- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ทราบฝ่าพระบาท
วันเสาร์ที่ ๑๖ ธันวาคม รถไฟมาถึงกรุงเทพฯ ได้รับลายพระหัตถ์เวรบริสุทธิ์ มีตราสั่งผ่านประทับหลังดวงหนึ่งตามเคย จะกราบทูลสนองความในลายพระหัตถ์นั้นลางข้อต่อไปนี้
สนองความในลายพระหัตถ์
เรื่องชื่อเมือง ตามพรลิงค์ และเมือง คฺรหิ อันได้ตรัสบอกที่มาไปให้ทราบเกล้านั้นจับใจมาก จะได้ตรวจที่มาตามที่ตรัสบอกระบุนั้นต่อไป อันศิลาจารึกนั้น เคยได้ยินผู้รู้ฝรั่งเศสทางเมืองเขมร เขาว่าศิลาจารึกอยู่ที่ไหนนั้นจะถือเอาว่าเป็นแน่ไม่ได้ เพราะศิลาจารึกเป็นของเคลื่อนที่ได้ อาจเป็นเดิมอยู่แห่งหนึ่ง แล้วทีหลังย้ายเอาไปไว้อีกแห่งหนึ่งก็เป็นได้ แต่ข้อความที่จารึกนั้นย่อมถือเอาได้ว่าเป็นของแน่ ตามที่เขาว่าเช่นนั้นฟังได้ชอบใจเป็นอย่างยิ่ง
ที่ทูลถามมาถึงชื่อเดิมแห่งเมืองอุทุมพรพิสัยนั้น ด้วยสงสัยว่าชื่อเดิมตำบลนั้นจะเป็นอย่างอื่น เช่นห้วยกุดลิงเป็นวานรนิวาส แต่ห้วยอุทุมพรยกเป็นเมืองอุทุมพรพิสัยนั้นตรงทีเดียวแล้ว ชื่อหัวเมืองขึ้นต่างๆ ตามที่ตรัสบอกว่าได้ทรงเรียบเรียงไว้นั้นจะลองติดตามดู ถ้าได้มาก็จะได้ความรู้กว้างขวางออกไปอีก การที่จะตรัสบอกอะไรนั้นไม่จำเป็นต้องทรงสอบหนังสือตรัสบอกโดยละเอียด เพราะหนังสือจะมีทุกอย่างที่ปีนังให้ทรงสอบสวนย่อมไม่ได้อยู่เอง เป็นแต่มีเค้าเงื่อนที่ได้ทรงทราบอยู่เพียงไร ตรัสบอกให้ได้ทราบเค้าเท่านั้นก็พอแล้ว เพราะอาจหาต้นฉบับทางกรุงเทพฯ ได้ง่ายกว่า
คำ สุไหงปตานี ชื่อสถานีที่เมืองไทรบุรีนั้น หมายความว่าคลองบ้านชาวนาแน่ อันเทือกเขาประทัดที่แบ่งหัวเมืองปักษ์ใต้เป็นสองซีกนั้นย่อมมีอยู่ตลอดไป เว้นแต่เตี้ยบ้างสูงบ้าง ที่ข้ามกันก็เลือกเอาที่เตี้ยซึ่งค่อยเดินง่าย เรียกว่าด่าน ที่บนเขาซึ่งเรียกว่า น้ำราบ อันเป็นเขตเมืองตรังต่อกับสงขลานั้น ก็เป็นเขาสูงพอใช้ หากแต่ได้ทำถนนไว้เรียบร้อยจึงไปมาได้โดยสะดวก ข้อนี้จะต้องยกคุณความดีของพระยารัษฎา(ซิมบี้) ว่าเห็นการณ์ไกล ได้ทำทางแต่เมืองตรังขึ้นไปน้ำราบก่อน แล้วทางเมืองสงขลาจึงทำทางขึ้นไปประจบกันทีหลัง เมื่อเกล้ากระหม่อมเดินทางจากเมืองตรงข้ามมาสงขลาครั้งแรก หนทางทางเมืองสงขลาทำไปต่อกับหนทางเมืองตรังยังไม่แล้ว ต้องลงเขาในที่ซึ่งจะต่อกันด้วยการเดินเท้า ออกจะตกตาย
เรื่องร้านม้าตามที่ตรัสอ้างถึงหนังสือเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน นั้น ได้ความเข้าใจดีทีเดียว คือยกร้านขึ้นเพื่อแต่งการตั้งศพเผาศพบนนั้น เพื่อให้สูงเป็นสง่าเป็นอันเดียวกันกับฐานปูนในเมรุ ที่เรียกว่าเมรุนั้นโดยเหตุที่มีคดสร้างล้อม มีลักษณะดุจเขาพระเมรุซึ่งมีเขาสัตตบริภัณฑ์ล้อม เมื่อเป็นหลังเดียวโดดไม่มีอะไรล้อมจึงเรียกว่าโรงทึม แต่เดี๋ยวนี้เรียกเมรุหมดไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นอย่างไร คำว่าโรงทึมทีจะมาทางเขมร เคยได้ยินพวกเขมรเขาเรียกโรงพิมพ์ ว่า โรงพิมพ์ ถ้าตามแนวนั้น โรงทึม ก็คือ โรงทิม เรานี่เอง หนังสือเขมรไม่มีสระ อิ แต่เขาอ่าน อิ เป็น อึ อยู่มาก เช่น สทิง เขาอ่านว่า สตึง หมายความว่าคลองสทิงพระ ก็หมายความว่าคลองพระ (เจดีย์) แต่คนที่ไม่เข้าใจคำนั้นก็เดากันไป เป็นว่าจะทิ้งพระ ผูกนิทานขึ้นประกอบเหลวทั้งนั้น คำว่าทิม เราเข้าใจกันอยู่ว่าเป็นเรือนยาวๆ เช่นพระระเบียง แต่เห็นจะไม่จำต้องเป็นเช่นนั้น ทิมสนมเท่าที่ได้เห็นก็ไม่เป็นเรือนยาวอย่างที่เข้าใจกัน
ตรัสเล่าถึงแมว ทำให้นึกไปถึงเมื่ออยู่ที่หาดใหญ่ มีแมวมาบุกรุกอยู่เหมือนกัน อะไรก็ไม่สำคัญเท่าที่มันขึ้นไปหมอบทับเสียบนกระดาษที่กำลังจะเขียนหนังสือ จับเอามันลงไปเสียมันก็กระโดดขึ้นมาทำเช่นนั้นอีก เล่นเอาต้องเลิกเขียน
เติมความในหนังสือเวรฉบับก่อน
ตามที่กราบทูลมาเปรียบถึงคนกับแมลง มีความประหลาดในแมลงตามที่ได้สังเกตอีก เห็นมันมาตอมไฟจึงนึกว่าถ้ารุ่งสว่างพระอาทิตย์ขึ้นส่องโลกทั่วไป อ้ายแมลงเหล่านั้นคงพอใจอย่างยิ่งที่มันจะเที่ยวรื่นรมย์แก่แสงสว่างที่ไหนก็ได้ แต่ตรงกันข้าม พอสว่างขึ้นกลับหาที่เร้นซ่อนหนีแสงสว่าง อีกทางหนึ่งเมื่อมันมาตอมไฟยุ่มย่ามจนทำอะไรไม่ได้ จึงดับไฟเสีย คิดจะให้มันไปรื่นรมย์แก่ไฟดวงอื่นซึ่งอยู่นอกห้อง แต่เปล่าอีก มืดลงมันก็นอนอยู่นั่นเอง พอเปิดไฟขึ้นมันก็ลุกกระโดดไปใหม่ มันจะไปบ้างหรืออย่างไรไม่ทราบ แต่ที่นอนอยู่มืดๆ นั้นมากเต็มที่ ที่เรือนปลายเนินได้ทำห้องขึ้น เพื่อจะได้อยู่พักและเขียนอะไรเล่นตามชอบใจได้ทั้งกลางวันกลางคืน ได้เอาโต๊ะมาตั้งและทำราวแขนโคมเหนือโต๊ะ ให้เลื่อนโคมไปซ้ายขวาหน้าอะไรก็ได้ ด้วยตั้งใจจะให้ใช้ได้เหมาะทั้งกระดาษใหญ่และเล็ก แต่ไม่เป็นไปได้เหมือนคิดตลอดปลอดโปร่ง ลางเวลาพอจุดไฟก็มีตัวแมลงมาลงกระดาษเต็มหมดเขียนไม่ได้ แต่นั่นเป็นความผิดของเราเองที่คาดคิดไปไม่ถึง ถ้าการปราบยุงสำเร็จผลแล้วเห็นจะเป็นการปราบแมลงให้สูญไปได้ด้วย เพราะพวกแมลงก็เกิดด้วยอาศัยน้ำทางเดียวกับยุงเหมือนกัน พูดถึงยุงก็รู้สึกว่ายุงมันเก่งพอใช้ เวลาเข้าไปนั่งในห้องน้ำยุงมันกัดก็ต้องจุดรูปไล่เป็นอาจิณ แต่ครั้นเมื่อหมู่หนาวเข้านี้ยุงหายไป เกล้ากระหม่อมก็งดการจุดธูปไล่ แต่พอค่อยคลายหนาวลงเล็กน้อยไม่นึกว่าจะถึงแกยุงกำเริบ ไม่ได้จุดธุปไล่มันก็มากัดเอา ให้นึกประหลาดว่าเมื่อหนาวจัดมันพากันไปแอบอยู่ที่ไหน แต่พอหนาวค่อยคลายก็พากันออกมากัด เป็นอันยังไม่รู้คติของมัน
ค่าที่ถูกสัตว์ต่างๆ รบกวน ทำให้คิดไปถึงว่าปลูกเรือนกลางสระอย่างหอไตรตามวัดเห็นจะดี จะป้องกันสัตว์ได้หลายอย่าง แต่ไปถอยหลังเสียที่ว่าเราจะข้ามอย่างไร ถ้าทำสะพานข้ามก็จะผิดอะไรกับอยู่เรือนบนบก สัตว์มันก็จะไต่สะพานตามไปกวนเราอีก ในการปลูกเรือนกลางสระนั้นได้ปรารภแก่เพื่อนคนหนึ่งเขาเห็นดีอย่างสวรรค์ จึงถามเขาว่าแล้วเราจะข้ามอย่างไร ที่ถามก็ลองดูเผื่อเขาจะมีความคิดอย่างไรที่ดีซึ่งเรายังคิดไม่เห็น เขาตอบว่าข้ามเรือ เกล้ากระหม่อมก็ลาออก เห็นลำบากเต็มที เราจะอยู่คนเดียวได้เมื่อไร ต้องมีใครต่อใครข้ามไปข้ามมาเพื่อปฏิบัติมากด้วยกัน
“กงดิน” เป็นคำพวกเดียวกันกับ “อาณาจักร” ที่เราใช้กันอยู่ “กง” กับ “จักร” เป็นความหมายอย่างเดียวกัน มีอีกคำหนึ่งที่ว่า “ไร่กง” เห็นจะหมายถึงว่าขอบเขตไร่ แต่คำว่า “พรมแดน” นั้นหมดปัญญา ทีก็จะหมายถึงขอบเหมือนกัน แต่ “พรม” จะหมายถึงอะไรคิดไม่เห็น ได้มีคนคิดมาก่อนมากแล้วเหมือนกัน ว่ากันว่าพรมน้ำพรมท่าอะไรรับไม่อยู่
ข่าวที่กรุงเทพฯ
เมื่อวานซืนนี้หม่อมเจิมไปหา เป็นการรายงานตัวว่าได้กลับแล้วจากปีนัง แล้วนำเอาเปียโนสำหรับเด็กเล่น ซึ่งทรงพระเมตตาโปรดฝากประทานตุ๊ดตู่ไปให้ด้วย เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ที่ในกรุงเทพฯ หาซื้อไม่ได้เลย ได้มอบให้แก่เจ้าตัวเด็กไปแลว สังเกตหูของตัวเห็นเลวเต็มที ได้ลองกดเปียโนซึ่งโปรดประทานไป ปรากฏในหูแต่ว่ามันดังแป๋ง ๆ เป็นเสียงสูงต่ำผิดกันอย่างไรเอาศัพท์ไม่ได้ดีมาก เขาเชิญไปรดน้ำบ่าวสาว ทางเจ้าบ่าวเขาเป็นทหารเรือ เขาก็หาแตรทหารเรือมาเล่นในงานของเขา ทางทหารเรือเขาก็จัดเครื่องเล่นมาเป็นอย่างดีตามที่เขาเคยเล่นดี แต่ฟังไม่รู้ว่าไปทางไหน เพราะได้ยินเครื่องไม่ทั่ว ได้ยินแต่ลางสิ่งที่มันเข้าหู แต่ก่อนนี้เล่นไปด้วยกันมากๆ ใครทำไม่ดีรู้ได้ เดี๋ยวนี้ไม่รู้ได้เลย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด