- คำนำ (พ.ศ. ๒๕๔๔)
- คำนำ (พ.ศ. ๒๕๒๙)
- คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งแรก
- ประวัติสุนทรภู่
- บันทึกเรื่องผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง
- อธิบาย ว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่
- ปกิรณะกะประวัติของสุนทรภู่
- ตอนที่ ๑ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา
- ตอนที่ ๒ นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๓ ศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๔ ศรีสุวรรณพบนางเกษรา
- ตอนที่ ๕ ศรีสุวรรณเกี้ยวนางเกษรา
- ตอนที่ ๖ ศรีสุวรรณรบท้าวอุเทน
- ตอนที่ ๗ ศรีสุวรรณพยาบาลนางเกษรา
- ตอนที่ ๘ อภิเษกศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๙ พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
- ตอนที่ ๑๐ พระอภัยได้นางเงือก
- ตอนที่ ๑๑ นางสุวรรณมาลีไปเที่ยวทะเล
- ตอนที่ ๑๒ พระอภัยมณีพบนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๑๓ พระอภัยมณีโดยสารเรือนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๑๔ พระอภัยมณีเรือแตก
- ตอนที่ ๑๕ สินสมุทรโดยสารเรือโจรสุหรั่ง
- ตอนที่ ๑๖ สินสมุทรพบศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๑๗ ศรีสุวรรณกับสินสมุทรตามพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๑๘ พระอภัยมณีโดยสารเรืออุศเรน
- ตอนที่ ๑๙ พระอภัยมณีพบศรีสุวรรณกับสินสมุทร
- ตอนที่ ๒๐ สินสมุทรรบกับอุศเรน
- ตอนที่ ๒๑ พระอภัยมณีเกี้ยวนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๒๒ พระอภัยมณีครองเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๓ พระอภัยมณีอภิเษกกับนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๒๔ กำเนิดสุดสาคร
- ตอนที่ ๒๕ สุดสาครเข้าเมืองการะเวก
- ตอนที่ ๒๖ อุศเรนตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๗ เจ้าละมานตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๘ สุดสาครตามพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๒๙ ศึกเก้าทัพตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๓๐ พระอภัยมณีตีเมืองใหม่
- ตอนที่ ๓๑ พระอภัยมณีพบนางละเวง
- ตอนที่ ๓๒ ศรีสุวรรณอาสาตีด่านดงตาล
- ตอนที่ ๓๓ ย่องตอดสะกดทัพ
- ตอนที่ ๓๔ นางละเวงคิดหย่าทัพ
- ตอนที่ ๓๕ พระอภัยติดท้ายรถ
- ตอนที่ ๓๖ พระอภัยมณีทำผูกคอตายได้นางละเวง
- ตอนที่ ๓๗ ศรีสุวรรณกับสินสมุทรถูกเสน่ห์
- ตอนที่ ๓๘ นางสุวรรณมาลีข้ามไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๓๙ นางสุวรรณมาลีมีสารตัดพ้อ
- ตอนที่ ๔๐ สุดสาครถูกเสน่ห์
- ตอนที่ ๔๑ นางสุวรรณมาลีหึงหน้าป้อม
- ตอนที่ ๔๒ หัสไชยแก้เสน่ห์
- ตอนที่ ๔๓ นางเสาวคนธ์ยิงแก้ม
- ตอนที่ ๔๔ กษัตริย์สามัคคี
- ตอนที่ ๔๕ นางเสาวคนธ์ขุดโคตรเพชร
- ตอนที่ ๔๖ พระอภัยมณีกลับเมือง
- ตอนที่ ๔๗ อภิเษกสินสมุทร
- ตอนที่ ๔๘ นางเสาวคนธ์หนี
- ตอนที่ ๔๙ นางเสาวคนธ์แปลงเป็นฤๅษี
- ตอนที่ ๕๐ นางเสาวคนธ์ได้เมืองวาหุโลม
- ตอนที่ ๕๑ สุดสาครตามนางเสาวคนธ์
- ตอนที่ ๕๒ พระอภัยมณีทำศพท้าวสุทัศน์
- ตอนที่ ๕๓ มังคลาครองเมืองลังกา
- ตอนที่ ๕๔ มังคลาชิงโคตรเพชร
- ตอนที่ ๕๕ มังคลาจับนางสุวรรณมาลีและท้าวทศวงศ์
- ตอนที่ ๕๖ หัสไชยตีด่านเมืองลังกา
- ตอนที่ ๕๗ สุดสาครรบมังคลา
- ตอนที่ ๕๘ นางละเวงวัณฬาช่วยนางสุวรรณมาลีแลท้าวทศวงศ์
- ตอนที่ ๕๙ พระอภัยมณีศรีสุวรรณไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๐ พระอภัยมณีรบกับมังคลา
- ตอนที่ ๖๑ สังฆราชบาทหลวงเผาเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๒ พระอภัยเข้าเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๓ อภิเษกหัสไชย
- ตอนที่ ๖๔ พระอภัยมณีออกบวช
- ตอนที่ ๖๕ พระบาทหลวงพาพระมังคลาหนีทัพไปเมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๖๖ วลายุดาครองเมืองสินชัย
- ตอนที่ ๖๗ วายุพัฒน์เป็นอุปราชเมืองเซ็น
- ตอนที่ ๖๘ หัสกันครองเมืองสุลาลัย
- ตอนที่ ๖๙ พระอภัยมณีเยี่ยมศพนางมณฑา
- ตอนที่ ๗๐ พระมังคลายกทัพเรือมาตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๗๑ นางรำภา นางยุพาผกาและนางสุลาลีวันออกรบ
- ตอนที่ ๗๒ สุดสาคร สินสมุทรรบกับพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๓ วลายุดา วายุพัฒน์และหัสกันเข้าเฝ้าศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๗๔ ทัพพันธมิตรเมืองกำพลเพชรยกมาช่วยพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๕ พระมังคลาล่าทัพไปถึงเกาะกาหวี
- ตอนที่ ๗๖ ทหารเมืองกำพลเพชรตามนางกฤษณาพบพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๗ พระมังคลาได้นางดวงแขลูกสาวเจ้าเมืองสำปันหนา
- ตอนที่ ๗๘ อภิเษกพระกฤษณากับนางเทพินไปครองเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๗๙ วลายุดา วายุพัฒน์และหัสกันลามารดากลับไปเมือง
- ตอนที่ ๘๐ พระมังคลายกทัพเมืองสำปันหนาไปตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๘๑ ศรีสุวรรณออกรับศึกพระมังคลา
- ตอนที่ ๘๒ โจรสลัดคุมกำปั่นปล้นเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๘๓ ศรีสุวรรณมาช่วยเมืองรมจักรรบโจรสลัด แล้วอภิเษกตรีพลำกับอัมพวันและเทวัญกับนิลกัณฐี
- ตอนที่ ๘๔ พระมังคลากับพระบาทหลวงแตกทัพไปเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆ
- ตอนที่ ๘๕ พระมังคลาไปถึงเมืองโรมพัฒน์ได้นางบุษบง
- ตอนที่ ๘๖ พระบาทหลวงกับพระมังคลายกทัพเรือเมืองโรมพัฒน์ไปตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๘๗ สุดสาครทราบข่าวศึก
- ตอนที่ ๘๘ พระมังคลากับพระบาทหลวงตีได้เมืองด่านลังกา
- ตอนที่ ๘๙ ทัพสุดสาครตีทัพพระมังคลาพ่าย จนเทวสินธุ์ตามไปถึงเมืองสำปันหนา
- ตอนที่ ๙๐ ท้าวรายากับพระเทวสินธุ์ไปถึงเมืองกำพลเพชร แล้วยกทัพไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๙๑ หกกษัตริย์ยกทัพมาช่วยเมืองลังกาทำศึก
- ตอนที่ ๙๒ พระบาทหลวงรบศึกหกกษัตริย์จนลมแดงซัดเรือรบพลัดกัน
- ตอนที่ ๙๓ สุดสาครตีเมืองด่านแตก
- ตอนที่ ๙๔ พระเทวสินธุ์พบพระมังคลาจนเจ็ดกษัตริย์เตรียมรบ
- ตอนที่ ๙๕ พระมังคลากับพระบาทหลวงยกทัพเข้าตีเมืองปากน้ำ
- ตอนที่ ๙๖ ทัพเจ็ดกษัตริย์ตีทัพพระบาทหลวงแตก
- ตอนที่ ๙๗ พระบาทหลวงเตรียมตีเมืองปากน้ำคืน
- ตอนที่ ๙๘ พระบาทหลวงขับท้าวรายากับนางบุษบงไปจากกองทัพ จนพระมังคลาหนี
- ตอนที่ ๙๙ พระบาทหลวงยกเข้าตีเมืองปากน้ำ
- ตอนที่ ๑๐๐ สินสมุทรตีทัพพระบาทหลวงจนถูกยาเบื่อ
- ตอนที่ ๑๐๑ พระอภัยมณีเยือนลังกา
- ตอนที่ ๑๐๒ พระบาทหลวงปล่อยโคมไฟไปตกเมืองลังกา จนถึงพระอภัยมณีห้ามทัพ
- ตอนที่ ๑๐๓ หกกษัตริย์ตีโต้ทัพพระบาทหลวงล่าไปเมืองปตาหวี
- ตอนที่ ๑๐๔ พระอภัยมณีกลับไปเขาสิงคุตร
- ตอนที่ ๑๐๕ อภิเษกหัสกันกับนางวันชายา
- ตอนที่ ๑๐๖ พระอภัยมณีไปเยี่ยมนางเงือกที่เกาะแก้วพิสดาร
- ตอนที่ ๑๐๗ พระบาทหลวงเข้าเมืองปตาหวีแล้วตามไปพบพระมังคลาที่เมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๑๐๘ พระมังคลาและนางบุษบงออกมารับพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๐๙ ท้าวโกสัยบอกพระมังคลาให้รู้อุบายพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๐ พระบาทหลวงตีด่านเมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๑๑๑ พระมังคลามีสารง้อศรีสุวรรณสุดสาครและสินสมุทร ให้มาช่วยรบพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๒ ทัพพระมังคลารบกับทัพพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๓ ทัพศรีสุวรรณกับสี่กษัตริย์ตีกระหนาบทัพพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๔ ทัพเรือพระบาทหลวงเข้าเมืองกาศึก
- ตอนที่ ๑๑๕ ศรีสุวรรณกับพวกพาพระมังคลากลับเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๑๖ ท้าวกุลามาลีได้นางดวงประไพลูกสาวท้าวสินชัยเจ้าเมืองกาศึก
- ตอนที่ ๑๑๗ พระมังคลาไปงานโสกันต์ระเด่นกินเรศ
- ตอนที่ ๑๑๘ เจ้าเมืองปตาหวีพานางดวงประไพกลับเมือง
- ตอนที่ ๑๑๙ สุดสาครไปเยี่ยมนางเงือกและพระฤๅษีที่เกาะแก้วพิสดาร
- ตอนที่ ๑๒๐ สุดสาครกลับเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๒๑ ศรีสุวรรณให้นรินทร์รัตน์ไปครองเมืองรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๒ อภิเษกนรินทร์รัตน์ครองเมืองรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๓ เจ็ดกษัตริย์ยกทัพมาตีเมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๔ นรินทร์รัตน์ขอราเมศมาเป็นอุปราชกรุงรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๕ นรินทร์รัตน์กับราเมศมาช่วยเมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๖ เจ็ดกษัตริย์ตายสี่หนีสาม
- ตอนที่ ๑๒๗ นรินทร์รัตน์หลงนางเกศพัฒน์เมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๘ อภิเษกพระราเมศกับนางดวงประภา
- ตอนที่ ๑๒๙ ภัทวงศ์ไปไหว้เทวรูปจนพบนางเกสรสุมาลัย
- ตอนที่ ๑๓๐ เจ้าเมืองวายุภักษ์ขอนางเกสรสุมาลัยให้ภัทวงศ์
- ตอนที่ ๑๓๑ พระสังฆราชบาทหลวงยกทัพมาตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๓๒ ตัดหางสุพรรณมัจฉาแล้วสถาปนาเป็นจันทวดีพันปีหลวง
ตอนที่ ๑๑๐ พระบาทหลวงตีด่านเมืองกำพลเพชร
๏ จะกล่าวฝ่ายสังฆราชพระบาทหลวง | เวลาล่วงดาวกระจ่างสว่างแสง |
ประมาณสามยามสงัดแกจัดแจง | สั่งให้แต่งตัวทหารชำนาญปืน |
ประจุลูกน้อยใหญ่ใส่ดินหู | สังเกตดูปืนสัญญาเร่งฝ่าฝืน |
ยิงระดมถมเข้าไปในกลางคืน | คงแตกตื่นวุ่นวิ่งชิงเอาเมือง |
แกสั่งเสร็จแหงนขึ้นไปในอากาศ | เห็นเมฆกลาดกลุ้มวิถีเป็นสีเหลือง |
แล้วดูดาวที่บังคับสำหรับเมือง | ยังรุ่งเรืองสุกใสทั้งไพบูลย์ |
แต่ตำราว่าไว้ในตำหรับ | แม้แม่ทัพดีคงได้ซึ่งไอศูรย์ |
ถึงชะตาเมืองจะดีบริบูรณ์ | แต่เค้ามูลปลั้วเปลี้ยก็เสียเอง |
พอดาวโจรโชติช่วงเห็นดวงเด่น | บาทหลวงเห็นต้องตำหรับจับเขนง |
เทดินหูลุกขึ้นยืนยิงปืนเอง | เสียงครื้นเครงเลื่อนลั่นสนั่นดัง |
ทหารปืนจับชุดจุดดินหู | เสียงฟุบฟูยิงประดาทั้งหน้าหลัง |
เป็นควันกลุ้มตูมลั่นสนั่นดัง | ถูกกระทั่งสนามดินก้อนศิลา |
ยิงระดมสมทบหอรบใหญ่ | เป็นแสงไฟส่องสว่างกลางเวหา |
เสียงประสานขานโห่เป็นโกลา | ชาวพาราปล่อยปืนดังครื้นโครม |
ถูกวิหลั่นหันเหียนเจียนจะคว่ำ | แล้วยิงซ้ำก้องกึกเสียงฮึกโหม |
ถูกเพลาใบไหม้เสาราวกับโคม | เสียงครึกโครมสูบน้ำร่ำขึ้นไป |
เพลิงก็ดับกลับใบมิได้หยุด | บ้างยัดจุดยิงกันเสียงหวั่นไหว |
บาทหลวงเร่งพวกพหลสกลไกร | ให้โยนไฟหม้อดินสิ้นทุกคน |
ถูกตึกกร้านร้านโรงไฟโพลงพลุ่ง | ทหารมุงช่วยกันดับอยู่สับสน |
พระมังคลากล้าหาญการประจญ | พลางไล่คนขึ้นเชิงเทินเนินกำแพง |
ให้ยิงปืนทองปรายรายทุกป้อม | ทหารพร้อมปล่อยไปไฟเป็นแสง |
เสียงตูมตึงผึงผางที่กลางแปลง | ถูกเรือแคลงแคมปรุทะลุทลาย |
บ้างถูกพวกแขกดำตกน้ำโพล่ง | ถูกซึ่โครงอกแยกแตกสลาย |
บ้างขาหักแขนขาดกระจัดกระจาย | ทั้งไพร่นายตายล้มไม่สมประดี ฯ |
๏ พอรุ่งแจ้งแสงทองส่องอากาศ | สังฆราชเร่งให้รบอย่าหลบหนี |
รีบเข้าไปให้กระทั่งฝั่งนที | ยกเข้าตีด่านให้ได้อย่าไว้มัน |
พอสว่างเห็นทางเร่งขึ้นบก | กระไดหกพาดกำแพงให้แข็งขัน |
ปีนเข้าไปในพาราไล่ฆ่าฟัน | อาวุธสั้นเร่งเข้ากลุ้มตะลุมบอน |
แกถือดาบด้ำงาอาญาสิทธิ์ | ท้าวแขกติดตามหลังแกสั่งสอน |
แล้วขับพวกโยธาพลากร | ให้เร่งต้อนกันเข้ายิงเป็นสิงคลี |
เรือประดาหน้าหลังอยู่คั่งคับ | เอาปืนตับยิงหอรบไม่หลบหนี |
พวกชาวเมืองเยื้องยิงทิ้งอัคคี | พอสุริย์ศรีพวยพุ่งจะรุ่งราง |
บาทหลวงให้ทอดสะพานกระดานเรียบ | พอคนเหยียบขึ้นไปได้เอาไม้ขวาง |
เอาเหล็กแผ่นบังกายวิ่งไปพลาง | ขึ้นไปทางชายหาดดาษดา |
ยกบันไดเข้าไปพาดพลาดถลำ | ชาวเมืองซ้ำแทงดิ้นสิ้นสังขาร์ |
หลอมตะกั่วคั่วทรายปรายลงมา | จนเวลารุ่งแจ้งแสงอุทัย |
บาทหลวงขึ้นบนฝั่งสั่งทหาร | ให้ปลูกร้านริมท่าชลาไหล |
เอาเหล็กรางบังกั้นข้างชั้นใน | แล้วตั้งให้ค่ายล้อมรอบเป็นขอบคัน |
แผ่นเหล็กใหญ่หนาราวสักเก้านิ้ว | ตั้งเป็นทิวล้อมรอบเป็นขอบขันธ์ |
แล้วให้ลากปืนใหญ่ขึ้นไปพลัน | พอตะวันส่องสว่างกระจ่างตา |
ไล่พหลพลรบขึ้นหลบอยู่ | บาทหลวงดูเชิงเทินดินล้วนหินผา |
ถึงจะคิดรื้อถอนก้อนศิลา | ชายคงคาเห็นไม่ได้ดั่งใจปอง |
จำจะยิงปืนใหญ่เข้าไปสู้ | ให้คนผู้บางเบาทิ้งข้าวของ |
ยิงเข้าไปจะได้รู้ดูทำนอง | แล้วก็จ้องเข้าไปในเชิงเทิน |
เสียงตูมตึงผึงผางลงกลางค่าย | ถูกพลไพร่วิ่งวกระหกระเหิน |
บ้างล้มตายหลายคนบนเชิงเทิน | ที่ยับเยินเจ็บป่วยบ้างม้วยมรณ์ ฯ |
๏ ฝ่ายพระมิ่งมังคลานราราช | ตรัสประภาษกับทหารชาญสมร |
ให้ถอยทัพกลับพหลพลนิกร | ขึ้นที่ดอนทางบนพ้นลูกปืน ฯ |
๏ บาทหลวงว่ายิงเข้าไปอย่าให้ขาด | ให้ตายกลาดพสุธาอย่าฝ่าฝืน |
เราก็ตั้งค่ายมั่นกันลูกปืน | อย่าแตกตื้นออกไปสู้อยู่ในวง |
ดูกำลังเขาก่อนคอยผ่อนผัน | เราตั้งมั่นกว่าจะสมอารมณ์ประสงค์ |
ค่อยพากเพียรเอาให้ได้ดั่งใจจง | สมประสงค์ตีได้ด่านชานบุรินทร์ |
ทำไมกับเมืองกำพลอยู่บนบก | เปรียบเหมือนนกหนีหลบกระทบหิน |
มันคงต้องเลิกล่าเข้าธานินทร์ | เก็บให้สิ้นเมืองด่านชานชลา |
บาทหลวงคิดอิ่มเอมเปรมในจิต | คงสมคิดแท้แล้วไม่แคล้วหวา |
ทหารเราเล่าก็ดีมีศักดา | จงอุตส่าห์เคี่ยวขับคอยรับรอง ฯ |
๏ จะกล่าวฝ่ายนายด่านอาจารย์สั่ง | ให้รอรั้งพักพหลคนทั้งผอง |
จงตั้งมั่นกันตรวจเป็นหมวดกอง | ดูทำนองข้าศึกเห็นฮึกครัน |
แล้วพราหมณ์เฒ่าเข้าที่พิธีไสย | เสกใบไม้บินเวียนอยู่เหียนหัน |
เป็นต่อแตนแน่นอากาศประหลาดครัน | ท่านพราหมณ์นั้นเป่ามนต์ให้ทนคง |
ใครตบตีบี้เท่าไรไม่วายวอด | มันขบตอดต่อยกระจุยเป็นผุยผง |
กายสิทธิ์ฤทธิรณทั้งทนคง | แล้วเป่าส่งไปข้างค่ายให้ไล่คน |
เสียงหวี่หวู่อู้ไปเข้าค่ายแขก | คนตื่นแตกวิ่งเตร่ระเหระหน |
มันตอมต่อยหัวหูทุกผู้คน | เที่ยววิ่งวนปืนผาไม่กล้ายิง |
แล้วตอมต่อยเข้าที่หน้าตาบาทหลวง | วิ่งทะลวงร้องอี้ดั่งผีสิง |
บ้างเที่ยวแอบตอไม้คล้ายกับลิง | บ้างก็วิ่งหาไปมาใส่กอง |
พอควันกลุ้มต่อต่อยไม่ถอยหนี | เสียงอู้อี้วนวิ่งทิ้งข้าวของ |
บาทหลวงเห็นแปลกจิตผิดทำนอง | เห็นจะต้องเวทมนตร์พวกคนดี |
จำจะคิดแก้ไขที่ในสัตว์ | ให้วิบัติแพ้พ่ายกระจายหนี |
ต้องหาของอ้ายที่ชั่วตัวอัปรีย์ | มาแก้ที่เวทมนตร์คนสำคัญ |
แกจึงเรียกคนใช้ให้ไปหา | เก็บโหราเท้าสุนัขผักบุ้งขัน |
กับของชั่วหลายอย่างต่างต่างพรรณ | เอามากลั่นชุบผ้าดำทำเป็นธง |
ส่งให้พวกบริษัทขึ้นกวัดแกว่ง | ต่อที่แรงบินเปิดเตลิงหลง |
บาทหลวงสั่งพวกพหลรณรงค์ | ให้เอาธงปักไว้รอบค่ายคู |
แล้วจึงสั่งพวกทหารชำนาญครบ | ปืนจะรบประจุไว้ใส่ดินหู |
พอพลบค่ำย่ำระฆังพังประตู | พากันกรูยกเข้าด่านชานบุรินทร์ ฯ |
๏ จะกล่าวฝ่ายในปราการด่านปากน้ำ | พวกประจำธารท่าชลาสินธุ์ |
ทุกหมู่หมวดตรวจตรารอบธานินทร์ | พร้อมกันสิ้นทุกตำแหน่งแต่งกระบวน |
ฝ่ายท่านครูผู้ชำนาญในการเวท | ก็แจ้งเหตุต่อหายเร่งไต่สวน |
รู้ว่ามีผู้แก้ให้แปรปรวน | แกใคร่ครวญในฉบับตำหรับตำรา |
เห็นจะมีข้าศึกมาฮึกหาญ | ในปราการแม่นแท้แน่นักหนา |
จึงทูลพระจอมวังมังคลา | ในเวลาพลบค่ำดั่งทำนาย |
ขอพระองค์จงเตรียมโยธาทัพ | ไปตั้งรับอยู่ที่นั่นอย่าผันผาย |
เอาทหารปืนใหญ่ทั้งไพร่นาย | ไปตั้งรายตามประตูทุกหมู่กอง |
พระตรัสสั่งพวกพหลพลทั้งหลาย | เสนานายต่างประมูลทูลฉลอง |
ขออาสาการศึกเหมือนนึกปอง | มิให้ต้องเคืองบาทาฝ่าธุลี |
แล้วถวายบังคมลาออกมาตรวจ | ทุกหมู่หมวดอยู่ครบไม่หลบหนี |
พวกโยธาตีฆ้องกองอัคคี | หอกกระบี่แหลนหลาวทั้งเกาทัณฑ์ |
ยกไปตั้งข้างประตูบูรพทิศ | อาญาสิทธิ์นายหมวดล้วนกวดขัน |
ทหารปืนยืนรายมีหลายพัน | ทั้งยาวสั้นนกสับคาบศิลา ฯ |
๏ ฝ่ายโฉมยงองค์พระมังคลาราช | สั่งอำมาตย์มุลนายทั้งซ้ายขวา |
แม้นข้าศึกฮึกฮักจักเข้ามา | ทวาราเปิดให้ดังใจจง |
ปล่อยให้เข้ามาในด่านอย่าต้านหน้า | เหมือนดักปลาลงบ่อไม่หลอหลง |
พระสั่งเสร็จเย็นอับพยับลง | พลางแต่งองค์ตรงมาขึ้นพาชี ฯ |
๏ จะกล่าวข้างสังฆราชพระบาทหลวง | อาทิตย์ล่วงลับไม้ในไพรศรี |
จัดพหลพลรบครบบาญชี | ถือหอกตรีกริชปืนนับหมื่นพัน |
ขุนเสนีกำกับเป็นทัพหน้า | ถัดลงมาขุนรองเป็นกองขัน |
ทั้งปีกซ้ายปีกขวาสารพัน | ขุนนางนั้นกำกับทุกทัพชัย |
ท้าวกุลามาลีกับบาทหลวง | ทุกกระทรวงพร้อมพรั่งนั่งไสว |
ท้าวจึ่งให้ผูกม้าอาชาไนย | บาทหลวงไปขึ้นรถบทจร |
ด้วยเทียมม้ากล้าหาญในการรบ | มีเพลิงครบเคียงข้างนั่งสลอน |
พอพลบค่ำย่ำแสงทินกร | ยกทัพจรกรีธาพลาพล |
พวกทัพหน้ากล้าหาญในการยุทธ์ | ถืออาวุธปืนผาโกลาหล |
โห่ภาษาแขกเดินดำเนินพล | ยกเข้าปล้นข้างประตูบูรพา |
ปืนนกสับคาบศิลาโยธาหาญ | ยิงสะท้านกึกก้องห้องเวหา |
เสียงตูมตึงผึงโผงตรงเข้ามา | ทวาราปิดไว้ไม่ใส่ดาล |
กรูกันเข้าไปในด่านทหารหน้า | ทั้งปีกขวาปีกซ้ายนายทหาร |
พวกในค่ายรายดาเป็นหน้ากระดาน | ถือปืนขวานคับคั่งพวกนั่งกอง |
กรูกันเข้าตัดหลังประดังโห่ | พวกถือโล่ฟาดฟันผันผยอง |
ยกเข้ากลุ้มรุมรับทั้งทัพกอง | เสียงโห่ร้องเคลื่อนลั่นสนั่นดัง ฯ |
๏ ฝ่ายพระมิ่งมังคลานราราช | ไล่อำมาตย์พวกทวนกระบวนหลัง |
ตีกระทบทัพหน้าดาประดัง | พวกแขกตั้งตีกลุ้มตะลุมบอน |
พวกประตูครั่นครื้นลากปืนใหญ่ | ยิงออกไปตายกลิ้งริมสิงขร |
บาทหลวงเห็นโยธาพลากร | ดูย่อหย่อนตายกลาดดาษดา |
เร่งพหลพลรบสมทบทัพ | มาคั่งคับพลหมื่นยิงปืนผา |
พวกเข้าไปในปราการชานชลา | ชาวพาราแทงยับทั้งจับเป็น |
พวกเสนาพาไปขังไว้ยังคุก | แล้วยกรุกออกไปตั้งทั้งดั้งเขน |
ระดมยิงปืนไปตายระเนน | บาทหลวงเกณฑ์พลรบสมทบไป |
ฝ่ายพระมิ่งมังคลาทรงม้าผ่าน | เร่งทหารออกประตูดูไสว |
พฤฒาเฒ่าขี่คานหามออกตามไป | ทั้งโคมไฟแลสว่างดั่งกลางวัน |
บาทหลวงเห็นมังคลาแกด่าโผง | อ้ายคนโกงจับฆ่าให้อาสัญ |
ชาติจระเข้เนรคุณได้วุ่นกัน | ไม่ผิดพันธุ์ชาติมะเดื่อเองเหลือดี |
เหมือนกับอีวัณฬาอีบ้าผัว | ไปเมามัวนับถือเป็นฤๅษี |
มึงก็ชาติพาลาคนกาลี | นับถืออีแขกขี้ข้าอ้ายบ้ากาม |
เสียแรงกูสู้บำรุงผดุงไว้ | ครั้นโตใหญ่กลับระยำอ้ายซำสาม |
ทั้งล้างชาติศาสนาอ้ายบ้ากาม | มึงคงงามแล้วคราวนี้เห็นดีกู |
อย่าว่าแต่มึงได้ครองกำพลเพชร | ให้อีกเจ็ดพระนครคงอ่อนหู |
กูจะหักก้ามเคี้ยวเหมือนเปี้ยวปู | พระเยซูจะคอยซ้ำร่ำเอามึง |
พระมังคลาว่าเจ้าคุณการุญแท้ | มาตั้งแต่โกโรโมโหหึง |
เราก็ใช่คนพาลสันดานดึง | ไม่เหมือนซึ่งถ้อยคำท่านรำพัน ฯ |
๏ ฝ่ายท่านครูผู้เฒ่าเอาดอกไม้ | มาเสกให้เป็นนกบินผกผัน |
ส่งสำเนียงเสียงเพราะเสนาะครัน | แต่ตัวนั้นกระจิ๋วหริวเท่านิ้วมือ |
เสียงเป็นกังวานดีดั่งปี่แก้ว | จะเจื้อยแจ้วสกุณินก็บินปรื๋อ |
ไปร่อนร้องคอยจะจิกปีกกระพือ | พวกที่ถือหลาวแหลนต่างแหงนฟัง ฯ |
๏ ฝ่ายบาทหลวงยืนดูอยู่หน้ารถ | ได้ปรากฏเสียงสัตว์ประหวัดหวัง |
เที่ยวแหงนดูหูตรับสดับฟัง | สำเนียงดังเพราะพ้องก้องกังวาน |
นกก็ร้องเวียนวงอยู่ตรงหน้า | ตามภาษาเสียงเอกวิเวกหวาน |
ผิดวิหคนกป่าดูอาการ | ร้องมานานบินเงื่องดูเชื่องคน |
หรือจะเป็นกายสิทธิ์ฤทธิเวท | สำแดงเหตุให้ประจักษ์เกิดมรรคผล |
หรือจะเป็นปักษาผ้าพยนต์ | แกเรียกคนให้เอาไม้มาไล่ตี |
พอขาดคำสกุณีตีเอาปาก | จิกกระชากเอาที่ลิ้นแล้วบินหนี |
ราวกะคนปากบอนต้อนตบตี | แกหลบหนีเข้าในรถระทดใจ |
มาแพ้รู้ผู้วิเศษสังเกตผิด | ให้เจ็บจิตเหมือนใครเชือดให้เลือดไหล |
อายกะอ้ายผู้ทำระกำใจ | แกจึงไล่ทัพหน้าเข้าราวี |
ระดมปืนครื้นครั่นควันตลบ | ให้สมทบแขกชวากะลาสี |
ข้างฝ่ายพวกเพชรกำพลล้วนคนดี | ยกเข้าตีฟาดฟันประจัญบาน |
ที่แคล้วคลาดสาตราล้วนกล้าแข็ง | ไล่ฟันแทงพวกพหลพลทหาร |
อาวุธสั้นฟันฝ่าเป็นหน้ากระดาน | แขกชำนาญรำกริชคิดจะแทง |
ต่างป้องกันหันเหียนแล้วเปลี่ยนท่า | กล้าต่อกล้ารบกันด้วยขันแข็ง |
พวกคนธรรพ์ถือวิชาทั้งร่าแรง | เข้าต่อแย้งมิได้ย่นทั้งทนคง |
ทหารแขกเหลือกำลังจะตั้งมั่น | พวกคนธรรพ์ไล่กระจุยเป็นผุยผง |
บาทหลวงถอยเข้าค่ายดังใจจง | ให้ยกธงหย่าทัพขับนิกร ฯ |
๏ ฝ่ายองค์พระมังคลาพฤฒาเฒ่า | ให้คนป่าวร้องทหารชาญสมร |
จงรอรั้งตั้งพหลพลนิกร | เข้านครหยุดยั้งค่อยรั้งรา |
เวลานี้เล่าก็ควรจวนจะรุ่ง | จะรบพุ่งไม่สนัดขัดนักหนา |
พลางต้อนพลเข้าในค่ายชายชลา | ให้รักษามั่นไว้ในกำแพง ฯ |
๏ ฝ่ายองค์พระมังคลานราราช | พร้อมอำมาตย์พลทหารชาญกำแหง |
กับท่านครูผู้ประสิทธิ์ฤทธิแรง | ทุกตำแหน่งเฝ้ากลาดดาษดา |
ปางพระองค์ผู้ดำรงบุรีรัตน์ | โองการตรัสการศึกแล้วปรึกษา |
ว่าทางบกเราก็มั่นกันพารา | แต่ทางท่าชลธีไม่มีใคร |
จะกำจัดศัตรูหมู่มิจฉา | ขุนเสนาใครจะเห็นเป็นไฉน |
ข้างทางเรือขัดสนเป็นจนใจ | ออกไม่ได้ยากสุดมันอุดทาง |
เพราะไม่มีเรืออ้อมเข้าล้อมหลัง | มันจึงตั้งได้ถนัดไม่ขัดขวาง |
พระปรึกษานายมูลพวกขุนนาง | ไม่เห็นทางขัดสนเป็นจนใจ ฯ |
๏ ฝ่ายท่านครูผู้เป็นพราหมณ์นามสุทัต | แกรู้ชัดทูลแจ้งแถลงไข |
เหมือนพระองค์ทรงสุบินว่าเกิดไฟ | จะต้องไปทูลพระองค์พงศ์ประยูร |
มาดับเข็ญเห็นจะราบช่วยปราบศึก | คงสมนึกขอพระปิ่นบดินทร์สูร |
ส่งหนังสือสารภาพไปกราบทูล | โดยเค้ามูลงอนง้อขอขมา ฯ |