมากำปั่นเหมือนสัญญา ฯ |
๏ บาทหลวงแกแจ้งความไปตามเรื่อง | ให้แค้นเคืองที่ในจิตผิดแล้วหวา |
กูจะไปไต่ถามตามสงกา | อ้ายมังคลาอยู่ระวังฟังกระบวน |
กับออท้าวอิศโรเจ้าโกสัย | กูจะไปตามระบอบไล่สอบสวน |
คิดพูดจาเป่าปัดตัดสำนวน | พลางก็ชวนเสวกาลงมาพลัน |
ถึงเรือใหญ่ให้หาพวกมาถาม | เอ็งแจ้งความแต่ที่จริงทุกสิ่งสรรพ์ |
ใครใช้สอยเอ็งมาถามเนื้อความนั้น | จงผ่อนผันแจ้งกิจอย่าปิดบัง |
พวกเรือใช้ไม่กลัวนั่งหัวเราะ | อย่าถามเคาะแคะไปเหมือนใจหวัง |
หกกษัตริย์เสด็จมาเหมือนวาจัง | จึงรับสั่งให้มาถามตามคดี |
ว่าคือใครไหนมาเป็นข้าศึก | ทำหาญฮึกตีด่านชานกรุงศรี |
อันเขตแคว้นแดนลังกาแลธานี | ก็เป็นที่ของใครในทุกวัน |
เร่งถอยกำปั่นไปให้พ้นช่อง | เราจะล่องเข้าไปในไอศวรรย์ |
แม้นมิฟังยังอยู่ได้สู้กัน | เร่งผ่อนผันให้เราไปดั่งใจจง ฯ |
๏ บาทหลวงฟังเดือดด่าว่าอุเหม่ | อ้ายเจ้าเล่ห์จะกระจุยเป็นผุยผง |
อย่าพูดจาสามารถทำอาจอง | ลังกาคงแรกเริ่มเดิมของใคร |
ฝรั่งเป็นจอมเจิมเฉลิมภพ | ขจรจบเขาไม่ลือหรือไฉน |
จะมาพูดจองหองว่าของไทย | ใครยกให้พวกมึงมาพึ่งพิง |
แล้วพาโลโสวัดกำจัดเสีย | เที่ยวเคาะเขี่ยอวดดีให้ผีสิง |
เองก็มาอวดฉลาดพูดพาดพิง | อย่าเย่อหยิ่งฮึกเหิมเหมือนเดิมมา |
ถือว่าดีมีชัยได้สิงหล | กับอ้ายคนถูกยาแฝดแพศยา |
พระเป็นเจ้าจะบันดาลผลาญชีวา | พิฆาตฆ่าพวกมึงให้ถึงใจ |
เพราะคิดอ่านการชั่วให้มัวหมอง | ทั้งพวกพ้องทุจริตผิดวิสัย |
ให้เขาพลัดศาสนาว่าไปไย | มึงเป็นไทยจะมาตั้งไม่บังควร |
ใช่กษัตริย์ในจังหวัดลังกาทวีป | จงเร่งรีบพากันไปอย่าไต่สวน |
อย่าพูดจากอแกแก้สำนวน | เองไม่ควรที่จะมาแกด่าอึง |
พวกคนใช้ได้ฟังสังฆราช | แกกริ้วกราดโกโรโมโหหึง |
นัยน์ตาเขียวชี้หน้าด่าออกอึง | มึงก็มึงกูก็กูได้ดูดี |
ชีวิตกูอยู่แล้วอย่าพึงนึก | จะทำศึกร่ำไปไม่หน่ายหนี |
กูก็ชาติทองคำน้ำมณี | จะเป็นที่บำรุงแก่ฝูงชน |
ที่จะไม่ทำศึกอย่านึกหมาย | ไปบอกนายมึงให้แจ้งแห่งนุสนธิ์ |
จะตั้งรับทัพไทยจนวายชนม์ | ไม่ย่อย่นกลัวเจ็บจนเย็บตา |
พวกคนใช้กลับไปไม่รอรั้ง | ครั้งถึงยังกำปั่นด้วยหรรษา |
ทูลข้อความตามได้ไปพูดจา | บาทหลวงมาดุดันเป็นควันไป |
แล้วชี้หน้าท้าทายเห็นร้ายกาจ | ขู่ตวาดด่าว่าไม่ปราศรัย |
แล้วก็ว่ามาข่มเหงไม่เกรงใจ | อันกรุงไกรลังกาของตายาย |
ประเดี๋ยวนี้พวกไทยมาไล่ขับ | แล้วก็กลับมาริบเอาฉิบหาย |
พลางกราบทูลรำพันบรรยาย | เล่าถวายหกพระองค์ให้ทรงฟัง ฯ |
๏ สินสมุทรสุดแสนแค้นบาทหลวง | มันจาบจ้วงโยโสทั้งโอหัง |
เมื่อคราวโน้นแทบจะตายวายชีวัง | หนีไปทั้งไพร่พลอ้ายคนโกง |
ยังกลับมาว่าขานพาลทะเลาะ | อ้ายเจ้าเคราะห์วุ่นวายจะตายโหง |
ทุดอ้ายคนปากกล้าบ้าลำโพง | มันโป้งโหยงอวดอ้างทางสำนวน |
แล้วทูลกับพระเจ้าอาว่าอ้ายนี่ | มันถือดีเป็นอย่างไรเร่งไต่สวน |
อย่ารอรั้งตั้งทัพจับกระบวน | กาลก็จวนจะเป็นฝนคนระอา |
แม้นเกิดเป็นพายุระบุระบัด | จะแล่นตัดเข้าลำบากยากนักหนา |
พวกข้าศึกมันก็ร้ายชายคงคา | แม้นลมกล้าตีออกนอกสันดอน |
จะเสียทีหลีกหลบประจบยาก | ครั้นจะบากเข้าไปใกล้สิงขร |
แล้วก็เป็นหินผาหน้าสันดอน | แต่ละก้อนมิใช่น้อยตั้งร้อยพัน ฯ |
๏ ป่างพระองค์ผู้ดำรงรมจักร | ฟังหลานรักทูลชี้ดีขยัน |
จึ่งว่าเจ้าจะเข้ารบสมทบกัน | ตีประจญอานะได้เกณฑ์ไพร่พล |
ทั้งเรือรบเรือไล่ใส่อาวุธ | ปืนคาบชุดถือให้ทั่วตัวพหล |
แล้วตรัสสั่งนายทัพกำกับพล | เร่งตรวจคนให้ประจำทุกลำเรือ |
วายุพัฒน์หัสกันเป็นกองหนุน | พวกญี่ปุ่นเกณฑ์ให้เป็นฝ่ายเหนือ |
หัสไชยปีกขวาพวกกล้าเรือ | ทหารเสือเข้มเข็งแรงกำลัง |
วลายุดาปีกซ้ายฝ่ายทหาร | ถือแต่ขวานเอ้หมึงดูขึงขัง |
สินสมุทรฤทธิรงค์ทรงกำลัง | ทหารนั่งถือโล่แลโตมร |
เป็นทัพหน้ากล้าแข็งแต่งพหล | แต่ล้วนคนอำมหิตทั้งพิษศร |
ฝ่ายพระจอมนครินทร์ปิ่นนคร | พลนิกรรมจักรนัครา |
เป็นทัพหลวงล่วงมหาสาคเรศ | ดังเทเวศร์ออกสงครามงามนักหนา |
พร้อมพระองค์พงศ์กษัตริย์ขัตติยา | ออกเภตราโห่เร้าจะเอาชัย |
เรือกระบวนถ้วนทั่วตัวพหล | แล้วยกพลธงทิวปลิวไสว |
ออกกำปั่นครั่นครื้นยิงปืนไฟ | ให้คลี่ใบแล่นหลามไปตามกัน ฯ |
๏ จะกล่าวฝ่ายสังฆราชพระบาทหลวง | ลงนั่งง่วงตรองตรึกนึกใฝ่ฝัน |
คงจะเป็นศึกกระหนาบเกี่ยวคาบกัน | เห็นแม่นมั่นเขาจะยกทั้งบกเรือ |
จำจะคิดผ่อนปรนพลไพร่ | กำปั่นใหญ่คอยรับกองทัพเหนือ |
ทั้งห้าร้อยคอยประจำทุกลำเรือ | จัดข้าวเกลือเครื่องเสบียงไว้เลี้ยงพล |
ฉวยข้าศึกฮึกฮักเข้าหักหาญ | คงกันดารสารพัดจะขัดสน |
จำจะคิดถ่ายเทด้วยเล่ห์กล | ผูกหุ่นมนต์ไว้รับกองทัพมัน ฯ |
๏ จะกล่าวถึงเทวสินธุ์นรินทร์รัตน์ | สามกษัตริย์รีบร้นพลขันธ์ |
พร้อมกระบวนเรือที่นั่งทั้งดั้งกัน | อีกสามวันจะกระทั่งถึงลังกา |
ข้ามประเทศเขตแคว้นแดนสุหรัด | สามกษัตริย์พร้อมกันต่างหรรษา |
แล้วทูลถามท้าวไทอัยกา | นี่พาราขอบเขตประเทศใด |
ท้าวรายาเรียกหาเอาแผนที่ | มานั่งชี้แถวทางสว่างไสว |
นี่ประเทศเขตสุหรัดถัดออกไป | เมืองบุมไบสองพาราทำผ้าลาย |
ย่ำมะหวาดต่างสีเขามีมาก | แล้วมักฝากกำปั่นใหญ่เอาไปขาย |
ในเมืองไทยได้ราคาขายผ้าลาย | ทั้งหญิงชายซื้อกันทุกวันคืน |
เรือก็แล่นเลยมาในสาคเรศ | พ้นประเทศลมกล้าเหลือฝ่าฝืน |
พอเย็นย่ำคล้ำนภางค์เป็นกลางคืน | บังเกิดคลื่นลมกล้าสลาตัน |
ให้รอราซาใบไว้แต่ห่าง | พอเดือนสางลมอ่อนจึงผ่อนผัน |
ท้องทะเลก็ค่อยสร่างกระจ่างจันทร์ | ดาวก็ดั้นเด่นรายจับสายชล |
สามกษัตริย์ทัศนาดารารัตน์ | แจ่มจำรัสห้องฟ้าเวหาหน |
ท้าวรายาเธอก็รู้ดูฤกษ์บน | เห็นพิกลดาวพฤหัสสวัสดี |
เข้าเคียงกับกติกาตำราบอก | ว่าเดินออกมาร่วมจักรราศี |
พวกอาจารย์จะต้องวิ่งเป็นสิงคลี | เพราะดาวนี้บอกตรงพ่อจงฟัง |
จะถอยถดหมดความรู้อยู่ไม่ได้ | ตำราไว้มิได้ผิดอย่าคิดหวัง |
แล้วจะเสื่อมเกียรติยศหมดกำลัง | จะเซซังเหมือนหนึ่งว่าตำราทาย |
อสุนีฤกษ์หนึ่งแม้นถึงเข้า | โหราเฒ่าว่าไว้ดังใจหมาย |
มักเกิดยุคทุกข์ภัยไม่สบาย | เขาทำนายในตำราพยากรณ์ ฯ |
๏ ฝ่ายท่านท้าวเจ้าพาราอาณาจักร | บอกหลานรักดูดาราตาจะสอน |
สามกษัตริย์ยินดีชุลีกร | เรือก็จรมาในทางกลางทะเล |
น้ำค้างย้อยพรอยพรมเป็นลมว่าว | ให้แล่นก้าวเรือกำปั่นออกหันเห |
พวกนายท้ายหมายทิศอาคเนย์ | ในทะเลแล่นเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยมา |
กำดัดตึกเดือนสว่างกระจ่างเมฆ | การเวกร่อนร้องก้องเวหา |
หัสดินบินชมยมนา | ในเวลาเที่ยงดินพื้นโพยม |
เสียงเหมหงส์ส่งเสียงสำเนียงแจ้ว | ดั่งปี่แก้วก้องกึกโห่ฮึกโหม |
เหมือนสังคีตดีดสีตีประโคม | ที่ทุกข์โทมนัสนั้นค่อยบรรเทา |
สถิตแท่นพรรณรายท้ายบาหลี | บนเก้าอี้ลายปรุฉลุเฉลา |
จวนจะแจ้งสุริย์ฉายขึ้นพรายเพรา | เสด็จเข้าไสยาสน์บนอาสน์ทอง |
แสนคะนึงถึงชนกที่ปกเกล้า | จะโศกเศร้าทุกข์ในพระทัยหมอง |
หรือจะไม่สมนึกเหมือนตรึกตรอง | เสร็จอยู่ห้องแห่งหนตำบลใด |
พอม่อยหลับกลับทรงสุบินนิมิต | ว่าอาทิตย์แจ่มกระจ่างสว่างไสว |
แล้วกลับมืดมัวคลุ้มชอุ่มไป | ประเดี๋ยวใจเกิดเป็นเพลิงขึ้นเริงแรง |
ไหม้ข้างทิศบูรพาเวหาหน | ทั้งมืดมนตะวันปิดจนมิดแสง |
แต่สีไฟในอากาศยิ่งดาดแดง | ประเทืองแสงรุ่งโรจน์โชตินา |
แล้วเกิดฝนบนฟ้าวลาหก | บันดาลตกดับไฟในเวหา |
แล้วก็เห็นนงคราญผู้มารดา | เสด็จมาอุ้มแอบแนบอุทร |
ให้เสวยกษิราโอชารส | อันปรากฏชื่นจิตอดิศร |
แล้วประทานภูษาเครื่องอาภรณ์ | พอทินกรใสสว่างกระจ่างดวง |
พระพลิกฟื้นตื่นจากที่ไสยาสน์ | ให้หวั่นหวาดในพระทัยนั้นใหญ่หลวง |
เสด็จออกพร้อมพหลพลทั้งปวง | ตามกระทรวงแต่บรรดาเสนานาย |
เสด็จนั่งแท่นสบายท้ายบาหลี | พระภูมีคิดไปพระทัยหาย |
พอท่านท้าวเจ้าพระยาเสนานาย | มาพร้อมท้ายเภตราสภาวร ฯ |
๏ ฝ่ายพระหน่อเทวสินธุ์นรินทร์ราช | จึงทูลบาทบพิตรอดิศร |
ว่าคืนนี้หลานคิดสนิทนอน | บนบรรจถรณ์แท่นรัตน์ชัชวาล |
เกิดนิมิตผิดประหลาดอนาถนัก | พระทรงศักดิ์กรุณาเมตตาหลาน |
ให้โหรทายรายดีที่รำคาญ | ในอาการความฝันที่รัญจวน ฯ |
๏ ฝ่ายไทท้าวเจ้าชวาอาณาเขต | ครั้นแจ้งเหตุตามระบอบเธอสอบสวน |
จึ่งหาโหรข้างชวามาประมวล | คิดคำนวณเรื่องสุบินที่กินใจ |
พระเทวสินธุ์แจ้งสุบินโหรารับ | แล้วนั่งนับตามดิถีคัมภีร์ไสย |
ในสุบินว่าอาทิตย์ฤทธิไกร | นั่นจะได้แก่พระองค์พงศ์ประยูร |
แล้วเห็นไฟไหม้อยู่ข้างบูรพทิศ | เป็นควันปิดสุริย์ฉายให้หายสูญ |
จะได้แก่น้ำเนื้อเชื้อตระกูล | ดังข้าทูลบาทบงสุ์พระทรงธรรม |
ซึ่งฝันว่าตกลงมาจากอากาศ | ด้วยอำนาจเทพไทในสวรรค์ |
สำแดงบุพนิมิตประสิทธิ์ครัน | ช่วยป้องกันอันตรายเมื่อปลายมือ |
ซึ่งว่าองค์ชนนีมีพระเดช | มาโปรดเกศรับรองประคองถือ |
แล้วประทานเครื่องประดับให้กับมือ | จะเลื่องลืออานุภาพปราบณรงค์ |
ข้อที่ได้กษิรามาเสวย | แล้วก็เลยตื่นประทมสมประสงค์ |
จะได้รู้จักเชื้อในเนื้อวงศ์ | คงดำรงเกียรติยศปรากฏไป |
เหมือนคำข้ากราบทูลทำนายฝัน | ข้างต้นนั้นร้ายแรงแถลงไข |
ต่อปลายมือนั้นจะดีทั้งมีชัย | ประเสริฐในสุริย์วงศ์ดำรงวัง |
พระเทวสินธุ์ฟังสิ้นโหราเฉลย | ไม่เสบยนึกในพระทัยหวัง |
ให้รุ่มร้อนในกมลพ้นกำลัง | จึ่งตรัสสั่งเสนีผู้ปรีชา |
ให้เตรียมคนพลรบสมทบไว้ | กำปั่นใหญ่ทหารหมื่นถือปืนผา |
เกือบจะใกล้เขตแคว้นแดนลังกา | ท้าวรายาก็บังคับกำชับพล |
เรือก็แล่นลมเฉื่อยระเรื่อยลิ่ว | ธงก็ปลิวใบสล้างมากลางหน |
เกือบถึงด่านชานชลาในสาชล | พวกต้นหนแขกชวาให้ชาใบ ฯ |
๏ จะกล่าวฝ่ายหกพระองค์พงศ์กษัตริย์ | แล่นมาอัดเรือแพแลไสว |
พวกทหารโห่ร้องออกก้องไป | ยิงปืนใหญ่ยักกะตราขานกยาง ฯ |
๏ ฝ่ายบาทหลวงจัดกำปั่นไว้พันร้อย | ให้ออกลอยแล่นลัดสกัดขวาง |
ปะทะทัพรับรองแหวกช่องทาง | ทั้งสองข้างคอยสกัดตัดกระบวน |
สินสมุทรเธอชำนาญในการรบ | ให้สมทบยิงระดมเมื่อลมหวน |
จะได้ทิ้งก้อนหินดินชนวน | เมื่อเรือจวนจะปะทะเข้าปะกัน ฯ |
๏ ฝ่ายบาทหลวงเห็นเรือมาเหลือหลาม | แล่นมาตามชายทะเลบ้างเหหัน |
ที่เปิดช่องร่องน้ำนั้นสำคัญ | มันไม่หันเข้าไปจนใจจริง |
กูเปิดซ่องร่องไว้มันไม่เข้า | เห็นจะเปล่าเสียทีดั่งผีสิง |
ค่อยบอกกล่าวสั่งสอนคอยค้อนติง | แกให้ยิงปืนสัญญาที่หน้าเรือ |
พวกพหลพลไพร่จะได้รู้ | ให้แล่นกรูกันเข้าไปตั้งใต้เหนือ |
พลางแกว่งชุดจุดปืนสำหรับเรือ | ทั้งใต้เหนือแล่นกรูรู้สัญญา |
สินสมุทรเห็นกำปั่นฝรั่งออก | แล้วตรัสบอกพวกพหลพลอาสา |
ให้ปล่อยปืนครื้นครั่นตามสัญญา | แล่นเข้ามาใกล้กันประจัญบาน |
ปล่อยปืนใหญ่ตูมตึงเสียงผึงโผง | ถูกเสากระโดงหักฟาดเสียงฉาดฉาน |
ฝรั่งรับทัพขันประจัญบาน | เข้าต่อต้านยิงแย้งแทงด้วยตรี |
ทหารไทยได้ช่องร้องให้รับ | ปล่อยปืนตับยืนรายท้ายบาหลี |
ระดมยิงทิ้งชุดจุดอัคคี | พอลมดีพัดปะทะเข้าปะกัน |
ฝรั่งพุ่งแหลนหลาวเอาง้าวฟาด | เสียงฉับฉาดฟันแทงด้วยแข็งขัน |
บาทหลวงเร่งพลรบสมทบกัน | ตีประจัญดาษดาในสาคร |
ทหารไทยไล่ฟันกระชั้นชิด | แทงด้วยกริชตายทับสลับสลอน |
ข้างพวกไทยเจ็บป่วยบ้างม้วยมรณ์ | พลนิกรสองฝ่ายตายเป็นเบือ ฯ |
๏ ฝ่ายกองทัพพระวลายุดาราช | ไล่พิฆาตรับไว้ข้างฝ่ายเหนือ |
วายุพัฒน์หัสไชยคอยไล่เรือ | ข้างฝ่ายเหนือล่วงลงมาเข้าราวี |
ยิงแตกจมล้มตายเสียหลายร้อย | ฝรั่งถอยหลังกลับขยับหนี |
บาทหลวงเห็นหัสกันเข้าทันที | แกยืนชี้หน้าด่าตาเป็นมัน ฯ |
๏ อุเหม่มึงทิ้งญาติทิ้งศาสนา | มาลอยหน้ารบกับกูเป็นคู่ขัน |
ไปเข้าพวกไทยสนิทเข้าติดพัน | มาช่วยกันรบกูผู้อาจารย์ |
พระเป็นเจ้าเยซูผู้ได้โปรด | จะลงโทษมึงให้ดิ้นสิ้นสังขาร |
เพราะไม่ฟังคำกูผู้อาจารย์ | จะบันดาลพวกมึงให้ถึงตาย |
แล้วจะให้ไปตกนรกสิ้น | ให้มึงดิ้นดาลเดือดไม่เหือดหาย |
จะตีระฆังแช่งมึงให้ถึงตาย | พวกข้างฝ่ายฝรั่งตั้งบาญชี |
ว่าพวกเอ็งคนอุบาทว์ล้างศาสนา | เมืองลังกาย่อยยับดั่งสับสี |
ทางจะสอนศาสนาในบาลี | มาป่นปี้เสียเพราะมึงอย่าพึงแคลง ฯ |
๏ วายุพัฒน์ขัดใจทำไมข้า | จะมาด่ากันเล่นเป็นแขนง |
เพราะเชื่อคนมุทะลุมายุแยง | จนพลัดแพลงพ่อแม่ไปแต่ตัว |
ยังจะมาว่าขานเป็นการหยาบ | เอาเรื่องบาปหลอกข้ามันน่าหัว |
นี่หากว่าหนีปลอดได้รอดตัว | ถ้าแม้นมัวหลงเชื่อก็เหลือตาย |
อย่าว่าแต่ตีระฆังตั้งด่าแช่ง | จะนอนตะแคงนอนคว่ำคะมำหงาย |
ไม่คบคนเกเรเพทุบาย | ใครทำลายศาสนามาด่าอึง |
จะให้ตัดเหล่ากอทิ้งพ่อแม่ | พูดกอแกโกโรโมโหหึง |
เราไม่ใช่ชาติพาลสันดานดึง | ใครโกรธขึ้งก็ไม่กลัวช่างหัวใคร ฯ |
๏ บาทหลวงฟังคั่งแค้นแสนพิโรธ | เหลือจะโกรธเต็มประดาน้ำตาไหล |
น้อยหรือมันพูดข่มเหงไม่เกรงใจ | จะคิดให้คนชั่วมันกลัวเกรง |
แกตรองตรึกนึกไปว่าอ้ายนี่ | แม้นเสียทีมันจะรุมกันคุมเหง |
จำจะต้องเพทุบายให้หลายเพลง | เอาให้เกรงกูจนได้ในวิชา |
แล้วสั่งพวกต้นหนคนทั้งหลาย | เอาเรือรายตามฝั่งระวังหนา |
อย่าให้มันเข้าไปได้ในลังกา | คอยรักษาปากน้ำที่สำคัญ |
ค่ำวันนี้กูจะตีให้แตกยับ | เร่งกำชับทุกหมวดให้กวดขัน |
พอเย็นพยับอับสีรวีวรรณ | พลขันธ์ตีฆ้องกลองสัญญา |
ทั้งสองข้างต่างสงบไม่รบรับ | พากันกลับถอยหลังเข้าฝั่งฝา |
บ้างก็จัดของเสบียงเลี้ยงโยธา | หุงข้าวปลากินอยู่ทุกผู้คน ฯ |
๏ ครั้นเดือนเด่นเห็นสว่างกลางอากาศ | ขุนอำมาตย์ตรวจทั่วตัวพหล |
ให้ระวังนั่งอยู่ทุกผู้คน | ระวังกลข้าศึกคิดตรึกตรอง |
ให้นั่งยามตามไฟในกำปั่น | จงพร้อมกันคอยฟังรับสั่งสนอง |
เครื่องอาวุธสาตราขนมากอง | อย่าให้ต้องไปหาจะช้าที |
ของของใครจัดไว้ให้ครบถ้วน | ตามกระบวนแต่บรรดากะลาสี |
ใครประมาทราชอาญาจะฆ่าตี | ผลาญชีวีผู้นั้นให้บรรลัย ฯ |
๏ จะกล่าวลำกำปั่นเทวสินธุ์ | เทพจินดาน้องค่อยผ่องใส |
ทั้งราเมศสุริย์วงศ์ผู้ทรงชัย | กับท้าวไทรายามาด้วยกัน |
พอถึงยังลังกาอาณาเขต | ถิ่นประเทศภพไกรไอศวรรย์ |
เห็นเรือแพคับคั่งประดังกัน | ล้วนกำปั่นรบเรียงเคียงประดา |
ให้ลดใบรั้งรอแต่พอเช้า | จะฟังข่าวพวกพหลพลอาสา |
ทอดสมอรอเรียงเคียงกันมา | แต่บรรดากำปั่นทั้งพันปลาย ฯ |