- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ทราบฝ่าพระบาท
เสริมเรื่องซึ่งกราบทูลมาก่อน
ตามที่ได้กราบทูลว่า จะตรวจคำจารึกที่บานมุกประตูวิหารยอดในวัดพระศรีรัตน แล้วกราบทูลมาให้ทรงทราบนั้น ได้ตรวจแล้ว มีความดังที่คัดถวายมาเช่นนี้
“ศุภมัศดุ พระพุทธศักราช ๒๒๙๖ พระวษา ณ วัน ๔ ๒ฯ ๕ ค่ำ ปีระกา เบญจศก พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งให้เขียนลายมุกบานประตูการเปรียญวัดพระพุทธไสยาศน์ป่าโมกข ช่าง ๑๘๕ คน เถิง ณ วัน ๕ ๑๓ฯ ๗ ค่ำ ปีระกา เบญจศก ลงมือทำมุก ๒ เดือน ๑๗ วันสำเร็จ พระราชทานช่างผู้ได้ทำการมุกทั้งปวง เสื้อผ้าและเงินตราเป็นอันมาก เลี้ยงวันแลสองเพลา ค่าเลี้ยงมิได้คิดเข้าในพระราชทานด้วย คิดแต่บำเหนดประตูหนึ่ง เป็นเงิน ๒๕+”
ตามความที่จารึกไว้นี้ จะจับเอาว่าทำคู่เดียวหรือหลายคู่ก็ฟังยาก แต่ถ้าจับเอาเวลาที่ควรจะเป็นสำหรับทำคู่เดียว ได้เคยไปถึงการเปรียญวัดป่าโมกข์ แต่นานแล้วจำไม่ได้ว่ามีประตูกี่ช่อง เห็นจะได้ทำบานมุกไว้ที่นั่นเพียงคู่เดียว ถ้ามีอีกก็คงปรากฏอยู่ที่ไหนอีก ก็น่าพิศวง ทำไมจึงไปทำไว้ที่การเปรียญ ที่อื่นที่สำคัญกว่า ก็หาได้ทำไว้ไม่
ข่าวเบ็ดเตล็ดในกรุงเทพ ฯ
เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม เวลาราว ๑๙.๓๐ น. เห็นแสงสว่างโพลงขึ้นทางริมแม่น้ำ เพ่งดูเห็นเป็นกองไฟใหญ่ ทำให้เข้าใจไปว่าไฟไหม้ถังน้ำมันของบริษัทฝรั่งขายน้ำมัน ซึ่งเขาตั้งห้างอยู่ที่ริมแม่น้ำตรงที่แลไปเห็นไฟ แต่แล้วต่อไปอีกครู่หนึ่งเห็นกองไฟนั้นเลื่อนที่ไปทางตะวันออก และในขนะนั้นเองก็มีข่าวมาบอกว่าไฟไหม้ในเรือซึ่งลำเลียงน้ำมันขนมาส่งกรมเชื้อเพลิงที่ท่าช่องนนทรี เขาตัดลอยลงไปตามแม่น้ำ แล้วถนนที่หน้าบ้านก็มีคนมาเดินล้นล้าฟ้ามืดจนดูเวียนหัว เกี่ยวแก่การมาดูไฟ คือลงไปดูกันที่ท่าปลายถนนสุนทรโกษา รุ่งขึ้นเห็นหนังสือพิมพ์ “บางกอกไตมส์” ลงว่าไฟไหม้เรือ ๔ ลำ เป็นน้ำมัน ๑,๓๔๐ ถัง ตัดลอยไปตามแม่น้ำ ฝ่าพระบาทคงจะทรงทราบได้ในหนังสือพิมพ์ “บางกอกไตมส์” นั้นแล้ว ได้ปรารภว่าดีเสียอีกที่มาเกิดไหม้ขึ้นที่ช่องนนทรี ไม่มีบ้านเรือนมากนัก และเป็นเวลาน้ำลงเรือที่ไฟไหม้ไหลลอยลงไปทางล่าง ถ้าเป็นข้างบนขึ้นไปเห็นบ้านเรือนจะต้องไหม้กันมาก มีคนเขาบอกว่าแม้กระนั้นที่บางกะบัวก็มีแพและบ้านเรือนไหม้ ไม่ใช่ไหม้แต่เพียงในเรือ ๔ ลำ แม้ในแม่น้ำไฟก็ลุกเป็นแพไปบนหลังน้ำ ฟังเล่าก็ให้นึกสยดสยองเต็มที เมื่อเป็นดังนั้นแล้วถ้ามีพ่วงแพอยู่ก็จะทนที่ไหนได้ อันน้ำมันที่เกิดติดไฟขึ้นนั้น กรมเชื้อเพลิงสั่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก เขาบรรทุกเรือใหญ่เข้ามาส่งที่เกาะสีชัง ที่ไฟไหม้นี้ เป็นแต่ส่วนน้อย ซึ่งขนลำเลียงมาส่งขึ้นท่ากรมเชื้อเพลิงเท่านั้น
วันที่ ๒๑ ตุลาคม ได้รับหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐิน มีรายการอยู่ ๓ วัน ซึ่งเกล้ากระหม่อมได้แบ่งใบพิมพ์ส่งมาถวาย เพื่อได้ทรงทราบรายละเอียดแล้ว ส่วนเกล้ากระหม่อมรับกฐินหลวงพระราชทานให้ไปทอดที่วัดเทพศิรินทร์ ยังไม่ได้กำหนดวันไปทอด แต่ก็เป็นประเพณีที่ต้องทอดภายหลังกฐินเสด็จพระราชดำเนิน เจ้าพระชายดิศเธอก็สำคัญ ราชเลขานุการในพระองค์บอกมาว่า เธอทูลลาออกมาเฝ้าฝ่าพระบาทที่ปีนังในวันที่ ๒๘ คือวันออกวรรษานั้นเอง กลับวันที่ ๓ พฤศจิกายน คือวันแรกกฐินเสด็จพระราชดำเนิน เป็นอันไม่มีขัดข้องอะไรในการที่เกล้ากระหม่อมจะไปทอดกฐินพระราชทานทีหลังกฐินเสด็จพระราชดำเนิน
วันที่ ๒๒ ตุลาคม เวลาเพล เกล้ากระหม่อมเลี้ยงพระวัดเบญจมบพิตร ๑๐ รูป ที่บ้านปลายเนิน เวลาค่ำมีเทศน์กัณฑ์หนึ่ง นิมนต์พระธรรมโกษาจารย์วัดเบญจมบพิตรมาแสดงธรรมอุทิศกุศลถวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ในวันสวรรคต ที่หลบมาทำเสียวันนี้ก็เพื่อจะหลบไม่ให้ไปซ้ำเข้ากับงานหลวง นับอย่างไทยก็เป็นสวรรคตได้เหมือนกัน รุ่งขึ้นวันที่ ๒๓ เวลาเย็นจึงไปพร้อมด้วยครอบครัว ถวายเครื่องสักการะและถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า แล้วตัวก็เข้าไปในงานหลวงที่พระที่นั่งจักรี การดำเนินไปอย่างหมายกำหนดการตามที่ถวายมาแล้ว สุดท้ายของการพระราชกุศลได้ทอดผ้าไตรส่วนของพระบรมวงศานุวงศ์ถวายตามเคย ขอถวายพระกุศลในการที่ได้ทำทั้งหมดนั้น
วันที่ ๒๔ หม่อมเจิมไปหา บอกลาจะออกมาปีนังกับเจ้าพระชายดิศ แต่กำหนดวันนั้นเลื่อนเป็นจะออกมาวันที่ ๑ กลับวันที่ ๗ พฤศจิกายน ส่วนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านก็จะไปทอดกฐินที่เมืองชล กลับวันที่ ๗ เหมือนกัน ท่านเรียกชายงั่วไปส่ง ให้เกล้ากระหม่อมไปทอดกฐินพระราชทานที่วัดเทพศิรินทร์ วันที่ ๘ พฤศจิกายนก็เป็นอันได้กัน
หนังสือซึ่งพระพรหมมุนี (อ้วน) แต่งขึ้น ๒ เรื่อง ตามที่ต้องพระประสงค์นั้น เกล้ากระหม่อมให้ไปขอท่าน ได้มาแต่เรื่องทำเนียบสมณศักดิ์เพราะได้ตีพิมพ์แต่เรื่องเดียว ส่วนเรื่องลาดท่านว่าได้ส่งให้หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ไป ไม่ได้ตีพิมพ์ เกล้ากระหม่อมจึงขอสำเนาไปที่หลวงบริบาล เขาก็ส่งต้นสำเนามาให้ ได้คัดออกแล้ว ในการที่ให้ไปขอหนังสือแด่พระพรหมมุนีนั้น ท่านให้หนังสือนอกเรื่องมาด้วยอีก ๒ เล่ม ชื่อเรื่องผดุงชาติศาสนา สั่งเจาะจงมาว่าให้เกล้ากระหม่อมเล่มหนึ่ง ให้ส่งมาถวายเล่มหนึ่ง เพราะฉะนั้นเกล้ากระหม่อมจึงจัดการส่งมาถวาย ส่วนหนังสือตีพิมพ์เรื่องทำเนียบสมณศักดิ์ กับเรื่องผดุงชาติศาสนานั้นได้จัดแยกส่งมาโดยทางไปรษณีย์วัตถุ ส่วนสำเนาเรื่องลาดนั้นได้จัดส่งมาในซองเดียวกันกับหนังสือเวร
ในหนังสือทำเนียบสมณศักดิ์นั้น มีวิจารณ์ของพระพรหมมุนีอยู่ที่คำลาวกาวทำให้สะดุดใจ คำนั้นฝ่าพระบาทเคยสงสัยพระทัยว่าจะเป็นลาวแกว โปรดให้เกล้ากระหม่อมค้นทางภาษาเขมร ค้นก็ไม่ได้เรื่อง พระพรหมมุนีท่านคิดเห็นว่าเป็นลาวเก่า ด้วยเทียบมาแต่ชื่อตำบลในเมืองขุขันธ์ซึ่งเรียกว่า ลาวเดิม ก็เป็นความอย่างเดียวกันกับ ลาวเก่า ทั้งชื่อเมืองขุขันธ์ท่านก็คิดว่าจะเป็นคูขัณฑ์ เพราะเมืองนั้นมีคูล้อม เกล้ากระหม่อมเห็นเข้าทีมาก ยังนึกเหยียดหนักไปอีกว่าจะเป็นคูคั่นเสียดอกกระมัง คำ ขณฺฑ หรือ ขนฺธ ในคัมภีร์จิลเดอรส์ดูจะเอามาเข้าความกับคูหาได้ไม่
อนึ่งเมื่อวันที่ ๒๗ ได้ทราบด้วยความสลดใจว่า พระสาธุศีลสังวรณ์ถึงมรณภาพเสียแต่วันที่ ๒ ตุลาคมแล้ว เมื่อเข้าวรรษาเกล้ากระหม่อมก็ไปหาท่านเห็นยังดีอยู่ แต่ท่านบอกว่าท่านอาพาธมาก่อนหลายเดือน ไม่นึกเลยว่าจะถึงแก่มรณภาพ ในข่าวนี้ ฝ่าพระบาทก็คงสลดพระทัยเหมือนกัน
ลายพระหัตถ์
ลายพระหัตถ์เวรลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ได้รับประทานแล้ว คลาดช้าไปเมล์หนึ่งตามเคย ไม่มีรอยตัด มีแต่ตราประทับผ่านการตรวจกองที่ ๓ ซึ่งผิดกองกับฉบับก่อน ๆ มา แต่กองที่เท่าไรต่อเท่าไรก็เห็นจะรวมอยู่แห่งเดียวกัน และรวมผู้บัญชาอันเดียวกัน หนังสือเวรจึงได้อยู่ในตำแหน่งปาปมุตโดยมาก เพราะได้สั่งให้เข้าใจกันไว้แล้ว
ข้อความในลายพระหัตถ์มีตรัสบอกการแปลคำ เช่น สามเสน เป็น สามแสน เป็นต้นนั้น ว่าเป็นคติอินเดีย ทำให้ได้สติรู้สึกขึ้น ว่าอะไร ๆ เราก็เอาอย่างอินเดียทั้งนั้น เหมือนหนึ่งนิทานกษัตริย์ลูกนาค เกิดสงสัยที่มีเรื่องเหมือนกันอยู่ในบ้านเมืองที่ใกล้เคียงกันด้วย ครั้นไต่สวนเข้าก็ได้ความว่าเป็นนิทานที่มาแต่อินเดีย ยังนิทานเรื่องอื่นพวกเดียวกัน เช่นเรื่องพระสี่เสา (ตรงกับจตุสดมภ์) และเรื่องพระยาแกรก พระยาโคตรบองอะไรเหล่านั้น อ่านหนังสือทางเขมรพบเข้าเขาก็มีเหมือนกัน ให้นึกประหลาดใจ ถ้าไต่สวนเข้าก็คงเป็นนิทานมาจากอินเดียเหมือนกัน จนกระทั่งตำนานอะไรต่างๆ ซึ่งกล่าวอ้างว่าพระพุทธเจ้าเสด็จไปสู่ที่นั่น แล้วตรัสทำนายว่าต่อไปจะเป็นอะไรต่ออะไรนั้น ก็ไปพบเรื่องพระเจ้าเสด็จไปในที่อันไม่ควรเสด็จไป แล้วตรัสทำนายอะไรแหลกเหลวเข้าในคัมภีร์จุลวยูหะ ดังได้เคยกราบทูลมาแล้ว ตกเป็นไม่ว่าอะไร เราเอาอย่างอินเดียมาทั้งนั้น
เรื่อง ก้อง ตามที่ทรงพระอุตสาหะค้นหนังสือต่างๆ แล้วทรงเรียงความประทานไปให้ทราบเรื่องนั้น เป็นพระเดชพระคุณอย่างล้นเกล้า ได้ความเข้าใจรู้แจ้งไปถึงการเก่าดีเต็มที เห็นได้ว่าการเริ่มไปก้องเมืองจีนนั้น ในชั้นต้นการรักษาบ้านเมืองทำให้กระทำไป ชั้นหลังการค้าสำเภาเมืองจีนนำให้กระทำไป ที่สุดการค้าสำเภากับเมืองจีนก็ไม่มีแล้วควรจะเลิกก้องได้ แต่มามีการทวงก้องขึ้นก็คงเป็นด้วยคนผู้น้อยซึ่งเคยได้ประโยชน์ในการที่เราให้ไปก้อง จะทวงมาด้วยพลการตนเอง ไม่ใช่เป็นคำสั่งมาจากเมืองหลวง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด