- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
Cinnamon Hall,
206 Kelawei Road, Penang. S.S.
วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๘
ทูล สมเด็จกรมพระนริศรฯ
หม่อมฉันกลับมาถึงปีนังเมื่อเช้าวันที่ ๑๖ นี้โดยเรียบร้อย หญิงพูนก็ไม่เมาคลื่นเปนครั้งแรก เพราะทะเลเรียบเหมือนแม่น้ำตลอดมา หม่อมฉันมีของมาสำหรับจะถวายฝากกับทั้งจะให้คุณโตและหลานๆ แต่เห็นจะต้องรอจนมีใครเข้าไปกรุงเทพฯ จึงจะฝากของเหล่านั้นเข้าไปได้
เมื่อหม่อมฉันกลับจากเที่ยวทางพะม่าเหนือมาถึงเมืองร่างกุ้ง ได้ส่งจดหมายไปถวายท่านทางไปรษณีย์อากาศอีกฉะบับ ๑ และได้รับลายพระหัตถ์ของท่านที่ประทานมาทางเมล์อากาศด้วยฉะบับ ๑ จดหมายที่หม่อมฉันถวายไปจากเมืองพะม่าทั้ง ๒ ฉะบับนั้น หม่อมฉันเขียนเองในเวลาว่างแล้วพับเข้าซองส่งไป ไม่มีทั้งร่างและสำเนาเหลืออยู่ ถ้าหญิงอามว่างเมื่อใดขอได้โปรดสั่งให้เธอดีดพิมพ์เปนสำเนาส่งมาให้หม่อมฉันด้วยเพราะมีหัวข้อที่จะใช้แต่งรายงานโดยพิสดารอยู่ในนั้น
เรื่องต่างๆ ที่หม่อมฉันทูลไปในจดหมาย ๒ ฉะบับนั้น มาได้ความพิสดารหรือที่ถูกต้องถ่องแท้เมื่อส่งไปแล้ว มีบางเรื่องจะทูลในจดหมายฉะบับนี้เปนอนุสนธิต่อมา
๑. เรื่องรูปสัมฤทธิของโบราณซึ่งอยู่ที่วัดพระมหามัยมุนีนั้น ได้เรื่องราวและศักราชเปนยุติมั่นคงดังนี้ คือ
สมเด็จพระบรมราชาธิราช (สามพระยา) เอามาจากนครธมเมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๖ อยู่ในกรุงศรีอยุธยา ๑๔๖ ปี
พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เอาไปเมืองหงสาวดีเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ ว่า ๓๒ รูปด้วยกัน อยู่ที่เมืองหงสาวดี ๓๐ ปี
เมื่อพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงหนีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปอาศัยอยู่เมืองตองอู เมืองหงสาวดีร้าง เมื่อกองทัพสมเด็จพระนเรศวรฯ กลับแล้วพวกยะไข่พาเอารูปเหล่านั้นไปเมืองยะไข่เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๒ เอาไปถวายไว้ที่วัดพระมหามัยมุนี รูปเหล่านั้นอยู่ที่เมืองยะไข่ ๑๘๐ ปี
ถึง พ.ศ. ๒๓๒๗ พระเจ้าอังวะปะดุงตีได้เมืองยะไข่ เชิญพระมหามัยมุนีมาไว้เมืองอมรบุระ ขนเอารูปเหล่านั้นมาด้วย จึงยังอยู่ที่นั่นมาจนบัดนี้แต่อย่างไรจึงหายไปเสียหมดยังเหลืออยู่แต่ ๖ รูป รูปสิงห์ก็ขาดหัว ข้อนี้สืบไม่ได้ความ
๒. เรื่องไฟไหม้มณฑปเครื่องประดับพระเกศธาตุนั้น ได้ความว่าไหม้หมดแต่ทางด้านตะวันตก ด้านอื่นไหม้แต่บางหลัง เมื่อหม่อมฉันกลับจากข้างเหนือได้ย่องขึ้นไปดูอีกครั้งหนึ่ง ก็ยังคงเห็นว่ามณฑปที่เคยชอบและชมฝีมือมาแต่ก่อน ไฟไหม้เสียหมดแล้วเหลืออยู่แต่ที่ฝีมือทราม แต่ไปพบข้อเสียใจขึ้นใหม่อีกข้อหนึ่งซึ่งจะต้องทูลให้ท่านทรงทราบ เพราะได้ยินตรัสชมพระนอนหินขาวที่พระเกศธาตุมาแต่ก่อน หม่อมฉันก็เคยชมเหมือนกัน ว่าเปนของดีที่มีอยู่ในบริเวณพระเกศธาตุ เมื่อขึ้นไปหนหลังหม่อมฉันไปดูพระนอนองค์นั้นโดยฉะเพาะ เห็นแปลกตาด้วยผิวพระองค์ทาสีขาว และตรงผ้าคลุมพระองค์ก็ปิดทองทึบไม่เปนหินอ่อนขัดเงา เขียนลายทองกับทาสีดำที่พระเกศา พระขนง พระเนตร์ เหมือนแต่ก่อน นึกปลาดใจว่าเหตุใดจึงแต่งให้เสียงามไป จึงเข้าไปพิจารณาดูจนใกล้เห็นรอยหักที่พระกร แล้วมาสืบถามจึงได้ความว่าเมื่อไฟไหม้นั้นไหม้วิหารพระนอนองค์นั้นด้วย พระนอนศิลาถูกไฟไหม้บุบสลายจึงต้องตบแต่งให้คืนดีได้เพียงอย่างที่เปนอยู่ทุกวันนี้
๓. หม่อมฉันไปเมืองพะม่าครั้งนี้ ในของที่ตั้งใจไปดูมีอยู่ ๒ อย่างที่ไม่ได้ดูและได้ดูโดยยากแต่สำเร็จดังปราร์ถนา ดังจะถวายรายงานต่อไปนี้ คือ
ก. อยากดูเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพะม่า นึกว่าอังกฤษได้เมืองเขาคงเก็บของพวกนั้นไว้ ครั้นไปสืบถามได้ความแตกต่างกัน ทางข้างฝรั่งว่าเมื่อวันกองทัพอังกฤษจับพระเจ้าสีป่อไปจากพระนคร ในค่ำวันนั้นเองพวกข้าราชการพะม่าเข้าแย่งของที่คลังในพระราชวัง แก้วแหวนเงินทองของพระเจ้าสีป่อสูญไปหมด ต่อมาสืบก็ไม่ได้ความว่าไปตกอยู่ที่ไหน สงสัยว่าที่เปนของมหัคภัณฑ์จะเอาไปทำลาย เอาแต่เนื้อทองและเพชรพลอยจำหน่ายขายกระจัดกระจายไปหมด เมื่อหม่อมฉันไปพบเจ้านายพะม่าที่เมืองมัณฑเล ลองถามถึงเรื่องเครื่องราชูปโภคของพระเจ้าสีป่อ เธอบอกว่าเมื่อเสียพระนครนั้น พระเจ้าสีป่อได้ฝากของสิ่งเครื่องมหัคภัณฑ์ทั้งปวงแก่นายพันเอกสะเลเดน ซึ่งเคยเปนทูตอังกฤษอยู่ที่เมืองมัณฑเลเมื่อครั้งพระเจ้ามินดง ได้ชอบพอกับพวกราชวงศพะม่ามาก นายพันเอกสะเลเดนเอาราชทรัพย์เหล่านั้นไปทำสูญเสียด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง พระเจ้าสีป่อได้เรียกร้องต่อรัฐบาลอินเดีย ๆ ได้ตั้งข้าหลวงให้ไต่สวน ในเวลาที่กำลังไต่สวนนั้นเผอิญนายพันเอกสะเลเดนตายลง เรื่องก็เลยระงับมาราชทรัพย์ทั้งปวงจึงสูญไป ได้ความแตกต่างกันอย่างนี้ เมื่อหม่อมฉันกลับลงมาถึงเมืองร่างกุ้งได้พบเลขานุการของรัฐบาล (เทียบอย่างเปนเสนาบดีว่าการต่างประเทศ) ซึ่งเปนผู้จัดการรับรองหม่อมฉันจึงคุ้นกันมาแต่แรก หม่อมฉันลองถามถึงเรื่องราชสมบัติของพระเจ้าสีป่อ แกก็บอกตามตรงว่าโจทก์กันเปนสองเสียงอย่างหม่อมฉันได้ยิน แต่กาลมันล่วงเลยมาถึง ๕๐ ปี ตัวแกมารับราชการอยู่เมืองพะม่าได้เพียง ๓๐ ปี ครั้งหนึ่งขึ้นไปเมืองมัณฑเลได้ลองถามพวกผู้ดีที่เปนชาวเมืองคนหนึ่ง ซึ่งอยู่เมืองมัณฑเลในเวลาเมื่ออังกฤษจับพระเจ้าสีป่อไปนั้น คนนั้นบอกแกว่าในคืนวันนั้นพวกผู้มีบันดาศักดิ์พะม่าพากันเข้าทางหลังวัง แย่งเก็บสิ่งของในวังไม่ว่าอะไรต่ออะไร แม้จนพรมเจียมก็เลิกเอาไป เก็บกันใหญ่ตลอดคืน แต่ตามความคิดของตัวเลขานุการของรัฐบาลเองเห็นว่าเมื่อพระเจ้าสีป่อกับมะเหษีถูกจับไป มันคงเอาเครื่องเพ็ชรพลอยของดีมีราคาไปด้วยมิมากก็น้อย ด้วยมีเค้าเงื่อนอยู่เมื่อพระเจ้าสีป่อลงไปถึงเมืองร่างกุ้ง ได้ประทานแหวนทับทิมวง ๑ เปนบำเหน็จแก่นายเรือที่พาไป และของมหัคภัณฑ์ที่ยังตกค้างอยู่ก็คงมีมาก พระเจ้าสีป่อจะได้ฝากนายพันเอกสะเลเดนหรือพวกพะม่าจะปล้นเอาไปรู้ไม่ได้แน่ เพราะพระเจ้าสีป่อนิ่งเสียนานแล้วจึงได้ร้องขึ้นเมื่อไต่สวนยากเสียแล้ว ถ้าเรียกร้องแต่แรกก็คงจะรู้ความจริงว่ากระจัดกระจายหายไปด้วยเหตุใด
ข. หม่อมฉันได้ทูลไปในจดหมายฉะบับก่อนถึงเรื่องที่เที่ยวสืบหาจะดูฟ้อนรำขับร้องอย่างไทย หรือที่พะม่าเรียกว่า “โยเดีย” ซึ่งพะม่าได้แบบไปจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อ ๑๖๐ ปีมาแล้ว และได้ไปเห็นตัวมองโอสินตัวเจ้ากรับพะม่ารำที่เมืองปองเด ครั้นกลับมาถึงร่างกุ้ง หม่อมฉันมาได้โอกาสพบกับพวกขุนนางพะม่าหลายคน มีคนหนึ่งรับอาสาว่าจะหาคนรำดีในกระบวรอย่างโยเดียมารำให้ดู เขานัดให้ไปที่บ้านเขาคืน ๑ แล้วหาผู้หญิงนักรำที่ฝีมือดีมารำให้ดู ๓ คน สองคนเปนแต่รำอย่างพะม่า อีกคนหนึ่งชื่อแม่เยื้อน Ma Nyun อายุราว ๔๐ ปีว่าเลิกหากินในการฟ้อนรำแล้วเปนครูรับหัดคนอื่น และบอกว่าตัวได้เปนศิษย์นางละคอนในคนหนึ่งของพระเจ้ามินดง รำอย่างโยเดียให้ดู ท่าทางยังมีหลักกระบวรรำของไทยมาก ตั้งต้นรำเพลงช้าเรียกว่า Farongya แล้วรำเพลงเร็วเรียกว่า Farongyin ต่อ อยู่ข้างน่าดูมาก ถึงจะเพี้ยนก็รู้ได้ว่ารำอย่างไทย ซึ่งผิดกับกระบวรรำของพะม่ามาก เพลงดนตรีโยเดียก็มีหลายเพลงหญิงเหลือเปนผู้ฟังสอบว่ามีเค้าใกล้อยู่แต่เพลงแขกมอญ เธอได้ขอจดชื่อเพลงตามที่พะม่าเรียก มีดังนี้
Ngungit อ่านว่า งุงิด ย่องหงิด
Mahothi อ่านว่า มโหธี มโหรี
Htanauk อ่านว่า ธะเน้า ตะนาว
Farantin อ่านว่า พรันติน
Khotmun อ่านว่า เคดหมุ่น แขกมอญ
นอกจากได้ดูรำและฟังร้องได้เห็นของปลาดอีกอย่างหนึ่งคือพิณ ๑๓ สาย อย่างโบราณ รูปเหมือนกับที่จำหลักไว้ที่นครวัด ขึ้นสายไม่มีลูกบิดใช้เชือกผูกดีดฟังเสียงเพราะ หม่อมฉันขอถ่ายรูปมา ได้ส่งมาถวายทอดพระเนตร์กับจดหมายฉะบับนี้ด้วย
หม่อมฉันหวังใจว่าพระองค์ท่านกับทั้งสมาชิกตำหนักเชิงเนินจะเปนสุขสบายดีอยู่ และจะได้รับลายพระหัตถ์ตามเคยต่อไป.