- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
Cinnamon Hall,
206 Kelawei Road, Penang. S.S.
วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘
ทูล สมเด็จกรมพระนริศร ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ฉะบับลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน เรื่องที่หญิงจงจะออกมาปีนัง เปนด้วยเมื่อเธอป่วยหนักคิดว่าจะไม่ได้เห็นหน้าพ่ออีกแล้ว ครั้นอาการป่วยของเธอฟื้นขึ้นรู้สึกว่ารอดพ้นความตายก็อยากเห็นหม่อมฉัน หม่อมฉันเคยมีจดหมายตักเตือนให้รักษาตัวให้หายสนิทเสียก่อน อย่าต้องเสี่ยงภัยจึงค่อยมา แต่ผัดกันมาหลายครั้ง บัดนี้หมออนุญาตให้เธอมาแล้วหม่อมฉันจะห้ามปรามก็สงสาร ด้วยเห็นใจเธออยู่ว่าเธอจะคิดถึงและอยากเห็นหน้าพ่อสักเพียงไร ไม่ให้มาก็คงเกิดโทมนัส ฝ่ายข้างหม่อมฉันเองที่จริงก็คิดถึงเธอมาก จึงได้อนุญาตให้มา แต่ตั้งใจว่าจะระวังดังท่านทรงพระดำริ ในเรื่องกล้วยหักมุกที่เธอต้องกินเปนอาหาร หม่อมฉันเข้าใจว่าเธอคงวางการที่จะให้ส่งมาทุกคราวเมล์ แม้จะบกพร่อง ที่นี่ก็มีกล้วยแขกอย่างหนึ่งเหมือนกับกล้วยหักมุกไทย เปนแต่ลูกเล็กกว่าและรสหวานสู้กล้วยหักมุกไทยไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี หม่อมฉันจะคอยสังเกต ถ้าเห็นเธอไม่สบายเมื่อใดก็จะรีบส่งกลับไป
เรื่องชื่อเมืองตะกั่วป่านั้น หม่อมฉันพบอธิบายเพิ่มเติมมีอยู่ในเรื่องสงครามระวางราชวงศไศเลนทรกับราชวงศโจละ-ทมิฬ ซึ่งดอกเตอร์ มะชุมดาร์ ชาวอินเดียแต่งพิมพ์ไว้ในหนังสือเครเตอร์อินเดีย (Greater India) เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒ ว่าในจารึกที่เมืองทมิฬมีชื่อเมืองต่างๆ ที่พระเจ้าราเชนทรมหาราช ในโจลราชวงศให้กองทัพเรือมาตีได้ในแหลมมลายูนี้ เมืองหนึ่งชื่อ ตะเลต ตะโกลัม (Talait) คำ Talai เปนภาษาทมิฬ แปลว่า “หัว” (Head) หรือ “จอม” (Chief) เขาเห็นว่าเปนเมืองเดียวกันกับที่เรียกในหนังสือมิลินทปัญหาว่าเมือง “ตักโกลา” (takkola) และที่เรียกในหนังสือภูมิศาสตร์ของปะโตเลมีว่า “ตะโกลา” (Takola) (ที่หม่อมฉันทูลไปแต่ก่อนแล้ว) และว่าอยู่ในแหลมมลายูทางด้านตะวันตกใต้ กิ่วกระ “Isthmus of Kra” (ตรงกับที่เมืองตะกั่วป่า) อีกประการหนึ่งหม่อมฉันได้เรียกนาย ลีม ฮกเซ่ง (คนที่ขึ้นชื่อในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีเนืองๆ) เปนผู้ทำเหมืองแร่ที่เมืองตะกั่วป่า มาถาม เขาชี้แจงว่าจีนเรียกดีบุกว่า เซียะ เรียกตะกั่วว่าเอี๋ยน ถือว่าเปนโลห ๒ อย่างต่างกัน ตีเมืองตะกั่วป่ากับเมืองตะกั่วทุ่งมีแต่แร่ดีบุก แร่ตะกั่วหามีไม่ ได้ความเรื่องเมืองตะกั่วป่าต่อมาดังนี้
ข้อที่ตรัสถามถึงพระยาเสนานุชิต (นุช) กับพระตะกั่วทุ่ง (กล่อม) นั้น พระยาเสนานุชิต นุช เปนบุตรเจ้าพระยานคร (น้อย) ได้เปนผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่ามาแต่ในรัชชกาลที่ ๓ ดังหม่อมฉันทูลไปในเรื่องเมืองตะกั่วป่าตอนที่ ๓ แต่เห็นจะแคล้วกันกับลายพระหัตถ์ฉะบับนี้ไม่มีอภินิหารแปลกปลาดอย่างใด นอกจากมีลูกมาก แต่ลูกที่มีชื่อเสียงปรากฏแต่ ๔ คน คือ พระยาเสนานุชิต (เอี่ยม) ลูกคนใหญ่ได้เปนผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่าต่อมาคน ๑ พระอิศราธิชัย (ชื่อตัวว่ากะไร หม่อมฉันจำไม่ได้และไม่เคยรู้จักตัวด้วย) ได้เปนผู้ว่าราชการเมืองกระบี่ อยู่ไม่ช้าก็ถูกพวกเจ๊กอั้งยี่ฆ่าตายคน ๑ อีกคน ๑ คือพระบริสุทธิโลหภูมินทร์ชื่อ กล่อม เคยเปนนายเล่ห์อาวุธแล้วได้เปนผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วทุ่ง แต่บุตรพระยาเสนานุชิต นุช คนเล็กชื่อ พลอย เปนดีกว่าเพื่อน มาเติบใหญ่เข้ารับราชการเมื่อครั้งหม่อมฉันว่ามหาดไทย ได้เปนผู้ว่าราชการเมืองกระบี่ก่อน แล้วย้ายไปเปนผู้ว่าราชการเมืองชุมพร สมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ พระราชทานราชทินนามว่า พระยาคงคาธราธิบดี (ทรงแปลงมาจาก พระยาเคางะธราธิบดี) ต่อมาได้เปนสมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพรอยู่ตลอดจนเลิกมณฑลนั้น เดี๋ยวนี้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองกระบี่ ลูกผู้หญิงของพระยาเสนานุชิต นุช ทำราชการข้างในเมื่อรัชชกาลที่ ๔ ก็หลายคน หม่อมเสงี่ยม ในกรมขุนศิริธัช ฯ ที่เปนมารดาหม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ ก็เปนลูกพระยาเสนานุชิต นุช เจ้าเมืองคนที่มีอภินิหารมากทางฝ่ายตะวันตกนั้นคือ พระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ) ผู้ว่าราชการเมืองพังงา เปนหลานเจ้าพระยานคร น้อย เรื่องวงศตระกูลของผู้ว่าราชการหัวเมืองฝ่ายตะวันตก หม่อมฉันเตรียมไว้ว่าจะเขียนในเรื่องเมืองตะกั่วป่าตอนท้ายที่จะถวายในสัปดาหะหน้า ในสัปดาหะนี้ได้ถวายมาอีกตอนหนึ่ง แต่ตอนที่ถวายมาในสัปดาหะนี้มีเรื่องที่แต่งเชือน ออกจะฟุ้งสร้านอยู่บ้าง แต่ก็หวังใจว่าคงจะไม่ทรงถือโทษ
หม่อมฉันได้เรื่องใหม่เหมือนกับพบขุมทรัพย์สำหรับทูลบันเลงอีกเรื่องหนึ่ง ด้วยตั้งแต่หม่อมฉันไปเห็นพิธีตั้งสังฆราชโรมันคาโธลิค ที่ได้เขียนทูลพรรณนาไปแต่ก่อน ก็นึกอยากเห็นพิธีบวชบาดหลวงสามัญมาแต่นั้น ครั้นต่อมาในกาลวันหนึ่งได้พบบาดหลวงอธิการวัดอัสสัมชัญในปีนัง หม่อมฉันถามว่าถ้ามีพิธีบวชบาดหลวงเมื่อใด หม่อมฉันจะขออนุญาตไปดูได้หรือไม่ แกบอกว่าไม่มีขัดข้องอย่างใด ครั้นเมื่อสัปดาหะที่ล่วงมาแล้วหม่อมฉันได้รับหนังสือเชิญจากคณะโรมันคาโธลิค ว่าจะมีพิธีบวชบาดหลวงในวันอังคารที่ ๓ ธันวาคมนี้ ขอเชิญหม่อมฉันไปดูตามประสงค์ จึงได้ไปดูด้วยกันกับหญิงพูน เขาพิมพ์ระเบียบการแจกเหมือนคราวก่อน การพิธีพิลึกกึกกือน่าดู