- คำนำ
- คำอธิบาย
- เนื้อเรื่องย่อ
- สมุดไทยเล่มที่ ๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๗
สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๖
ช้า
๏ เมื่อนั้น | พระสุริย์วงศ์องค์นารายณ์รังสรรค์ |
เห็นสองอนุชาร่วมชีวัน | จึ่งมีบัญชาตรัสไป |
บัดนี้เกิดเสี้ยนแผ่นดิน | เสียงศิลป์กัมปนาทหวาดไหว |
เหมือนครั้งเราลองศิลป์ชัย | ได้ยินหรือไม่น้องรัก |
เห็นจะมีพวกภัยพาล | มารอนราญเสมาอาณาจักร |
นิ่งไว้เหล่าไอ้ทรลักษณ์ | จะฮึกฮักกำเริบอหังการ์ |
พี่ให้ชุมมุขมนตรี | ปุโรหิตพราหมณ์ชีพร้อมหน้า |
ปรึกษาให้แต่งอาชา | แขวนราชสาราปล่อยไป |
เจ้าทั้งสององค์ผู้ทรงฤทธิ์ | กับพญาอนุชิตทหารใหญ่ |
จงสะกดตามรอยมโนมัย | ไปโดยมรรคาพนาลี |
แม้นใครอาจองทะนงหาญ | จับม้าอุปการของเราขี่ |
ผู้นั้นคือเสี้ยนไพรี | เจ้าพี่จงจับเอาตัวมา ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระพรตพระสัตรุดกนิษฐา |
ได้ฟังพระราชบัญชา | กราบกับบาทาแล้วทูลไป |
เมื่อเกิดมหัศอัศจรรย์ | กรุงไกยเกษนั้นก็หวั่นไหว |
ซึ่งจะให้ข้ายกพลไกร | สะกดไปตามรอยพาชี |
น้องนี้จะขอสนองบาท | พระตรีภูวนาถเรืองศรี |
ไปกว่าจะสิ้นชีวี | มิให้เคืองธุลีบทมาลย์ ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระจักรีผู้ปรีชาหาญ |
ฟังสองอนุชาชัยชาญ | ดั่งได้ผ่านสวรรค์ชั้นฟ้า |
จึ่งประทานเกราะเพชรอันเพริศพราย | พระอรรคตถวายเมื่อเดินป่า |
ให้แก่พระพรตผู้ศักดา | อันเกราะอินทราสุราลัย |
ประทานให้องค์พระสัตรุด | คุ้มเทพอาวุธทั้งปวงได้ |
ครั้นเสร็จอำนวยอวยชัย | จงไปเป็นศรีสวัสดี |
แล้วสั่งสุมันตันเสนา | เร่งแต่งม้าผูกราชสารศรี |
ปล่อยไปแต่ในวันนี้ | ตามคำพราหมณ์ชีโหราจารย์ ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | สองกษัตริย์ผู้ปรีชาหาญ |
น้อมเศียรประณตบทมาลย์ | รับเกราะสุรกานต์อันศักดา |
ทั้งสองสุมันตันเสนามาตย์ | ลาบาทพระนารายณ์นาถา |
ออกจากพระโรงรัตนา | มายังพลับพลาพร้อมกัน ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ
๏ จึ่งให้ผูกม้าอุปการ | เบาะอานล้วนเครื่องกุดั่น |
งามดั่งสินธพเทวัญ | ลอยมาแต่ชั้นดุษฎี |
อาลักษณ์เชิญกล่องสุวรรณมาศ | อันใส่พระราชสารศรี |
สวมศอพญาพาชี | ตามมีพระราชบัญชา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | ปโรหิตผู้มียศถา |
ทั้งหมู่อำมาตย์มาตยา | ก็เวียนเทียนมิ่งม้าพร้อมกัน ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ มโหรี
๏ ครั้นครบเจ็ดรอบก็เสี่ยงทาย | ขอเดชพระนารายณ์รังสรรค์ |
เทวาอารักษ์ทั้งนั้น | ช่วยดลใจกัณฐัศร์นี้ไป |
ยังผู้ทะนงองอาจ | ที่ทำโลกธาตุให้หวาดไหว |
แม้นว่าผู้นั้นอยู่ทิศใด | มโนมัยจงไปให้พบพาน ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ ครั้นเสร็จซึ่งเสี่ยงอัสดร | ทินกรผ่องแผ้วฉายฉาน |
เห็นเมฆเป็นรูปสองกุมาร | ผ่านมาข้างทิศบูรพา |
ปโรหิตจึ่งให้ลั่นฆ้อง | โห่ร้องสนั่นทุกทิศา |
ชาวพ่อชีพราหมณ์พฤฒา | ก็ปล่อยอาชาตัวฉกรรจ์ ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ ฝ่ายม้าอุปการก็ร่านเริง | แผดร้องลองเชิงผกผัน |
เยื้องอกยกหน้าหยัดยัน | ชันหูชูหางย่างไป |
ดั่งพญาไกรสรสีหราช | ทำอำนาจออกจากคูหาใหญ่ |
เผ่นโผนทักษิณเวียงชัย | กำหนดได้สามรอบคณนา |
เทวาดลจิตอัสดร | บทจรเข้าในแนวป่า |
เลาะลัดตัดตามมรรคา | ตรงไปกาลวาตพนาสี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด
๏ บัดนั้น | พญาอนุชิตเรืองศรี |
ครั้นปล่อยม้าออกจากธานี | ขุนกระบี่สะกดรอยไป |
ลัดแลงแฝงพุ่มพฤกษา | หลีกเลาะมรคาป่าใหญ่ |
พอแลเห็นตัวแต่ไกล | มิได้เข้าใกล้อัสดร ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | พระพรตสุริย์วงศ์ทรงศร |
ครั้นพญาอนุชิตฤทธิรอน | บทจรไปตามพาชี |
จึ่งบัญชาชวนพระวรนุช | ทรงเครื่องพิชัยยุทธ์จำรัสศรี |
จับศรนาดกรจรลี | มาขึ้นรถมณีพรรณราย ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ
โทน
๏ รถเอยราชรถแก้ว | แล้วด้วยเนาวรัตน์จำรัสฉาย |
ดุมวงกงปรุฉลุลาย | ธงชัยสามชายปักงอน |
เทียมด้วยสินธพอาชาชาติ | สามคู่ดูอาจดั่งไกรสร |
พระอนุชานั่งหน้าประนมกร | สารถีขับจรดั่งลมพัด |
ประดับด้วยอภิรุมชุมสาย | เครื่องสูงเรียงรายเป็นขนัด |
เสียงประโคมฆ้องกลองก้องพนัส | โยธาเยียดยัดอัดกัน |
ดั่งสมุทรฟูมฟองนองคลื่น | เสียงโห่เพียงพื้นแผ่นดินลั่น |
เสือป่าแมวมองทั้งนั้น | เลี้ยวลัดดัดดั้นตามไป |
ข้ามธารผ่านทุ่งวุ้งเขา | เดินโดยลำเนาป่าใหญ่ |
เร่งหมู่พหลพลไกร | ไปตามมรคาพนาลี ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | ฝ่ายสองกุมารเรืองศรี |
ไสยาสน์กับองค์พระชนนี | ในที่ศาลาอารัญ |
จนสุริโยภาสอากาศแผ้ว | ไก่แก้วปรบปีกกระพือขัน |
ก็ตื่นองค์สรงพักตร์วิไลวรรณ | บังคมคัลกราบทูลพระมารดา |
วันนี้ตัวลูกจะลาไป | เที่ยวเก็บผลไม้ที่ในป่า |
พอชายบ่ายแสงพระสุริยา | จะกลับมาอารัญกุฎี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | นวลนางสีดามารศรี |
ฟังโอรสาพาที | เทวีนิ่งขึงตะลึงคิด |
ให้หวาดหวั่นพรั่นใจเป็นพ้นนัก | ดั่งใครมาควักเอาดวงจิต |
แล้วผลักลงในกองเพลิงพิษ | ลามติดร้อนทั่วสรรพางค์ |
บังเกิดขนพองสยองเกศ | ให้กระเหม่นพระเนตรทั้งสองข้าง |
เห็นเป็นวิปริตประหลาดลาง | รับขวัญลูกพลางแล้วตรัสไป |
วันเจ้าทั้งสองลองศิลป์ | ฟ้าดินกัมปนาทหวาดไหว |
อกแม่ร้อนรุ่มดั่งสุมไฟ | คิดอยู่ไม่วายเวลา |
เกลือกว่ากษัตริย์สุริย์วงศ์ | ที่เรืองฤทธิรงค์แกล้วกล้า |
มีใจโมหันธ์ฉันทา | จะมาจับไปทำโทษทัณฑ์ |
ไหนเลยแม่จะคงชีวี | น่าที่จะม้วยอาสัญ |
วันนี้อย่าไปอารัญ | จอมขวัญจงฟังมารดร ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | สองพระกุมารชาญสมร |
ฟังพระชนนีมีสุนทร | โศกาทูลวอนรำพันไป |
อันป่าแว่นแคว้นแดนนี้ | ดั่งอยู่ริมกุฎีก็ว่าได้ |
แม้นเกิดศัตรูหมู่ภัย | ลูกก็มีฤทธิไกรไม่เกรงกัน |
พระชนนีอย่าได้ทุกข์ร้อน | อาวรณ์วิโยคโศกศัลย์ |
พอชายบ่ายแสงพระสุริยัน | จะพากันกลับมากุฎี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | นวลนางสีดามารศรี |
เห็นโอรสรํ่าโศกี | เทวีสวมกอดแล้วถอนใจ |
ยอกรขึ้นเช็ดชลเนตร | แสนทุกข์เทวษละห้อยไห้ |
โลมลูบจูบพักตร์แล้วปลอบไป | พ่อคือดวงใจของมารดา |
อันการรณรงค์นี้ยากนัก | ลูกรักแม่สุดเสน่หา |
ตัวเจ้าทรงเยาวยุพา | ยังมิเคยรบร้าฆ่าตี |
เมื่อมิฟังแล้วจะขืนไป | ก็ตามใจพ่อเถิดโฉมศรี |
แต่กริ่งใจอยู่ด้วยลางมี | พี่น้องจงระมัดระวังกัน |
เจ้าไปอย่าอยู่ช้านัก | ทรามรักแสนสุดเฉลิมขวัญ |
แม้นพบศัตรูหมู่ไภยันต์ | ให้มันพ่ายแพ้ฤทธิไกร ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | สองกุมารผู้มีอัชฌาสัย |
รับพรแล้วจับศรชัย | ไปยังที่อยู่พระอัยกา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ ต่างองค์น้อมเศียรอภิวาทน์ | แทบบาทยุคลทั้งซ้ายขวา |
หลานทั้งสองนี้จะขอลา | ไปเที่ยวเล่นป่าให้สำราญ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระฤๅษีผู้ปรีชาหาญ |
ได้ฟังวาจาสองกุมาร | จึ่งว่าหลานรักไปจงดี |
แม้นมาตรมีปรปักษ์ | มาหาญหักจะชิงชัยศรี |
ให้พ่ายแพ้ศรสิทธิ์ฤทธี | ไตรโลกอย่ามีใครต่อกร ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | สองพระกุมารชาญสมร |
ก้มเกล้าคำนับรับพร | บทจรจากบรรณศาลา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
ชมดง
๏ เดินทางตามหว่างบรรพต | เลี้ยวลดชมสัตว์ที่ในป่า |
กาสรพาพวกเป็นหมู่มา | พยัคฆาหมอบมองมฤคี |
ฝูงกวางย่างเยื้องเล็มระบัด | สิงห์นัดคะนองร้องมี่ |
เลียงผาเผ่นโผนโจนคีรี | นางชะนีโหยไห้หากัน |
ระมาดลาดเลี้ยวกินหนาม | โตตามคู่วิ่งผกผัน |
คชสารกระหึมเรียกมัน | ฉมันเมียงเคียงคู่เป็นหมู่จร |
กระต่ายโดดโลดโผนโจนวิ่ง | คณาลิงเลียบไต่สิงขร |
กิเลนลงเล่นสาคร | ไกรสรจากถํ้าอำไพ |
คชสีห์เยื้องกรายร่ายเริง | โคคะนองลองเชิงขวิดไขว่ |
ยิ่งชมยิ่งเพลินจำเริญใจ | ก็เที่ยวเล่นอยู่ในพนาลี ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ เพลง
๏ พระมงกุฎเหลือบเห็นอัสดร | ประดับเครื่องอาภรณ์จำรัสศรี |
หน้าดำกายขาวดั่งสำลี | สี่เท้าปากแดงรจนา |
เยื้องย่องทำนองเหมราช | ดูงามประหลาดเป็นหนักหนา |
จึ่งบอกพระลบอนุชา | สัตว์นี้จะว่าชื่อใด |
แต่เราพากันมาเที่ยวเล่น | จะเคยพบเคยเห็นก็หาไม่ |
น่าจะเป็นสัตว์บ้านเขาเลี้ยงไว้ | จึ่งผูกเครื่องอำไพดั่งนี้ |
อย่าเลยเราจักไล่สกัด | จับได้จะผลัดกันขี่ |
เที่ยวเล่นในกลางพนาลี | เห็นจะมีความสุขกว่าทุกวัน ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ
๏ ว่าแล้วชักเอาเครือเขาได้ | ถือต้นปลายไว้ให้มั่น |
ขึงมาตรงหน้าม้านั้น | ช่วยกันเลี้ยวไล่เป็นโกลา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ ครั้นว่าจับได้พาชี | ต่างองค์ยินดีสำรวลร่า |
จึ่งพินิจพิศดูไปมา | จำเริญตาพริ้งพร้อมทั้งกาย |
ผมอ่อนหางยาวเท้ารัด | ยืนหยัดทรงเทริดเฉิดฉาย |
ประดับเครื่องกุดั่นสุพรรณพราย | รายด้วยเนาวรัตน์รูจี |
พานหน้าช้องหางบังเหียน | อานแก้ววิเชียรจำรัสศรี |
สองหูห้อยภู่จามรี | มีกล่องแก้วแขวนคอมา |
ประหลาดใจอะไรจะใส่อยู่ | แก้ดูเห็นลักษณ์อันเลขา |
ในแผ่นสุวรรณรจนา | พระเชษฐาก็อ่านทันใด ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ
ช้า
๏ ราชสารสมเด็จพระทรงครุฑ | มงกุฎตรีภพลบสมัย |
อันสถิตเกษียรสมุทรไท | สุราลัยฤๅษีพร้อมกัน |
จำเพาะพักตร์พระอิศโรราช | ยังที่ไกรลาศสรวงสวรรค์ |
ประชุมเชิญมาล้างอาธรรม์ | ที่มันเป็นเสี้ยนธาตรี |
ให้ราบรื่นทั้งพื้นโลกา | ผ่านกรุงอยุธยาบุรีศรี |
ทรงนามพระรามจักรี | ฤทธีเลิศลบภพไตร |
ได้ยินสำเนียงกัมปนาท | ทั่วทั้งโลกธาตุหวาดไหว |
สงสัยในราชฤทัย | จึ่งให้ปล่อยม้าที่นั่งมา |
แม้นว่าผู้ใดไม่กระบถ | คิดคดต่อนารายณ์นาถา |
ธูปเทียนดอกไม้จงบูชา | แก่พญาสินธพอุปการ |
ถ้าใครจับขี่ร่วมอาสน์ | จะพิฆาตชีวิตสังขาร |
ให้สิ้นศัตรูหมู่พาล | ผ่านฟ้าจะบำรุงปถพี ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ เจรจา
๏ ครั้นอ่านเสร็จสิ้นในสารา | องค์พระเชษฐาเรืองศรี |
จึ่งตรัสแก่พระลบร่วมชีวี | สัตว์นี้เรียกม้าอาชาไนย |
แต่สารนั้นว่าใครร่วมอาสน์ | จะพิฆาตหาไว้ชีวิตไม่ |
กระบถทดโท่ไม่เข้าใจ | จับได้จะขี่เล่นสำราญ |
เจ้าของมาพบจะให้เขา | แม้นชิงชัยเราจะสังหาร |
ว่าแล้วเผ่นขึ้นอาชาชาญ | งามปานสมเด็จพระจักรี |
กรซ้ายนั้นจับสายถือ | มือขวาแกว่งธนูศรศรี |
พระอนุชาผู้ร่วมชีวี | ก็จรลีตามอัสดรไป ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง
๏ บัดนั้น | คำแหงหนุมานทหารใหญ่ |
สะกดรอยพญาอาชาไนย | แลไปเห็นสองพระกุมาร |
องค์หนึ่งขี่ม้าองค์หนึ่งตาม | งามงามองอาจกล้าหาญ |
ถือธนูดูดั่งมัฆวาน | ลงมาจากวิมานไพชยนต์ |
จะเป็นหน่อกษัตริย์กรุงใด | มาเที่ยวเล่นไพรพนาสณฑ์ |
เหตุไรไม่มีรี้พล | เป็นน่าฉงนในวิญญาณ์ |
แล้วจะเป็นกุมารทั้งสองนี้ | สำแดงฤทธีกระมังหนา |
จึ่งทะนงองอาจอหังการ์ | มาจับขี่เล่นไม่กลัวใคร |
แม้นกูจะสังหารชีวิต | ทั้งสองจะต่อฤทธิ์ที่ไหนได้ |
อย่าเลยจะจับเอาตัวไป | ถวายใต้เบื้องบาทพระอวตาร |
คิดแล้วเดินแอบเข้ามา | แฝงพฤกษาใหญ่ไพศาล |
แผลงฤทธิ์เผ่นโผนโจนทะยาน | เข้าจับสองกุมารทันที ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | พระมงกุฎสุริย์วงศ์เรืองศรี |
เหลือบเห็นวานรมาราวี | โกรธดั่งอัคคีบรรลัยกัลป์ |
พระหัตถ์กวัดแกว่งศรสิทธิ์ | อันมีฤทธิ์ปราบได้ทั้งสรวงสวรรค์ |
หวดต้องกายาวานรนั้น | ล้มดิ้นยันยันด้วยศักดา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ แล้วว่าดูก่อนน้องรัก | ลิงนี้อัปลักษณ์เป็นหนักหนา |
มาทำสาละวนไม่เข้ายา | ตายสมน้ำหน้าอ้ายสาธารณ์ |
แต่หลากด้วยตัวของมันนี้ | มีเครื่องประดับกายฉายฉาน |
ผิดกับลิงไพรในดงดาน | ฮึกหาญไม่กลัวบรรลัย |
ดีร้ายมุลนายเขาใช้สอย | สะกดรอยม้ามาในป่าใหญ่ |
ถึงกระนั้นเราไม่กลัวใคร | ว่าแล้วขับม้าไปทันที ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด
๏ บัดนั้น | หนุมานผู้ชาญชัยศรี |
ครั้นพระพายพัดต้องอินทรีย์ | ก็ฟื้นสมประดีคืนมา |
ก็รู้ว่าพี่น้องนี้ลองศิลป์ | ฟ้าดินครรชิตทุกทิศา |
อานุภาพเลิศลํ้าโลกา | ตีกูปิ้มว่าจะวายปราณ |
น้อยน้อยกระจ้อยเท่านี้ | ศรศรีมีฤทธิ์กล้าหาญ |
ยิ่งศรอินทรชิตขุนมาร | ตีกูครั้งผลาญเอราวัณ |
อย่าเลยจะแสร้งทำอุบาย | กลายเป็นลิงป่าพนาสัณฑ์ |
เข้าชวนสนิทติดพัน | ให้กุมารนั้นหลงระเริงใจ |
แล้วจึ่งจะค่อยหักโหม | โจมจับเอาตัวให้ได้ |
คิดแล้วอ่านเวทเกรียงไกร | สำรวมใจนิมิตกายา ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ ตระ
๏ เป็นวานรน้อยสีเทา | เข้าหักเอาผลพฤกษา |
เลาะลัดตัดผ่านมรคา | ไปสกัดอยู่หน้าอาชาชาญ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ ครั้นถึงเดินด้อมเข้าไป | ปราศรัยด้วยคำอ่อนหวาน |
ข้ารักทั้งสองพระกุมาร | จึ่งเก็บพฤกษาหารมาให้นี้ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระมงกุฎทรงสวัสดิ์รัศมี |
คิดว่าลิงในพนาลี | ยิ้มแล้วจึ่งมีวาจา |
อันผลไม้ที่เอ็งให้ | เอาไว้กินเถิดกระบี่ป่า |
เมื่อกี้ลิงเผือกอหังการ์ | มาทำหยาบช้าแก่กู |
จึ่งหวดด้วยคันศรทรง | ถูกกายล้มลงกลิ้งอยู่ |
อันมึงนี้น่าเอ็นดู | รู้ฝากตัวประสาสัตว์ไพร ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | พญาอนุชิตทหารใหญ่ |
ได้ฟังพระกุมารชาญชัย | จึ่งแกล้งใส่ไคล้เจรจา |
อันวานรเผือกนั้นใจพาล | เป็นลิงบ้านใช่เหล่าลิงป่า |
จึ่งทำอาจองอหังการ์ | ฆ่าเสียก็สาใจมัน |
ว่าพลางทางเดินเข้าชิด | ทอดสนิทเลียมหยอกแล้วสรวลสันต์ |
เห็นกุมารไม่รู้เท่าทัน | ขบฟันเขม้นหมายใจ |
คิดจะใคร่โจมโถมจับ | แต่กระหยับตัวอยู่ไม่ทำได้ |
แล้วเผ่นโผนโจนทะยานด้วยว่องไว | คว้าไขว่จะจับพระกุมาร ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | พระมงกุฎวุฒิไกรใจหาญ |
หวดด้วยคันศรอันชัยชาญ | ถูกหนุมานล้มลงทันที ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ อันรูปนิมิตก็กลับกลาย | เป็นลูกพระพายเรืองศรี |
พระลบกริ้วโกรธคืออัคคี | เอาศรตีซํ้าเป็นหลายครา |
พระมงกุฎยิ้มแล้วจึงตรัสไป | เจ้าเห็นหรือไม่กนิษฐา |
ไอ้ลิงนี้เมื่อกี้อหังการ์ | ไม่กลัวฤทธามาจับเรา |
ตีล้มกับที่ไม่หลาบจำ | รื้อทำมารยามาอีกเล่า |
จะไว้มันไยอ้ายหัวเบา | เจ้าพี่ฆ่าเสียให้สาใจ ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระลบผู้มีอัชฌาสัย |
ได้ฟังจึ่งทูลสนองไป | ฆ่าเสียเห็นใครไม่ล่วงรู้ |
ลิงนี้สิรู้นุ่งผ้า | ชะรอยว่าเจ้าของจะมีอยู่ |
มัดปล่อยมันไปให้นายดู | จึ่งจะได้อดสูด้วยกัน ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระมงกุฎสุริย์วงศ์รังสรรค์ |
ฟังพระอนุชาร่วมชีวัน | ว่านั้นก็ต้องฤทัย |
จึ่งลงจากหลังพาชี | ชักเถาวัลลีมาได้ |
ช่วยกันผูกมัดด้วยขัดใจ | ไพล่หลังเข้าไว้ทั้งสองกร |
แล้วหักเอายางไม้มา | สักหน้าลงเป็นอักษร |
อธิษฐานซึ่งมัดวานร | ถึงใครมีฤทธิรอนดั่งเพลิงพิษ |
ตั้งแต่ตํ่าใต้บาดาล | จนถึงวิมานอกนิษฐ์ |
ทั่วไปทั้งในทศทิศ | จะชาญวิทย์เวทประการใด |
มิใช่เจ้าของมาแก้มัด | ตัดฟันอย่าให้ขาดได้ |
ต่อเป็นเจ้ามึงซึ่งเลี้ยงไว้ | จึ่งให้แก้ได้ดั่งจินดา ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
๏ ครั้นเห็นฟื้นขึ้นก็ตีซ้ำ | ไอ้ลิงกาลีชาติข้า |
เร่งไปบอกพวกของมึงมา | กูจะอยู่คอยท่าโรมรัน ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | วายุบุตรฤทธิแรงแข็งขัน |
ต้องมัดรัดรึงผูกพัน | ด้วยลัดดาวัลย์สองกุมาร |
อัปยศอดสูเป็นสุดคิด | ร้อนจิตดั่งหนึ่งเพลิงผลาญ |
นิ่งขึงดะลึงอยู่ช้านาน | พระพี่น้องประหารก็เดินไป ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ ดันดึงด้วยกำลังสามารถ | ลัดดาจะขาดก็หาไม่ |
ยิ่งรัดรึงมั่นกระสันไว้ | จะทำอย่างไรไม่เคลื่อนคลา |
ให้เจ็บป่วยชอกชํ้าไปทั้งกาย | ดั่งจะวายชีวังสังขาร์ |
ถึงครั้งหักสวนอสุรา | ในทวีปลงกาเมืองมาร |
รณรงค์กับองค์อินทรชิต | มันแผลงศรสิทธิ์มาสังหาร |
ต้องกูล้มลงกับดินดาน | แล้วให้หมู่มารพลไกร |
จับเอาตัวไปผูกมัด | รึงรัดด้วยพวนเหล็กใหญ่ |
สะบัดทีเดียวก็ขาดไป | ครั้งนี้หลากใจด้วยเถาวัลย์ |
นิดหนึ่งสักเท่าสายพาน | มามัดประจานไว้ได้มั่น |
คิดพลางน้อยใจจาบัลย์ | โซเซเดินดั้นกลับมา ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด
๏ ครั้นพบพหลพลไกร | เห็นทหารน้อยใหญ่พร้อมหน้า |
อัปยศเดินก้มพักตรา | เข้ามาหน้ารถพระภูธร ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | ทั้งสองน้องนารายณ์ทรงศร |
รีบเร่งโยธาพลากร | บทจรตามม้าอุปการ |
มาโดยมรคาอารญ | มิได้พักพวกพลทวยหาญ |
ทอดพระเนตรเห็นศรีหนุมาน | ต้องมัดประจานกลับมา |
ต่างองค์ตระหนกตกใจ | ลงจากพิชัยรัถา |
แล้วมีพระราชบัญชา | ถามพญาอนุชิตชาญฉกรรจ์ |
ตัวท่านสิเรืองฤทธี | ทั่วทั้งธาตรีก็ไหวหวั่น |
แต่ล้างอสุราอาธรรม์ | โลหิตนั้นปานสมุทรไท |
อันซึ่งซากศพพวกพาล | เท่าเนินจักรวาลเขาใหญ่ |
ครั้งนี้นี่เป็นประการใด | คือใครมัดมานะวานร ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | คำแหงหนุมานชาญสมร |
ก้มหน้าทูลน้องพระสี่กร | ภูธรจงทรงพระเมตตา |
ตัวข้าลัดพงดงดาน | ตามม้าอุปการไปในป่า |
เห็นสองกุมารขี่อาชา | จึ่งจู่โจมโถมมาเข้าราวี |
เพื่อนรันด้วยคันศรทรง | ถูกข้าสลบลงกับที่ |
ครั้นฟื้นคืนได้สมประดี | ก็แปลงเป็นกระบี่พนาดร |
ชวนเล่นเห็นสนิทแล้วจะจับ | แต่กระหยับก็หวดด้วยคันศร |
ดั่งสายสุนีบาตฟาดฟอน | ร้อนเพียงจะวินาศขาดใจ |
ครั้นแล้วก็มัดด้วยเถาวัลย์ | ว่ากล่าวเย้ยหยันหยาบใหญ่ |
ให้เร่งมาบอกพระองค์ไป | จะต่อฤทธิไกรด้วยผ่านฟ้า ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระพรตพระสัตรุดกนิษฐา |
ฟังขุนกระบี่ผู้ปรีชา | โกรธาดั่งกาลอัคคี |
เสด็จเข้าใกล้แล้วยื่นหัตถ์ | แก้มัดพญากระบี่ศรี |
ไม่เคลื่อนคลายออกจากอินทรีย์ | ภูมีจึ่งทรงพระขรรค์ชัย |
ช่วยกันเชือดตัดเป็นสามารถ | เถาวัลย์จะขาดก็หาไม่ |
อัศจรรย์พลางทอดพระเนตรไป | เห็นในอักษรจารึกมา |
อ่านแจ้งแล้วบัญชาการ | อ่านสารที่เขาสักหน้า |
ถ้อยคำองอาจอหังการ์ | หยาบช้าเป็นพ้นพันทวี |
เราใช่เจ้าท่านไม่แก้ได้ | จนใจอยู่แล้วกระบี่ศรี |
จงเข้าไปเฝ้าพระจักรี | ยังที่นิเวศน์อันโอฬาร ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | พญาอนุชิตยอดทหาร |
ทั้งอายทั้งแค้นพ้นประมาณ | ปานดั่งจะแทรกพระสุธา |
อนิจจาอกเอ๋ยครั้งนี้ | จะเป็นที่อัปยศทั่วหน้า |
จะเหาะไปก็อายแก่เทวา | จะเดินพื้นพระสุธาก็อายคน |
สุดที่ตัวกูจะซ่อนพักตร์ | เวทนาเจ็บนักทุกขุมขน |
ครั้นมิไปเฝ้าพระภุชพล | ก็จะทนลำบากแสนทวี |
คิดแล้วลาเบื้องบาทบงสุ์ | องค์พระอนุชาสองศรี |
เลี้ยวลัดตัดป่าพนาลี | ไปยังบุรีอยุธยา ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด
๏ ครั้นถึงจึ่งตรงเข้าไปเฝ้า | พระนารายณ์เป็นเจ้านาถา |
ซบพักตร์ลงกับพระบาทา | มิได้ดูหน้าแสนยากร ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ โอด
๏ เมื่อนั้น | พระกฤษณุรักษ์ทรงศร |
เสด็จเหนือแท่นแก้วบวร | ภูธรเหลือบเห็นหนุมาน |
ต้องมัดไพล่หลังเข้ามา | ผ่านฟ้ากริ้วโกรธดั่งเพลิงผลาญ |
จึ่งมีสีหนาทโองการ | เหวยลูกพระพายชาญฉกรรจ์ |
ตัวนี้ศักดาวราฤทธิ์ | ทั่วทั้งทศทิศก็ไหวหวั่น |
แต่สหัสเดชะนั้น | มีเศียรถึงพันเกรียงไกร |
อาวุธครบสองพันกร | ยังไม่ทานฤทธิรอนของตัวได้ |
ครั้งนี้ไปตามมโนมัย | เหตุใดใครจับมัดมา |
เชือกเล่าก็เถาลัดดาวัลย์ | ให้ผูกมั่นมาได้ไม่อายหน้า |
เสียทีที่มีศักดา | ชั่วกว่าลิงป่าพนาลี |
ตรัสพลางเหลือบเล็งเพ่งพิศ | ลิขิตที่หน้ากระบี่ศรี |
ก็รู้ว่าทำมาด้วยฤทธี | ภูมียิ่งกริ้วโกรธนัก |
กระทืบบาทผาดแผดสีหนาท | เหวยใครอาจองทะนงศักดิ์ |
ไม่เกรงกูผู้องค์หริรักษ์ | มันจักพากันวายปราณ |
ตรัสพลางเหยียดยื่นพระหัตถ์ | แก้มัดตามคำอธิษฐาน |
ก็ลุ่ยหลุดจากกรหนุมาน | ด้วยเดชพระอวตารผู้ศักดา ฯ |
ฯ ๑๖ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | ลูกพระพายผู้มียศถา |
ยอกรกราบลงกับบาทา | ก้มหน้าคิดแค้นแสนทวี |
ถอนใจแล้วทูลบรรยาย | แต่ต้นจนปลายถ้วนถี่ |
อันกุมารพี่น้องทั้งสองนี้ | ศรศรีประเสริฐเลิศไกร |
แต่ข้าเป็นข้าพระองค์ | จะขายเบื้องบาทบงสุ์ก็หาไม่ |
ครั้งนี้โทษถึงบรรลัย | ภูวไนยจงทรงพระเมตตา ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระตรีภพลบโลกนาถา |
ได้ฟังกริ้วโกรธา | ดั่งโลกาเกิดไฟบรรลัยกาล |
ดูดู๋ไอ้ลูกกะจิริด | ทะนงจิตมาทำอวดหาญ |
เหวยเหวยคำแหงหนุมาน | ตัวท่านจงรีบกลับไป |
บอกพระอนุชาทั้งสององค์ | รณรงค์จับตัวมาให้ได้ |
จะทำให้สาแกน้ำใจ | ไตรโลกจะไม่ดูเยี่ยงมัน ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | วายุบุตรฤทธิแรงแข็งขัน |
รับสั่งพระองค์ทรงสุบรรณ | บังคมคัลแล้วเหาะไปทันที ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ ครั้นถึงจึ่งทูลเบื้องบาท | พระอนุชาธิราชสองศรี |
ว่าองค์สมเด็จพระจักรี | ภูมีกริ้วโกรธดั่งเพลิงกาล |
ให้เร่งโยธาพลากร | รถรัตน์อัสดรทวยหาญ |
ไปสัประยุทธ์รอนราญ | จับสองกุมารนั้นมา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระพรตพระสัตรุดกนิษฐา |
ได้แจ้งแห่งราชบัญชา | ก็ให้กรีธาพลสกลไกร |
สิ้นทั้งกองหน้ากองหลัง | คับคั่งเพียงพื้นแผ่นดินไหว |
หนุมานนั้นนำทัพไป | ตามในแนวป่าอารัญ ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระมงกุฎสุริย์วงศ์รังสรรค์ |
ขับม้าเที่ยวเล่นในไพรวัน | ชมพรรณพฤกษาตระการ |
แลไปเห็นกระบี่เผือกผู้ | นำหมู่จตุรงค์ทวยหาญ |
จึ่งบอกอนุชาชัยชาญ | ไอ้ลิงสาธารณ์ที่มัดไว้ |
มันกลับนำพวกกองทัพ | โยธาซ้อนซับไม่นับได้ |
ซึ่งขี่รถอยู่กลางพลไกร | ชะรอยเป็นนายใหญ่ยกมา |
มาเถิดจะต่อด้วยศรสิทธิ์ | อันมีฤทธิไกรแกล้วกล้า |
ว่าพลางลงจากอาชา | ออกยืนขวางหน้าพลากร |
พระหัตถ์กวัดแกว่งธนูทรง | อาจองดั่งพญาไกรสร |
ออกจากถํ้าแก้วอันบวร | จะเผ่นจรเข้าจับมฤคี |
จึ่งกล่าวมธุรสถามไป | ไฉนพระองค์ทั้งสองศรี |
จึ่งยกโยธามาดั่งนี้ | มีประสงค์สิ่งใดจงบอกมา ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | สองกษัตริย์สุริย์วงศ์นาถา |
ฟังพลางทางทอดทัศนา | เห็นโฉมกุมาราวิลาวัณย์ |
ทั้งสองนวลละอองผ่องพักตร์ | คล้ายพระหริรักษ์รังสรรค์ |
จะเป็นสุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์ | กษัตราเขตขัณฑ์บุรีใด |
ออกมาร่ำเรียนวิชา | พระสิทธาดาบสเป็นไฉน |
พี่น้องเที่ยวอยู่ในไพร | ไม่มีไพร่พลโยธี |
น้อยน้อยกระจ้อยน่ารัก | แหลมหลักรู้การศรศรี |
ทั้งองอาจเจรจาพาที | มิได้เกรงกูผู้ศักดา |
คิดแล้วจึ่งมีบรรหาร | เหวยสองกุมารใจกล้า |
หน่อเนื้อนามกรแลพารา | อยู่ไหนเจ้าว่าให้แจ้งใจ |
มาขี่ม้าร่วมอาสน์พระจักรกฤษณ์ | โดยจิตกำเริบหยาบใหญ่ |
แล้วมัดวายุบุตรวุฒิไกร | ประจานไปไม่เกรงบทมาลย์ |
บัดนี้พระองค์ทรงพระโกรธ | โปรดให้เรายกทวยหาญ |
มาจับสองเจ้าผู้ใจพาล | ไปถวายพระผู้ผ่านโลกา ฯ |
ฯ ๑๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระมงกุฎวุฒิไกรใจกล้า |
ได้ฟังจึ่งตอบวาจา | มาถามนามวงศ์ด้วยอันใด |
ตัวท่านเจรจานี้เกินนัก | จะเกรงพักตร์กันบ้างก็หาไม่ |
อย่าคิดอาจองทะนงใจ | ใช่ว่าจะกลัวฤทธี |
ม้านี้ไม่มีใครเลี้ยงดู | เที่ยวอยู่กลางป่าก็จับขี่ |
ฝ่ายไอ้ลิงเผือกมาราวี | เราตีด้วยศรอันศักดา |
ครั้งหนึ่งแล้วไม่หลาบจำ | จึ่งทำให้สมน้ำหน้า |
ปล่อยไปไม่ล้างชีวา | จะว่าเราผิดด้วยอันใด |
ท่านมิพินิจดูข้อความ | มาวู่วามเจรจาหยาบใหญ่ |
ซึ่งว่าจะจับเอาตัวไป | ตกใจเป็นพ้นพันทวี ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระพรตทรงสวัสดิ์รัศมี |
ได้ฟังจึ่งตอบวาที | ดูดู๋ว่านี้ด้วยพาลา |
อันพระรามทรงทศธรรเมศ | ลือเดชทั่วทุกทิศา |
ไม่เห็นหรือที่คออาชา | สารามีแจ้งเป็นสำคัญ |
เราเมตตาจึ่งว่าแต่โดยดี | ยังพาทีหยาบช้าโมหันธ์ |
ลูกเล็กเด็กน้อยเท่าแมงวัน | จะพากันสิ้นชีพวายปราณ ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระมงกุฎผู้ปรีชาหาญ |
สรวลพลางทางตอบพจมาน | ท่านอย่าอวดฤทธิ์ให้ตกใจ |
อันในสารศรีที่บรรยาย | ต้นปลายหาสมกันไม่ |
ปล่อยม้ามาพาลผิดใคร | นี่หรืออยู่ในสัตยา |
ถึงมาตรพระรามจักรี | จะมีฤทธีแกล้วกล้า |
ว่าเป็นองค์พระหริรักษ์จักรา | อวตารมาล้างอาธรรม์ |
จะปราบได้แต่ไอ้หมู่มาร | ที่หยาบช้าสาธารณโมหันธ์ |
กับท้าวพญาทั้งนั้น | บรรดาไม่มีฤทธิไกร |
อันเราพี่น้องทั้งสองรา | จะเป็นข้าพระรามก็หาไม่ |
เห็นแต่เป็นเด็กจะจับไป | ว่าได้ดั่งไม่มีฤทธี |
เอ็นดูแต่หมู่ทวยหาญ | จะพลอยบรรลัยลาญด้วยศรศรี |
ท่านสองเราสองมาราวี | ใครดีก็จะได้เห็นกัน ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระพรตสุริย์วงศ์รังสรรค์ |
ฟังกุมารเจรจาดึงดัน | โกรธดั่งเพลิงกัลป์บรรลัยกาล |
เหม่เหม่ดูดู๋ไอ้ลูกน้อย | ถ้อยคำหยาบช้ากล้าหาญ |
มิได้เกรงกูผู้ชัยชาญ | จะฆ่าให้วายปราณเสียบัดนี้ |
ว่าแล้วก็ขึ้นศรทรง | สง่างามดั่งองค์โกสีย์ |
น้าวหน่วงด้วยกำลังฤทธี | ภูมีผาดแผลงไป ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ เชิด
๏ มืดมนอนธการทั่วทิศ | เสียงสนั่นครรชิตแผ่นดินไหว |
ศรเป็นข่ายเพชรอันเกรียงไกร | ล้อมไว้ทั้งสองกุมารา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระมงกุฎวุฒิไกรใจกล้า |
เห็นข่ายเพชรล้อมรอบกายา | ก็แผลงศรศักดาไปทันที ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ ครั่นครื้นทั้งหมื่นโลกธาตุ | วิมานมาศสะเทือนทุกราศี |
ข่ายเพชรแหลกยับเป็นธุลี | ดั่งต้องอัคคีบรรลัยกัลป์ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระพรตฤทธิแรงแข็งขัน |
เห็นกุมารผาดแผลงโรมรัน | ข่ายเพชรนั้นขาดระยำไป |
จึ่งชักพระแสงศรศาสตร์ | อันมีอำนาจแผ่นดินไหว |
พาดสายน้าวหน่วงว่องไว | แผลงไปด้วยกำลังศักดา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ สำเนียงสนั่นครั่นครื้น | เป็นนาคแน่นพื้นเวหา |
พ่นพิษเลี้ยวไล่กุมารา | ด้วยฤทธาน้องพระจักรี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระมงกุฎทรงสวัสดิ์รัศมี |
เห็นศรแผลงเป็นนาคี | ก็สำแดงฤทธีเกรียงไกร |
พระพี่น้องสำรวลสรวลสันต์ | จะหวาดหวั่นพระทัยก็หาไม่ |
ต่างองค์จับศรแผลงไป | หวั่นไหวโลกาฟ้าดิน ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ กลับกลายไปเป็นพญาครุฑ | ฉวยฉุดภุชงค์ไว้ได้สิ้น |
ฉีกฉาบคาบเคี้ยวนาคินทร์ | จิกกินเป็นภัสม์ธุลี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระพรตพระสัตรุดเรืองศรี |
เห็นกุมารแผลงศรมาราวี | เห็นครุฑจิกนาคีหายไป |
โกรธากวัดแกว่งศรศาตร์ | กระทืบบาทสนั่นหวั่นไหว |
ลงจากรถแก้วแววไว | เข้าไล่หักโหมโรมรัน ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ สี่องค์ทรงฤทธิ์ชัยชาญ | ต่างอาจต่างหาญแข็งขัน |
ฝ่ายพี่ต่อพี่เข้าจับกัน | น้องต่อน้องนั้นเข้าราวี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | สองกุมารทรงสวัสดิ์รัศมี |
รับรองป้องกันประจัญตี | ต่างหนีต่างไล่กันไปมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ พระมงกุฎจึ่งชักศรสิทธิ์ | ด้วยกำลังฤทธิ์แกล้วกล้า |
งามดั่งพระขันธ์กุมารา | แผลงสนั่นลั่นฟ้าสุธาธาร ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ ศรต้องสองกษัตริย์ตลอดองค์ | ล้มลงปิ้มสิ้นสังขาร |
แล้วเป็นบ่วงบาศไปรอนราญ | มัดพวกพลหาญวุ่นไป ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ บัดนั้น | ฝ่ายพลโยธาน้อยใหญ่ |
ซึ่งบ่วงบาศรึงรัดมัดไว้ | ตกใจไม่เป็นสมประดี |
ล้มลกคุกคลานสับสน | ต่างตนตะเกียกตะกายหนี |
กลิ้งกลาดดาษป่าพนาลี | ร้องมี่อื้ออึงเป็นโกลา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | วายุบุตรวุฒิไกรใจกล้า |
เห็นศรต้องสองกษัตรา | มัดทั้งโยธาพลากร |
ชิชะกุมารนี้สามารถ | องอาจแกล้วกล้าชาญสมร |
กูก็เป็นทหารฤทธิรอน | องค์พระสี่กรอวตาร |
มาตรแม้นถึงตายจะไว้ยศ | ให้ปรากฏไปทั่วทุกสถาน |
คิดแล้วยอกรมัสการ | อ่านเวทนิมิตอินทรีย์ ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ ตระ
๏ แปดกรสี่พักตร์สำแดงเดช | เท่าบรมพรหเมศเรืองศรี |
โลดโผนโจนไปทันที | เข้าราวีจับสองกุมารา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | สองกุมารชาญชัยใจกล้า |
เห็นกระบี่สำแดงฤทธา | โลดโผนโจนมาราญรอน |
ต่างองค์ต่างเข้ารณรงค์ | หวดลงด้วยคันธนูศร |
ต้องกายหนุมานไม่ทานกร | ล้มนอนสลบไปทันที ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด โอด
๏ เมื่อนั้น | ทั้งสองน้องนารายณ์เรืองศรี |
ต้องศรไม่สิ้นชีวี | ด้วยเกราะพระจักรีประทานมา |
ดำรงกายขึ้นได้ทั้งสององค์ | ฝ่ายพระพรตสุริย์วงศ์เชษฐา |
จึ่งตรัสแก่พระอนุชา | ถึงเราไปลงกามลิวัน |
สังหารมารม้วยอกนิษฐ์ | ทั่วทั้งทศทิศไหวหวั่น |
แต่เด็กน้อยนี้น่าอัศจรรย์ | พงศ์พันธุ์ใครหนอจึ่งเรืองชัย |
หรือสามพระเป็นเจ้าให้กำเนิด | เกิดมาล้างเราเป็นไฉน |
ศรมันจึ่งมีฤทธิไกร | ต้องเราตลอดไปทั้งกายา |
เจ็บปวดชอกชํ้าพันทวี | อับอายตรีโลกเป็นหนักหนา |
ว่าแล้วจึ่งสองกษัตรา | ก็ร่ายวิทยาอันเพริศพราย ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ ตระ
๏ ครั้นครบสามคาบก็ลูบลง | ความเจ็บพระองค์ก็สูญหาย |
ไม่มีบาดแผลกับกาย | น้องนารายณ์ทอดทัศนาไป |
เห็นพญาอนุชิตสิทธิศักดิ์ | อันเป็นเอกอัครทหารใหญ่ |
นอนนิ่งดั่งสิ้นชีวาลัย | พลไกรต้องมัดไม่สมประดี |
สองพระองค์ทรงตั้งอธิษฐาน | เดชะพระอวตารเรืองศรี |
ไวกูณฐ์มาบำรุงธาตรี | ขอให้ขุนกระบี่เป็นมา |
อันเสนีรี้พลทั้งนั้น | ให้เถาวัลย์หลุดจากหัตถา |
ว่าแล้วทรงศรอันศักดา | ผ่านฟ้าก็ผาดแผลงไป ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด
๏ บังเกิดเป็นวายุพัดพาน | หนุมานก็ฟื้นกายได้ |
บ่วงบาศที่ต้องพลไกร | ก็ลุ่ยหลุดออกไปทันที |
ศรพระพรตนั้นต้องธนูทรง | กระทบองค์พระมงกุฎเรืองศรี |
ล้มลงกับพื้นปถพี | ด้วยฤทธิน้องพระอวตาร ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | วายุบุตรวุฒิไกรใจหาญ |
ขบฟันโลดโผนโจนทะยาน | เขาจับกุมารด้วยศักดา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ ฉวยคว้ารวบรัดได้พี่ | น้องหนีเลี้ยวลัดเข้าในป่า |
จึ่งพาพระมงกุฎมา | ถวายสองกษัตราวิลาวัณย์ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด