- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๘๒
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ทราบฝ่าพระบาท
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒ มีนาคม ได้รับลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ซึ่งส่งประทานไปกับรถไฟนั้นแล้ว เป็นไปเรียบร้อยตามเคยทุกอย่าง จะกราบทูลสนองลายพระหัตถ์นั้นลางข้อต่อไปนี้
สนองความในลายพระหัตถ์
เรื่องชาดกอันแต่งเป็นหนังสือสวดนั้น เมื่อเล็กๆ ก็ได้พบอยู่บ้างแต่ไม่มาก เขาว่าในหัวเมืองเหนือมีมาก แม้มีการศพซึ่งเรียกว่า “ทำงันเฮือนดี” ก็มีผู้ที่ชำนาญในการอ่านหนังสือสวดมาอ่านให้คนฟัง เห็นว่าเทศน์มหาชาติก็ทีจะเป็นหลักอันเดียวกันนั้นเอง คำว่า “ทำงันเฮือนดี” ควรจะเป็นทำทีหลังเมื่อเผาศพแล้ว โดยคำแห่งชื่องานดูเป็นงานทำขวัญเรือนซึ่งไม่มีศพอยู่ในเรือน ในโบสถ์วัดราชบูรณะที่หลังบานหน้าต่างเขียนเป็นเรื่องที่มีในหนังสือสวดทั้งนั้น ไม่เคยพบที่ไหนทำเหมือนเช่นนั้นเลย มีเรื่องแปลกๆ ซึ่งไม่เคยรู้เป็นอันมาก
เรื่องสังขยา ได้กราบทูลมาแล้วก็ไม่แล้วเท่านั้น ยังได้พยายามดูหนังสือมูลบทเพื่อให้รู้จำนวนแน่อีก ปรากฏว่าขึ้นทีละร้อยแสนไปจนถึงอสงไขยนั้นมีถึง ๑๙ ชั้น กำหนดเอาตั้งแต่โกฏิหนึ่งขึ้นไป ไม่มีสิ่งใดอันจะพึงนับถึง เพียงแต่ปโกฏิหนึ่งเท่านั้นก็ล้นเหลือเสียเต็มทีแล้ว ได้ดูสอบกับพจนานุกรมของอาจารย์จีลเดอส์ในลางจำนวน ที่นั่นก็บอกจำนวนสิบล้านมีเลขคูณลงไว้ข้างท้าย ทำให้เข้าใจว่าเหมือนกัน ตามที่ดูสอบนั้น ก็เพื่อจะดูสอบว่าจะมีอะไรเข้าใจผิดอยู่ในนั้นบ้างหรือไม่ เมื่อได้เห็นจำนวนเป็นสิบล้านคูณก็เบื่อใจพอแล้ว ขี้เกียจคิดสอบสวนเอาจริงจัง เห็นเหลวไหลไม่มีสิ่งใดที่จะใช้นับ ตามที่ทรงพระดำริว่าเพียงแต่หมายความว่ามากเท่านั้น เป็นอันถูกต้องจริงที่สุดแล้ว
ที่ว่าอิเหนาข้ามมละกานั้น ทีจะเป็นเกาะซึ่งเขียนไว้ว่า Malucca เพราะว่าข้ามจากเกาะบาหลี ไม่ใช่ขึ้นมาข้ามมละกาที่เมืองทางแหลมมลายู เมืองมละกาทางแหลมมลายูนั้นก็ชอบกล เหตุใดจึงเหลืออยู่เป็นเมืองนิดเดียว เคยเห็นแผนที่เก่าของวิลันดาหรือโปรตุเกสอันใดอันหนึ่ง เขียนหนังสือบอกชื่อแผ่นดินแหลมมลายูไว้ว่ามละกาทีเดียว ทั้งนี้ก็สมกับที่เรียกทะเลในช่องแหลมมลายูตรงนั้นว่า Malacca Strait ลางทีข้อนี้จะประทานพระดำรัสอธิบายได้
ในเรื่องภาษา ตามที่ตรัสทัก เกล้ากระหม่อมก็ได้สติรู้สึกทันที ช่างแต่งหนังสือแต่ก่อนไม่มีใครคิดไปถึงเลย ดูเหมือนซ้ำสัตว์กับคนก็อาจพูดเข้าใจกันได้เสียด้วย ช่างแต่งหนังสือนั้นเกล้ากระหม่อมกลัวเต็มที เช่นว่าตัวอะไรมีมือมากๆ มีทศกัณฑ์เป็นต้น พูดเป็นหนังสือก็พูดไปได้อย่างคล่อง แต่ถึงทำรูปเข้าจริงๆ ก็ขัดข้อง แม้เขียนก็พอเขียนไปได้ด้วยแขนบังซ้อนๆ กัน แต่ถ้าถึงปั้นเข้าแล้วหงายท้องทั้งยืน แขนไม่มีที่ออกนอกจากจะทำไหล่ให้ใหญ่เกินธรรมดาไปอีก ๑๐ เท่า
ชื่อหวันยิหวาเห็นจะเป็นชิวา
เรื่องพระมหาภุชงค์เธอตามใจให้สัปบุรุษจีนเขาเดินเทียนในการมาฆบูชานั้น เป็นการชอบที่สุด สัปบุรษเขาจะทำอะไรกัน ถ้าไม่เป็นการเสียหายแล้วไม่ควรขัดขวางเลย ขัดใจคนโดยถือแบบแผนโกร้นั้นไม่ได้เรื่อง ทำให้คนไม่ชอบไปเปล่าๆ ประโยชน์ได้ไม่เท่าเสีย
พระดำรัสเล่าถึงที่ปีนังฝนไม่ตก ทำให้นึกไปถึงหญิงเป้า ถามหญิงอามบอกว่าได้ไปพบตัวแล้ว กล่าวโทษว่าน้ำพุไม่งามมีน้ำน้อย เป็นอันเข้าใจได้ว่านั่นไม่ใช่อะไร เพราะแล้งไม่มีฝนเติมน้ำพุให้มากพอนั้นประการหนึ่ง แล้วหญิงเป้าเธอก็มั่นหมายไปว่างามเกินกว่าที่จะเป็นไปได้นั้นก็อีกประการหนึ่ง ประการหลังนี่แหละสำคัญมาก เหมือนเกล้ากระหม่อมไปดูปราสาทพิมาย ด้วยมั่นหมายในใจไปว่าใหญ่โต แต่ครั้นไปถึงก็เสียใจด้วยเห็นซอมซ่อ เพราะผิดความหวังใจไปว่าจะใหญ่โตเท่านั้น แต่ที่จริงฝีมือที่ทำนั้นเลิศแล้ว ความร้อนที่ปีนังผิดกันถึง ๗ ดีกรีภายในเวลา ๖ ชั่วโมงนั้นไม่ดี อาจทำให้เจ็บไข้ไปได้เพราะร่างกายเราเปลี่ยนตามไม่ทัน ข้อที่ตรัสถึงหญ้าร้องไห้ที่ปีนังนำไปให้นึกถึงพระแท่นดงรัง คราวเมื่อตามเสด็จไปประพาสไทรโยค จำความเป็นไปได้ไม่ลืมเลย ดังจะเล่าถวายต่อไปนี้ ครั้งนั้นเกล้ากระหม่อมก็ยังเด็กไม่มีปัญญารู้คิด จะเสด็จไปพระปฐมแล้วไปพระแท่น ไปลงเรือที่กาญจนบุรีแล้วไปประพาสไทรโยค ได้ตามเสด็จก็ดีใจ แต่ครั้นเมื่อไปถึงพระปฐมไปเกิดเจ็บตัวร้อนขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็หนักในพระราชหฤทัย ทรงพระราชดำริจะให้ไปเรือล่วงหน้าไปคอยเข้ากระบวนเสด็จอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี แต่เกล้ากระหม่อมไม่ยินยอมดันทุลังจะตามเสด็จไปพระแท่นดงรังให้ได้ ด้วยได้ฟังใครต่อใครมียายเป็นต้น สรรเสริญพระแท่นดงรังนัก อะไรๆก็เป็นศักดิ์สิทธิ์ไปด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ทำให้อยากไปเห็นเต็มที เจ้าพระยานรรัตน์รับช่วยด้วยรถของท่านมีเอาไป จะให้ขี่รถไม่ต้องขี่ม้า เกล้ากระหม่อมก็ดีใจขอบใจท่าน แต่รถของท่านนั้นเป็นชนิดที่เจาะถังราง เห็นจะมีสปริงขวางอยู่ในถังรถนั้น จะเป็นสปริงหักหรือเพลาหักอย่างไรก็แลไม่เห็นเอาไม้กระบอกเข้าดามไว้ที่เพลา เมื่อขี่รถนั้นไปก็หัวฟัดหัวเหวี่ยงยิ่งกว่าขี่ม้าเสียอีก จึงต้องลาลงขี่ม้า พระองค์เจ้าสิงหนาทท่านสงสารเลยเรียกเอาขึ้นรถไปกับท่าน รถของท่านเป็นรถอเมริกันชนิดล้อใหญ่ เวลาขึ้นต้องชักม้าเบ้ไปให้ลูกล้อห่างกัน ดังได้ทรงทราบอยู่แล้ว มี “อ้ายโก๋” เป็นคนจูงม้าขึ้นท้ายรถเต็มที่ นั่นแหละสบายไปได้จนถึงพระแท่นดงรัง แต่ครั้นไปถึงเข้าจริงกลับเสียใจ นึกว่า “รู้งี้” ล่วงหน้าไปกาญจนบุรีเสียดีกว่า เมื่อเทียบกับพระแท่นศิลาอาสน์แล้วผิดกันไกล ถ้าเป็นพระแท่นศิลาอาสน์แล้วจะไม่ต้องเสียใจเลย ที่นั่นมีอะไรๆ ที่ทำให้ “หูผึ่ง” มากมาย จะให้ไปพระแท่นศิลาอาสน์อีกกี่หนก็ไปได้ แต่จะให้ไปพระแท่นดงรังอีกนั้นลา
ข่าวเบ็ดเตล็ดในกรุงเทพ ฯ
พระราชพิธีสมโภชฉัตร เกล้ากระหม่อมได้เข้าไปตามหมายกำหนดการทั้ง ๓ เวลา ไม่มีการสิ่งใดซึ่งนอกไปจากหมายกำหนดการอันได้ความมาแล้วนั้น
วันที่ ๒ มีการทำบุญ ๗ วันศพท้าววรจันทร์ เกล้ากระหม่อมไปในงานนั้น เห็นมีพุ่มกับเฟื่องประดับเติมขึ้นที่โกศศพ
หม่อมเชื้อแม่หญิงจงกลนีตายเสียแล้ว ทำการอาบน้ำศพเมื่อวันที่ ๓ นี้ เจ็บมานานแล้วเป็นโรคเนื้องอกในลำไส้ แต่เก่งเต็มทีทำอะไรๆ อย่างเหมือนหนึ่งว่าไม่ได้เจ็บไข้ มาล้มนอนลงก็ตายทีเดียว ให้รู้สึกสงสารหญิงจงกลนีเธอมีความเศร้าโศกเป็นอันมาก แต่ก็ปลงตกว่าเป็นธรรมดาเท่านั้น
มีงานออกร้านกันในสวนอัมพร เรียกว่า “วชิราวุธานุสสรณ์” โดยประสงค์จะเก็บเงินค่าผ่านประตูสมทบทำพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กำหนดมีงาน ณ วันที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ มีนาคม รายละเอียดคงจะได้ทรงทราบที่ในข่าว ซึ่งเขาลงในหนังสือพิมพ์ “บางกอกไตมส์” นั้นแล้ว กรมโฆษณาการขอถ้วยรางวัลมา เกล้ากระหม่อมก็จัดส่งไปให้ เว้นแต่ตัวไม่ได้ไปในงานนั้น
แก้ผิด
ตามที่ได้กราบทูลมา ว่าพระศุภรัตน์คนอ้วนๆ เห็นจะชื่อจ้อยนั้นผิดไป สืบได้ความแน่ว่าชื่อจวง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด