- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวรลงวันที่ ๘ มิถุนายน ได้รับประทานแล้ว
โดยเหตุที่ตรัสถึงพระพุทธรูปทรงผ้าจีบ จึงจะกราบทูลขยายความเรื่องมูเซียมปะเลมบัง ให้ทราบฝ่าพระบาทมากออกไป อีกเรือนซึ่งเขาจัดเป็นมูเซียมที่นั้นเป็นเรือนหลังเล็กๆ ขนาดสามห้องหลัง หันหลังเข้าหากัน หลังหนึ่งมีสัณฐานเป็นที่อยู่ อีกหลังมีสัณฐานเป็นที่ออกขุนนาง มีสะพานเล็กเชื่อมติดกัน เข้าใจว่าฝรั่งเขาทำ เดิมคงเป็นนอกชานแล้วผุไปเสีย หลังซึ่งเป็นที่ออกขุนนางนั้น มีพื้นลดสามชั้น เห็นจะนั่งลดหลั่นกันตามยศ นึกชอบใจอยู่ แต่หลังนี้ละไว้ว่างไม่ได้จัดตั้งอะไร ทีจะตั้งเอาเรือนเก่านั้นเองเป็นสิ่งอวด ส่วนเรือนหลังที่สันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่นั้นแหละจัดของตั้ง มีเศษหินลายฉลักหักๆ แตกๆ วางไว้เป็นแพกับพื้นเฉลียงอยากจะเรียกว่ากอง หากแต่ไม่ได้ทับกันจึงใช้คำว่าวาง ส่วนในประธานซีกหนึ่งมีตู้อย่างโต๊ะเหมือนที่ใส่ของตั้งตามร้าน ซึ่งคนเดินดูของไปได้รอบๆ ฉะนั้น วางติดต่อกับโต๊ะจัดของใส่ตั้ง มีอยู่แถวเดียวยาวประมาณสามสี่วาเท่านั้น จะมากว่านั้นไปก็เห็นจะไม่ได้ ด้วยเหตุที่เป็นเรือนเล็กและกั้นห้องซุกซิกเสียด้วย ของที่จัดไว้จะกราบทูลจำเพาะแต่เครื่องทองหล่อ มีลูกพรวนชวาลาและอรรจิกัลป ลูกพรวนนั้นก็ไม่มีใหญ่กว่าขนาดกระพุ้งราว ๔ ซ.ม. ชวาลาก็มีขาโก้งเก้งอย่างเลวๆ ไม่น่าพิศวงอย่างเคยเห็นที่มูเซียมบตาเวีย อรรจิกัลปก็เป็นอย่างที่มีค้างคาวน้อย เป็นของจีน ซึ่งในเมืองไทยมีถมไปไม่ประหลาดเลย พระพุทธรูปทรงจีวรจีบที่ว่าเป็นอย่างอมรวดีนั้น เคยเห็นแต่ที่ในมูเซียมบตาเวีย ที่มูเซียมปะเลมบังไม่มี ยิ่งไปกว่านั้นรูปอะไรก็ไม่มีนอกจากรูปปลาสเตอ หล่อถอนมาอย่างขรุขระไม่ได้แต่งเหลาสี่รูป สูงประมาณศอกหนึ่งเป็นรูปพระโพธิสัตว์ยืนแต่แขนขาด้วน คล้ายกับรูปซึ่งตั้งอยู่ที่ห้องบันไดชั้นล่างวังวรดิศรูปหนึ่ง กับพระพรหมยืนบนหลังห่านรูปหนึ่ง นารายณ์ยืนเหยียบครุฑรูปหนึ่ง อีกรูปหนึ่งอะไรก็จำไม่ได้ ด้วยไม่มีอะไรติดใจให้จำได้ ดูจะเปนรูปเก่าถึงยุคศรีวิชัยอยู่ก็แต่รูปพระโพธิสัตว์เท่านั้น นอกนั้นดูไม่เก่าไม่น่าดูอะไร เขาจะไปถ่ายถอนมาแต่ไหน รูปเดิมจะอยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ มูเซียมแห่งนี้เขาเห็นจะจงใจอวดเรือนอันเป็นของเก่ายิ่งกว่าสิ่งอื่น แต่แก่เกล้ากระหม่อมไม่สู้รู้สึกตื่นด้วยเคยเห็นเรือนเก่าอย่างไทยอยู่ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน ฝาประจันห้องมีธรณีสูงตั้งศอกกว่า เขาต่อม้าเทียบไว้เป็นที่ก้าวขึ้นลง ที่เรือนฝากระดานบ้านปลายเนินก็มีเช่นเดียวกัน ยังได้เคยพูดกับหญิงพิลัยมาคราวหนึ่งแล้ว เธอใส่ใจกับการปลูกสร้างอย่างเก่าๆ มาก
เขาว่าเมืองปะเลมบังนั้น ถ้าจะขึ้นไปถึงแผ่นดินดอน ก็จะใช้เวลาตั้งชั่วโมง ซึ่งเราไม่มีเวลาพอจะไปเที่ยวไหนได้ ซ้ำไม่รู้ตำบลหนแห่งด้วย ถึงไปก็ไปเที่ยวงมหมูคงไม่ได้อะไรมาด้วยไม่มีผู้รู้นำทาง
การขนถ่านหินดูไม่สู้กระไร ช่องที่บรรทุกก็มีอยู่แต่ทางหัวท้ายในดาดฟ้าชั้นล่าง เราอยู่ดาดฟ้าชั้นบน เขาเอาผ้าซึ่งปิดบังเสียทางหัวทางท้าย ละอองถ่านเข้าได้ก็แต่เล็กน้อยไม่ถึงเดือดร้อน แต่ดาดฟ้าชั้นล่างนั้นเปรอะ
เมื่อวันที่ ๑๓ ที่ล่วงมาแล้ว ชายใหม่ไปลาออกมาเฝ้าฝ่าพระบาท ได้ฝากหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๑ ซึ่งต้องพระประสงค์ ให้นำมาถวายด้วย
ดีใจที่พระองค์หญิงประเวศเสด็จกลับออกมาปีนังได้ ดีใจด้วยฝ่าพระบาทเคยตรัสบอก ว่าความเป็นอยู่ของเธอถูกกับอากาศที่ปีนัง เธอจะได้ทรงสบายขึ้น ทั้งหาที่ประทับใหม่ได้ใกล้กับซินนามอนฮอลก็ดียิ่งขึ้นอีกด้วย จะได้รับความสะดวกทุกประการ
จะกราบทูลความเห็นในเรื่องคำ “กู้” ออกจะเป็นทำดิกชันนะรี ในปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ เขาแปลไว้ว่าเก็บ ว่าเช่าเงิน ว่าทำให้คืนดังเก่า เกล้ากระหม่อมไม่สู้ชอบ อยากจะแปลว่า ยก คือยกสิ่งที่จมอยู่ให้ลอยขึ้น ถึงแปลเช่นนี้ก็ไม่ขัดกับคำว่ากู้หนี้ ด้วยจะเอาความได้ว่ายกตนซึ่งจมอยู่ให้ลอยขึ้นด้วยการเอาเงินของคนอื่นมาใช้ การเป็นหนี้จะถือว่าเป็นการร้ายหาได้ไม่ หากเอาเงินกู้นั้นมาใช้ในที่ชอบ เช่นเมืองเรากู้เงินเมืองฝรั่งมา แล้วใช้เงินนั้นทำรถไฟเป็นต้น ย่อมยังประโยชน์ให้เกิดผล พอที่จะใช้เป็นดอกเบี้ยแก่เขาและเลี้ยงตัวได้ด้วย ผ่อนใช้ต้นคืนเขาก็ได้ด้วย เมื่อท่วมจำนวนที่กู้มาแล้วก็ได้สิ่งที่ทำลงไปเป็นสิทธิแก่ตน ยังผลกู้ตัวให้ลอยขึ้นได้เป็นอันมาก ว่าจะร้ายอย่างไร แต่ถ้ากู้เงินเขามาจ่ายในที่ไม่เป็นประโยชน์อันเกิดผล นั่นแหละจึงเป็นการร้าย แต่ไม่ใช่ร้ายเพราะกู้หนี้ ร้ายเพราะความประพฤติที่ใช้เงินในทางอันไม่ควรต่างหาก
คราวนี้จะกราบทูลข่าวราชการทางกรุงเทพ ฯ
๑) เมื่อวันที่ ๑๓ ได้รับหมายสำนักพระราชวัง บอกว่าพระองค์เจ้าสุทธิศรีโสภา จะทรงประกอบการพระกุศลถวายพระองค์เจ้าบุษบัณ ที่หอนิเพธ กำหนด วันที่ ๑๔ ที่ ๑๕ มิถุนายน
๒) เมื่อวันที่ ๑๔ ได้รับหมายสำนักพระราชวัง บอกว่าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ กับหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม จะประกอบการพระกุศลถวายพระองค์เจ้าบุษบัณ ที่หอนิเพธ กำหนดวันที่ ๑๖ และที่ ๑๗ มิถุนายน พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์ทรงทำการแทนพระองค์
๓) ในวันที่ ๑๔ นั้น สำนักพระราชวังออกหมายบอกมาว่า จะเปิดสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญ กำหนด ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน เวลา ๘.๑๕ น. แต่งเต็มยศ
ที่นี้จะทูลสอบถามถึงสิ่งหนึ่ง คือตราราชสีห์ ซึ่งในกฎหมายว่าหลวงมหาอำมาตย์ถือ กับตราคชสีห์ ซึ่งในกฎหมายว่าพระธรรมไตรโลกถือ เข้าใจอยู่แล้วว่าเป็นมหาดไทยและกลาโหมฝ่ายเหนือ คือพิษณุโลก แต่เรียกตรานั้นว่าราชสีห์อะไร คชสีห์อะไร ควรจะมีชื่อผิดกันกับตราราชสีห์คชสีห์แห่งเมืองหลวงทางใต้ ดูเหมือนหนึ่งจะได้เคยรู้ แต่ลืมเสียสนิทนึกไม่ออกทีเดียว
ด้วยหนังสือเวรฉบับนี้ กะว่าจะมาถึงตำหนักที่ปีนัง ใกล้กับวันที่ ๒๑ มิถุนายน อันเป็นวันพระประสูติมงคลแห่งใต้ฝ่าพระบาท เป็นโอกาสให้บังเกิดรื่นรมย์ในน้ำใจ เกล้ากระหม่อมจึงพร้อมไปด้วยครอบครัวถวายพระพรแด่ฝ่าพระบาท ขออำนาจพระรัตนตรัย จงรักษาฝ่าพระบาทให้ปราศภัยผองพิบัติ พระชนมายุวัฒนจิรฐิติกาล ทรงพระเกษมสุขสำราญพร้อมด้วยพระญาติ ขอให้พระพรนี้ประสิทธิ์สมมาตรปรารถนาเกล้ากระหม่อมพร้อมทั้งครอบครัวทั่วกันเถิด.
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด