- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
บ้านสุคนธหงส์ หาดใหญ่ สงขลา
วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๗๘
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ทราบฝ่าพระบาท
ได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๕ พร้อมทั้งซองบุหรี่ ๒ ใบ ซึ่งโปรดประทานไปโดยทางไปรษณีย์แต่เมื่อวานนี้แล้ว เปนพระเดชพระคุณล้นเกล้า ได้แต่สองใบก็ไม่เปนไร ที่ทูลขอสี่ใบนั้นเตรียมไว้เผื่อทำเสีย ถ้าทำสำเร็จเหมือนคิด ใบแรกจะส่งมาถวายฝ่าพระบาทเปนประเดิม
พระดำริในมูลเหตุเรื่องชื่อเมืองชื่อตำบลนั้น เปนทางที่ถูกต้องแท้แล้ว เมืองในแหลมมลายูนี้ มีชื่อเปนปรากฏเห็นรูปเปนภาษาบาลีสสกฤตอยู่อีกหลายแห่ง เช่น (Kuala) Lumpur รูปเปน รมปุระ Negri Sembilan คำแรกรูปเปน นครี เห็นได้ว่าชาวฮินดูเปนผู้มาจับจองได้ที่เหล่านี้ก่อนคน ส่วนเรื่องภาษาเขมรนั้น พระราชกฤษฎีกาอักษรเขมรภาษาเขมรซึ่งตรัสว่ามีอยู่ในหอพระสมุดนั้น เกล้ากระหม่อมไม่ได้เห็น แต่ได้เห็นฉะบับอื่นมีอยู่มากตามวัดในหัวเมืองปักษ์ใต้ เอาเปนแน่ได้ว่ามีชนชาติเขมรในปกครองอำนาจไทย ได้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในปักษ์ใต้คราวหนึ่ง ได้โปรดทรงกำหนดพระทัยไว้สอบสวนหาหลักฐานต่อไป หอสมุดเวลานี้ถูกนักเลงดีลงหนังสือพิมพ์แหนบเอายับ ด้วยแต่งคำนำหนังสือแจกงานพระศพองค์หญิงขาวออกมา จะว่ากะไรบ้างเกล้ากระหม่อมไม่เห็น เพราะไม่ได้รับสมุดนั้น ลางทีฝ่าพระบาทจะได้ทรงรับ แต่ที่หนังสือพิมพ์ลงติว่าผิดนั้นผิดจริงแน่ เพราะเห็นลงหนังสือพิมพ์บอกแก้คำที่ผิดอยู่ชุลมุน
เรื่องภาษาของชาติที่อยู่ใกล้เคียงกันมีคำเหมือนกัน ตามที่กราบทูลมาก่อนแล้วนั้น ไม่ใช่มีซ้ำกันแต่คำ แม้เรื่องนิทานก็มีซ้ำกันอีกด้วย เช่นเรื่องพระยาแกรกและพระสี่เสาร์เปนต้น เขมรก็มีเหมือนกัน เรื่องลูกกษัตริย์ที่ไปเที่ยวพิพาสป่าพบนางนาค ได้สมจรกับนางนาคเกิดบุตรเปนผู้มีบุญ ซึ่งเรายกให้แก่พระร่วงนั้น เขมรก็มีเหมือนกัน เรียกว่าเรื่องพระโถงนางนาค แต่เปนอยู่เอง ที่ลูกเกิดแต่นางนาคนั้นจะต้องไม่เปนพระร่วง เรื่องนั้นนิยมชมชอบกันจนถึงเอามาให้ชื่อเพลง เราก็รับเพลงนั้นมาเล่นเหมือนกัน เพลงพระโถง เราเรียกเพี้ยนไปว่าพระทอง เพลงนางนาคนั้นคงที่ บันดาเพลงทั้งหลายที่เราเล่นอยู่ ก็มีเพลงของชาติต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงเข้ามาปะปนอยู่มากดุจถ้อยคำเหมือนกัน ตามที่กราบทูลนี้มิใช่หมายถึงเพลงเขมรมอญลาวฝรั่ง ซึ่งพวกปี่พาทย์สมัยใหม่เก็บเอามาทำลูกหมดหรือลิเกกัน อันเรียกว่า “ออกภาษา” นั้นก็หาไม่ กราบทูลหมายถึงเพลงที่เราถือกันว่าเปนเพลงไทยแล้ว ดั่งจะถวายตัวอย่างซึ่งฝ่าพระบาทจะพึงทรงพิจารณาเห็นตามได้ เช่นเพลงพญาเดิรเปนต้น เกล้ากระหม่อมเห็นว่าเปนเพลงจีนทีเดียว สรรพทั้งเนื้อเพลงและไม้กลอง
เกล้ากระหม่อมจะกลับเข้าไปตำหนักหัวยางในสงขลาเย็นวันนี้ จะอยู่ที่นั่นจนวันที่ ๒๓ จึงจะลงเรือไปสุราษฎรธานี
ได้ทราบความแต่หญิงพิลัย ว่าหญิงจงไปรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล มีอาการฟื้นขึ้น และหมอว่าโรคที่เจ็บไม่มากเกินกว่าที่จะพึงรักษาให้หายได้ เปนข่าวดีที่ทำให้เบาใจไปมาก