- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
ตำหนักปลายเนีน คลองเตย
วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๘
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ได้รับประทานแล้ว
เปนพระเดชพระคุณที่ทรงพระเมตตาตรัสแนะนำให้เขียนหนังสือถวายแต่น้อย การทำหนังสือนั้นประธานอยู่ที่ความคิด ถ้าคิดได้น้อยก็เขียนยาวไม่ได้อยู่เอง ถ้าคิดได้มากขยักเขียนแต่น้อยก็อกแตก แต่พระวิตกเรื่องนี้พ้นแล้ว เพราะหญิงอามทำการได้แล้ว
อยากทูลถามถึงคนสองคน พระยาเสนานุชิต (นุช ณนคร) คนนี้หรือมิใช่ ที่ไปเปนเจ้าเมืองพังงา ซึ่งมีชื่อเสียงหนัก กับนายเล่ห์อาวุธ ซึ่งเขารับราชการอยู่เมื่อเราเล็กๆ ดูเหมือนชื่อกล่อม โปรดตั้งเปนพระบริสุทธโลหเกษตรารักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่านั้น เปนลูกใคร ประหลาดใจที่เมื่อเขาเปนมหาดเล็กพูดเสียงกรุงเทพ ฯ จนรู้ไม่ได้ว่าเปนชาวนอก พอโปรดตั้งเปนพระบริสุทธก็กราบทูลเสียงเปนชาวนอกไปทันที
ขอพระเดชพระคุณที่โปรดประทานอธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่าตอนที่ ๒ ไปให้ทราบเกล้า ทำให้ได้ความรู้ขึ้นดีหนัก จะทูล “ตอด” ถวายในลางข้อที่รู้สึกในใจเช่นคราวก่อน แต่คราวนี้ไม่มีมากข้อ
๑ ในหนังสือเก่า เช่นตำราประสมทองของช่างหล่อเปนต้น ออกชื่อตะกั่วแบ่งเปนสองชะนิด คือตะกั่วนมอย่างหนึ่ง กับตะกั่วเกรียบอย่างหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าตะกั่วขาวกับตะกั่วดำ เกล้ากระหม่อมได้เรียนถามผู้รู้ถึงตะกั่วที่ออกชื่อไว้นั้นว่าผิดกันอย่างไร ได้คำอธิบายว่าถ้าแผ่เปนแผ่นบางแล้วดัดงอไป ตะกั่วนมจะอ่อนน่วมไปโดยละม่อม ตะกั่วเกรียบจะลั่นดังกรอบเกรียบ ตะกั่วขาวก็คือตะกั่วนมนั้นเอง ตะกั่วดำก็คือตะกั่วเกรียบนั้นเอง โดยคำอธิบายอย่างนี้จึงสันนิษฐานว่า ตะกั่วนม ตะกั่วขาวเปนตะกั่ว ตรงกับที่ฝรั่งเรียก lead ตะกั่วเกรียบ ตะกั่วดำ เปนดีบุก ตรงกับที่ฝรั่งเรียก tin คำว่าดีบุกไม่มีในตำราประสมทองของบุราณ น่าจะเปนคำภาษาอื่นเข้ามาสู่ภาษาไทยทีหลัง ตามที่กราบทูลทั้งนี้ โดยสงสัยว่าเมืองตะกั่วป่าเมืองตะกั่วทุ่งจะมีชื่อมาก่อนคำดีบุกเข้ามาสู่ภาษาไทย แต่ข้อที่ตรัสทักว่าชื่อเมืองทั้งสองผิดไวยากรณ์ภาษาไทยนั้น ถูกอย่างยิ่ง ถ้าพูดถึงที่ดินควรเรียกว่าเมืองป่าตะกั่วเมืองทุ่งตะกั่ว ต่อพูดถึงตะกั่วจึงควรเรียกว่าตะกั่วทุ่งตะกั่วป่า หรือหนึ่งในแถบนั้นเดิมจะเรียกว่าแขวงตะกั่วหรือเมืองตะกั่ว ครั้นภายหลังแยกออกเปนสองตำบลหรือสองเมืองจึงเกิดไม่เข้าใจต้องถามกันว่าตะกั่วไหน คำบอกที่จะให้เข้าใจจึงใช้คำป่ากับทุ่งต่อคำตะกั่วเปนอธิบาย แล้วก็เลยติดผิดไวยากรณ์ต่อมา จะเปนเช่นนี้ได้กระมัง
๒ เมืองตะนาวศรี กรมพระกำแพงเพชรได้ไปเที่ยวถึง ว่ายังพูดไทยกันจ้ออยู่จนทุกวันนี้เปนพื้น พูดพะม่านั้นเปนพิเศษจำเพาะติดต่อกับพะม่า ดูก็จะเปนอย่างมอญที่เข้ามาอยู่เมืองไทยนี้เอง
ตามที่ทูล “ตอด” มาคราวก่อน มีข้อหนึ่งซึ่งอ้างว่า ปราสาทหินในเมืองเขมรทำแก้จากแบบอินเดียเข้าหาแบบปราสาทซึ่งทำด้วยไม้มาก่อนในเมืองเขมรนั้น ยังบกพร่องอยู่ซึ่งดูเหมือนกับพูดปด เพราะปราสาทซึ่งทำด้วยไม้ไม่มีเหลืออยู่ให้เห็นแล้ว แต่ที่จริงเห็นได้จากรูปที่เขาฉลักไว้ตามฝา
เมื่อวานซืนนี้หญิงจงมาลา ว่าจะออกมาเฝ้าฝ่าพระบาท ถวายตัวให้ทอดพระเนตรเห็นว่าหายเจ็บอ้วนท้วนขึ้นแล้ว เกล้ากระหม่อมถามว่าจะมามีกำหนดกี่วัน เธอแสดงความประสงค์เปนว่าจะมาอยู่สนองพระเดชพระคุณแม้ว่าอยู่ได้ หากเห็นว่าอยู่ไม่ได้เพราะเจ็บอีกก็จะกลับ เปนทางที่เกล้ากระหม่อมไม่เห็นด้วยเลย จึงเทศนาแก่เธอว่าถ้าไม่มีใครสนองพระเดชพระคุณ เธอคิดเช่นนั้นก็ควรแล้ว แต่เมื่อมีคนอื่นสนองพระเดชพระคุณแทนเธอได้อยู่แล้วก็ไม่ควรคิดเช่นนั้น เพราะว่าที่เธอเจ็บมาแล้วไม่ใช่น้อย มีคนเปนอันมากเห็นว่าไม่ฟื้น ที่ฟื้นขึ้นได้นั้นเปนบุญหนักหนา แล้วจะกลับไปลองอีกว่าจะทนได้หรือไม่ ในที่ซึ่งอากาศผิดกันมาก ไกลจากหมอที่ประจำคอยดูแลรักษา ทั้งกล้วยหักมุกก็ไม่มีกิน ถ้ากลับเจ็บลงอีกเปนครั้งที่สอง จะเอาเปนแน่ได้หรือว่าจะรักษาให้กลับฟื้นได้อีก เห็นว่าควรไปเพียง ๗ วันเท่านั้น แต่เธออึดไม่เห็นด้วย ด้วยความกตัญญูของเธอ เกล้ากระหม่อมก็หวังอยู่ว่าฝ่าพระบาทคงจะรู้สึกในพระทัยเห็นอย่างเกล้ากระหม่อมเห็นเหมือนกัน คงจะตรัสไล่เธอกลับไป