- คำนำ
- คำอธิบาย
- เนื้อเรื่องย่อ
- สมุดไทยเล่มที่ ๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๗
สมุดไทยเล่มที่ ๗๘
๏ เมื่อนั้น | หนุมานชาญฤทธิ์สิทธิศักดิ์ |
ครั้นเสร็จซึ่งสั่งขุนยักษ์ | บ่ายพักตร์มายังโยธี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ จึ่งยอกรขึ้นถวายบังคม | พระสยมภูวนาถเรืองศรี |
ยืนยันสำรวมอินทรีย์ | ขุนกระบี่กำบังกายา |
บัดเดี๋ยวทั้งตัวแลเงาหาย | ไม่ปรากฏกายแก่ยักษา |
เหาะขึ้นยังพื้นเมฆา | ด้วยกำลังศักดาวานร ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ บัดนั้น | ฝ่ายกระบี่องคตชาญสมร |
เห็นลูกพระพายฤทธิรอน | อยู่กลางอัมพรก็ยินดี |
จึ่งเอาศีลาที่ฝังไว้ | อันใส่ดวงใจยักษี |
เหาะระเห็จเตร็จฟ้ามาทันที | ยังที่คำแหงหนุมาน ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | วายุบุตรวุฒิไกรใจหาญ |
ครั้นเห็นหลานท้าวมัฆวาน | ก็สำราญด้วยสมอารมณ์คิด |
จึ่งว่าครั้งนี้ทศกัณฐ์ | มันจะถึงพรหมลิขิต |
เราจะไปเฝ้าพระทรงฤทธิ์ | ถวายดวงจิตอสุรา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา
๏ ว่าแล้วจึ่งสองทหาร | เหาะทะยานไปโดยเวหา |
ดั้นหมอกออกกลีบเมฆา | ตรงมาที่ประทับโยธี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ ครั้นถึงนบนิ้วบังคมบาท | พระนารายณ์ธิราชเรืองศรี |
ถวายดวงใจอสุรี | แล้วทูลพระตรีภูวไนย |
ข้าลวงทศพักตร์กับนักสิทธ์ | จึ่งเอาดวงจิตนี้มาได้ |
แสนยากลำบากเป็นพ้นไป | กว่ารับสั่งใช้แต่หลังมา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา
๏ เมื่อนั้น | พระตรีภพลบโลกนาถา |
ได้ฟังหนุมานทูลมา | ทั้งเห็นดวงวิญญาณ์ทศพักตร์ |
มีความปรีดิ์เปรมเกษมศานต์ | สำราญฤทัยพระทรงจักร |
ดั่งได้สีดานงลักษณ์ | มาชมกับตักพระจักรี |
จึ่งตรัสว่าแก่พระอนุชา | ซึ่งแก้วตาให้ไปบอกพี่ |
ว่าวายุบุตรผู้ฤทธี | กระบี่ทำการทรยศ |
กลับไปเข้าด้วยทศพักตร์ | โหมหักตีพลเราแตกหมด |
จนถึงตัวเจ้าก็ไม่ลด | หยาบช้าสาหสเป็นพ้นไป |
บัดนี้เขาได้ดวงใจมา | พระอนุชาจะคิดเป็นไฉน |
ทำศึกหรือเจ้าเบาใจ | มิได้ตริตรองดูให้ดี ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระลักษมณ์ทรงสวัสดิ์รัศมี |
ได้ฟังบรรหารพระจักรี | ชุลีกรสนองพระวาจา |
อันซึ่งเล่ห์กลหนุมาน | คิดอ่านล่อลวงยักษา |
ลึกซึ้งพ้นที่จะคณนา | ในอุบายมารยาแยบคาย |
ถ้าจะนับดวงดาวในอัมพร | หยั่งมหาสาครกระแสสาย |
ด้วยกำลังปัญญาอัชฌาชาย | พอจะหมายนับหยั่งได้ดั่งใจ |
อันจะหยั่งปัญญาวายุบุตร | เห็นสุดที่น้องรักจะหยั่งได้ |
ด้วยเล่ห์กลนั้นพ้นประมาณไป | ที่ในท่วงทีแลปรีชา ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระตรีภพลบโลกนาถา |
จึ่งตรัสแก่พระอนุชา | อันวายุบุตรวุฒิไกร |
ซื่อตรงจงรักภักดี | จะมีสิ่งใดเปรียบก็หาไม่ |
ถึงจะเอาเดือนดาวอโณทัย | ก็จะได้ดั่งใจไม่ยากนัก |
หนุมานเหมือนหนึ่งขุนพลแก้ว | หาไม่ได้แล้วทั้งไตรจักร |
เป็นคู่สร้างมาล้างเหล่ายักษ์ | ปรปักษ์พ่ายแพ้ฤทธา ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | กำแหงหนุมานทหารกล้า |
จึ่งทูลสมเด็จพระจักรา | บัดนี้ข้าลวงทศกัณฐ์ |
ให้ยกหมู่พลนิกาย | มาตั้งอยู่ชายพนาสัณฑ์ |
ว่าจะจับองค์พระทรงธรรม์ | พาไปให้มันถึงทัพชัย |
อันทศเศียรขุนมาร | จะแจ้งการว่ากลก็หาไม่ |
แม้นเห็นตัวข้ากลับไป | ก็จะให้ยกพลตามมา |
จะขอลาเบื้องบาทพระทรงจักร | ไปเยาะเย้ยขุนยักษ์จงหนักหนา |
ให้มันได้อายแก่เทวา | แม้นว่าจะเข้ามาโรมรัน |
พระองค์จงแผลงพรหมาสตร์ | ไปพิฆาตอสุราโมหันธ์ |
ข้าจะขยี้ดวงใจมัน | ให้สิ้นชีวันทันที ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
๏ ว่าแล้วประณตบทบงสุ์ | องค์พระหริรักษ์เรืองศรี |
พาเอาดวงใจอสุรี | ขุนกระบี่เหาะขึ้นยังอัมพร ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | ท้าวทศกัณฐ์ชาญสมร |
ครั้นเห็นหนุมานฤทธิรอน | เขจรอยู่กลางเมฆา |
ไม่รู้ในกลขุนกระบี่ | อสุรีแสนโสมนัสสา |
ดั่งได้สวรรค์ชั้นฟ้า | สำรวลสรวลร่าสำราญใจ |
สิ้นทั้งสิบปากกระดากลิ้น | เมืองแมนแดนดินก็หวาดไหว |
ตบหัตถ์สนั่นครั่นไป | เร่งให้ขับหมู่โยธา ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด
๏ แล้วร้องว่าเหวยหนุมาน | เหตุใดจึ่งนานหนักหนา |
เร่งส่งพระลักษมณ์พระรามมา | ให้แก่บิดาบัดนี้ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | หนุมานผู้ชาญชัยศรี |
เห็นทศพักตร์อสุรี | ขับหมู่โยธีพลากร |
จะใกล้ถึงที่สนามยุทธ์ | ใกล้พระจักรภุชทรงศร |
ก็ลงมาจากอัมพร | ด้วยกำลังฤทธิรอนชาญฉกรรจ์ ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ แล้วออกยืนขวางมรคา | สำแดงฤทธาเข้ากางกั้น |
ทำยักคิ้วหลิ่วตาขบฟัน | ชูใจกุมภัณฑ์แล้วร้องไป |
เหวยเหวยอะไรอยู่ในนี้ | ยักษียังรู้หรือหาไม่ |
จงพินิจพิศดูให้แจ้งใจ | นี่คืออันใดเร่งบอกมา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | ท้าวยี่สิบกรยักษา |
แลเห็นซึ่งแท่งศีลา | พญามารสลดระทดใจ |
ตระหนกอกสั่นขวัญหนี | จะมีสมประดีก็หาไม่ |
หน้าซีดผาดเผือดไปทันใด | ดั่งจะม้วยบรรลัยไปทั้งเป็น |
จึ่งร้องว่าดูก่อนหนุมาน | ท่านนี้ก่อกรรมทำเข็ญ |
พ่อได้เลี้ยงดูให้อยู่เย็น | เป็นบุตรบุญธรรม์ยอดรัก |
อันตัวของเจ้าผู้ศักดา | ทั้งสติปัญญาก็แหลมหลัก |
บาปบุญคุณโทษทรลักษณ์ | ย่อมประจักษ์อยู่แล้วทุกสิ่งไป |
ควรหรือมาอกตัญญู | จะรู้คุณบ้างก็หาไม่ |
ตัวพ่อคนซื่อจึ่งไว้ใจ | ให้แสนสมบัติอันโอฬาร |
ทั้งฝูงอนงค์ทรงโฉม | เป็นที่ประโลมสงสาร |
เอ็นดูพ่อเถิดนะหนุมาน | ขอทานดวงจิตของบิดา |
จงส่งให้พ่อเถิดเอาบุญ | คุณนั้นจะมีไปภายหน้า |
อย่าให้ได้ทุกข์เวทนา | สิ้นชีพชีวาในครั้งนี้ ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | หนุมานผู้ชาญชัยศรี |
ได้ฟังจึ่งตอบวาที | เหวยเหวยอสุรีทศกัณฐ์ |
ตัวท่านเป็นคนอาสัตย์ | สารพัดมืดมัวโมหันธ์ |
มิได้ตั้งอยู่ในทศธรรม์ | จึ่งบันดาลให้เกิดภัยพาล |
สุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์ก็บรรลัย | เพราะใครก่อกรรมนำผลาญ |
เมื่อทำผิดอยู่แต่บุราณ | จึ่งเกิดการวิบัติไปทั้งนี้ |
อันองค์สมเด็จพระสี่กร | ฤทธิรอนล้ำฟ้าราศี |
ใช่ว่าสมบัติจะไม่มี | จึ่งยกโยธีตามมา |
ชิงเอาสมบัติพัสถาน | ศฤงคารบริวารของยักษา |
เพราะท่านทุจริตพาลา | ไปลักองค์สีดานงลักษณ์ |
มาไว้ที่ในพระนคร | พระสี่กรจึ่งยกมาหาญหัก |
ตามความทารุณของขุนยักษ์ | จักว่าเราลวงนั้นผิดไป |
แม้นท่านส่งองค์สีดามา | ดวงใจยักษาจะส่งให้ |
ถ้าว่ามิส่งอรไท | ก็ไม่ส่งดวงใจอสุรี ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | ท้าวทศพักตร์ยักษี |
ได้ฟังดั่งต้องอสุนี | ไม่รู้ที่บิดเบือนเจรจา |
จึ่งว่าดูก่อนหนุมาน | ท่านว่านี้ชอบหนักหนา |
ซึ่งเราไม่อยู่ในสัจจา | ไปลักสีดามาไว้ |
เหตุด้วยถึงพรหมลิขิต | จึ่งไม่ยั้งจิตคิดได้ |
รู้แล้วว่าจะม้วยบรรลัย | จะไว้เกียรติไปในธาตรี |
ว่าเราสู้ตายด้วยความรัก | ให้ไตรจักรรู้ทั่วทุกราศี |
อันโฉมนางสีดาเทวี | ที่เราจะส่งอย่าสงกา |
แม้นว่าชาตินี้มิได้ชม | จะขอสมนางในชาติหน้า |
ให้ได้โฉมยงองค์สีดา | มาไว้พิศวาสอย่าคลาดคลาย |
แต่อย่าให้เหมือนตัวท่าน | เป็นพาลทรยศไม่รู้หาย |
ลวงล่อจนพ่อนี้จำตาย | จะเสียพยศร้ายไปเมื่อไร |
เราเลี้ยงเป็นถึงลูกรัก | จะรู้จักคุณบ้างก็หาไม่ |
อันมงกุฎสังวาลอำไพ | จงส่งมาให้กูบัดนี้ ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา
๏ เมื่อนั้น | หนุมานผู้ชาญชัยศรี |
ได้ฟังจึ่งตอบวาที | ว่าไยฉะนี้นะขุนยักษ์ |
ช่างด้านหน้าเจรจาด้วยโมหันธ์ | ไม่อายเทวัญทั้งไตรจักร |
ดูดั่งชาติชายทรลักษณ์ | สารพัดอัปลักษณ์ทุกสิ่งไป |
ประเวณีผู้ทำการยุทธ์ | สุดแต่เอาชัยให้จงได้ |
จะว่าเราลวงด้วยอันใด | เป็นวิสัยกลศึกบุราณมา |
อันสิ่งของให้แล้วกลับทวงเล่า | ท่านลวงเราอีกสิไม่ว่า |
ถ้อยคำดั่งเด็กพาลา | ไม่มีสัจจาในวาที |
อันมงกุฎแก้วสุรกานต์ | กุณฑลสังวาลของยักษี |
ตัวเรามิได้ไยดี | อสุรีจงคืนเอาไป |
ว่าพลางก็เปลื้องเครื่องประดับ | ทับทรวงมงกุฎออกโยนให้ |
แล้วจึ่งเยาะเย้ยไยไพ | ชูชี้ดวงใจกุมภัณฑ์ |
กลอกไว้กับบนหัตถา | แยกเขี้ยวหลิ่วตาแล้วสรวลสันต์ |
ดั่งหนึ่งจะโยนดวงใจนั้น | ให้ทศกัณฐ์กับกร ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ กราวรำ
๏ เมื่อนั้น | ท้าวทศเศียรชาญสมร |
ครั้นเห็นอาการวานร | ให้เร่าร้อนฤๅทัยดั่งไฟพิษ |
จึ่งร้องว่าเหวยหนุมาน | ตัวเองทำการทุจริต |
มิได้ซื่อตรงต่อมิตร | คิดแต่โกหกมารยา |
มาตรแม้นมิได้ดวงใจกู | รู้แล้วว่าจะม้วยสังขาร์ |
อันธรรมดาสัตว์เกิดมา | ใช่ว่าจะพ้นความตาย |
ถึงเขาพระสุเมรุอันสูงสุด | เป็นมงกุฎโลกทั้งหลาย |
ครั้นต้องไฟกัลป์อันตราย | ย่อมรู้ฉิบหายไปเหมือนกัน |
ตัวเราผู้มีอานุภาพ | ปราบไปได้ทั่วสรวงสวรรค์ |
เป็นใหญ่ในไตรภพนั้น | จะครั่นคร้ามความตายเมื่อไรมี |
แต่จะกลับเข้าไปลงกาก่อน | สั่งอนงค์นิกรสาวศรี |
กับนางมณโฑเทวี | พรุ่งนี้จะยกออกมา |
ว่าแล้วจึ่งมีบรรหาร | สั่งโลทันมารยักษา |
ให้กลับรถแก้วแววฟ้า | เลิกพลโยธาเข้าเวียงชัย ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | คำแหงหนุมานทหารใหญ่ |
เห็นทศกัณฐ์คืนเข้ากรุงไกร | ก็กลับไปเฝ้าองค์พระจักรี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ ครั้นถึงน้อมเศียรบังคมบาท | พระนารายณ์ธิราชเรืองศรี |
ทูลตามโต้ตอบอสุรี | บัดนี้องค์ท้าวทศกัณฐ์ |
เลิกทัพกลับเข้าเวียงชัย | จะไปลามณโฑเมียขวัญ |
กับนางนักสนมกำนัล | พรุ่งนี้กุมภัณฑ์จะยกมา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระจักรกฤษณ์ลือฤทธิ์ทุกทิศา |
ฟังลูกพระพายผู้ศักดา | ผ่านฟ้าชื่นชมยินดี |
จึ่งให้กลับมหาเวไชยันต์ | พลขันธ์โห่ร้องอึงมี่ |
เสียงสนั่นลั่นเลื่อนธาตรี | ภูมีคืนเข้ายังพลับพลา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
โอ้ร่าย
๏ เมื่อนั้น | ฝ่ายท้าวทศพักตร์ยักษา |
เดินทางในหว่างมรคา | อสุราสลดระทดใจ |
โอ้อนิจจาแก่ตัวกู | แต่จะรู้เท่าลิงก็หาไม่ |
เสียยศเสียเกียรติทุกสิ่งไป | ด้วยหลงกลแก่ไอ้หนุมาน |
แต่มันทำเล่ห์เพทุบาย | มาดหมายจำนงจงผลาญ |
เป็นหลายครั้งมาช้านาน | หรือบันดาลเชื่อฟังปัจจามิตร |
ทั้งนี้ก็เพื่อผลกรรม | นำให้ถึงพรหมลิขิต |
พระเร่าร้อนฤๅทัยดั่งไฟพิษ | ตะลึงคิดจนเข้าลงกา ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด
๏ ครั้นถึงจึ่งประทับกับเกยแก้ว | แล้วลงจากราชรัถา |
พระองค์กระด้างทั้งกายา | มิใคร่จะลีลาไป ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ เมื่อนั้น | นางมณโฑผู้ยอดพิสมัย |
ทั้งฝูงอนงค์กำนัลใน | แลไม่เห็นเศียรทศกัณฐ์ |
สิ้นทั้งพระกรซ้ายขวา | กัลยาตกใจตัวสั่น |
เพียงจักสิ้นชีพชีวัน | พากันวิ่งวุ่นออกไปรับ ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ ครั้นใกล้จึ่งเห็นพระองค์ | พร้อมสิ้นทรวดทรงเครื่องประดับ |
ก้มเกล้ากราบลงด้วยคำนับ | แล้วรับพระองค์ดำรงมา |
ลางนางเข้าจูงพระกร | บทจรห้อมล้อมซ้ายขวา |
บ้างประคองพญาอสุรา | ขึ้นยังมหาปราสาทชัย ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ
๏ ครั้นถึงจึ่งฝูงนางอนงค์ | ช่วยเปลื้องเครื่องทรงออกให้ |
บ้างเอาสุคนธ์มาลูบไล้ | ลางนางได้พัดมาปัดวี |
บ้างเข้าอยู่งานนวดฟั้น | คั้นหัตถ์บาทายักษี |
อันนางกำนัลทุกนารี | มีเนตรคลอด้วยชลนา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
โอ้
๏ เมื่อนั้น | ทศเศียรสุริย์วงศ์ยักษา |
ครั้นเห็นมณโฑกัลยา | กับนางอสุราทั้งปวง |
ให้สลดระทดพระทัยนัก | พินิจพิศพักตร์แล้วเป็นห่วง |
แสนเสียดายแสนรักสลักทรวง | ดั่งดวงชีวิตจะบรรลัย |
คิดความวิโยคโศกศัลย์ | มิอาจจะกลั้นกันแสงได้ |
นํ้าพระเนตรอาบองค์ลงไป | ไหลดั่งสหัสธารา |
จึ่งว่ามณโฑเจ้าพี่ | มารศรีผู้ยอดเสน่หา |
ซึ่งมิเชื่อฟังกัลยา | ชะรอยว่าเวรามาตามทัน |
จะคิดสิ่งไรก็วิปริต | สารพัดมืดมิดด้วยโมหันธ์ |
สำหรับวิบากจะจากกัน | ที่ผิดนั้นเห็นเป็นว่าดี |
บัดนี้หนุมานมันทรยศ | คิดคดกลับกลายไปจากพี่ |
ลวงพระโคบุตรมุนี | เอาดวงชีวีของพี่ไป |
ครั้งนี้น่าที่จะจากเจ้า | ยุพเยาว์ผู้ยอดพิสมัย |
ถึงกรรมแล้วจำจะบรรลัย | จำเป็นจำไกลกัลยา ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ
โอ้
๏ เมื่อนั้น | นางมณโฑผู้ยอดเสน่หา |
ได้ฟังสมเด็จพระภัสดา | ดั่งดวงวิญญาณ์จะทำลาย |
สองกรข้อนทรวงอัคเรศ | แสนทุกข์แสนเทวษใจหาย |
เพียงหนึ่งเศียรขาดออกจากกาย | โฉมฉายก็ร่ำโศกี |
โอ้ว่าพระองค์ทรงภพ | เลื่องชื่อลือลบทุกราศี |
ควรหรือไม่รู้เท่าไพรี | จะมาม้วยชีวีอนาถใจ |
เมียได้ทูลห้ามไว้แต่หลัง | จะเชื่อฟังคำบ้างก็หาไม่ |
เห็นผิดนั้นกลับเป็นชอบไป | เอาศัตรูมาไว้เป็นมิตร |
พระซื่อต่อคนจนตนตาย | ให้ลิงร้ายมาลวงเอาดวงจิต |
ร่ำพลางกอดบาทซบโมลิศ | แสนโศกเพียงชีวิตจะมรณา ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ โอด
โอ้
๏ เมื่อนั้น | ทศเศียรสุริย์วงศ์ยักษา |
เห็นเมียรักทรงโศกา | อสุราสลดระทดใจ |
ส้วมสอดกอดไว้แล้วพาที | เจ้าพี่ผู้ยอดพิสมัย |
คิดคิดจะใคร่พาอรไท | หนีไปอยู่ขอบจักรวาล |
กับองค์สีดานงลักษณ์ | ซึ่งพี่รักยอดสงสาร |
ให้พ้นภัยเภทเหตุการณ์ | แล้วคิดบันดาลละอายใจ |
แก่หมู่เทวาสุราฤทธิ์ | ทศทิศจะนินทาได้ |
อันการจะถึงที่บรรลัย | ใครจะหนีได้ก็ผิดที |
แม้นว่าหาบุญพี่ไม่แล้ว | น้องแก้วผู้มิ่งมารศรี |
เจ้าค่อยฝากองค์เทวี | แก่พิเภกซึ่งเป็นอนุชา |
อดความห้ามใจให้จงหนัก | น้องรักจำคำพี่ว่า |
ตัวพี่จะม้วยมรณา | กลับมาจะสั่งเจ้าวันนี้ |
รุ่งเช้าตัวเจ้าจะพลัดพราก | จำเป็นจำจากอกพี่ |
จะได้เห็นหน้าแต่ราตรี | พรุ่งนี้จะลาเจ้าไป ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ
โอ้
๏ เมื่อนั้น | นางมณโฑเยาวยอดพิสมัย |
ได้ฟังบัญชาภูวไนย | อรไทครวญคร่ำรำพัน |
โอ้ว่าพระจอมโลกา | พรุ่งนี้จงพาเมียขวัญ |
ไปด้วยพระองค์ทรงธรรม์ | โรมรันอริราชไพรี |
เมียไม่ขออยู่จะสู้ม้วย | ตายด้วยเป็นเพื่อนบทศรี |
ดีกว่าซึ่งมีชีวี | พ้นที่ทนทุกข์ลำบากใจ |
อันซึ่งพิเภกอนุชา | เมียจะฝากกายากระไรได้ |
จะรู้ที่ดูหน้าประการใด | จะชอกชํ้าฤๅทัยเป็นนิรันดร์ |
พระองค์จงงดอยู่ก่อน | เอาปัญญาผันผ่อนอย่าหุนหัน |
อยู่ด้วยเมียรักสักสามวัน | เลือกอันตรายจะบรรเทา |
เหตุนี้เป็นต้นด้วยหนุมาน | ดั่งองค์พระกาลมาผลาญเผา |
ติดตัวตามเตือนอยู่เหมือนเงา | หวังจะเอาชีวิตจิตใจ |
ตั้งแต่วันนี้จะแสนเทวษ | ใครจะปกเกศก็หาไม่ |
ร่ำพลางสะอื้นอาลัย | นิ่งไปกับบาทพญามาร ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ โอด
ร่าย
๏ บัดนั้น | นางกำนัลเยาวยอดสงสาร |
เห็นมณโฑกัลยายุพาพาล | นงคราญกันแสงร่ำไร |
ต่างตนแสนโศกด้วยความรัก | ซบพักตร์ลงแล้วก็ร้องไห้ |
เสียงแซ่อื้ออึงคะนึงไป | สิ้นทั้งวังในอสุรา |
สำเนียงดั่งลมบรรลัยกาล | มาพัดพานล้างโลกทุกทิศา |
ต่างตนต่างฟายน้ำตา | โศกาครวญคร่ำรำพัน |
โอ้ว่าพระจอมมงกุฎภพ | ทรงเดชลือลบสรวงสวรรค์ |
เลี้ยงข้านี้เป็นสัจธรรม์ | พระคุณนั้นยิ่งฟ้าดิน |
ตั้งแต่นี้ไปเมืองมาร | จะเดือดร้อนรำคาญด้วยกันสิ้น |
จะเสื่อมสุขทุกหมู่อสุรินทร์ | มีแต่จะกินน้ำตา |
ทีนี้จะผินพักตร์ไปพึ่งใคร | เหมือนพระภูวไนยนาถา |
ร่ำพลางฝูงนางกัลยา | โศกาเพียงสิ้นชีวัน ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ โอด
ร่าย
๏ เมื่อนั้น | ทศเศียรสุริย์วงศ์รังสรรค์ |
แสนเทวษจนรุ่งสุริยัน | กุมภัณฑ์ก็คิดมานะใจ |
อันจะย่อท้ออยู่มิออกรบ | สามภพจะหมิ่นนินทาได้ |
ว่ากูเป็นใหญ่ในแดนไตร | มีใจครั่นคร้ามแก่ไพรี |
จำเป็นจะออกไปต่อฤทธิ์ | ถึงจะสิ้นชีวิตให้รู้ที่ |
คิดแล้วย่างเยื้องจรลี | ออกที่พระโรงรัตนา ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ
๏ ลดองค์ลงเหนือบัลลังก์อาสน์ | พร้อมเสนามาตย์ซ้ายขวา |
แล้วมีพระราชบัญชา | ตรัสสั่งเสนามโหทร |
เร่งเกณฑ์จตุรงค์ทวยหาญ | เลือกล้วนชำนาญชาญสมร |
กูจะยกออกไปราญรอน | ต่อกรอริราชไพรี ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | มโหทรเสนายักษี |
รับสั่งพระองค์ทรงธรณี | ถวายอัญชุลีแล้วออกไป ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ ปฐม
ร่าย
๏ เกณฑ์หมู่จตุรงค์องอาจ | เป็นกระบวนพยุหบาตรทัพใหญ่ |
เอาสัสดีที่ถือบาญชีไว้ | เร่งให้ขับไพร่เข้ากองทัพ |
เกณฑ์ได้พวกนั้นพวกโน้นหนี | นายสมุห์บัญชีเที่ยวไล่จับ |
ถึงจะแก้จำหน่ายก็ไม่รับ | จับเอาพ่อตาแม่ยายมา |
ผูกมัดรัดกันอุตลุด | โบยตีลากฉุดไม่คิดหน้า |
อื้ออึงคะนึงทั้งพารา | ก็ได้มาตามสารบาญชี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา
๏ บัดนั้น | ฝ่ายหมู่อสุรยักษี |
หน้าตาไม่เป็นสมประดี | อสุรีก็ปรับทุกข์กัน |
ครั้งนี้พระองค์ทรงนครา | จะยกโยธาพลขันธ์ |
ออกไปหักโหมโรมรัน | ประจัญด้วยพวกกระบี่ไพร |
เห็นสิ้นศักดาวราฤทธิ์ | ที่จะรอดชีวิตนั้นหาไม่ |
ด้วยหนุมานลวงเอาดวงใจ | ไปได้จากองค์พระนักพรต |
อันเราเหล่าพลทั้งหลาย | จะพากันพลอยตายเสียสิ้นหมด |
ด้วยแสงศรพระรามทรงยศ | จะเลี้ยวลดเลี่ยงหลีกไฉนดี |
ครั้นจะหลบลี้มิออกไป | ก็กลัวภัยพญายักษี |
จะลงโทษาฆ่าตี | จนถึงพี่น้องญาติกา |
จำเป็นจะออกไปด้วยก่อน | จึ่งค่อยผันผ่อนเอาข้างหน้า |
เมื่อทัพชิดติดพันเข้ามา | จึ่งจะล่าหลบลี้หนีไป |
อันหมู่โยธาเสนายักษ์ | จะฮึกฮักสักตนก็หาไม่ |
ด้วยความจำเป็นจำไป | มาเข้าทัพชัยอสุรี ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ เจรจา
๏ เมื่อนั้น | ฝ่ายท้าวทศพักตร์ยักษี |
ครั้นเสร็จซึ่งจัดโยธี | อสุรีถวิลจินดา |
ตัวกูเป็นวงศ์พรหเมศ | เลื่องชื่อลือเดชทุกทิศา |
วันนี้จะสิ้นชีวา | จะให้เกียรตินั้นปรากฏไว้ |
ตราบเท่ากัลปาฟ้าดิน | สิ้นทั้งสามภพสบสมัย |
คิดแล้วร่ายเวทเกรียงไกร | สำรวมใจนิมิตอินทรีย์ ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ ตระ
ชมตลาด
๏ บัดเดี๋ยวก็กลับกลายเพศ | เป็นท้าวตรีเนตรเรืองศรี |
ทรงโฉมประโลมโลกีย์ | ใครเห็นเป็นที่จำเริญนัก |
ผิวผ่องพึงพิศผุดผาด | งามวิลาสลํ้าเลิศในไตรจักร |
กรายกรอ้อนแอ้นพริ้มพักตร์ | พญายักษ์มาสรงชลธาร ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
โทน
๏ ปทุมแก้วโปรยปรายดั่งสายฝน | ทรงสุคนธาทิพย์หอมหวาน |
สนับเพลารายพลอยสุรกานต์ | ภูษาลายก้านกระหนกกลาย |
ชายแครงประดับปัทมราช | ชายไหวทิพมาศฉานฉาย |
ฉลององค์ทรงประภาสสุพรรณพราย | สังวาลศึกสามสายดวงลอย |
ตาบทิศทับทรวงมรกต | รัดองค์เครือขดเฟื่องห้อย |
ทองกรพาหุรัดประดับพลอย | ธำมรงค์เพชรพร้อยพรายตา |
ทรงมหามงกุฎเนาวรัตน์ | กรรเจียกแก้วจำรัสเวหา |
ห้อยพวงสุวรรณมาลา | กรขวาจับพระขรรค์อันฤทธี |
เหมือนองค์หัสนัยน์เทวราช | งามวิลาสจำรัสรัศมี |
เสด็จจากอาสน์แก้วรูจี | จรลีมาหาเมียรัก ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ เสมอ
โอ้
๏ ครั้นถึงส้วมกอดอัคเรศ | แสนทุกข์แสนเทวษเพียงอกหัก |
พินิจพิศเพ่งเล็งพักตร์ | พญายักษ์สะท้อนถอนใจ |
แล้วมีวาจาอันสุนทร | ดูก่อนเยาวยอดพิสมัย |
อันตัวของพี่จะบรรลัย | ทรามวัยค่อยอยู่ให้จงดี |
จะได้เห็นหน้ากันแต่ครู่เดียว | ทีนี้จะเหลียวไม่เห็นพี่ |
จงค่อยครอบครองอสุรี | ฝูงนางสาวศรีพระกำนัล |
สิ่งใดซึ่งได้ผิดพลั้ง | แต่หลังด้วยความหุนหัน |
อย่าให้เป็นเวรากัน | ขวัญเมืองจงได้เมตตา ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | นางมณโฑเยาวยอดเสน่หา |
ได้ฟังสมเด็จพระภัสดา | ดั่งหนึ่งชีวาจะบรรลัย |
กราบลงกับเบื้องบาทบงสุ์ | ข้อนทรวงแล้วทรงกันแสงไห้ |
กอดข้อพระบาทเข้าไว้ | ร่ำไรรำพันวิงวอน |
พระองค์ผู้ทรงศักดา | เมตตาจงงดอยู่ก่อน |
อย่าเพ่อออกไปราญรอน | ภูธรยั้งคิดดูให้ดี |
จงส่งนางสีดาโฉมฉาย | ไปถวายพระรามเรืองศรี |
พระองค์ก็จะคงชีวี | ภูมีจะได้อยู่ด้วยเมียรัก |
ครองฝูงสนมบริวาร | ศฤงคารไพร่ฟ้าอาณาจักร |
ปกเกศสุริย์วงศ์พงศ์ยักษ์ | เป็นหลักจรรโลงโลกา ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
โอ้
๏ เมื่อนั้น | ท้าวยี่สิบกรยักษา |
ได้ฟังเมียรักจำนรรจา | อสุรานิ่งขึงตะลึงคิด |
ชลนัยน์ไหลนองคลองเนตร | แสนเทวษอัดอั้นตันจิต |
จึ่งว่าเจ้าผู้ร่วมชีวิต | สุดคิดที่จะง้อไพรี |
อันสัตว์เกิดมาในสงสาร | จะหนีพระกาลได้ก็ใช่ที่ |
ถึงกรรมจำสิ้นชีวี | มารศรีจะให้ส่งนางสีดา |
จะรู้ที่ส่งไปกระไรได้ | ดวงใจพี่ยอดเสน่หา |
อดสูดูร้ายแก่เทวา | นักสิทธ์วิทยานาคินทร์ |
จะว่าพี่กลัวรามลักษมณ์ | ไตรจักรจะล่วงนินทาสิ้น |
เราเป็นสุริย์วงศ์พรหมินทร์ | จะให้โลกดูหมิ่นนั้นจนใจ |
สู้ตายไม่เสียดายชีวัน | จะย่อท้อต่อมันกระไรได้ |
ตัวพี่ก็ชายอาชาไนย | ไม่คิดอาลัยแก่ชีวี ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ
ร่าย
๏ ว่าแล้วเสด็จยุรยาตร | จากอาสน์สุวรรณเรืองศรี |
กรายกรย่างเยื้องจรลี | มาเกยมณีอลงการ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ โศก
๏ เมื่อนั้น | นางมณโฑเยาวยอดสงสาร |
ทั้งฝูงสนมนงคราญ | เยาวมาลย์พ่างเพียงจะขาดใจ |
ต่างตนต่างฟายชลเนตร | แสนทุกข์แสนเทวษละห้อยไห้ |
ก็พากันลงจากปราสาทชัย | ตามไปยังเกยรัตนา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ ซบ
โอ้
๏ ครั้นถึงจึ่งฝูงอนงค์นาฏ | เข้ากอดเบื้องบาททั้งซ้ายขวา |
ต่างตนต่างร่ำโศกา | ดั่งว่าจะสิ้นสมประดี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ โอด
๏ เมื่อนั้น | ท้าวทศพักตร์ยักษี |
เห็นนางมณโฑเทวี | กับฝูงนารีกำนัลใน |
ตามมาโศการ่ำรัก | พญายักษ์ไม่กลั้นโศกได้ |
พิศพักตร์พลางสะท้อนถอนใจ | กอดนางเข้าไว้แนบกาย |
รับขวัญแล้วกล่าววาที | นางกัลยาณีทั้งหลาย |
เราเคยเป็นสุขสนุกสบาย | ทีนี้พี่จะตายจากรัก |
เป็นกรรมมาจำพลัดพราก | แสนวิบากพ่างเพียงอกหัก |
ที่ไหนจะได้คืนมาเห็นพักตร์ | นงลักษณ์ค่อยอยู่จงดี |
จงปกป้องครองกันให้สำราญ | เยาวมาลย์อย่าลืมคำพี่ |
โอ้นางมณโฑเทวี | พี่ขอฝากสาวศรีพระกำนัล |
ไว้แก่เจ้าผู้ดวงใจ | ผิดพลั้งสิ่งใดจงผ่อนผัน |
ช่วยพิทักษ์รักษาโดยธรรม์ | ขวัญเมืองจงเห็นแก่พี่ยา ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | นาลนางมณโฑเสน่หา |
กับฝูงอนงค์ทรงลักขณา | ได้ฟังวาจาภูวไนย |
ตีอกเข้าแล้วก็กลิ้งเกลือก | เสือกองค์ลงทรงกันแสงไห้ |
ต่างตนครวญคร่ำร่ำไร | ด้วยความรักใคร่กุมภัณฑ์ ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ นางมณโฑว่าโอ้พระทรงเดช | พระคุณดั่งบิตุเรศรังสรรค์ |
ได้พึ่งบาทร่มเย็นเป็นนิรันดร์ | ดั่งฉัตรแก้วกั้นโมลี |
ทีนี้จะทิ้งเมียไว้ | ไม่อาลัยแก่ข้าบทศรี |
อยู่หลังจะตั้งแต่โศกี | ถึงองค์ภูมีไม่เว้นวาย ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ นางสนมว่าโอ้พระทูลกระหม่อม | จะจากจอมเกศไปน่าใจหาย |
เคยรองบาทเป็นสุขสนุกสบาย | ทีนี้จะพลัดพรายไปจากกัน |
ด้วยพระร่มโพธิ์แก้วจะล่วงลับ | ดั่งเดือนดับสิ้นแสงฉายฉัน |
จะเย็นเชียบเงียบเหงาทั้งวังจันทร์ | สารพันจะทุกข์ทุกนาที ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ นางมณโฑว่าโอ้ประทีปแก้ว | จะดับแล้วสิ้นแสงรัศมี |
เคยเห็นมิได้เห็นภูมี | จะแสนทวีด้วยเทวษนิรันดร |
พระองค์จงทรงพระแสงขรรค์ | มาพิฆาตฟาดฟันเมียเสียก่อน |
จึ่งยกโยธาพลากร | ออกไปราญรอนด้วยพวกภัย ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ นางสนมว่าโอ้พระปิ่นปัก | เสียดายนักจักหาที่ไหนได้ |
ควรหรือจะมาจากไป | ทิ้งไว้ให้กินน้ำตา |
อยู่หลังจะตั้งแต่เดือดร้อน | แม้นตายเสียก่อนก็ดีกว่า |
ร่ำพลางต่างข้อนอุรา | โศกาเพียงสิ้นสมประดี ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ โอด
ร่าย
๏ เมื่อนั้น | ทศเศียรสุริย์วงศ์ยักษี |
เห็นเมียรักร่วมชีวี | กับสนมนารีร่ำไร |
ให้เป็นห่วงบ่วงใยพระทัยนัก | พญายักษ์มิใคร่จะจากได้ |
ความรักรุมรึงตรึงใจ | ดั่งศรเสียบอยู่ในกายา |
พิศพักตร์มณโฑเยาวมาลย์ | กับสนมนงคราญซ้ายขวา |
ชลเนตรคลอคลองนัยนา | แล้วมีวาจาอันสุนทร |
จงระงับดับเสียซึ่งวิโยค | อย่าแสนโศกนักเลยดวงสมร |
ปกป้องครองกันให้ถาวร | บังอรค่อยอยู่สวัสดี ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ
๏ สั่งเสร็จเสด็จยุรยาตร | งามวิลาสดั่งท้าวโกสีย์ |
ขึ้นทรงรถแก้วรูจี | แสนสุรเสนีก็ล้อมมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ กราว
๏ ครั้นออกมานอกพระนิเวศน์ | ทอดพระเนตรเหลือบแลซ้ายขวา |
พินิจพิศเพ่งดูพารา | สนุกดั่งชั้นฟ้าสุราลัย |
เสียดายมหาปราสาท | โอภาสดั่งวิมานแขไข |
ทั้งสามแก้วแวววาวอร่ามไป | เคยได้เป็นสุขมาช้านาน |
ทีนี้จะแลลับแล้ว | ปราสาทแก้วที่เคยเกษมศานต์ |
เสียดายห้องทองอันโอฬาร | งามจำรัสชัชวาลตระการตา |
เคยฟังเสียงขับนางจำเรียง | สำเนียงยั่วยวนเสน่หา |
เคยภิรมย์สมสุขทุกเวลา | อนิจจาแต่นี้จะลับไป |
เห็นปราสาทมณโฑเมียรัก | พญายักษ์ทอดถอนใจใหญ่ |
ยิ่งคิดยิ่งแสนอาลัย | จะจำไกลจริงแล้วในครั้งนี้ |
อกเอ๋ยสารพัดจะพลัดพราก | จะจากทั้งเมียมิ่งมารศรี |
ดั่งทินกรลับเหลี่ยมคีรี | ที่ไหนจะได้เห็นพักตรา |
เสียดายฝูงนางอนงค์ | ล้วนทรงเยาวลักษณ์เสน่หา |
ตั้งแต่วันนี้จะลับตา | คิดคิดก็น่าอนาถใจ |
ครั้นมาถึงสวนอุทยาน | เห็นมิ่งไม้ตระการงามไสว |
ทรงดอกออกผลระบัดใบ | กูได้มาเล่นเป็นนิรันดร์ |
กับฝูงสาวสนมบรมสุข | แสนสนุกดั่งหนึ่งสวนสวรรค์ |
จะแลลับไปทุกคืนวัน | สารพันจะวิบัติพลัดพราย |
เสียดายสีดานงลักษณ์ | ผิวพักตร์ผ่องเพียงเดือนฉาย |
ทรงโฉมประโลมใจชาย | ได้อยู่สบายในที่นี้ |
จะจำจากทั้งสวนมาลา | จะไกลทั้งสีดามารศรี |
จะใคร่ไปชมนางเทวี | แต่ในวันนี้ให้อิ่มใจ |
แล้วคิดอายหมู่เทวัญ | นักสิทธ์คนธรรพ์จะติได้ |
จะว่ากูหากแกล้งบิดไป | มิใคร่จะต่อกับไพริน |
โอ้ว่าแต่นี้นะลงกา | จะลับตาเสื่อมสูญไปสิ้น |
แสนสนุกยิ่งกว่าเมืองอินทร์ | เป็นถิ่นที่สามโลกประชุมกัน |
จะอยู่ในอำนาจมนุษย์ | จะสิ้นสุดซึ่งความเกษมสันต์ |
สำหรับจะอัปภาคย์ทุกคืนวัน | สารพันจะได้เดือดร้อน |
ยิ่งคิดยิ่งแสนเสียดายนัก | แสนสลักอกเพียงต้องศร |
แสนเทวษแสนโศกอาวรณ์ | แสนทุกข์แสนร้อนรำคาญ |
ให้เปล่าเปลี่ยวพระทัยพันทวี | ดั่งหนึ่งไม่มีทวยหาญ |
เหมือนมาแต่องค์พญามาร | บันดาลให้เยือกเย็นใจ |
อันหมู่อสุรโยธา | จะบันเทิงเริงร่าก็หาไม่ |
บรรดาธงฉานธงชัย | จะโบกสะบัดหวาดไหวก็ไม่มี |
นกแสกบินเฉี่ยวเอางอนรถ | เสียงโห่ปรากฏดั่งเสียงผี |
กลาบาตตกลงกลางโยธี | แผ่นพื้นปถพีเป็นเปลวไฟ |
อันต้นไม้ซึ่งอยู่ริมทาง | กิ่งใบกระด้างมิได้ไหว |
ที่ผลิดอกออกผลก็หายไป | ทั้งปักษีก็ไม่ร่ำร้อง |
อันมหาพิชัยรถทรง | กำกงไม่ลั่นกึกก้อง |
ราชสีห์เงื่องงุนไม่ลำพอง | ฟ้าร้องเมฆมืดพระสุริยา |
สารพัดเป็นลางประหลาดสิ้น | อสุรินทร์ยิ่งโทมนัสสา |
ขืนใจให้รีบโยธา | ไปตามมรคาพนาวัน ฯ |
ฯ ๔๒ คำ ฯ เชิด
๏ ครั้นถึงให้หยุดจตุรงค์ | ตั้งลงโดยกระบวนทัพขัน |
เป็นกองเป็นหมวดตรวจกัน | คอยจะโรมรันไพรี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา
ช้า
๏ เมื่อนั้น | พระตรีภพลบโลกเรืองศรี |
ไสยาสน์เหนืออาสน์รูจี | ยังที่สุวรรณพลับพลา |
ตรึกไปในการรณยุทธ์ | พระทรงครุฑแสนโสมนัสสา |
ด้วยได้ดวงใจอสุรา | ทศพักตร์นั้นมาไว้กับกร |
พอล่วงปัจฉิมราตรี | ภาณุมาศส่องศรีประภัสสร |
ดาวเดือนเลื่อนลับอัมพร | สกุณาบินร่อนหากัน |
เสนาะเสียงจักจั่นเจื้อยแจ้ว | การเวกไก่แก้วประกาศขัน |
เหมือนจะแกล้งถวายชัยพระทรงธรรม์ | สำเนียงสนั่นจับใจ ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ
๏ ก็เสด็จโสรจสรงทรงเครื่อง | อร่ามเรืองดั่งดวงแขไข |
จับพระแสงพรหมาสตร์ฤทธิไกร | ภูวไนยออกสุวรรณพลับพลา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ พร้อมอัษฎาทศมงกุฎ | ทหารฤทธิรุทรซ้ายขวา |
ทั้งชมพูขีดขินนครา | เฝ้าบาทดาษดาประนมกร |
จึ่งมีบัญชาประกาศิต | สั่งลูกพระอาทิตย์ชาญสมร |
จงเตรียมโยธาวานร | เราจะไปราญรอนทศกัณฐ์ ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | พญาสุครีพตัวขยัน |
รับสั่งพระองค์ทรงสุบรรณ | ถวายบังคมคัลแล้วออกมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ ปฐม
ยานี
๏ จัดเป็นสุบรรณพยุห์บาตร | นิลราชเป็นเศียรปักษา |
เกยูรมายูรเป็นสองตา | ปิงคลาเป็นปากสกุณี |
อันขุนกระบินทร์นิลขัน | เป็นคอสุบรรณปักษี |
ปีกขวานิลนนท์มนตรี | ปีกซ้ายกระบี่ทวิพัท |
วานรสุรเสนสุรการ | เป็นสองเท้าทะยานยืนหยัด |
พระทรงครุฑเป็นตัวครุฑรัตน์ | หางคือมหัทวิกัน |
เตียวเพชรจังเกียงกระบี่พล | รายเป็นเล็บขนสลับคั่น |
สุครีพหนุมานพิเภกนั้น | เคียงรถสุวรรณพระสี่กร ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา
๏ เมื่อนั้น | องค์พระจักรกฤษณ์อดิศร |
กับพระอนุชาฤทธิรอน | บทจรไปสรงชลธาร ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
โทน
๏ ไขท่อนํ้าทิพย์อโนดาต | สุคนธ์ธารกุสุมาศหอมหวาน |
ต่างทรงสนับเพลาอลงการ | เชิงงอนแก้วก้านกระหนกกลาย |
พระเชษฐาผ้าทิพย์เครือหงส์ | พระลักษมณ์ทรงภูษิตเทเวศถวาย |
ชายแครงชายไหวพรรณราย | ฉลององค์ลอยลายฉลุดวง |
ตาบทิศสะอิ้งแก้วกุดั่น | สังวาลวัลย์มรกตรุ้งร่วง |
ทับทิมทิพย์ประดับทับทรวง | พาหุรัดโชติช่วงทองกร |
ธำมรงค์อมรินทร์พลอยเพชร | มงกุฎเก็จเนาวรัตน์ประภัสสร |
ห้อยสุวรรณกุณฑลกรรเจียกจร | สง่างามอรชรทั้งสององค์ |
ต่างทรงศรสิทธิ์พระแสงขรรค์ | ตามกันลีลาศดำเนินหงส์ |
พร้อมหมู่พานรินทร์สุริย์วงศ์ | เสด็จมาทรงรถอลงกรณ์ ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ บาทสกุณี
โทน
๏ รถเอยรถวิมาน | กงประไพแก้วประพาฬประภัสสร |
ดุมทองดวงทูบอรชร | แอกงอนอ่อนงามสลวยลอย |
บัลลังก์บทลวดประกวดภาพ | เครือกระหนกครุฑกระหนาบจับนาคห้อย |
บุษบกบันสะบัดจำรัสพลอย | ทวยช้อยทองช่อปราลี |
เทียมสินธพสิบเทเวศ | ลำพองลํ้าเพศราชสีห์ |
เผ่นโจนโผนจรด้วยฤทธี | ขุนรถขับรี่ดั่งลมกาล |
พระลักษมณ์นั่งประณตประนมหัตถ์ | เครื่องสูงแถวฉัตรธงฉาน |
เสียงกลองซ้องกลบกังสดาล | พวกหาญพลโห่เป็นโกลา |
กงเลื่อนก้องลั่นพันลึก | เสียงคึกแซ่ลั่นสนั่นป่า |
โบกธงบ่ายทัพยาตรา | กองหน้าเกณฑ์นำเสด็จจร ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ กราวนอก