- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
ตำหนักปลายเนีน คลองเตย
วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๘
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ทราบฝ่าพระบาท
ในเรื่องต่างๆ ซึ่งได้ทูลถวายมาแล้ว ย่อมขาดข้อความอยู่โดยหลงสืบบ้าง โดยคิดเห็นขึ้นใหม่บ้าง จึงจะกราบทูลเพิ่มเติมถวายต่อไปนี้
เพิ่มเติมเรื่องแต่งงานที่เมืองสุพรรณ
บาตรน้ำมนต์นั้น เขาตั้งไว้หน้าที่บูชาพระทางด้านหุ้มกลอง เวลาจะซัดน้ำจึงยกออกไปที่นอกชาล เวลาซัดน้ำพระสวดชยันโต
นึกข้อไขขึ้นได้อีกข้อหนึ่ง ที่ใช้คำว่าซัดน้ำ ไม่ใช่ว่ารดน้ำนั้น เพราะเหตุที่เจ้าสาวเจ้าบ่าวอาย จึงจัดแก้ให้มีเพื่อนสาวเพื่อนบ่าวเข้าคลุกคละเพื่อไม่ให้ปรากฏว่าคนไหนเปนเจ้าสาวเจ้าบ่าว ตามเหตุนั้นผู้รดน้ำจึงต้องรดไปทั่วทุกคน เจ้าสาวเจ้าบ่าวนั่งเบียดกันอยู่กับเพื่อนเปนกลุ่ม ผู้รดน้ำจะบุกเข้าไปรดให้โดยละม่อมทั่วทุกคนไม่ได้ จึงต้องใช้กิริยาสาดหรือซัดน้ำให้ถูกทั่วกัน
เพิ่มเติมเรื่องโกศ
๑ ลองโกศโถ จะต้องเก่าก่อนลองอย่างอื่นหมด เพราะมีสัญฐานกลม ก้นรัด ปากผาย ฝาเปนทรงปริก เหมือนกับโกศนั้นเอง เห็นได้ว่าทำถ่ายเอารูปโกศมาโดยตรง เพื่อฉลักเฉลาแล้วประกอบเข้ากับโกศให้ดูงาม
๒ ลองอย่างฝาเปนหลังคา จะต้องเปนความคิดอันเกิดขึ้นเปนที่สอง สืบมาแต่มณฑปที่ตั้งศพเหนือชั้นไพที ถ้าจะอ้างแบบเก่าก็คือที่ปรากฏในเรื่องสิบสองเหลี่ยม หรือจะชี้แบบใหม่ก็คือพระเมรุพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเอามาย่นเล็กลงเปนชั้นตั้งศพ ซึ่งเรียกว่าเครื่องศพ อย่างที่พระทำไว้ให้เช่าตามวัดแต่ก่อนฉะนั้น ที่ชั้นแต่ละชั้นมีพะนักและซุ้มรูปภาพซุ้มประตู อย่างเดียวกับชั้นบวรพุทโธที่ประเทศชะวา ขาดแต่บันไดเพราะเปนของเล็ก ไม่มีกิจที่จะพึงขึ้นก็ไม่ได้ทำ ส่วนตัวมณฑปนั้น สมมตเอาหีบเปนตัวเรือน ต่อยอดเปนกูฎาคารอันเรียกกันว่าเหม เชื่อว่าโกศชะนิดยอดเปนกูฎาคารตั้งชั้นเบญจานั้น เอาอย่างแบบเครื่องศพหีบมาทำ จึงมีอยู่ด้วยกันได้ทั้งศพโกศศพหีบ ถ้าศพโกศคิดทำขึ้นก่อนศพหีบจะมีเหมือนไม่ได้ ด้วยจะต้องถูกห้าม หรือมิฉะนั้นก็ไม่กล้าทำเอง เพราะเห็นต่ำสูง
๓ ลองอย่างฝามงกุฎนั้น คงเกิดจากยอดโกศที่ทำทรงฝาสูงเปนกูฎาคารขึ้นได้นั้นนำไป ให้มีความคิดเปลี่ยนแปลงเปนทรงมงกุฎตามยศศพซึ่งจะพึงสรวมมงกุฎได้ขึ้นอีก นับว่าเปนอย่างที่สาม และมิใช่จะทำแต่ยอดโกศเท่านั้นยังทำเปลี่ยนแปลงไปถึงยอดประตูและยอดมณฑปจริงๆ อีกด้วย
๔ โกศศพกับโกศกระดูกนั้นมีสัญฐานไม่เหมือนกัน โกศศพมีสัณฐานอ้วนเตี้ย โกศกระดูกมีสัญฐานผอมสูง แล้วก็แปลกกันที่โกศศพนั้นจะใส่ได้แต่ศพผู้มีศักดิสูง ส่วนโกศกระดูกนั้นใส่ได้ไม่ว่ากระดูกใครแม้เปนคนสามัญ จึงนำให้เห็นได้ว่าโกศกระดูกนั้นเปนของสามัญซึ่งมีมาก่อน โกศศพเอาอย่างไปทำทีหลังเปนของพิเศษ เมื่อเปนดังนั้น โกศกระดูกจะมาแต่สิ่งใดเล่าโดยพิจารณาเห็นมีสัณฐานผอมสูงใกล้ไปทางกล่องของโบราณ เช่นกล่องพระราชสาสน์ กล่องพระสุพรรณบัตร กล่องดวงใจที่เขาเขียนในเรื่องรามเกียรติ ตลอดจนกล่องเข็มที่กลึงไม้ใช้บวชนาคกันมาแต่ก่อน ย่อมเปนรูปเดียวกัน คงเอากล่องที่มีโล่อะไรอยู่ในเรือนนั้นเองมาใช้ใส่กระดูกก่อน ภายหลังจึงคิดทำฐานทำยอดให้วิจิตรพิสดารประกอบขึ้น
----------------------------
เรื่องวัจจกุฏินั้น พระงั่วมาให้ข่าวว่าค้นพบแล้วในบาลีพระวินัย แต่ติดศัพท์มาก ไม่ค่อยจะเข้าใจ รูปความก็คือว่าแต่ก่อนพระก็เที่ยวถ่ายอุจจาระกันเรี่ยราด ทำให้ปฏิกูลเปนที่เดือดร้อนกันทั่วไป พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้ไปรวมถ่ายกันในที่อันเดียว อาศัยพื้นดินที่เปนหลุมเปนแอ่ง การถ่ายร่วมในที่เดียวมากด้วยกันนั้น สิ่งโสโครกหมักหมมมูลมอง ทำให้เกิดไม่สดวกแก่ผู้ถ่ายขึ้นด้วยประการต่าง ๆ เปนชั้นๆ มา ที่ติดศัพท์ก็ที่สิ่งซึ่งทรงอนุญาตให้ทำขึ้นนั้นแหละเปนศัพท์จำเพาะสิ่งนั้นซึ่งลางศัพท์ก็ทราบไม่ได้ว่าเปนสิ่งใด จะหาอภิธานช่วยก็ไม่มีในอภิธาน ถามผู้ใหญ่แม้จะมีอกถึงสามศอกก็ไม่สามารถที่จะบอกได้ ฟังเล่าเท่าที่เธออ่านเข้าใจดูศรีวิลัยมากอยู่ ที่ถ่ายนั้นให้ต่อฐานยกสูงขึ้นไปแล้วเจาะล่องมีเขียงรองท้าวบนฐานนั้นด้วย ล่องนั้นให้มีฝาปิด แล้วให้มีหลักชัยปักไว้ที่ข้างฐานนั้นด้วย สำหรับพระแก่จะได้ยึดปีนขึ้นบนฐาน เพราะเคยมีท่านผู้แก่ปีนขึ้นหกล้มตกลงมา อะไรก็ไม่รู้สึกจับใจเท่ากับที่สั่งให้มีรั้วล้อมวัจจกุฏิรอบนอก และมีประตูประกอบอีกชั้นหนึ่งด้วย เห็นว่าดีกว่าวัจจกุฏิที่มีอยู่ตามวัดซึ่งเห็นอยู่ทั่วไปในเมืองเรานี้ อาจที่จะกันไม่ให้สัตวเข้าไปขุดคุ้ยให้สิ่งโสโครกกระจุยกระจายได้ ทั้งกันคนมิให้เข้าใกล้วัจจกุฏิซึ่งจะรู้สึกสอิดสเอียนที่สิ่งโสโครก และกันความจุ้นจ้านอันจะเปนที่รำคาญแก่พระสงฆ์ซึ่งเปนผู้ไปถ่ายนั้นด้วย ได้บอกให้เธอจดบันทึกตามที่เธอเข้าใจมาให้เมื่อได้มาแล้วจะส่งมาถวาย
ฝ่ายทางนายชิต ซึ่งขอให้ช่วยสืบเมืองชุมพรเก่าให้นั้น ก็ได้ส่งจดหมายบันทึกของคนแก่ ซึ่งแกไปไล่เลียงได้ความมาให้ ยังไม่ได้เรื่องเมืองเก่าจริงแต่ก็ดีพอใช้ที่ไล่ขึ้นไปได้จนถึงครั้งเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลท่าแซะ ได้คัดสำเนาถวายมานี้แล้ว เขาว่าเขายังสืบต่อไป แผ่นดินเมืองชุมพรเห็นจะงอกออกมาใหม่มาก เมืองเก่าจึงเข้าไปอยู่ลึกลับ
เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนก่อน ได้ทำบุญอุทิศกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่บ้านคลองเตย อนี้ทูลถวายเพื่อทรงอนุโมทนา ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ ๒๓ เวลาบ่าย ๕ โมง เกล้ากระหม่อมพร้อมด้วยครอบครัว พากันเข้าไปถวายบังคมพระบรมอัฏฐิในพระที่นั่งจักรี แล้วพากันไปที่พระบรมรูปปัญจมราชานุสสรณ์ได้พยายามทําธงดอกไม้สดพร้อมด้วยเครื่องสักการอื่น ไปบูชาถวายบังคม ปีนี้เปลี่ยนมือเปนสำนักพระราชวังจัดการ แต่ก็ได้ยินว่ากระทรวงมหาดไทยได้ช่วยอยู่มาก ดูรูปงานก็ไม่มีเปลี่ยนแปลงอะไรไป ดอกไม้ผูกร้อยอย่างประณีตมีไปถวายมาก เปนของคณะข้าราชการ ของโรงเรียนต่าง ๆ ของสมาคมต่าง ๆ และร้านต่างๆ ก็มี แต่เสียใจที่เอาไปตั้งประดับไว้อย่างซับซ้อนจนดูเห็นยากเต็มที เพราะมีเนื้อที่น้อยนัก ถ้าหากมีที่กว้างจัดเรียงรายให้เห็นจะแจ้งได้จะน่าชมไม่น้อยเลย ผู้ให้อย่างพระอนุสสรณ์นั้นมีใจคับแคบเต็มที ไม่มีอะไรนอกจากมีหลักฐานขึ้นไปรับพระบรมรูป ลักษณเหมือนเอาอิฐตะแคงไปตั้งไว้แผ่นหนึ่งแล้วก็ปักหลักขึงโซ่ล้อมไว้แคบ ๆ เท่านั้น ที่ท้องพระลานยังมีกว้างอยู่อีกถมไป จะคิดทำให้ผึ่งผายกว่านั้นอีกหน่อยก็ทำได้
ท่านเม้าทูลลาไปปรโลกเสียแล้ว ดูก็สมควรแก่กาละ เพราะอายุก็มากแล้ว ทั้งทุพพลภาพอยู่หนักด้วย
เวลานี้ในกรุงเทพฯ ฝนกำลังตกหนักเอาในปลายรดู ตกเสียวันยังค่ำคืนยังรุ่งก็มี เกือบเหมือนที่หาดใหญ่ ตามหัวเมืองต่างๆ ก็ตกหนัก มีบอกข่าวน้ำท่วมหลายหัวเมืองด้วยกัน