ลักษณะอนุสาวรีย์พระเจ้ากรุงธนบุรี ผูกขึ้นตามความคิด ๗ อย่าง

แบบที่ ๑ ทำเป็น

เสาสี่เหลี่ยมรี

โคนมีกระดานหนีบข้างละสามแผ่น

ปลายตั้งรูปพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงม้า

สองข้างกระดานหนีบตั้งรูปทหาร

มีฐานสองชั้น

ชั้นบนไม่มีพนัก

ชั้นล่างมีพนักสามด้าน ด้านหน้าเป็นกะได

ได้คะแนน ๓,๙๓๒ นับเป็นที่ ๑

แบบที่ ๒ ทำเป็น

ลับแล

มีกระดานหนีบข้างละสามแผ่น สูงพ้นขึ้นไปดุจเสาคู่

หน้าลับแลตั้งรูปพระเจ้ากรุงธนบุรียืน

มีฐานเป็นกะไดเกย

หน้าเกยมีหม้อละอ่วยใบหนึ่ง

ได้คะแนน ๒๐๖ นับเป็นที่ ๕

แบบที่ ๓ ทำเป็น

เสาสี่เหลี่ยม ปลายจักเป็นที่คฤห์จตุรมุข

ยอดเป็นฉัตร

ฐานทำเป็นกระดานหกแผ่นซ้อนกัน

ตั้งรูปทหารหน้าฐาน (เห็นจะตั้งใจว่าเป็นรูปพระเจ้ากรุงธน)

ได้คะแนน ๒,๔๓๒ นับเป็นที่ ๒

แบบที่ ๔ ทำเป็น

เสาสี่เหลี่ยม

โคนมีกระดานหกแผ่นหนีบสองข้าง

ปลายมีหม้อไฟ

ตั้งพระรูปยืนหน้าเสา

ตั้งรูปทหารหมู่สองข้างกระดานหนีบ

มีฐานรอง

ได้คะแนน ๑๔๑ นับเป็นที่ ๗

แบบที่ ๕ ทำเป็น

เสาหกเหลี่ยม

ปลายเป็นคฤห์จตุรมุขยอดฉัตร

ตั้งพระรูปทรงม้าหน้าเสา

หลังเสาเป็นตึกแถวครึ่งวงเดือน

ตั้งรูปหมู่ทหารที่หัวตึกสองข้าง

มีฐานรอง

มีกะไดลงข้างหน้า

ได้คะแนน ๙๖๘ นับเป็นที่ ๓

แบบที่ ๖ ทำเป็น

เสาหกกลีบ

ปลายเสาตั้งพระรูปยืน

โคนเสามีอะไรรอง ลักษณะดุจกะบะเครื่องบูชากลม

ตัวรูปนางในเชิญเครื่องล้อมปากกะบะ

ลายกะบะฉลักดุนเป็นรูปชนช้าง

มีตอหม้อค้ำกะบะหกตัว

มีฐานรอง

มีกะไดลงข้างหน้า

ได้คะแนน ๔๗๙ นับเป็นที่ ๔

แบบที่ ๗ ทำเป็น

เสาสี่เหลี่ยม

ตอนปลายฉลักลายดุนเป็นหม้อไฟ

ตอนใต้ลงมาฉลักลายดุนเป็นเครือไม้

ตั้งพระรูปทรงช้างพระคชาธารที่หน้าเสา

ตั้งถาดลูกไม้สองข้าง

ได้คะแนน ๑๙๖ นับเป็นที่ ๖

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ