- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
Hotel Strand Rangoon
ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘
ทูลสมเด็จกรมพระนริศร
จดหมายนี้เขียนด้วยคิดถึงพระองค์ท่านขึ้นมาในเวลาไม่มีเสมียนและเครื่องพิมพ์ดีด ทั้งเวลาว่างสำหรับเขียนหนังสือก็ไม่มีมากนัก จึงเขียนเองด้วยเส้นดินสอเหมือนอย่างร่างหนังสือ ในเวลาแรกตื่นนอนก่อนถึงเวลาต้องแต่งตัว
หม่อมฉันออกเรือมาจากปินังเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ เวลาเที่ยงครึ่ง อากาศเย็นคลื่นราบเรียบ นั่งโต๊ะกินกลางวันได้ด้วยกันหมด ตกค่ำมีคลื่นพอเรือกระเทือน เจ้าหญิง ๓ คนก็ล้มหมอนนอนเสื่อ เหลือแต่พระองค์หญิงเปนเพื่อนกินกับหม่อมฉันอยู่พระองค์เดียวจนตลอดทาง ๓ วัน รถก็เมา เรือก็เมา เครื่องบินก็เมา ยังสงสัยอยู่แต่ว่าถ้านางศุภลักษณมาอุ้มพาเหาะไปจะเมาหรือไม่
เรือถึงเมืองร่างกุ้งวันที่ ๒๑ เช้า ๗ น. ผู้แทนรัฐบาล กงซุลสยาม (ซึ่งหม่อมฉันบอกมาให้ทราบเอง) และนายห้างอีสตเอเซียติก ลงไปรับ จัดการรับอย่างไปรเวตตามประสงค์แต่เอื้อเฟื้อมาก เห็นว่าการเที่ยวคงเรียบร้อย แต่การเดินทางในเมืองพะม่าอยู่ข้างพิลึก เปนต้นว่ารถไฟไม่มีรถสะเบียง ที่หลับที่นอนในรถคนโดยสารก็หาไปเอง ต้องจ้างคนรับใช้คน ๑ กุ๊กคน ๑ ติดไปด้วยถ้าจะไปทางไกล โฮเตลตามหัวเมืองก็เลวหรือมีแต่เรือนแรม แต่สำหรับหม่อมฉันรัฐบาลเขาเตรียมเรือนหลวงไว้ให้พักและสั่งเจ้าเมืองกรมการให้เอาเปนธุระอุปการะทุกแห่งที่จะไป
เกิดความเสียใจเมื่อถึงเมืองร่างกุ้ง ๓ เรื่อง เรื่องที่ ๑ พอขึ้นบกก็ได้ข่าวว่าพระเจ้ายอชสิ้นพระชนม์ เรื่องที่ ๒ มาได้ความว่าพิพิธภัณฑสถานที่เมืองร่างกุ้งเลิกเสียแล้ว เคยมีมาจน ค.ศ. ๑๙๑๑ เห็นว่าการไม่เจริญจึงเลิกเสีย เรื่องที่ ๓ พระเกษธาตุมีร่างร้านคลุมตอนระฆังไม่แลเห็น ว่ากำลังปิดทองใหม่ และศาลาอาศัยที่ทูลกระหม่อมทรงสร้าง (หม่อมฉันเคยถ่ายรูปเมื่อมาคราวก่อน) ก็รื้อเปลี่ยนเปนอย่างอื่นไปเสียแล้ว
เรื่องที่จะขึ้นบูชาพระเกษธาตุนั้น เลขานุการของรัฐบาลถามหม่อมฉันขึ้นก่อน ว่าจะขึ้นไปเชอดาคองหรือไม่ หม่อมฉันตอบว่าเปนการที่หม่อมฉันรู้สึกลำบากยากใจอยู่บ้าง จะต้องเล่าเรื่องให้เขาฟังก่อน เมื่อหม่อมฉันมาถึงเมืองร่างกุ้งครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๒ หม่อมฉันแต่งตัวอย่างฝรั่งใส่เกือกขึ้นไป พวกกรรมการพะม่าผู้รักษาก็พากันต้อนรับ ไม่ได้แสดงความรังเกียจการใส่เกือกเลย เรื่องไม่ยอมให้ชาวต่างประเทศใส่เกือกขึ้นไปเปนการเกิดเมื่อภายหลัง
หม่อมฉันเข้าใจว่าเกิดด้วยการเมืองเปนเหตุ รัฐบาลอังกฤษได้ถามเข้าไปถึงรัฐบาลสยาม เวลานั้นหม่อมฉันเปนสมาชิกอยู่ในเสนาบดีสภา ปรึกษากันให้ทูลขอวินิจฉัยสมเด็จพระมหาสมณะ ๆ ประทานวินิจฉัยว่า การที่เข้าไปในที่เจดียสถาน จะเปนสาสนาเดียวกันหรือต่างสาสนากันก็ตาม ต้องเข้าไปด้วยความเคารพ ถ้าไม่อยากเคารพก็ไม่ควรเข้าไปทีเดียว ความเคารพนั้นถ้าว่าถึงเครื่องแต่งตัว คนชาติใดและจำพวกไหนถือว่าแต่งตัวอย่างไรเปนความเคารพก็ควรแต่งอย่างนั้น ข้อสำคัญไม่ได้อยู่ที่เกือก ถ้าประเพณีของจำพวกที่เข้าไปถือว่าใส่เกือกเปนเคารพก็ควรใส่เกือก ดังนี้ เขารับว่าเขาก็ทราบความตามที่หม่อมฉันเล่านั้นอยู่แก่ใจ หม่อมฉันพูดต่อไปว่ามูลเหตุที่ห้ามมิให้ใส่เกือกขึ้นไปจะอย่างไรก็ตาม แต่พวกชาวต่างประเทศเดี๋ยวนี้ได้ยอมถอดเกือกตามประสงค์พะม่าจนเปนธรรมเนียมแล้ว หม่อมฉันก็ถือพุทธสาสนาด้วย จะทำอย่างไรจึงลำบากใจอยู่ จะไม่ยอมถอดเกือกและไม่เข้าไปในเจดียสถานทุกแห่งทีเดียว ของดีของงามที่น่าชมก็มักอยู่ที่เจดียสถาน จะเปนอันมาเปล่าไม่ได้ดูของเหล่านั้น ยกตัวอย่างดังเช่นพระพุทธรูปมหามัยมุนีเปนต้น ไม่ได้ดูก็เหมือนมาเปล่า ครั้นจะยอมถอดเกือกเหมือนอย่างพวกท่องเที่ยว ว่าตามธรรมเนียมไทยที่กล่าวมา หม่อมฉันก็เห็นเปนอันไม่เคารพต่อเจดียสถาน ความลำบากมีอยู่เช่นนี้ หม่อมฉันจึงคิดว่าเมื่อขึ้นไปที่พระเกษธาตุจะแต่งตัวอย่างอุบาสกไทย คือนุ่งผ้าไม่สวมถุงเท้ารองเท้า เหมือนเช่นไทยเคยแต่งกันแต่โบราณ เขาเห็นชอบด้วย และถามว่าจะให้บอกกรรมการให้มารับหรือไม่ หม่อมฉันขออย่าให้บอกเลย ด้วยประสงค์จะขึ้นอย่างเงียบ ๆ
ครั้นวันที่ ๒๑ แต่งตัวนุ่งแดงอย่างรับน้ำสังข์ขึ้นนมัสการพระเกษธาตุ ไปแวะดูที่ฝังศพราชินีศุภยาลัต ซึ่งรัฐบาลให้ที่่ฝังไว้ในสวนหลวงใกล้เนินพระเกษธาตุ ที่ฝังก่อเปนมณฑปขนาดเดียวกับที่ฝังพระอังคารสมเด็จพระราชปิตุลาที่วัดเทพศิรินทร จำหมดจดดี ที่พระเกษธาตุมีผู้คนขึ้นนมัสการมาก พากันดูเราด้วยรู้ว่าเปนชาวอโยธยาแต่ไม่จุ้นจ้านอย่างไร แต่พระพะม่านั้นดูไม่น่าเลื่อมใสเลย เจ้าฉายเมืองกับเจ้าขุนศึกลูกเจ้าเชียงตุง ที่เคยบวชเปนสามเณรอยู่วัดเทพศิรินทร เดี๋ยวนี้โตเปนหนุ่มมาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย พอรู้ว่าหม่อมฉันมาก็มารับใช้ทั้ง ๒ คนน่าเอนดูมาก ได้ขึ้นไปพระเกษธาตุด้วย บอกว่าพระพะม่าเลวกว่าพระมหานิกาย ได้พบพระไทย ๓ องค์ องค์ ๑ พอหม่อมฉันเดินไปแล้ว เข้าไปถามหญิงพูนว่า “สมเด็จกรมพระยาดำรงมิใช่หรือ” ได้ความว่าเปนพระอยู่วัดมเหยงคน์ เมืองสรรค์ ซึ่งหม่อมฉันได้เคยไปถึงวัดนั้นครั้ง ๑ นมนานมาแล้ว เห็นจะเคยได้ยินแต่ชื่อ
วันที่ ๒๓ ไปเมืองหงสาวดี เจ้าเมืองเปนพะม่าถือพระพุทธสาสนา ชื่อ อู สัน ติน U Than Tin ต้อนรับพาไปเที่ยวเองและเลี้ยงกลางวันให้ด้วย ตามวัดที่ไปดูก็มีพวกกรรมการมารับทุกแห่ง หมอมฉันไปผลัดเครื่องแต่งตัวเหมือนขึ้นนมัสการพระเกษธาตุ ไปที่วัดพระนอนองค์ใหญ่ เขาทำวิหารใหม่ใช้เครื่องเหล็กโปร่งดี องค์พระนอนเนื้อทาขาวผ้าปิดทอง รักษาสอาดน่าชม องค์พระงามด้วย แล้วไปดูพระอุโบสถที่พระเจ้าธรรมเจดีย์ (ปิฎกธร) สร้างกับทั้งศิลาจารึกกัลยาณี ออกเสียใจด้วยพระอุโบสถนั้น พระเจ้าแผ่นดินหรือใครอื่นในภายหลังได้ทำซ้ำเปลี่ยนแปลงลวดลายเปน “ลายเทศ” และเดี๋ยวนี้กำลังทรุดโทรม ส่วนศิลาจารึกกัลยาณีนั้นน่าเสียใจเหมือนกัน ด้วยหายหกตกหล่นไปเสียมาก เหลืออยู่ไม่กี่แผ่น ที่หักเปนชิ้นเล็กชิ้นน้อยกองรวมกันไว้ก็มี รัฐบาลปลูกโรงหลังคาสังกสีมีลูกกรงเหล็กรอบรักษาไว้ ไปถึงพระมุเตายิ่งอนาถใจ ที่พังลงครั้งแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ เดิมหม่อมฉันนึกว่าจะเปนแค่ยอดหักสบั้นลงเพียงบัลลังก์ เมื่อรถยนต์ใกล้เมืองแลเห็นพังถึงปากระฆังก็นึกว่าพังมากมายกว่าที่คาด ครั้นขึ้นไปถึงลานชั้นทักษิณ จึงเห็นว่าเหลืออยู่ถึงปากระฆังแต่ด้านเดียว ทางด้านอื่นพังลงมาตลอดจนฐานแทบถึงชั้นทักษิณ มีแต่อิฐหักกากดินกองเปนพะเนินเทินทึก ใช่แต่เท่านั้นปราสาทและศาลาต่าง ๆ บันดามีในบริเวณก็พังหมด ว่าโดยย่อการที่จะบุรณจำเปนต้องสร้างใหม่ทั้งองค์พระมหาธาตุและสิ่งอื่น ๆ ทั้งวัด อีก ๕๐ ปีก็เห็นจะยังคืนดีอย่างเดิมไม่ได้ เขาพาหม่อมฉันไปดูของมหัคฆภัณฑ์ที่เก็บจากในองค์พระมุเตามารักษาไว้ มีพระพุทธรูปมากกว่ามาก พระพุทธรูปไทยก็มี แต่ไม่เห็นของเก่าถึงชั้นฝีมือชาวอินเดีย คงจะเปนด้วยเคยสร้างเสริมหรือบุรณพระมุเตามาแต่ก่อนหลายครั้งเช่นเดียวกับพระเกษธาตุ
จดหมายนี้จะส่งทางเมลอากาศ มีเวลาเขียนเพียงเท่านี้ ค่ำวันที่ ๒๔ นี้หม่อมฉันจะออกจากเมืองร่างกุ้งขึ้นไปเมืองมัณฑเล
(ลงพระนาม) ดำรงราชานุภาพ
คัดถูกต้องตามต้นฉะบับ
<ดวงจิตร>