- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๗ กรกฎาคมนั้นแล้ว
สนองลายพระหัตถ์
ตรากระทรวงมุรธาธรนั้นได้มาสู่ญาณหม่อมฉันแล้วว่า ดูเหมือนจะเป็นพระพรหมนั่งแท่น แต่นึกเป็นอย่างฝันไม่มั่นใจจึงได้ทูลขอให้ทรงพิสูจน์ที่ฐานต้นไม้ทองเงินอันจำได้ว่า ได้มีรูปตรากระทรวงมุรธาธรเป็นแน่
ตราราชสีห์นั้นคิดตามพระดำริที่ประทานมาในลายพระหัตถ์เวรฉบับนี้ เห็นว่ามีหลักฐานน่าจะถูก ที่หม่อมฉันทูลไปเป็นแต่อธิบายตามคำของข้าราชการเก่าเขาบอก เมื่อมาคิดดูตามกระแสพระดำริเห็นความต่อออกไปอีก ว่าตราพระราชสีห์นั้นเป็นชุดกัน ๔ ดวง คือตราใหญ่ดวง ๑ ตราน้อยดวง ๑ และตาครั่ง ๒ ดวง ตราใหญ่สำหรับประทับในหนังสือสั่งตามพระราชโองการ ตราน้อยสำหรับประจำต่อแผ่นกระดาษ ตราครั่ง ๒ ดวงสำหรับประทับหน้าหลังแผ่นครั่งประจำเชือกผูก ปากกล่องใส่สารตรา เพราะฉะนั้นแต่เดิมเวลามีสารตราต้องใช้ด้วยกันจึงต้องอยู่ด้วยกันทั้ง ๔ ดวง มีคำข้าราชการเก่าบอกอย่างห้วน ๆ อีกอย่าง ๑ ว่า “ตราพระราชสีห์ใหญ่นั้นจะเอาออกนอกกรุงเทพ ฯ ไม่ได้” นี่ก็ไม่ตรงกับความจริง ที่จริงนั้นพระเจ้าแผ่นดินเสด็จอยู่ที่ไหน จะเป็นในราชธานีก็ตาม หรือเสด็จอยู่ที่อื่น ดังเช่นเสด็จไปทำศึกสงครามตามต่างด้าวก็ตาม “ตราพระราชสีห์ทั้ง ๔ ดวงต้องอยู่ในราชสำนักเสมอ ถ้าตัวสมุหนายกตามเสด็จก็เอาตราพระราชสีห์ไปด้วย ถ้าตัวสมุหนายกไม่ได้อยู่ในราชสำนัก เช่นโปรดให้คุมกองทัพแยกไปทางหนึ่งต่างหาก ก็คงให้ข้าราชการที่เป็นหัวหน้าฝ่ายมหาดไทยถือตราพระราชสีห์ประจำอยู่ในราชสำนัก อธิบายที่กล่าวมานี้ส่อกำเนิดของตราราชสีห์เดินดงซึ่งต้องมีสำหรับสมุหนายกใช้ เมื่อไปบังคับบัญชาการอยู่ห่างราชสำนัก ยกตัวอย่างในเรื่องพงศาวดาร ดังเช่นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า เมื่อยังเป็นสมุหนายก ทรงรักษาเมืองพิษณุโลกสู้อะแซหวุ่นกี้ก็ดี หรือเมื่อเสด็จเป็นจอมพลลงไปตีเมืองเขมรก็ดี ก็ถึงเห็นได้ว่าจำต้องมีตราอีกดวงหนึ่งต่างหากและเป็นตราราชสีห์ เป็นแต่ทำรูปป่าไม้เป็นสินเธา ตราราชสีห์เดินดงกับคชสีห์เดินดงเห็นจะมีขึ้นพร้อมกันแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคงได้ใช้มาเนืองๆ แม้จนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ น่าจะใช้ครั้งหลังที่สุดเมื่อเจ้าพระยาภูธราภัยเป็น แม่ทัพไปรบฮ่อ เมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ แต่นั้นก็ไม่มีเหตุจะต้องใช้เพราะโดยปกติเสนาบดีมักอยู่แต่ในกรุงเทพฯ หม่อมฉันยังจำได้เมื่อแรกหม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยใน พ.ศ. ๒๔๓๕ ขึ้นไปตรวจหัวเมืองเหนือในปีนั้น มีเจ้าเมืองเหนือบางคนมากระซิบถามพระยาวรพุฒิโภคัยที่เป็นข้าราชการชั้นเก่าขึ้นไปกับหม่อมฉันว่า “นี่ท่านเสด็จขึ้นมาทำไม เสนาบดีแต่ก่อนท่านเคยมาแต่เวลามีศึกสงคราม เวลานี้ก็ไม่มีศึกสงครามอย่างใด” ดังนี้
นามพระร่วงสุโขทัยนั้น ประหลาดอยู่ที่ไม่มีปรากฏในศิลาจารึกครั้งสุโขทัยเลยทีเดียว ในจารึกศิลาหลักที่ ๒ ซึ่งพิมพ์ไว้ในหนังสือประชุมจารึกสยามของศาสตราจารย์เซเดส์ มีเล่าเรื่องไทยชิงเมืองสุโขทัยจากเขมรว่า พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองลาดกับพ่อขุนบ้านกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง ช่วยกันตีเมืองสุโขทัยจากพวกขอมเมื่อราว พ.ศ. ๑๘๐๐ พ่อขุนผาเมืองผู้ซึ่งพระเจ้ากรุงกัมพูชาได้ทรงสถาปนาเป็นประเทศราช และประทานราชธิดาเป็นชายา (มีบ้านเมืองตนพอใจแล้วจึง) อภิเศกพ่อขุนบางกลางท่าวเจ้าเมืองบางยางให้ครองเมืองสุโขทัย มียศเป็นเจ้า และมีนามว่า “กมรเต็ญอัญศรีอินทรปตินทราทิตย์” เช่นเดียวกับยศและนามของตนเองอันพระเจ้ากรุงกัมพูชา ได้ทรงตั้งแต่ปางก่อน ดังนี้ นี่เป็นต้นเค้าของคำที่ว่า “พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์” ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหง หรือว่าอีกในหนึ่งคือเป็นต้นราชวงศ์สุโขทัย พิเคราะห์ชื่อที่เรียกว่า (พ่อขุน) “บ้านกลางเทา” เห็นจะเป็นชื่อตั้งเช่นเดียวกับนามพระเจ้า “รามคำแหง” ซึ่งบอกไว้ในจารึกว่า พระบิดาทรงตั้งให้เป็นพระรามคำแหง แต่พระนามเดิมของพระเจ้าศรีอินทราทิตย์ก็ดีของพระเจ้ารามคำแหงก็ดีว่ากระไรไม่ปรากฏ ในหนังสือเก่าซึ่งแต่งในมณฑลพายัพ เรียกพระเจ้ากรุงสุโขทัยว่า “พระร่วง” ทั้งนั้น ตรวจดูตามเรื่องไปตรงกับพระเจ้ารามคำแหงก็มี เช่นเมื่อพระยาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่ว่าเชิญพระร่วงสุโขทัยกับพญางำเมือง เมืองพะเยาไปช่วยกัน แต่ถ้ายังไม่มีหลักฐานแน่นอนจะต้องทรงไว้ก่อนว่า พระเจ้าอินทราทิตย์ทรงพระนามเดิมว่า “ร่วง” แต่จะเป็น “ร่วง หรือ “รุ่ง” ก็ว่ายาก ถ้าว่าตามความที่ไทยเราเข้าใจกันทุกวันนี้จะเป็น “ร่วง” ไม่ได้ เป็นอัปมงคล ต้องเป็น “รุ่ง” หมายความว่าสว่าง ที่พระเอาพระนามไปแปลงเป็นภาษามคธ ปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่องต่างๆ เอาคำ รุ่ง (เรือง) ไปตั้งเป็นหลักว่า โรจราช อรุณราช ก็มี เอาสำเนียงที่เรียกไปตั้งเป็นหลักว่า รังคราช สุรังคราช ไสยรังคราช ไสยณรังคราชก็มี ประหลาดอีกอย่างหนึ่งที่เรื่องประ วัติพระร่วงอันมีแก่นสารไปปรากฏอยู่ในมณฑลพายัพทั้งนั้น ส่วนความรู้ที่เมืองสุโขทัยเองตลอดลงมาจนกรุงศรีอยุธยาเช่นปรากฏในพงศาวดารเหนือ เรื่องเหลวเป็นเต๋าก๊วยทั้งนั้น
เรื่องพระราชลัญจกร และตราอื่นๆ หม่อมฉันนึกวินิจฉัยอยู่แล้ว ไม่มีเวลาพอจะเขียนทูลในคราวเมล์นี้ ขอรอไปเวรหน้า.
เรื่องเบ็ดเตล็ดที่เมืองปีนัง
หม่อมฉันได้เคยทูลไปแต่ก่อน ว่าอังกฤษกำลังเตรียมทหารและตั้งปืนใหญ่สำหรับยิงเครื่องบิน ที่ปีนังนี้เมื่อเร็วๆนี้ เขาประกาศให้ชาวเมืองรู้ตัว ว่าจะลองปืนใหญ่ในวันนั้นเวลานั้นเพื่ออย่าให้ตื่นเต้น หญิงเหลือไปเก็บเอามาตื่นด้วยเจ้าของตึกซินนามอนฮอลเขาเคยบอกเธอ ว่าถ้าหม่อมฉันไม่เช่าเมื่อใดเห็นจะต้องรื้อทำใหม่ด้วยเทศบาลไม่ยอมให้ซ่อมแซม เธอจึงว่าตึกซินนามอนฮอลเป็นตึกเก่าคร่ำคร่าทนกระเทือนไม่ไหวจะหักพังลง เวลาเขาซ้อมยิงปืนใหญ่ขอเชิญเสด็จหม่อมฉันลงไปประทับเสียกลางแจ้งเห็นจะดี หม่อมฉันเห็นว่าที่ตั้งปืนอยู่ห่างถึงราว ๗๐ เส้น เห็นจะกระเทือนมาถึงไม่เท่าใดนัก ครั้นวันเขาซ้อมก็ไม่กระเทือนมาถึงได้ยินแต่เสียง ว่าตามหูของหม่อมฉันเพียงเท่าๆ กับเสียงเขาทิ้งไม้กระดานลงกับแผ่นดินเท่านั้น
อีกเรื่องหนึ่ง ตั้งแต่แรกหม่อมฉันมาอยู่ปีนังได้ซื้อรถยนต์ที่เขาใช้แล้วมาใช้หลังหนึ่ง ซึ่งท่านเคยทอดพระเนตรเห็นและตรัสเรียกว่า “สองสลึงเฟื้อง” ได้อาศัยใช้รถหลังนั้นมาสัก ๓ ปีจนคุ้มค่าตัว มันคร่ำคร่าหนักลงถึงวางใจไม่ได้ ทั้งยางลูกล้ออย่างนั้นเขาก็เลิกแฟชแช่น
ขอขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทรงพาชายดิศไปถวายตัวแก่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
-
๑. คือคำ fashion ในที่นี้หมายถึงว่า หมดความนิยมแล้ว ↩