- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ น
ตำหนักปลายเนีน คลองเตย
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๘
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ทราบฝ่าพระบาท
หนังสือฉะบับนี้ เขียนส่งล่วงหน้ามารับเสด็จกลับแต่เมืองพะม่า โดยหวังให้ทรงสำราญพระหฤทัยที่ได้ทรงรับทันทีเมื่อเสด็จกลับถึง
ข้อแรกขอประทานกราบทูลเรื่องตาเทาก่อน ตามที่ฝ่าพระบาททรงแสดงพระอาลัยไปถึงเกล้ากระหม่อมนั้น จัดว่าถูกที่ทีเดียวแล้ว เพราะเกล้ากระหม่อมออกจะตกเปนเจ้าภาพศพตาเทา ฝ่าพระบาทคงเคยทรงได้ยินชื่อพระภาษาศรีรัตน์ ซึ่งเปนข้าราชการประจำอยู่ในกองบิน คนนั้นแหละคือลูกชายตาเทา เดี๋ยวนี้ไปติดโทษอยู่บางขวาง ที่บ้านมีแต่ลูกสาวอยู่ด้วยคนเดียว แต่ก็เปนหญิงหม้าย ไม่มีกำลังพอที่จะจัดอะไรให้สำเร็จตลอดได้ เกล้ากระหม่อมก็ต้องเข้าช่วย เปนความผิดของเกล้ากระหม่อมที่ไม่ได้กราบทูลข่าวตาย เพราะไม่ทราบเลยว่าได้ทรงรู้จักคุ้นเคยกับตาเทามา เวลานี้การศพก็ยังไม่เสร็จ จะต้องทำที่ฝังศพให้สมควรแก่ฐานะของแกต่อไป เกล้ากระหม่อมได้วานห้างอีสตเอเชียติกเขาช่วยสั่งซื้อเครื่องศิลาสำหรับประดับที่ฝังศพ จากห้างที่สิงคโปร์ส่งเข้ามาให้แต่ยังไม่ได้มาถึง ถ้าหากฝ่าพระบาททรงพระกรุณาแก่ตาเทา จะทรงบำเพญพระกุศลประทาน ก็ยังเปนโอกาสที่จะทรงทำได้ ด้วยทรงอุททิศเงินประทาน เท่ากับราคาผ้าซึ่งหากว่าจะทรงบังสุกุลไปให้ แต่แกเปนโรมันคาโธลิก จะบังสุกุลให้ไม่เข้าทาง เกล้ากระหม่อมจะจ่ายเงินประทานนั้นไปในการทำที่ฝังศพ
ต่อไปนี้ต้องขอประทานทูลซ้อมถึงลายพระหัตถ์ซึ่งเกล้ากระหม่อมได้รับ แต่ยังไม่ได้ทูลตอบด้วยไม่มีโอกาศ เพื่อทรงพิจารณาว่าจะครบถ้วนหรือสูญหายไปบ้าง
ก. ได้รับลายพระหัตถ์ประทานไปแต่ปินัง ๓ ฉะบับ คือ
๑ ฉะบับลงวันที่ ๙ มกราคม ประทานกำหนดระยะทางเสด็จไปพะม่า รูปงานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ และเรื่องเมืองตะกั่วป่าตอนที่ ๖
๒ ฉะบับลงวันที่ ๑๖ มกราคม มีเรื่องเปลี่ยนการเก็บภาษีอากร และเรื่องครัวในลายพระหัตถ์ฉะบับนี้ มีความปรากฏว่าไม่ได้ทรงรับหนังสือเกล้ากระหม่อมคราวเมล์วันที่ ๑๒ มกราคม แต่เกล้ากระหม่อมก็ได้เขียนส่งมาถวายตามเคย คิดว่าคงหาย ตั้งใจว่าจะคัดสำเนาส่งมาถวายเมื่อเสด็จกลับมาปินังแล้ว
๓ ฉะบับลงวันที่ ๑๗ มกราคม มีความปรากฏว่า หนังสือของเกล้ากระหม่อมลงวันที่ ๑๑ มกราคม ซึ่งควรจะมาถึงโดยรถเมล์วันที่ ๑๒ มกราคมนั้นได้ทรงรับแล้วเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม คลาดช้าไปชั่วเมล์หนึ่ง ทำให้เกล้ากระหม่อมเบาใจ ที่คิดจะคัดสำเนาถวายก็ไม่ต้องคัด แต่ปรากฎในลายพระหัตถ์ฉะบับนี้ ว่าได้มีลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒ มกราคม อันมีเรื่องส่งพระอัฏฐิสมเด็จกรมพระสวัสดิประทานไป แต่เกล้ากระหม่อมไม่ได้รับ หายแน่ ขอประทานสำเนาใหม่เพื่อทราบความ และเก็บเรียงเข้าเรื่องไว้ให้เปนระเบียบเรียบร้อย
ข. ได้รับลายพระหัตถ์ประทานไปแต่ร่างกุ้ง ๓ ฉะบับ คือ
๑ ฉะบับลงวันที่ ๒๒ มกราคม เขียนด้วยดินสอ เข้าใจว่าฝ่าพระบาทไม่มีสำเนาเก็บไว้ ตั้งใจจะคัดส่งมาถวายเพื่อเก็บเข้าระเบียบ ลายพระหัตถ์ฉบับนี้เกล้ากระหม่อมได้เขียนตอบถวาย ส่งทางกงสุลสยาม
๒ อีกฉะบับหนึ่ง เปนเส้นดินสอเหมือนกัน ไม่ได้ลงวัน แต่ตราไปรษณีย์ปรากฎว่าส่งวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ เห็นชัดว่าเปนร่างฉีกส่งประทานไป จะได้คัดสำเนาถวายมาเก็บเข้าเรื่องไว้เหมือนกัน
๓ อีกฉะบับหนึ่งเปนเส้นหมึก ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ แต่ก็นึกว่าคงไม่ได้ทรงเก็บสำเนาไว้ จะคัดสำเนาส่งมาถวายเหมือนกัน ในลายพระหัตถ์ฉะบับนี้ มีความปรากฏว่าหนังสือที่เกล้ากระหม่อมเขียนมาถวายส่งทางกงสุลสยามนั้น ได้ทรงรับแล้วไม่สูญหาย
ลายพระหัตถ์ทั้ง ๖ ฉะบับอันอ้างถึงนี้ มีข้อความที่จับใจอยู่มากมายหลายข้อ จะกราบทูลหมดในหนังสือฉะบับนี้ไม่ไหว จะต้องค่อยกราบทูลย้อนหลังไปในโอกาศที่สมควร บัดนี้จะกราบทูลข้อจับใจที่มีในลายพระหัตถ์ ซึ่งทรงฉีกร่างประทานไปเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์นั้นก่อน
ขอประทานกราบทูลให้ทรงทราบเสียก่อน ว่าเวลาเมื่อเกล้ากระหม่อมไปเมืองมัณฑเลนั้น เปนเวลาที่เมืองพะม่าฝ่ายเหนือเพิ่งจะตกเปนของอังกฤษ อะไรที่ดีหรือชั่วมาแต่ครั้งบ้านเมืองดีอย่างไรอยู่อย่างนั้น ที่จัดขึ้นใหม่ยังไม่มี ก็นับว่าดีไปอย่างหนึ่งที่ได้เห็นความเปนอยู่จริง แต่ก็ติดจะเสียใจที่เมื่อเวลาเกล้ากระหม่อมไปนั้น ยังไม่มีอินทรีย์แก่กล้าพอที่จะพิจารณาอะไรได้ดีเท่ากับทุกวันนี้
ข้อที่ตรัสเล่าว่าในเมืองเปนปากนั้น เมื่อครั้งเกล้ากระหม่อมไปในเมืองเปนโคลนเปนกองฝุ่นฝอย มีกระท่อมห้อมหอเกะกะ ยังไม่เปนปาก
เสียใจที่ปราสาทยอดพังเสีย ต้องทำขึ้นใหม่อย่างเลวๆ ทั้งตำหนักรักษาก็รื้อเสียมาก น่าเห็นใจอังกฤษ เพราะจะรักษาไว้หมดไม่ไหว ด้วยเปนไม้ทั้งนั้น ถึงเวลาที่จะผุพังอยู่แล้ว แต่ที่เขาได้ทำตัวอย่างเล็กๆ ไว้ให้ดูโดยสมบูรณนั้นดีมาก
ราชยานมาศซึ่งมีที่นั่งคู่ที่ได้ทอดพระเนตรเห็นมานั้นจับใจมาก เคยเห็นหนังสือทางข้างไทยเรามีกล่าวว่า พระมเหษีขึ้นพระราชยานกับพระมหากษัตร ทำให้นึกหน้าไม่ออกเลยว่าจะขึ้นไปอยู่ที่ไหน ที่แท้ก็มียานมาศสำหรับการเช่นนั้นอยู่โดยจำเพาะ สีวิกาเปนยอดบุษบกก็แปลก พระราเชนทรยานของเราก็เห็นจะมาทางสีวิกานั้นเอง สิ่งเหล่านี้เกล้ากระหม่อมไปไม่ได้เห็น เห็นจะไปซุกอยู่ที่ไหน ฝรั่งเขาเพิ่งไปควักเอามาตั้งไว้ให้ดูเมื่อเขาจัดพิพิธภัณฑสถาน
เกยลาก่ออิฐเปนสองตอน มีชาลาพื้นไม้เชื่อมนั้น เกล้ากระหม่อมไม่ได้สังเกตเห็น แต่สันนิษฐานตามที่ตรัสเล่า เห็นว่าคงจะเปนเช่นนั้นมาแต่เดิม เกยลาตอนหนึ่งสำหรับรับรองพระที่นั่งเสด็จออก อีกตอนหนึ่งสำหรับรับรองพระที่นั่งที่ประทับ ภายหลังคร้านในการขึ้นจันลงจัน จึงทำชาลาพื้นไม้เชื่อมติดกันเสีย และพระที่นั่งไม่พอใช้ก็ปลูกแซมลงในระหว่างชาลาที่เชื่อมกันนั้นอีก
พระมหามัยมุนี เมื่อเกล้ากระหม่อมไปก็เห็นพระภักตร์ขัด พระองค์ปิดทอง แต่ไม่นึกว่าพระองค์จะเปนปูนปั้น เมื่อได้ฟังตามที่ตรัสเล่าก็สดุ้งใจ ลางทีจะแตกหักเนื้อสูญหายเสียตั้งแต่เชิญมาจากอาระขันนั้นแล้ว โดยที่องค์ไม่ได้มาสมบูรณจึงบวกปูนใช้เนื้อที่สูญหายปิดทองไว้ ส่วนพระภักตร์นั้นได้มาสมบูรณ จึงขัดแต่พระภักตร์ให้เห็นเนื้อทองไว้ให้ดู
รูปสัตวในวัดนั้น ทรงวินิจฉัยว่าเปนฝีมือเขมรหมด เกล้ากระหม่อมรับรองว่าไม่ผิด รูปพระอิศวรเกล้ากระหม่อมก็เห็น แต่ลืมกราบทูล
เพลงไทย เกล้ากระหม่อมเคยเสาะแสวงฟังมาแล้ว รู้สึกว่าเปนเพลงไทยไม่ได้ ส่วนท่ารำไทยนั้นไม่ได้แสวงดู
เมืองอังวะ เมืองอมรปุระ เมื่อเรือที่เกล้ากระหม่อมไปผ่านถึงเขาก็ชี้ให้ดูไม่เห็นมีอะไร และประหลาดใจว่าเหตุใดเมืองหลวงจึงต้องย้าย และย้ายไปตั้งใหม่ก็อยู่ไม่ไกลกัน เขาบอกอธิบายว่ามันสกปรกหนักเข้า เกิดโรคภัยขึ้นก็ย้ายหนีไป แต่เสียงอธิบายนี้เปนเสียงฝรั่ง จะใส่โทษเอาผิด ๆ ก็ได้ เมืองพุกามนั้นแหละหรูแน่ เมื่อเรือผ่านเห็นยอดพระเจดีย์ออกสพรั่งไป ตั้งใจคอยฟังตรัสเล่ารายละเอียดอยู่ใจหวาม
มิวเซียมชะนิดที่เปนคลัง ทางฝรั่งเศษเขาก็ทำกัน ที่นครธมก็มี ได้อะไรใหม่เขาก็เอาเข้าเก็บไว้ในคลังนั้น ว่าถึงปีมีกรรมการมาตรวจ สิ่งไรที่ดีควรอวดเขาก็เอาไปจัดตั้งไว้ที่มิวเซียมจริง ๆ ในเมืองภนมเพญ
มีความเสียใจตามได้ทราบข่าวที่ตรัสเล่า ว่าฝีมือช่างพะม่าเสื่อมซามลงทุกอย่าง เมื่อตรองดูก็เห็นว่าจะต้องเปนเช่นนั้นอยู่เอง เพราะเหตุว่าจะมีช่างฝีมือดีก็อยู่ที่พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินต้องพระราชประสงค์ทำอะไรให้ดีงามก็เลือกหาช่างฝีมือมาเปนแม่งาน แม่งานก็หาช่างที่พอจะใช้ได้ให้มาช่วยกันทำก็ตกเปนเหมือนแม่งานนั้นเปนครู ผู้ทำนั้นเปนศิษย์ เขี้ยวเขญสั่งสอนให้ทำกันไปศิษย์นั้นก็มีความรู้ดีฝีมือดีขึ้นทุกที เมื่อไม่มีพระเจ้าแผ่นดินแล้วก็เปนอันขาดผู้ต้องการของดี อันชาวบ้านนั้นต้องการแต่ราคาถูก ด้วยมีเงินจะให้ได้น้อย ช่างดีเข้ารับทำไม่ไหว นานมาช่างดีก็ซ้ำตายไป สิ่งที่ดีก็ไม่มีใครทำได้อยู่เอง
วัดนางพระยา เห็นจะเปนวัดที่เกล้ากระหม่อมเคยได้ยินเรียกว่า วัด Incomparable อันเปนวัดงามที่สุดในเมืองมัณฑเล
เมืองสารเขต เกล้ากระหม่อมไม่เคยทราบเลย ยังเก่ากว่าเมืองพุกามขึ้นไปอีกหรือ กระหายที่จะฟังตรัสเล่าโดยพิสดาร
พระธาตุสันดอที่เมืองแปร เกล้ากระหม่อมชอบเหมือนกัน ไม่ใหญ่โตก็จริง แต่การก่อสร้างวางท่าทางดีหนัก พระธาตุองค์นี้ เกล้ากระหม่อมเคยได้ยินเรียก “ซิงดอ”ก็มี พระประดิษฐตาดเรียก “พระธาตุสิงคุดร” เห็นจะมีความตั้งใจให้ชื่อมาอย่างนั้นจริง แต่พะม่าหรือฝรั่งมาเรียกเลื่อนเปื้อนไปเสีย
เรื่องพะม่ากินกับเข้าเหมือนไทยนั้น เปนความรู้ที่เพิ่งจะได้ทราบใหม่ เคยได้ยินแต่สมเด็จกรมพระยาเทววงศตรัสทีหนึ่งว่า พะม่ามันก็กินกะปิเหมือนไทยเราเหมือนกัน เรียกว่า “งาปิ” ท่านจะได้ทรงหนังสืออะไรที่ไหนมาไม่ทราบ การที่ไม่กินของหวานนั้น เห็นจะเปนอยู่ด้วยกันหลายชาติ ข้างจีนก็ไม่กิน แต่มิใช่ไม่มีขนมหวานกิน หากเขาไม่กินต่ออาหารคาวกัน
พระศพสมเด็จหญิงน้อย ทราบว่าฝังกันไว้ทีหนึ่งก่อนแล้ว บัดนี้คิดเตรียมกันจะเชิญพระศพเข้าไปกรุงเทพฯ ประดิษฐานไว้ที่วังลดาวัลย์