- คำนำ
- คำอธิบาย
- เนื้อเรื่องย่อ
- สมุดไทยเล่มที่ ๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๗
คำนำ
รามเกียรติ์เป็นวรรณกรรมสำคัญของไทยที่มีต้นกำเนิดมาจากคัมภีร์รามายณะของอินเดีย มีเนื้อหาว่าด้วยพระนารายณ์อวตารเป็นพระรามลงมาปราบยักษ์ ซึ่งเป็นผู้ไม่อยู่ในศีลธรรม เรื่องนี้นับเป็นหนังสือสำคัญในลัทธิฮินดู และเป็นที่นิยมของชาวอินเดียโดยทั่วไป เมื่ออารยธรรมอินเดียเผยแผ่เข้ามายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องที่เนื่องมาจากรามายณะจึงแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ คือ อินโดนีเซีย มาลาเซีย เขมร ลาว เวียดนาม พม่า และไทย ประเทศเหล่านี้ต่างมีวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ที่แต่งขึ้นในภาษาของตนทั้งสิ้น รามเกียรติ์ของชาติต่างๆนั้น แม้จะมีที่มาเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่ละชาติจะสอดแทรกเอกลักษณ์ คตินิยม วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของตนลงไป
หนังสือรามเกียรติ์ฉบับภาษาไทยนั้น มีอยู่หลายสำนวนด้วยกันและแต่งเป็นคำประพันธ์หลายรูปแบบทั้ง คำโคลง คำฉันท์ คำกาพย์ และคำกลอน บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นับได้ว่าเป็นรามเกียรติ์ฉบับที่มีเนื้อความบริบูรณ์กว่าฉบับอื่น มีเนื้อหาตั้งแต่หิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดิน เกิดอโนมาตัน แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา แล้วดำเนินความต่อไปจนเกิดสงครามระหว่างมนุษย์กับยักษ์ กระทั่งถึงพระรามและนางสีดาครองกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวิจารณ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ ไว้ในหนังสือบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ว่า “สังเกตได้ว่าพระราชประสงค์คือจะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ไว้ให้ได้หมดมากกว่าที่จะใช้สำหรับเล่นละคร”
ในการจัดพิมพ์ครั้งที่เก้า สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ได้มอบให้นางสาวอรสรา สายบัว นักอักษรศาสตร์ ๘ ว. และนางดาวรัตน์ ชูทรัพย์ นักอักษรศาสตร์ ๗ ว. กลุ่มภาษาและวรรณกรรม ตรวจสอบกับต้นฉบับ หนังสือสมุดไทยที่เก็บรักษาไว้ ณ ส่วนภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของฉบับพิมพ์ที่มีแต่เดิม โดยยึดถือหนังสือสมุดไทยเป็นหลัก คำใดที่เขียนลักลั่นและมีความหมายเดียวกัน ให้เขียนตามต้นฉบับหนังสือสมุดไทย เพื่อรักษาต้นฉบับเดิมเป็นสำคัญ
อนึ่งในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ได้จัดทำคำอธิบายความเป็นมาของรามเกียรติ์เนื้อเรื่องย่อตั้งแต่เล่ม ๑ – เล่ม ๔ และจัดทำสาแหรกตัวละครในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ มาพิมพ์รวมไว้ด้วยเพื่อสะดวกในการค้นคว้า
กรมศิลปากรหวังว่าหนังสือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นี้จะอำนวยคุณประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาเรื่องวรรณกรรมของไทยโดยทั่วกัน
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์