- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ได้รับประทานแล้ว
สนองลายพระหัตถ์
ตรัสถึงพระปรมาภิไธยอย่างจีนของพระเจ้าแผ่นดินเรา รำลึกตามก็ตระหนักใจว่าเคยได้ยินเหมือนกัน แต่ก็จำได้เพียง ๓ พระนาม คือ “แต้ตาก” เป็นพระนามพระเจ้ากรุงธน “แต้ฮุด” เป็นพระนามพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า “แต้เจี่ย” เป็นพระนามพระองค์ใดก็ลืมเสียแล้วด้วยใจหนักไปในทางไม่เชื่อถือผู้บอกกลัว “สัม” จึงไม่ได้กำหนดใจจำ ซ้ำเห็นมีพิรุธอยู่ด้วยที่คำ “ฮุด” เคยสังเกตว่าคำนั้นใช้ในที่ตรงกับคำ “พุทธ” ของเรา พระนาม “พระพุทธยอดฟ้า” ก็เพิ่งบัญญัติขึ้นในรัชกาลที่ ๓ กลัวจะเป็นประดิษฐ์ให้
ที่กราบทูลว่าพระราชลัญจกรมหาโลโตมีจำลองหลายดวง ใหญ่ก็มีเล็กก็มีนั้น ทรงพระราชดำริว่าจะเป็นตราซึ่งพระเจ้ากรุงจีนประทานหองตามลำดับรัชกาลนั้น เข้าทีอยู่มาก แต่หมดปัญญาที่ไม่ได้สังเกตว่าหนังสือผิดกันหรือไม่ ถึงจะสังเกตเห็นว่าผิดกันก็อ่านไม่ออก ไม่ทราบว่าอะไร จะต้องอาศัยคนรู้หนังสือจีนอ่าน แม้คนที่รู้หนังสือจีนก็ไม่ใช่จะอ่านหนังสืออย่างที่เขียนเป็นประแจจีนได้ทุกคน เป็นการลำบากอยู่
ดูเป็นยังไม่เข้าพระทัยจะแจ้ง ในเรื่องตราบุษบกประทีป คงเป็นด้วยเกล้ากระหม่อมกราบทูลวกวนไป จึ่งจะกราบทูลเสียใหม่ต่อไปนี้ ตราดวงที่กราบทูลว่าเก่าก่อนรัชกาลที่ ๔ นั้น เป็นรูปตะเกียงดับ ไม่มีไฟ จะไปเข้าทาง “ธมฺโมปทีโป” เห็นไม่ได้ จึงนึกว่าเป็นคนละดวงกับบุษบกประทีป ถ้าหากตราตะเกียงดับซึ่งเป็นตราเก่านั้น จะเป็นสะพานให้ทูลกระหม่อมทรงพระราชดำริดำเนินไปเป็นตราบุษบกประทีปแล้วว่าไม่ถูกอาจเป็นได้ ที่กราบทูลว่าตราตะเกียงดับเป็นของเก่าก่อนรัชกาลที่ ๔ นั้น ถ้าหากว่าทางฝีมือช่างก็ไม่มีอะไรที่จะพึงทรงเชื่อถือได้ด้วยพระองค์เอง คือตะเกียงที่ปรากฏอยู่อยู่ในตรานั้น เป็นรูปคล้ายกะลามีเชิงอย่างถ้วยแก้วเชิง ตรงกลางกะลามีพวยโผล่ขึ้นไปนิดหนึ่ง ซึ่งไม่เคยเห็นมีใช้ในรัชกาลที่ ๔ ถ้าหากเกล้ากระหม่อมไม่ได้ไปขุดพบที่วังกรุงเก่า (ซึ่งกรมหมื่นมหิศรตั้งชื่อว่าตะเกียงยายจ่าแว่น) แล้วจะไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตั้งอยู่ในบุษบกนั้นเป็นตะเกียง
ขอถวายอนุโมทนา ในการที่ได้ทรงเก็บเอาพัดตราต่าง ๆ เข้าไปไว้ในพิพิธภัณฑสถานหมด แม้ขาดไปเล่มหนึ่งก็ยังเป็นการดีมาก เรื่องพัดตรานี้มีเหตุที่จะกราบทูลบรรเลงถวาย เกล้ากระหม่อมเขียนคาถาในพระราชลัญจกร “สยามโลกัคคราช” ไปถวายสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ขอคำแปลแต่ท่าน และลงท้ายบอกออกตัวไปว่าลางทีจะจดผิด เพราะเห็นเส้นอักษรในพระราชลัญจกรซึ่งประทับไว้ไม่ชัด ด้วยเหตุนั้นท่านจึงไปสอบถึงวัดบวรนิเวศ ด้วยท่านระลึกได้ว่าสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงรับพัดพระราชลัญจกรองค์นั้น แต่พระผู้รักษาตำหนักไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร เลยไม่ได้เรื่อง แท้จริงท่านควรทราบ เพราะท่านเองก็ได้ถวายพัดตราซึ่งท่านได้รับเล่มหนึ่งแก่ฝ่าพระบาท แต่เห็นจะเป็นด้วยไม่เข้าใจ ว่าฝ่าพระบาททรงเก็บพัดตราหมดทุกเล่ม
“ดอยสุเทพ” เป็นอันได้ความแน่ว่าเรียกชื่อตามชื่อฤๅษีซึ่งอยู่ที่เขานั้น “วา” เติมเข้าทีหลังเพื่อให้เพริดพริ้งโดยไม่มีมูล ที่เรียกว่า “เขาอุฉุ” ก็มีเขียนไว้ในหนังสือนั้นเหมือนกัน เกล้ากระหม่อมยังได้พลิกดูพจนานุกรมของอาจารย์จิลเดอส์สอบ “อุฉุ” แปลให้ไว้ว่าอ้อย “ชื่อเมืองสัชนาลัย” ซึ่งควรจะเป็นเมืองชะเลียงนั้น เห็นได้ว่าตำนานแต่งทีหลัง นึกถึงชื่อเมืองชะเลียงไม่ออก พระนามขุนหลวงเดื่อคิดถึงไม่ทัน เป็นอันเดียวกับพระนามเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อนั่นเอง อันชื่อแต่ก่อนนี้เห็นจะแล้วแต่ใครต่อใครจะเรียกกัน ที่ผู้หลักผู้ใหญ่ให้ชื่อเห็นจะมาเกิดขึ้นภายหลัง แม้ทุกวันนี้คนหนึ่งก็มักจะมีสองชื่อ ซึ่งชายดิศเธอเรียกชื่อผู้ใหญ่ตั้งว่าชื่อเต็มยศ ด้วยเธอเขียนหนังสือถึงหญิงอี่บอกข่าวเกล้ากระหม่อมจะกลับถึงกรุงเทพฯ เธอว่าเธอนึกชื่อเต็มยศของหญิงอี่ไม่ออก
เพิ่งจะได้ทราบ ว่าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศที่เป็นตรีมุขนั้น เพราะรื้อมุขหลังเสียเพื่อสร้างพระเจดีย์ ถึงแม้พระอุโบสถเก่าจะเป็นจตุรมุขเหมือนเมรุก็ดี ก็ปรากฏอยู่ว่าที่เป็นจตุรมุขนั้นก่อแก้ต่อเติมทีหลัง อนึ่งสีมาวัดบวรนิเวศนั้นไม่เหมือนกับที่ไหนหมด พระประธานอยู่นอกเสมา ฝ่าพระบาทย่อมจะทรงระลึกได้ ว่าเสมากลางด้านหลังอยู่หน้าฐานชุกชี เพราะเหตุนั้นเกล้ากระหม่อมจึงไปจับได้ว่ามุขข้างต่อใหม่ เพราะก่อผนังทับสีมาริมด้านหลังไว้ครึ่งหนึ่ง นี่ว่าถึงสีมาเก่า ไม่ใช่ที่ทูลกระหม่อมทรงผูกขยายออกไปอีก
ข่าวกรุงเทพ ฯ
เมื่อวันที่ ๑๔ หญิงจงไปหา บอกลาจะออกมาปีนัง เกล้ากระหม่อมก็บอกว่าได้ทราบแล้ว เพราะสำนักงานราชเลขานุการบอกมา ในการที่เธอไปหานั้น หญิงมารยาตรกับหญิงกุมารีติดไปด้วยก็ไม่มีอะไรนอกจากคุยกันเท่านั้น รู้สึกว่าหญิงกุมารีโตมากแล้ว ดูเป็นหลัดๆ ที่เธอติดหญิงอามไปอยู่ที่บ้านปลายเนิน แต่ที่จริงนานทีเดียวแล้ว
เมื่อวันที่ ๑๖ เวลา ๔ ทุ่มกว่า เห็นฟ้าแดงก็รู้ว่าไฟไหม้ แต่ก็ซาโร่ไม่เอาใจใส่ต่อไป จนรุ่งขึ้นจึงได้ทราบว่าไหม้แถวโรงเรียนสายปัญญา เพราะเกี่ยวข้องกับหลานวิสาขา ไหม้เอามากด้วย คิดถึงเรื่องไฟไหม้ เมื่อยังมีหน้าที่อยู่ในทหาร พอไฟไหม้ก็ต้องแต่งตัวคอยราชการ ครั้นสิ้นหน้าที่จากทหารแล้ว พอรู้ว่าไฟไหม้ก็พุ่งไปดูไฟย่อมเข้าได้ถึงไฟทุกที มาเมื่อไหม้หลังวัดชนะสงครามแถวถนนพระอาทิตย์ ไปถึงป้อมมหากาฬสะพานผ่านฟ้าก็ต้องหยุดไปไม่รอดเพราะติดคนดูแน่นหมด จึงรู้สึกว่าเดี๋ยวนี้คนมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จะเข้าถึงไฟไม่ได้ ตั้งแต่นั้นก็หยุดการไปดูไฟ เมื่อวันที่ ๒๐ จะต้องไปช่วยพระยาสุรเสนาเขาบวชลูกที่วัดเทพศิรินทร์ เป็นอันจะต้องผ่านที่ไฟไหม้ไป จึงให้รถขับไปทางถนนกรุงเกษม แล้วเลือกถนนหลวงไปเข้าหลังวัด ขากลับไปทางถนน ๒๒ กรกฎาคม เห็นเนื้อที่ซึ่งไฟไหม้มากเต็มที ยังไม่เคยเห็นที่ไฟไหม้กว้างใหญ่เท่านั้นมาเลย จะพรรณนาถวายให้ละเอียดก็ไม่มีประโยชน์ เพราะหนังสือพิมพ์เขาพรรณนาไว้มากแล้ว ตลอดจนมีแผนที่ด้วย คงจะได้ทรงทราบละเอียดแล้วทุกประการจากหนังสือพิมพ์ทั้งหลายนั้น โรงเรียนบาลีที่วัดเทพศิรินทร์ได้ยินว่าร้อนจนควันขึ้น พระต้องช่วยกันสาดน้ำ ดูที่ริมถนนตรงโรงเรียนข้ามก็ยังมีเรือนเหลือที่ไม่ไหม้ไฟเต็มหลังบ้างครึ่งหลังบ้าง ไฟไม่ถึงถนนเสียอีก กระนั้นโรงเรียนที่วัดเทพศิรินทร์ยังเต็มที ที่วัดพลับพลาชัยอยู่ติดกับไฟเสียด้วยซ้ำ แต่ดูไม่เป็นไรเลย เข้าใจว่ากำแพงและต้นไม้ริมเขตวัดช่วยป้องกันไว้
เมื่อวันที่ ๒๒ ได้รับสมุดของสมาคมเกิน ซึ่งทรงพระเมตตาโปรดประทานเข้าไปให้อ่าน อยู่ข้างประหลาดใจที่เป็นภาษาอังกฤษล้วน จะได้ค่อยเพียรอ่านไปตามสติกำลัง
เมื่อวันที่ ๒๔ หญิงอี่ทำบุญเรือนซึ่งปลูกให้พวกลูกๆ อยู่กันขึ้นใหม่ ได้นิมนต์ชายดิศมาฉันด้วย เป็นฉลองกลาย ๆ ขอถวายพระกุศล
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด