- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเดย
วันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ได้รับลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๖ เมษายน ทราบความว่าไม่ได้ทรงรับหนังสือเวรเมื่อคราวเมล์วันที่ ๒ ให้นึกแค้นใจตัวเองว่าเขลาไปจึงได้เป็นเช่นนั้น ไม่ได้เจ็บไข้อย่างไร และหนังสือเวรก็ได้ทำส่งถวายตามเคย แต่ไม่ได้นึกไปถึงว่าวันเมล์ที่ส่งหนังสือเวรถวายนั้น เป็นวันที่ ๑ เมษายน ขึ้นปีใหม่ ๒๔๘๒ สำนักงานในราชการหยุดพักราชการหมด ๓ วัน ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๘๑ เป็นต้นไป กรมไปรษณีย์เขาก็ดี เขานึกถึงกิจการของประชาชน แม้ปีนี้วันหยุดพักเขาก็เปิดสำนักงานรับธุระของประชาชนวันละ ๒ ชั่วโมง แม้กระนั้นก็ดี มีช่องที่จะพลาดพลั้งจนหนังสือจะมาถึงฝ่าพระบาทไม่ได้อยู่หลายขั้นนัก แต่คลาดก็คงเคลื่อนไปเมล์หนึ่ง ป่านนี้หวังว่าฝ่าพระบาทคงจะได้ทรงรับแล้ว ที่จริงถ้าไม่เขลาก็อาจทำไม่ให้พลาดพลั้งได้ คือ ทำส่งสำนักงานไปรษณีย์เสียแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ซึ่งไม่ใช่วันหยุดก็แล้วกันเท่านั้น วันและเวลาอันจะพึงทำเช่นนั้นได้มีถมไป
ประวัติเจ้าพระยายมราชที่ทรงเรียบเรียง เกล้ากระหม่อมยังไม่ได้อ่าน แต่หญิงอามกับแม่โตอ่านแล้ว มาออกปากชมว่าที่ทรงแต่งนั้นดี งานเผาศพมากเต็มที ทั้งงานในราชการและงานเชลยศักดิ์ แจกหนังสือกันงานละเป็นมัดๆ แต่อ่านชื่อเรื่องของหนังสือก็ไม่เห็นว่าเรื่องใดควรจะจับพระทัยถึงอยากทรงจึงไม่ได้เลือกส่งมาถวาย
เรื่องค้าสำเภาครั้งรัชกาลที่ ๓ ซึ่งได้ทรงพบนั้นเชื่อว่าดีด้วยผู้รู้กาลเวลานั้นเขาแต่งไว้ เรื่องพงศาวดารหรือประวัติอะไรนั้นฟังยากเต็มที ลางทีก็ฟังได้ ลางทีก็เหลวเป็นเฉาก๊วย ต้องอาศัยวิจารณปัญญาของผู้อ่าน ต้องเลือกฟั้นอีกทีหนึ่ง ในเรื่องวิธีค้าสำเภาที่ตรัสถึงนั้นเชื่อว่าดี โดยเชื่อในฝ่าพระบาทว่าได้ทรงพิจารณาแล้วและทรงพระดำริเห็นว่าควรเชื่อได้ แต่ที่จะทรงพระอุตสาหะแปลประทานนั้น อยู่ข้างจะย่างพระกายมากหากว่านิดหน่อยก็เป็นพระเดชพระคุณล้นพ้น ถ้าหากว่ายืดยาวก็ไม่จำเป็นต้องทรงย่างพระกายเลย
ขอถวายอนุโมทนา ในการที่ทรงบำเพ็ญพระกุศลในวันขึ้นปีใหม่ได้ทราบข่าวว่าทางกรุงเทพฯ จัดส่งพระภิกษุสงฆ์ออกมาจำพรรษา ณ วัดศรีสว่างอารมณ์ที่ปีนังอีก ๓ รูป รู้สึกว่าดีขึ้นมาก จะได้ครบเป็นคณะสงฆ์ ไม่เช่นนั้นก็ว้าเหว่ ที่ปีนังดีที่เห็นพระเห็นเจ้า ที่บันดุงนั้นเต็มที ต้องกับคำที่ว่า “เยือกเย็นไม่เห็นพระเห็นเจ้า”
ทูลกระหม่อมชายเรียบเรียงรายงานในการเสด็จไปประพาสอินเดียประทานเข้าไป ดีเต็มทีที่ได้รู้ความเป็นอยู่ในอินเดียว่าเป็นอย่างไร ของงามก็มีงามจริงอยู่ แต่พื้นที่ทั้งปวงนั้นสกปรก ตรัสเปรียบว่าเหมือนเพชรพลอยอยู่ในกองโสโครก เทวสถานแต่ละแห่งโคลนตมเลอะเทอะไปทั้งนั้น เพราะติดเท้าคนเข้าไปอย่างพลุกพล่าน ทำให้นึกได้ถึงได้อ่านนิทานเรื่องนารายณ์ปราบนนทุก ว่านนทุกมีหน้าที่ล้างเท้าเทวดาเมื่อจะขึ้นไปเฝ้าพระอิศวร ได้ออกปากทักว่าอะไรเทวดาเดินบุกโคลนมาหรือจึงต้องล้างเท้าให้ เพิ่งจะเข้าใจว่าเขาดูติดใจมาจากคนจริงๆ เข้าเทวสถาน ก็ว่าไปตามที่เห็นติดตามานั้น เรานึกมันหรูเกินแก่นไป
พราหมณ์ศาสตรีแกมารดน้ำ ถามแกว่าในอินเดียมีประเพณีที่เขารดน้ำสงกรานต์กันหรือไม่ แกบอกว่ามีเหมือนกัน แต่ต้องแก่มากจนไปไม่ได้แล้วจึงรด ฟังก็พิจารณาเข้าใจ เขามุ่งหมายว่าไปไหนไม่ได้ คือสิ้นตะบิดที่จะพึงหาสิ่งที่บริโภคเองได้จึงเกื้อกูล เข้าทีอยู่มาก ส่วนเกล้ากระหม่อมถือไปอย่างหนึ่ง เห็นว่าตัวไปนั้นเป็นสิ่งสำคัญกว่าอะไรหมด แม้ว่าตัวไปไม่ได้ที่จะส่งผ้าให้บ่าวเอาไปให้นั้นไม่ทำเป็นอันขาด.
เรื่องที่ว่าเสือว่ายน้ำข้ามมาอยู่ที่เกาะปีนังนั้น ย่อมว่ายข้ามมาได้จริง แต่มันจะมาอยู่เฉยๆ ไม่ได้ มันต้องกิน อาหารของเสือต้องเป็นเนื้อ ต้องมีฝูงเนื้อซึ่งเสือจะจับกินได้อยู่บนเกาะปีนัง ถ้าไม่มีเสือจะต้องมาเที่ยวรางควานชาวบ้าน ขโมยวัวหรือหมูและแพะ แกะ พวกบรรดาที่เป็นสัตว์เลี้ยงไปกินเป็นภักษาหาร ถ้าฝูงเนื้อไม่มีและชาวบ้านก็ไม่ถูกรางควานแล้ว ก็เชื่อได้ว่าเสือว่ายน้ำกลับไปแล้ว ด้วยอยู่หากินในปีนังไม่ได้ หรือไม่ฉะนั้นก็ไม่ได้มาเลย
ในการที่จะเสด็จแปรสถานขึ้นไปอยู่บนเขานั้น ถ้าไม่ขึ้นๆ ลงๆ ก็รู้สึกว่าไม่ขัดข้อง ถ้าต้องขึ้นๆ ลงๆ แล้วเห็นเต็มที ด้วยอ้ายรถเกรินนั้นจะขึ้นทีลงทีเห็นมันใหญ่เหลือประมาณ ต้องเสียเวลามาก ดูเป็นของทำใช้เล่น ไม่ใช่ของใช้จริง ไม่สะดวกอย่างรถราง คนขึ้นลงก็ดูน้อยน่ากลัวขาดทุน
เมื่อวันที่ ๑๓ มีหมายสำนักพระราชวังออกมาว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ณ วันที่ ๑๔ เมษายน เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา พระสงฆ์ ๑๐ รูปสวดมนต์ แล้วมีพระธรรมเทศนากัณฑ์ ๑ ต่อนั้นมีสดับปกรณ์ ๕๔ รูป รุ่งขึ้นวันที่ ๑๕ เวลาเพลเลี้ยงพระ ในวันที่ ๑๔ เวลาเย็นเกล้ากระหม่อมก็ได้เข้าไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด