- เมษายน
- วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๒๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเถลิงศก
- —หมายกำหนดการพระราชพิธีพืชมงคล ๒๔๘๒
- —หมายกำหนดการพระราชกุศล ๕๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช
- —ริ้วขบวนแห่ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายการค้าสำเภา
- วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มิถุนายน
- วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยคำ “กู้”
- วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบัณบัวผัน
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร (๒)
- วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กรกฎาคม
- วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๗/๒๔๘๒ หมายกำหนดการทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —ดวงตราที่มีในกฎหมายทำเนียบศักดินา
- วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลเข้าวรรษา
- สิงหาคม
- วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —อธิบายเรื่องเครื่องม้าที่อะแซหวุ่นกี้ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- กันยายน
- วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —หมายฉลองพระสุพรรณบัฏสมเด็จพระสังฆราช
- ตุลาคม
- วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัย เรื่อง “จิ้มก้องกรุงจีนและหองของพระเจ้ากรุงจีน”
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- —บันทึกเรื่องเงินกรุงศรีสัตนาคนหุต
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องลายแทง
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —บานแพนกหนังสือราชาธิราช
- วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มกราคม
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —วิธีให้ข้าวแม่ซื้อ
- —บันทึกเรื่องให้ข้าวแม่ซื้อ
- วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- —วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”
- วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลมาฆบูชา
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๒ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีรัชมงคล
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ น
- มีนาคม
วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๑๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
ลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๕ ธันวาคม มาถึงปีนังต่อวันศุกร์ที่ ๘ เวลาเที่ยง ช้าไป ๑๘ ชั่วโมง เพราะรถไฟเดินยังไม่สะดวกในตอนทางชำรุดที่อำเภอไชยา แต่เจ้าพนักงานตรวจหนังสือเขามีแก่ใจส่งลายพระหัตถ์มาให้หม่อมฉันเวลาบ่าย ๔ โมงในวันศุกร์นั้นเอง ของก็เรียบร้อยมีแต่รอยตีตราเป็นอักษรอนุญาตให้ส่งเท่านั้นเอง
หม่อมฉันรีบรัดทำต้นฉบับหนังสือซึ่งให้ชื่อว่า “ลำดับสกุลคชเสนี กับโบราณคดีมอญ” สำหรับพิมพ์แจกงานปลงศพ พระยาพิพิธมนตรี (ปุย คชเสนี) แล้วพอทันส่งไปให้เจ้าภาพงานศพเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๑ จึงได้ตั้งต้นเขียนจดหมายเวรต่อวันอังคารที่ ๑๒ มีเวลาเขียนวันเดียว จะทูลสนองแต่แก้ปัญหาที่ตรัสถามมาในลายพระหัตถ์ทั้ง ๒ ฉบับ เรื่องเมืองอุทุมพรพิสัยนั้น พบในหนังสือพงศาวดารมณฑลอีสาน ซึ่งหม่อมอมรวงศวิจิตร (ถม คเนจร) แต่ง พิมพ์ไว้ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔ ว่า ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ พระยาขุขันธ์ (ยัง) กราบบังคมทูลขอให้รวมที่ดินบ้านกันตวดกับ (บ้าน) ห้วยอุทุมพรเชิงเขาตกยกขึ้นเปนเมือง จึงโปรดให้ตั้งเมืองอุทุมพรพิสัยเป็นเมืองขึ้นของเมืองขุขันธ์ แล้วทรงตั้งท้าวบุตดี บุตรของพระยาขุขันธ์ (ยัง) เป็นพระอุทุมพรเทศานุรักษเจ้าเมือง
จารึกเรื่องเมืองนครศรีธรรมราชนั้น มีอยู่ในหนังสือ “ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๒” ซึ่งศาสตราจารย์เซเดส์แต่ง ข้ออธิบายที่ว่าเมืองนครศรีธรรมราชเดิมชื่อว่าเมืองตามพรลิง และเมืองไชยาเดิมชื่อว่าครหิ นั้น พิมพ์อยู่หน้า ๑๐ แห่ง ๑ หน้า ๑๒ แห่ง ๑ ในหนังสือนั้นอ้างหลักฐานว่า มีในศิลาจารึกพบที่เมืองทมิฬชื่อตันยอร์กับมีในจดหมายเหตุจีนและอาหรับ กับทั้งในศิลาจารึกที่พบ ณ วัดเสมาเมือง ในเมืองนครศรีธรรมราชแห่ง ๑ และศิลาจารึกที่พบ ณ วัดหัวเวียงในเมืองไชยาเก่าอีกแผ่น ๑
ชื่อเมืองขึ้นทางหัวเมืองฝ่ายเหนือที่มีซ้ำกับชื่อเมืองใหญ่ เช่นเรียกว่าเมืองชุมพร เมืองนอง และเมืองหงสาวดีเป็นต้นนั้น หม่อมฉันนึกไม่ออก เมื่อหม่อมฉันอยู่กระทรวงมหาดไทยได้เคยให้พิมพ์ทำเนียบหัวเมืองตามแบบโบราณขึ้นไว้ครั้ง ๑ มีชื่อหัวเมืองและเมืองขึ้นกับทำเนียบราชทินนามเจ้าเมืองทั้งหมด หนังสือนั้นเห็นจะหมดฉบับเสียแล้ว หม่อมฉันเองก็ไม่มีไว้ที่ปีนัง ได้อาศัยค้นดูในประกาศพิธีตรุษก็ไม่มีชื่อเหล่านั้นเป็นเมืองขึ้น พบในพงศาวดารมณฑลอีสานว่า มี “เมืองนอง” เป็นเมืองขึ้นนครจำปาศักดิ์อยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเมือง ๑ เห็นจะหาสาระถวายวิสัชนาไม่ได้
ชื่อเมืองสุไหงปัตนี ที่เป็นเมืองขึ้นของเมืองไทรบุรีนั้น หม่อมฉันเคยสืบแต่แรกมาอยู่ปีนัง ด้วยนึกว่าน่าจะเป็นทางคมนาคมกับเมืองปัตนีมาแต่โบราณก็หาเค้าเงื่อนไม่ได้ คำว่า “สุไหง” แปลว่าลำน้ำ ลำน้ำปัตนีนั้นก็ตันและยังมีเทือกเขาบรรทัดขวางหน้า ไม่มีช่องทางเดินข้ามเหมือนอย่างทางไปสงขลา หม่อมฉันได้เคยไล่เลียงพวกเมืองไทรก็ไม่มีใครบอกอธิบายได้ ก็จำนนมา ถ้าคำปัตนีแปลว่านาไซ้ สุไหงปัตนี ก็เห็นจะแปลว่า “ลำน้ำบ้านนา” เท่านั้นเอง
เรื่องทำขวัญเด็กมีเซ่นแม่ซื้อด้วยปั้นข้าวสุกย้อมสีขว้างข้ามหลังคานั้น หม่อมฉันก็เป็นแต่ทราบด้วยเคยฟังเล่า หรือได้อ่านหนังสือจำไม่ได้ว่าได้เคยเห็นทำพิธีนั้น ต้องทูลจำนนไม่สามารถจะถวายอธิบายได้
เรื่องร้านม้าที่เผาศพนั้น หม่อมฉันก็ไม่เคยเห็นหรือเคยสังเกตเหมือนกัน หม่อมฉันนึกได้ว่าในหนังสือเสภาตอนทำศพนางวันทองพรรณนาการทำศพพิสดารจึงลองเอามาพลิกดู ก็พบเค้าเงื่อนดูเหมือนจะพอเห็นได้ว่าสิ่งซึ่งเรียกว่าร้านม้านั้นเป็นอะไร ในเสภาว่าเมื่อขุดศพนางวันทองขึ้นชำระและเอาลงหีบแล้วแห่ศพมายังที่เผา “ครั้นถึงโรงทึมเข้าทันที อึงมี่ยกศพร้านม้า” แล้งพรรณนาต่อไปถึงเครื่องแต่ง (ร้านม้า) ชั้นล่างทำเป็นภูเขาและรูปภาพต่างๆ ถึงที่ตั้งหีบศพว่า “บัวทองรองหีบเหมกุดั่น สามชั้นสามยอดสล้างแหลม” ถึงตอนเผาศพว่า “เผาบนเชิงตะกอน” ความบ่งว่าร้านม้านั้นหมายว่าชั้นที่ตั้งศพนั่นเอง เพราะมีโรงทิมอยู่ภายนอก มีเชิงตะกอนเป็นที่เผาศพดังพรรณนาไว้
เขียนมาถึงตอนนี้อีแมวตัวโปรดของหม่อมฉันมันมานอนหมอบขวางที่บนตักชวนให้ไปกินกลางวัน ด้วยจวนบ่ายโมง ๑ แล้วต้องหยุดที