- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
ลายพระหัตถ์เวรรฉบับลงวันที่ ๕ มีนาคม มาถึงหม่อมฉันตรงวันและเวลาตามเคย และยังดียิ่งกว่าสัปดาหะก่อนขึ้นไป ด้วยเขาส่งจดหมายของคนอื่นกับหนังสือพิมพ์บางกอกไตม์มาพร้อมกันกับลายพระหัตถ์แต่วันศุกร์เวลาเที่ยง
ทูลสนองความในลายพระหัตถ์
เรื่องตำนานเมืองมละกานั้นหม่อมฉันพอจะทูลอธิบายได้ นานมาแล้วหม่อมฉันได้อ่านหนังสือฝรั่งแต่งว่าด้วยเมืองชวามลายูเรื่อง ๑ แต่หนังสือเรื่องนั้นจะเรียกชื่อว่ากระไรและใครเป็นผู้แต่งเวลานี้นึกไม่ออก มีอธิบายว่า เกาะมละกาที่อยู่ใกล้หมู่เกาะชกา (คือ ที่อิเหนาข้ามไป) นั้น เรียกชื่อตามต้นไม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “มละกา” อันมีมากในเกาะนั้น (ก็นึกขึ้นในทันทีว่า อ้อต้นมะละกอนั่นเอง) ในหนังสือนั้นกล่าวต่อไปว่าพวกมลายูได้พันธุ์ต้นไม้นั้นมาปลูกที่แหลมมลายูงอกงามแพร่หลายในตำบล ๑ คนจึงเรียกชื่อตำบลนั้นว่า “(กำปง) มละกา” เมื่อตั้งเป็นเมืองจึงเอาชื่อเดิมของตำบลนั้นเรียกว่าเมืองมละกา ที่ซึ่งเรียกชื่อว่ามละกาจึงมีเป็น ๒ แห่งด้วยประการฉะนี้
จะเพิ่มอธิบายแทรกลงตรงนี้ว่าเหตุใดไทยเราจึงเรียกต้นไม้พันธุ์นั้นว่า “มะละกอ” ข้อนี้ประหลาดอยู่ จะเป็นเพราะเหตุใดไม่ทราบ พวกมลายูที่อยู่ทางฝ่ายตะวันตกพูดสำเนียงต่างกันกับพวกมลายูที่อยู่ทางฝ่ายตะวันออกของแหลมมลายู ยกเป็นตัวอย่างดังเช่นคำถามว่า “อะไร” มลายูชาวเมืองไทรบุรีพูดว่า “อาปะ” แต่มลายูชาวเมืองปัตตานีพูดว่า “อาปอ” เหมือนอย่างเช่นพวกนักสวดเอามาผูกเป็นกลอนว่า “อาหวังบุหรงอาปอ” ไทยเราได้ศัพท์ภาษามลายูมาจากพวกมลายูฝ่ายตะวันออกจึงเรียกต้นไม้นั้นว่า “มะละกอ” มิได้เรียกว่า “มละกา” อย่างที่เรียกกันทางฝ่ายตะวันตก
เรื่องตำนานเมืองมละกาในแหลมมลายู มีอยู่ในหนังสือหมอครอฟอดที่ไทยเราเรียกว่า “กะระฝัด” แต่งเรื่องเมืองชวามลายู ว่าในสมัยเมื่อพวกชวามลายูยังถือพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูอยู่นั้น เมื่อราว พ.ศ. ๑๗๐๘ มีพวกมลายูชาวเมืองมะนังกะเบา (ไทยเราเรียกว่าแม่นางกะเบา) ในเกาะสุมาตรา ข้ามมาตั้งทำมาหากินเป็นซ่องอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งในแขวง “อุยังตะนะ” ภาษามลายูแปลว่า “ปลายแหลม” ครั้นมีจำนวนผู้คนมาก มั่งคั่งขึ้น จึงตั้งที่ซ่องนั้นเป็นเมือง เรียกชื่อว่า “สิงหปุระ” แต่อยู่ได้ในที่นั้นไม่ถึง ๕๐ ปี เมื่อราว พ.ศ. ๑๗๕๐ พวกชวามาตีเมืองสิงหปุระ พวกมลายูสู้ไม่ไหวก็พากันอพยพหลบหนีขึ้นไปทางเหนือ ไปพบที่ชอบใจแห่งหนึ่งจึงตั้งภูมิลำเนารวบรวมกันอยู่ ณที่นั้นอันเป็นที่มีป่าต้นมละกามาก จึงเรียกชื่อถิ่นว่ามละกา ครั้นต่อมามีความเจริญจนถึงตั้งเป็นเมืองก็เรียกชื่อว่าเมืองมละกา เจ้าเมืองทรงศักดิ์เป็นเจ้าปกครองมาช้านาน เมื่อตั้งเมืองมละกานั้นประจวบกับเวลาพวกอาหรับมาค้าขายและเที่ยวเกลี้ยกล่อมพวกชวามลายูเข้ารีตถือศาสนาอิสลาม พวกคนในท้องถิ่นพากันนิยมเข้ารีตมากขึ้นโดยลำดับ ปรากฏว่าเมื่อราว พ.ศ. ๑๘๑๙ เจ้าเมืองมละกายอมเข้ารีตอิสลามเป็นคนแรก แต่นั้นก็เป็นเมืองถือศาสนาอิสลามสืบมา ได้ความตามหนังสือครอฟอดดังนี้
เรื่องเมืองไทยเกี่ยวข้องกับมละกาพบในหนังสือเก่า ๖ เรื่อง คือในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเรื่อง ๑ ในหนังสือจดหมายเหตุจีนเรื่องทางไมตรีในระหว่างประเทศจีนกับไทยที่พระเจนจีนอักษรแปลเรื่อง ๑ ในกฎหมายตอนกฎมนเทียรบาล เรื่อง ๑ ในหนังสือพระราชพงศาวดาร เรื่อง ๑ และในหนังสือจดหมายเหตุโปรตุเกสเรื่อง ๑ ในหนังสือ “มลายู” ของนายพันตรี เอนริเคศ เรื่อง ๑ จะคัดแต่เนื้อความมาพรรณนาพอให้เห็นเค้าของเรื่องตำนานว่าจะมีมาอย่างไร
ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงกล่าวถึงสมัยสุโขทัย (ในรัชกาลพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๒๐ จน พ.ศ. ๑๘๕๐) ว่ามีเมืองขึ้นทางฝ่ายใต้แต่เมืองกำแพงเพชรลงมา คือ เมืองคณฑี (อยู่ที่บางคณฑี) เมืองพระบาง (อยู่ที่ปากน้ำโพ) เมืองแพรก (คือเมืองสรรค์) เมืองสุพรรณภูมิ (เมืองอู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองศรีธรรมราช “ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว” ดังนี้ คำว่า “ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว” คือเป็นชายพระราชอาณาเขตหมายความว่าเพียงไหน ผู้พิจารณาบางคนเห็นว่าฝั่งสมุทรเป็นเขตตลอดรอบแหลมมลายู แต่ผู้ไม่เห็นด้วยท้วงว่าถ้าเช่นนั้นไฉนในจารึกไม่ออกชื่อเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ข้างใต้เมืองนครศรีธรรมราชลงไป เช่นเมืองมละกาเป็นต้น แต่ข้อนี้มีอธิบายอยู่ในหนังสือเรื่องอื่นที่อ้างมาแล้ว คือ
ในเรื่องมลายูของ เอนริเคส ว่าแรกเจ้าเมืองมละกาจะตั้งเมืองเป็นอิสระนั้นแต่ทูตไปอ่อนน้อม (ขอหอง) ต่อพระเจ้ากรุงจีน ยุติกับในจดหมายเหตุจีนที่พระเจนฯ แปลว่าในรัชกาลของพระเจ้าหงวนเสงจงฮ่องเต้ ซึ่งเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๘ (ร่วมสมัยกับพระเจ้ารามคำแหงมหาราช) เสี้ยมก๊กให้ราชทูตเชิญพระราชสาส์นเขียนด้วยน้ำทองมาถวาย (ชี้แจง) ด้วยเสี้ยมก๊กกับ “ม่าลี้อี๋เอ้อก๊ก” ทำสงครามโดยสาเหตุความอาฆาตกัน และพระเจ้ากรุงจีนให้แต่งราชทูตมาว่ากล่าวให้ปรานีปรานอมกัน (ทำนองจะเปรียบเทียบให้เมืองมลายูยอมเป็นเมืองน้อง ถวายต้นไม้ทองเงินแก่กรุงสุโขทัย และมิให้ไทยรังแกต่อไป) ความส่อให้เห็นว่า (เมื่อภายหลังจารึกหลักศิลาแล้ว) พระเจ้ารามคำแหงยังพยายามขยายพระราชอาณาเขตต่อลงไปจากเมืองนครศรีธรรมราช ที่สามารถแผ่ลงไปได้ถึงไหนไปมีปรากฏอยู่ในหนังสืออื่น คือ
ในกฎมนเทียรบาลระบุชื่อเมืองประเทศราชทางฝ่ายใต้ ที่กรุงศรีอยุธยารับมรดกมาจากกรุงสุโขทัย มี เมืองอุยัง-ตะนะ (ที่หมอครอฟอดว่า) เมือง ๑ มละกา เมือง ๑ วรวารี (จะเป็นชื่อเดิมของเมืองมลายูเมืองไหนยังไม่รู้) และว่ามี “เมืองพระยามหานคร” (คือเมืองที่พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งเจ้าเมือง แต่ให้ถืออาญาสิทธิเหมือนประเทศราช) ทางฝ่ายใต้ ๓ เมือง คือเมืองนครศรีธรรมราช ๑ เมืองตะนาวศรี ๑ และเมืองทวาย ๑ ความที่ว่าเมืองมละกาเคยเป็นประเทศราชขึ้นกรุงศรีอยุธยา ยังมีหลักฐานรับรองในหนังสืออื่นอีก คือ
ในหนังสือพระราชพงศาวดาร (ฉบับหลวงประเสริฐ) ตอนรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่าเมื่อปีชวด พ.ศ. ๑๙๙๘ “แต่งทัพไปเอาเมืองมละกา” ข้อนี้คงเป็นด้วยสุลต่านเจ้าเมืองมละกาได้กำลังพวกอาหรับอุดหนุนตั้งแข็งเมืองเป็นอิสระไม่ยอมเป็นประเทศราชดังแต่ก่อน กรุงศรีอยุธยาจึงให้กองทัพยกลงไปปราบปราม แต่ตีเมืองมละกาไม่ได้ ก็เลยเสียทั้งเมืองมละกาและเมืองอุยังตะนะแต่นั้นมา
เรื่องเมืองมละกา มีในจดหมายเหตุโปรตุเกสต่อติดมาว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๔ (ภายหลังกองทัพไทยลงไปตีได้ ๖ ปี) โปรตุเกสยกกองทัพเรือกำปั่นรบมาตีเมืองมละกา พวกมลายูสู้กำลังอาวุธของโปรตุเกสไม่ไหวก็เสียเมืองมละกาแก่โปรตุเกส (สันนิษฐานว่า) เมื่อโปรตุเกสได้เมืองมละกาแล้วทราบว่าเคยเป็นเมืองขึ้นของไทย เกรงไทยจะยกกองทัพลงไปช่วยพวกมลายูตีเอาเมืองคืน พระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสจึงแต่งทูตให้เชิญพระราชสาส์นเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๑ ขอเป็นไมตรีกับไทย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ก็ทรงรับเป็นไมตรีกับโปรตุเกส ฝรั่ง (คือพวกโปรตุเกส) จึงเข้าไปตั้งค้าขายในเมืองไทยเป็นเริ่มแรกแต่นั้นมา
โปรตุเกสตั้งเมืองมละกาเป็นสถานีใหญ่ มีป้อมปราการมั่นคง เป็นที่อยู่ของข้าหลวงผู้อำนวยการค้าขายกับเมืองไทยและเมืองชวามลายูตลอดไปจนเมืองจีนและเมืองญี่ปุ่น จึงเป็นที่พักเรือที่ผ่านไปมาและเป็นทำเลค้าขายสำคัญ ก็ในช่องทะเลระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา มีเมืองมละกาเป็นที่สำคัญกว่าแห่งอื่น พวกฝรั่งชาวเรือในสมัยนั้น จึงเรียกทะเลตอนนั้นว่า “ช่องมละกา” ถ้าเรียกเป็นคำภาษาอังกฤษก็เรียกว่า Straits of Malacca โปรตุเกสได้เป็นเจ้าของเมืองมละกาอยู่ ๑๓๐ ปี ในระหว่างนั้นพวกมลายูที่หนีอำนาจโปรตุเกสไปจากเมืองมละกาไปรวบรวมกันที่เมืองอุยังตะนะเดิม ตั้งเป็นอาณาเขตขึ้นเรียกชื่อว่าเมืองมัว ซึ่งภายหลังแยกออกเป็นเมืองยะโฮ กับเมืองปะหังบัดนี้ เกาะสิงคโปร์ก็อยู่ในอาณาเขตเมืองมัวนี้ด้วย เมื่อพวกโปรตุเกสเสื่อมกำลังลงด้วยมีพวกฝรั่งฮอลันดากับอังกฤษออกมาหาอาณาเขตค้าขายแข่งโปรตุเกส พวกฮอลันดาไปเข้ากับพวกมลายูเมืองมัว ช่วยกันตีได้เมืองมละกาจากโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๔ แต่นั้นพวกฮอลันดาก็ได้ครองเมืองมละกามา ๑๕๙ ปี ถึงสมัยมหาสงครามครั้งเอมปเรอนะโปเลียน ๆ ตีได้เมืองฮอแลนด์แล้วประกาศเอาเป็นอาณาเขตของฝรั่งเศส อังกฤษก็ชิงเอาบรรดาเมืองขึ้นของฮอลันดาทางนี้ ทั้งชวาและมลายูไปเป็นของอังกฤษ อังกฤษได้เมืองมละกาครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๔๓ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์) อังกฤษให้รื้อป้อมปราการเมืองมละกาซึ่งสร้างไว้แต่ครั้งเป็นเมืองโปรตุเกสเสียหมด โดยประสงค์จะมิให้ศัตรูเอาเป็นที่มั่นต่อสู้เรือรบได้ดังแต่ก่อน อังกฤษได้เมืองมละกาไว้ในครั้งนั้น ๑๘ ปี เมื่อเสร็จสงครามนะโปเลียน มีการประชุมสันนิบาตชาติ Congress ที่กรุงวิเอนา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑ เพื่อจะจัดระเบียบอาณาเขตประเทศต่างๆ มิให้ยุ่งอย่างเอมปเรอนะโปเลียนได้ทำไว้ ครั้งนั้นตกลงกลับตั้งประเทศฮอแลนด์เป็นอิสระอย่างเดิม อังกฤษต้องคืนเมืองชวา มลายู ซึ่งชิงเอาไปได้ ให้กลับเป็นของฮอลันดา เมืองมละกา (ซึ่งถูกรื้อสิ่งสำคัญหมดสิ้นแล้ว) จึงกลับคืนเป็นของฮอลันดา ๆ ได้เป็นเจ้าของอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อจะคืนอาณาเขตกันครั้งนั้น เซอร์สะแตมปฟอด แรฟเฟลส์ อังกฤษซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองชวาคิดเห็นช่องมละกาจะเป็นที่สำคัญในการคมนาคมระหว่างประเทศทางตะวันออกในภายหน้า จึงชี้แจงแก่รัฐบาลให้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์อันอยู่ในอาณาเขตของเมืองมัว ไว้เป็นที่อังกฤษตั้ง “แหล่ง” settlement สำหรับค้าขาย อังกฤษจึงเรียกช่องมละกาว่า Straits Settlement และต่อมาสร้างเป็นเมืองขึ้น ณ ที่นั้น เพราะฉะนั้นในหนังสือจดหมายเหตุไทยแต่งตอนรัชกาลที่ ๒ มาจนต้นรัชกาลที่ ๔ จึงมักเรียกเมืองสิงคโปร์ว่า “เมืองใหม่” ฝ่ายฮอลันดาได้เมืองมละกาคืนก็ไม่เป็นประโยชน์อย่างแต่ก่อน เพราะถึงสมัยนี้อังกฤษมีเมืองปีนังตั้งอยู่ฝ่ายเหนือ และเมืองสิงคโปร์อยู่ข้างใต้เมืองมละกา แย่งเอาการค้าขายไปยังที่ ๒ แห่งนั้นหมด ถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ อังกฤษกับฮอลันดาจึงตกลงแลกเมืองกัน อังกฤษโอนเมือง เบนคูเลน Bencoolen ในเกาะสุมาตราให้ฮอลันดา ๆ โอนเมืองมละกาให้อังกฤษ เมืองมละกาจึงเป็นของอังกฤษสืบมาจนบัดนี้
ยังมีวินิจฉัยคำที่เรียกว่า “สะเตรด” น่าจะทูลต่อไป แต่ร่างจดหมายมาเพียงนี้ ถึงวันอังคารแล้ว ต้องขอรอไปทูลในจดหมายเวรฉบับสัปดาหะหน้า พร้อมกับทูลสนองเรื่องพระแท่นดงรังอันจะมีวินิจฉัยด้วยเหมือนกัน
งานวชิราวุธานุสรณ์ที่ในกรุงเทพฯ นั้น พวกลูกหญิงเธอได้ของพี่น้องซื้อฝากมา ให้เป็นเข็มข้าหลวงเดิมเล็กๆ กับใบ “เทียมซี” ซึ่งทอดติ้วได้จากบูชารอยพระบาทหล่อของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เธอเอามาให้หม่อมฉันดู และเล่ารายการที่เธออ่านหนังสือพิมพ์ให้ฟังบ้าง จับใจหม่อมฉันแต่ที่มีรอย “พระราชบาท” นับเป็นที่ ๓ ต่อจากรอย “พระพุทธบาท” และรอย “พระวิษณุบาท” จะทูลต่อไปถึงพระพุทธบาทที่ทำเป็นเจดีย์วัตถุโบราณทำเป็น ๒ อย่างต่างกัน อย่าง ๑ ทำเป็นฝ่าพระบาทพระพุทธเจ้า เคยเห็นมีอยู่ที่เมืองสุพรรณ ณ วัดพระรูป แห่ง ๑ ณ วัดเสาธงทอง แห่ง ๑ แล้วไปเห็นเขารักษาไว้ที่นครวัดอีกแห่ง ๑ อีกอย่าง ๑ ทำเป็นรอยเหยียบพระบาทของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ที่ชอบทำกันเป็นสามัญ หม่อมฉันสันนิษฐานว่าอย่างทำเป็นฝ่าพระบาท เห็นจะได้แบบมาจากอินเดีย อย่างที่ทำเป็นรอยเหยียบพระพุทธบาทคงได้แบบมาจากลังกา และพระพุทธบาท ๒ อย่างนั้นมีมูลหมายความต่างกัน อย่างที่ทำเป็นฝ่าพระบาทคิดทำขึ้นในอินเดียในสมัยเมื่อยังห้ามมิให้ทำพระพุทธรูป อย่างทำเป็นรอยเหยียบพระพุทธบาทคิดขึ้นในลังกา เป็นเครื่องหมายว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จไปถึงที่นั่น
หม่อมฉันได้ทราบข่าว หม่อมเชื้อ วัฒนวงศ์ ตายจากลายพระหัตถ์ พอเขียนจดหมายไปแสดงความสงสารหญิงจงกลนีแล้ว เมล์มาเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ ก็ได้ข่าวว่า หม่อมหวลจักรพันธ์ ตายอีกคน ๑ ได้ยินแต่ข่าวตายออกสลดใจ ดูคนที่เคยคุ้นกันหมดไปทุกที แต่คนที่จะรู้จักขึ้นใหม่มีน้อย
ข่าวทางเมืองปีนัง
ที่ปีนังยังแล้งและร้อนจัดมาจนสัปดาหะที่ล่วงแล้ว พระยารัษฎาธิราชภักดีบอกว่า แต่อยู่เมืองปีนังมายังไม่เคยเห็นแล้งนานและร้อนจัดเหมือนคราวนี้ ถึงต้นทุเรียนและต้นหมากที่ในสวนตาย ไร่ที่ทำตามไหล่เขาก็เกิดไฟไหม้ด้วยหญ้าแห้งเสียหายกันหลายแห่ง ที่เมืองกวาลาลุมปูรก็ถึงต้องลดจ่ายน้ำประปา แต่ที่ปีนังนี้มีน้ำมากเขายังไม่วิตก เมื่อวันเสาร์ที่เกิดพายุฝนตก เมื่อเวลา ๒๐ นาฬิกาสักชั่วโมง ๑ แทบจะสวดชยันโตเพราะทำให้อากาศเย็นลงได้มาก คาดว่าวันหลังฝนจะตกต่อมาอีกก็ยังไม่ตก แต่เห็นจะเปลี่ยนมรสุมในไม่ช้า
เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๑ มีการซ้อมมืดในปีนังเป็นครั้งที่ ๓ เมื่อซ้อม ๒ ครั้งก่อนเขาให้ปิดมืดตั้งแต่เวลา ๒๓ นาฬิกาไปจนรุ่งสว่าง พอถึงเวลาปิดไฟเราก็เข้านอนเสียไม่รู้สึกอะไรนัก แต่คราวนี้เขาจะลองปิดมืดในเวลาคนพลุกพล่าน และซ้อมพวกอาสาเป็นพนักงานพยาบาลและดับไฟ มีราว ๑๐๐๐ คน จึงกำหนดให้ปิดในเวลา ๒๐.๓๐ นาฬิกา ไปกลับเปิดสว่างเมื่อ ๒๓ นาฬิกา คราวนี้พวกเราออกเดือดร้อนอยู่บ้าง ต้องรีบกินอาหารค่ำแต่เวลา ๑๙.๑๕ นาฬิกา เพื่อให้บ่าวมีเวลากินให้เสร็จก่อนเวลาปิดไฟ และต้องมีอังแพลมไฟฟ้าถือติดมือเหมือนตระบองเพชร เมื่อมืดแล้วหม่อมฉันลองเดินออกไปดูถึงประตูบ้าน ในถนนไม่มีผู้คน เห็นแต่รถจักรยานของเจ้าพนักงานผ่านไปมา แต่ดูเหมือนเขาจะระวังเหตุการณ์กวดขัน เมื่อมืดได้สักชั่วโมง ๑ มีตำรวจมาถามว่าที่ในบ้านหม่อมฉันเป็นปกติดีหรืออย่างไร แต่พวกเราก็ออกรู้สึกเดือดร้อนอยู่เอง เพราะจะนอนก็ยังหัวค่ำ จะทำอะไรก็ไม่ได้ จะอ่านหนังสือก็แลไม่เห็น จะเดินไปข้างไหนก็ลำบากและไม่มีกิจ ก็ได้แต่ลงนอนหลับตาอยู่กับเก้าอี้ยาวจนเวลาเขาเปิดไฟจึงเข้านอน
ค่ำวันอังคารที่ ๑๒ นี้เขาจะปิดมืดซ้ำอีกครั้ง ๑ เช่นเดียวกับคืนวันจันทร์ พวกเจ้าของโรงหนังฉายเขาช่างคิด ออกโฆษณาว่าจะเล่นหนังฉายแต่เวลา ๒๐.๓๐ นาฬิกา ไปเลิกเมื่อเวลาเปิดสว่างแล้ว สำหรับคนรำคาญอยู่มืดๆ จะได้ไปดู แต่หม่อมฉันคิดดูก็ลังเล ถ้าไปดูหนังฉายแก้รำคาญที่ต้องอยู่มืดๆ ก็จะต้องแต่งตัวและรีบไปแต่ ๒๐ นาฬิกา จะต้องไปนั่งกรึงดูหนังอยู่ในเครื่องมั่น ๓ ชั่วโมง ดูก็มิใช่เล่น ทีก็เห็นจะไม่ไป ด้วยพวกลูกเขากำลังคิดจะหาแสงสว่างให้หม่อมฉันพออ่านหนังสือได้ ถ้าได้เช่นนั้นก็ไม่เดือดร้อน
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด