- พระประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๓)
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส (๒)
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น (๒)
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑
- ภาคผนวก
๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๒๕ ทรงพอพระทัยในคำว่า มนุษย์วารนร พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายด้วยความปลาบปลื้มยินดี
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับใส่เกล้า ฯ ตรวจค้นคำ ดู และ มอง ว่าจะมีความหมายผิดกันอย่างไรบ้าง คงได้ผลดังนี้
ในปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ
มอง | แปลว่า แลดู |
ดู | แปลว่า แล มอง เพ่ง |
แล | แปลว่า มอง ดู |
เบิ่ง | แปลว่า ดู แหงนหน้าดู |
บง | แปลว่า มองดู แลดู |
เห็น | แปลว่า เข้าใจ คิดรู้ รู้สึกด้วยตา |
ที่ข้าพระพุทธเจ้านำคำพวกเดียวกันมาแปลไว้หลายคำ เพราะมีความหมายเกี่ยวพันกันอยู่ ส่วนความหมายที่ปทานุกรมแปลไว้ จะสังเกตไม่ได้ว่าผิดกัน
ภาษาภาคอีสาน และ หลวงพระบาง ใช้ เบิ่ง แทน มอง และใช้ปะปนกันกับคำว่า ดู และมักซ้อนกันเป็น เบิ่งดู บางถิ่นใช้ แล แทน ดู อย่างเดียวกับของชาวปักษ์ไต้
ไทยอาหม ดู แปลไว้เป็นภาษาอังกฤษว่า to see, to behold หันดู หมายความว่าดูอย่างถี่ถ้วน
ไทยใหญ่ ลู หัน ตุญ (อ่านเป็น เต็ย มีเสียงขึ้นนาสิก) แปลเว้เป็นภาษาอังกฤษว่า to see, to behold เหมือนกัน มีคำซ้อน ลูตุญ แปลว่า ดู
มอง to look for
ไทยคำที่ หัน to see
เลม to look
คำต่าง ๆ ที่กราบทูลมาข้างต้นนี้ คำว่า ดู ตามธรรมดาใช้ว่า ดู และ หัน ซึ่งตรงกับเห็น คงมีคำว่า มอง ในภาษาไทยใหญ่ หมายความว่า หาดู ความค่อยกระจ่างขึ้นว่า ดู และ มอง ผิดกันอย่างไร ก็ที่ในภาษาไทยทางตะวันออก คือ
ไทยขาว ไทยโท้ ไทยนุง | หัน voir (ดูอย่างธรรมดา) |
ไทยดำ | เห็น voir |
ไทยย้อย | ลูเตย voir |
ไทยขาว | เบิ่ง regarder (ดูอย่างพินิจ) |
ไทยโท้ | เมิ่ง regarder (ดูอย่างพินิจ) |
มอง ในภาษาถิ่นเหล่านี้ คงหมายความถึงการจ้องดู ซึ่งผิดกับดูตามธรรมดา ที่ปทานุกรมแปล เบิ่ง ว่าแหงนหน้าดู ความก็ใกล้ไปในกิริยาที่จ้องดู แต่ความหมายของคำว่า มอง มาปรากฏชัดขึ้นในภาษาจีนดี คือ
มอง หวั่ง (ในสำเนียงชาวกวางตุ้ง) โม้ บ้วง หวั้ง มั่ง (ในสำเนียงแต้จิ๋ว) บง (ในสำเนียงชาวฮกเกี้ยนเมืองเอ้หมึง) วุง มุง (ในสำเนียงโบราณ) แปลว่า Anxiously look to from a distance, to observe, to look at or forward or towards, to espy from afar, slance at, look up, open to sight, that which can be seen, hope, to hope for, expect, admire, expectation.
ตามคำแปลเหล่านี้ เทียบได้ด้วยคำว่า มอง เบิ่ง บง มุ่ง หวัง ปอง
ในคำไทย ข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องในกระแสพระดำริว่า มอง นั้น มีความหมายผิดกับ ดู เพราะมองคงเป็นการมุ่งดู จ้องดู แต่ที่จะมาใช้ปะปนกัน คงจะเป็นเพราะมรความหมายใกล้กันมาก ทั้งนี้จะผิดถูกสถานไร ขอรับพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง แล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
อนึ่ง คำว่า เห็น หรือ หัน ในภาษาจีนตามสำเนียงชาวแต้จิ๋วว่า เท้ย แปลว่าดู ชาวกวางตุ้งเป็น ห่อน ห่าน ชาวแคะเป็น ค้อน เสียงโบราณเป็น คั้น ค้ำ คำ เต้ย ในภาษาไทยใหญ่น่าจะเทียบได้กับ เท้ย ส่วน ค้อน ในภาษาไทย มีความหมายเป็นการดูอย่างหนึ่ง หาใช่ดูตามธรรมดาไม่
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานถวายคำว่า ประทัด ซึ่งมหาฉ่ำจดมาแผ่นหนึ่งต่างหาก มาในซองนี้ คำว่า ประทัด เป็นคำแปลกที่พ้องกับคำ petard ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ปืนใหญ่ ประทัด สิ่งที่บรรจุของให้เกิดระเบิดแตก
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์