- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ได้รับแล้วตามคราวเมล์ซึ่งเคยได้รับไม่คลาดเคลื่อน คงเป็นด้วยทรงจัดให้ได้ส่งเสียก่อนเคยวันหนึ่งนั้นเอง ลายพระหัตถ์ฉบับหลังนี้บริสุทธิ์ไม่มีรอยตัดซอง มีแต่ตราประทับผ่านการตรวจถึงสามดวง เลข ๑๐ ดวงหนึ่งประทับด้านหลัง เลข ๑๑ สองดวงประทับด้านหลังดวงหนึ่ง ด้านหน้าดวงหนึ่ง จะเดาทำนายว่าอย่างไรก็เห็นจะไม่ถูกทั้งนั้น
จารึกบานมุกที่วิหารยอดนั้นฟังเข้าใจยาก การเปรียญที่วัดป่าโมกข์ตามที่ตรัสถึงนั้น เกล้ากระหม่อมก็เห็นจะได้ไปเห็นหลังนั้นเอง ไม่เป็นที่อันควรจะติดบานมุกแน่นอน พระแท่นที่ตรัสถึงนั้นก็จำได้ว่ามี แต่รูปร่างเป็นอย่างไรนั้นนึกไม่ออก คงไม่วิเศษอะไรจึงไม่ติดใจอยู่ โบสถ์นั้นจำได้ว่าเป็นห้องเกือบจะสี่เหลี่ยม จารึกที่นั้นได้อ่าน มีคำ “พระเจ้าช้างเผือก พระเจ้าช้างเนียม” ติดใจอยู่ ที่วิหารพระนอนก็จำได้ว่ามีจารึกติดอยู่ข้างหลังพระ แต่ไม่เคยอ่าน ไปจำได้แม่นยำเอาลายเสา เพราะเป็นทางช่างอันใฝ่ใจอยู่ ลายนั้นเป็นลายทรงเข้าบิณฑ์ก้านแย่งตามแบบในพุ่มทรงเข้าบิณฑ์เป็นรูปเทพประนมครึ่งตัว แต่รูปเทพประนมนั้นแปลกผูกด้วยเครือไม้ให้เห็นไปเองว่าเป็นเทพประนม ไม่ใช่ตัดเอาจากเทวดาครึ่งตัวมายัดเข้า ทำให้ได้สติรู้สึกขึ้นว่าท่านแต่ก่อนท่านผูกลาย ท่านตั้งใจทำด้วยเครือไม้ให้เห็นเป็นรูปอะไรต่ออะไรไปทั้งนั้น เช่นหัวราชสีห์คชสีห์ที่มีอยู่ในลาย ท่านก็ตั้งใจจะผูกเครือไม้ให้เห็นเป็นหัวราชสีห์คชสีห์ไม่ใช่ตัดเอาหัวสัตว์มาเสียบเครือไม้เข้า ดังจะสังเกตเห็นอยู่ได้ในที่ซึ่งเป็นขน มีหงอนเป็นต้น ท่านทำเป็นใบไม้ไม่ได้ทำเป็นขน แต่พวกช่างซึ่งจำเอาไปเขียน แม้เขียนตัวสัตว์มีชีวิตก็ทำหงอนเป็นใบไม้ นั่นคือหลงแม้ทำเทพประนมครึ่งตัว หรือกินนรรำครึ่งตัว ก็ตัดเอาตัวจริงแต่ครึ่งหนึ่งมาใส่เข้าในลาย จะเป็นเรื่องอะไร เป็น “โนคอมมันด์เซนศ์” ที่สุดหลงไปทั้งนั้น ที่จริงท่านแต่ก่อนท่านตั้งใจจะผูกเครือไม้ให้เห็นเป็นเทพประนมเป็นกินนรรำไปต่างหาก
เรื่องไฟไหม้มาแขกที่ตรัสถึงนั้นได้ระลึกตาม ในการระเบิดที่ป้อมผีเสื้อสมุทนั้น เกล้ากระหม่อมนอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็น ไม่ได้ทราบอะไรเลยจนวันรุ่งขึ้นจึงทราบ แต่ได้เคยเห็นฟ้าสว่างวาบอย่างที่ตรัสครั้งหนึ่ง จะเห็นที่ไหนรำลึกดูก็ได้เลือนเต็มที เห็นกำลังเดินป้วนเปี้ยนกันอยู่หลายคนในสนามหญ้า สนามที่ไหนก็นึกไม่ได้ ดูเหมือนเป็นเวลามีงาน งานอะไรก็จำไม่ได้อีก แต่ไม่ใช่หน้าที่นั่งนั้นเป็นแน่ ที่ดูอยู่ด้วยกันนั้นมีทูลกระหม่อมเล็กด้วยองค์หนึ่งแน่นอน ฟ้าสว่างวาบอยู่หลายที แต่เสียงดังนั้นมีน้อยเกือบไม่ได้ยิน ต่อทูลกระหม่อมเล็กตรัสบอกให้สังเกตจึงได้ยิน เวลานั้นก็รู้อะไรไม่ได้ ต่อครู่ใหญ่ๆ จึงทราบได้ว่าเกิดระเบิดขึ้นที่ตึกดินบางนา จะทราบมาโดยทางใดก็ไม่ทราบ เรื่องเหลวอยู่ดังนี้ ส่วนไฟไหม้ที่พระพุทธปรางค์นั้นจำได้แม่นยำ เกล้ากระหม่อมกำลังไปนั่งคุยอยู่กับกรมหมื่นวรวัฒน์ที่ตำหนักกระท่อมของท่าน ซึ่งปลูกอยู่ในวังหน้าชั้นนอกข้างประตูโรงเหล็ก คือแถวอนุสรณ์ทหารอาสาทุกวันนี้ ได้ยินเด็กมันโจษกันว่าไฟไหม้ ไม่รู้อะไรก็เดินฉุยฉายออกมาดูแสงไฟที่กลางแจ้ง เห็นพระพุทธปรางค์กำลังลุกโชนก็ขวัญบิน พร้อมด้วยกรมหมื่นวรวัฒน์พากันวิ่งเข้าไปในวัง ใกล้แค่นั้นเองก็หืดขึ้นคอเกือบสิ้นใจ เป็นบุญหนักหนาที่หาได้ไหม้พระมณฑปด้วยไม่ ชายคาก็ห่างกันไม่ถึงวา ถ้าไหม้มณฑปด้วยก็จะเป็นที่เสียใจมาก เพราะมีของที่เป็นฝีมือช่างอย่างดีอยู่ที่นั่นมาก ถึงหากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจะได้ทรงพระราชดำริรอบคอบ ตรัสสั่งให้ถอดสิ่งสำคัญออกหนีไฟ เช่นบานมุกเป็นต้น แต่สิ่งอื่นก็มีอยู่อีกเป็นอันมาก เสียไปแต่พระพุทธปรางค์นั้นทุเลา เพราะเป็นชิ้นใหม่ ไม่มีสิ่งใดที่สำคัญมากนัก
ได้ทราบข่าวหลานแมวไปรับยายเก้อถึงร้องไห้ รู้สึกน่าเอ็นดูเมื่อเห็นตัวเธอรู้สึกว่าโตมากแล้ว แต่อาการที่เป็นไปนั้นปรากฏเป็นเด็กอยู่มาก
หนังสือพิมพ์ที่ตัดประทานไป ซึ่งเขาพูดถึงการตรวจหนังสือ ว่าต้องตรวจกี่ภาษาต่อกี่ภาษานั้น เกินว่า ๑๒ ภาษา ซึ่งประหนึ่งว่าในโลกนี้จะมีเพียงเท่านั้นไปเป็นอันมาก อ่านพระคัมภีร์เก่าแห่งไบเบล พบว่าลูกของโนฮา ๑๒ คน แยกย้ายกันไปอยู่ในที่ต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็น ๑๒ ภาษา ทำให้สะดุดใจว่าเรื่องของคริสตังจะมาเป็นหลักของเราได้อย่างไร แต่เมื่ออ่านหนังสืออะไรต่ออะไรไป ก็พบมีเรื่องน้ำท่วมโลก และมีท่านผู้วิเศษต่อเรือใหญ่ เอาสัตว์ต่างๆ ประทุกหนีน้ำแล้วมาสืบพันธุ์ต่อไปเหมือนกันเป็นหลายชาติ ทางอินเดียอันเป็นครูเราก็มี มนุ ไววัสสวตา เป็นผู้วิเศษต่อเรือประทุกสัตว์หนีน้ำเหมือนกัน เป็นเรื่องอยู่ในมัตสยาวตาร จึงเข้าใจได้ว่าทางอินเดียมาจูงเราไปดอก โนฮา หรือ นัว ก็คือ มนุ มนูสาร มโนสาราจารย์นั้นเอง คำว่ามนุษย์ ก็มาแต่ มนุนั้นเอง คือผู้สืบสกุลมาแต่ท่านมนุ ประหลาดหนักหนาที่หลายชาติมีเรื่องน้ำท่วมโลกตั้งต้นเหมือนๆ กัน น่าที่หลายชาติเดิมที่จะร่วมเป็นชาติอันเดียวกัน แต่นานเต็มทีแล้วรู้อะไรไม่ได้ ในหนังสือประทานไปนั้น มีข้อแนะนำอยู่ข้อหนึ่งซึ่งเรายังไม่ได้ทำ คือเขาแนะนำว่าเขียนหนังสือเป็นภาษาใด ให้จดบอกภาษาแห่งหนังสือนั้นลงไว้ที่หน้าซองด้วย
คิดตามพระดำรัส ที่ว่าจะทรงแต่งเรื่องลายแทงประทานไปบรรเลงนั้น เคยพบเรื่องลายแทงที่ฝรั่งเขาแต่งเป็นนิทานอยู่บ่อยๆ เป็นเรื่องบรรพบุรุษเอาทรัพย์ไปฝังไว้ ตัวไม่มีโอกาสได้ไปขุดเอาคืน จึงเขียนลายแทงไว้เพื่อให้ลูกหลานไปขุดเอา ของเขาเข้าทีอยู่ แต่ของเราไม่เป็นเช่นนั้น ลายแทงเป็นของไม่ใช่คนเขียน ออกจะเป็นผีเขียน ลายแทงทุกอันออกจะเหเข้าไปหาพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์เสมอ เพราะพวกเราชอบขุดพระพุทธรูปพระสถูปเจดีย์กัน แม้ไม่มีลายแทงก็ขุด จะได้พบอะไรอยู่บ้างก็ที่พระสถูปเจดีย์ แต่กลัวจะไม่มีประโยชน์อะไรแก่ผู้ขุด จะเป็นพระพุทธรูปที่ใช้อะไรไม่ได้มากมาย ลางทีจะได้พบภาชนะซึ่งมีค่าใส่อัฐิอยู่บ้าง ถึงคนขุดจะได้ไปก็ไม่ทำให้ร่ำรวยอะไรได้ ที่เมืองสวรรคโลกพระเจดีย์พบกี่องค์ก็เห็นถูกเจาะเสียทั้งนั้น มองดูตามช่องที่ถูกเจาะก็เห็นเป็นตรุ ในนั้นประจุพระพุทธรูปอย่างเลวๆ ไว้เต็ม ไม่เห็นช่างเจาะขนเอาไป และคนอื่นก็ไม่เอาไป ถ้าเขาเอาเงินประจุเข้าไว้ ช่างที่ทำตรุจะไม่ขุดเอาไปเสียแต่วันรุ่งขึ้นนั้นแล้วหรือ พูดถึงเจาะๆ ก็ไปเจอดีเข้าที่วัดศรีสวาย (ศรี ศิวายะ ?) เมืองสุโขทัย พบรอยเจาะฐานพระพุทธรูปที่ในช่องเจาะนั้นมีขาเทวรูปสองขา จึงได้ความรู้ว่าพระนั้นเป็นเทวรูปยืนแล้วบวชเทวรูปเป็นพระ ทำขาใหม่ให้นั่งขัดสมาธิ ก่อฐานรับหุ้มขาเทวรูปยืนของเดิมเข้าไว้ ไปเที่ยววัดกุฎีดาว เห็นความเป็นไปในที่นั้นรู้สึกสังเวชเป็นอันมาก ที่หลังโบสถ์เขาทำไว้เป็นมุขโถง พื้นขุดกันเสียไม่มีที่เหลืออยู่ดี รอยขุดก็ไม่เห็นท่วงทีว่าจะได้ตุ่มเงินกันไปเลย รอยขุดใหม่ๆ ทั้งเครื่องเซ่นผีใบตองยังไม่ทันแห้งก็มี รู้สึกเห็นว่าคนขุดนั้นโง่ที่สุด ประกอบด้วยความมักจะใคร่ได้อย่างง่ายๆ เสียแรงเสียเวลาไปเปล่า ๆ ดูเจ๊กไม่เห็นมีใครคิดขุด มันเห็นเร่ขนมขายดีกว่า ถึงได้น้อยก็เป็นแน่ว่าได้
ข่าวเบ็ดเตล็ดในกรุงเทพฯ
ตามที่กราบทูลมาก่อน ว่าสมเด็จพระพันวัสสาเสด็จจะขึ้นไปบางปอินวันที่ ๗ และเสด็จกลับวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนนั้น วันเสด็จขึ้นไปคงตามเดิม แต่วันเสด็จกลับนั้นแปรไป เป็นว่าประทับอยู่บางปอินราว ๗ วัน ส่วนพระองค์อาทิตย์นั้นแปรไปหมดทีเดียว เลื่อนเป็นขึ้นไปวันที่ ๑๓ กลับวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน
อนึ่งปีนี้มีแปลก ที่เจ้านายบรมวงศ์ชั้น ๕ ฝ่ายใน ได้กฐินพระราชทานทุกพระองค์ องค์หญิงอาทรทรงทอดวัดโสมนัสวันที่ ๑๐ องค์หญิงประพาพรรณทรงทอดวัดปรินายกวันที่ ๑๑ องค์หญิงวาปีทรงทอดวัดราชผาติการามวันที่ ๑๒ องค์หญิงเหมทรงทอดวัดสัมพันธวงศ์วันที่ ๑๔ องค์หญิงอดิศัยทรงทอดวัดนรนาถวันที่ ๑๗ ทั้งนี้เว้นองค์หญิงผ่องเห็นจะเป็นด้วยเธอประชวรอยู่ไม่สู้ทรงสบาย
เมื่อวันที่ ๘ เกล้ากระหม่อมไปทอดกฐินพระราชทานที่วัดเทพศิรินทร์ มีหลานๆ ดิศกุลพากันไปช่วยหลายคน คือ หญิงแดง หญิงยาตร หญิงเป้า หญิงกุมารี ชายใหม่เสลือกสลนไปทีหลัง ว่าที่ทำงานเขาเพิ่งเลิก ได้ถามข่าวหญิงแดงถึงเรื่องถูกวิ่งราวสร้อยคอ ได้ความว่าถูกแย่งที่ในบ้าน ไม่ใช่บนเรือนอย่างหนังสือพิมพ์เขาลง แม้กระนั้นก็ดูอุกอาจเต็มทีที่ผู้ร้ายลอยนวลเข้าไปจนถึงในบ้าน เมื่อทอดกฐินแล้วก็พาลูกหลานไปเซ็นชื่อถวายพระพรวันประสูติสมเด็จพระปกเกล้าที่วังสุโขทัย ไปพบหญิงโหล ชายแอ๊ว หม่อมสวาดิที่นั่น ว่าตั้งใจจะไปช่วยกฐินเมื่อเซ็นชื่อเสร็จแล้ว คิดว่าจะทอดบ่าย ๕ โมง