- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
วันเสาร์ เป็นกำหนดรถไฟเข้าไปจากปีนัง อันเคยได้รับลายพระหัตถ์เวรก็ได้รับ เป็นลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ สมอย่างหวังและความเป็นไปเรียบร้อยทุกอย่างตามเคย จะกราบทูลสนองความในลายพระหัตถ์นั้นต่อไปนี้
สนองความในลายพระหัตถ์
เรื่องสวดมหาชัยนั้นกลายเป็นเรื่องสนุกขึ้น ด้วยเกล้ากระหม่อมเขียนหนังสือมาถวายแล้ว ก็ได้พูดกับพระยาอนุมานว่าไม่เคยเห็นต้นฉบับ เขาจึงส่งหนังสือมาให้อ่าน เป็นหนังสือซึ่งได้ทรงจัดให้ตีพิมพ์ขึ้นเมื่องานศพพระยาอรรคนิธินิยมเรียกชื่อว่า “มหาทิพมนต์” มีอะไรจับฉ่าย ๑๐๘ อย่างอยู่ในนั้น ได้พลิกอ่านแต่เพียงอย่างที่ว่า “รีบ ๆ ผ่าน ๆ” เห็นมีมหาชัยและอุณหิศวิชัยอยู่ในนั้นเสร็จ มีความเห็นที่จะกราบทูลถวายอย่างกล้อง ๆ ไว้ทีดังต่อไปนี้
มหาชัย เห็นเป็นคนแก่ซึ่งไม่มีภูมิรู้มากนักเป็นผู้แต่ง พวกเดียวกับ “สัพพพุทธา” นึกอะไรได้ก็ใส่ลงไป มีบันทึกข้างท้ายว่าสวดให้มีชัยชำนะ จึงได้กล่าวกันว่าใช้สวดเมื่อยกทัพ ที่เกล้ากระหม่อมนึกว่าเป็นภาษาสํสกฤตนั้นก็เพราะใช้คำที่เราพูดกันอยู่ อย่าง “จักรวาฬ” อันเป็นภาษาสํสกฤต ภาษามคธจะต้องเป็น “จกฺกวาฬ” เช่นนั้นเป็นต้น แต่ที่จริงตั้งใจจะแต่งเป็นภษามคธ
อุณหิศวิชัย ผู้แต่งรู้ภาษามคธดีกว่ามหาชัยมาก มีบันทึกไว้ข้างท้าย ว่าพระเจ้าตรัสเทศนาโปรดสุปติฏฐิตเทวดาในดาวดึงษ์ ซึ่งจะตายใน ๗ วันก็มีอายุยืนยาวไปได้ ข้อนี้เองจึงเอามาใช้สวดงานวันเกิด เพื่อจะต่ออายุให้ยืนยาว ที่เกล้ากระหม่อมกราบทูลว่าอุณหิศวิชัยมีมหาพุทธคุณเป็นหลักนั้น “ฝืด” สมุดที่ได้เห็นนั้นเป็นสมุดสำหรับสวด แปลว่าบทอะไรที่จะต้องสวดมีบ้างก็เขียนรวมลงไว้เป็นจับฉ่าย แต่อุตริจ่าหลังสมุดไว้ว่า “อุณหิศวิชัย” ดูแต่ลวกๆ จึงพาหลง
พระยาอรรคนิธิยม มีชื่อเดิมว่า “สมุย” เป็นเหตุให้แปลกใจชื่อเกาะสมุยนั้นแปลไม่ได้ความ ท่านผู้นั้นจะเกิดที่เกาะสมุยหรืออย่างไร ในประวัติก็ไม่มีปรากฏ กล่าวแต่ว่าเป็นบุตรนายเฮง เฮงคำนั้นเป็นคำจีนพาให้สงสัยว่าหรือสมุยจะเป็นคำจีน
พระดำริเรื่องพระสงฆ์สาธยายมนต์ที่วัดนั้นดีนัก เป็นการที่จะให้ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ เป็นบาทแห่งการสังคายนา ถูกอย่างพระดำริแท้จริงทีเดียว
เรื่องน้ำพุนั้นเต็มที ถ้ามีฝนตกมากน้ำจึงมีตกมาก ถ้ามีฝนตกน้อยน้ำก็มีตกน้อย มีคนเคยคิดจะเอาน้ำตกที่เขาเขียวช่องมะเฟืองชลบุรีเข้าไปใช้เป็นน้ำประปาในกรุงเทพฯ เกล้ากระหม่อมไปดูเห็นน้ำไหลรินๆ ก็เป็นด้วยฝนตกน้อยนั้นเอง บางทีจะเป็นเพราะเหตุนั้นกระมัง ความคิดที่จะเอาน้ำมาใช้ในกรุงเทพฯ จึงได้ระงับไป ไปเที่ยวประเทศชวาเห็นที่นั่นเข้าก็ให้นึกริษยา เขามีน้ำตกที่ไหนๆ อยู่ทั่วไป จะขุดเหมืองชักน้ำไปใช้ที่ไหนก็ได้โดยง่าย เวลาไปเห็นเห็นมีน้ำไหลมากจะมีเวลาน้ำน้อยเพราะฝนไม่มีตกอยู่หรืออย่างไรไม่ทราบ แต่ผู้รู้เขาว่าประเทศใด ซึ่งมีภูเขาไฟอยู่น้ำก็จะบริบูรณ์ เพราะไฟต้มน้ำส่งเป็นไอขึ้นไปบนอากาศแล้วกลับเป็นฝนตกลงมาเพิ่มเติมจะจริงหรือไม่จริงก็ต้องตกอยู่แก่ผู้กล่าว
ท้าววรจันทร์ถึงอสัญกรรมแล้ว เมื่อเวลาเที่ยงวันที่ ๒๕ รุ่งขึ้น วันที่ ๒๖ เกล้ากระหม่อมไปทำกิจแห่งการศพให้แก่ท่านทั้งการหลวงและการส่วนตัว ได้พระราชทานโกศไม้สิบสอง ฉัตรเบญจา และกลองเขียว
เรื่องหนังสือ “กามิตสูตร” เกล้ากระหม่อมเคยได้เห็นแต่หนังสือพิมพ์รายเดือนเขาตัดตอนเอาเรื่องของ เสฐียรโกเศศ กับ นาคประทีป แต่งมาลงเป็นเรื่องของพระองคุลิมาลในเบื้องต้น อันมีในคัมภีร์ทางมหายานดูเหมือนเรียกชื่อเรื่องว่า “กามนิต” เฉียดกับชื่อ “กามิตสูตร” ซึ่งตรัสถึงนั้นเข้าไปทีเดียว จะเป็นเรื่องเดียวกัน หรือมิใช่ ไม่ได้อ่านต้นเรื่องทั้งสองเรื่อง แต่เรื่องเมือง “สุขาวดี” นั้นเคยอ่าน พระองค์เจ้าธานีได้ฉบับในเมืองญี่ปุ่นมาแปลตีพิมพ์ จะเรียกชื่อว่าเรื่องอะไรลืมเสียแล้ว เพราะอ่านนานแล้ว ในนั้นได้ความว่าซึมซาบอะไรต่างๆ เช่น “มยุรโกฺจภิรุทา โกกิลาภิหิวคฺคุภิ” ก็มีในนั้น และกระดึงแขวนโบสถ์ก็มีในนั้น พระเจ้าเท่าเม็ดทรายในท้องพระมหาสมุทรก็มีในนั้น เช่นนี้เป็นต้น กับบอกว่าเมืองสุขาวดีนั้นอยู่ทางทิศตะวันตก จะไหว้พระเจ้าต้องไหว้ไปทางทิศตะวันตกนี่มาทำให้เข้าใจว่าที่ทำโบสถ์หันหน้าไปทิศตะวันออก จนลางวัดรู้สึกว่าขวางโลก เพราะทำเอาหลังโบสถ์มาทำทางเข้าวัด นั่นก็เพื่อจะให้ไหว้พระไปทางตะวันตกอันถูกทิศ อ่านหนังสือนั้นแล้วทำให้รู้สึกใจว่าเราได้อะไรมาเป็นไปในทางมหายานเสียมากมาย
ปัญหาพยากรณ์
คำ ผเด็จ ในพจนานุกรมภาษาเขมรไม่มี มีแต่คำ เด็จ เขาเขียน เฏจ อ่านว่าเด็จ เหมือนกัน (ตัว ฎ ด ของเขาไม่มี มีแต่ ฏ ต อ่านเป็นเสียง ด บ้าง ต บ้าง ไม่แน่) แปลให้ไว้ว่า ขาด ที่พจนานุกรมไม่มีคำ ผเด็จ นั้น เห็นจะไม่ใช่ว่าคำนั้นไม่มี จะเป็นด้วยเขาไม่ได้ใช้กันในเวลานี้จึงไม่ลงคำนั้นไว้ก็เป็นได้ คิดดูก็เห็นว่าจะไม่ผิดอะไรไปเทียบด้วยคำ จง ก็มี ผจง ประจง บรรจง หรือ บันจง อยู่ทุกอย่าง คำ ผ ประ บรร บัน นั้น เกล้ากระหม่อมเคยแปลว่า ทำให้ เช่นคำ ผเด็จ ก็แปลว่า ทำให้ขาดย่อมเข้ารูปได้ คำ “ธรรมบทผเด็จ” จะหมายความว่าทำให้ธรรมบทขาด คือสุดสิ้น เช่นฝนขาดเม็ดเช่นนั้น ได้เหมือนกัน ไม่ได้ทำให้ผิดความไป
คำ แสดง กับ สำแดง ดูพจนานุกรมเขมร คำ แสดง แปลให้ไว้ว่ารู้ทั่วกัน สำแดง แปลให้ไว้ว่าผู้ทำให้รู้ทั่วกัน ก็เป็นอันเข้าใจว่า เหมือนกับตรวจ และตำรวจ ตรวจเป็นการไต่สวน ตำรวจ เป็นผู้ไต่สวน แสดง ก็เป็น ทำให้รู้ สำแดงก็เป็นผู้ทำให้รู้ “สำแดงอานนท์” แปลว่าพระอานนท์ผู้ทำให้รู้ ได้ความดีทีเดียว เกล้ากระหม่อมก็เห็นมานานแล้วว่าคำยืดและคำหดนั้นมีความหมายต่างกัน เช่น ตรัส เป็นพูด ดำรัส เป็นคำ สอาง เป็น สะอาด สำอาง เป็นแต่งตัว คือทำให้สะอาด เช่นนี้เป็นต้น
ข่าวในกรุงเทพ ฯ
ข่าวนี้มีข่าวอะไรแปลกๆ หลายอย่าง
(๑) ชายนิทัศนาทร มาลาจะออกไปรับหญิงสุมนมาลย์ ซึ่งออกไปอยู่เกาะกูดเพื่อทำสวนหากินหรืออะไรเทือกนั้น ว่าเป็นมะเร็งที่นม ชายนิทัศนาทรได้ส่งหมอออกไปตรวจ หมอแนะนำให้เข้ามาตัดในกรุงเทพฯ ก็ไม่ตกลง จึงจะออกไปรับเข้ามารักษาตัว ในกรุงเทพฯ เกล้ากระหม่อมก็อนุญาตให้ไป ครั้น ณ วันที่ ๒๒ เดือนนี้ เรือ “ภาณุรังษี” ซึ่งเดินทางฝั่งทะเลตะวันออกกลับเข้ามาถึงกรุงเทพฯ มีชายนิทัศนาทรกลับเข้ามาด้วย ข่าวว่ารับตัวมากับเรือแล้ว แต่หายไปเสียตามทาง จะเป็นประการใดหาทราบไม่ เป็นเรื่องแปลกน่าเอาใจใส่ด้วยไม่เคยมี
(๒) เห็นหนังสือพิมพ์ “บางกอกไตมส์” เขาลงข่าวเมื่อวันที่ ๒๓ ว่าพระยาราชวังสรรค์ อัครราชทูตไทย ณ เมืองอังกฤษถึงแก่กรรมเสียแล้ว ด้วยหัวใจหยุด ทำให้รู้สึกตกใจเศร้าใจเป็นอันมาก ด้วยไม่ได้นึกว่าจะเป็นไปได้เลย
(๓) หม่อมหวล ในกรมหมื่นอนุวัตนจาตุรนต์ เจ็บไปอยู่โรงพยาบาลที่ถนนสุริวงศ์ นัยว่าเป็นโรคเส้นโลหิตในสมองแตก ทั้งหัวใจก็ไม่ดี ว่ามีอาการหนักจะถึงแก่สิ้นชีวิต หญิงอี่ไปเยี่ยมมาบอกว่ามีสติรู้ตัวและไม่รู้ตัวเป็นคราวๆ ฉะนั้นก็เป็นการน่าสงสัย ถ้าหากว่าเส้นเลือดในขมองแตกแท้แล้ว จะรู้สึกตัวไม่ได้เลย
เมื่อวันที่ ๒๕ ไปเผาศพพระยาพิพิธมมตรี ได้หนังสือพระนิพนธ์ซึ่งเขาแจกมา แต่ยังไม่ได้อ่าน นึกชอบใจที่เขาทำคชเสนีเป็นรูปช้างมีงวงถือดาบเข้าใจได้ว่าเป็นความคิดของพระยาศรีธรรมาธิราช ชื่อเดิมของพระยาศรีศักดิ์ธำรง เขียนถวายมาเป็น “จุล” นั้นผิด ที่ถูกเป็น “จุณ” เพราะพ่อเขาชื่อเจิม
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด