- คำนำ
- คำอธิบาย
- เนื้อเรื่องย่อ
- สมุดไทยเล่มที่ ๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๗
เนื้อเรื่องย่อ
เล่ม ๑
เริ่มด้วยกล่าวสดุดีแนวพระราชดำริในการทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ แล้วจึงเข้าสู่เนื้อเรื่องตั้งแต่หิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดิน พระนารายณ์อวตารลงมาปราบ ต่อมาเป็นเรื่องกำเนิดวงศ์พระราม กำเนิดทศกัณฐ์ กำเนิดเหล่าวานร กำเนิดนางมณโฑ กำเนิดอินทรชิต นนทกาลถูกพระอิศวรสาปให้เป็นควายชื่อทรพา นางไกยเกษีใช้แขนสอดเพลารถของท้าวทศรถคราวรบกับปทูตทันต์จนได้รับพร แล้วกล่าวถึงการประสูติพระราม พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตรุด ซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์ ตลอดจนเทพอาวุธและบัลลังก์นาค ฝ่ายนางมณโฑก็ให้กำเนิดสีดาซึ่งเป็นอวตารของพระลักษมี ครั้นพิเภกทำนายว่าสีดาจะเป็นกาลกิณีแก่กรุงลงกา ทศกัณฐ์จึงให้ใส่ผอบลอยน้ำไป ครั้นพระชนกฤๅษีเก็บผอบได้จึงเลี้ยงนางเป็นพระธิดา ภายหลังพระรามยกศรได้จึงได้อภิเษกกับนาง จากนั้นท้าวทศรถเตรียมจะราชาภิเษกให้พระรามครองกรุงศรีอยุธยา แต่นางไกยเกษีกลับขอให้พระพรตโอรสของนางขึ้นครองราชย์แทน และให้พระรามเดินป่า ๑๔ ปี พระราม พระลักษมณ์ และนางสีดาจึงออกเดินป่าไปด้วยกัน ครั้นนางสำมนักขามาพบพระรามก็หลงรัก เข้าทุบตีนางสีดา จึงถูกพระลักษมณ์ตัดหูตัดจมูกเพื่อลงโทษ นางสำมนักขากลับไปฟ้องทศกัณฐ์ผู้เป็นพี่ชาย แล้วแกล้งกล่าวชมความงามของนางสีดาจนทศกัณฐ์หลงใหล ออกอุบายให้มารีศแปลงเป็นกวางทองล่อพระราม พระลักษมณ์ออกจากอาศรม แล้วลักพาสีดาไปไว้ที่กรุงลงกา
เล่ม ๒
เมื่อพระราม พระลักษมณ์กลับมาไม่พบนางสีดาก็รู้ว่าเสียทีจึงออกติดตาม ระหว่างทางพบนกสดายุแจ้งข่าวสีดาถูกทศกัณฐ์ลักพาไปกรุงลงกา ต่อมาพระราม พระลักษมณ์ได้หนุมานและสุครีพมาเป็นทหารเอก จากนั้นต้องฆ่าพาลีตามคำสาบานที่พาลีให้ไว้กับพระอิศวร แล้วได้กองทัพวานรมาช่วยพระรามสืบหาสีดา โดยส่งหนุมาน องคต ชมพูพานไปยังกรุงลงกาก่อน เมื่อทหารเอกทั้งสามกลับมาแล้ว พระรามจึงยกทัพเคลื่อนพลไป ฝ่ายทศกัณฐ์ฝันร้าย พิเภกแนะนำให้ส่งนางสีดาคืน ทศกัณฐ์กริ้วโกรธขับไล่พิเภกออกจากเมือง พิเภกจึงมาขอสวามิภักดิ์พระราม จากนั้นพระรามให้จองถนนข้ามไปยังกรุงลงกา แล้วเกิดรบพุ่งกันหลายครั้ง ฝ่ายพระรามมีพิเภกคอยทูลแก้ไขกลศึกของพวกยักษ์ ทศกัณฐ์จึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องสูญเสียชีวิตไมยราพผู้เป็นหลานกับกุมภกรรณน้องชาย ทำให้ทศกัณฐ์เศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก อิททรชิตผู้เป็นโอรสรักจึงอาสาออกรบ แต่ในที่สุดก็ต้องถูกพระลักษมณ์แผลงศรสิ้นชีวิต
เล่ม ๓
ทศกัณฐ์ขอร้องให้บรรดาญาติมิตรยกทัพออกรบกับทัพของพระรามหลายครั้ง แต่ก็กลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องสูญเสียชีวิตทหารยักษ์เป็นอันมาก แม้ในที่สุดทศกัณฐ์เชิญท้าวมาลีวราชซึ่งมีวาจาสิทธิ์มาตัดสินข้อพิพาทด้วยหวังว่าท้าวมาลีวราชจะเข้าข้างตนเอง ครั้นท้าวมาลีวราชพิพากษาให้ส่งนางสีดาคืน แต่ทศกัณฐ์ไม่ยินยอม ออกรบกับพระรามอีก พระรามแผลงศรแต่ไม่สามารถสังหารทศกัณฐ์ให้ตายได้ จนหนุมานต้องลวงไปเอากล่องดวงใจทศกัณฐ์ซึ่งฝากไว้ที่ฤๅษีโคบุตรมาทำลาย พระรามจึงแผลงศรสังหารทศกัณฐ์สำเร็จ และได้นางสีดาคืน จากนั้นสีดาขอลุยไฟเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของตนเอง ต่อมาพระรามก็ได้ทำพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา และปูนบำเหน็จให้เหล่าทหารหาญ โดยให้สุครีพครองเมืองขีดขิน หนุมานครองเมืองนพบุรี และพิเภกครองกรุงลงกาสืบต่อไป ครั้นอยู่ต่อมานางมณโฑให้กำเนิดไพนาสุริยวงศ์ซึ่งเป็นลูกของทศกัณฐ์ที่ติดท้องของนางมา แต่พิเภกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นลูกของตน ภายหลังวรณีสูรพี่เลี้ยงแอบบอกไพนาสุริยวงศ์ให้รู้ว่าใครคือพ่อที่แท้จริง ไพนาสุริยวงศ์จึงลอบไปขอให้สหายของพ่อชื่อท้าวจักรวรรดิมาช่วยแก้แค้น ท้าวจักรวรรดิยกทัพบุกลงกาและจะประหารชีวิตพิเภก แต่ไพนาสุริยวงศ์ขอชีวิตไว้เพราะถือว่าพิเภกเคยเลี้ยงดูตนมา ท้าวจักรวรรดิจึงให้ขังพิเภกไว้
เล่ม ๔
ท้าวจักรวรรดิอุปภิเษกไพนาสุริยวงศ์ขึ้นครองกรุงลงกา ฝ่ายอสุรผัดหลานพิเภกออกติดตามหาหนุมานผู้เป็นพ่อเพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อพระรามทรงทราบเรื่องจึงให้พระพรต พระสัตรุดยกทัพไปช่วยพิเภกจนสำเร็จ จากนั้นกล่าวถึงพระรามออกประพาสป่ากับพระลักษมณ์ นางอดูลปีศาจญาติทศกัณฐ์ปลอมมาเป็นนางกำนัลของนางสีดา ขอให้สีดาเขียนรูปทศกัณฐ์ แล้วนางก็เข้าสิงในรูปทำให้ลบไม่ออก เมื่อพระรามกลับมาพบรูปซึ่งสีดาแอบซ่อนไว้ก็โกรธ ให้พระลักษมณ์นำสีดาไปประหาร แต่พระลักษมณ์ฆ่านางไม่ตายจึงปล่อยไป สีดาไปอาศัยอยู่กับฤๅษีจนประสูติพระมงกุฎ ต่อมาฤๅษีชุบพระลบให้นางอีกองค์หนึ่ง เมื่อเจริญวัยขึ้น คราวหนึ่งพระมงกุฎพระลบประลองศรถูกต้นรังใหญ่เสียงดังสนั่น พระรามได้ยินเสียงนั้น จึงคิดกระทำพิธีปล่อยม้าอุปการ ให้พระพรต พระสัตรุด และหนุมานตามม้าไป พระมงกุฎพระลบจับม้าอุปการได้จึงนำไปขี่เล่น หนุมานจะจับสองกุมารแต่จับไม่ได้ พระพรต พระสัตรุดต้องมาช่วยจึงสามารถจับพระมงกุฎได้ แล้วนำกลับไปกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระลบมาช่วยพระมงกุฎหนี พระรามต้องยกทัพตามมาสู้รบกัน จึงทราบว่าพระมงกุฎ พระลบเป็นโอรส แล้วงอนง้อขอคืนดีกับนางสีดา แต่นางไม่ยอม พระรามทำอุบายลวงทำให้นางยิ่งโกรธหนีไปอยู่เมืองบาดาล พิเภกทูลขอให้พระรามออกเดินป่าเพื่อสะเดาะเคราะห์อีก ๑ ปี ระหว่างเดินป่าก็ได้รบชนะยักษ์อีกหลายครั้งกว่าจะกลับคืนเมือง สุดท้ายพระอิศวรต้องเกลี้ยกล่อมให้พระรามกับนางสีดาคืนดีกันแล้วจึงจัดพิธีอภิเษกให้อีกครั้งหนึ่ง กล่าวถึงท้าวคนธรรพ์นุราชยกทัพไปตีเมืองไกยเกษของพระอัยกาพระพรต พระรามจึงสั่งให้พระพรต พระสัตรุด พระมงกุฎ และพระลบยกทัพไปปราบและสามารถตีเมืองไกยเกษคืนได้ ตอนท้ายจะเป็นการสรรเสริญพระราม กล่าวถึงพระราชประสงค์ในการทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ และเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์