- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๙ กันยายน ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ตราพระราชลัญจกร
พระเจนจีนอักษรเอาคำแปลหนังสือจีนในพระราชลัญจกรมาให้ ได้พูดกันถึงพระปรมาภิไธยอย่างจีน แกทราบจำได้ดีอยู่ ๔ รัชกาล ด้วยได้เคยแปลจดหมายเหตุครั้งแผ่นดิน เชง เป็นดังนี้
รัชกาลที่ ๑ แต้ฮั้ว
รัชกาลที่ ๒ แต้ฮก
รัชกาลที่ ๓ แต้เหม็ง
รัชกาลที่ ๔ แต้ฮุด
แต้ฮุดเป็นรัชกาลที่ ๔ นั้นดีขึ้น หมายความว่าทรงผนวชอยู่ในพระพุทธศาสนา เมื่อได้ความดังนี้ แต้เจี่ย ก็ตกเป็นรัชกาลที่ ๕ โดยไม่มีปัญหา
จะกราบทูลจำเพาะแต่องค์ที่เห็นสำคัญ ตามที่พระเจนแปลมาให้เข้าใจมี ๕ องค์ด้วยกัน ถ้าจะแยกชนิดก็เป็น ๒ อย่าง คือเป็นพระปรมาภิไธยเหมือนอย่างพระราชลัญจกร สยามโลกัคราช นั้นอย่างหนึ่ง มีแต่คำ “เซียม-ก๊ก-แต้ -เจี่ย” เท่านั้น อีกอย่างหนึ่งที่ผู้ทำจะนึกให้เป็นพระราชลัญจกร พระบรมราชโองการเพราะมีคำ “เก่า-เม่ง” แปลว่าประกาศ-สั่ง แซกเข้าไป ชนิดที่เป็นพระปรมาภิไธยมี ๒ องค์ได้กราบทูลมาก่อนแล้ว จะกราบทูลให้ทรงทราบบัดนี้ จำเพาะแต่ที่คิดว่าตั้งใจจะให้เป็นพระราชลัญจกร พระบรมราชโองการ ๓ องค์ คือ
๑. เป็นอักษรจีนอย่างปกติ ๖ ตัวว่า “เซียม-ก๊ก-เก่า-เม่ง-แต้-เจี่ย”
๒. เป็นอักษรจีนอย่างตัวยี่ แต่ก็อ่านได้เหมือนกันกับตัวอย่างเขียนตามปกติ
๓. เป็นอักษรจีนอย่างตัวยี่เหมือนกัน แต่ลดขนาดเล็กลง และลดหนังสือเสีย ๒ ตัว มีแต่ “เก่า-เม่ง-แต้-เจี่ย”
นอกจากนี้ ยังมีองค์ที่ประหลาดอีกองค์หนึ่ง มีอักษรจีนอย่างปกติ ๖ ตัว “เซียม-ก๊ก-เก่า-เม่ง-ยี่-อ๋อง” เกล้ากระหม่อมคิดว่าทำเตรียมมาสำหรับวังหน้า คำ “ยี่-อ๋อง” คิดว่าเทียบมาจาก Second King จะต้องเป็นตราพระราชบัณฑูร หากจะสังเกตสิ่งที่ทำก็เห็นได้ ว่าทำมาคราวเดียวกันกับพระราชลัญจกร “เซียม-ก๊ก-แต้-เจี่ย” องค์นั้นจดบอกว่าทำด้วยศิลาลายดำ องค์นี้จดบอกว่าทำด้วยศิลาลายแดง
พระราชลัญจกรเหล่านี้ เชื่อว่าท่านผู้ขนานพระปรมาภิไธยเป็นอย่างจีน ต้มสั่งทำเข้ามาถวาย แล้วก็ไม่ได้ใช้
ตรา “พระลักษณ์ทรงหณุมาณ” ประจำครั่ง ตามที่กราบทูลมาก่อน เห็นจะเก็บไว้ในกรมอาลักษณ์ ไม่ได้ส่งขึ้นไปวังหน้า เพราะไม่มีที่ใช้ จึงได้ยังอยู่ไม่หายเสีย
สนองลายพระหัตถ์
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ได้รับประทานแล้ว
ตามที่ทรงพระเมตตาโปรดประทานพรแก่หญิงอี่นั้น ได้บอกเธอแล้ว เธอสั่งให้กราบทูลว่าเป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ถวายบังคมฝ่าพระบาทรับพระพรไว้เหนือเกล้า
พระอุโบสถวัดมหาธาตุนั้น เกล้ากระหม่อมก็ได้สังเกตเห็นว่าควรจะได้คู่กับพระวิหารหลวง แต่ก็ไม่ได้คู่กัน ซ้ำผิดระยะกับวิหารพระธาตุไปเสียด้วย เคยนึกตำหนิในใจอยู่ ต่อเมื่อมาฟังพระดำริในครั้งนี้ จึงได้เห็นตามว่าเป็นการก่อแก้ภายหลังถูกต้องแท้ทีเดียว วิธีที่ทำสีมาติดกับผนังโบสถ์นั้น เกล้ากระหม่อมรู้สึกชอบยิ่งนัก เห็นว่ารักษาสังฆกรรมง่าย ปิดประตูโบสถ์เสียเท่านั้นก็เป็นวางใจได้อย่างสีมารายห่างโบสถ์นั้น คิดว่าเดิมทีจะได้เขตสีมามาก่อน ได้เพียงไหนก็เอาก้อนหินวางหมายไว้จะเบี้ยวบูดไปอย่างไรก็ตามที แล้วพระสงฆ์จึงปลูกโบสถ์ลงในนั้น จะอยู่ตรงกลางหรือค่อนไปข้างไหน จะเล็กใหญ่เท่าไรก็แล้วแต่ความต้องการของพระสงฆ์ ภายหลังกลายเป็นให้เขตสีมาที่หลังโบสถ์ตามขนาดโบสถ์ โบสถ์ใหญ่ก็ให้เขตสีมาใหญ่ โบสถ์เล็กก็ให้เขตสีมาเล็ก เมื่อเขตสีมาจำกัดเสียแล้ว โบสถ์เดิมเล็กจะขยายใหม่ให้ใหญ่ออกอีกจึงเป็นการยาก
พระดำรัสรจนาเรื่องการดับไฟแบบเก่านั้น แม้ทราบอยู่แล้วก็ดีเต็มที จะเป็นหลักสำหรับคนภายหลังได้ทราบการเก่า อยากจะทูลแถมว่าแม้พระที่นั่งเก่าๆ ก็ทำด้วยไม้ เขาว่าพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาท ที่ไฟไหม้เสียเมื่อก่อนนั้นก็ทำด้วยไม้และเป็นแน่ว่ามุงด้วยกระเบื้องดีบุก จนมีเรื่องว่าตำรวจซึ่งเข้าไปยกพระแท่นมุกหนีไฟนั้นถูกดีบุกละลายไหลหยดลงต้องตัว การมุงด้วยกระเบื้องดีบุกเห็นจะเป็นธรรมเนียม พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ก็มุงด้วยกระเบื้องดีบุก เพราะดูคล้ายกันแต่ง่ายขึ้นกว่า พูดถึงพระที่นั่งเมืองพม่าก็นึกขันตัวเอง ไปเห็นซุ้มอันตั้งอยู่บนอกไก่หลังคาพระที่นั่ง นึกว่าสำหรับคนขึ้นไปเฝ้าไฟ อย่างเดียวกับโรงโขนโรงหุ่นของเรา ที่มีหม้อน้ำขึ้นไปตั้งไว้บนอกไก่นั่นสำหรับเอาผ้าผูกปลายไม้จุ่มน้ำในหม้อดับลูกไฟ แต่ซุ้มบนหลังคาพระที่นั่งในเมืองพม่านั้น มาได้ทราบตามที่ตรัสบอกภายหลังว่าสำหรับให้คนขึ้นไปอยู่เฝ้าแร้ง เป็นคนละอย่างกับที่นึกไปทีเดียว สิ้นเคราะห์ไปที คนที่ไปดูไฟไหม้เห็นจะแยกได้เป็นสองจำพวก พวกหนึ่งตั้งใจไปช่วยขนของ พวกหนึ่งตั้งใจไปช่วยดับไฟ แต่ครั้นไปเห็นดาบขาวๆ เข้าก็กลัว เลยกลายเป็นยืนดูไฟ เมื่อมีผู้ใหญ่ขอให้ช่วยพวกหลังจึงช่วยด้วยความเต็มใจเพราะเห็นว่าปลอดภัยแล้ว
เรื่องมหาราชาหัฐวะออกบวช ตามหนังสือพิมพ์ตัดนั้น ตรงด้วยออกมหาภิเนษกรมเต็มประตู ถ้ามีหมู่คนตื่นเต้นนับถือก็เห็นจะมีเรื่องพิสดารต่อไปอีกมาก
เบ็ดเตล็ด
เห็นรูปในหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ วันที่ ๒ กันยายน ว่าส่ง Kiln ยาว ๗๗ ฟุตไปด้วย Crocodile ให้รู้สึกขันเพิ่งจะรู้ว่าฝรั่งก็เรียกล้อเลื่อนซึ่งใช้ของประทุกของหนักว่า “ตะเข้” เช่นไทยเราเหมือนกัน
เมื่อวันที่ ๖ นี้ ไปช่วยงานร้อยวันที่พระศพองค์บุษบัณ เห็นธรรมาสน์เทศน์ทำหรูหรา แต่เพื่อจะไม่ให้ต้องมีโต๊ะข้าง จึงทำให้หิ้งต่อออกที่พนัก สำหรับวางคัมภีร์และเทียนดูหนังสือ เห็นว่าทำอย่างไรก็สู้อย่างที่เป็นสัปคับช้างไม่ได้ทั้งนั้น พระนั่งสบาย และมีที่วางคัมภีร์เทียนดูหนังสืออยู่ในตัว แต่ไม่ยักมีคนเอาอย่าง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด