- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
Cinnamon Hall,
206 Kelawei Road, Penang. S.S.
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘
ทูล สมเด็จกรมพระนริศร ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ฉะบับลงวันที่ ๑๓ มีความยินดีที่ทราบว่าโปรดเรือนที่หม่อมฉันสร้างไว้ณสำนักดิศกุล แต่ออกรำคาญที่ทราบว่ามีอาการไม่ทรงสบายอยู่บ้าง น่าจะเปนด้วยระดูกาลปีนี้วิปริตตั้งแต่ต้นปีมาลูกหมากรากไม้อะไรบกพร่องไม่บริบูรณ์ทั้งนั้น แต่ก่อนมาพอเปลี่ยนเปนระดูลมตะวันตกยืนที่ ฝนตกแล้วอากาศก็เย็น แต่ปีนี้หม่อมฉันได้ยินจากคนที่ออกมาจากกรุงเทพ ฯ พูดต้องกันหลายคนว่าระดูกาลไม่เปนปกติ ฝนก็ตกแต่ยังร้อนและมักมีไข้จับ สังเกตดูที่ปีนังนี้ก็ผิดกับปีกลาย เมื่อปีกลายพอระดูลมตะวันตกลงเต็มทีแล้ว กลางคืนก็เย็นต้องนอนห่มผ้าทุกคืน มาในปีนี้กลางคืนยังร้อนไม่ต้องห่มผ้ามาจนบัดนี้ คนที่ปีนังก็บ่นกันอยู่เหมือนกัน หรือมันจะเปนเรื่องเนื่องจากภูเขาไฟอะไรระเบิดที่ช่องเกาะชะวาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ที่ปีนังก็ไม่ห่างเท่าใดไม่ได้รู้สึกว่ามีเหตุการณ์เปนอย่างใด นอกจากเห็นในหนังสือพิมพ์
เรื่องประวัติเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อมาเห็นความในลายพระหัตถ์ฉะบับนี้จึงรู้สึกว่าหม่อมฉันทูลอธิบายขาดไปข้อ ๑ คือเรื่องที่เปลี่ยนชื่อเมืองกาญจนดิษฐ์เปนเมืองไชยา หม่อมฉันเองเปนผู้เปลี่ยน เพราะมณฑลชุมพรอาณาเขตต์น้อยจัดเปน ๔ เมือง คือชุมพร หลังสวน ไชยา กาญจนดิษฐ์ ตามเมืองที่มีอยู่เดิมสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น จึงให้รวมเมืองไชยากับเมืองกาญจนดิษฐ์เข้าเปนเมืองเดียวกัน ให้ชื่อเมืองไชยาด้วยเปนชื่อเก่า เอาชื่อเมืองกาญจนดิษฐ์ซึ่งเปนชื่อใหม่ไปให้เปนชื่ออำเภอ รักษาชื่อนั้นไว้ไม่ให้สูญเสีย
หนังสือรัตนาวลีของพระนาคารชุน หม่อมฉันได้มาเล่ม ๑ เหมือนกัน นึกสรรเสริญความรู้และความอุตสาหะของพระสารประเสริฐที่แปลได้ถึงอย่างนั้น หวังใจว่าสมุดเล่มนั้นจะเปนเครื่องพิศูจน์คุณวุฒิของพระสารประเสริฐอยู่ต่อไป
เรื่องคำที่เรียกมหายานและหินยานไปต่าง ๆ อย่างอื่นนั้น ต้นตำนานดูเหมือนจะมีมาแต่ครั้งทุติยะสังคายนาเมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ เมื่อสังคายนาแล้วพวกพระสงฆ์ที่ทำสังคายนา (ซึ่งมาได้นามว่าหินยานเมื่อภายหลัง) เรียกนามพวกของตนเองว่านิกายเถรวาท เรียกพวกที่ไม่เข้าทำสังคายนาว่านิกายอาจาริยวาท ครั้นต่อมาพวกหินยานเรียกตนเองว่าสทาวีระ เรียกพวกอื่น ๆ ว่ามหาสังทิกะ พระเจ้าอโศกฟื้นพระสาสนากำจัดพวกสังทิกะ เหลือแต่พวกสทาวีระ แต่พวกมหาสังทิกะนั่นเอง ไปเฟื่องฟูขึ้นในคันธารราษฐ์เมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ เกิดเปนนิกายมหายาน จึงเรียกพวกสทาวีระว่าหินยาน มันเปนแล้วแต่ทีของใครก็ให้ชื่อยกย่องพวกของตน กดพวกโน้นให้เลวลง แต่คำที่เรียกว่ามหายานและหินยานในเวลานี้ ดูมันเหมือนกับคนชื่อดำชื่อแดง เรียกกันเสียแพร่หลายแล้ว ในหนังสือที่ฝรั่งแต่งที่เขาพยายามจะแก้เรียกว่านิกายเหนือและนิกายใต้ เหมือนเช่นพระสารประเสริฐจะเรียกว่าอุดรยานและทักษิณยานก็มี แต่ก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนชื่อมหายานและหินยานได้ ด้วยเรียกกันเสียเคยปากมานานแล้ว
หม่อมฉันนึกถึงกถามรรคที่จะทูลในจดหมายฉะบับนี้ สำหรับทรงพิจารณาได้เรื่อง ๑ ว่าด้วยลักษณพระเจดีย์ สังเกตดูลักษณพระเจดีย์ที่สร้างในเมืองเรามาแต่โบราณมี ๕ อย่าง คือ
๑. พระเจดีย์อินเดีย ก่อฐานเปน ๔ เหลี่ยมยกสูงขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือสองชั้น แล้วตั้งองค์พระสถูปบนนั้น พระเจดีย์ทรงอินเดียเก่าที่สุดเปนพระเจดีย์ศิลาทราย จะได้มาจากที่ไหนหม่อมฉันจำไม่ได้ มีอยู่ในพิพิธภัณฑสถานองค์ ๑ สูงสักศอกหนึ่ง
๒. พระเจดีย์ทรงมณฑปแบบศรีวิชัย มีพระธาตุไชยาเปนตัวอย่าง
๓. พระปรางค์ ได้แบบมาแต่เขมร
๔. พระเจดีย์ลังกา แปลงมาจากพระเจดีย์อินเดียนั่นเอง แต่ทำทรงระฆังสูง ฐานต่ำลง
๕. พระเจดีย์เหลี่ยม พระเจดีย์เหลี่ยมนี้เดิมทีเดียวทำเปนยอดพุ่มเข้าบิณฑ์ตั้งบนฐาน ๓ ชั้น เกิดขึ้นในอาณาเขตต์สุโขทัย หม่อมฉันเห็นรูปในหนังสือพิมพ์จึงทราบว่าพระเจดีย์สุโขทัยนั้น ได้แบบมาจากเมืองจีน คงจะมาครั้งพระเจ้ารามคำแหง แต่มาเลิกสร้างเพียงสิ้นสมัยกรุงสุโขทัยนั้นเอง พระเจดีย์เหลี่ยมมาเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เปนทรงสถูป แก้แต่ทำเปนเหลี่ยม คิดดูตามตัวอย่างที่พบน่าจะเกิดขึ้นไม่ก่อนรัชชกาลพระเจ้าปราสาททองช้านานนัก
คราวนี้จะทูลต่อลงมาถึงพระเจดีย์ในครั้งกรุงรัตนโกสินทรนี้ให้ทรงพิจารณาว่าหม่อมฉันจะสังเกตผิดหรือถูก คือในรัชชกาลที่ ๑ และที่ ๒ สร้างแต่พระปรางค์ เช่น พระปรางค์วัดระฆัง วัดพระศรีรัตนศาสดารามเปนต้น กับพระเจดีย์เหลี่ยม เช่น พระเจดีย์ทองในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระเจดีย์ศรีสรรเพ็ชญ์ในวัดพระเชตุพน ฯ เปนต้น แต่พระเจดีย์ลังกาหาได้สร้างในวัดสลักสำคัญอันใดไม่ มาจนถึงรัชชกาลที่ ๓ น่าจะอาศัยเหตุที่ทูลกระหม่อมเสด็จไปเที่ยวเมืองเหนือ จึงริสร้างพระเจดีย์ทรงลังกาในกรุงเทพฯ นี้ น่าจะเปนองค์ที่วัดบวรนิเวศนฯ และวัดประยูรวงศ์ฯ เปนก่อนเพื่อน พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงสร้างพระเจดีย์ทรงลังกาเลยสักองค์เดียว หม่อมฉันขอถวายคดีเรื่องนี้ได้ทรงพิจารณาหาหลักฐานต่อไป.