- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
ตำหนักปลายเนีน คลองเตย
วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๘
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๕ เดือนนี้ ตรัสเล่าถึงที่เสด็จไปประพาสคาเมรอนไฮแลนเดอส์ ทั้งประทานโปสต์ก๊าดมีรูปที่นั้นไปด้วยอีกสองแผ่น สอดไปกับลายพระหัตถ์แผ่นหนึ่ง ประทานไปต่างหากอีกแผ่นหนึ่ง ได้รับประทานแล้วทั้งนั้นเปนพระเดชพระคุณล้นเกล้า แต่ตามเรื่องและรูปภาพฟังดูไม่รู้สึกสนุก รู้สึกว่าดีอยู่แต่ที่ได้พบกับทูลกระหม่อมชายเท่านั้น สิ่งที่น่ารู้มีอย่างหนึ่ง คือสแตมป์ที่ปิดโปสต์ก๊าดประทานไป มีหนังสือบอกในสแตมป์ว่า มลายา รูปคนในนั้นเปนใครก็ไม่ทราบ เปนรูปแขก เชื่อเอาว่าเปนรูปเจ้าเมืองปะหัง ถ้าหากเปนเช่นนั้น เมืองต่างๆ ในแหลมมลายู เมืองใครก็จะมิมีสแตมป์ประจำเมืองทุกเมืองไปกระนั้นหรือ ดูยับย่อยนัก ขอประทานอธิบายในข้อนี้
จำจะต้องกราบทูลซ้ำในเรื่องครัวอีก ด้วยได้เห็นในหนังสือพิมพ์เขาจ่าหน้าข่าวว่า “จะให้เทศบาลทำบาญชีสำมโนครัวใหม่” สดุดใจเจียนหกล้ม “สำมโน” แปลว่ากะไรติดอย่างฉกาจ แต่ก็ติดใจคิดไม่หยุด ภายหลังเห็นขึ้นว่าหรือจะเปน สามโณ แปลว่า ของสมณ บาญชีครัวของสมณ คือพวกข้าพระโยมสงฆ์เสียดอกกระมัง แล้วภายหลังไม่เข้าใจความหมาย เอามาใช้เรียกบาญชีครัวคนทั่วไป พุ่งถวายมาเพื่อทรงพระดำริเล่น
กับได้เห็นในหนังสือพิมพ์อีกเหมือนกัน เขาเล่าถึงเมืองภูเกต โดยผู้สืบข่าวของเขาไปเที่ยวมา เขาครวญครางในเรื่องความไม่สดวกที่น้ำทะเลเรือเมลไปถึงแล้วขึ้นไม่ได้ ต้องรออยู่ตั้งชั่วโมงจนน้ำขึ้น เรือยนต์เล็กจึงออกมารับได้ ข้อไม่สดวกตามที่เขาครวญนี้ไม่รู้สึกประหลาดใจเลย เมืองชายทะเลถมไปที่เปนเช่นนั้น แต่ไปนึกฉงนอยู่ที่ปากอ่าวเมืองภูเกตมีเรือขุดแร่ขุดอยู่ในท้องทะเล ควรที่จะเปนการช่วยให้ทะเลลึกลงได้ แต่ไม่ทราบว่าเขาทำกันอย่างไรอยากไปเห็น แต่ก็ไม่ได้ไป มีแต่ความสงสัยอยู่ร้อยแปดประการจริงอยู่ ก็คงเหมือนเรือขุดอย่างที่เห็นแล้วในเหมืองบนบก ขุดไปข้างหน้าถมไปข้างหลัง ส่วนการจะให้กินหน้าและเลื่อนไปข้างๆ นั้นบังคับด้วยเชือกอันผูกกับหลักซึ่งตอกไว้บนพื้นดิน ที่ขุดในทะเลคิดว่าคงใช้สมอทอดแทนตอกหลักผูกเชือก แต่ถ้าเวลามีคลื่นเขาจะทำกันอย่างไร อีกประการหนึ่งดินที่ขุดขึ้นคัดเอาแร่ออกแล้วนั้นเขาทำอย่างไร มีเรือรับเอาไปเททิ้งที่สมควรหรือ ถ้าเช่นนั้นก็ควรจะเปนการช่วยให้ทะเลลึกลงได้ หรือทิ้งดินคืนกลับลงไปในทะเลนั้นเอง ถ้าทำเช่นนั้นก็เลวเต็มที บริษัทคิดเอาแต่ประโยชน์ตัวเท่านั้น ไม่ให้ประโยชน์แก่บ้านเมืองบ้างเลย และผู้บัญชาการเมืองก็ควรจะคิดจะบังคับบริษัทให้ทำการเปนประโยชน์แก่บ้านเมืองบ้าง ข้อนี้ทำให้คิดถึงพระยารัษฎาซิมบี้ ถ้ายังมีชีวิตอยู่จัดการเรื่องนี้ คงจะจัดให้เปนประโยชน์แก่บ้านเมืองได้เปนอันมาก ตามที่ทรงพรรณนาคุณพระยารัษฎาไว้ ในอธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่าตอนที่ ๖ นั้น ที่เกล้ากระหม่อมได้ทราบแล้วก็มาก ที่ยังไม่เคยทราบก็มากเห็นว่าเปนคนฉลาดเฉียบแหลมรู้ที่ได้ที่เสียที่สุด เหมือนหนึ่งเรื่องขายที่ว่าการมณฑลภูเกตเปนต้น เกล้ากระหม่อมไปเมืองภูเกตกำลังเขาพูดจาว่ากล่าวกันอยู่ทีเดียว เกล้ากระหม่อมนึกประมาทว่าไม่สำเร็จ เห็นว่าพระยารัษฎาเกี่ยงเอาเปรียบเกินกว่าที่เขาจะให้ได้มากนัก แต่เขาก็ให้ได้ แปลว่าเกล้ากระหม่อมผิด พระยารัษฎาถูก เพราะเขามีความรู้มากกว่า การทำถนนก็หาเงินมาทำได้เปนอย่างดี ยังได้ขอให้เกล้ากระหม่อมช่วยหาซื้อลูกกลิ้งสตีมให้ เกล้ากระหม่อมได้ช่วยสั่งซื้อมาให้ใช้อันหนึ่ง การรักษาผลประโยชน์รู้จักเปนอย่างดี เกล้ากระหม่อมเคยได้ยินเถียงกับนายพินิจราชการ ซึ่งภายหลังเปนพระยาอะไรก็ลืมเสียแล้ว เวลานั้นเปนปลัดเทศาภิบาลอยู่เมืองภูเก็ต เถียงกันด้วยเรื่องการทำไร่ชั่วปี ซึ่งผู้ทำโค่นต้นไม้ใหญ่ลง แล้วสุมไฟเอาขี้เท่าเปนปุ๋ย ปลูกฟักแฟงแตงถั่วลงชั่วปีเดียว แล้วก็ทิ้งไปทำที่อื่นอีก ที่เก่านั้นเต็มไปด้วยหญ้าคา หาประโยชน์อะไรมิได้เลย พระยารัษฎาสั่งห้ามไม่ให้ทำไร่อย่างนั้นอีก นายพินิจค้านว่าห้ามแล้วคนพวกนั้นมันจะทำอะไรกินได้ มันก็จะยกครอบครัวออกไปเสียจากมณฑลของเราเท่านั้น พระยารัษฎาว่าให้มันไปเสียเถิด ไม่มีกี่คนดอก อยู่ก็ทำที่ของเราให้เสียไปเปล่า ๆ เกล้ากระหม่อมฟังเห็นชอบด้วยพระยารัษฎาเปนอย่างยิ่ง ยังอัทธยาศัยไมตรีในส่วนเพื่อนฝูงก็ดีเลิศ เสียดายยิ่งนักที่ต้องตายเสียในเวลาที่ยังไม่สมควรเลย
การคุ้ยเขี่ยหาเงินนั้นสำคัญมาก ถ้าจับทางผิดก็ไม่ได้เงิน ถ้าจับทางถูกก็ได้มากมายอย่างน่าประหลาดที่สุด เช่นพระยารัษฎาได้ทำมานั้น ได้มาด้วยไม่มีใครเดือดร้อนด้วย เหมือนหนึ่งฝ่าพระบาททรงจัดเก็บเงินค่าน้ำมณฑลปราจิณบุรีโดยทางเปลี่ยนจากวิธีผูกขาดเปนเทศาภิบาลเก็บ ตามที่ตรัสเล่าไปในลายพระหัตถ์ฉะบับลงวันที่ ๑๖ มกราคมนั้น ก็ได้เงินขึ้นมากอย่างน่าปลื้มใจที่สุด ความจริงไม่ใช่ว่าเปนเพราะวิธีเก็บเองเปนวิธีดี วิธีผูกขาดเปนวิธีไม่ดีก็หามิได้ ย่อมเปนวิธีดีอยู่ทั้งสองประการ แต่หากว่าเลือกใช้ถูกก็ได้ผลดี เลือกใช้ผิดก็เสียผล คือว่าถ้าเราสามารถจะเก็บเองได้เราเก็บเองก็ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าเอาไปให้คนกลางเขาผูกขาดเขาก็แบ่งเอาผลไปกินเสีย แต่ถ้าเราไม่สามารถจะเก็บเองได้ก็ต้องให้คนกลางเขาผูกไป ไม่เช่นนั้นเราก็จะไม่ได้ผลเลย ทางราชการแต่ก่อนจัดการปกครองยังไม่ดี ยังไม่มีอำนาจบังคับบัญชาได้เด็จขาด จะจัดเก็บเองไม่ได้ จึงต้องจัดให้มีคนกลางผูกขาดไป เอาแต่เพียงพอได้ผลบ้าง แม้แต่ได้ครึ่งเสียครึ่งก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย ครั้นเมื่อได้จัดการปกครองเรียบร้อยแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไรที่จะควรให้ผูกขาดเก็บอยู่ตามเดิม ต้องจัดให้เก็บเองอย่างที่ทรงจัดมาแล้วนั้นเปนถูกที่สุด เห็นผลได้เงินมากเหลือหลายขึ้นทันตา วิธีเก็บเองหรือให้ผูกขาดนั้น แม้ทุกวันนี้ที่เปนสำนักงานใหญ่ ๆ เช่นพระคลังข้างที่เปนต้น เขาก็ยังจัดทำอยู่ทั้งสองอย่าง ในที่ใกล้ดูแลถึงเขาก็จัดการเก็บเอง ถ้าในที่ไกลกันดารดูแลไม่ถึงเขาก็ให้ผูกขาดเอาแต่พอได้บ้าง เพราะถ้าจะจัดคนไปเก็บก็เปลืองโสหุ้ยกลับจะขาดทุนด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ก็เปนอันว่าต้องพิจารณาทำผ่อนผันให้เปนไปโดยสมควรเท่านั้น
ลายพระหัตถ์ซึ่งจะโปรดประทานไปถึงเกล้ากระหม่อมคราวหน้า โปรดให้จดหลังซองส่งที่หัวหิน เกล้ากระหม่อมจะไปอยู่ที่นั้นตั้งแต่วันพรุ่งนี้ไปประมาณ ๓ สัปดาหะ จะกลับเปลี่ยนเปนให้ส่งกรุงเทพฯ อย่างเดิมเมื่อไร จะกราบทูลมาให้ทราบฝ่าพระบาท