- คำนำ (พ.ศ. ๒๕๔๔)
- คำนำ (พ.ศ. ๒๕๒๙)
- คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งแรก
- ประวัติสุนทรภู่
- บันทึกเรื่องผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง
- อธิบาย ว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่
- ปกิรณะกะประวัติของสุนทรภู่
- ตอนที่ ๑ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา
- ตอนที่ ๒ นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๓ ศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๔ ศรีสุวรรณพบนางเกษรา
- ตอนที่ ๕ ศรีสุวรรณเกี้ยวนางเกษรา
- ตอนที่ ๖ ศรีสุวรรณรบท้าวอุเทน
- ตอนที่ ๗ ศรีสุวรรณพยาบาลนางเกษรา
- ตอนที่ ๘ อภิเษกศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๙ พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
- ตอนที่ ๑๐ พระอภัยได้นางเงือก
- ตอนที่ ๑๑ นางสุวรรณมาลีไปเที่ยวทะเล
- ตอนที่ ๑๒ พระอภัยมณีพบนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๑๓ พระอภัยมณีโดยสารเรือนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๑๔ พระอภัยมณีเรือแตก
- ตอนที่ ๑๕ สินสมุทรโดยสารเรือโจรสุหรั่ง
- ตอนที่ ๑๖ สินสมุทรพบศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๑๗ ศรีสุวรรณกับสินสมุทรตามพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๑๘ พระอภัยมณีโดยสารเรืออุศเรน
- ตอนที่ ๑๙ พระอภัยมณีพบศรีสุวรรณกับสินสมุทร
- ตอนที่ ๒๐ สินสมุทรรบกับอุศเรน
- ตอนที่ ๒๑ พระอภัยมณีเกี้ยวนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๒๒ พระอภัยมณีครองเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๓ พระอภัยมณีอภิเษกกับนางสุวรรณมาลี
- ตอนที่ ๒๔ กำเนิดสุดสาคร
- ตอนที่ ๒๕ สุดสาครเข้าเมืองการะเวก
- ตอนที่ ๒๖ อุศเรนตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๗ เจ้าละมานตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๒๘ สุดสาครตามพระอภัยมณี
- ตอนที่ ๒๙ ศึกเก้าทัพตีเมืองผลึก
- ตอนที่ ๓๐ พระอภัยมณีตีเมืองใหม่
- ตอนที่ ๓๑ พระอภัยมณีพบนางละเวง
- ตอนที่ ๓๒ ศรีสุวรรณอาสาตีด่านดงตาล
- ตอนที่ ๓๓ ย่องตอดสะกดทัพ
- ตอนที่ ๓๔ นางละเวงคิดหย่าทัพ
- ตอนที่ ๓๕ พระอภัยติดท้ายรถ
- ตอนที่ ๓๖ พระอภัยมณีทำผูกคอตายได้นางละเวง
- ตอนที่ ๓๗ ศรีสุวรรณกับสินสมุทรถูกเสน่ห์
- ตอนที่ ๓๘ นางสุวรรณมาลีข้ามไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๓๙ นางสุวรรณมาลีมีสารตัดพ้อ
- ตอนที่ ๔๐ สุดสาครถูกเสน่ห์
- ตอนที่ ๔๑ นางสุวรรณมาลีหึงหน้าป้อม
- ตอนที่ ๔๒ หัสไชยแก้เสน่ห์
- ตอนที่ ๔๓ นางเสาวคนธ์ยิงแก้ม
- ตอนที่ ๔๔ กษัตริย์สามัคคี
- ตอนที่ ๔๕ นางเสาวคนธ์ขุดโคตรเพชร
- ตอนที่ ๔๖ พระอภัยมณีกลับเมือง
- ตอนที่ ๔๗ อภิเษกสินสมุทร
- ตอนที่ ๔๘ นางเสาวคนธ์หนี
- ตอนที่ ๔๙ นางเสาวคนธ์แปลงเป็นฤๅษี
- ตอนที่ ๕๐ นางเสาวคนธ์ได้เมืองวาหุโลม
- ตอนที่ ๕๑ สุดสาครตามนางเสาวคนธ์
- ตอนที่ ๕๒ พระอภัยมณีทำศพท้าวสุทัศน์
- ตอนที่ ๕๓ มังคลาครองเมืองลังกา
- ตอนที่ ๕๔ มังคลาชิงโคตรเพชร
- ตอนที่ ๕๕ มังคลาจับนางสุวรรณมาลีและท้าวทศวงศ์
- ตอนที่ ๕๖ หัสไชยตีด่านเมืองลังกา
- ตอนที่ ๕๗ สุดสาครรบมังคลา
- ตอนที่ ๕๘ นางละเวงวัณฬาช่วยนางสุวรรณมาลีแลท้าวทศวงศ์
- ตอนที่ ๕๙ พระอภัยมณีศรีสุวรรณไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๐ พระอภัยมณีรบกับมังคลา
- ตอนที่ ๖๑ สังฆราชบาทหลวงเผาเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๒ พระอภัยเข้าเมืองลังกา
- ตอนที่ ๖๓ อภิเษกหัสไชย
- ตอนที่ ๖๔ พระอภัยมณีออกบวช
- ตอนที่ ๖๕ พระบาทหลวงพาพระมังคลาหนีทัพไปเมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๖๖ วลายุดาครองเมืองสินชัย
- ตอนที่ ๖๗ วายุพัฒน์เป็นอุปราชเมืองเซ็น
- ตอนที่ ๖๘ หัสกันครองเมืองสุลาลัย
- ตอนที่ ๖๙ พระอภัยมณีเยี่ยมศพนางมณฑา
- ตอนที่ ๗๐ พระมังคลายกทัพเรือมาตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๗๑ นางรำภา นางยุพาผกาและนางสุลาลีวันออกรบ
- ตอนที่ ๗๒ สุดสาคร สินสมุทรรบกับพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๓ วลายุดา วายุพัฒน์และหัสกันเข้าเฝ้าศรีสุวรรณ
- ตอนที่ ๗๔ ทัพพันธมิตรเมืองกำพลเพชรยกมาช่วยพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๕ พระมังคลาล่าทัพไปถึงเกาะกาหวี
- ตอนที่ ๗๖ ทหารเมืองกำพลเพชรตามนางกฤษณาพบพระมังคลา
- ตอนที่ ๗๗ พระมังคลาได้นางดวงแขลูกสาวเจ้าเมืองสำปันหนา
- ตอนที่ ๗๘ อภิเษกพระกฤษณากับนางเทพินไปครองเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๗๙ วลายุดา วายุพัฒน์และหัสกันลามารดากลับไปเมือง
- ตอนที่ ๘๐ พระมังคลายกทัพเมืองสำปันหนาไปตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๘๑ ศรีสุวรรณออกรับศึกพระมังคลา
- ตอนที่ ๘๒ โจรสลัดคุมกำปั่นปล้นเมืองรมจักร
- ตอนที่ ๘๓ ศรีสุวรรณมาช่วยเมืองรมจักรรบโจรสลัด แล้วอภิเษกตรีพลำกับอัมพวันและเทวัญกับนิลกัณฐี
- ตอนที่ ๘๔ พระมังคลากับพระบาทหลวงแตกทัพไปเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆ
- ตอนที่ ๘๕ พระมังคลาไปถึงเมืองโรมพัฒน์ได้นางบุษบง
- ตอนที่ ๘๖ พระบาทหลวงกับพระมังคลายกทัพเรือเมืองโรมพัฒน์ไปตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๘๗ สุดสาครทราบข่าวศึก
- ตอนที่ ๘๘ พระมังคลากับพระบาทหลวงตีได้เมืองด่านลังกา
- ตอนที่ ๘๙ ทัพสุดสาครตีทัพพระมังคลาพ่าย จนเทวสินธุ์ตามไปถึงเมืองสำปันหนา
- ตอนที่ ๙๐ ท้าวรายากับพระเทวสินธุ์ไปถึงเมืองกำพลเพชร แล้วยกทัพไปเมืองลังกา
- ตอนที่ ๙๑ หกกษัตริย์ยกทัพมาช่วยเมืองลังกาทำศึก
- ตอนที่ ๙๒ พระบาทหลวงรบศึกหกกษัตริย์จนลมแดงซัดเรือรบพลัดกัน
- ตอนที่ ๙๓ สุดสาครตีเมืองด่านแตก
- ตอนที่ ๙๔ พระเทวสินธุ์พบพระมังคลาจนเจ็ดกษัตริย์เตรียมรบ
- ตอนที่ ๙๕ พระมังคลากับพระบาทหลวงยกทัพเข้าตีเมืองปากน้ำ
- ตอนที่ ๙๖ ทัพเจ็ดกษัตริย์ตีทัพพระบาทหลวงแตก
- ตอนที่ ๙๗ พระบาทหลวงเตรียมตีเมืองปากน้ำคืน
- ตอนที่ ๙๘ พระบาทหลวงขับท้าวรายากับนางบุษบงไปจากกองทัพ จนพระมังคลาหนี
- ตอนที่ ๙๙ พระบาทหลวงยกเข้าตีเมืองปากน้ำ
- ตอนที่ ๑๐๐ สินสมุทรตีทัพพระบาทหลวงจนถูกยาเบื่อ
- ตอนที่ ๑๐๑ พระอภัยมณีเยือนลังกา
- ตอนที่ ๑๐๒ พระบาทหลวงปล่อยโคมไฟไปตกเมืองลังกา จนถึงพระอภัยมณีห้ามทัพ
- ตอนที่ ๑๐๓ หกกษัตริย์ตีโต้ทัพพระบาทหลวงล่าไปเมืองปตาหวี
- ตอนที่ ๑๐๔ พระอภัยมณีกลับไปเขาสิงคุตร
- ตอนที่ ๑๐๕ อภิเษกหัสกันกับนางวันชายา
- ตอนที่ ๑๐๖ พระอภัยมณีไปเยี่ยมนางเงือกที่เกาะแก้วพิสดาร
- ตอนที่ ๑๐๗ พระบาทหลวงเข้าเมืองปตาหวีแล้วตามไปพบพระมังคลาที่เมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๑๐๘ พระมังคลาและนางบุษบงออกมารับพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๐๙ ท้าวโกสัยบอกพระมังคลาให้รู้อุบายพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๐ พระบาทหลวงตีด่านเมืองกำพลเพชร
- ตอนที่ ๑๑๑ พระมังคลามีสารง้อศรีสุวรรณสุดสาครและสินสมุทร ให้มาช่วยรบพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๒ ทัพพระมังคลารบกับทัพพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๓ ทัพศรีสุวรรณกับสี่กษัตริย์ตีกระหนาบทัพพระบาทหลวง
- ตอนที่ ๑๑๔ ทัพเรือพระบาทหลวงเข้าเมืองกาศึก
- ตอนที่ ๑๑๕ ศรีสุวรรณกับพวกพาพระมังคลากลับเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๑๖ ท้าวกุลามาลีได้นางดวงประไพลูกสาวท้าวสินชัยเจ้าเมืองกาศึก
- ตอนที่ ๑๑๗ พระมังคลาไปงานโสกันต์ระเด่นกินเรศ
- ตอนที่ ๑๑๘ เจ้าเมืองปตาหวีพานางดวงประไพกลับเมือง
- ตอนที่ ๑๑๙ สุดสาครไปเยี่ยมนางเงือกและพระฤๅษีที่เกาะแก้วพิสดาร
- ตอนที่ ๑๒๐ สุดสาครกลับเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๒๑ ศรีสุวรรณให้นรินทร์รัตน์ไปครองเมืองรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๒ อภิเษกนรินทร์รัตน์ครองเมืองรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๓ เจ็ดกษัตริย์ยกทัพมาตีเมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๔ นรินทร์รัตน์ขอราเมศมาเป็นอุปราชกรุงรัตนา
- ตอนที่ ๑๒๕ นรินทร์รัตน์กับราเมศมาช่วยเมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๖ เจ็ดกษัตริย์ตายสี่หนีสาม
- ตอนที่ ๑๒๗ นรินทร์รัตน์หลงนางเกศพัฒน์เมืองเหมรา
- ตอนที่ ๑๒๘ อภิเษกพระราเมศกับนางดวงประภา
- ตอนที่ ๑๒๙ ภัทวงศ์ไปไหว้เทวรูปจนพบนางเกสรสุมาลัย
- ตอนที่ ๑๓๐ เจ้าเมืองวายุภักษ์ขอนางเกสรสุมาลัยให้ภัทวงศ์
- ตอนที่ ๑๓๑ พระสังฆราชบาทหลวงยกทัพมาตีเมืองลังกา
- ตอนที่ ๑๓๒ ตัดหางสุพรรณมัจฉาแล้วสถาปนาเป็นจันทวดีพันปีหลวง
ตอนที่ ๙๒ พระบาทหลวงรบศึกหกกษัตริย์จนลมแดงซัดเรือรบพลัดกัน
๏ จะกล่าวข้างสังฆราชพระบาทหลวง | แกร้อนทรวงแค้นใจมิใคร่หาย |
จำจะคิดแยบยลกลอุบาย | ดูแยบคายข้าศึกพลางตรึกตรอง |
จะแก้แค้นแทนทดไม่ลดละ | ขอเดชะพระช่วยเราที่เศร้าหมอง |
แล้วจึ่งหยิบหญ้าคาออกมากอง | จัดสำรองมัดพยนต์เป่ามนตรา |
เป็นรูปทูตเยซูผู้วิเศษ | แล้วอ่านเวทที่สำหรับกับคาถา |
แกสั่งซึ่งข้อความตามสัญญา | โยนขึ้นอากาศดังเสียงวังเวง |
เป็นดีดสีปี่กลองก้องสนั่น | บันลือลั่นไพเราะเสียงเหมาะเหมง |
ในเวลากลางคืนเสียงครื้นเครง | ฟังวังเวงพริ้งเพราะเสนาะครวญ |
ไปลอยอยู่บนนภางค์กลางเวหน | ให้ฝูงคนตกตะลึงคะนึงหวน |
ตรงกำปั่นสันโดษทำโอดครวญ | ทั้งกระบวนกองทัพนิ่งตรับฟัง ฯ |
๏ หกกษัตริย์ทัศนาบนอากาศ | เห็นประหลาดหลากในพระทัยหวัง |
จึ่งว่าจะเป็นอะไรพึ่งได้ฟัง | แล้วตรัสสั่งเสนีผู้ปรีชา |
อย่าไว้ใจในตำบลกลศึก | จงตรองตรึกโกลาหลบนเวหา |
เราเห็นจะเกิดการเป็นมารยา | ขุนเสนาจงกำกับอย่าหลับนอน |
ศรีสุวรรณชั้นเชิงเป็นผู้ใหญ่ | อย่าไว้ใจนักหนาอาจะสอน |
ทั้งลูกหลานการมาในสาคร | กำลังร้อนศึกประดังยังไม่วาย |
พอขาดคำร่ำสอนเสียงดีดสี | ที่อึงมี่สำเนียงเสียงก็หาย |
สักครู่หนึ่งเปล่งแสงสำแดงกาย | กล่าวอุบายแผดร้องก้องตะโกน |
ว่าเหวยเหวยกษัตราพวกฝาหรั่ง | จงยับยั้งเอ็งอย่าเต้นเหมือนเล่นโขน |
กูนี้คือทูตสวรรค์ใช่พรรค์โจร | จงเร่งโอนอ่อนน้อมให้พร้อมกัน |
พระเป็นเจ้าเยซูผู้ประสิทธิ์ | ทศพิธตรึงส์ไตรเจ้าไอศวรรย์ |
รับสั่งให้กูมาห้ามปรามสามัญ | อย่าดึงดันจงระงับเร่งกลับใจ |
ไปงอนง้อขอโทษพระบาททลวง | ที่ร้อนทรวงไปสมาอัชฌาสัย |
ความชั่วช้าสามานย์ประการใด | จะกลับใจหรือไม่กลับจงรับคำ |
กูนี้หรือคือทูตไม่พูดหยอก | แม้นเอ็งบอกจะช่วยชุบอปถัมภ์ |
แล้วจะจดชื่อเสียงเรียงถ้อยคำ | กูจะนำไปบนฟ้าไม่ช้าที ฯ |
๏ หกกษัตริย์ฟังอรรถบนอากาศ | แปลกประหลาดหลากพระทัยในวิถี |
ไม่เห็นหนกายินทั้งอินทรีย์ | มาเกิดมีในนภางค์เมื่อกลางคืน |
วายุพัฒน์นัดดาจึ่งว่าขาน | มาเกิดการผิดตำราไม่ฝ่าฝืน |
จำจะคิดแก้ไขในกลางคืน | พลางลุกยืนร้องไปเป็นใจความ |
เอ็งนี้หรือคือทูตในสวรรค์ | มาหลอกกันหรือกระไรขอไต่ถาม |
กูไม่เชื่อเบื่อหูรู้ในความ | มาคุกคามหลอกกันด้วยมารยา |
พลางเรียกยักษ์ชักพระขรรค์ออกกวัดแกว่ง | เป็นสีแสงส่องสว่างกลางเวหา |
เป็นเปลวไฟไหม้พยนต์บนเมฆา | ก็หนีมาจากที่เร็วรี่ไป ฯ |
๏ บาทหลวงเห็นหุ่นมนต์พยนต์หญ้า | มาบนฟ้าไฟติดผิดวิสัย |
แล้วตกลงมาพลันด้วยทันใด | ลุกเป็นไฟไหม้ป่นไม่ทนทาน |
ประหลาดจิตผิดเชิงเพลิงที่ไหน | มาเกิดไหม้ตกลงใครจงผลาญ |
แกสั่งทุกหมู่หมวดให้ตรวจการ | เร่งทหารตามตำแหน่งให้แต่งพล |
จะยกเข้าชิงชัยอย่าได้ช้า | ทั้งปืนผาเตรียมให้ทั่วตัวพหล |
ครั้นสั่งเสร็จโยธาพลาพล | จะเข้าปล้นไพรีให้มีชัย |
พอลมพัดจัดมาเวลาดึก | เสียงครั้นครึกกลางมหาชลาไหล |
ให้ตีกลองฆ้องระฆังประดังไป | ยิงปืนใหญ่ออกกำปั่นมิทันนาน |
ให้แล่นเรียงเคียงเข้าพุ่งหลาวแหลน | ทั้งโล่แพนครบทั่วตัวทหาร |
ล้มปะทะปะทันประจัญบาน | พวกทหารไทยระวังตั้งกระบวน |
พอข้าศึกฮึกฮักเข้าหักหาญ | ด้วยเตรียมการตามระบอบคอยสอบสวน |
ไม่ประมาทคาดใจทั้งใคร่ครวญ | พอเรือจวนถึงกันโห่สัญญา |
ระดมยิงปืนตับทั้งคาบชุด | แกว่งอาวุธโล่แพนไว้แน่นหนา |
เอาหม้อดินโยนไปในเภตรา | ดาษดาลุกเป็นไฟที่ในเรือ |
ถูกฝรั่งล้มตายวายชีวาตม์ | เอาง้าวฟาดใครเข้าใกล้มิได้เหลือ |
ทั้งเชือกเสาเพลาใบไหม้เป็นเบือ | พวกในเรือดับไฟมิได้นาน |
พอเข้าใกล้ได้ทีเอาขอสับ | โดดขึ้นรับฟันฟาดชาติทหาร |
ฝรั่งเห็นเสียเชิงละเลิงลาน | จะต้านทานตามกำลังระวังตัว |
บาทหลวงเห็นทัพไทยไล่กระหนาบ | แกชักดาบคอยสกัดจะตัดหัว |
แล้วประกาศโยธาเอ็งอย่ากลัว | บอกให้ทั่วแต่บรรดาเสนานาย |
แล้วให้ยิงปืนพิรุณกระสุนแตก | เอาสาแหรกชักขึ้นไปดั่งใจหมาย |
เสียงตูมตึงผึงแยกแตกกระจาย | พลนิกายข้างไทยบรรลัยลาญ ฯ |
๏ ฝ่ายพระจอมปัถพินนรินทร์รัตน์ | โองการตรัสปรึกษาบรรดาหลาน |
ให้ยกเอาค่ายวิหลั่นมิทันนาน | ขึ้นต้านทานโดยกำลังบังลูกปืน |
แต่รบรับทัพฝรั่งกำลังศึก | เสียงครื้นครึกเภตราไม่ฝ่าฝืน |
พอเกิดลมแดงตั้งขึ้นกลางคืน | ระลอกคลื่นตีกำปั่นสนั่นดัง |
พระจันทร์อับลับฟ้าเวหาหน | บังเกิดฝนตกพรำเป็นน้ำขัง |
สุนีเปรี้ยงเสียงลั่นสนั่นดัง | คงคาคลั่งเรือซัดกระจัดกระจาย |
ทหารรบหลบฝนทนไม่ไหว | หนาวในใจเย็นอยู่ไม่รู้หาย |
ลูกพายุป่วนปัดบ้างพลัดพราย | ที่ในสายสาคโรชโลทร |
โดนกันแตกแยกย้ายไปหลายร้อย | บ้างซัดถอยเข้าตลิ่งเกยสิงขร |
จนเป็นเหยื่อฝูงปลาในสาคร | หนทางจรมิได้รู้ทุกผู้คน |
ทั้งมืดค่ำคล้ำมัวทั่วอากาศ | ลมก็กราดไปไม่แจ้งรู้แห่งหน |
ทั้งเรือไทยเรือฝรั่งในวังวน | ก็ซัดปนกันไม่รู้ว่าผู้ใด |
หกกษัตริย์ซัดเข้าอ่าวสิงหล | แต่มืดมนมิได้แจ้งตำแหน่งไหน |
เรือฝรั่งลมกราดสาดออกไป | ถูกคลื่นใหญ่โต้หน้าพะว้าพะวัง |
ฝนก็ตกมิได้หยุดสุดความคิด | เป็นจนจิตด้วยกันหมดกำหนดหวัง |
พวกต้นหนนายเรือเหลือกำลัง | ไม่เห็นฝั่งเห็นฟ้าระอาจริง ฯ |
๏ บาทหลวงเฒ่าเจ้าตำรานั้นอ้าปาก | ลงนั่งรากแทบจะตายสวายสวิง |
ดูหน้าเขียวร่างกายคล้ายกับลิง | นั่งแอบอิงถังน้ำมือคลำปืน |
สิ้นสติความกลัวขนหัวลุก | ทั้งเจ็บจุกเต็มประดาเหลือฝ่าฝืน |
ไหนจะหนาวเหน็บเย็นเป็นกลางคืน | ทั้งลมคลื่นก็ไม่ซาระอาใจ |
ฟ้าก็ร้องก้องเปรี้ยงเสียงสนั่น | พิลึกลั่นโกลาสาธุไหว |
วิถีทางกลางมหาสมุทรไท | เป็นคลื่นใหญ่เหลือล้นคณนา |
บาทหลวงเรียกเยซูให้ชูช่วย | อย่าให้ม้วยมรณังสิ้นสังขาร์ |
เรือก็แคลงแพลงสะบัดซัดออกมา | ไกลลังกาเหลือกำหนดหมดด้วยกัน |
แต่แตกล่มจมตายเสียหลายร้อย | ทั้งยับย่อยเต็มประดาแทบอาสัญ |
เหลือจะฝืนคลื่นลมระดมกัน | สลาตันตีส่งให้หลงทาง ฯ |
๏ จะกล่าวฝ่ายกำปั่นหกกษัตริย์ | เมื่อลมพัดเข้าไปปะปะทะขวาง |
ถึงปากอ่าวเข้าได้ในหนทาง | เรือก็ขวางเกะกะเข้าปะปน |
ด้วยมืดเหลือฝนฟ้าในอากาศ | แต่ชายหาดก็ไม่แจ้งรู้แห่งหน |
จะจุดไฟก็ไม่ติดผิดพิกล | เป็นเหลือทนหนาวเหน็บเจ็บระบม |
พวกล้าต้าต้นหนคนทั้งหลาย | ทั้งบ่าวนายลมจับนอนทับถม |
บ้างก็ได้ผิวมะกรูดมาสูดดม | พอดับลมเวียนศีรษะปะทะทรวง |
แต่บรรดามาในลำเรือกำปั่น | ให้หวาดหวั่นในใจเป็นใหญ่หลวง |
ทั้งพหลพลไกรไพร่ทั้งปวง | ลงนอนง่วงหงอยเหงาเศร้าอุรา |
เปรียบเหมือนคนง่อยเปลี้ยเสียจักขุ | สดิผุเต็มคิดผิดนักหนา |
จนความรู้ดูในทางกลางชลา | ไม่เห็นฟ้าเห็นน้ำที่สำคัญ |
แต่ลมส่งตรงเข้าในอ่าวสมุทร | พัดไม่หยุดวนเวียนทั้งเหียนหัน |
ที่นั่งทรงองค์กษัตริย์หัสกัน | ยังป่วนปั่นอยู่ข้างขวาหน้าสันดอน ฯ |
๏ จะกล่าวฝ่ายในลังกาอาณาจักร | ก็พร้อมพรักทวยหาญชาญสมร |
ทุกหมู่หมวดตรวจตราพลากร | สุดสาครสั่งมหาเสนาพลัน |
เวลาเช้าเราจะยกเข้าตีด่าน | เตรียมทหารกองแซงให้แข็งขัน |
กระบวนหน้าวาหุโลมพวกโจมฟัน | พลขันธ์บินได้ในอัมพร |
จึงสั่งท่านจักราพฤฒาเฒ่า | จงช่วยเราเร่งรัดจัดพหล |
เวลาใดดูสอบให้ชอบกล | ทั้งเวทมนตร์ท่านช่วยปัดกำจัดภัย |
อันฤกษ์ยามตามแต่ดีที่ประสงค์ | โดยจำนงแล้วจงแจ้งแถลงไข |
เราจะยกเข้าตีให้มีชัย | เอาให้ได้ปากน้ำที่สำคัญ ฯ |
๏ ฝ่ายโฉมยงองค์พระมังคลาราช | แต่คอยบาทหลวงหายไม่ผายผัน |
ตั้งแต่ลงไปเภตราได้ห้าวัน | คนทั้งนั้นพากันหายไม่ได้ความ |
แต่วันนี้มีพายุผิดประหลาด | ฝนก็สาดเหลือจะให้ไปไต่ถาม |
ทั้งมืดมัวทั่วทิศจะติดตาม | ก็เป็นความจนใจในกลางคืน |
จึงตรัสสั่งเสนาพวกม้าใช้ | พอสุริย์ใสส่องหล้าจงฝ่าฝืน |
รีบไปสืบที่เรือเมื่อกลางคืน | ได้ยินปืนเสียงก้องท้องทะเล |
ครั้นดึกดื่นปืนเงียบพอฝนตก | กูหนักอกนึกพรั่นคิดหันเห |
ไม่ไว้ใจในห้องท้องทะเล | เหลือคะเนด้วยหนทางก็ห่างไกล ฯ |
๏ ฝ่ายพระหน่อเทวสินธุ์นรินทร์รัตน์ | สามกษัตริย์พี่น้องไม่ผ่องใส |
สะท้านท่าวหนาวฝนจนพระทัย | ทอดอยู่ในท้องสมุทรสุดรำพึง |
ห่างกับเกาะลังกาสิบห้าโยชน์ | ด้วยมีโขดพายุใหญ่ไปไม่ถึง |
เป็นแต่ฝนมืดไปให้รำพึง | นึกคะนึงมิได้เบาบรรเทาทรวง |
แต่มืดมนอนธการ์เวหาห้อง | จะแล่นล่องเหลือคะเนทะเลหลวง |
ต่อรุ่งรางสุริเยนทร์ขึ้นเด่นดวง | จึ่งจะล่วงแล่นเข้าไปในลังกา |
พระตรองตรึกนึกวิตกให้หมกมุ่น | แต่พิรุณยังไม่ห่างกลางเวหา |
ฟ้าคะนองก้องดังฝั่งชลา | ยมนาคลื่นคลั่งฝั่งสินธู |
ด้วยอำนาจแก้วเก็จเพชรรัตน์ | พวกฝูงสัตว์กลัวขย้อนจนอ่อนหู |
ทั้งคุ้มครองป้องปัดพวกศัตรู | ใครต่อสู้แรงน้อยถอยกำลัง ฯ |
๏ ฝ่ายพระศรีสุวรรณวงศ์พงศ์กษัตริย์ | โทมนัสนึกในพระทัยหวัง |
จึงปรึกษาห้ากษัตริย์ตรัสให้ฟัง | เหลือกำลังที่ไม่เห็นเป็นกลางคืน |
จะเลี้ยวซ้ายแลขวาให้ว้าเหว่ | เหลือคะเนสารพัดจะขัดขืน |
ไม่เห็นฟากเห็นฝั่งเป็นกลางคืน | ทั้งลมคลื่นมิได้หยุดสุดรำพึง |
จะเสี่ยงสัตย์อธิษฐานการกุศล | ให้ลมฝนบางเบาพอเข้าถึง |
เดชะบุญคุณพระธรรมที่รำพึง | ให้สมซึ่งความประสงค์ที่จงใจ |
หกกษัตริย์พัทยาเทพารักษ์ | อันสำนักเขาเขินเนินไศล |
ขอเชิญช่วยบำบัดกำจัดภัย | การที่ในทะเลลมยมนา |
พอสินคำหกกษัตริย์อธิษฐาน | ลมบันดาลเบาบางกลางเวหา |
ฝนก็ค่อยน้อยลงทั้งคงคา | เป็นคลื่นกล้าก็ค่อยเบาบรรเทาลง |
แต่มืดมนนั้นไม่เบาบรรเทาหาย | พวกนายท้ายเสียเชิงละเลิงหลง |
เพราะไม่เห็นแผ่นเขียนให้เวียนวง | จึงซัดหลงเปิดเปิงกระเจิงไป |
จวนจะรุ่งสุริยาในอากาศ | ภาณุมาศเยื้องเยี่ยมเหลี่ยมไศล |
แต่อากาศเมฆกลุ้มชอุ่มไป | จึงมิได้เห็นสว่างกระจ่างตา |
ตะวันเที่ยงเป็นแต่สางยังตรู่ตรู่ | พวกคนผู้ในกำปั่นต่างหรรษา |
ค่อยสร่างเมาเร่าร้อนในอุรา | หุงข้าวปลากินพลางพอสร่างลม |
แต่ทิศเหนือทิศใต้ยังไม่เห็น | ครั้นตกเย็นมืดอย่างป่างประถม |
แต่ฝนค่อยเบาบางน้ำค้างพรม | ทะเลลมค่อยสบายเรือหายแคลง |
เหล่าล้าต้าต้นหนคนทั้งหลาย | พลนิกายเหลือปัญญาที่กล้าแข็ง |
เป็นจนใจไม่ประมาทฉวยพลาดแพลง | ไม่รู้แจ้งไปหนตำบลใด |
จึงกราบทูลมูลเหตุประเทศถิ่น | ทั้งฟ้าดินมิได้เห็นว่าเป็นไฉน |
ตามแต่จะโปรดปรานสถานใด | จะปล่อยไปหรือจะจอดทอดเภตรา ฯ |
๏ ฝ่ายพระศรีสุวรรณวงศ์พงศ์กษัตริย์ | โองการตรัสถามไต่อย่างไรหนา |
จะปล่อยไปในทะเลตามเวรา | แต่ฝั่งฝาก็ไม่เห็นเป็นแต่ควัน |
จำจะจอดทอดสู้อยู่ที่นี่ | พอเห็นที่ทางจรจึงผ่อนผัน |
เป็นเวลาหมอกกลุ่มชอุ่มควัน | จะด้นดั้นก็ไม่เห็นไม่เป็นการ |
ฉวยเรือแตกแยกย้ายก็ตายเปล่า | จะโดนเดามีภัยหลายสถาน |
ผิดก็สู้อยู่ที่วนชลธาร | บุญบันดาลก็จะได้ไปลังการ |
เมื่อมิหายแม้นจะตายอยู่ที่นี่ | ก็เป็นที่เหยื่อสัตว์ฝูงมัจฉา |
ก็ตามบุญตามกรรมได้ทำมา | พระนัดดาพ่อจะเห็นเป็นอย่างไร |
ห้าพระองค์ทรงฟังรับสั่งตรัส | ประนมหัตถ์ทูลแจ้งแถลงไข |
สุดแต่พระโองการสถานใด | ก็ตามในทรงธรรม์จะบัญชา |
ชีวิตข้าพี่น้องขอรองบาท | ตามพระราชประสงค์พวกพงศา |
ไม่ขอห่างร้างไปไกลบาทา | ตามเวราที่ได้สร้างเหมือนอย่างทูล ฯ |
๏ ป่างพระจอมรมจักรนคเรศ | แสนเทวศในพระทัยเจ้าไอศูรย์ |
จึงปลอบวงศ์พงศาอย่าอาดูร | แม้นลับสูญก็คงม้วยลงด้วยกัน |
จึงสั่งให้ทอดสมอรออยู่นี่ | ฟังพรุ่งนี้สุริย์ฉายแม้นผายผัน |
ถ้าแม้นยังมืดกลุ้มชอุ่มควัน | จึงผ่อนผันคิดความตามปัญญา |
ครั้นสั่งเสร็จเสนาจึงมาสั่ง | พร้อมสะพรั่งไพร่นายทั้งซ้ายขวา |
ให้จอดเรียงเคียงกันแต่บรรดา | พวกเสนาถือรับสั่งอย่างคดี |
แล้วสังเกตนาฬิกาว่าจะค่ำ | แต่ยังคล้ำมืดมัวทั่ววิถี |
ไม่เห็นดวงจันทราในราตรี | ก็เป็นที่จนจิตจะคิดไป ฯ |
๏ ป่างพระจอมธิบดินทร์สินสมุทร | จึงยั้งหยุดตรองความตามวิสัย |
แล้วทูลองค์ศรีสุวรรณไปทันใด | จะขอให้โหราพยากรณ์ ฯ |
๏ ฝ่ายพระศรีสุวรรณวงศ์พงศ์กษัตริย์ | ฟังพระนัดดาหลานชาญสมร |
จึงเรียกพวกโหรมาพยากรณ์ | แล้วสุนทรถามไต่ในคดี |
โหรารับจับยามตามสังเกต | วันศุกร์เศษถึงเสาร์เข้าดิถี |
ที่มืดมัวทั่วจังหวัดปัถพี | ด้วยราศีเทวดาเธอมาเล็ง |
เข้าร่วมธาตุกรกฎกำหนดหวัง | เหมือนคราวครั้งเดือนสี่ปีมะเส็ง |
ต่ออาทิตย์ถึงมังกรจรมาเล็ง | ต่อวันเพ็งจึ่งจะแจ้งแสงอุทัย |
แต่วันนี้สี่ค่ำถึงกำหนด | จะค่อยปลดเปลื้องเห็นเป็นแต่ใส |
แต่ค่อนรุ่งลมจะแดงดั่งแสงไฟ | จะตั้งในอาคเนย์พัดเมฆิน |
ไปจากทิศบูรพาเวหาห้อง | ให้เลื่อนล่องลงไปปิดทิศทักษิณ |
จึ่งจะเห็นสุริยาทั่วฟ้าดิน | หมดมลทินแสงสว่างกระจ่างตา |
ตามฉบับขับไล่ในพระเคราะห์ | เสาร์จำเพาะอยู่ดุลย์วุ่นนักหนา |
แล้วกราบทูลมูลความตามตำรา | จงทราบฝ่าบาทบงสุ์พระทรงธรรม์ ฯ |
๏ ป่างพระองค์ผู้ดำรงรมจักร | ฟังโหรทักแถวถิ่นดินสวรรค์ |
ค่อยสบายคลายเศร้าเบาลงครัน | คิดผ่อนผันที่จะไปในลังกา |
แต่ไม่ทราบว่าอยู่ในอู่อ่าว | หมายว่าก้าวซัดไปไกลหนักหนา |
คิดวิตกหมกมุ่นขุ่นอุรา | ทั้งนัดดาโอรสยศยง |
คิดสำคัญมั่นหมายเป็นหลายอย่าง | ประเทศทางดูเช่นเห็นจะหลง |
เป็นเที่ยงแท้แน่เหมือนคิดดั่งจิตจง | ทั้งลมส่งพัดไปในทะเล |
พอเที่ยงคืนคลื่นราบกำปั่นเรียบ | เย็นยะเยียบเรือนั้นไม่หันเห |
แต่จะดูหนทางกลางทะเล | เหลือคะเนยังไม่เห็นเป็นแต่มัว |
ครั้งล่วงสามยามสงัดลมพัดฉิว | มาริ้วริ้วในเวหาฟ้าสลัว |
ฟื้นอากาศดาดดำที่คล้ำมัว | ค่อยยังชั่วสางสางอย่างอรุณ ฯ |
๏ ป่างพระจอมรมจักรนัคเรศ | ให้สังเกตดูเงาภูเขาขุน |
ยังไม่เห็นเป็นแต่คล้ายสายพิรุณ | เป็นเมฆหมุนเรื่อแดงดั่งแสงไฟ |
เหมือนคำโหราทูลมูลเหตุ | ทั่วประเทศโดยวิธีคัมภีร์ไสย |
พอสิบทุ่มเกิดพยุระบุไป | สีเหมือนไฟบนอากาศดาษดา |
ตั้งข้างทิศอาคเนย์แล้วเหหวน | ก็พัดป่วนไปข้างบูรพทิศา |
ที่เมฆกลุ้มอากาศดาษดา | ก็เคลื่อนคลาหายดำในอัมพร |
เปิดสว่างกลางเวหนบนอากาศ | ภาณุมาศแย้มเยี่ยมเหลี่ยมสิงขร |
พอรุ่งรางสร่างสีรวีวร | พื้นอัมพรเห็นสว่างเหมือนอย่างทาย |
หกพระองค์ทรงกษัตริย์ตรัสประภาษ | โหรเขาคาดตามคัมภีร์ดีใจหาย |
พระรางวัลถ้วนทั่วทุกตัวนาย | เพราะเขาทายแม่นแท้ไม่แปรปรวน |
พระเสร็จจากแท่นระบายท้ายบาหลี | พร้อมเสนีแจ้งระบอบดูสอบสวน |
แล้วกราบทูลมูลความตามกระบวน | เห็นถี่ถ้วนเรือเราซัดเข้ามา |
โนปากอ่าวเห็นตลิ่งกรุงสิงหล | ทั้งไพร่พลพร้อมมูลบุญหนักหนา |
พระจึ่งสั่งเรือใช้ให้ไคลคลา | เอากิจจาเข้าไปแจ้งแสดงความ |
ในเวียงวังลังกาอาณาจักร | แก่หลานรักรีบเข้าไปแล้วไต่ถาม |
ว่ากูมาพร้อมวงศ์ช่วยสงคราม | แล้วจะตามกันเข้าไปในบุรินทร์ |
ให้หลานรักหักหาญการข้างบก | เราจะยกเข้าไปดั่งใจถวิล |
พร้อมพระวงศ์พงศาทุกธานินทร์ | ยกมาสิ้นจะเข้าตัดพวกศัตรู |
จะตีด่านชานสมุทรเมืองปากน้ำ | ช่วยกันซ้ำราญรอนให้อ่อนหู |
เร่งยกออกมากำจัดพวกศัตรู | นัดให้รู้พร้อมกันประจัญบาน |
พวกเรือใช้รีบไปถึงกองทัพ | ที่ตั้งรับแล้วจึ่งแจ้งแถลงสาร |
แก่เสนีที่สำเร็จราชการ | ตามบรรหารเรื่องรับสั่งอย่างสุนทร |
เสนานำคนใช้เข้าไปเฝ้า | แถลงเล่าทูลบพิตรอดิศร |
ป่างพระองค์ทรงภุชสุดสาคร | ครั้นทินกรแจ่มกระจ่างสว่างตา |
พระออกนอกพลับพลาหลังคาสี | พวกเสนีหมอบรายทั้งซ้ายขวา |
ทูลแถลงแจ้งความตามกิจจา | พวกเภตราเฝ้าองค์พระทรงธรรม์ ฯ |
๏ ป่างพระสุดสาครบวรนาถ | ตรัสประภาษปรีดิ์เปรมเกษมสันต์ |
จงกลับไปทูลองค์พระทรงธรรม์ | ว่าเรานั้นกราบก้มประนมกร |
องค์สมเด็จพระเจ้าอาเชษฐาด้วย | ขอเชิญช่วยยกทหารชาญสมร |
ข้างฝ่ายเราก็จะเข้าไปราญรอน | ตีนครเมืองด่านชานบุรี |
ขุนเสนาลากลับมาทูลเหตุ | องค์พระจอมนคเรศบุรีศรี |
แถลงความตามข้อคดีมี | ทูลพระศรีสุวรรณวงศ์ดำรงวัง |
เธอทราบความตามเรื่องในเมืองสิ้น | สมถวิลเหมือนหนึ่งในพระทัยหวัง |
จงจัดเหล่าเสนมีกำลัง | ยกขนตั้งชายด่านชานบุรี |
ห้ากษด่รียจัดพหลพลรบ | เกณฑ์สมทบยกขนด่านชานกรุงศรี |
ให้ตั้งค่ายชายชลาหน้าบุรี | จะได้ดีตัดศึกตั้งตรึกตรอง |
แล้วสั่งให้เรือรบสมทบทัพ | ไปตั้งรับอยู่ด้วยกันสักพันสอง |
ที่ปากอ่าวคอยตรวจทุกหมวดกอง | เอาจุกช่องไว้ให้มั่นกันศัตรู |
ทั้งปืนหลักยักกะตราใส่หน้าท้าย | ทหารรายทุกกระบอกกรอกดินหู |
เกณฑ์เอาพวกแขกชวามลายู | ถือธนูหางไก่ลูกใส่ยาง ฯ |
๏ จะกล่าวฝ่ายเทวสินธุ์นรินทร์ราช | ครั้นภาณุมาศพวยพุ่งพอรุ่งสาง |
พร้อมพหลพลไกรไพร่ขุนนาง | ให้รีบกางใบพลันขึ้นทันที |
ถอนสมอช่อใบขึ้นใส่รอก | แล้วแล่นออกมาทางหว่างวิถี |
เกือบจะใกล้ถึงลังกาหน้าบุรี | ลมก็ตีเข้าฝั่งเหมือนอย่างใจ |
ถึงปากอ่าวลังกาตรงหน้าด่าน | เห็นทหารอัดแอแลไสว |
ทั้งเรือรบรายเรียงเคียงกันไป | เข้าไม่ได้แน่นหนาอ่าวสาคร |
ให้ทอดท่าหน้าอ่าวเมืองปากน้ำ | ทั้งพันลำจอดรายชายสิงขร |
จึ่งสั่งพวกเสนาพลากร | ให้รีบจรเข้าไปถามเอาความมา |
ขุนเสนีที่เป็นฝ่ายนายทหาร | ปรีชาชาญเอ็งจงไปไวไวหวา |
ไปถามว่าเรือใครหาไหนมา | จึ่งปิดท่าปากน้ำท่าอะไร |
ขุนเสนีมีชื่อถือรับสั่ง | รีบไปยังเรือทอดจอดไสว |
แล้วยกธงสีเหลืองเรืองอุไร | ข้างพวกไทยรู้ว่าเขามาดี |
แล้วก็ยกธงชมพูชูขึ้นรับ | เหมือนคำนับซื่อตรงเพราะธงสี |
พอเรือถึงรอราไม่ช้าที | ขุนเสนีขึ้นไปถามตามสงกา ฯ |
๏ ฝ่ายขุนนางข้างไทยนายทหาร | จึ่งแจ้งการจริงจังที่กังขา |
ทั้งหกองค์พงศ์กษัตริย์ขัตติยา | เสด็จมาช่วยณรงค์ทำสงคราม |
ขุนเสนาว่าศึกมาแต่ไหน | ไม่แจ้งใจจริงหนอเราขอถาม |
ขอเชิญท่านแถลงให้แจ้งความ | นิคมคามเขตขัณฑ์เป็นฉันใด |
มารบพุ่งยุ่งยิ่งชิงสมบัติ | ขอแจ้งอรรถพวกที่มาภาษาไหน |
ขุนเสนาว่าจะเล่าให้เข้าใจ | ใช่อื่นไกลวงศ์วานในว่านเครือ |
เราขอถามท่านนี้หนามาแต่ไหน | อยู่เมืองใดปากใต้หรือฝ่ายเหนือ |
จะเข้าไปในลังกาหาข้าวเกลือ | หรือเป็นเรือพ่อค้ามาหากิน |
ขุนเสนีชี้แจงแถลงเรื่อง | เราอยู่เมืองธาราท่าชลาสินธุ์ |
เกาะกาหวีที่ข้างชายปลายแผ่นดิน | พระเทวสินธุ์เจ้าจังหวัดปัถพี |
ยกพหลพลกำปั่นมาพันร้อย | เที่ยวแล่นลอยสืบความตามวิถี |
ทุกประเทศเขตแคว้นแดนบุรี | ตามภูมีทรงฤทธิ์พระบิดร |
พอมาถึงลังกาอาณาจักร | ก็หยุดพักชายตลิ่งริมสิงขร |
จึ่งรับสั่งให้เข้าไปในนคร | เป็นการร้อนอยากจะไปให้ได้ความ |
ขุนเสนีที่เป็นใหญ่ในกำปั่น | จึงว่าท่านจะเข้าไปขอไต่ถาม |
อันพระองค์ทรงยศปรากฏนาม | จงแจ้งความให้ตระหนักประจักษ์ใจ ฯ |
๏ เสนาบอกออกพระนามตามประสงค์ | คือว่าองค์มังคลาอัชฌาสัย |
เราแจ้งความตามจริงทุกสิ่งไป | ท่านจงได้กรุณาเหมือนพาที |
ขุนเสนาว่าแน่ท่านเกิดการศึก | อึกทึกรบพุ่งในกรุงศรี |
คือพระมังคลามาราวี | ที่ต่อตีกันคือใครหาไหนมา |
ท่านกลับไม่ทูลพระหน่อวรนาถ | ล้วนวงศ์ญาติรบพุ่งยุ่งหนักหนา |
จะเข้าไปในด่านชานชลา | เหมือนอย่างว่าเห็นไม่ได้ดั่งใจปอง |
แม้จะขืนเข้าไปในปากถ้ำ | จะจับจำไปประมูลทูลฉลอง |
ที่จะปล่อยให้ไปเหมือนใจปอง | เราจะต้องโทษทัณฑ์เป็นมั่นคง ฯ |
๏ ฝ่ายเสนาว่าเช่นนั้นท่านได้ห้าม | พอทราบความโดยคดีที่ประสงค์ |
ขอลากลับไปประณตบทบงสุ์ | ทูลพระองค์เทวสินธุ์นรินทร |
แล้วอำลามาประนมบังคมบาท | ทูลหน่อนาถทรงฤทธิ์อดิศร |
เหมือนถ้อยคำนำทูลพระภูธร | ที่เย็นร้อนสืบสาวเป็นราวความ |
พระเทวสินธุ์ปรึกษาเจ้าตาเลี้ยง | จะบ่ายเบี่ยงรบกับพงศ์วงศ์สยาม |
หรือจะค่อยตรองใจทำให้งาม | ตัดเสี้ยนหนามเสียให้สิ้นการนินทา |
ก็มิใช่ใครประสงค์ล้วนวงศ์ญาติ | เพราะท่านบาทหลวงคิดริษยา |
เราก็ควรจะให้ทำคำสารา | ให้เสนาใช้ชิดทูลบิดร |
ให้ลัดแลงแปลงปลอมอ้อมไปบก | ข้อวิตกจะให้นำทำอักษร |
ไปถึงองค์ทรงฤทธิ์พระบิดร | ที่การร้อนจะได้คิดโดยจิตปอง |
แล้วตรัสสั่งให้เสมียนเร่งเขียนสาร | ไปแจ้งการได้ประมูลทูลฉลอง |
ท้าวรายาว่าพ่อคิดเหมือนจิตปอง | นี่แหละต้องตามจริตกิจบุราณ |
เขาย่อมว่ามีหูฟังดูก่อน | ที่เย็นร้อนให้ประจักษ์อย่าหักหาญ |
ค่อยยับยั้งฟังข่าวที่ร้าวราน | แม้นควรการเท่าไรได้จำเริญ ฯ |
๏ พระเทวสินธุ์ยินคำท้าวร่ำสอน | ประนมกรสมหวังสังรเสริญ |
แล้วส่งสารที่ในหีบให้รีบเดิน | เสนาเชิญขึ้นบกเดินวกเวียน |
แล้วลัดแลงแปลงกายเป็นชายไพร่ | เอาเพศไทยทำจริตสถิตเสถียร |
แบกมัดฟันสองคนเที่ยววนเวียน | หนทางเตียนมิได้ไปเข้าในพง |
พวกกองทัพไม่สังเกตเพศฝรั่ง | ไม่ระวังเพราะเห็นมาแต่ป่าระหง |
พอสุริยาเย็นพยับจะลับลง | ก็แฝงพงตามสังเกตเอาเพศเดิม |
ปลอมเข้าไปในปราการด่านสมุทร | ไม่ยั้งหยุดเกรงศึกยิ่งฮึกเหิม |
เพราะว่าเป็นเสวกาข้าหลวงเดิม | แต่แรกเริ่มมังคลาอยู่ธานี ฯ |
๏ ป่างพระจอมกษัตรานราราช | เสด็จประพาสตรวจทหารชาญชัยศรี |
ทอดพระเนตรไปพลันด้วยทันที | เห็นเสนีมีประนมแล้วก้มกราน |
พระจำได้ให้หาพลางปราศรัย | ท่านมาไยปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ |
หรือมีทุกข์ที่ในเมืองเรื่องรำคาญ | จงแจ้งการไปให้ฟังที่กังวล |
ขุนเสนีกราบกรานส่งสารถวาย | แล้วภิปรายทูลความตามนุสนธิ์ |
สามพระหน่อบดินทร์ปิ่นสากล | เธอยกพลตามองค์พระทรงธรรม์ |
มาประทับพลนิกายอยู่ชายสมุทร | แล้วยั้งหยุดฟังเหตุในเขตขัณฑ์ |
ครั้นทราบความตามที่องค์พระทรงธรรม์ | จึงผ่อนผันใช้ข้าเสนานาย |
ให้ลัดแลงแฝงเข้ามาเฝ้าแทน | สืบให้แม่นมั่นคงเหมือนจงหมาย |
จะได้แจ้งแห่งหนทั้งต้นปลาย | ตามอุบายทัพศึกเร่งตรึกตรอง ฯ |
๏ ฝ่ายพระมิ่งมังคลานราราช | ฟังอำมาตย์มาประมูลทูลฉลอง |
สมประสงค์ตรงจิตที่คิดตรอง | จึงว่าสองเสนีผู้ปรีชา |
เราดีใจราวกับได้โอสถทิพย์ | อันลอยลิบมาพลันด้วยหรรษา |
เพราะสามหน่อวรนุชบุตรเรามา | ได้ตรึกตราการรบสมทบกัน |
แล้วทรงอ่านสารพระเทวสินธุ์ | หน่อนรินทร์จอมเจิมเฉลิมขวัญ |
บังคมเบื้องบาทบงสุ์พระทรงธรรม์ | แต่ด้นดั้นตามหาในสาคร |
ถึงสามปีพี่น้องแต่ล่องแล่น | ทุกเขตแดนเมืองท่าหน้าสิงขร |
ทั่วประเทศพาราในสาคร | แต่รีบร้อนมาทุกแดนแสนกันดาร |
จนมาถึงแดนชวาอาณาจักร | พบน้องรักจึ่งค่อยเปรมเกษมศานต์ |
พระเจ้าตามาด้วยได้ช่วยการ | ค่อยสำราญจะได้มาถึงธานี |
นิเวศน์วังลังกาเพราะตาเลี้ยง | ประคองเคียงตั้งแต่มาจากกาหวี |
ได้พึ่งบุญกรุณาเธอปรานี | พอเป็นที่ปรึกษามาด้วยกัน |
จะไปเฝ้าเล่าก็เรือมาแน่นอ่าว | ให้สืบข่าวหวังจะไปไอศวรรย์ |
เห็นเรือแพแออัดเยียดยัดครัน | จะผ่อนผันอย่างไรดีโปรดชี้แจง ฯ |
๏ พอจบสารซึ่งแสดงแถลงไข | พระโปรดให้ตอบย้อนสุนทรแถลง |
ให้เสนีที่ผู้นำไปสำแดง | บอกให้แจ้งโอรสยศยง |
ว่าเรานี้มีความวิตกนัก | จะหาญหักให้กระจุยเป็นผุยผง |
ก็ยังคอยสังฆราชผู้อาจอง | ยังไม่คงคืนมาถึงธานี ฯ |
๏ เสนารับกราบก้มบังคมบาท | พลางรับราชบรรหารเชิญสารศรี |
แล้วออมเขาเจ้าประจันไปทันที | พอสุริย์ศรีแจ่มแจ้งแสงอุทัย |
ครั้นถึงลำกำปั่นมิทันช้า | เอาสาราแจ้งการแล้วขานไข |
พระรับพลางทางคลี่ออกทันใด | แล้วอ่านในเรื่องลิขิตของบิตุรงค์ ฯ |
๏ ศุภสารพระชนกทรงปกเกศ | แรมทุเรศมาเพราะหวังอย่างประสงค์ |
มาทำศึกนึกไว้เหมือนใจจง | จะคืนคงเอาลังกาเมืองป่าตาล |
ด้วยท่านครูสังฆราชพระบาทหลวง | แกยังล่วงลัดไปไกลสถาน |
เป็นจนใจเหลือล้นพ้นประมาณ | แต่ทำการศึกกระหน่ำเพราะจำเป็น |
เจ้าอุตส่าห์มาตามเมื่อยามยาก | ก็ลำบากเต็มประดาได้มาเห็น |
จงตั้งรับดับร้อนพอผ่อนเย็น | จะได้เป็นเพื่อนบิดาพยายาม |
จัดทหารการรบสมทบทัพ | อยู่ตั้งรับชิงชัยในสนาม |
แต่ข้างบกบิตุรงค์จะสงคราม | พยายามตั้งมั่นดั่งสัญญา ฯ |