- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๑๓ เมษายน ได้รับประทานแล้ว ตามความในลายพระหัตถ์ปรากฏเป็นอันคาดถูก ว่าหนังสือเวรซึ่งส่งมาถวายคงจะมาถึงช้าไปเมล์หนึ่ง แต่ข้อที่คาดว่าถ้าได้ส่งหนังสือเสียแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม จะมาถึงด้วยดีนั้นก็ยังคาดผิดไปอีก ด้วยตามความในลายพระหัตถ์ปรากฏว่า แม้หนังสือที่เขาส่งมาถวายลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ก็คลาดเมล์มาถึงช้าไปเหมือนกัน
เรื่องลัดโพธิ์นั้น ถ้าได้ปิดโดยวิธีถมคลองลัดเสียหมดสิ้นแล้ว ก็เป็นอันวางใจได้ว่าจะอยู่ไปได้อีกนาน แม้กระนั้นถึงเวลานี้ เนื้อที่ซึ่งยังเหลืออยู่เท่าที่เคยได้ทอดพระเนตรเห็นคงจะสั้นเข้าไปอีก เพราะตาหลิ่งถูกน้ำกัดเข้าไปทั้งสองข้าง ในโอกาสนี้จะกราบทูลแถมความที่สำนึกขึ้นได้ในใจว่าต้นโพธิ์นั้นไม่ใช่ชื่อชนิดของต้นไม้ เป็นชื่อที่หมายความว่าพระพุทธเจ้าไปตรัสรู้ เมื่อประทับอาศัยอยู่ใต้ร่มไม้นั้นเท่านั้น ชื่อโดยจำเพาะของชนิดต้นไม้นั้นต้องมีต่างหาก ซึ่งเรายังไม่รู้
ข้อที่ทรงพระปรารภถึงการส่งของนั้น เป็นความจริงทุกประการ จำเป็นที่จะต้องยากลำบาก เพราะปีนังกับกรุงเทพ ฯ ว่าตามจริงแล้วไกลกันมิใช่น้อย หากแต่มีรถไฟจึงให้หลงรู้สึกว่าเป็นใกล้ เมื่อวันที่ ๑๘ หญิงโสฬศไปลาว่าจะออกมาเฝ้าฝ่าพระบาท เกล้ากระหม่อมได้นึกถึงการส่งของอยู่เหมือนกัน จึงถามหญิงอาม เธอบอกว่าได้จัดเตรียมไว้เสร็จแล้ว จะได้ส่งฝากออกไป เกล้ากระหม่อมก็พอใจ หวังว่าหญิงโสฬศคงจะได้นำมาถวาย พร้อมทั้งของที่วังด้วย
เมื่อสี่ห้าวันมาแล้วนี้ หญิงจงส่งส้มจัฟฟาของฝากประทานเข้าไปมาให้อีก ดีเต็มที เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ขอถวายบังคมฝ่าพระบาท
จะว่าถึงกรมหลวงสิงห์ ความอ้วนโตนั้นหมอทางฝรั่งเขาว่าไม่ดี เขาชอบเพียงเต็มเนื้อ ถ้าถือเอาตามเสียงหมอ กรมหลวงสิงห์ประชวรเป็นไปในทางอัมพาตครั้งนี้ ก็เพราะความอ้วนโตนั้นเอง แต่เวลานี้ได้ยินว่าค่อยยังชั่วขึ้นมากแล้ว แม้ว่าอากาศที่ปีนังชอบด้วยความเป็นไปแห่งพระองค์ เมื่อพระอาการทุเลาจนสามารถที่จะเสด็จออกมาได้ จะเสด็จออกมาก็ไม่ขัดข้องอะไร เพราะว่าพระธุระในกรุงเทพฯ ก็สิ้นไปแล้ว ส่วนพระองค์หญิงประเวศก็เป็นอันต้องตามกรมหลวงสิงห์ ถ้ากรมหลวงสิงห์เสด็จออกมาได้เมื่อไร พระองค์หญิงประเวศก็จะเสด็จตามออกมาได้เมื่อนั้น น้ำแร่ฝรั่งเศสเกล้ากระหม่อมได้ถามชายทรงวุฒิไชย ก็บอกว่าหาได้ที่ในกรุงเทพฯ พ้นจากความขัดข้องไปแล้ว
พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้า ที่ทรงพระอุตสาหะแต่งเรื่องค้าสำเภาประทานไปให้ทราบเกล้า ดีจริงๆ ทำให้ได้ความรู้กว้างขวางขึ้นมาก
ในการที่มีทำเนียบศักดินาพนักงานเรือสำเภาในกฎหมายนั้น แสดงให้เห็นปรากฏอยู่ในตัว ว่าการค้าสำเภานั้นแต่ก่อนทำกันมาก พนักงานเรือสำเภาจะต้องมีอยู่เกลื่อนกลาด จึงต้องมีกฎหมายทำเนียบศักดินาวางไว้เป็นหลัก
ที่เมืองจีนเรียกสำเภาเมืองไทยว่า “เรือหัวขาว” นั้น ดูเป็นแสดงว่าแฟแช่นเรือสำเภาเมืองไทย ใช้สีขาวทาหัวเรือแทนสีแดง
เรือสำเภาจะเข้าออกจะต้องเป็นฤดูอยู่เอง เพราะเดินด้วยอาศัยลม อ่านหนังสือที่เขาแปลจดหมายเหตุของ ลับเบ เดอชัวสิ ให้รู้สึกอิดใจแทน เรือจะไปได้มากน้อยหรือไม่ได้เลยก็แล้วแต่พระพายจะโปรด เดี๋ยวนี้มีเรือจักรกลขึ้นใช้เป็นเทวดา จะไปไหนเมื่อไรก็ไปได้ ไม่มีอะไรขัดข้อง ว่าถึงลม แต่ก่อนได้ยินเรียกชื่อว่า “ลมสลาตัน ฟังรู้สึกน่ากลัวเต็มที แต่เมื่อได้ทราบคำมลายูว่า สลาตัน แปลว่าทิศใต้เท่านั้นก็หายกลัว ลมสลาตันก็แปลว่าลมใต้เท่านั้นเอง
คำฝรั่งว่า กัปตัน นั่นจะแปลว่ากะไร เห็นการเล่นคริกเก็ต หรือ ฟุตบอลล์เขาก็มีกัปตันเหมือนกัน น่าจะแปลว่านายเท่านั้น ถ้าเช่นนั้นเรียก จุ้นจู๊ ว่ากัปตันก็ควรอยู่ เรายึดมั่นเขาเสียทีเดียว ว่าคนเดินเรือผู้ใหญ่นั้นเป็นกัปตัน ส่วนต้นหนหลุดไปเป็นผู้ช่วย ส่วนคำของคุตสลัฟต้นหนสิเป็นตัวกัปตัน หนังสือทางชวาเรียกกัปตัน ว่า “ลักษมณ” เห็นเข้าก็ทำให้เข้าใจว่า“หลวงลักษมณา” ของเรา หมายความว่าหลวงผู้เป็นกัปตัน ทำไมคำ ลักษมณา จึงตกมาเป็นกัปตัน คิดไม่เห็น น่าสงสัยอยู่มาก
การที่ลงไปซื้อของอันออกร้านกันในสำเภา ทรงสันนิษฐานประกอบกับคำคุตสลัพ เห็นเป็นถูกที่สุด ต้องเป็นของๆ พวกเดินเรือ ซึ่งได้ที่ระวางกันคนละเล็กละน้อย ย่อมจะซื้อหามาแต่ของแปลกๆ เล็กๆ น้อยๆ ไม่ใช่ของอันเป็นพื้นสินค้า แล้วไม่มีที่จะเอาไปขายที่ไหน จึงออกร้านขายกันในเรือ ข้อนี้ทำให้เห็นความจะแจ้งดีมาก
เจ้าแม่ในเรือสำเภา เคยอ่านหนังสือเห็นที่ไหนก็จำหน่ายไม่ตกเสียแล้ว เกี่ยวกับเจ้าผีบนบกด้วย ต้องเชิญไปรวมกัน แล้วมีกำหนดเจ้าผีพากันขึ้นไปเฝ้าพระอิศวร (เง็กเซียงฮ้องเต้ ?) กี่วันต่อกี่วัน เห็นเหลวเต็มทีก็ไม่ได้จำไว้ ในเรื่องผีมีคำกล่าวอย่างหนึ่ง ถึงอันตรายแก่เรือ ซึ่งเรียกว่า “พรายน้ำ” คำ “พราย” เข้าใจว่าหมายถึงผี เช่น มีในเรื่องพระไชยสุริยาว่า “ผีน้ำซ้ำไต่ใบเสา” สงสัยว่าจะเป็นคำมลายู ด้วยเป็นเรื่องเรือๆ แต่สอบถามก็ไม่ได้ความ ในคำของคุตสลัฟไม่มีกล่าวถึง
ตรัสอ้างถึงยานนาวาในกัณฑ์กุมาร ทำให้นึกขึ้นมาได้ ว่ามีคำ “ตั้งเข็มส่องกล้องสลัด” นี่แปลว่าเหลว ผู้แต่งกุมารบรรพไม่รู้ว่ากล้องสลัดเป็นอะไร สำคัญว่าเป็นกล้องส่อง ที่จริงเป็นอาวุธต่างหาก “เกล้ากระหม่อมเคยคลั่งขึ้นมาทีหนึ่ง จะจับคำเก่าในโคลงฉันท์เก่าๆ ซึ่งกล่าวถึงเครื่องลำยองต่างๆ ว่าอะไรเป็นอะไร ตั้งกองจดไว้ ที่สุดก็จับได้ว่าผู้แต่งก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเหมือนกัน เป็นแต่จำที่เขาว่าไว้มาว่าบ้างเลยสิ้นความเพียร
ข่าวในกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๑๘ มีหมายสำนักพระราชวังออกมาว่าสมเด็จพระบรมราชินีรำไพพรรณี จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท วันที่ ๑๙ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา พระสงฆ์ ๑๐ รูปสวดมนต์ แล้วมีพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่ง รุ่งขึ้นวันที่ ๒๐ เวลาเพลเลี้ยงพระ ในงานนี้เกล้ากระหม่อมหาได้เข้าไปไม่ อ่อนเพลียด้วยร้อนเต็มที กับเมื่อวานนี้ วันที่ ๒๑ ก็มีหมายออกมาอีกฉบับหนึ่ง ว่าวันที่ ๒๖ และวันที่ ๒๗ องค์ทศจะทำบุญถวาย ที่พระที่นั่งดุสิต มีรายการอย่างเดียวกัน
ใบดำ คือกระดาษไว้ทุกข์ หมู่นี้ได้รับน้อยลง แต่มีใบแดง คือ การ์ดเชิญรดน้ำแต่งงานมาแทนมาก แต่ก่อนใช้การ์ดย้อมสีแดงจริงๆ แต่เดี๋ยวนี้ไม่เห็นใช้ เห็นจะพ้นสมัยในการแต่งงาน เห็นฝ่าพระบาทจะสนพระทัยอยู่สักรายหนึ่ง คือ หญิงวิมลฉัตรจะแต่งงานกับชายอุทัยเฉลิมลาภ เขาจะพามาให้รดน้ำที่บ้านปลายเนิน ในวันที่ ๑ พฤษภาคม รายนี้หญิงประภาวสิทธมาบอกด้วยปาก ไม่ได้มีใบแดงมา.
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด