- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ได้รับประทานแล้ว ไม่มีบุบสลาย จะกราบทูลสนองความตามลายพระหัตถ์ต่อไปนี้
สนองลายพระหัตถ์
พระราชสาส์นและหนังสือซึ่งมีไปมา ระหว่างเมืองจีนกับเมืองไทยนั้น เป็นแน่ว่าต้องถือเอาหนังสือแปลเป็นหลักเป็นสำคัญ ต้นหนังสือกลายเป็นเจว็จไปเพราะอ่านไม่ออก หนังสือทุกฉบับตลอดถึงคำแปลจะต้องประทับตราให้เป็นหลักว่าเป็นของแท้ไม่ใช่ของปลอม อันคำแปลนั้นเราจะต้องแปลส่งไปฝ่ายเดียว ดูก็เป็นธรรมอยู่ เพราะเมืองจีนไม่มีล่ามไทย แต่เมืองไทยมีล่ามจีน พระดำรัสเทียบตราไทยกับตราจีนนั้นจับใจมาก คิดดูเห็นว่าอย่างไทยแพ้จีน ด้วยตราไทยต้องจดบันทึกว่าตรารูปอะไรของใคร ส่วนของจีนเขาไม่ต้องจดบันทึกเพราะตราเขาเป็นหนังสือบอกอยู่เสร็จแล้ว
เครื่องราชูปโภคประดับมุก เกล้ากระหม่อมลืมไปเสียถึง ๒ อย่าง พระกระดานพิงนั้นอย่างหนึ่ง เที่ยวระเหระหนอยู่ที่ไหนต่อที่ไหนเลยนึกไม่ทันถึงดูเหมือนเป็นฝีมือครูตู้มุกให้ลายเหมือนกัน ตู้พระภูษาอยู่ที่หอพระมนเทียรธรรมอีกอย่างหนึ่ง ดูเหมือนมีใบเดียว รูปร่างเอ้อเร้อไม่ใช่ครูตู้มุกให้ลายจึงไม่จับใจเอาใจใส่จนเลยลืม ไม่ได้นึกไปถึงทีเดียว
ในการทำเครื่องราชูปโภคประดับมุก ลางทีจะเป็นด้วยทำเครื่องใช้สมณศักดิ์มากนั้นนำไป เป็นธรรมดาที่การทำของเครื่องประดับมุกมากก็ต้องหัดช่างมุกขึ้นมาก เมื่อมีช่างมุกอยู่มากก็เป็นเหตุให้ทำเครื่องราชูปโภคขึ้นตามกันไป
แม้จะเดาว่าเครื่องราชูปโภคประดับมุกควรจะตั้งประดับพระราชมนเทียรหมู่ไหนแล้ว พระราชมนเทียรมีอยู่ ๒ หมู่เท่านั้น คือหมู่พระที่นั่งอินทราภิเษก กับหมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน หมู่หนึ่งตั้งเครื่องทอง หมู่หนึ่งตั้งเครื่องมุก ดูก็เป็นสมควรที่สุด หมู่ที่ตั้งเครื่องมุกงามจะเป็นหมู่พระที่นั่งอินทราภิเศกนั้น จะได้ประทับอยู่หรือไม่ได้ประทับเลยนั้นไม่ทราบ แต่ได้โปรดให้มีใครขึ้นไปอยู่นั้นมีแน่ เช่นกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูรก็ได้เคยเสด็จขึ้นไปประทับ และเมื่อใครขึ้นไปอยู่ก็ใช้เครื่องราชูปโภคไม่ได้ กลายเป็นของกีด กลายเป็นต้องขยับขยายเอาไปปล่อยพระพุทธบาท ตู้พระสมุดและตู้พระภูษานั้นใส่หนังสือได้ จึงเอาไปปล่อยที่หอพระมนเทียรธรรมให้ใส่หนังสือ เมื่อส่งตู้ไปไว้หอพระมนเทียรธรรมแล้วก็นำเอาพระแท่นที่พระบรรทมไปไว้แห่งเดียวกันด้วย
การเอาพระแท่นที่พระบรรทมประดับมุกเข้าใช้เป็นพระแท่นมณฑลนั้น ต้องเป็นในรัชกาลที่ ๗ เพราะเดินคนละทางกับรัชกาลที่ ๖ ในรัชกาลที่ ๖ นั้นเดินทางเอาของใหม่เข้าเอาของเก่าออก ครั้นถึงรัชกาลที่ ๗ กลับเดินตรงกันข้าม เอาของใหม่ออกเอาของเก่าเข้า
เรื่องฝรั่งรบกัน ในการที่ไม่ได้ทรงรับหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาไทยนั้น เคยเห็นข้อบังคับเขาลงในหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ ว่าแต่นี้ไปห้ามไม่ให้ส่งหนังสือพิมพ์ภาษาอื่น ที่นอกจากภาษาอังกฤษเข้าไปในประเทศมลายู ยังได้ปรารภว่าข้อนี้คงทำให้ฝ่าพระบาทรำคาญพระทัย พิจารณาก็เห็นว่าเกี่ยวกับเรื่องตรวจในประเทศมลายูคงหาคนรู้ภาษาอื่นที่พึงอ่านตรวจได้ยากนอกจากภาษาอังกฤษ จึงห้ามหนังสือภาษาอื่นๆ เสียทีเดียว
การฉวยโอกาสที่ฝรั่งรบกัน แล้วขึ้นราคาของขายเพื่อหากำไรนั้นไม่ว่าที่ไหนก็เหมือนๆ กัน เจ้าหน้าที่ต้องเป็นธุระปราบปรามไปทุกหนทุกแห่ง ของที่นำมาแต่ต่างประเทศจะขึ้นราคาก็ควรอยู่เพราะมายากทั้งค่าอะไรต่ออะไรก็ขึ้น แต่ส่วนที่ไมใช่ของมาแต่ต่างประเทศก็พลอยขึ้นราคาด้วย นั่นไม่มีมูลเลย ได้เห็นหนังสือพิมพ์เขาลงเล่าถึงการขึ้นราคาว่าลางเมืองเจ้าของที่ก็ขึ้นค่าเช่าด้วย (เห็นจะหมายถึงค่าเช่าห้องแถว) เจ้าหน้าที่ต้องฟ้องกันเป็นระนาวไป
ในข่าวซึ่งมีการชนเครื่องบินแทนชนช้างอย่างเก่าขึ้นนั้น เป็นทางที่อาจเป็นได้ แต่ที่จะว่าจริงหรือไม่จริงนั้นต้องพักไว้ก่อน ข่าวรบฟังยากนัก
เรื่องนาฬิกาเป็นหวัด เห็นจะพอกราบทูลสาเหตุได้ ด้วยเคยเข้าใจในเรื่องนาฬิกามาบ้าง ปกติของนาฬิกาหาได้มีน้ำมันเก่าใส่น้ำมันใหม่ให้แก่มัน อาศัยแต่ด้วยทำให้สะอาด จนเวลาจะคุมเข้าที่มือก็ถูกไม่ได้ต้องใช้ปากคีบหยิบ เพราะกลัวจะเกิดสนิมขึ้นด้วยเหื่อมือ การที่ไม่เกิดสนิมขึ้นโดยเร็ว ซึ่งจะทำให้ฝืดเสียเดินไม่ได้ ก็รอดตัวที่เครื่องจักร์มันอยู่ในที่ปิด อาจกันอากาศชื้นไม่ทำให้เกิดสนิมขึ้นเร็วได้ตามที่กราบทูลทั้งนี้ด้วย ได้เคยคบกับช่างแก้นาฬิกามา มิหนำซ้ำยังได้ช่วยเขาทำด้วย นาฬิกาที่หยุดเพราะฝนตก ซึ่งตรัสเรียกว่าเป็นหวัด แต่ครั้นเอาออกตากแดดกลับเดินอีกนั้น นึกคาดเห็นว่าจะเป็นด้วยโลหะที่ทำเครื่องนาฬิกายืดตัวหดตัวไปตามอากาศที่เย็นร้อน อย่างเดียวกับไม้ แต่มีส่วนน้อยกว่า โดยได้ทราบมาแต่เหล็กรางรถไฟ เขาทอดห่างกันไว้ราวสักนิ้วหนึ่ง จึงไปทักขึ้นด้วยความเขลาว่าวางห่างกันทำไม ทำให้รถตกหัวต่อกระเทือนเปล่าๆ อินชเนียเขาจึงอธิบายให้ฟังว่า ถ้าวางชิดกันแล้วเวลาเหล็กยึดตัวออกตามความเปลี่ยนแปลงของอากาศ รางจะดันกันเขยินขึ้นมาจนรถเดินไม่ได้ ถ้าจะใคร่รู้ว่าเหล็กรางขยายตัวออกเพียงไร ให้เอาเข็มยาวๆ ปักลงที่หัวท่อนราง (เห็นจะหมายถึงเข็มลวดเหล็ก) เมื่อเวลาเหล็กรางขยายตัวยาวออก จะดันเอาเข็มเอนไปมาก เห็นได้ชัดเจนอาจคำนวณได้ทั้งได้ทราบประเพณีของฝรั่งเขามา ว่านาฬิกาที่ทำอย่างดีนั้นเขามีการทดลองคือเอาใส่ลงไปในหีบน้ำแข็ง แล้วย้ายเอาไปใส่เตาอบเพื่อพิสูจน์การที่กระทำสำรองไว้ เผื่อความยืดตัวหดตัวของโลหะ ตามที่อากาศจะเปลี่ยนเย็นร้อน เมื่อจะใส่เข้าไปและเมื่อเอาออกมานั้นจดเอาเวลาไว้ ถ้าปรากฏว่าเดินช้าเร็วผิดกันเล็กน้อยก็นับว่านาฬิกานั้นทำดี ถ้าผิดกันมากก็นับว่าทำไม่ดี นาฬิกาพวกที่ส่งเข้าทดลองนั้นก็มีชนิดที่เรียกว่า “โครโนเมเตอร์” เป็นต้น ตลอดทั้งที่สำคัญอย่างอื่นอีกจนถึงนาฬิกาพกก็มี เชื่อว่าคงจะไม่ถึงแก่หยุดสักเรือนเดียว ด้วยอำนาจเป็นของที่ตั้งใจทำอย่างดีทั้งนั้น
ที่กรุงเทพฯ ฝนก็ชุก แต่ไม่ใช่ตกตลอดวันตั้งสามวันสามคืน ที่ปีนังเป็นเช่นนั้นก็เหมือนแถวปักษ์ใต้ เพราะอยู่ในแถวเดียวกัน แต่ก่อนเกล้ากระหม่อมก็เขลา ช่วยหากระเบื้องให้เขามุงเปลี่ยนหลังคาพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เห็นกระเบื้องเขาทำที่เกาะยอสงขลาดี ถามราคาก็บอกไม่สู้แพง พอจะเอาเข้าไปใช้ได้ จึงสั่งให้เขาทำโดยกำหนดเวลาให้ เขาว่ารับไม่ได้ ด้วยเวลาที่กำหนดให้นั้นอยู่ในระหว่างมรสุมทำไม่ได้ ได้นึกว่าเหลว เกาะยอมันตั้งอยู่ในทะเลสาบ ทะเลสาบจะมีคลื่นใหญ่สักเพียงไรทีเดียว แต่ครั้นเมื่อไปอยู่ที่หาดใหญ่จึงเข้าใจ ฤดูมรสุมนั้นฝนมันตกเสียตั้งสามวันสามคืนไม่ลืมหูลืมตาได้ทีเดียว จนกระทั่งไปจ่ายตลาดก็ต้องกางร่ม
ข่าวกรุงเทพ ฯ
เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ได้รับหมายส่งมาแต่สำนักพระราชวังบอกว่าจะมีการฉลองสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราชเป็นงานหลวง ทำที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ดังได้ถวายสำเนารายการมาให้ทรงทราบฝ่าพระบาทนี้แล้ว
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด