- คำนำ
- คำอธิบาย
- เนื้อเรื่องย่อ
- สมุดไทยเล่มที่ ๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๒๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๓๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๔๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๕๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๖๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๗๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๘๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๙๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๗
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๘
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๐๙
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๐
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๑
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๒
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๓
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๔
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๕
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๖
- สมุดไทยเล่มที่ ๑๑๗
สมุดไทยเล่มที่ ๔๙
๏ เมื่อนั้น | ทศเศียรสุริย์วงศ์ยักษี |
ได้ฟังดั่งต้องอสุนี | มีความฉงนสนเท่ห์ใจ |
เหตุไฉนมนุษย์สาธารณ์ | บรรลัยลาญแล้วเป็นขึ้นมาได้ |
เหวยเหวยมโหทรจงเร่งไป | หาน้องร่วมใจกูขึ้นมา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | จึ่งมโหทรมารยักษา |
รับสั่งถวายบังคมลา | อสุราก็รีบจรลี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ ประถม
๏ ครั้นถึงนบนิ้วอภิวาทน์ | ทูลพญาอุปราชยักษี |
ว่าข้าศึกนั้นรอดชีวี | บัดนี้ให้เชิญเสด็จจร ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พญากุมภกรรณชาญสมร |
ได้ฟังวาจามโหทร | ดั่งใครเอาศรมาเสียบใจ |
นั่งนิ่งตะลึงรำพึงคิด | ร้อนจิตผะผ่าวดั่งเพลิงไหม้ |
ลุกจากแท่นแก้วแววไว | เสด็จไปเฝ้าองค์เจ้าลงกา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ
๏ จึ่งน้อมเศียรเกล้าบังคม | องค์พระบรมเชษฐา |
ท่ามกลางอสูรเสนา | คอยฟังบัญชาพญามาร ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | ท้าวยี่สิบกรใจหาญ |
เห็นพระอนุชาชัยชาญ | จึ่งมีโองการตรัสไป |
ดูก่อนกุมภกรรณน้องรัก | ผู้ทรงสิทธิศักดิ์แผ่นดินไหว |
ตัวเจ้าบอกพี่ว่ามีชัย | ฆ่ามนุษย์เสียได้แล้วกลับมา |
บัดนี้ไพรีมีกำลัง | ไม่ม้วยชีวังสังขาร์ |
ยกทัพกลับคืนเข้าพลับพลา | แก้วตาจะคิดประการใด ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | กุมภกรรณผู้มีอัชฌาสัย |
ได้ฟังบัญชาภูวไนย | บังคมไหว้สนองพระวาที |
อันหอกโมกขศักดิ์วราวุธ | ฤทธิรุทรปราบได้ทุกราศี |
ต้องใครไม่รอดชีวี | ครั้งนี้น้องอัศจรรย์นัก |
ชะรอยไอ้พิเภกทรชน | บอกกลให้แก้โมกขศักดิ์ |
หาไม่ที่ไหนพระลักษมณ์ | จักรอดชีวิตคืนไป |
คิดคิดก็แค้นเหลือแค้น | แน่นอกปิ้มเลือดตาไหล |
อันมนุษย์กับวานรไพร | จะฆ่าเสียให้ได้ด้วยความคิด |
แต่น้องขอลาบทเรศ | ไปร่ายเวทวิทยาพิธีกิจ |
ทดนํ้าเหนือทัพปัจจามิตร | ปิดเสียมิให้ไหลมา |
ข้าศึกก็จะอดน้ำตาย | ด้วยอุบายไม่พักเข่นฆ่า |
พระองค์ผู้ทรงศักดา | อย่าบัญชาให้แจ้งแก่โยธี ฯ |
ฯ ๑๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | ทศเศียรสุริย์วงศ์ยักษี |
ได้ฟังน้องรักก็ยินดี | อสุรีสวมสอดกอดไว้ |
มิเสียทีเจ้ามีปรีชาชาญ | ทั่วทั้งไตรดาลไม่หาได้ |
ทีนี้มนุษย์กับลิงไพร | จะบรรลัยสิ้นพวกบรรดามา |
อันหมู่ไพร่ฟ้าประชาชี | ทีนี้จะบรมสุขา |
ตัวเจ้าผู้ทรงศักดา | แก้วตาของพี่จงรีบจร ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พญากุมภกรรณชาญสมร |
รับสั่งพระเชษฐาฤทธิรอน | ชุลีกรออกจากพระโรงคัล ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ ครั้นถึงเสด็จเหนืออาสน์ | อันโอภาสพรรณรายฉายฉัน |
จึ่งบัญชาสั่งนางกำนัล | อันชื่อว่าคันธมาลี |
กับสี่อนงค์ทรงลักษณ์ | ที่ร่วมรักร่วมใจยักษี |
ว่าเราจะไปตั้งพิธี | ในที่ริมฝั่งคงคา |
กำหนดเจ็ดคืนเจ็ดวัน | เอ็งจงเก็บพรรณบุปผา |
ไปส่งกูทุกเวลา | อย่าบอกแก่ใครให้แจ้งการ ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ เจรจา
๏ สั่งแล้วสระสรงทรงเครื่อง | อร่ามเรืองด้วยแก้วมุกดาหาร |
จับกระบองเพชรรัตน์ชัชวาล | เหาะทะยานไปโดยอัมพร ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ กราว
๏ ครั้นถึงฟากฝั่งชลาลัย | ซึ่งไหลไปมรกตสิงขร |
มีต้นตร่างใหญ่ริมสาคร | กิ่งใบอรชรจำเริญตา |
ร่มรื่นพื้นราบดั่งหน้าแว่น | ใต้ต้นมีแท่นแผ่นผา |
ขึ้นนั่งบนบัลลังก์ศิลา | หลับตาอ่านเวทสำรวมใจ ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ ตระ
๏ บัดเดี๋ยวกลับกายกลายเพศ | เท่าบรมพรหเมศสูงใหญ่ |
อสุรีย่างเยื้องคลาไคล | ลงไปยังท้องธารา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ ทอดองค์นอนขวางกลางนํ้า | บริกรรมพระเวทคาถา |
จมอยู่ในท้องพระคงคา | มิได้เห็นกายาอสุรี |
น้ำท้นวนวังไม่หลั่งไหล | ไปหน้าพลับพลาชัยศรี |
เดชะด้วยฤทธิ์พิธี | วารีแห้งสิ้นจนดินทราย ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ ตระ
๏ บัดนั้น | โยธาวานรทั้งหลาย |
ครั้นแสงทองส่องพื้นโพยมพราย | นายไพร่ก็ไปยังคงคา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ รุกร้น
๏ ก็ถึงที่ฟากฝั่งชลธี | กระบี่จะลงล้างหน้า |
เห็นน้ำแห้งถึงพื้นพสุธา | วานรก็คิดอัศจรรย์ |
ต่างทุกข์ที่จะอดนํ้าตาย | ไพร่นายตกใจตัวสั่น |
หมู่ลิงวิ่งวนพัลวัน | บ้างปรึกษากันอึงไป ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา
๏ ก็มิได้ล่วงรู้เหตุผล | ทุกข์ทนทอดถอนใจใหญ่ |
เที่ยวดูตามท้องชลาลัย | ไม่เห็นสิ่งใดก็กลับมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ
๏ ครั้นถึงลูกพระทินกร | วานรกราบลงพร้อมหน้า |
แจ้งว่าบัดนี้คงคา | ที่ในมหาชลธาร |
เคยได้อาศัยอาบกิน | ทุกหมู่กบินทร์ทวยหาญ |
เหือดแห้งไปสิ้นถึงดินดาน | เกิดการวิบัติในนที ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา
๏ บัดนั้น | สุครีพผู้ชาญชัยศรี |
ได้ฟังตกใจพ้นทวี | พากระบี่เข้าไปยังพลับพลา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ จึ่งน้อมศิโรตม์บังคมทูล | นเรนทร์สูรปิ่นภพนาถา |
บัดนี้กระบี่โยธา | ลงไปยังท่าชลาลัย |
นํ้านั้นบันดาลแห้งสิ้น | แต่วานรจะกินก็ไม่ได้ |
ข้าคิดเห็นผิดประหลาดใจ | ไฉนมาเป็นดั่งนี้ ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระตรีภูวนาถเรืองศรี |
ได้ฟังตะลึงทั้งอินทรีย์ | ภูมีฉงนสนเท่ห์นัก |
จึ่งถามโหราคนขยัน | อันพญากุมภกรรณสิทธิศักดิ์ |
วานนี้มีชัยแก่พระลักษมณ์ | เหตุใดขุนยักษ์ไม่ยกมา |
นํ้าในคงคาก็เหือดแห้ง | เราคิดแคลงสงสัยหนักหนา |
เหตุผลกลศึกอสุรา | มันทำมารยาประการใด ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | พิเภกผู้มีอัชฌาสัย |
ได้ฟังพระองค์ทรงภพไตร | บังคมไหว้สนองพจมาน |
อันซึ่งพญากุมภกรรณ | ไม่ยกพลขันธ์มาหักหาญ |
ด้วยเพื่อนไปตั้งพิธีการ | อ่านเวททดนํ้าในนที |
หวังจะตัดต้นกลศึก | ด้วยอุบายลํ้าลึกของยักษี |
คงคาแห้งเหือดไปทั้งนี้ | จะมิให้กระบี่อาบกิน |
แม้นครบกำหนดเจ็ดวัน | พวกพลเรานั้นจะตายสิ้น |
พิธีเลิศลบฟ้าดิน | อสุรินทร์เรียนต่อพรหมา ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระสุริย์วงศ์องค์นารายณ์นาถา |
ได้ฟังพิเภกโหรา | ผ่านฟ้าจึ่งตรัสถามไป |
อันกุมภกรรณยักษี | ไปทำพิธีอยู่ที่ไหน |
เราจะคิดอ่านประการใด | จึ่งจะได้ล้างพิธีมัน ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | พิเภกสุริย์วงศ์รังสรรค์ |
ฟังราชบัญชาพระทรงธรรม์ | บังคมคัลแล้วทูลสนองไป |
อันที่ซึ่งตั้งพิธีการ | ตัวข้าบทมาลย์หารู้ไม่ |
เว้นไว้แต่นางกำนัลใน | ซึ่งร่วมจิตชิดใช้อสุรี |
ขอให้หนุมานฤทธิรณ | ไปซ้อนกลกุมภกรรณยักษี |
แปลงกายให้เป็นสตรี | เข้าปลอมพาทีด้วยกำนัล |
ก็จะรู้ที่อยู่ขุนมาร | ซึ่งไปอ่านพระเวทรังสรรค์ |
เร่งตามไปล้างพิธีมัน | น้ำนั้นก็จะไหลลงมา ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระจักรรัตน์แก้วนาถา |
ได้ฟังพิเภกโหรา | ผ่านฟ้ามีราชโองการ |
ดูก่อนคำแหงวายุบุตร | ท่านผู้ฤทธิรุทรกล้าหาญ |
จงไปล้างพิธีขุนมาร | ด้วยปรีชาชาญของวานร ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | จึ่งศรีหนุมานชาญสมร |
รับสั่งพระนารายณ์ฤทธิรอน | ชุลีกรแล้วคลานออกมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ จึ่งนบนิ้วขึ้นถวายบังคม | พระสยมภูวนาถนาถา |
โอมอ่านพระเวทวิทยา | วานรนิมิตอินทรีย์ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ
๏ กายนั้นก็กลับเป็นเหยี่ยว | เรี่ยวแรงดั่งราชปักษี |
ถาบถาราร่อนด้วยฤทธี | ไปวังอสุรีกุมภกรรณ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ แผละ
๏ เลื่อนลอยอยู่บนอากาศ | ตรงปราสาทแก้วฉายฉัน |
แลเห็นฝูงนางกำนัล | สรวลสันต์เล่นอยู่ที่ชาลา |
มีความชื่นชมด้วยสมคิด | ในจิตแสนโสมนัสสา |
จึ่งร่อนเวียนวงลงมา | ริมมหาปราสาทรูจี ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ คุกพาทย์
๏ แอบอยู่บังบานทวาเรศ | ให้ลับเนตรกำนัลสาวศรี |
จึ่งอ่านพระเวทด้วยฤทธี | นิมิตอินทรีย์วานร ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ
๏ กลับกลายเป็นนางกำนัล | ผิวพรรณเป็นที่สโมสร |
อ้อนแอ้นแน่งน้อยอรชร | กรายกรดำเนินออกมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง
๏ นั่งลงกลางฝูงนางทั้งหลาย | ทำสรวลสันต์ทักทายถ้วนหน้า |
แล้วเสแสร้งแกล้งถามด้วยมารยา | ตัวข้านี้คิดหลากใจ |
อันองค์พญากุมภกรรณ | จะออกไปโรมรันก็หาไม่ |
วันนี้เสด็จไปแห่งใด | หรืออยู่ในปราสาทรูจี ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | นวลนางกำนัลสาวศรี |
ได้ฟังจึ่งตอบวาที | เจ้านี้ใช่การอย่าเจรจา |
อันองค์มหาอุปราช | ทรงธรรม์ธิราชนาถา |
ไปตั้งพิธีกิจวิทยา | ที่ในมหาคงคาลัย |
นอนขวางอยู่กลางกระแสชล | อ่านมนต์ทดน้ำมิให้ไหล |
อันมนุษย์กับวานรไพร | จะม้วยบรรลัยด้วยฤทธี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | หนุมานซึ่งเป็นสาวศรี |
ได้ฟังคำนางอสุรี | ทำเป็นยินดีแล้วตอบไป |
ตัวข้าป่วยอยู่หลายวัน | อนิจจาหาทันรู้ไม่ |
ทีนี้ไพรีจะบรรลัย | เราจะได้เป็นสุขทุกเวลา |
กลัวแต่พิเภกศัตรู | จะล่วงรู้ในกลยักษา |
บอกแก่พระลักษมณ์พระรามา | ให้ล้างวิทยาพิธีกรรม์ ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | นวลนางอสุรีสาวสรรค์ |
คิดว่าเป็นเพื่อนกำนัล | ไม่สำคัญว่าพวกไพริน |
ยิ้มแล้วก็กล่าววาจา | อันคำเจ้าว่านี้ควรสิ้น |
ถึงใครใครทั้งในแผ่นดิน | จะล่วงได้ยินเราพาที |
มาตรจะเที่ยวหาพญายักษ์ | ไหนจักรู้แห่งตำแหน่งที่ |
เว้นแต่นางคันธมาลี | กับสี่นางซึ่งเก็บดอกไม้ไป |
ส่งพญาอสุรีทุกเวลา | นอกนั้นใครหารู้ไม่ |
ถึงพิเภกผู้ปรีชาไว | จะบอกไพรีได้อย่าสำคัญ ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา
๏ บัดนั้น | หนุมานซึ่งเป็นสาวสรรค์ |
ครั้นแจ้งแห่งคำกำนัล | รำพันบอกเล่าก็ปรีดา |
จึ่งกล่าวอุบายเลี้ยวลวง | ข้านี้ลืมพวงบุปผา |
ว่าแล้วก็เดินออกมา | จากฝูงอสุราอนงค์ใน ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ ชุบ
๏ ครั้นไกลพระราชนิเวศน์ | ลับเนตรหามีใครเห็นไม่ |
ขุนกระบี่ผู้ปรีชาไว | สำรวมใจนิมิตอินทรีย์ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ
๏ กลับกลายเป็นเหยี่ยวเรี่ยวแรง | สองตาดั่งแสงมณีศรี |
บินถาราร่อนด้วยฤทธี | ตรงไปที่สวนมาลา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ แผละ
๏ ราปีกหันเหียนเวียนวง | โผลงจับกิ่งพฤกษา |
คอยดูห้านางกัลยา | จะออกมาเก็บดอกบุษบัน ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | ฝ่ายคันธมาลีสาวสรรค์ |
กับสี่กัลยาวิลาวัณย์ | ครั้นใกล้สายัณห์เวลา |
ก็อาบน้ำทาแป้งแต่งตัว | ใส่น้ำมันหวีหัวผัดหน้า |
นวลละอองผ่องแผ้วจำเริญตา | นุ่งห่มโอ่อ่าอรชร |
จิ้มลิ้มพริ้มพร้อมทุกนางใน | ใครเห็นเป็นที่สโมสร |
แน่งน้อยดั่งเทพกินนร | กรายกรไปสวนมาลี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ เพลง
พระทอง
๏ ครั้นมาถึงที่อุทยาน | เกษมศานต์ทั้งห้ามารศรี |
สรวลระริกซิกแซ่ทุกนารี | พาทีสัพยอกหยอกกัน |
เที่ยวเก็บบุปผามาลาศ | พุทธชาดสุกรมนมสวรรค์ |
ซ่อนกลิ่นพิกุลมะลิวัลย์ | กรรณิการ์การะเกดประยงค์ |
กุหลาบคัดเค้าสาวหยุด | ชาตบุษย์จำปามหาหงส์ |
ยี่สุ่นบุนนาคลินจง | กาหลงลำดวนสารภี |
เก็บพลางทางขับโอดครวญ | โหยหวนฉ่ำเฉื่อยเรื่อยรี่ |
ชิงกันเด็ดดวงมาลี | สาวศรีลดเลี้ยวเที่ยวไป ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เพลง
๏ บัดนั้น | หนุมานซึ่งเป็นเหยี่ยวใหญ่ |
จับแอบอยู่กับกิ่งไทร | แลไปเห็นนางกำนัล |
รูปทรงส่งศรีวิไลลักษณ์ | ผิวพักตร์เพียงอัปสรสวรรค์ |
ทั้งห้ากัลยาวิลาวัณย์ | พากันเที่ยวเก็บมาลี |
นางหนึ่งหยุดเลือกบุษบง | ไกลฝูงอนงค์ทั้งสี่ |
พิศเพ่งเล็งทั่วทั้งอินทรีย์ | ขุนกระบี่จำได้ทุกสิ่งอัน |
มีความชื่นชมด้วยสมคิด | หมายล้างชีวิตให้อาสัญ |
ก็โผตรงลงจับนางกำนัล | ด้วยกรงเล็บคีบคั้นพาไป ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด
๏ รวดเร็วดั่งลมเพชรหึง | จะรู้ถึงสี่นางก็หาไม่ |
ขยี้เสียให้ม้วยบรรลัย | ที่ในพ่างพื้นเมฆา |
ครั้นเสร็จสำเร็จฆ่านาง | กางปีกราร่อนบนเวหา |
บินวงลงพื้นพสุธา | ยังสวนมาลาอสุรี ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ คุกพาทย์
๏ ลัดแลงเข้าแฝงพุ่มไม้ | ให้ลับตานางในทั้งสี่ |
กลับกลายจากเพศสกุณี | ขุนกระบี่อ่านเวทนิมิตกาย ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ ตระ
๏ เป็นรูปอนงค์แน่งน้อย | แช่มช้อยอรชรเฉิดฉาย |
เหมือนนางที่พาไปฆ่าตาย | เดินกรายเก็บดอกไม้ไป ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง
๏ บัดนั้น | สี่นางผู้มีอัชฌาสัย |
สำคัญว่าเพื่อนร่วมใจ | มิได้รู้กลวานร |
นั่งลงลำดับมาลี | ใส่พานมณีประภัสสร |
พอชายบ่ายแสงทินกร | ก็รีบจรไปตามมรคา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เพลง
๏ ครั้นถึงริมฝั่งชลาลัย | ที่ต้นตร่างใหญ่ใบหนา |
นั่งลงริมแท่นศิลา | วางพานบุปผามาลี |
นบนิ้วประนมเหนือเกศ | บูชาพระเวทยักษี |
แสนโสมนัสสาทุกนารี | ด้วยใจภักดีพญามาร ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา
๏ บัดนั้น | วายุบุตรวุฒิไกรใจหาญ |
ปลอมมากับนางพนักงาน | ทำเป็นวางพานจะบูชา |
แลเห็นนํ้าท้นวนอยู่ | ไม่ไหลไปบูรพทิศา |
จึ่งพินิจพิศดูด้วยปรีชา | ก็รู้ว่าพญากุมภกรรณ |
ลงอยู่ในท้องสาคร | วานรมีใจเกษมสันต์ |
ไหว้คุณพระอิศวรทรงธรรม์ | ก็ร่ายพระเวทอันฤทธี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ ตระ
๏ บัดเดี๋ยวกายนั้นก็กลับกลาย | เป็นลูกพระพายเรืองศรี |
กุณฑลขนเพชรรูจี | เขี้ยวแก้วมณีอลงกรณ์ |
ใหญ่เท่าบรมพรหมาน | สูงตระหง่านดั่งพระเมรุสิงขร |
ผาดแผลงสำแดงฤทธิรอน | วานรกระทืบบาทา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ บัดนั้น | สี่นางกำนัลยักษา |
แลเห็นกระบี่ผู้ศักดา | ทำอานุภาพเกรียงไกร |
ตกประหม่าหน้าซีดไม่มีขวัญ | ตัวสั่นมิอาจจะดูได้ |
ร้องตรีดหวีดหวาดวิ่งไป | ล้มลุกไม่เป็นสมประดี ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ บัดนั้น | หนุมานผู้ชาญชัยศรี |
ผาดแผลงสำแดงฤทธี | ขุนกระบี่แหวกนํ้าลงไป ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ จึ่งเห็นพญากุมภกรรณ | นิมิตกายนั้นโตใหญ่ |
นอนขวางอยู่กลางชลาลัย | ปิดวารีไว้ด้วยฤทธา |
ฉวยชักตรีเพชรออกจากกาย | ลูกพระพายกวัดแกว่งเงื้อง่า |
โลดโผนโจนถีบอสุรา | ด้วยกำลังกายาวานร ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | พญากุมภกรรณชาญสมร |
เห็นกระบี่ผู้มีฤทธิรอน | แหวกสาครตามมาราวี |
กริ้วโกรธพิโรธดั่งเพลิงจุด | ฉวยชักคทาวุธยักษี |
ผุดลุกขึ้นจากนที | เข้าไล่ต่อตีหนุมาน ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ ต่างแทงต่างรับกันสับสน | สายชลเป็นระลอกกระฉอกฉาน |
เสียงสนั่นครั่นครื้นถึงบาดาล | ชลธารก็ไหลลงไป ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ บัดนั้น | คำแหงหนุมานทหารใหญ่ |
หลบหลีกรับรองว่องไว | เลี้ยวไล่โจมจับกุมภัณฑ์ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เหยียบเข่าน้าวเศียรเงื้อตรี | ท่วงทีรวดเร็วดั่งจักรผัน |
ต่างตีต่างแทงต่างฟัน | พัลวันกลอกกลับไปมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | กุมภกรรณสิทธิศักดิ์ยักษา |
กระทืบบาทผาดโผนโจนมา | เข้าไล่เข่นฆ่าราวี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เผ่นขึ้นเหยียบบ่าวานร | กรชิงตรีเพชรกระบี่ศรี |
กลอกกลับจับกันเป็นที | อสุรีตีต้องหนุมาน ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ บัดนั้น | วายุบุตรวุฒิไกรใจหาญ |
กริ้วโกรธพิโรธดั่งเพลิงกาล | โถมทะยานเข้าจับอสุรา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ โจนขึ้นเหยียบบ่ายืนหยัด | ป้องปัดตระบองยักษา |
แทงด้วยตรีเพชรอันศักดา | ต้องกายพญากุมภัณฑ์ ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
๏ เมื่อนั้น | น้องท้าวทศเศียรรังสรรค์ |
สุดฤทธิ์สุดคิดจะโรมรัน | สุดที่จะประจัญด้วยวานร |
นิ่งนึกถวิลจินดา | ลิงนี้แกล้วกล้าชาญสมร |
แม้นกูจะอยู่ต่อกร | ถ้าแพ้ฤทธิรอนไอ้ทรลักษณ์ |
จะอายแก่เทวาในโสฬส | อัปยศทั่วไปทั้งไตรจักร |
เสียแรงเป็นวงศ์จตุรพักตร์ | ทรงศักดาเดชมหึมา |
คิดแล้วจึ่งองค์พญามาร | มิได้รอนราญเข่นฆ่า |
ก็เหาะขึ้นยังกลีบเมฆา | หนีเข้าลงกาธานี ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด
๏ บัดนั้น | หนุมานผู้ชาญชัยศรี |
ครั้นเสร็จซึ่งล้างพิธี | กุมภกรรณนั้นหนีกลับไป |
จึ่งขึ้นจากฝั่งสาคร | สำแดงฤทธิรอนแผ่นดินไหว |
ถีบทะยานผ่านฟ้าด้วยว่องไว | ตรงไปสุวรรณพลับพลา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด
๏ ครั้นถึงน้อมเศียรอภิวาทน์ | ทูลพระภูวนาถนาถา |
ตามซึ่งรณรงค์อสุรา | จนยักษาหนีเข้าธานี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เจรจา
๏ เมื่อนั้น | พระกฤษณุรักษ์เรืองศรี |
ฟังหลานพญาพาลี | ยินดีดั่งได้โสฬส |
จึ่งตรัสสรรเสริญศักดา | ท่านผู้เรืองฤทธาดั่งเพลิงกรด |
ควรที่เป็นวายุโอรส | ใช้ไหนได้หมดเหมือนใจ |
อันศัตรูหมู่พวกปัจจามิตร | ทั่วทั้งทศทิศอย่าต่อได้ |
ตรัสแล้วย่างเยื้องคลาไคล | เข้าในสุวรรณพลับพลา ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ เสมอ
๏ เมื่อนั้น | ฝ่ายกุมภกรรณยักษา |
ครั้นถึงพิชัยลงกา | ก็ขึ้นมายังท้องพระโรงคัล ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ จึ่งน้อมเศียรถวายอภิวาทน์ | พระเชษฐาธิราชรังสรรค์ |
สะท้อนถอนใจจาบัลย์ | กุมภัณฑ์ก้มพักตร์ไม่พาที ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | ท้าวราพณาสูรยักษี |
เห็นน้องท้าวผู้ร่วมชีวี | ทำทีกิริยาประหลาดใจ |
จึ่งมีบัญชาประกาศิต | ดวงชีวิตของพี่เป็นไฉน |
ตัวเจ้าสิลอบออกไป | ตั้งพิธีในคงคา |
ไม่ทันถึงเจ็ดทิวาวาร | เกิดการสิ่งใดกนิษฐา |
จึ่งรีบกลับคืนเข้ามา | พักตราไม่เป็นสมประดี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระยากุมภกรรณยักษี |
ได้ฟังพระราชวาที | อสุรีอัดอั้นตันใจ |
มิใคร่จะออกวาจา | สนองพระบัญชาไปได้ |
จึ่งทูลว่าตัวข้านี้ลอบไป | ตั้งพิธีในวาริน |
เดชะด้วยวิทยามนต์ | กระแสชลนั้นแห้งตลอดสิ้น |
จนถึงภาคพื้นแผ่นดิน | แต่จะชัดช้อนกินก็ไม่มี |
หนุมานมันตามลงไป | ชิงชัยถึงท้องวารีศรี |
ทำลายให้เสียพิธี | น้องนี้จึ่งกลับเข้ามา |
ความอายความแค้นเป็นสุดคิด | ดั่งชีวิตจะม้วยสังขาร์ |
พรุ่งนี้จะถวายบังคมลา | ไปเข่นฆ่าแก้แค้นแทนมัน ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา
๏ เมื่อนั้น | ทศพักตร์สุริย์วงศ์รังสรรค์ |
แจ้งว่าเสียกิจพิธีกรรม์ | กุมภัณฑ์สลดระทดใจ |
นิ่งขึงตะลึงรำพึงคิด | ร้อนจิตเพียงพิษเพลิงไหม้ |
จึ่งมีบัญชาตรัสไป | ซึ่งข้าศึกทำได้ดั่งนี้ |
ด้วยไอ้พิเภกทรชน | บอกกลมนุษย์กระบี่ศรี |
หาไม่ที่ไหนไพรี | จะล่วงรู้ในพิธีการ |
เสียแรงที่เกิดร่วมครรภ์ | เลี้ยงมันดั่งเลี้ยงเดียรัจฉาน |
ซึ่งเจ้าจะยกไปรอนราญ | จงผลาญให้ม้วยมรณา |
จึ่งจะไม่ได้เป็นไส้ศึก | บอกการตื้นลึกไปภายหน้า |
อันมนุษย์วานรที่ยกมา | เห็นว่าจะม้วยชีวี ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พญากุมภกรรณยักษี |
ฟังพระเชษฐาพาที | ดั่งวารีทิพย์มาเจือใจ |
มีความอิ่มเอิบกำเริบฤทธิ์ | คืนคิดมานะขึ้นมาได้ |
บังคมลาออกจากพระโรงชัย | ตรงไปปราสาทรัตนา ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ เสมอ
๏ ครั้นถึงจึ่งมีบรรหาร | สั่งเสนามารยักษา |
เร่งเตรียมจัตุรงค์โยธา | ซึ่งแกล้วกล้าณรงค์ราวี |
อีกทั้งรถทรงสำหรับศึก | อันพันลึกเทียมด้วยราชสีห์ |
พรุ่งนี้จะยกโยธี | ไปต่อตีมนุษย์วานร ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | จึ่งเสนามารชาญสมร |
รับสั่งแล้วถวายชุลีกร | ก็รีบบทจรออกมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
ยานี
๏ จัดหมู่จัตุรงค์องอาจ | เลือกล้วนสามารถแกล้วกล้า |
ขุนช้างขี่ช้างชนะงา | กุมของ้าวง่ากรีดกราย |
ขุนม้าถือหอกกลอกกลับ | ขี่ขับรวดเร็วเฉิดฉาย |
ขุนรถขี่รถเรียงราย | ล้วนถือทองปรายหยัดยัน |
พลเท้าล้วนเหล่าคำแหง | โตดำลํ่าแรงแข็งขัน |
ถือคาบศิลารำพัน | บ้างกุมเกาทัณฑ์ลูกยา |
ต่างตนต่างอวดฤทธิรุทร | กวัดแกว่งอาวุธเงื้อง่า |
เตรียมทั้งรถทรงอลงการ์ | คอยเสด็จพญาอสุรี ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เจรจา
๏ เมื่อนั้น | กุมภกรรณสิทธิศักดิ์ยักษี |
ครั้นแสงจันทร์ส่องฟ้าธาตรี | เสด็จเข้าสู่ที่ไสยา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
ช้า
๏ เอนองค์ลงเหนือบรรจถรณ์ | ยอกรก่ายพักตร์ยักษา |
นิ่งนึกถวิลจินดา | ที่จะยกโยธาไปชิงชัย |
แก้แค้นแทนหมู่ปัจจามิตร | แล้วคิดทอดถอนใจใหญ่ |
ครั้งนี้มนุษย์กับลิงไพร | ฤทธิไกรสามารถอาจนัก |
ทั้งกำลังกายก็สามารถ | ปรีชาฉลาดแหลมหลัก |
แล้วได้พิเภกขุนยักษ์ | ไปเป็นจักษุบอกการ |
กูจึ่งเสียทีปัจจามิตร | เสียคิดแก่ไอ้เดียรัจฉาน |
หาไม่พระลักษมณ์จะวายปราณ | ด้วยหอกสุรกานต์กูพุ่งไป |
ให้คลุ้มคลั่งคั่งแค้นอารมณ์ | จะบรรทมหลับก็หาไม่ |
จนรุ่งรางสร่างแสงอโณทัย | เสด็จไปที่สรงคงคา ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ เสมอ
โทน
๏ สุหร่ายแก้วโปรยปรายเป็นสายฝน | ทรงสุคนธ์เฟื่องฟุ้งด้วยบุปผา |
สอดใส่สนับเพลาอลงการ์ | ภูษารูปกินรีรำ |
ฉลององค์ทรงประพาสพระกรน้อย | เกราะพลอยมรกตเขียวขำ |
รัดอกรายบุษราคัม | ประจำยามตาบทิศสังวาลวัลย์ |
เฟื่องห้อยพลอยแก้วมุกดาหาร | ทับทรวงดวงประพาฬทับทิมคั่น |
พาหุรัดทองกรมังกรพัน | ธำมรงค์เรือนสุบรรณกางกร |
ทรงกุณฑลเกล็ดเพชรรัตน์ | กรรเจียกแก้วจำรัสประภัสสร |
จับมหาธนูฤทธิรอน | บทจรขึ้นรถสุรกานต์ ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ เสมอ
๏ จึ่งสั่งสารถีให้โบกธง | เลิกหมู่จัตุรงค์ทวยหาญ |
โดยกระบวนพยุหขุนมาร | ออกจากพระทวารเวียงชัย ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ กราว
๏ ครั้นมานอกราชนิเวศน์ | ให้เกิดเหตุวิปริตลางใหญ่ |
ช้างม้าตื่นเต้นวุ่นไป | บันดาลให้เห็นอัศจรรย์ |
ทั้งรถที่พญามารทรง | กำกงไม่สะเทือนเลื่อนลั่น |
ราชสีห์ซึ่งเทียมมาทั้งพัน | หน้านั้นก็กลับเป็นหน้าลา |
ผีภูตทั้งสี่สำแดงกาย | เดินกรายผ่านทางขวางหน้า |
กาแร้งบินว่อนร่อนมา | ถาบถาโฉบลงที่ธงชัย |
พิณพาทย์เภรีไม่มีเสียง | สำเนียงพลโห่ดั่งร้องไห้ |
ธงทิวก็ไม่ปลิวสะบัดใบ | โขมดไพรกู่ร้องเยือกเย็น |
พญามารหวาดหวั่นพรั่นจิต | ด้วยนิมิตประหลาดไม่เคยเห็น |
สารพัดอุบัติมิได้เว้น | จำเป็นรีบรถบทจร ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ เชิด
๏ ครั้นถึงให้หยุดจัตุรงค์ | ประทับลงแทบเนินสิงขร |
คอยทัพมนุษย์ฤทธิรอน | จะยกพลนิกรออกมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระจักรรัตน์แก้วนาถา |
ไสยาสน์เหนืออาสน์อลงการ์ | ผ่านฟ้ารำพึงคะนึงคิด |
ในการรณรงค์ชิงชัย | มิได้นิทราหลับสนิท |
จนจันทรอ่อนแสงชวลิต | พระอาทิตย์อุทัยเรืองรอง |
ดุเหว่าแว่วเพรียกเพราะเสนาะเสียง | สำเนียงสกุณาขันก้อง |
หมู่แมลงภู่วะวู่ร้อง | เชยชาบละอองสุมาลี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
ร่าย
๏ จึ่งชำระพระองค์ทรงเครื่อง | อร่ามเรืองดั่งองค์โกสีย์ |
จับศรพรหมาสตร์ฤทธี | ภูมีออกหน้าพลับพลา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
๏ พร้อมท้าวพญาพานร | ชุลีกรเกลื่อนกลาดซ้ายขวา |
พอได้ยินสำเนียงโกลา | ผ่านฟ้าตรัสถามพิเภกไป |
อันทัพซึ่งยกมาโรมรัน | อสุรีกุมภกรรณหรือไฉน |
หรือว่าอสูรตนใด | ออกมาชิงชัยราวี ฯ |
ฯ ๔ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | พญาพิเภกยักษี |
ได้ฟังพระราชวาที | ชุลีกรสนองพระบัญชา |
อันทัพที่ยกออกมานั้น | คือพญากุมภกรรณยักษา |
วันนี้จะสิ้นชีวา | ด้วยชะตาถึงฆาตลัคน์จันทร์ |
ขอเชิญเสด็จพระสี่กร | ยกพวกพานรพลขันธ์ |
ออกไปสังหารกุมภัณฑ์ | ให้มันสิ้นชีพชีวี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ เมื่อนั้น | พระสุริย์วงศ์องค์นารายณ์เรืองศรี |
ได้ฟังพิเภกอสุรี | ภูมีชื่นชมด้วยสมคิด |
พักตร์ผ่องดั่งดวงจันทรา | จึ่งมีบัญชาประกาศิต |
ตรัสสั่งแก่ลูกพระอาทิตย์ | ท่านผู้มีฤทธิ์ปรีชาญ |
จงเร่งเกณฑ์แสนยากร | พวกพลวานรทวยหาญ |
เตรียมทั้งรถแก้วสุรกานต์ | เราจะไปรอนราญอสูรี ฯ |
ฯ ๖ คำ ฯ
๏ บัดนั้น | พญาสุครีพกระบี่ศรี |
รับสั่งสมเด็จพระจักรี | ถวายอัญชุลีแล้วออกมา ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
ยานี
๏ จัดเป็นอินทรีพยุหบาตร | นิลราชเป็นเศียรปักษา |
นิลเอกนิลขันเป็นสองตา | ปากนั้นปิงคลาวานร |
คอคือกระบี่ชมพูพาน | คำแหงหนุมานเป็นหงอน |
ปีกขวาองคตฤทธิรอน | ปีกซ้ายเกสรทมาลา |
เท้าซ้ายจัดนิลปาสัน | ฝ่ายนิลปานันเป็นเท้าขวา |
กายนั้นคือจอมโยธา | หางคือพญานิลนนท์ |
จังเกียงเป็นเล็บสกุณี | โยธีทั้งหลายเป็นลายขน |
ล้วนถืออาวุธทุกตน | ร่านรนลำพองคะนองฮึก |
นายไพรล้วนมีศักดา | แกล้วกล้าเหี้ยมหาญทะยานศึก |
ฤทธิแรงแข็งขันพันลึก | คึกคึกคอยเสด็จพระสี่กร ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ เจรจา
๏ เมื่อนั้น | พระพงศ์จักรพรรดิทรงศร |
จึ่งชวนพระลักษมณ์ฤทธิรอน | บทจรไปสรงวาริน ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
โทน
๏ สองกษัตริย์ชำระสระสนาน | สุคนธารเกสรขจรกลิ่น |
สนับเพลารายพลอยโกมิน | เชิงช่อนาคินทร์สังเวียนวง |
ภูษาโกไสยต่างสี | ยกเครือเจ็ดคลีกระหนกหงส์ |
ชายไหวชายแครงฉลององค์ | ต่างทรงทับทรวงสังวาลวัลย์ |
ตาบทิศเฟื่องห้อยมณีช่วง | พาหุรัดเพชรร่วงดวงกุดั่น |
ทองกรฉลุแก้วมังกรพัน | ธำมรงค์เรือนสุบรรณกางกร |
ต่างทรงมงกุฎดอกไม้ทัด | ขัดพระขรรค์เพชรรัตน์แล้วจับศร |
งามดั่งสุริยันกับจันทร | บทจรไปขึ้นรถทรง ฯ |
ฯ ๘ คำ ฯ บาทสกุณี
โทน
๏ รถเอยราชรถทิพย์ | แอกงอนอ่อนลิบงามระหง |
กำแก้วประกับประกอบกง | ดุมวงแสงวามอร่ามพลอย |
ภาพล้อมบัลลังก์กระจังลวด | พนักอิงบังอวดกระหนกห้อย |
จตุรมุขงามแม้นพิมานลอย | บันช้อยห้อยฉัตรอรชร |
เทียมด้วยสินธพเทพบุตร | เริงร้อนฤทธิรุทรดั่งไกรสร |
พระลักษมณ์นั่งหน้าประนมกร | เครื่องสูงสลอนสลับกัน |
มาตุลีสารถีเทวา | ขับอาชาเผ่นดั่งจักรผัน |
ผงคลีมืดคลุ้มชอุ่มควัน | ปี่กลองสนั่นครั่นครึก |
เสียงรถเสียงม้ากุลาหล | เสียงพลโห่ร้องก้องกึก |
ล้วนเหล่าลำพองคะนองฮึก | ขับกันคึกคึกรีบจร ฯ |
ฯ ๑๐ คำ ฯ กราวนอก
๏ ครั้นมาถึงที่สนามรบ | พระตรีภพสุริย์วงศ์ทรงศร |
ให้หยุดโยธาพลากร | ดูกำลังฤทธิรอนอสุรี ฯ |
ฯ ๒ คำ ฯ