- เมษายน
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กฎมณเฑียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น เรื่องกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๓)
- วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็น กฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๔)
- —บทระเบง (ตามที่สืบสอบมาได้)
- พฤษภาคม
- วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพของภิกษุ
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- สิงหาคม
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๒)
- วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร (๓)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ตุลาคม
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- —ประวัติย่อของเมืองชุมพรเก่าตอนหนึ่ง
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า
- วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๓
- วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๔
- วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เรื่องตั้งเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๕
- วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —รายการงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —อธิบายชื่อเมืองในมณฑลอุดรและอิสาณ
- —กะรายวันไปเที่ยวเมืองพะม่า
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —กำหนดระยะทาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- —อธิบายรูปฉายาลักษณ์งานพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ ฯ
- —อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่า ตอนที่ ๖
- วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- กุมภาพันธ์
- มีนาคม
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๑ ออกจากเมืองปีนังไปเมืองร่างกุ้ง
- วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ตอนที่ ๒ เที่ยวเมืองร่างกุ้งเมื่อขาไป
- วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ดร
- —เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า ต่อในตอนที่ ๒
- วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
บันทึกความเห็นในกฎมนเทียรบาลพะม่า (ต่อ) (๕)
พิธีสิบสองเดือน
เดือน ๕ พิธีสงกรานต์ ทำอะไรเหมือนกับเมืองเราทุกอย่าง ต่างไปแต่การสรงมุรธาภิเษก มีพระอัครมเหษีขึ้นพระมณฑปสรงด้วย ซึ่งทางเราสรงแต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียว กับข้าราชการตักน้ำในแม่น้ำแห่มาถวายพระเจ้าแผ่นดินนั้น ทางเมืองเราไม่มีทำ เห็นจะเปนด้วยเมืองพะม่าตั้งชื่อแม่น้ำที่ตั้งเมืองหลวงเรียก “อจิรวดี” ตามชื่อแม่น้ำแถวหนึ่งในห้าแห่งประเทศอินเดีย ซึ่งถือกันว่าเปนแม่น้ำศักดิสิทธิ จึงตักน้ำในแม่น้ำนั้นมาถวายสรงเพื่อเกิดสวัสดิมงคล แต่นามอจิรวดีนั้นเรียกเลือนไปเสียเปน “อิราวดี”
เดือน ๖ พิธีสมโภชน้ำเสก ทางเมืองเราไม่มีทำที่จะพึงเอามาเทียบกันได้ ดูจะเปนพิธีทางพระพุทธศาสนา เหตุว่าลงท้ายน้ำนั้นเอาไปสรงพระพุทธรูป ส่วนการมีละครนั้น ดูจะมาตรงกับที่ทางเรามีละครบวงสรวงในพระบรมมหาราชวัง แต่เราทำในเดือน ๕ เปนงานขึ้นปีใหม่
เดือน ๗ ซึ่งมีพิธีสี่อย่าง คือ
๑) พิธีขอฝน วิธีทำก็คล้ายกันกับทางเมืองเรา แต่เราไม่ได้ทำเปนงานประจำปี ต่อปีใดฝนแล้งเราจึงทำ
(๒) พิธีสอบพระปริยัติธรรม เมืองเราก็มีเหมือนกัน แต่กำหนดวันสอบและหลักสูตรไม่ตรงกัน
(๓) พิธีขออภัย ทางเมืองเราทำกันแต่ทางวัด พระภิกษุนำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายพระเถรกล่าวคำขมาโทษ ทำกันในกาลเข้าวรรษา ลางทีทางเมืองพะม่าจะเห็นชอบในการกระทำอันนั้น ถ่ายทอดมาให้คฤหัสถ์ทำกันขึ้น
(๔) พิธีแรกนา มีการกระทำตรงกัน แต่ทางพะม่าพระเจ้าแผ่นดินยังคงเสด็จออก ทรงจรดพระนังคัลด้วยพระองค์เอง ตามประเพณีโบราณอยู่ ทางเราใช้วิธีแต่งผู้แทนพระองค์ไปจรดพระนังคัลเสียแล้ว พิธีแรกนาเราทำในเดือน ๖ ฝนจะตกหรือยังไม่ตกก็ทำ โดยถือว่าเข้าฤดูฝนแล้ว การที่เราทำโดยรีบรุดเช่นนั้น เพราะดูเหมือนแต่ก่อนจะมีข้อห้ามไม่ให้ใครลงมือทำนาก่อน พระเจ้าแผ่นดินทรงทำการแรกนาแล้ว หากว่าไม่รีบรุดทำพิธีแรกนาเสียโดยเร็ว แขวงหัวเมืองที่ฝนตกก่อนราษฎรจะเสียผลด้วยต้องรอการทำนาไว้ภายหลังในกรุง แต่ทางเมืองพะม่าเขาถือเอาการไถนาได้จริงเปนหลัก จึงลากมาถึงเดือน ๗
เดือน ๘ ซึ่งมีพิธีสองอย่าง คือ
(๑) พิธีบวชนาคหลวง เมืองเราก็มีตรงกัน ต่างกันแต่ชนิดบุคคลซึ่งทรงพระกรุณาโปรดบวชพระราชทาน ทางเมืองเราเปนพระราชวงศทางพะม่าเปนตามเณรที่สอบพระปริยัติธรรมได้ครบปีบวช เห็นจะเปนด้วยพระราชวงศสมัคบวชมีน้อยกว่าเมืองเรา
(๒) พิธีเข้าวัสสา ควรจะกล่าวถึงการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในทางพระพุทธศาสนา แต่หาได้กล่าวไม่ ได้กล่าวถึงแต่การเสด็จออกมหาสมาคม ดูจะบกพร่องอยู่
เดือน ๙ พิธี “สะเยดัน-เป๎ว” ดูจะเป็นเฉลิมพระชนมพรรษา ถ้าเทียบด้วยกฎมนเทียรบาลของเรา ทีก็จะได้แก่พิธีตุลาภาร
เดือน ๑๐ พิธี “เห๎ศดอ-เป๎ว”ดูจะตรงกับพิธียาศวยุช ซึ่งมีในกฎมนเทียรบาลของเรา คือพิธีแข่งเรือ แต่เราทำในเดือน ๑๑ ทางพะม่าทำในเดือน ๑๐ อาจเปนด้วยฤดูน้ำมาผิดกัน
เดือน ๑๑ พิธีออกวัสสา อยู่ข้างจะเข้าใจยาก ข้อที่หมาย ก.ข. ดูเฉียดพิธีอินทราภิเษกในกฎมนเทียรบาลของเราเข้าไปทีเดียว แต่ก็คงเปนการฉลองบุญอย่างงานของพระสงฆ์ ซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ง. ที่หมาย ค. เปนผ้าป่าแน่ ที่หมาย ฆ. เปนถือน้ำสารท ที่หมาย ง. เปนฉลองบุญของพระสงฆ์ซึ่งอยู่จำวัสสา เมืองเราไม่ได้ทำ
เดือน ๑๒ ซึ่งมีสองพิธีคือ
(๑) พิธีทอดกฐิน ผิดกันอยู่ที่ทางพะม่ามุ่งไปในทางทำผ้า ทางเรามุ่งไปในทางนำผ้าไปทอดถวายพระสงฆ์ ส่วนการที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปบูชาเทวรูปที่หอเทวาลัยนั้น ดูไปเข้าทางพิธีตรียัมพวายของเรา ซึ่งแต่ก่อนพระเจ้าแผ่นดินเสด็จตามส่งพระเปนเจ้า ซึ่งนำเทวรูปออกแห่จนถึงเทวสถาน
(๒) พิธีเผารูปประสาทจำลอง หมดปัญญาที่จะคาดเห็นว่าทำเพื่ออะไรเพราะเราไม่ได้ทำ แต่ทางมณฑลอุดรของเรามีพิธีแห่ปราสาทผึ้ง น่าจะเปนพิธีอย่างเดียวกัน แต่พิธีปราสาทผึ้งของเราก็ยังไม่เคยได้ฟังคำอธิบายของใครเลย ว่าทำกันอย่างไร และทำเพื่ออะไร
เดือน ๑ ซึ่งมีสองพิธี คือ
(๑) พิธีถวายเข้าใหม่ เมืองเราไม่ได้ทำ หรือหนึ่งจะได้กับพิธีถวายเข้ายาคูของเรา ซึ่งเราทำในฤดูสารท
(๒) พิธีกติเกยา ชื่อนี้เคยได้ยินที่ไหนนึกไม่ออก และจะทำอะไรก็จำไม่ได้ ที่ทางพะม่าว่าบูชารูปพระขันธกุมารก็ควรแล้ว เพราะว่าคำการติเกยะ เปนชื่อพระขันธกุมาร เปนพิธีพราหมณ์แท้ เราไม่ได้ทำ
เดือน ๒ พิธีออกสนามใหญ่ ต้องกันกับที่มีในกฎมนเทียรบาลของเรา แต่เราทำเรียวลงมา มีแต่แห่ช้างแห่ม้า ลางคราวก็มีผัดช้างด้วย เรียกเสียว่าพิธีคเชนทรัศวสนาน แต่เดี๋ยวนี้เราก็เลิกไม่ทำแล้ว
เดือน ๓ พิธีทำเข้ายาคู เราเคยทำในฤดูสารท แต่ที่กล่าวนี้ดูใกล้ไปทางกวนเข้าทิพย์มากกว่า ซึ่งเราก็ทำในฤดูสารทเหมือนกัน
เดือน ๔ ซึ่งมีสองพิธี คือ
๑) พิธีบวงสรวงเทพารักษ์ ทางเราก็มีประเพณีทรงบวงสรวงเหมือนกัน แต่ฝากอยู่ในพิธีอื่น ไม่มีพิธีทรงบวงสรวงโดยฉะเพาะ
๒) พิธีก่อพระทราย ทางเราก็มีเหมือนกัน แต่ทำในเวลาสงกรานต์ ซึ่งล่าไปกว่าพะม่าน้อยหนึ่ง
อันพิธีเลียบพระนครนั้นเปนพิธีจร ซึ่งควรจะทำเมื่อไรก็ได้
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘