- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
ตำหนักปลายเนีน คลองเตย
วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๗๘
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัดถ์ลงวันที่ ๑๙ รวม ๓ ฉะบับ ได้รับประทานแล้ว
ดีใจที่ได้กระแสพระดำริเห็นพ้องในเรื่องชื่อ “สยาม” ว่าเปนสมญาที่ชาวต่างประเทศเขาให้ และประหลาดใจมากที่ได้ทรงสังเกตเห็น ว่าเราเพิ่งรับเอาชื่อ “สยาม” นั้นในเมื่อรัชชกาลที่ ๔ นี้เอง เปนเวลาหมิ่นอยู่มาก นึกว่าเราจะได้รับไว้นานกว่านั้น ตามที่ตรัสอ้างหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีที่ทำกับอังกฤษเมื่อรัชชกาลที่ ๓ ออกนามประเทศว่ากรุงศรีอยุธยานั้น ทำให้นึกขึ้นมาได้ว่า พะม่าเขาก็เรียกเราว่า “อยูธ๎ยา” เหมือนกัน หาได้เรียกตามมอญไม่
ได้ทราบฝ่าพระบาทแล้วหรือยัง “กรุง” แปลว่ากะไร พวกเราเดี๋ยวนี้ดูเหมือนจะเข้าใจเปนแปลว่าเมือง แต่เห็นว่าผิดแน่นอน เพราะมีคำว่า “พระเจ้ากรุงสญชัย” ปรากฏอยู่ สญชัยเปนชื่อพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ชื่อเมือง ทางเขมรเขาก็ใช้เหมือนกัน ฝรั่งเศสเขาแปลว่า เอมเปเรอ เห็นจะถูก “พระเจ้ากรุงสญชัย” ก็ตรงกันกับเอมเปเรอฟรานศิสโยเสฟ “พระเจ้ากรุงสีพี” ก็ตรงกันกับเอมเปเรอออสเตรีย “กรุงศรีอยุธยา” ก็ตรงกับศรีอยุธยาเอมไปร์ ดูแนบเนียนมาก
หนังสือที่มีไปมาวินิจฉัยอะไรกัน น่าที่ของเราก็เพียงแต่วินิจฉัยกันแล้วก็เปนแล้ว ใครจะผูกใจเอาไปทำอะไรต่อไปหรือไม่ก็ตามแต่จะเปนไป
พระดำรัสเล่าถึงเรือเมลนอกของชาติต่าง ๆ นั้น ทำให้ได้ความรู้ดีมาก เห็นจะเปนเรือ “โปตสดัม” ลำนี้เอง ที่ทูลกระหม่อมหญิงทรงกะว่าจะเสด็จโดยสานไปยุโรป แต่ทีหลังเห็นช้าเวลาเกินไป เกรงว่าพอไปถึงก็จะถูกหนาว จึงเปลี่ยนเปนเสด็จโดยสานเรือวิลันดา ประหลาดใจที่หญิงพูนเปนต้นคิดจะชักชวนให้ไปเที่ยว “สุวรรณลอยล่อง” กับเรือเมลนอก แล้วเธอผู้คิดจะได้ประโยชน์อะไร เธอจะได้เห็นแต่เพดานห้องนอนในเรืออย่างเดียวเท่านั้นตลอด ๔๐ วัน
ขอบพระเดชพระคุณที่ทรงพระเมตตาโปรดส่งผลดูกูเข้าไปประทาน พร้อมทั้งพระดำรัสอธิบาย เกล้ากระหม่อมยังไม่ทราบแจ้งชัด ว่าผลดูกูกับรำมะแขเปนลูกไม้อย่างเดียวกัน ต่างแต่ชื่อตามภาษาของคนสองฟาก หรือว่าเปนลูกไม้ต่างชนิดกัน หากเปนโคตรอันเดียวกันเท่านั้น ทั้งสองอย่างมีคนเคยเอาไปให้ แต่น้อยครั้งนัก และได้รับก็ต่างคราวห่างกัน ไม่เปนโอกาศที่จะเปรียบเทียบกันได้ ที่โปรดประทานไปคราวนี้มีผิวนอกเหมือนผลลางสาด จำได้อย่างฝัน ๆ ดูเหมือนว่าผิวนอกมีสีเจือแดงก็มี แต่จะเปนผลที่ชื่อไรจำไม่ได้ ส่วนเนื้อในนั้นเหมือนมะไฟทั้งสองชื่อเปนแน่นอน
เสียใจที่ลางสาดมาไม่ถึง เปนการยากเหลือเกิน เมื่อมีคนออกมาพอที่จะวางใจฝากถวายได้ ลางสาดก็ไม่มี เมื่อมีลางสาดก็ไม่มีคนออกมายักกั๊กกันอยู่ดั่งนี้
ที่คลองเตย มีที่ของสมเด็จพระพันปีหลวงทรงจัดซื้อไว้แปลงหนึ่ง อยู่ริมแม่น้ำระหว่างปากคลองเตยกับปลายถนนสุนทรโกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเคยเสด็จไปเที่ยวทางเรือ แล้วแวะเสวยกลางวันที่บ้านพระยาปฏิพัทธ๑ ชอบพระทัยว่าเปนสถานที่ดี มีลมเย็นเห็นแม่น้ำงามรื่นรมย์พระราชหฤทัย จึงทรงพระราชดำริที่จะสร้างที่ประทับขึ้นแถบนั้นบ้าง เปนที่เสด็จมาประทับร้อนอาจทำได้โดยสดวก เพราะเนื้อที่ของสมเด็จพระพันปีหลวงก็มีอยู่แล้ว แต่จะได้สร้างอะไรขึ้นเพียงไรหรือไม่ เกล้ากระหม่อมไม่ทราบ มาเมื่อเกล้ากระหม่อมทำหน้าที่แทนพระองค์เมื่อรัชชกาลที่ ๗ กรมพระคลังข้างที่เคยเสนอรายงานครั้งหนึ่ง ว่าเจ้าพระยาวรพงศขออนุญาตเบิกเงินจำนวนหนึ่ง เพื่อจะทำถนนหรืออะไรในที่แปลงนั้นก็จำไม่ได้เสียแล้ว ไม่เปนเงินมากนัก ถ้าหากเจ้าพระยาวรพงศจะรื้อเรือนที่พญาไทไปปลูกที่คลองเตย ก็มีแต่แห่งเดียวที่จะปลูกณที่นั้น ได้แต่ทูลโดยเดาดั่งนี้ เพราะไม่ทราบเรื่องดีตลอด
คลองหน้าบ้านเกล้ากระหม่อม คนโดยมากเข้าใจว่าเปนคลองเตย แต่ที่จริงหาใช่ไม่ คลองเตยเปนคลองเก่าตัดจากแม่น้ำพุ่งเข้าไปในเรือกในสวนไหน ๆ คลองหน้าบ้านเกล้ากระหม่อมขุดใหม่ในรัชชกาลที่ ๔ เปนแต่ไปก่ายกับคลองเตยเข้าเท่านั้น จะชื่อคลองอะไรไม่ได้ความแน่ พระยาสิงหเสนี๒ว่าเรียกคลองหัวลำโพง หลวงกุมาร (นาค)๓ ว่าชื่อคลองอรชร คลองอรชรชื่อนี้เคยได้ยินมา แต่เข้าใจไปว่าเปนคลองข้างถนนสนามม้า ที่จริงคลองไหนจะชื่อไรยังไม่ทราบแน่
เวลานี้เกล้ากระหม่อมไม่สู้จะสบาย ไปอยู่บางปอินคิดว่าจะไปเที่ยวไหน ๆ บ้างในแขวงกรุงเก่า แต่ก็ไม่ได้ไป ไปนอนอู้อยู่อย่างคนเจ็บ แต่จะว่าเจ็บเปนอะไรก็ว่าไม่ถนัด เปนโน่นนิดนี่หน่อย แต่ก็ไม่ถึงล้มหมอนนอนเสื่อ ได้กลับมากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๕ แล้ว