- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
Cinnamon Hall,
206 Kelawei Road, Penang. S.S.
วันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๗
ทูล สมเด็จกรมพระนริศร ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ฉะบับลงวันที่ ๒๐ กันยายน กับซองจดหมายซึ่งหม่อมฉันส่งไปถวายจากปินัง มีรอยตัดและมีตั๋วตราผนึกไปรษณีย์ปิดไว้เปนสำคัญ ๒ ใบมาให้เห็น ก็ไม่เปนของปลาดใจ ขอทูลสนองตามคำลูกหญิงพูดกัน ว่าใครเปิดซองลายพระหัตถ์ของท่านกับจดหมายของหม่อมฉันที่มีไปมาถึงกัน ถ้าเปนคนฉลาดเอาใจใส่จำข้อความในนั้นก็จะได้ความรู้เปนประโยชน์แก่ตัว มิฉะนั้นก็เหนื่อยเปล่า แต่ซองอันนี้หม่อมฉันเห็นว่าเปนของดีอยู่บ้าง สำหรับเก็บเอาไว้ดูเปนอนุสสรณ์
พระวินิจฉัยเรื่องที่อาศัยที่ประทานตอบมา ตอนว่าด้วยหมวดที่อาศัยซึ่งอยู่กับพื้นดิน ตรงกับวินิจฉัยของพวกนักปราชญ์ฝรั่งทีเดียว ในหมวดพื้นสูง เมื่อพิจารณาอธิบายที่ประทานมา หม่อมฉันเห็นว่า เรือน จะหมายว่า-เคหะ-อันเปนที่อยู่ คู่กับ หอ ซึ่งหมายว่า-เคหะ-อันมิใช่ที่อยู่ ด้วยเคหะต่าง ๆ ที่เรียกว่าหอนั้นเปนของสูงน้อยกว่าที่เปนของเตี้ยเสมอกับเรือน ข้อขัดกับที่ว่านี้มีแต่หอบ่าวสาว แต่หอบ่าวสาวก็ไม่ใช่เรือนอยู่ประจำ เปนแต่ปลูกอยู่ชั่วคราว
คำว่า ศาน หม่อมฉันไม่ทราบว่ากรมหมื่นพิทยาลงกรณได้เคยทรงพิจารณาแล้ว หม่อมฉันเห็นชอบด้วยว่าเปนคำหนึ่งต่างหาก มิใช่มาจากศาลา แต่จะลงเนื้อเห็นว่ามูลมาแต่อะไรยังไม่แน่ใจ ถ้าจะเอาคำที่เรียกว่า ศานเจ้า ศานเพียงตา มาเปนหลักวินิจฉัยว่าเปนที่ไว้วางของศักดิ์สิทธิ์ จะหาอธิบายทางนี้ต่อไปถึงศานชำระความก็ได้ ด้วยในโรงชำระความ น่าจะมีศานเทพารักษ์สำหรับพะยานอธิษฐานสาบานตัว หม่อมฉันเคยพบเห็นวัตถุเช่นว่านั้นเองทีเดียว ด้วยเมื่อแรกไปว่ามหาดไทย เห็นมีเจว็จเทวรูปตั้งอยู่ในห้องกลางอันหนึ่ง หม่อมฉันถามว่าสำหรับทำไม เขาบอกว่าเจว็จนั้นเดิมเปนของสำหรับศานหลวงเมื่อตั้งอยู่ในศาลาลูกขุนเดิมฝ่ายขวา ครั้นเมื่อรื้อศาลาลูกขุนเดิมทำตึกใหญ่ จึงเก็บเอามารักษาไว้ หม่อมฉันยังสั่งให้เก็บรักษาต่อมา แต่เมื่อย้ายกระทรวงมหาดไทยออกไปอยู่นอกวังเมื่อภายหลัง จะทิ้งขว้างหรือยังรักษาเจว็จนั้นไว้ที่ไหน หม่อมฉันหาทราบไม่
สัปดาหะนี้ หม่อมฉันมีวินิจฉัยชอบกลสำหรับถวายทรงพิจารณาเรื่อง ๑ จะว่าวินิจฉัยเครื่องโสโครกก็ได้ ด้วยเมื่อเร็ว ๆ นี้หม่อมฉันไปพลิกหนังสือเสภาตอนขุนแผนลักนางวันทอง อ่านไปถึงขุนช้างทูลฟ้องว่าขุนแผนเปนกบถ เห็นแต่งคำขุนช้างทูลตรงนั้นว่า
“มันปลูกตำหนักป่าพลับพลาแรม ค่ายป้อมล้อมแหลมเปนหน้าฐาน
ตั้งที่ลงบังคนชอบกลการ นานไปก็จะเกิดกลีเมือง”
พิเคราะห์ความที่กล่าวตรงนี้ส่อให้เห็นว่าตามประเพณีโบราณ “ที่ลงบังคน” เปนของมีได้แต่ของพระเจ้าแผ่นดิน (หรือมีต่อลงมาได้เพียงเจ้านาย เพราะเรียกอุจจาระของเจ้านายว่า บังคน เหมือนกัน) แต่คนสามัญจะมีที่ลงบังคนไม่ได้ ปัญหาจึงมีว่าที่ลงบังคนนั้นผิดกับที่ถ่ายอุจจาระของคนสามัญอย่างไร ข้อนี้หม่อมฉันนึกว่าจะมีผู้บอกอธิบายได้ในเวลานี้น้อยทีเดียว เพราะที่ลงบังคนของโบราณสูญไปเสียหมดแล้ว ตัวอย่างเคยมีอยู่ในวังหน้า เปนของกรมพระราชวังบวร ฯ รัชชกาลที่ ๑ ทรงสร้างพร้อมกับพระวิมาน เปนตึกสี่เหลี่ยมอยู่ในชาลา เดี๋ยวนี้แก้เปนสนามหญ้า) ระหว่างพระวิมานข้างละหลัง เรียกว่าหอลงบังคนหลัง ๑ หอสรงหลัง ๑ เคยได้ยินว่าที่ในวังหลวงเดิมก็มีหอสรงและหอลงบังคน ปลูกไว้ต่างหากทำนองเดียวกับที่ในวังหน้า เพราะทำตามอย่างพระราชวังกรุงศรีอยุธยาด้วยกัน แต่ในรัชชกาลที่ ๑ นั้นเองมีเหตุผู้ร้ายลอบเข้าไปได้ถึงบริเวณพระราชมณเฑียร จึงย้ายที่ลงบังคนขึ้นไปกั้นเปนห้องในพระวิมานที่เสด็จประทับ แต่ทางวังหน้าทั้งหอสรงและหอลงบังคนยังอยู่มากว่าร้อยปี พึ่งรื้อเสียครั้งเอาพระวิมานเปนโรงทหารเมื่อเร็ว ๆ นี้ จึงอาจวิสัชนาลักษณที่ลงบังคนได้ ว่าสร้างเปนหอหลังหนึ่งต่างหากสำหรับเสด็จไปลงบังคน แล้วเอาบังคนไปเททิ้งที่อื่น นึกขึ้นได้ว่าตัวอย่างหอลงบังคนที่ทำชั้นหลัง ดูเหมือนจะยังเหลืออยู่ ในเวลานี้หลัง ๑ ในหมู่พระที่นั่งทรงผนวช ซึ่งย้ายเอาไปปลูกไว้ในวัดเบญจมบพิตรฯ เพราะที่ลงบังคนปลูกเปนหอหลังหนึ่งต่างหากดังว่ามา ที่ลงบังคนมีที่ไหนจึงต้องเห็นประจักษ์ตาคนภายนอก ผิดกับที่ถ่ายอุจจาระของคนสามัญด้วยประการฉะนี้
ที่ถ่ายอุจจาระของคนสามัญนั้น ดูเหมือนมนุษย์จะถือคติตามธรรมดาเหมือนกันหมด ว่าควรถ่ายอุจจาระณที่ว่างให้ห่างบ้านเรือน เพราะอุจจาระมีกลิ่นปฏิกูลและบางทีมีเชื้อโรคร้ายอยู่ในนั้น ถ่ายลงณที่ใดแล้วต้องกลบให้ลับสูญไปด้วย ความข้อนี้มีในหนังสือบาดหลวงดือบัวแต่งอธิบายขนบธรรมเนียมของพวกฮินดู (ที่หม่อมฉันได้ถวายท่านเล่มหนึ่งนั้น) ว่าในพวกฮินดูมีวินัยสำหรับการถ่ายอุจจาระ เริ่มต้นแต่ตื่นนอนต้องเตรียมของสิ่งนั้น ๆ ติดตัวออกจากบ้าน ไปเที่ยวหาที่ว่างให้ห่างบ้านเรือนผู้คนประมาณระยะเท่านั้นๆ ให้ขุดหลุมอย่างนั้น ๆ ถ่ายอุจจาระแล้วให้ชำระตัวและกลบหลุมอย่างนั้น ๆ แล้วไปลงอาบน้ำชำระกายให้สอาด เสร็จแล้วจึงให้กลับไปบริโภคอาหารยังบ้านเรือน ไทยเราแต่โบราณก็คงถือประเพณีเช่นชาวอินเดีย จึงมีคำพูดจนติดปากเมื่อกล่าวถึงไปถ่ายอุจจาระ ชอบว่า “ไปทุ่ง” แสดงความว่าไปถ่ายอุจจาระในทุ่งว่างห่างบ้านเรือนผู้คน ต่ออยู่ในที่จำกัดเช่นในบริเวณเมือง อันปลูกบ้านเรือนติดต่อกันไปไกลไม่มีที่ว่าง จึงทำเว็จเปนที่ถ่ายอุจจาระเหมือนอย่างว่าพอแก้ขัด ข้อนี้เมื่อพิจารณาลักษณเว็จที่ทำกันแต่โบราณดูยังชอบกล ถ้าอยู่ใกล้ลำน้ำก็ทำเว็จถ่ายอุจจาระลงในน้ำให้น้ำพาไหลลอยสูญไป ถ้าอยู่ห่างลำน้ำก็ทำเว็จถ่ายอุจจาระลงไว้บนพื้นแผ่นดิน แม้ที่ตำหนักรักษาหรือเรือนผู้ดี ที่ฐานะไม่ถึงจะ “ตั้งที่ลงบังคน” แต่รังเกียจการไปถ่ายอุจจาระที่เว็จร่วมกับบ่าวไพร่ ก็มักเจาะล่องถ่ายอุจจาระลงกับพื้นแผ่นดินในใต้ถุนตรงที่ถ่ายอุจจาระนั้น ประเพณีที่ถ่ายอุจจาระแล้วให้คนเอาไปเททิ้งที่อื่น (ดังเช่นใช้กันในปัจจุบันซึ่งพึ่งเกิดขึ้นใหม่ภายใน ๔๐ ปีมานี้) แต่ก่อนหามีไม่ ที่ลงบังคนจึงผิดกับเว็จสามัญด้วยเอาบังคนไปเททิ้งที่อื่นอีกอย่างหนึ่ง
เหตุใดพระเจ้าแผ่นดินแต่โบราณจึงต้องมี “ที่ลงบังคน” ผิดกับคนสามัญดังกล่าวในเสภา คิดดูก็พอเห็น เพราะเสด็จอยู่ในที่มีการพิทักษ์รักษา จึงต้องตั้งที่ลงบังคนใกล้ชิดกับที่ประทับ เมื่อตั้งที่ลงบังคนใกล้ ๆ ก็ต้องเอาบังคนไปเททิ้งที่อื่นมิให้เกิดกลิ่นปฏิกูล เมื่อคิดต่อไปว่าไฉนคนสามัญชั้นที่เปนคฤหบดีมีทรัพย์ จึงไม่ทำที่ถ่ายอุจจาระอย่างให้คนขนเอาไปเททิ้งที่อื่นใช้กันแพร่หลายมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าน่าจะเปนเพราะสมัยนั้นคนยังไม่ทะเยอทยานอยากได้เงินถึงกับสิ้นรังเกียจเกลียดกลัวอุจจาระ จะหาคนเต็มใจรับจ้างขนอุจจาระยาก จึงสามารถใช้เว็จอย่างนั้นได้แต่ผู้มีบุญ ข้อนี้จะป่วยกล่าวไปไยถึงกาลก่อน แม้ในปัจจุบันนี้ถ้าลองจำกัดเจ๊กจับกังเสียจาก “บริษัทสอาด” (จะเรียกว่าอะไรในเวลานี้หม่อมฉันไม่ทราบ จึงเรียกตามชื่อเดิม) เอางานมาให้เปนการสงเคราะห์แก่พวกกรรมกรไทยที่ว่างงาน ก็เห็นจะไม่ใคร่มีใครรับ.