- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
Cinnamon Hall,
206 Kelawei Road, Penang. S.S.
วันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘
ทูล สมเด็จกรมพระนริศรฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ฉะบับวันที่ ๑๔ มีนาคม มีความยินดีที่ทราบว่าจะเสด็จแปรสถานไปประทับที่หัวหิน ด้วยได้ยินจากคนที่ออกมาในหมู่นี้ว่าที่ในกรุงเทพฯ ร้อนจัด เสด็จไปอยู่ชายทะเลคงจะทรงสบาย ขออย่าทรงลืมว่าที่สำนักดิศกุลนั้นจะโปรดไปประทับเมื่อใดก็ได้เปนนิจ การแปรสถานเปลี่ยนอากาศแม้เปนคนแก่ก็ยังดีมีคุณมาก หม่อมฉันไปเมืองพะม่ากลับมารู้สึกว่ามีกำลังวังชาดีขึ้น ใครเห็นก็ทักว่าดูเปล่งปลั่ง หมู่นี้ที่ปีนังอยู่ข้างร้อนสักหน่อย พอโรงเรียนหยุดเติม-หม่อมฉันคิดว่าในเดือนเมษายน จะพาลูกหลานขึ้นไปอยู่บนเขาสักคราวหนึ่งด้วยพระยารัตนเศรษฐีเขาอนุญาตบ้านของเขาไว้ให้เปนที่ไปพักได้เสมอ
จะทูลอธิบายความบางข้อที่ตรัสถามมาในลายพระหัตถ์อธิบายคำ “สัมโนครัว” นั้น หม่อมฉันไม่เคยคิดวินิจฉัย จะทูลได้ในชั้นนี้แต่หลักของอธิบาย พอเปนเครื่องประกอบให้ทรงคิดค้นต่อไป
๑. ที่เรียกว่า “ข้าพระ” กับ “โยมสงฆ์” หมายความต่างกันมากทีเดียว พวกข้าพระเปนทาสของวัด เพราะเปนคนชั้นเลว เช่นเชลยหรือคนต้องโทษ ถวายให้รับใช้ในการของวัดตั้งแต่ตัวตลอดลูกหลานไม่มีที่สุด หม่อมฉันไปทราบที่เมืองพะม่าว่าตามเชิงเนินพระเกศธาตุ เปนที่ตั้งบ้านเรือนของพวกข้าพระ และพวกข้าพระนั้นคนพวกอื่นมักรังเกียจไม่สมพงศ ส่อให้เห็นว่าเปนคนชั้นเลวแต่เดิมมา คนจำพวกที่เรียกว่าโยมสงฆ์นั้นถือว่าเปนผู้มีคุณ ข้อนี้มีอุทาหรณ์อยู่ในประเพณีพะม่าเมื่อสมัยยังมีพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าบรรพชิตองค์ใดรอบรู้พระปริยัติธรรมสอบได้ถึงเปนเปรียญเอก ญาติโยมของบรรพชิตองค์นั้นได้รับยกเว้นจากราชการ ๗ ชั่ว ถ้าเปนเปรียญโทยกเว้นเพียง ๕ ชั่ว แสดงว่าได้เปน “โยมสงฆ์” เพราะเปนญาติของอัจฉริยบรรพชิต เชิดชูศักดิ์ให้สูงขึ้น
๒. ในศิลาจารึกและพระราชกฤษฎีกาของโบราณ (เช่นพบสำเนาที่วัดเขียนเมืองพัทลุง) ซึ่งกล่าวถึงการทำนุบำรุงวัด มักมีบัญชีคนที่ถวายเปนข้าพระ ในบัญชีลงชื่อคนรายตัว ข้อนี้ส่อให้เห็นว่าสำหรับพิศูจน์เมื่อตัวคนหลีกเลี่ยงหลบหนีด้วยไม่อยากเปนข้าพระ ส่วนโยมสงฆ์ก็คงต้องทำบัญชีรายตัว กันคนปลอมเข้าไปหาประโยชน์ของโยมสงฆ์ บัญชีข้าพระโยมสงฆ์จึงต้องตราชื่อคนไว้ให้ชัดเจน อาจจะเรียกว่าบัญชี “สัมโนครัว” ให้ผิดกับบัญชีพลเมืองซึ่งนับแต่ตามจำนวนครัว จะผิดกันด้วยประการฉะนี้ในชั้นเดิม ครั้นเกิดการทำบัญชีพลเมืองให้มีชื่อรายตัวจึงเอาชื่อบัญชีแบบที่ใช้จดข้าพระโยมสงฆ์มาใช้ และเลยเรียกชื่อว่าบัญชีสัมโนครัว นี่เปนการเดาพุ่งถวายไปที ขอให้ทรงพิจารณาดูเถิด
เรื่องอ่าวเมืองภูเกตตื้นขึ้นนั้น หม่อมฉันพอจะทูลประวัติการได้ เมืองภูเกตตั้งอยู่ริมลำน้ำทุ่งคา หรือตั้งที่ตำบลทุ่งคา (ฝรั่งและจีนเรียกว่า Tongka) ริมลำน้ำภูเกต ข้อนี้หม่อมฉันฉงนอยู่ แต่ลำน้ำนั้นเดิมเปนทางใช้เรือเข้าไปถึงที่ตั้งเมืองได้สดวก ครั้นการทำเหมืองแร่ดีบุกในเกาะภูเกตเจริญขึ้น น้ำล้างแร่พาทรายที่ล้างจากดีบุกไหลลงมาถมลำน้ำให้ตื้นขึ้นโดยลำดับ จนใช้เรือเข้าถึงเมืองไม่ได้สดวก ข้าหลวงจึงคิดทำถนนตั้งแต่เมืองภูเกตมาจนชายทะเลที่ปากลำน้ำ และทำท่าจอดเรือต่อชายหาดออกไปถึงที่น้ำลึก เรือเข้าจอดได้ทุกเวลา เมื่อหม่อมฉันตามเสด็จสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงไปใน พ.ศ. ๒๔๓๓ เรือไฟเล็กยังเข้าไปจอดได้ถึงท่าที่ทำนั้น แต่ทรายยังไหลตามน้ำลงมาจากเหมืองแร่ถมตั้งแต่ในลำน้ำตลอดออกไป จนทะเลตอนที่ทำสะพานตื้นขึ้นทุกที เมื่อพวกชาวออสเตรเลียมาขออนุญาตทำเรือจักรขุดแร่ดีบุกที่ในอ่าวภูเกต พระยารัษฎานุประดิษฐ ฯ เห็นเปนทีจึงปรึกษาหม่อมฉัน แล้วเกี่ยงให้บริษัทนั้นรับสัญญาว่าจะขุดอ่าวตอนที่ตื้นให้เปนร่องเรือเข้าลำน้ำภูเกตได้ทุกเวลาเหมือนอย่างเดิม บริษัทก็ยอมรับและได้ทำสัญญากันอย่างนั้น แต่เมื่อจะให้บริษัทขุดคลองตามสัญญา บริษัทร้องขอให้รัฐบาลคิดอ่านกันทรายอย่าให้ไหลจากเหมืองแร่ไปถมร่องที่ขุดนั้นเสีย พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ฯ ได้คิดแก้ไขหลายอย่าง ก็ไม่สามารถที่จะกันทรายมิให้ไหลลงไปในที่จะขุดร่องได้ จึงเปลี่ยนความคิดใหม่จะเรียกเอาเปนตัวเงิน “คอมเมนเสชั่น” จากบริษัทแทนขุดร่อง เอาเงินนั้นไปทำท่าจอดเรือที่เกาะตะเภาน้อย ซึ่งเปนอ่าวน้ำลึกและอยู่ห่างพ้นจากสายน้ำที่ทรายไหล และจะทำถนนจากท่าจอดเรือนั้นใช้รถยนต์และทำรถรางเข้ามาจนถึงเมืองภูเกต ประมาณระยะทางสัก ๑๕๐ เส้น พระยารัษฎานุประดิษฐ ฯ ได้เคยพาหม่อมฉันไปตรวจดูที่ซึ่งจะทำท่าจอดเรือนั้น หม่อมฉันก็เห็นชอบด้วย แต่ยังไม่ทันลงมือทำพระยารัษฎานุประดิษฐ ฯ ถึงอนิจกรรม หม่อมฉันก็ออกจากกระทรวงมหาดไทย ความคิดเปนอันระงับมาตลอดรัชชกาลที่ ๖ ถึงรัชชกาลที่ ๗ หม่อมเจ้าสฤษดิเดชออกไปเปนสมุหเทศาภิบาล ไปเห็นความลำบากเรื่องท่าขึ้นเมืองภูเกตและไปทราบความคิดพระยารัษฎานุประดิษฐ ฯ เห็นชอบด้วย ให้ทำถนนและทำจอดเรือที่เกาะตะเภาน้อยแต่พอใช้ได้ ทันรับเสด็จสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เสด็จขึ้นทางนั้น หม่อมฉันก็ได้ตามเสด็จไปด้วย แต่ต่อมาจะเปนด้วยไม่มีเงินหรือเพราะเหตุอื่นใด หม่อมฉันไม่ทราบ มิได้ทำการให้สำเร็จก็เลยเลิกสร้างค้างต่อมาจนบัดนี้
ในคราวเมล์นี้ หม่อมฉันส่งหนังสือเล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่าถวายมาอีกภาค ๑ ในตอนที่ ๒ แต่ยังไม่จบตอน เพราะเรื่องตอนนี้จะยาวสักหน่อย หมายว่าจะถวายในคราวเมล์หน้าต่อไป ได้ส่งรูปฉายาลักษณ์มาถวายด้วย ๓ รูป คือ
รูปพระเกศธาตุ ที่มีจากคลุมอยู่เมื่อเวลาหม่อมฉันไปรูป ๑
รูปมณฑปที่บรรจุพระศพนางราชินีสุปยาลัตรูป ๑
รูปพระเจ้าสีป่อกับนางราชินีสุปยาลัตทรงเครื่องต้นอย่างพะม่าถ่ายย่อจากรูปที่เจ้าพะม่าเขาให้หม่อมฉันรูป ๑