- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วินิจฉัยคำ “กู้”
คำว่า “กู้” เป็นกิริยาศัพท์ Verb ภาษาไทย มีมาแต่โบราณและยังใช้กันอยู่จนทุกวันนี้ หมายความว่า “ทำของที่เสื่อมเสียให้กลับคืนดีขึ้น” หรือถ้าว่าโดยย่อคือ “ทำให้กลับดีขึ้น” ดังจะยกตัวอย่างให้เห็น คือ
๑) เรือล่มจมน้ำอยู่ การวิดน้ำทำให้เรือกลับลอยอย่างเดิมเรียกว่า “กู้เรือ”
๒) บ้านเมืองใดยับเยินด้วยเสียแก่ข้าศึก หรือเพราะเกิดจลาจล การที่ทำให้บ้านเมืองกลับเป็นสันติสุขอย่างเดิม เรียกว่า “กู้เมือง”
๓) ในสมัยใดพระศาสนาทรุดโทรม ด้วยถูกพวกถือศาสนาอื่นกดขี่ก็ตาม หรือเพราะชาวเมืองเกี่ยงแย่งกันเองก็ตาม การทำให้พระศาสนากลับคืนดี เรียกว่า “กู้พระศาสนา”
๔) ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งว่าช่วยกู้คนต่างด้าวที่ไปยังพระนคร ก็หมายความว่า ช่วยระงับทุกข์และบำรุงสุขแก่คนเหล่านั้น
อธิบายคำ “กู้” ตามตัวอย่างที่อ้างมาล้วนหมายความอย่างเดียวกันว่า “ทำให้กลับดีขึ้น” หรือว่าอีกนัยหนึ่งเป็น “กิริยาทางฝ่ายวัฒน” ทั้งนั้น มีใช้คำ “กู้” เป็นกิริยา “ฝ่ายหายนะ” แต่ในหนังสือกฎหมายใช้ว่า “กู้หนี้” หมายความว่าการยืมทรัพย์ของผู้อื่น อันเป็นการทำข้างฝ่ายเลวเพราะผู้กู้ต้องตกเป็นลูกหนี้ ผิดกับผู้กู้บ้านเมืองหรือกู้ศาสนา ดูน่าพิศวงอยู่ว่าเหตุใดกิริยาศัพท์ “กู้” จึงใช้หมายความผิดกลับกันได้เช่นนั้น
พิจารณาดูตัวบทกฎหมายลักษณะกู้หนี้ (ในประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ เล่ม ๑๗๒) พระธรรมศาสตร์ภาษามคธที่ยกมาตั้งเป็นหลักข้างต้น ไทยผู้แปล แปลศัพท์ “อิณฺณ” ว่าหนี้ก็ถูกตามพจนานุกรม แต่ที่แปลศัพท์ “กิยา” อันมีต่อมาอีกศัพท์หนึ่งว่า “กู้” นั้น ได้ค้นดูในหนังสือพจนานุกรมภาษาบาลีของอาจารย์จิลเดอส์ หามีศัพท์ “กิยา” อยู่ในนั้นไม่ จึงรู้ไม่ได้ว่าศัพท์ กิยา ที่ไทยผู้แปลแต่โบราณเอามาแปล “กู้” นั้น เดิมหมายความว่ากระไร โดยถ้าคำเดิมในพระธรรมศาสตร์หมายความตามที่เราเข้าใจกันในปัจจุบันนี้ คือว่ายืมทรัพย์โดยมีสัญญาว่าจะให้กำไรแก่เจ้าทรัพย์ด้วยให้ดอกเบี้ยหรืออะไรก็ตาม ที่เอาคำ “กู้” มาใช้เป็นกิริยาว่า “กู้หนี้” ถ้าถืออธิบายเดียวกับคำกู้เช่นใช้ที่อื่นๆ จะต้องยกหนี้สินว่าเป็นของดีเสื่อมสูญไปจึงให้กลับมีขึ้น จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้ ถ้าแปลว่า “ก่อ” จะได้ความดีกว่า ตรงกับ Contract of debts หรือมิฉะนั้นใช้คำ “กู้” คือว่า “กู้หนี้” โดยหมายความว่า “ชำระหนี้” อันเป็นเหตุที่ลูกหนี้เดือดร้อนให้สิ้นไป Liquidation of debt กลับลอยตัวได้อย่างเดิม นัยนี้เข้ากับอธิบายศัพท์ “กู้” ที่ใช้ในที่อื่นได้ทุกแห่ง วินิจฉัยที่กล่าวมานี้ว่าโดยเดา เพราะจะอาศัยพิจารณาพระธรรมศาสตร์ต้นลักษณะกู้หนี้ก็ไม่ได้ ด้วยมีความเป็นอย่างกระทู้เพียง ๔ บท ว่าบิดามารดากับบุตรเป็นหนี้สินกัน บท ๑ บุตรต่อบุตรเปนหนี้สินกัน บท ๑ ญาติต่อญาติเป็นหนี้สินกัน บท ๑ และมิตรต่อมิตรเป็นหนี้สินกันบท ๑ ไม่มีอธิบายอะไรปรากฏนอกออกไปจากนั้น ตัวอธิบายข้อบังคับของกฎหมายลักษณะกู้หนี้ไปมีอยู่ใน “สาขาคดี” คือ พระราชบัญญัติซึ่งพระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาทรงตั้งขึ้นเมื่อภายหลังมาช้านาน
ขอให้ท่านถือว่าวินิจฉัยนี้เขียนเพียงสำหรับให้ท่านพิจารณาดูเป็นส่วนตัว.