- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๒
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน กับสมุดหนังสือเรื่องพงศาวดารเขมรอันมีรายการพิธีตรุษ ที่โปรดให้ชายใหม่เชิญมานั้นแล้ว
จะทูลเริ่มจดหมายเวรของหม่อมฉันฉบับนี้ อันร่างเมื่อตรงกับวันเกิด ขอขอบพระคุณที่โปรดประทานพรวันเกิด ทั้งส่วนพระองค์และพระญาติ หม่อมฉันรับพรนั้นด้วยความชื่นชมโสมนัสอย่างยิ่ง และในวันนั้นหม่อมฉันได้ทำบุญนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์และเลี้ยงพระที่ซินนามอนฮอล ขอถวายพระกุศลต่อพระองค์ท่านและพระญาติด้วย
ที่ตรัสถามถึงชื่อที่เรียกตราพระราชสีห์สำหรับตำแหน่งพระยามหาอำมาตย์นั้น เรียกว่า “ตราราชสีห์ฝ่ายเหนือ” ไม่มีคำ “พระ” อยู่ข้างหน้าคำ “ราชสีห์” ส่วนตรา “พระราชสีห์” สำหรับเสนาบดีนั้นมี ๓ ดวง ต่างกันดังจะทูลอธิบายต่อไป
ดวง ๑ เรียกว่าตราพระราชสีห์ใหญ่ สำหรับประทับหนังสือซึ่งเชิญพระบรมราชโองการสั่งกิจการบ้านเมือง
มีเรื่องนิทานแทรก ด้วยเมื่อ ร.ศ. ๑๑๑ มีงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๑๐,๐๐๐ วัน โปรดให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงเอาตราตำแหน่งไปเข้าพิธีด้วย ตั้งตราบนโต๊ะกิมตึ๋งเครื่องบูชาในพระที่นั่งอนันตสมาคม (องค์เก่า) เรียงรายกันไปทุกกระทรวง ครั้งนั้นกระทรวงยุติธรรมเอาต้นฉบับกฎหมายเขียนครั้งรัชกาลที่ ๑ ซึ่งประทับตรา พระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ทั้ง ๓ ดวงไปตั้งบนโต๊ะด้วยเล่ม ๑ หม่อมฉันไปพลิกดู เห็นลักษณะรูปราชสีห์ผิดกับในดวงตราพระราชสีห์ที่หม่อมฉันถือ ทูลสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์ ซึ่งทรงถือตราบัวแก้วและนึกว่าพระองค์ท่านซึ่งทรงเป็นตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมถือตราพระคชสีห์ เชิญเสด็จไปทอดพระเนตร ก็เห็นตราพระคชสีห์กับตราบัวแก้วผิดกับตราที่ ใช้อยู่ในเวลานั้นเหมือนกัน ครั้งนั้นได้ความรู้แต่ว่าตราที่ใช้เป็นของแกะใหม่เมื่อภายหลังเขียนสมุดกฎหมาย แต่จะได้เปลี่ยนเมื่อไรไม่รู้เรื่อง จนหม่อมฉันลงไปเมืองนครศรีธรรมราช ไปค้นดูหนังสือเก่าซึ่งเขาเก็บรักษาไว้ที่นั่น พบสารตราฉบับ ๑ มีไปในรัชกาลที่ ๒ ว่าตรา ๓ ดวงของเดิมเลือนไปมาก จึงโปรดให้สร้างเปลี่ยนใหม่ทั้ง ๓ ดวง ประทับตัวอย่างไปให้หัวเมืองดูรู้ไว้ จึงรู้ว่าตรา ๓ ดวงที่ใช้อยู่เป็นของแกะใหม่เมื่อรัชกาลที่ ๒ ยังมีวิธีอีกอย่าง ๑ พระยาราชวรานุกูล (อ่วม) เคยเล่าให้หม่อมฉันฟังว่าเมื่อสมัยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ทรงสำเร็จราชการกระทรวงมหาดไทยตราพระราชสีห์ใช้มาจนเลือนไปอีก สมเด็จกรมพระยาบำราบ ฯ ได้โปรดให้ “รุก” ตราพระราชสีห์ใหญ่ครั้งหนึ่ง แต่การรุกนั้นต้องทำพิธี (จะมีพิธีสงฆ์พิธีพราหมณ์ด้วยอย่างไรหรือไม่ไม่ได้เล่า) เป็นแต่ว่าช่างผู้จะแกะรุกต้องนุ่งขาวใส่เสื้อขาวสมาทานศีลก่อน แล้วลงมือแกะรุกตั้งแต่เวลารุ่งสว่าง กำหนดให้รุกเสร็จก่อนค่ำในวันเดียวนั้น พิเคราะห์ดูการรุกดูเหมือนจะทำเป็นปกติหลายๆ ปีต้องทำครั้ง ๑ จนรุกไม่ได้ จึงแกะตราเปลี่ยนใหม่เช่นเมื่อรัชกาลที่ ๒
ตราพระราชสีห์ดวงที่ ๒ เรียกว่า “ตราพระราชสีห์กลาง” หรือ “ราชสีห์เดินดง” ก็เรียก ขนาดย่อมกว่าตราราชสีห์ใหญ่และพื้นดวงตราแกะเป็นรูปราชสีห์มีป่าไม้เป็นพื้น ตราพระราชสีห์เดินดงนี้ เขาเล่าให้หม่อมฉันฟังว่าสร้างเมื่อครั้งปราบขบถเวียงจันท์ เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพเสด็จไปเป็นจอมพล แกะตราดวงนี้ขึ้นสำหรับหัวหน้าข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่ตามเสด็จไปทัพประทับบังคับการ ได้สิทธิขาดเหมือนตราพระราชสีห์ใหญ่ตลอดเขตที่จอมพลทรงบังคับบัญชา เพื่อมิให้ต้องเสียเวลามากขอสารตราพระราชสีห์ใหญ่ถึงกรุงเทพฯ หรือว่าอีกอย่าง ๑ เป็นตราสำหรับใช้ในการจรชั่วคราว มีบางคนว่าตราราชสิห์เดินดงสำหรับเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยใช้เมื่อเวลาเที่ยวตรวจราชการตามหัวเมือง แต่เห็นว่าจะมิใช่อย่างนั้น เพราะมีตราพระราชสีห์น้อยอีกดวง ๑ สำหรับตัวเสนาบดีไปไหนต้องเอาไปด้วย
ตราพระราชสีห์ดวงที่ ๓ เรียกว่า “ตราพระราชสีห์น้อย” เป็นตราสำหรับตัวเสนาบดี ประทับเป็นสำคัญในหนังสืออันเป็นคำสั่งของเสนาบดี คือมิใช่พระบรมราชโองการ เสนาบดีไปไหนตามหัวเมืองต้องเอาไปด้วยเสมอ ตราพระราชสีห์น้อยใช้มากกว่าตราพระราชสีห์ใหญ่และพระราชสีห์เดินดง เมื่อหม่อมฉันแรกไปเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เห็นตราพระราชสีห์น้อยเลือนมาก ปรารภแก่พระยาราชวรานุกูล (อ่วม) ท่านจึงเล่าถึงวิธีรุกตราให้ฟังดังทูลมาแล้ว แต่ถึงสมัยนั้นใช้เขียนชื่อด้วยลายมือเป็นสำคัญแล้ว ประทับดวงตราเป็นแต่เครื่องประกอบ หม่อมฉันเห็นว่าจะแก้ไขต้องทำพิธีรีตองเอะอะนัก จึงมิได้รุกตราพระราชสีห์น้อย
ยังมีเรื่องตราพระราชสีห์ที่จะเล่าถวายต่อไป ตามประเพณีเดิมเสนาบดีต้องรักษาตราตำแหน่งไว้ที่บ้าน และต้องหากล่องหรือหีบอันเป็นของมีค่ารวมดวงตราไว้ในนั้น (เพราะยังไม่มีออฟฟิศที่ว่าการ) ถ้าจะประทับตราเมื่อใดเสมียนตราต้องเอาหนังสือไปประทับตราที่บ้านเสนาบดี เป็นประเพณีมาดังนี้แต่โบราณ เมื่อหม่อมฉันเป็นเสนาบดีมหาดไทย เจ้าพระยารัตนบดินทรท่านให้เสมียนตราเชิญตรามามอบแก่หม่อมฉัน ตรารวมกันอยู่ในกล่องเงินใบ ๑ เสมียนตราบอกว่าขอให้หม่อมฉันหากล่องมาสำหรับใส่ตรา เพราะแต่ก่อนเสนาบดีต้องหามาเองทุกคน หม่อมฉันตอบว่า หม่อมฉันไม่อยากจะเอาตราไปไว้บ้าน ให้เอาเงินค่าใช้สอยซื้อกำปั่นเล็กสักใบ ๑ เอามาเก็บตราไว้ที่ในศาลาลูกขุนและอยู่ในความรับผิดชอบของเสมียนตราเป็นผู้รักษา กล่องที่จะไว้ดวงตราหม่อมฉันก็ไม่มีมิรู้ที่จะทำอย่างไร เสมียนตราพูดขึ้นว่ามีเตียบประดับมุกของเก่าอยู่บนเพดานใบ ๑ หม่อมฉันสั่งให้ขึ้นไปเอาลงมาดู เลยได้เตียบตราของเดิมมาใช้ และคืนกล่องเงินให้เจ้าพระยารัตนบดินทร
ลักษณพิธีตรุษตามกล่าวในหนังสือพงศาวดารเขมรนั้นเข้าทีดีนัก เป็นข้อพิสูจน์ได้ชัดว่าเดิมเป็นพิธีไสยศาสตร์
เวลานี้กำลังต้องเขียนตอบขอบใจผู้ที่ให้พรเมื่อวันเกิดหลายรายต้องหยุดเขียนจดหมายเวรฉบับนี้เพียงเท่านี้.
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด